วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 23:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 09:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 25.63 KiB | เปิดดู 7213 ครั้ง ]
หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว ต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
หทยรูป แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง
(๑) มังสหทยรูป ได้แก่ รูปหัวใจที่มีสัณฐานคล้ายดอกบัวตูมที่แกะกลีบ ออกมา แล้วเอาปลายห้อยลง ภายในนั้น
เหมือนรังบวบขม
(๒) วัตถุหทยรูป ได้แก่ รูปที่อาศัยเกิดอยู่ในมังสหทยรูป เป็นรูปที่เกิดจาก กรรม ที่ตั้งของหทยรูปนั้น ตั้งอยู่ในช่องที่มีลักษณะเหมือนบ่อ โตประมาณเท่าเมล็ด ดอกบุนนาค ในช่องนี้มี น้ำเลี้ยงหัวใจ หล่อเลี้ยงอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ เป็นที่ อาศัยเกิดของจิตและเจตสิกที่ชื่อว่า มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ สถานที่ตรงนี้เอง ที่เรียกว่า หทยรูป

(อ้างอิง:พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 6)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา

ในร่างกายของคนเรา มีทวารรับความรู้สึกอยู่หกทวาร
ทวารที่ว่าคือ หู..ตา..จมูก..ลิ้น..กายและใจ
ในทวารที่กล่าวมาจะมีปสาทรูปอยู่ในส่วนนั้น
เมื่อเกิดการกระทบขึ้นที่ใด ก็จะเกิดจิตขึ้น จิตในที่นี้ก็คือวิญญาณนั้นเอง

จิตสามารถเกิดในร่างกายของเราได้หกทวารหรือหกที่
ถ้าจิตเกิดที่หู...เรียกว่า โสตวิญญาณ
เกิดที่ตาเรียกว่า จักษุวิญาณ
เกิดที่จมูกเรียกว่า ฆาตวิญญาณ
เกิดที่ลิ้นเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
เกิดที่กายเรียกว่า กายวิญญาณ
เกิดที่ใจเรียกว่า มโนวิญญาณ


สรุปก็คือ จิตหรือวิญญาณเกิดหรืออยู่ตรง ทวารทั้งหกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา


จิตไม่มีรูปร่างสัณฐาน จิตอาศัยเกิดทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รูปและนามอิงอาศัยกัน จึงจะเกิดเป็นสภาวะธรรมขึ้นมาได้ เช่นการเห็นรูป เรียกว่าจิตเกิดทางตา
การได้ยินเสียง เรียกว่าจิตเกิดทางหู เป็นต้น ดังที่ท่านโฮ อธิบายไว้ค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎกได้อุปมาการทำงานของจิตไว้ว่า
เปรียบเหมือนแมงมุมชักใยไว้ดักแมลงแล้วมอบคอยอยู่ตรงกลาง เมื่อมีแมลงบินมาติดใย
แมงมุมก็จะวิ่งไปกินเหยื่อ แล้วก็กลับมาหมอบที่กลางข่ายใยตามเดิม ภวังคจิตหรือมโนวิญญาณ
ก็จะเช่นกัน มีหัวใจเป็นที่อยู่ที่อาศัยและมีโลหิตที่หัวใจสูบฉีดไปตามเส้นโลหิตทั่วร่างกายเป็นเครือข่าย
เมื่อรูปารมณ์มากระทบประสาทตา ก็ทำให้ภวังคจิตที่อยู่ในหัวใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนเป็นจักขุวิญญาณ
เป็นต้นในจักขุทวารวิถี (วิถีทางจักขุทวาร) เมื่อวิถีจิตดับลงก็กลับสู่ภวังค์ใหม่อีก สำหรับสัททารมณ์
กับโสตปสาทรูป และคันธรมณ์กับฆานปสาทรูป เป็นต้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

:b48: ด้วยเหตุดังกล่าว ภวังคจิตจึงทำหน้าที่คิดและรู้ เป็นที่ตั้งของการทำงานทางจิตของคนเรา
เมื่อมีรูปารมณ์มากระทบจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นที่ตั้ง จากนั้น
มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์ ส่วนโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ และชิวหาวิญญาณ
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีหู จมูก และลิ้นเป็นที่ตั้ง สำหรับกายวิญญาณนั้น มีขอบเขต
กว้างขวาง เพราะมีร่างกายทั้งหมดเป็นที่ตั้ง

:b53: ในขณะที่ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏชัด มโนวิญญาณจะเกิดขึ้นทำหน้าที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ
บางครั้งจึงเพลินอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่รับรู้อารมณ์อื่น การหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องสำคัญอาจทำให้
ถึงกับนอนไม่หลับได้ เพราะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ผุดขึ้นมา เรื่องแล้วเรื่องเล่า โดยมีภวังคจิต
อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม
การคิดในทุกขณะที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าความคิดนั้นก็มีการเกิดดับเป็นช่วงๆ เช่นกัน


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
รูปที่เป็นที่เกิดของจิตเรียกว่าวัตถุรูปมี 6 อย่าง

1. จักขุวัตถุ

2. โสตวัตถุ

3. ฆานวัตถุ

4. ชิวหาวัตถุ

5. กายวัตถุ

6. หทยวัตถุ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตที่รู้อารมณ์ โดยไม่ต้องอาศัยทวารเลย คือ ปฏิสนธิจิต จุติจิต และภวังคจิต

จิตที่กล่าวถึงเหล่านี้ เกิดที่ หทยวัตถุ

มโนวิญญาณ ทั้งหมด เกิดที่ หทยวัตถุ

ถ้าจิตทั้งหมด มี 89 ดวง ก็แสดงว่า เกิดที่หทยวัตถุ เสีย 79 ดวง
ถ้าจิตทั้งหมด มี 121 ดวง ก็แสดงว่า เกิดที่หทยวัตถุ เสีย 111 ดวง


มโนวิญญาณ ส่วนหนึ่งรู้อารมณ์ ทางมโนทวาร
มโนวิญญาณ อีกส่วนหนึ่งรู้อารมณ์ โดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลย

มโนวิญญาณ ที่รู้อารมณ์ได้โดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลย คือ ปฏิสนธิจิต จุติจิต และภวังคจิต

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แก้ไขล่าสุดโดย govit2552 เมื่อ 02 ม.ค. 2013, 21:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2013, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
วสนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ จิตฺตเจตสิกา เอตฺถาติ วตฺถุ ฯ



จิต เจตสิก ทั้งหลาย ย่อมอาศัยตั้งอยู่ในธรรมใด ฉะนั้น ธรรมที่เป็นที่อาศัย ตั้งอยู่ของจิตเจตสิกเหล่านั้น ชื่อว่า วัตถุ

วัตถุสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องวัตถุ อันเป็นที่อาศัยเกิดของจิตและ เจตสิก วัตถุอันเป็นที่จิตและเจตสิก

อาศัยเกิดนี้ มี ๖ จึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัตถุ ๖ และวัตถุ ๖ นี้เป็น รูปธรรม ทั้งนั้น คือ

๑. จักขุวัตถุ ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จักขุวิญญาณจิต ๒

๒. โสตวัตถุ ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ โสตวิญญาณจิต ๒

๓. ฆานวัตถุ ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ฆานวิญญาณจิต ๒

๔. ชิวหาวัตถุ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ ชิวหาวิญญาณจิต ๒

๕. กายวัตถุ ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ กายวิญญาณจิต ๒

๖. หทยวัตถุ ได้แก่ หทยรูป เป็นที่อาศัยเกิดของ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 00:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัย ปัญญา ผมยังน้อยอยู่เลยยังไม่ค่อนเข้าใจที่หลายๆท่านอธิบาย s002

ผมจะค่อยๆลองศึกษาต่อไปเรื่อยๆครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b55: เขียน:
ภวังคจิตจึงทำหน้าที่คิดและรู้ เป็นที่ตั้งของการทำงานทางจิตของคนเรา
เมื่อมีรูปารมณ์มากระทบจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นที่ตั้ง จากนั้น
มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์ ส่วนโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ และชิวหาวิญญาณ
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีหู จมูก และลิ้นเป็นที่ตั้ง สำหรับกายวิญญาณนั้น มีขอบเขต
กว้างขวาง เพราะมีร่างกายทั้งหมดเป็นที่ตั้ง

ภวังคจิต เป็นจิตที่ขั้นระหว่าง......วิถีจิต
วิถีจิต คือ กระบวนการของขันธ์ห้า ตั้งแต่เกิดผัสสะที่ทวารใดทวารหนื่ง จนครบขันธ์ห้า

อธิบาย ภวังคจิต ไม่ได้ทำหน้าที่คิดหรือรู้ เพราะความคิดหรือรู้เป็นวิถีจิต
ความคิดคือผัสสะเมื่อเกิดแล้วจึงเกิดวิถีจิตกระบวนการขันธ์ เมื่อจบกระบวนการขันธ์ของ
ผัสสะตัวนี้จึงจะเกิด...ภวังคจิต

ภวังคจิตเกิดที่ มโนทวาร แต่ยังไม่เกิดเป็นมโนวิญญาณ จึงไม่มีสภาพรู้อารมณ์
ภวังคจิตมีกิจแค่รักษาภพเอาไว้ เพื่อรอวิถีจิตใหม่
:b55: เขียน:
ในขณะที่ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏชัด มโนวิญญาณจะเกิดขึ้นทำหน้าที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ
บางครั้งจึงเพลินอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่รับรู้อารมณ์อื่น การหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องสำคัญอาจทำให้
ถึงกับนอนไม่หลับได้ เพราะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ผุดขึ้นมา เรื่องแล้วเรื่องเล่า โดยมีภวังคจิต
อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม
การคิดในทุกขณะที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าความคิดนั้นก็มีการเกิดดับเป็นช่วงๆ เช่นกัน:

เข้าใจผิดแล้วครับ :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย โฮฮับ เมื่อ 03 ม.ค. 2013, 03:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
จิตที่รู้อารมณ์ โดยไม่ต้องอาศัยทวารเลย คือ ปฏิสนธิจิต จุติจิต และภวังคจิต

จิตที่กล่าวถึงเหล่านี้ เกิดที่ หทยวัตถุ

มโนวิญญาณ ทั้งหมด เกิดที่ หทยวัตถุ

ถ้าจิตทั้งหมด มี 89 ดวง ก็แสดงว่า เกิดที่หทยวัตถุ เสีย 79 ดวง
ถ้าจิตทั้งหมด มี 121 ดวง ก็แสดงว่า เกิดที่หทยวัตถุ เสีย 111 ดวง


มโนวิญญาณ ส่วนหนึ่งรู้อารมณ์ ทางมโนทวาร
มโนวิญญาณ อีกส่วนหนึ่งรู้อารมณ์ โดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลย

มโนวิญญาณ ที่รู้อารมณ์ได้โดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลย คือ ปฏิสนธิจิต จุติจิต และภวังคจิต

จิตที่คุณกล่าวมา มีบางอย่างคลาดเคลื่อนครับ

ภวังคจิต เป็นจิตที่เกิดที่หทยวัตถุ(มโนทวาร) ถูกต้องครับ แต่มันยังไม่เกิดมโนวิญญาณครับ
ที่ว่ายังไม่เกิดมโนวิญญาณ เป็นเพราะยังไม่มีอายตนะภายนอกหรือธ้มมารมณ์มากระทบที่ มโนทวารครับ

ส่วนปฏิสนธิจิตกับจุติจิต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จขกทเขาถามครับ
จขกทเขาถามว่า.....จิตอยู่ตรงไหนของร่างกาย

ปฏิสนธิจิต คือจิตรู้ รูปนาม ส่วนจุติจิตคือจิตที่ละรูปนามครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
สงสัย ปัญญา ผมยังน้อยอยู่เลยยังไม่ค่อนเข้าใจที่หลายๆท่านอธิบาย s002

ผมจะค่อยๆลองศึกษาต่อไปเรื่อยๆครับ :b8:



นี่แหล่ะค่ะ คิดแบบนี้คือผู้ที่จะมีปัญญาในอนาคต หากสนใจศึกษาอย่างจริงจัง
เพราะพระธรรมเป็นเรื่องละเอียด

tongue ต้องขอโทษด้วยค่ะ ที่ไม่ได้ใส่ที่มาของธรรมะที่นำมาแสดง

นำมาจากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร
ผู้รจนาหนังสือนี้คือ
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) วัดท่ามะโอ
พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง
พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ. ๙ M.A.,Ph.D.)

พระอภิธรรม นั้นมีองค์ธรรมกำกับ หากไม่เข้าใจว่าองค์ธรรมของคำนั้นคืออะไร
หรือว่าคำนั้นเป็นองค์ธรรมของอะไร และหากตีความไม่ได้ ก็จะไม่เข้าใจค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
จิตอยู่ในร่างกาย แต่อยู่ตรงส่วนไหน
หรือจิตอยู่ไม่เป็นที่ ในร่างกายเรา

นี่เป็นคำถามของเจ้าของกระทู้ว่า จิตอยู่ตรงไหนของร่างกาย ไม่ได้ถามว่าจิตเกิดที่ไหน
คำว่าทวารทั้ง ๖ นั้นมันเป็นที่เกิดของจิต แต่ไม่ใช่ที่อยู่ของจิต ๒ อย่างนี้ ที่เกิด กับที่อยู่ มันต่างกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
:b44: ในคัมภีร์อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎกได้อุปมาการทำงานของจิตไว้ว่า
เปรียบเหมือนแมงมุมชักใยไว้ดักแมลงแล้วมอบคอยอยู่ตรงกลาง เมื่อมีแมลงบินมาติดใย
แมงมุมก็จะวิ่งไปกินเหยื่อ แล้วก็กลับมาหมอบที่กลางข่ายใยตามเดิม ภวังคจิตหรือมโนวิญญาณ
ก็จะเช่นกัน มีหัวใจเป็นที่อยู่ที่อาศัยและมีโลหิตที่หัวใจสูบฉีดไปตามเส้นโลหิตทั่วร่างกายเป็นเครือข่าย
เมื่อรูปารมณ์มากระทบประสาทตา ก็ทำให้ภวังคจิตที่อยู่ในหัวใจเคลื่อนไหว เปลี่ยนเป็นจักขุวิญญาณ
เป็นต้นในจักขุทวารวิถี (วิถีทางจักขุทวาร) เมื่อวิถีจิตดับลงก็กลับสู่ภวังค์ใหม่อีก สำหรับสัททารมณ์
กับโสตปสาทรูป และคันธรมณ์กับฆานปสาทรูป เป็นต้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

:b48: ด้วยเหตุดังกล่าว ภวังคจิตจึงทำหน้าที่คิดและรู้ เป็นที่ตั้งของการทำงานทางจิตของคนเรา
เมื่อมีรูปารมณ์มากระทบจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยตาเป็นที่ตั้ง จากนั้น
มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นพิจารณารูปารมณ์ ส่วนโสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ และชิวหาวิญญาณ
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยมีหู จมูก และลิ้นเป็นที่ตั้ง สำหรับกายวิญญาณนั้น มีขอบเขต
กว้างขวาง เพราะมีร่างกายทั้งหมดเป็นที่ตั้ง

:b53: ในขณะที่ไม่มีอารมณ์อื่นปรากฏชัด มโนวิญญาณจะเกิดขึ้นทำหน้าที่คิดนึกเรื่องราวต่างๆ
บางครั้งจึงเพลินอยู่กับความคิดจนกระทั่งไม่รับรู้อารมณ์อื่น การหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องสำคัญอาจทำให้
ถึงกับนอนไม่หลับได้ เพราะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ผุดขึ้นมา เรื่องแล้วเรื่องเล่า โดยมีภวังคจิต
อาวัชชนจิต และธรรมารมณ์เป็นปัจจัยปรุงแต่ง แต่สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรม
การคิดในทุกขณะที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าความคิดนั้นก็มีการเกิดดับเป็นช่วงๆ เช่นกัน


:b8: :b8: :b8:

สนับสนุนกระทู้นี้ครับตอบได้ดีมาก อุปมาดังที่อุปมาไว้นั่นแหละถูกต้อง
(อธิบายต่อแบบง่ายๆ) จิตนั้นอุปมาเหมือนตัวแมลงมุม พร้อมกับใยแมลงมุม
เมื่อมีอะไรมากระทบที่ไหน แมลงมุมจะวิ่งไปรับรู้ที่นั่นแล้วจะกลับมาที่เดิม
เปรียบได้ดังจิตถ้ามีอารมณ์ใดมากระทบทางทวารใด จิตก็ไปเกิดที่ทวารนั้นรับรู้สิ่งที่มากระทบ
แล้วจะกลับมาอยู่ตามเดิมที่หทยวัตถุรูปเพราะเป็นที่อยู่ของจิต ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว

ตามความเป็นจริงจิตไม่มีรูปร่างสัณฐานเพราะเป็นนามธรรม แต่จิตมีที่เกิด มีที่อาศัยอยู่จริง
มีที่เกิดคือ ทวาร ๖ ที่อยู่ของจิตนั้นอยู่ที่ หทยวัตถุ เรียกจิตนั้นว่าภวังคจิต และจิตที่เรียกว่าภวังคจิตนั้น
ก็แปลว่าจิตที่พ้นจากทวาร ๖ คือไม่เกิดในทวารใดเลย (อยู่กับเกิดจึงต่างกัน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 107 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร