ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44130
หน้า 1 จากทั้งหมด 5

เจ้าของ:  conan123 [ 22 ธ.ค. 2012, 02:57 ]
หัวข้อกระทู้:  กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

ช่วยด้วยค่ะ ตอนนี้สงสัยจนตัน คิดว่าเราเข้าใจกฎแห่งกรรมผิดไปแน่ๆ

คือเราคิดว่า ถ้าชีวิตเราดำเนินไปตามกรรมที่ก่อไว้ ตั้งแต่ในอดีตชาติ นั่นแปลว่า กรรมก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยสิคะ แบบนี้เราจะมีเจตจำนงเสรีได้ยังไง แบบนี้จะใช้ชีวิตไปทำไมคะ ใช้ไปงั้นๆเพราะชดใช้กรรม คิดแล้วท้อจัง

ที่ว่ากรรมส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นแบบนี้ค่ะ กรรมส่งผลให้เรามาเกิดในตระกูลไหน ยีนส์แบบไหน สมองแบบไหน (ฉลาด โง่ เป็นต้น) และยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่เราต้องเจออีกด้วย เช่น พ่อแม่เลี้ยงดีๆสอนให้เป็นคนดี อีคิวสูง มีเมตตากรุณา กับพ่อแม่เป็นโจรสอนลูกให้ขโมย หรือเพื่อนที่พบเจอ ครูที่พบเจอ นอกจากนี้ ยังมีคนทุกคนที่เราประสบพบเจอ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ หรือแม้แต่โอกาสที่จะศึกษาศาสนา ทุกอย่างก็เป็นเพราะกรรมเก่า และกรรมใหม่ที่เราตัดสินใจ มันก็มาจากผลของกรรมเก่า (เพราะสภาพร่างกายและสมอง และข้อมูลต่างๆที่ถูกป้อนลงสมอง ล้วนได้รับมาเพราะกรรมเก่า) เพราะถ้ากรรมเก่าให้เราเกิดมาในสมองดีๆ สภาพแวดล้อมดีๆ สมองเราก็จะตัดสินใจทำในเรื่องดีๆ แม้แต่ปริมาณออกซิเจนในที่ๆเราอยู่ก็มีผลต่อการทำงานของสมองต่างกัน ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่แต่ละคนได้รับก็เป็นกรรมเก่าด้วย

ดังนั้นมนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง ทุกอย่างถูกชักจูงจากกฎแห่งกรรม แล้วแบบนี้มันต่างอะไรกับตัวละครในเกมส์ ที่่ดำเนินตามกฎของเกมส์นั้นล่ะคะ

เจ้าของ:  คนธรรมดาๆ [ 22 ธ.ค. 2012, 04:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

อย่าคิดแบบนั้นเลยครับ หากคิดแบบนั้นแล้วเราจะพัฒนาตัวเองได้อย่างไร

กรรม แปลว่าการกระทำ กรรมเก่าที่ทำไว้ก็ส่งผลต่อเรา แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าชะตาชีวิตทั้งหมดเราถูกกำหนดมาแล้วไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเรายังเลือกได้

เราเลือกได้ไม่ใช่หรือ ว่าจะทำอะไร หรือไม่ทำอะไร

ปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากอดีต สิ่งที่ประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจจะแก้ไขไม่ได้ แต่อนาคตต่อไปเราเลือกได้ ด้วยการกำหนดการกระทำในปัจจุบันให้เป็นไปตามต้องการ

นิสัยความเคยชินต่างๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นผลจากกรรมเก่า และอันนี้แหละที่มันฝืนยากฝีนเย็นจนเหมือนกับว่าชีวิตเราถูกกำหนดด้วยสิ่งต่างๆเหล่านี้ ดังนั้นหากเราปล่อยเลยตามเลย เราก็จะถูกความเคยชินดึงไปตลอดไป เราจะทำอะไรต่างๆไปตามที่เคยๆทำมาโดยอัตโนมัติ แบบนี้จะต่างอะไรกับการที่เราปล่อยตัวเราเองให้ไหลไปตามยถากรรมเล่า

แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริง สุดท้ายแล้วคนที่จะเลือกทำหรือไม่ทำอะไรคือเราเอง ถึงจะโดนดึงไปแรงแค่ไหน แต่หากใจเราไม่ยอมตาม ไม่ยอมทำเสียอย่าง แบบนี้ก็คือฝืนกระแส แน่นอนเราจะเจอแรงต้านของผลจากกรรมเก่า แต่เมื่อเราเอาชนะได้ เราก็สามารถเปลี่ยนกระแสของกรรมให้เป็นไปในทิศทางตามที่เราต้องการได้

ไม่มีใครอยู่เหนือกฏแห่งกรรม แต่ถ้าเราเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรมแล้ว ทำไมเราไม่เลือกทำกรรมที่ให้ผลดีกับตัวเรา และเลิกกรรมที่ให้ผลร้ายเล่า

มันก็เหมือนกระแสน้ำ น้ำไหลตามทางก็เป็นแม่น้ำลำคลอง เราอยากเลือกทำกรรม ไม่อยากไหลตามกระแส ก็เหมือนกับอยากให้น้ำไหลไปทางใหม่ น้ำไหลตามทางนี้เป็นเวลานานปี จากกระแสเล็กๆกลายเป็นคลอง จากคลองกลายเป็นแม่น้ำ อยู่ๆเราจะเปลี่ยนทิศทางให้ไหลไปทางอื่นก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ หากหมั่นต้านกระแสเก่า สร้างกระแสใหม่ ขุดคลองใหม่ถมคลองเก่าอยู่ทุกวัน ซักวันก็จะเปลี่ยนทิศทางได้เป็นผลสำเร็จแน่นอน

หรือถึงจะยังไม่สำเร็จ ก็ยังถือว่าได้ทำในสิ่งที่น่าภาคภูมิใจไม่ใช่เหรอ

ลองคิดกรณีสมมุติดูเล่นๆก็แล้วกัน สมมุติว่าในชีวิตนี้เราปรารถนาความร่ำรวย แต่เกิดมาในครอบครัวยากจน

เกิดมาลำบากแบบนี้ ความผิดใคร

แล้วเราอยู่มานานขนาดนี้หากยังไม่รู้จักทำตัวเองให้พึ่งตัวเองได้ ให้มีความสะดวกสบายขึ้นบ้าง ความผิดใคร

ดังนั้นในความเห็นผม ผมเห็นว่าที่คุณบอกว่า

โค้ด:
ทุกอย่างถูกชักจูงจากกฎแห่งกรรม


อันนี้เป็นจริง แต่

โค้ด:
มนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง


อันนี้ไม่จริงครับ เราเพียงถูกชักจูงเฉยๆ แต่สุดท้ายแล้วการเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรยังเป็นของเราสมบูรณ์ตลอดไป

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 22 ธ.ค. 2012, 08:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

conan123 เขียน:
ช่วยด้วยค่ะ ตอนนี้สงสัยจนตัน คิดว่าเราเข้าใจกฎแห่งกรรมผิดไปแน่ๆ

คือเราคิดว่า ถ้าชีวิตเราดำเนินไปตามกรรมที่ก่อไว้ ตั้งแต่ในอดีตชาติ นั่นแปลว่า กรรมก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยสิคะ แบบนี้เราจะมีเจตจำนงเสรีได้ยังไง แบบนี้จะใช้ชีวิตไปทำไมคะ ใช้ไปงั้นๆเพราะชดใช้กรรม คิดแล้วท้อจัง



ความคิดที่ติดกับความสงสัยทำคุณเป็นทุกข์อีกแล้ว

คนเราคิดได้ตามธรรมชาติ เดี๋ยวมันก็หายไป แต่การคิดหาเหตุผลต้องได้คำตอบด้วยปัญญา

เราเป็นชาวพุทธสนใจธรรมต้องคิดในหลักแห่งปัญญา ต้องลองคิดในแนงทางของพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าสอนว่า"สุขทุกข์ไม่ใช่ผลของกรรมเก่า แต่เป็นผลการปฏิบัติ ถูก-ผิดต่อกฏอิทัปปัจจยตา"

(ลองศึกษาดู)

conan123 เขียน:

ที่ว่ากรรมส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นแบบนี้ค่ะ กรรมส่งผลให้เรามาเกิดในตระกูลไหน ยีนส์แบบไหน สมองแบบไหน (ฉลาด โง่ เป็นต้น) และยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่เราต้องเจออีกด้วย เช่น พ่อแม่เลี้ยงดีๆสอนให้เป็นคนดี อีคิวสูง มีเมตตากรุณา กับพ่อแม่เป็นโจรสอนลูกให้ขโมย หรือเพื่อนที่พบเจอ ครูที่พบเจอ นอกจากนี้ ยังมีคนทุกคนที่เราประสบพบเจอ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ หรือแม้แต่โอกาสที่จะศึกษาศาสนา ทุกอย่างก็เป็นเพราะกรรมเก่า และกรรมใหม่ที่เราตัดสินใจ มันก็มาจากผลของกรรมเก่า (เพราะสภาพร่างกายและสมอง และข้อมูลต่างๆที่ถูกป้อนลงสมอง ล้วนได้รับมาเพราะกรรมเก่า) เพราะถ้ากรรมเก่าให้เราเกิดมาในสมองดีๆ สภาพแวดล้อมดีๆ สมองเราก็จะตัดสินใจทำในเรื่องดีๆ แม้แต่ปริมาณออกซิเจนในที่ๆเราอยู่ก็มีผลต่อการทำงานของสมองต่างกัน ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่แต่ละคนได้รับก็เป็นกรรมเก่าด้วย

ดังนั้นมนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง ทุกอย่างถูกชักจูงจากกฎแห่งกรรม แล้วแบบนี้มันต่างอะไรกับตัวละครในเกมส์ ที่่ดำเนินตามกฎของเกมส์นั้นล่ะคะ


แม้นกรรมอาจจะมีผลในการเกิด การมีรูปร่าง ความเป็นอยู่ อันมีผลต่อการคิด

แต่ชาวพุทธควรศึกษาในเบื้องลึกกว่านั้น ว่ากายใจนั้น มีความลุ่มลึกกว่าแค่ที่ตาเห็น

เป็นการประกอบ ของรูปนาม แม้เราไม่อาจ เลิกร้างข้อจำกัดทางกายได้

แต่เราเลิกล้างข้อจำกัดทางจิตได้

จงศึกษามองทะลุไปด้วยความจริงว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตน

เลิกความหลงผิด ยึดติดผูกพัน กายใจและปรากฏการณ์ต่างๆ เห็นความจริงว่ามันเป็นเพียงธรรมชาติ

จนจิตมีอิสระตามธรรมชาติ แม้กรรมเก่าก็ไม่อาจมีผลใดๆเลย

มิเช่นนั้นคนพิการ คนจน คนขี้เหร่คงไม่ไม่อาจมีความสุขความสำเร็จในชีวิตได้ จริงไหม:b30:

เจ้าของ:  ปลีกวิเวก [ 22 ธ.ค. 2012, 09:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ก็ย่อมไม่มี”

สิ่งที่คุณ จขกท เข้าใจนั้นเป็นความคิดของพวก "ลัทธิกรรมเก่า" ไม่ใช่หลักของกรรมในพุทธศาสนาแน่นอนค่ะ คุณควรไปศึกษาหลักกรรมในพุทธศาสนาให้ดีเสียก่อน ความสงสัยย่อมเกิดได้เพราะความไม่รู้
แต่กรรมในปัจจุบันเราสามารถแก้ไขความไม่รู้ของเราได้ด้วย..ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้นๆ...เมื่อความรู้เกิดความไม่รู้ก็จะหายไป...นี่เรียกว่ากระทำกรรมหรือสร้างกรรมใหม่ไปในทิศทางที่เหมาะสมดีงาม...
การกระทำที่ได้กระทำไปแล้วนั้นหรือจะเรียกว่า "กรรมเก่า" ก็ได้มันกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เช่น
ผลสอบของคุณออกมาว่าคุณสอบตก...พอคุณรู้ว่าคุณสอบตกถามว่าสอบครั้งต่อไปคุณจะทำอย่างไร
1.คุณจะนั่งคร่ำครวญและพร่ำพรรณาเสียอกเสียใจว่าคุณสอบตกอยู่อย่างนั้นโดยไม่ต้องทำอะไรอีก หรือ
2.คุณจะมาหาสาเหตุว่าครั้งที่แล้วสอบตกเพราะอะไร หาเหตุให้เจอแล้วแก้ไขปรับปรุงแล้วกลับไปสอบใหม่

นี่แหละที่คุณเลือกได้ คุณจะสร้างเหตุปัจจัยเพื่อให้ผลถูกตรงในปัจจุบัน หรือจะรอรับแต่ผลจากเหตุที่คุณสร้างไปแล้ว (ที่เรียกกันว่ากรรมเก่า)

ในปัจจุบันขณะของคุณจะมีทั้งการสร้างเหตุและรับผล ถ้าคุณสร้างเหตุในทิศทางทางที่ดีงามไว้มากผลจากเหตุไม่ดีในอดีตก็อาจจะน้อยลง เหมือน เอาน้ำจืดไปใส่ในน้ำเกลือ ความเค็มของน้ำมันก็จะลดลงไปเรื่อยๆ

เจ้าของ:  nongkong [ 22 ธ.ค. 2012, 20:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

conan123 เขียน:
ช่วยด้วยค่ะ ตอนนี้สงสัยจนตัน คิดว่าเราเข้าใจกฎแห่งกรรมผิดไปแน่ๆ

คือเราคิดว่า ถ้าชีวิตเราดำเนินไปตามกรรมที่ก่อไว้ ตั้งแต่ในอดีตชาติ นั่นแปลว่า กรรมก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยสิคะ แบบนี้เราจะมีเจตจำนงเสรีได้ยังไง แบบนี้จะใช้ชีวิตไปทำไมคะ ใช้ไปงั้นๆเพราะชดใช้กรรม คิดแล้วท้อจัง

ที่ว่ากรรมส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นแบบนี้ค่ะ กรรมส่งผลให้เรามาเกิดในตระกูลไหน ยีนส์แบบไหน สมองแบบไหน (ฉลาด โง่ เป็นต้น) และยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่เราต้องเจออีกด้วย เช่น พ่อแม่เลี้ยงดีๆสอนให้เป็นคนดี อีคิวสูง มีเมตตากรุณา กับพ่อแม่เป็นโจรสอนลูกให้ขโมย หรือเพื่อนที่พบเจอ ครูที่พบเจอ นอกจากนี้ ยังมีคนทุกคนที่เราประสบพบเจอ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ หรือแม้แต่โอกาสที่จะศึกษาศาสนา ทุกอย่างก็เป็นเพราะกรรมเก่า และกรรมใหม่ที่เราตัดสินใจ มันก็มาจากผลของกรรมเก่า (เพราะสภาพร่างกายและสมอง และข้อมูลต่างๆที่ถูกป้อนลงสมอง ล้วนได้รับมาเพราะกรรมเก่า) เพราะถ้ากรรมเก่าให้เราเกิดมาในสมองดีๆ สภาพแวดล้อมดีๆ สมองเราก็จะตัดสินใจทำในเรื่องดีๆ แม้แต่ปริมาณออกซิเจนในที่ๆเราอยู่ก็มีผลต่อการทำงานของสมองต่างกัน ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่แต่ละคนได้รับก็เป็นกรรมเก่าด้วย

ดังนั้นมนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง ทุกอย่างถูกชักจูงจากกฎแห่งกรรม แล้วแบบนี้มันต่างอะไรกับตัวละครในเกมส์ ที่่ดำเนินตามกฎของเกมส์นั้นล่ะคะ

พูดง่ายๆนะจ้ะ กรรมคือการกระทำของเราเอง พฤติกรรมที่มันติดตัวเรามาสะสมมา แล้วลองพิจารณาว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของเรามันเป็นไปในทางกุศลหรืออกุศล อดีตเป็นผลของปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นผลของอนาคต และเรานี่แหละที่กำหนดให้เป็นไปตามเจตจำนงของเรา ลองศึกษาปฏิจสมุปปบาท ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน นี่แหละกฎของกรรมที่ใช้ความรู้สึกเราให้ติดกับดัก รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ฝึกสติสัมปชัญญะให้ไวรู้ทันต่อความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี ที่จะเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรมที่ไม่ดี :b1:

เจ้าของ:  conan123 [ 23 ธ.ค. 2012, 03:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

ขอบคุณทุกความเห็นนะคะ

เจ้าของ:  govit2552 [ 23 ธ.ค. 2012, 06:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

ตา ............... เกิดจาก ผลของกรรม (วิบาก)
หู ................ เกิดจาก ผลของกรรม
จมูก ............. เกิดจาก ผลของกรรม
ลิ้น ............... เกิดจาก ผลของกรรม
กาย .............. เกิดจาก ผลของกรรม
ใจ ............... เกิดจาก อะไรเอ่ย

ใจ หรือจิต มันมีหลายวาระ หลายดวง หลายประเภท
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดวงถัดไปก็เกิดขึ้นสืบต่อ ไม่มีระหว่างคั่น

จิต ถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท(ชาติ) ดังนี้คือ

วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิต อกุศลจิต

ดังนั้น จิต บางประเภท ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ ผลของกรรม(วิบากจิต) เพียงเหตุผลเดียวครับ

วิบากจิต เป็นผลของกรรม ในอดีต (หมายถึง วินาทีที่แล้ว ยาวไปถึงชาติก่อนๆ โน้น นับไม่ถ้วน คืออดีต)

กิริยาจิต เป็นลักษณะ ที่เกิดอัตโนมัติ คือ ยังไงก็ต้องเกิดสืบต่อ เมื่อถึงจังหวะที่จะต้องเกิด

กุศลจิต อันนี้เกิดจากการสะสม มาอย่างยาวนาน เป็นความเคยชิน

อกุศลจิต อันนี้เช่นเดียวกับกุศลจิต คือ สะสมมานาน เป็นความเคยชิน สามารถกะเทาะ ออกได้

สรุป การคิดดี(กุศล) การคิดชั่ว(อกุศล) ไม่ใช่ผลของกรรม(วิบากจิต) ................ ครับผม

เจ้าของ:  govit2552 [ 23 ธ.ค. 2012, 06:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

วิบากจิต เกิดขึ้น เพราะผลของกรรม

กิริยาจิต ไม่เกิดขึ้นเพราะผลของกรรม และตัวมันเองก็ไม่ ก่อกรรม ไม่สร้างกรรม ให้เกิดผลกรรมใดๆ

กุศลจิต ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะผลของกรรม แต่ตัวมันเองเป็นเหตุแห่งกรรม ให้เกิดวิบาก ในอนาคตกาล

อกุศลจิต เป็นเช่นเดียวกับ กุศลจิต คือก่อกรรม ให้ได้รับวิบาก(ให้เกิดวิบากจิต) ในอนาคตกาล

เจ้าของ:  murano [ 23 ธ.ค. 2012, 10:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

cool ทุกสิ่งย่อมดำเนินไปตามเหตุและปัจจัย. มองแบบเผินๆ ก็อาจมองได้ว่า มนุษย์ไม่มีเจตุจำนงเสรี. การมองแบบเผินๆ นี้ ก็ก่อให้ทัศนะแบบ ลัทธิกรรมเก่า ทุกอย่างล้วนเกิดเพราะกรรมเก่า

แต่ถ้ามองให้ละเอียดขึ้นหน่อย ก็จะเห็นว่า คำว่าเหตุและปัจจัย เป็นการอธิบายถึง ผล.
แปลว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเองลอยๆ โดยไม่มีเหตุและปัจจัย. ดังนั้น หากเราไม่โดนล้างสมองด้วยลัทธิกรรมเก่า เราก็ย่อมรู้ว่า บุคคลสามารถสร้าง เหตุ เพื่อให้เกิดผลได้, หรือแม้จะมีเหตุที่เราไม่ได้สร้างขึ้น เราก็สามารถสร้าง ปัจจัย เพื่อบรรเทาผลที่จะเกิดขึ้นได้

:b6: คำว่าเจตจำนงเสรี (อิสระในการตัดสินใจ) เป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือ. ถ้าถามเรา เราก็จะตอบว่า มนุษย์ย่อมมีเจตจำนงเสรี ภายใต้เหตุและปัจจัยหนึ่งๆ
ถ้าไม่มีเหตุและปัจจัย มนุษย์จะไม่ตัดสินใจใดๆ เลย. จริงไม่จริง ก็ลองคิดดู

:b6: ในเชิงปรัชญา ความเป็นมนุษย์ก็เหมือน โอกาสครั้งที่ 2 สำหรับจิตทั้งมวล
แม้วัฎสงสารจะยาวนานเพียงใด แต่เมื่อจิตหนึ่งจิตใดได้ครองร่างมนุษย์ จิตนั้นก็จะเริ่มต้นจากความทรงจำที่เป็น 0. ไม่มีการ ระลึกได้ ถึงสิ่งใดๆ
แต่แม้จะเป็นโอกาสครั้งที่ 2 มันก็เป็นโอกาสบนเหตุและปัจจัยเช่นกัน

เราใช้คำว่า โอกาสครั้งที่ 2 ก็เพราะว่า แม้ในทางทฤษฎี การเกิดเป็นมนุษย์ย่อมเกิดได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ในทางปฏิบัติ จำนวนของจิตในวัฎสงสาร เมื่อเทียบกับจำนวนที่เป็นไปได้ของมนุษย์แล้ว, จะบอกว่า คนเราเกิดได้ครั้งเดียวก็ไม่ผิดนัก

โอเคไหมฮับ :b1: :b1: :b1:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 24 ธ.ค. 2012, 05:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

govit2552 เขียน:
ตา ............... เกิดจาก ผลของกรรม (วิบาก)
หู ................ เกิดจาก ผลของกรรม
จมูก ............. เกิดจาก ผลของกรรม
ลิ้น ............... เกิดจาก ผลของกรรม
กาย .............. เกิดจาก ผลของกรรม
ใจ ............... เกิดจาก อะไรเอ่ย

สงสัยอ่านตำราไม่เคลียร์ แบบนี้เรียกว่า อ่านโดยขาดความเข้าใจ

เรื่องของรูปที่มาจากสมุฐานสี่ คุณกำลังเข้าใจผิดในบัญญัตินะครับ
ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ ทั้งหมดนี้มันรวมอยู่ใน...มหาภูติรูปสี่
ทั้งหมดที่คุณกล่าวมา มันเกิดมาจาก สมุฐานสี่เช่นเดียวกับมหาภูติรูปสี่
เพราะมันเป็นมหาภูติรูปสี่เช่นเดียวกัน มันจังเกิดมาจาก กรรม..อุตุ..จิตและอาหาร

สิ่งที่คุณกำลังสับสน มันเกิดมาจากคุณเข้าใจผิดไปว่า ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กายและใจ
เป็นอุปาทายรูป แท้จริงแล้วมันไม่ใช่อุปาทายรูป เพียงแต่มันเป็นที่ตั้งของอุปาทายรูป
เช่นตาเป็นที่ตั้งของจักขุปสาทรูป หูเป็นที่ตั้งของโสตปสาทรูป.......ฯลฯ

สรุปให้รู้นะครับว่า ความเห็นนี้แสดงความเห็นโดยไม่เข้าใจ เรื่องสมุฐานสี่
คุณโกวิทอ่านตำราแล้วเอามาคิดแต่เพียงว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดสิ่งนั้น
แต่ไม่คิดโดยมวลรวมว่า......ในมหาภูติรูปสี่ ถ้าสมุฐานสี่ที่ทำให้เกิดมหาภูติรูปสี่
ขาดความสมดุลย์ จะทำให้ อุปาทายรูปขาดความสมดุลย์ไปด้วย

เจ้าของ:  Rotala [ 24 ธ.ค. 2012, 09:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

คือเราคิดว่า ถ้าชีวิตเราดำเนินไปตามกรรมที่ก่อไว้ ตั้งแต่ในอดีตชาติ นั่นแปลว่า กรรมก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยสิคะ
(ส่งผล เช่นลักษณะความเคยชิน ทัศนะ มุมมอง ฯลฯ อาศัยเหตุปัจจัยส่งผลกันมา)
(กรรมปัจจุบัน อาศัยเจตนา บวกกับกรรมอดีตเหตุปัจจัยที่ส่งผลกันมา) cool

เจ้าของ:  murano [ 24 ธ.ค. 2012, 11:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

s006 s006 s006 อ่า.... ฮะ

แต่ถ้าเราไม่ยอมจำนนต่อเหตุ-ปัจจัย ที่ไม่มีใครรู้ได้จริง (ซึ่งมักอ้างว่า เป็นกรรมเก่า) เราก็ไม่ใช่คนในลัทธิกรรมก่าว... ฮับ

จริงๆ ไม่ค่อยอยากเขียน แต่สักหน่อยก็ดี... ครือว่า
ลัทธิกรรมเก่า ค่อนข้างเป็นที่นิยมในระบอบการปกครองแบบหนึ่ง. มันมีไว้เพื่อคนกลุ่มหนึ่งจะสามารถปกครองคนหมู่มากได้อย่างไม่มีการต่อต้าน. แม้ในอดีต มันเป็นเพียงลัทธิทางศาสนา แต่ในบางสถานการณ์ มันคือการควบคุมคนด้วยความคิด... อย่างแนบเนียน

แหะ แหะ s002 s002 s002

เจ้าของ:  world2/2554 [ 24 ธ.ค. 2012, 11:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

conan123 เขียน:
ช่วยด้วยค่ะ ตอนนี้สงสัยจนตัน คิดว่าเราเข้าใจกฎแห่งกรรมผิดไปแน่ๆ

คือเราคิดว่า ถ้าชีวิตเราดำเนินไปตามกรรมที่ก่อไว้ ตั้งแต่ในอดีตชาติ นั่นแปลว่า กรรมก็จะส่งผลต่อการตัดสินใจของแต่ละคนด้วยสิคะ แบบนี้เราจะมีเจตจำนงเสรีได้ยังไง แบบนี้จะใช้ชีวิตไปทำไมคะ ใช้ไปงั้นๆเพราะชดใช้กรรม คิดแล้วท้อจัง

ที่ว่ากรรมส่งผลต่อการตัดสินใจ เป็นแบบนี้ค่ะ กรรมส่งผลให้เรามาเกิดในตระกูลไหน ยีนส์แบบไหน สมองแบบไหน (ฉลาด โง่ เป็นต้น) และยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่เราต้องเจออีกด้วย เช่น พ่อแม่เลี้ยงดีๆสอนให้เป็นคนดี อีคิวสูง มีเมตตากรุณา กับพ่อแม่เป็นโจรสอนลูกให้ขโมย หรือเพื่อนที่พบเจอ ครูที่พบเจอ นอกจากนี้ ยังมีคนทุกคนที่เราประสบพบเจอ เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ หรือแม้แต่โอกาสที่จะศึกษาศาสนา ทุกอย่างก็เป็นเพราะกรรมเก่า และกรรมใหม่ที่เราตัดสินใจ มันก็มาจากผลของกรรมเก่า (เพราะสภาพร่างกายและสมอง และข้อมูลต่างๆที่ถูกป้อนลงสมอง ล้วนได้รับมาเพราะกรรมเก่า) เพราะถ้ากรรมเก่าให้เราเกิดมาในสมองดีๆ สภาพแวดล้อมดีๆ สมองเราก็จะตัดสินใจทำในเรื่องดีๆ แม้แต่ปริมาณออกซิเจนในที่ๆเราอยู่ก็มีผลต่อการทำงานของสมองต่างกัน ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่แต่ละคนได้รับก็เป็นกรรมเก่าด้วย

ดังนั้นมนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรีที่จะตัดสินใจอะไรด้วยตนเอง ทุกอย่างถูกชักจูงจากกฎแห่งกรรม แล้วแบบนี้มันต่างอะไรกับตัวละครในเกมส์ ที่่ดำเนินตามกฎของเกมส์นั้นล่ะคะ

ที่คุณเข้าใจน่ะ มันเป็นกรรมอย่างหยาบ ซึ่งเรียกว่า สมมติอารมณ์ ที่มี คน สัตว์ สิ่งของ เป็นสิ่งเทียบเคียงได้ ซึ่งทุกคนสามารถที่จะเทียบเคียงได้ โดยวุฒิภาวะ ประสบการณ์ตรง ที่เกิดปรากฏขึ้น ส่วนกรรมอันเป็นไปภายในนั้นเป็นกรรมละเอียด ซึ่งเรียกว่า ปรมัตถอารมณ์ เป็นสิ่งที่ทุกคนก็สามารถที่จะฝึกขัดเกลาให้ผ่องใสสะอาด ซึ่งหมายถึง การหมดกิเลสาสวะ เป็นที่สุด

เจ้าของ:  govit2552 [ 24 ธ.ค. 2012, 18:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

อ้างคำพูด:
govit2552 เขียน:
ตา ............... เกิดจาก ผลของกรรม (วิบาก)
หู ................ เกิดจาก ผลของกรรม
จมูก ............. เกิดจาก ผลของกรรม
ลิ้น ............... เกิดจาก ผลของกรรม
กาย .............. เกิดจาก ผลของกรรม
ใจ ............... เกิดจาก อะไรเอ่ย


สงสัยอ่านตำราไม่เคลียร์ แบบนี้เรียกว่า อ่านโดยขาดความเข้าใจ

เรื่องของรูปที่มาจากสมุฐานสี่ คุณกำลังเข้าใจผิดในบัญญัตินะครับ
ตา..หู..จมูก..ลิ้น..กาย..ใจ ทั้งหมดนี้มันรวมอยู่ใน...มหาภูติรูปสี่
ทั้งหมดที่คุณกล่าวมา มันเกิดมาจาก สมุฐานสี่เช่นเดียวกับมหาภูติรูปสี่
เพราะมันเป็นมหาภูติรูปสี่เช่นเดียวกัน มันจังเกิดมาจาก กรรม..อุตุ..จิตและอาหาร


ครับ ท่านโฮ ละเอียด ดีครับ
บางที เขียนรวบรัด ส่งผลให้ดูคลาดเคลื่อนไปบ้าง ยังมีท่านโฮเห็น แยกแยะได้ ก็ ขอบคุณครับ ที่พิจารณาข้อความของผม

ยกตัวอย่าง เช่น ......... ถ้าพูดแบบละเอียด เป็นดังนี้คือ

เมื่อพูด ถึง ตา(จักขุ) คำเดียว..............
แท้จริงแล้ว ประกอบด้วย รูป(จักขุปสาทรูป) และนาม(จักขุวิญญาณ)

จักขุปสาทรูป เกิดจากผลของกรรม (ส่วนจะเกิดจากสาเหตุอื่นอีก อันนี้ไม่ยืนยัน แล้วแต่ท่านโฮ)
จักขุวิญญาณ เกิดจากผลของกรรม (เป็นวิบากจิต)

เจ้าของ:  govit2552 [ 24 ธ.ค. 2012, 18:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: กฎแห่งกรรม กับเจตจำนงเสรี

อ้างคำพูด:
ปสาทรูป ๕

๑. จักขุปสาท มีวจนัตถะว่า “ จกฺขุวิฺาณธิฏฺิตํ หุตฺวา สมวิสมํ จกฺขติ อาจิกฺขนฺตํ วิย โหตีติ = จกฺขุ ” รูปใดเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ และมีสภาพเป็นอยู่คล้ายกับบอกให้จักขุวิญญาณรู้ในอารมณ์ว่า อารมณ์นั้นดี อารมณ์นี้ไม่ดี ฉะนั้น รูปนั้น ชื่อว่า จักขุ ได้แก่ จักขุปสาท
ดวงตาทั้งหมดไม่ชื่อว่า จักขุปสาท ที่ชื่อว่า จักขุปสาท นี้คือ เป็นธรรมชาติ รูปชนิดหนึ่งที่เกิดจากกรรม มีความใสดุจกระจกเงา เป็นเครื่องรับรูปารมณ์ ตั้งอยู่ใน ระหว่างกลางตาดำ มีเยื่อตา ๗ ชั้นซับอยู่ ประดุจปุยสำลีที่อาบด้วยน้ำมันชุ่มอยู่ทั้ง ๗ ชั้นโตประมาณเท่าหัวของเหา มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ อย่าง คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งจักขุ-วิญญาณจิตอย่างหนึ่ง เป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งจักขุทวารวิถีจิตอย่างหนึ่ง

หน้า 1 จากทั้งหมด 5 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/