วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 20:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2012, 16:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความกรุณาช่วยอธิบาย ท่อนนี้ให้หน่อยครับ-การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วย อาการ เพศ นิมิต อุเทศ - นั้นเป็นอย่างไรครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2012, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อยู่ในข้อความที่ [๖๐] นะครับใน มหานิทานสูตร
ลองอ่านแต่ต้นสูตร น่าจะได้ใจความทั้งหมดว่า
ทรงบัญญัติ อาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไว้เพื่อ
ประโยชน์อะไร.





ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ
นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง
ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ


มหานิทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 455&Z=1887

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2012, 14:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
อยู่ในข้อความที่ [๖๐] นะครับใน มหานิทานสูตร
ลองอ่านแต่ต้นสูตร น่าจะได้ใจความทั้งหมดว่า
ทรงบัญญัติ อาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไว้เพื่อ
ประโยชน์อะไร.





ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ
นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง
ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ


มหานิทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 455&Z=1887


ท่านพุทธฎีกา ช่วยอธิบาย ความด้านบนนี้ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2012, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขออนุญาตไล่ตั้งแต่ต้นพระสูตรอีกครั้งนะครับ

ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า
ชรามรณะ มีเพราะอาศัย ชาติ เป็นปัจจัย
ชาติ มีเพราะอาศัย ภพ เป็นปัจจัย
ภพ มีเพราะอาศัย อุปาทาน เป็นปัจจัย
อุปาทาน มีเพราะอาศัย ตัณหา เป็นปัจจัย
ตัณหา มีเพราะอาศัย เวทนา เป็นปัจจัย
เวทนา มีเพราะอาศัย ผัสสะ เป็นปัจจัย
ผัสสะ มีเพราะอาศัย นามรูป เป็นปัจจัย


พุทธฏีกา เขียน:


ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ
นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วย อาการ เพศ นิมิต อุเทศเหล่านี้



หากมีแต่รูปขันธ์ ไม่มีนามขันธ์ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
การหมายรู้ในผัสสะ ที่จะกระทบสัมผัสเพื่อกำหนด
อาการ เพศ นิมิต อุเทศต่างๆ ให้รู้ก็ย่อมไม่มี

หากมีแต่นามขันธ์ ไม่มีรูปขันธ์ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
การหมายรู้ในผัสสะ ที่จะรับรู้ เรียกชื่อของสภาพธรรม
โดยอาการ เพศ นิมิต อุเทศต่างๆ ให้หมายรู้ย่อมไม่มี


การบัญญัติ นามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ ของนามกาย
เช่น เวทนา ก็คืออาการหรือลักษณะของเวทนา ว่านี้สุขเวทนา
นี้ทุกข์เวทนา นี้อุเบกขาเวทนา ฯลฯ มีลิงค์ หรือเพศที่ปรากฏแห่ง
ความเสวยอารมณ์แบบนี้ๆ มีลักษณะนิมิตที่เสวยอารมณ์แบบนี้
มีชื่อ หรือ หัวข้อ(อุเทศ) ให้รู้ลักษณะที่ว่าเสวยอารมณ์แบบนี้ๆ

หรือ สัญญา นี่คืออาการหรือลักษณะของสัญญา อาการจำ
จำลักษณะ ลิงค์(เพศ)ที่ปรากฏ จำลักษณะแห่งนิมิต จำลักษณะหัวข้อ
หรืออุเทศนั้นๆ

หรือ เจตนาหรือ สังขาร ว่าคืออาการลักษณะแห่งเจตนาที่
ปรุงแต่ง มีลิงค์(เพศ)ที่ปรากฏการปรุงแต่ง มีลักษณะนิมิตที่ปรุงแต่ง
มีลักษณะหัวข้อ (อุเทศ) ให้รู้สภาพแห่งเจตนาที่ปรุงแต่งของสังขาร

หรือ วิญญาณ ว่านี่คืออาการลักษณะที่รู้แจ้ง มีลิงค์(เพศ)
ที่ปรากฏเรียกว่ารู้แจ้ง มีลักษณะนิมิตที่พึงรู้แจ้งอารมณ์ มีลักษณะ
อุเทศ ว่าเป็นลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น รูปกาย ต้องพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ เช่น
พุทธฏีกา เขียน:
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง
ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เมื่อพร้อมพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ การสัมผัสโดยกระทบย่อมปรากฏ


ไม่ว่าจะเป็น นามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ เช่น
พุทธฏีกา เขียน:
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี
จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เมื่อพร้อมพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ
การสัมผัส เพียงแต่ชื่อ (หมายเรียกบัญญัติให้รู้) และ
การสัมผัสโดยการกระทบย่อมปรากฏ

ไม่ว่าจะเป็น นามรูป ต้องพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ เช่น
พุทธฏีกา เขียน:
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ


เมื่อพร้อมด้วย อ,พ,น,อุ การสัมผัสโดยกระทบย่อมปรากฏ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2012, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว อาการ เพศ นิมิต อุเทศ มันแปลว่าอะไรครับ ไม่เข้าใจครับ
ดูก่อนอานนท์ การบัญญัตินามกาย อันเป็นที่ประชุมของนามย่อมมีได้ด้วยอาการเพศ นิมิต อุเทศ เมื่อมีอุเทศแห่งเวทนาว่าเวทนาในอาการรู้สึก ในเพศรู้สึก ในนิมิตรู้สึก เมื่อมีอุเทศแห่งสัญญาว่า สัญญาในอาการรู้พร้อม ในเพศรู้พร้อม ในนิมิตรู้พร้อม เมื่อมีอุเทศแห่งสังขารทั้งหลายว่า เจตนาแห่งสังขารทั้งหลาย ในอาการแห่งเจตนา ในเพศแห่งเจตนาในนิมิตแห่งเจตนา เมื่อมีอุเทศแห่งวิญญาณว่า วิญญาณในอาการรู้แจ้งในเพศรู้แจ้งในนิมิตรู้แจ้งดังนี้ ย่อมเป็นการบัญญัตินามกายว่านี้เป็นนามกายเมื่อไม่มีอาการเป็นต้น ในเวทนาเป็นต้น อันเป็นเหตุให้บัญญัตินามกาย การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย จึงพึงปรากฏได้บ้างไหม มโนสัมผัสอันใดที่เป็นไวพจน์ของการสัมผัสเพียงแต่ชื่อในมโนทวาร กระทำขันธ์ ๔ ให้เป็นวัตถุแล้วจึงเกิดขึ้น มโนสัมผัสนั้นจะพึงปรากฏในรูปกาย พึงกระทำประสาททั้ง ๕ ให้เป็นวัตถุแล้วพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหมดังนี้ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ยอมรับการเกิดขึ้นแห่งสัมผัสนั้นจากรูปกาย ดุจเมื่อไม่มีต้นมะม่วงก็ไม่รับการเกิดขึ้นของผลมะม่วงสุกจากต้นชมพู ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า <b>โน เหตํ ภนฺเตb> ดังนี้.


หรือ จะอธิบายทั้งหมดนี้ก็ได้นะครับ เอาแบบ ภาษาไทย อ่ะครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2012, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อาการ หมายถึง

คำนาม ที่เกิดจาก กริยาหรือคำวิเศษณ์ ที่ใช่นำหน้า กิริยาอาการ
หรือ เป็นคุณสมบัติ,สภาพที่ปรากฏ,ลักษณะที่ใช่กำหนด ฯลฯ

เพศ หมายถึง

คำนาม เครื่องหมายเพศ ประเภทคําในไวยากรณ์ในภาษาบาลี
เพื่อระบุว่าเป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์
คือ เพศหญิง

นิมิต หมายถึง

คำนาม ที่แสดงเหตุ หรือเครื่องหมายให้รู้สิ่งที่ปรากฏ

อุเทศ หมายถึง

คำนาม ที่บ่งถึงหัวข้อที่ยกขึ้นแสดง,การชี้แจงและอธิบาย.

อ้างคำพูด:
ดูก่อนอานนท์ การบัญญัตินามกาย อันเป็นที่ประชุมของนามย่อมมีได้ด้วยอาการเพศ นิมิต อุเทศ

การบัญญัติ นามกาย ย่อมมีได้ด้วยการบอกแสดงถึงสภาพธรรมที่ปรากฏ
ของนามกาย(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายๆ อย่าง เพื่อระบุ หรือจัดว่าเป็นเพศใดใน๓ ลิงค์ เป็นภิกษุก็ดี
เป็นบุรุษก็ดี เป็นสตรีหรือ? ที่ปรากฏเฉพาะนามกาย? รวมถึงการ
ยกหัวข้อ ของอาการก็ดี เพศก็ดี อุเทศนั้นๆ ก็ดี ขึ้นแสดงย่อมมีได้
ด้วยการ (เกิดกระทบสัมผัสของ[รูปและนาม] เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้
จึงมี อิทัปปัจจัยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ฯลฯ) ยกขึ้นแสดง
บอก ชี้แจง ถึงสภาพธรรม(นามกาย)เหล่านี้ที่ปรากฏ

อ้างคำพูด:
เมื่อมีอุเทศแห่งเวทนาว่าเวทนาในอาการรู้สึก ในเพศรู้สึก ในนิมิตรู้สึก

เมื่อมีหัวข้อ ที่จะยกขึ้นแสดงความหมายของเวทนา ว่าเวทนามีอาการอย่างนี้
มีลักษณะอย่างนี้ มีกิริยาที่รู้สึกมีลักษณะเสวยอารมณ์ ในเพศรู้สึก ก็ระบุลงไป
ว่าเป็นภิกษุ เป็นบุรุษหรือสตรีที่รู้สึก ที่เสวยอารมณ์ได้ มีนิมิตแสดงเหตุ หรือ
เครื่องหมายให้รู้สิ่งที่ปรากฏว่า แสดงโสมนัสเวทนา หรือโทมนัสเวทนาเป็น
อาการ เป็นเพศ เป็นนิมิตปรากฏถึงความเสวยอารมณ์อย่างไร ฯลฯ

อ้างคำพูด:
เมื่อมีอุเทศแห่งสัญญาว่า สัญญาในอาการรู้พร้อม ในเพศรู้พร้อม ในนิมิตรู้พร้อม

หัวข้อที่จะยกขึ้นแสดงโดยอุเทศแห่งสัญญา ในกิริยาอาการ ในการระบุเพศ
ในนิมิตหมายให้รู้ โดยนัยของ เจตนา,สังขาร วิญญาณ ก็เหมือนกันกับข้างต้น

อ้างคำพูด:
เมื่อมีอุเทศแห่งวิญญาณว่า วิญญาณในอาการรู้แจ้งในเพศรู้แจ้งในนิมิตรู้แจ้งดังนี้ ย่อมเป็นการบัญญัตินามกายว่านี้เป็นนามกาย

เพราะมี การยกหัวข้อขึ้นแสดงชี้แจงถึง กิริยาอาการ สภาพลักษณะของนามกาย
ของวิญญาณ ในลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์ ในเพศแห่งภิกษุผู้รู้แจ้งอารมณ์ ในเพศแห่ง
บุรุษผู้รู้แจ้งอารมณ์ ในสตรีผู้รู้แจ้งอารมณ์ ในนิมิตเครื่องกำหนดหมายเพื่อให้รู้
ลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์ เหล่านี้ทั้งหมด ย่อมเป็นการบัญญัติเรียกชื่อ ในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในนามกายนี้ว่าเป็น นามกาย.

อ้างคำพูด:
เมื่อไม่มีอาการเป็นต้น ในเวทนาเป็นต้น อันเป็นเหตุให้บัญญัตินามกาย การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย จึงพึงปรากฏได้บ้างไหม

เมื่อไม่มีกิริยา อาการทางนามกาย ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน
เป็นเหตุให้บัญญัติเรียกกำหนด นามกาย (เมื่อไม่มีการประชุมรวมกันของรูปกับนาม)
ขาดเวทนา ขาดสัญญา ขาดสังขาร ขาดวิญญาณไปรู้อารมณ์ทางกาย เหตุที่จะ
เรียกหรือบัญญัติอาการต่างๆ ก็ไม่มี ไม่ปรากฏ

อ้างคำพูด:
มโนสัมผัสอันใดที่เป็นไวพจน์ของการสัมผัสเพียงแต่ชื่อในมโนทวาร กระทำขันธ์ ๔ ให้เป็นวัตถุแล้วจึงเกิดขึ้น

ความรู้อารมณ์ทางใจ ทางหทัยวัตถุ ทางมโนทวาราวัชชนะ มโนทวาร ทำขันธ์ ๔
เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ และ รูปขันธ์ ๑ ให้เป็นวัตถุแล้วจึงเกิด
ความรู้แจ้ง(อารมณ์)เกิดมโนสัมผัส (รู้สึก) ขึ้นในมโนทวาร.

อ้างคำพูด:
มโนสัมผัสนั้นจะพึงปรากฏในรูปกาย พึงกระทำประสาททั้ง ๕ ให้เป็นวัตถุแล้วพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหมดังนี้

ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ ที่จะรู้สึกกระทบสัมผัส จะพึงปรากฏในรูปกาย
ทำให้เกิดความรู้อารมณ์ต่างๆ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ประสาทสัมผัสทั้ง ๕
จะเกิดขึ้นได้บ้างไหม (ตอบ ไม่ได้เพราะข้างต้นในอ้างอิงที่ ๕ พูดถึงว่า -
[หากขาด หรือ เมื่อไม่มีอาการ]เป็นต้น ในเวทนาเป็นต้น อันเป็นเหตุให้
บัญญัตินามกาย การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย จึงพึงปรากฏได้บ้างไหม)

ไม่ได้เลย

อ้างคำพูด:
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ยอมรับการเกิดขึ้นแห่งสัมผัสนั้นจากรูปกาย ดุจเมื่อไม่มีต้นมะม่วงก็ไม่รับการเกิดขึ้นของผลมะม่วงสุกจากต้นชมพู ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

อ้างคำพูด:
[๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา
โดยส่วนสอง ด้วยประการดังนี้แล ฯ

ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ
ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา-
*สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ
ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา
ก็คือผัสสะนั่นเอง ฯ

ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย
ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ
นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ


ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง
ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ


ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ
นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ
ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ


ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ

ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง
ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป
นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่
จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป
ก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ

ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว
ไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯ


ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ
ก็คือนามรูปนั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป
จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ

-------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 455&Z=1887


.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2012, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย ขอบคุณท่านผู้ถามและผู้ตอบ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2012, 12:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ

ผมถามคำถามนี้มา 3-4ที่ ได้คำตอบ และตีความหมายคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ลองดูความหมายที่ได้มาจากที่อื่นนะครับ

๑ นามกาย หมายถึงนามขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์
(ที.ม.อ. ๑๑๔/๙๙)
๒ อาการ หมายถึงอากัปกิริยาของนามขันธ์แต่ละอย่างที่สำแดงออกมา (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓)
๓ เพศ หมายถึงลักษณะที่บ่งบอกหรือใช้เป็นเครื่องอนุมานถึงนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา ๑๑๔/๑๒๓)
๔ นิมิต หมายถึงเครื่องหมายแสดงถึงลักษณะเฉพาะของนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓)
๕ อุทเทส หมายถึงคำอธิบายเกี่ยวกับนามขันธ์แต่ละอย่าง เช่น เป็นสิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ (ที.ม.ฏีกา.
๑๑๔/๑๒๓)


และอีกที่นึง อรรถกถาจารย์แก้ไว้
ท่านกล่าวอาการทั้งหลาย ในบทว่า <b>เยหิ อานนฺท อากาเรหิb> เป็นต้น เป็นสภาพไม่ใช่เช่นเดียวกันและกันแห่งเวทนาเป็นต้น ท่านแสดงอาการเหล่านั้นไว้ด้วยดี ชื่อว่าลิงค์ (เพศ) เพราะถึงความเสื่อมโทรม ชื่อว่านิมิต เพราะเหตุคือรู้เรื่องนั้น ๆ ชื่ออุทเทส เพราะควรแสดงอย่างนั้น ๆ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากคำถามและคำตอบผมพอจะเข้าใจได้บ้าง
แต่อาจไม่ถูกก็ได้เพราะผมมีความรู้ทางธรรมน้อยมาก

นามกาย ต้องอยู่ในสถานะรูปขันธ์และนามขันธ์พร้อมกัน
รูปขันธ์ มีรูปร่างจับต้องได้
นามขันธ์ มีอยู่จริงแต่ไม่มีรูปร่างจับต้องไม่ได้เช่น ความจำ ความรู้สึก อารมณ์ ในที่นี้ไม่น่าจะหมายถึง"ชื่อ"เพราะเป็นสิ่งสมมุติที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารเท่านั้น

นามกาย ยังต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ
๑.ขยับและเคลื่อนไหวส่วนต่างของร่างกายได้หรือแสดงกริยาอาการต่างๆได้
๒.มีเพศหญิงหรือเพศชาย คงไม่รวมนักบวชด้วยเดี๋ยวพวกเพศทางเลือกมาขอร่วมด้วยจะยุ่งไปใหญ่ น่าจะเป็นเพศที่เกิดจากธรรมชาติอย่างปกติเท่านั้น
๓.รับรู้สิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบได้
๔.แสดงออกหรือตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ได้

นามกายก็คือคนธรรมดาๆนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ขอบคุณครับ

ผมถามคำถามนี้มา 3-4ที่ ได้คำตอบ และตีความหมายคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ลองดูความหมายที่ได้มาจากที่อื่นนะครับ

๑ นามกาย หมายถึงนามขันธ์ ๔ คือ (๑) เวทนาขันธ์ (๒) สัญญาขันธ์ (๓) สังขารขันธ์ (๔) วิญญาณขันธ์
(ที.ม.อ. ๑๑๔/๙๙)
๒ อาการ หมายถึงอากัปกิริยาของนามขันธ์แต่ละอย่างที่สำแดงออกมา (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓)
๓ เพศ หมายถึงลักษณะที่บ่งบอกหรือใช้เป็นเครื่องอนุมานถึงนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา ๑๑๔/๑๒๓)
๔ นิมิต หมายถึงเครื่องหมายแสดงถึงลักษณะเฉพาะของนามขันธ์แต่ละอย่าง (ที.ม.ฏีกา. ๑๑๔/๑๒๓)
๕ อุทเทส หมายถึงคำอธิบายเกี่ยวกับนามขันธ์แต่ละอย่าง เช่น เป็นสิ่งที่ไม่ใช่รูป เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ (ที.ม.ฏีกา.
๑๑๔/๑๒๓)


และอีกที่นึง อรรถกถาจารย์แก้ไว้
ท่านกล่าวอาการทั้งหลาย ในบทว่า <b>เยหิ อานนฺท อากาเรหิb> เป็นต้น เป็นสภาพไม่ใช่เช่นเดียวกันและกันแห่งเวทนาเป็นต้น ท่านแสดงอาการเหล่านั้นไว้ด้วยดี ชื่อว่าลิงค์ (เพศ) เพราะถึงความเสื่อมโทรม ชื่อว่านิมิต เพราะเหตุคือรู้เรื่องนั้น ๆ ชื่ออุทเทส เพราะควรแสดงอย่างนั้น ๆ
:b8:

กระทู้นี้แสดงให้เห็นว่า จขกทไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติในพุทธศาสนา
พุทธพจน์ไม่ได้มีไว้ให้ศึกษา แต่พุทธพจน์มีไว้ให้เทียบเคียง....ปรมัตถ์

การศึกษาพุทธพจน์ไม่ใช่การตีความหมายคำศัพท์
พุทธพจน์มีไว้เพื่อ อธิบายสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ในกายใจของเรา

การเอาคำศัพท์หรือบัญญัติ มาตีความมันจะทำให้พุทธพจน์ขยายกว้างออกไป
เป็นเหตุให้ชาวพุทธหาแก่นธรรมไม่เจอ ดูได้จากจขกท รู้ความหมายหรือคำแปลจากที่หนึ่งแล้ว
ก็ยังมาถามความหมายคำแปลจากที่นี้อีก แค่นี้ก็รู้แล้วว่า ผิดหลักการปฏิบัติ
ยิ่งเรียนยิ่งสงสัยมันใช้ไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
จากคำถามและคำตอบผมพอจะเข้าใจได้บ้าง
แต่อาจไม่ถูกก็ได้เพราะผมมีความรู้ทางธรรมน้อยมาก

นามกาย ต้องอยู่ในสถานะรูปขันธ์และนามขันธ์พร้อมกัน
รูปขันธ์ มีรูปร่างจับต้องได้
นามขันธ์ มีอยู่จริงแต่ไม่มีรูปร่างจับต้องไม่ได้เช่น ความจำ ความรู้สึก อารมณ์ ในที่นี้ไม่น่าจะหมายถึง"ชื่อ"เพราะเป็นสิ่งสมมุติที่ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารเท่านั้น

พุทธพจน์แต่ละบท เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน บุคคลแต่ละบุคคล ต่างสถานที่
ต่างสถานะ พุทธพจน์ไม่ใช่แบบเรียนที่จะต้องท่องจำ เพราะการท่องจำมันจะทำให้
พุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ในแต่ละเหตุการณ์ มันเกิดความสับสนปนเป ทำให้ความหมาย
ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวแปลเปลี่ยนไป

จะยกตัวอย่างให้ดู อย่างคนที่พึ่งรู้เรื่องขันธ์ห้า รูปกับนาม ท่านอธิบายว่า...รูปคือกาย
เรียกว่า..รูปขันธ์ นามเป็นสิ่งที่เกิดจากรูป(กาย) เรียกว่านาม

พอมาถึงตอนนี้จขกทไปยกเอาบัญญัติคำศัพท์ที่พระพุทธองค์
เอาไว้อธิบายอีกเรื่อง ที่ผู้ฟังต่างด้วยสถานะจึงเกิดศัพท์หรือบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า....
นามกาย ด้วยความไม่รู้ทำให้สมาชิกเอาเรื่องขันธฺห้ากับนามกายมาปนเปเป็นเรื่องเดียวกัน
แท้ที่จริงแล้วขันธ์ห้ากับนามกายมันเป็นคนละเรื่อง
ขันธ์ห้าก็คือที่มาของคำศัพท์ที่จขกทเอามาถาม
ส่วนคำว่านามกายในพุทธพจน์ พระพุทธองค์ไม่ได้จะอธิบายลักษณะของขันธ์ห้า
แต่พระองค์กำลังอธิบายเหตุปัจจัยการเกิดดับของขันธ์ห้า


ความหมายก็คือ ขันธ์ห้ามีต้นเหตุมาจากกาย ดังนั้น......
นามกายก็คือสภาวะที่เป็นนามอันมีเหตุปัจจัยมาจากกาย นั้นก็คือขันธ์ห้านั้นเอง
สรุปก็คือ....ขันธ์ห้าเป็นนามของกาย

ดังนั้น คำศัพท์ที่จขกทเอามาถาม มันไม่ใช่สาระเลย
สาระมันอยู่ที่อารมณ์ปรมัตถ์ มันต้องรู้ปรมัตถ์ในเรื่องนั้นเสียก่อน
จึงจะเข้าใจบัญญัติในเรื่องนั้น ไม่ใช่การอ่านบัญญัติเพื่อไปหาปรมัตถ์แบบที่จขกท
กำลังกระทำอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 06:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b29: :b8:

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
:b29: :b8:

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8: :b8: :b8:

:b9: จะโพสทำไม ถ้าโพสแล้วไม่เข้าใจความหมาย นามกายเอย รูปกายเอยที่โพสมา
ทำให้สับสนตัวเองเปล่าๆ บอกแล้วอย่าเอาพุทธพจน์มาโพสซี่ซั่ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2012, 19:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


:b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2012, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
:b29: :b8:

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต
อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง
ปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ
ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ
ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
:b8: :b8: :b8:

:b9: จะโพสทำไม ถ้าโพสแล้วไม่เข้าใจความหมาย นามกายเอย รูปกายเอยที่โพสมา
ทำให้สับสนตัวเองเปล่าๆ บอกแล้วอย่าเอาพุทธพจน์มาโพสซี่ซั่ว :b32:


ขอความกรุณาท่าน โฮฮับ อธิบายความหมายให้ฟังหน่อยครับ ว่า นามกาย หมายถึงขันธ์ 5 ที่รวมรูปขันธ์ อยู่ด้วยหรือครับ แล้วรูปกาย คือ อะไรครับ

ขอบคุณครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 174 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร