ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44011
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  พุทธวจน บางบัวทอง [ 07 ธ.ค. 2012, 13:30 ]
หัวข้อกระทู้:  ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

ความอยาก (ตัณหา)
คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

เพราะอาศัยตัณหา (ความอยาก) จึงมี การแสวงหา
(ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วย
ความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี
ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ
(ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่
(มจฺจริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น
(อารกฺโข);

เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจาก
การหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ); กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม
การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และ
การพูดเท็จ ทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก
ย่อมเกิดขึ้นพร้อม ด้วยอาการอย่างนี้.

มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.

เจ้าของ:  asoka [ 07 ธ.ค. 2012, 20:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

:b16:
ผมว่า...."ความเห็นต่าง".......(ทิฐิ).....มากกว่า....ที่จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทนะครับ
:b10:
ดูตัวอย่างการเมืองเมืองไทยนี้ หรือการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลกก็ได้นะครับ....เพราะเห็นต่างจึงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรค เป็นสี เป็นพวก เป็นกลุ่ม เป็นลัทธิ เป็นนิกาาย กันไม่รู้จบ
:b10:

เจ้าของ:  พุทธวจน บางบัวทอง [ 10 ธ.ค. 2012, 11:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

asoka เขียน:
:b16:
ผมว่า...."ความเห็นต่าง".......(ทิฐิ).....มากกว่า....ที่จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทนะครับ
:b10:
ดูตัวอย่างการเมืองเมืองไทยนี้ หรือการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลกก็ได้นะครับ....เพราะเห็นต่างจึงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรค เป็นสี เป็นพวก เป็นกลุ่ม เป็นลัทธิ เป็นนิกาาย กันไม่รู้จบ
:b10:


*** คงไม่ใช่ครับ เพราะนี่คือ คำกล่าวของพระศาสดาครับ ถ้าใครเห็นต่างก็แสดงว่า
มีความเห็นคัดง้างพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้บัญญัติคำสอน
...

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 10 ธ.ค. 2012, 12:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

asoka เขียน:
:b16:
ผมว่า...."ความเห็นต่าง".......(ทิฐิ).....มากกว่า....ที่จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทนะครับ
:b10:
ดูตัวอย่างการเมืองเมืองไทยนี้ หรือการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลกก็ได้นะครับ....เพราะเห็นต่างจึงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรค เป็นสี เป็นพวก เป็นกลุ่ม เป็นลัทธิ เป็นนิกาาย กันไม่รู้จบ
:b10:


ความเห็นต่าง....มันก็มีเหตุ...

เหตุ....ก็คือ...คิดว่า...ความเห็นนั้น...มันดี

ในโลกนี้...อะไรละดี...

ลาภ....ยศ....สรรเสริญ....สุข

ปุถุชน...จะเห็นสิ่งเหล่านี้..ดีได้...ต้องปรากฎแก่ใคร...

ปรากฎแก่...เรา...ตัวเรา....แม้จะอยากให้เกิดมีแก่คนรอบข้าง...ก็ล้วนเพื่อความสุขของตนในท้ายสุด...ทั้งนั้น

ความปราถณาใน ลาภ...ยศ...สรรเสริญ....สุข....เป็น...ตัณหา

ความคิดความเห็นต่าง ๆ นานา...ก็เพื่อให้ได้มาเพื่อสิ่งเหล่านี้....เมื่อมีใครเห็นต่าง...จึงเกิดความขัดแย้ง...เมื่อมีความขัดแย้งมากขึ้น...จนกระทั้งสิ่งที่คิดอยากได้...มันจะไม่ได้อย่างใจ...จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน

ความคิดความเห็นต่าง ๆ นานาเหล่านี้....จึงล้วนแต่มีตัณหา..เป็นเหตุ

การทะเลาะวิวาทเพราะมีตัณหาเป็นเหตุ.....จึงไม่ผิดแม้แต่น้อยเลย

เจ้าของ:  eragon_joe [ 10 ธ.ค. 2012, 13:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

ไปเจอพระสูตรที่แปลก
Quote Tipitaka:
กลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[๔๑๘] ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ
ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ
ส่อเสียด เกิดจากอะไร ธรรมเครื่องเศร้าหมองเหล่านั้นเกิด
จากอะไร ขอเชิญพระองค์จงตรัสบอกเนื้อความที่ข้าพระองค์
ถามนั้นเถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ความทะเลาะ ความวิวาท ความร่ำไร ความเศร้าโศก กับ
ทั้งความตระหนี่ ความถือตัว ความดูหมิ่นผู้อื่น และทั้งคำ
ส่อเสียด เกิดจากของที่รัก ความทะเลาะ ความวิวาท
ประกอบเข้าแล้วด้วยความตระหนี่ ก็เมื่อความวิวาทเกิดแล้ว
คำส่อเสียดย่อมเกิด ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามต่อไปว่า
ความรักในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี
กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภ เที่ยวไปในโลก ความโลภของ
ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุ ความหวังและ
ความสำเร็จของนรชนซึ่งมีในสัมปรายภพมีอะไรเป็นเหตุ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ความรักในโลกมีความพอใจเป็นเหตุ แม้อนึ่ง ชนเหล่าใดมี
กษัตริย์เป็นต้น มีความโลภเที่ยวไปในโลก ความโลภของ
ชนมีกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น มีความพอใจเป็นเหตุ ความ
หวังและความสำเร็จของนรชน ซึ่งมีในสัมปรายภพ มีความ
พอใจนี้เป็นเหตุ ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ความพอใจในโลกเล่ามีอะไรเป็นเหตุ แม้การวินิจฉัย คือ
ตัณหาและทิฐิก็ดี ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ
ความสงสัยก็ดี ที่พระสมณะตรัสแล้ว เกิดจากอะไร ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวสุขเวทนาและทุกขเวทนาใดว่า เป็น
ความยินดีและความไม่ยินดีในโลก ความพอใจย่อมเกิด
เพราะอาศัยสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น สัตว์ในโลก เห็น
ความเสื่อมไปและความเกิดขึ้นในรูปทั้งหลายแล้ว ย่อม
กระทำการวินิจฉัย ความโกรธ โทษแห่งการกล่าวมุสา และ
ความสงสัยธรรมแม้เหล่านี้ เมื่อความยินดีและความไม่ยินดี
ทั้งสองอย่างนั่นแหละมีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ บุคคลผู้มีความ
สงสัยพึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ท่านผู้เป็นสมณะรู้แล้ว จึง
กล่าวธรรมทั้งหลาย ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ความยินดีและความไม่ยินดี มีอะไรเป็นเหตุ เมื่อธรรมอะไร
ไม่มี ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถ คือ
ทั้งความเสื่อมไปและทั้งความเกิดขึ้น (แห่งความยินดีและ
ความไม่ยินดี) นี้ว่า มีสิ่งใดเป็นเหตุแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ความยินดี ความไม่ยินดี มีผัสสะเป็นเหตุ เมื่อผัสสะไม่มี
ธรรมเหล่านี้จึงไม่มี เราขอบอกอรรถ คือ ทั้งความเสื่อมไป
และทั้งความเกิดขึ้นนี้ ว่ามีผัสสะนี้เป็นเหตุแก่ท่าน ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ผัสสะในโลกเล่า มีอะไรเป็นเหตุ อนึ่ง ความหวงแหนเกิด
จากอะไร เมื่อธรรมอะไรไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้เป็นของเราจึง
ไม่มี เมื่อธรรมอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ผัสสะอาศัยนามและรูปจึงเกิดขึ้น ความหวงแหนมีความ
ปรารถนาเป็นเหตุ เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าสิ่งนี้
เป็นของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร รูปจึงไม่มี อนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี
อย่างไรจึงไม่มี ขอพระองค์โปรดตรัสบอกอาการที่รูปและสุข
ทุกข์นี้ไม่มีแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์มีใจดำริว่า เราควรรู้
ความข้อนั้น ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปรกติ เป็นผู้ไม่มี
สัญญาด้วยสัญญาอันผิดปรกติ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็น
ผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็มิใช่ เมื่อบุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนี้ รูปจึง
ไม่มี เพราะว่าธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญา
เป็นเหตุ ฯ
พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ข้าพระองค์ได้ถามความข้อใดกะพระองค์ พระองค์ก็ได้ทรง
แสดงความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ขอถามความ
ข้ออื่นกะพระองค์ ขอเชิญพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นเถิด
ก็สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่งในโลกนี้ ย่อมกล่าว
ความบริสุทธิ์ของสัตว์ว่าเป็นยอดด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หรือว่า
ย่อมกล่าวความบริสุทธิ์อย่างอื่นอันยิ่งไปกว่ารูปสมาบัตินี้ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)
เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ
บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี
วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า
นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น
เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม
โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น
แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด
บ่อยๆ ฯ
จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑


พระพุทธนิมติ คือ s006

เจ้าของ:  asoka [ 10 ธ.ค. 2012, 20:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

onion
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)
เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ
บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี
วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า
นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น
เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม
โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น
แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร
ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด
บ่อยๆ ฯ
จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
:b10: :b12: :b12: :b4:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 ธ.ค. 2012, 02:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

พุทธวจน บางบัวทอง เขียน:
asoka เขียน:
:b16:
ผมว่า...."ความเห็นต่าง".......(ทิฐิ).....มากกว่า....ที่จะเป็นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทนะครับ
:b10:
ดูตัวอย่างการเมืองเมืองไทยนี้ หรือการเมืองของประเทศต่างๆทั่วโลกก็ได้นะครับ....เพราะเห็นต่างจึงแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรค เป็นสี เป็นพวก เป็นกลุ่ม เป็นลัทธิ เป็นนิกาาย กันไม่รู้จบ
:b10:


*** คงไม่ใช่ครับ เพราะนี่คือ คำกล่าวของพระศาสดาครับ ถ้าใครเห็นต่างก็แสดงว่า
มีความเห็นคัดง้างพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้บัญญัติคำสอน
...

กรุณาอย่าเอาพระพุทธองค์มาอ้างในทำนองนี่เลยครับ มันไม่เหมาะไม่ควร

ในเรื่องที่คุณบอกความเห็นของคุณโสกะ ไปคัดง้างความเห็นของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่หรอกครับ ผมเห็นว่า คุณโสกะตอบไปอย่างนั้น เขาเอามาจากความเห็นของคุณครับ
ความหมายก็คือ คุณไม่มีปี่มีขลุ่ย คุณโสกะร้องลิเกแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย วงเลยแตกครับ :b32:

อันที่จริงการโพสพุทธพจน์โดยไม่มีสาเหตุ มันจะทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เสมอ
คือ.....ไปไหนมาสามวาสองศอก คนสองคนเจอและทักทายกันด้วยคำที่ว่า
"กินข้าวหรือยัง "อีกคนตอบว่า"จะไปตลาด" :b9:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 ธ.ค. 2012, 02:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

asoka เขียน:
onion
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)
เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ
บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี
วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า
นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น
เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม
โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น
แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร
ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด
บ่อยๆ ฯ
จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
:b10: :b12: :b12: :b4:

กำลังหาเรื่องวิวาทกับเขาอยู่ยังมาทำเนียน แบบนี้เขาเรียกจิ๊กกาโล่ใส่สูท :b32:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 11 ธ.ค. 2012, 13:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

พระพุทธนิมิต คือ อะไร s006

เจ้าของ:  วิริยะ [ 11 ธ.ค. 2012, 13:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

eragon_joe เขียน:
พระพุทธนิมิต คือ อะไร s006

ในช่วงที่พระองค์แสดงยมกปาฏิหารย์ .. มั้ง
ที่พระองค์เนรมิตรพระพุทธเจ้าเป็นสองพระองค์
ถามตอบปัญหากันนะ ..

พระพุทธเจ้า ๑
พระพุทธนิมิต ๑

อย่างนี้แหละ .. ใช่ม่ะ


:b1: :b13:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 11 ธ.ค. 2012, 16:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
พระพุทธนิมิต คือ อะไร s006

ในช่วงที่พระองค์แสดงยมกปาฏิหารย์ .. มั้ง
ที่พระองค์เนรมิตรพระพุทธเจ้าเป็นสองพระองค์
ถามตอบปัญหากันนะ ..

พระพุทธเจ้า ๑
พระพุทธนิมิต ๑

อย่างนี้แหละ .. ใช่ม่ะ


:b1: :b13:


:b25: โอ๊ะ ... นั่นจิ่

:b17: :b17: :b17:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 11 ธ.ค. 2012, 19:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความอยาก (ตัณหา) คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

asoka เขียน:
onion
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)
เป็นบัณฑิตในโลกนี้ ย่อมกล่าวอรูปสมาบัตินี้ว่า เป็นความ
บริสุทธิ์ของสัตว์แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สมณพราหมณ์ผู้มี
วาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
อนุปาทิเสสนิพพาน ย่อมโต้เถียงสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า
เที่ยงเหล่านั้นแหละ ส่วนท่านผู้เป็นมุนี รู้บุคคลเจ้าทิฐิเหล่า
นั้นว่า เป็นผู้อาศัยสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิ ท่านผู้เป็นมุนีนั้น
เป็นนักปราชญ์ พิจารณารู้ผู้อาศัยทิฐิทั้งหลายแล้ว รู้ธรรม
โดยลักษณะมีความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เป็นต้น หลุดพ้น
แล้ว ย่อมไม่ทะเลาะวิวาทกับใคร
ย่อมไม่มาเพื่อความเกิด
บ่อยๆ ฯ
จบกลหวิวาทสูตรที่ ๑๑
:b10: :b12: :b12: :b4:

สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าเที่ยง พวกหนึ่ง (มีความถือตัวว่า)

สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่าขาดสูญพวกหนึ่ง เป็นผู้มีวาทะว่าตนเป็นคนฉลาดใน
อนุปาทิเสสนิพพาน


ทั้ง 2 พวกนี้...เป็นผู้หมดตัณหา...แล้วรึยัง???
:b32: :b32: :b32:

อะไรทำให้...คนที่มีทิฐิต่างกัน...หันมาทะเลาะกัน...ทำไมไม่เดินหนีกันไปซะในเมื่อรู้แล้วว่าเขาคิดไม่เหมือนเรา...อิอิ :b12: :b12: :b12:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/