ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43954 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 พ.ย. 2012, 05:18 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
หนทาง ๔ สายที่เราเคยเดินกันมาแล้วทั้งนั้น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 พ.ย. 2012, 05:29 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
หนทางที่เราไม่เคยเดิน คือทางสายกลาง
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 พ.ย. 2012, 16:24 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
สุทธาวาสภูมิ ๕ เป็นภูมิที่ไม่มีใครเคยได้ไปเลย
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ธ.ค. 2012, 07:17 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
โลภะ คือ ตัวตัณหา ตัวตัณหา คือ ตัวสมุทัย ตัวสมุทัย คือ ตัวเกิดอีก โลภะเป็นเหตุให้เข้าถึงการเกิดเป็น เปรต + อสุรกาย
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ธ.ค. 2012, 13:52 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
โทสะเป็นเหตุให้ตกนรก
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ธ.ค. 2012, 16:26 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
โมหะเป็นเหตุให้เข้าถึงการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 ธ.ค. 2012, 16:50 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
อกุศลจิต ๑๒ มีเหตุ ๓ คือ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ
|
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 04 ธ.ค. 2012, 01:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
อกุศลจิต โลภะ โทสะและโมหะ มันเป็นอาการของจิต มีเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด การจะไปอบายหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเราจะมีสติมาดับอกุศลเหล่านั้นหรือไม่ พระอริยะขั้นต้นก็ยังมี อกุศลเหล่านี้ ตัวต้นเหตุที่แท้คือ....ตัวตัณหา |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ธ.ค. 2012, 05:26 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
อย่างนี้เรียกว่าพูดอีกก็ถูกอิฐ....
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ธ.ค. 2012, 06:37 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว | ||
โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุ
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ธ.ค. 2012, 13:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
โฮฮับ เขียน: อกุศลจิต โลภะ โทสะและโมหะ มันเป็นอาการของจิต มีเหตุให้เกิดก็ต้องเกิด การจะไปอบายหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับเราจะมีสติมาดับอกุศลเหล่านั้นหรือไม่ พระอริยะขั้นต้นก็ยังมี อกุศลเหล่านี้ ตัวต้นเหตุที่แท้คือ....ตัวตัณหา [๖๙๑] อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน? โลภะ โทสะ โมหะ. บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน? ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่ ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอัน ร้อยรัด ธรรมชาติอันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความเกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความ หวังบุตร ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความ โลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ] รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุมีอย่าง ต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดน แห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ. โทสะ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนที่รักชอบพอของเรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็น ที่ชอบพอของเรา หรืออาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิด ประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ความ คิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า โทสะ. โมหะ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วน อดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึง เกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคือ อวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า โมหะ. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อกุศลเหตุ ๓. ------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๐๔๒ - ๖๑๙๒. หน้าที่ ๒๔๑ - ๒๔๗. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_34 |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 04 ธ.ค. 2012, 13:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
ลุงหมานครับ อกุศลเหตุที่ลุงว่า .... มันเป็นเหตุให้เกิด กายสังขาร(ทำชั่ว) และวจีสังขาร(พูดไม่ดี) แต่สงสัยลุงคงไม่รู้หรอกว่า....มันเป็นเหตุให้เกิดสติด้วย ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ธ.ค. 2012, 14:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
โฮฮับ เขียน: ลุงหมานครับ อกุศลเหตุที่ลุงว่า .... มันเป็นเหตุให้เกิด กายสังขาร(ทำชั่ว) และวจีสังขาร(พูดไม่ดี) แต่สงสัยลุงคงไม่รู้หรอกว่า....มันเป็นเหตุให้เกิดสติด้วย ![]() อกุศลเหตุ ๓ ไม่ทำให้สติเกิดได้เลย สติจะไม่เกิดร่วมกับอกุศล และ อกุศลก็จะไม่ทำให้เกิดสติได้ เรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สติและปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 203 ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ --------------------------------------------------------------- ว่าด้วยเรื่องเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 04 ธ.ค. 2012, 16:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
ตัณหาคืออะไร? ตัณหาคือความดิ้นรน ตามคำของพระพุทธโฆษาจารย์ที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๑๒๑ ว่า ความดิ้นรนคือความอยากโดยจะถือเอาสิ่งที่ตนต้องการนั้นๆ ในปรมัตถมัญญชุสามหาฎีกา ๓/๓๙๐ ว่า จะเอา ไม่ใช่ไม่เอา ฯ ตัณหามาจากเจตสิกตัวไหน? ตัณหามาจากโลภเจตสิกตัวเดียว โลภะเจตสิกเป็นอกุศลเหตุ แต่มาแยกออกเป็นตัณหาหลายประเภท ดังจะเห็นได้ตามที่มาต่างๆ ดังต่อไปนี้ ในธรรมสังคิณีบาลี ข้อ ๘๙๑ ว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา และตัณหาทั้งหลายบรรดามี เมื่อจะสืบหาตัวเดิมกันจริงๆแล้ว ก็คือโลภเจตสิกตัวเดียวนั่นเองฯ ตัณหามีลักษณะอย่างไร? ในพระบาลีธรรมจักกัปปวัตนสูตรได้ตรัสไว้ว่า ลักษณะของตัณหาก็มีอยู่ด้วยกัน ๓ คือ ๑. ทำให้เกิดมีภพใหม่ ๒. เป็นไปพร้อมๆ กับด้วยอำนาจของความยินดี ๓. ยินดีอยู่แต่ในภพนั้นๆ หรือในอารมณ์นั้นๆ คือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 05 ธ.ค. 2012, 00:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หนทางที่เคยเดินกันมาหมดแล้ว |
ลุงหมาน เขียน: โฮฮับ เขียน: ลุงหมานครับ อกุศลเหตุที่ลุงว่า .... มันเป็นเหตุให้เกิด กายสังขาร(ทำชั่ว) และวจีสังขาร(พูดไม่ดี) แต่สงสัยลุงคงไม่รู้หรอกว่า....มันเป็นเหตุให้เกิดสติด้วย ![]() อกุศลเหตุ ๓ ไม่ทำให้สติเกิดได้เลย สติจะไม่เกิดร่วมกับอกุศล และ อกุศลก็จะไม่ทำให้เกิดสติได้ เรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สติและปัญญา ผมว่าลุงกำลังสับสนนะครับ แยกแยะให้ดีระหว่าง กระบวนการขันธ์ จิตและเจตสิก(อาการของจิต) ใช่ครับ ถ้าเป็นในกระบวนการขันธ์หนื่งๆ นั้นก็คือการได้รับผัสสะเดียว เกิดกระบวนการขันธ์ อันเกิดจากผัสสะหนึ่งเดียวอันนั้น จิตที่เป็นกุศลจะไม่เกิดร่วมกับจิตที่เป็นอกุศล รวมถึงเจตสิกด้วย แต่ลักษณะของสติที่มีอกุศลเป็นเหตุ มันเป็นลักษณะของการปรุงแต่งจิตหรือเจตสิกให้เกิดผัสสะใหม่ อย่างเช่น ก่อนหน้าเป็นกระบวนการขันธ์ที่เป็นอกุศล เกิดการคิดนึกถึงศีล ลักษณะนี่เขาเรียก.. เกิดผัสสะตัวใหม่คือเกิดธัมมารมณ์จนปรุงแต่งมาเป็นสติ ดังนั้นความหมาย ที่บอกว่า จิตหรือเจตสิกที่เป็นกุศล จะไม่เกิดร่วมกับ จิตหรือเจตสิกที่เป็นอกุศล ความหมายนี้ท่านหมายถึงกระบวนการขันธ์เดียวนั้น ต้องเข้าใจด้วยว่า กระบวนขันธ์หนื่งไม่ได้มีจิตดวงเดียว แต่มีจิตเกิดดับหลายดวง ลุงหมาน เขียน: เรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สติและปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 203 ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ --------------------------------------------------------------- ว่าด้วยเรื่องเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ลุงเอาพระสูตรบทนี้มาทำไมครับ มันเกี่ยวกันตรงไหนครับ แค่ที่เราคุยกันมันเป็นแค่สติเป็นศีลธรรมดาลุงยังสับสน นี่ลุงเดาะไปเล่นปัญญาวิมุตติเลยหรือ เอาน่าลุงค่อยเป็นค่อยไป ลุงหมานครับแยกแยะให้ถูกนะครับว่า อันไหนปัญญาของปุถุชน อันไหนปัญญาของอรหันต์ ![]() ลุงหมาน เขียน: ตัณหาคืออะไร? ตัณหาคือความดิ้นรน ตามคำของพระพุทธโฆษาจารย์ที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๑๒๑ ว่า ความดิ้นรนคือความอยากโดยจะถือเอาสิ่งที่ตนต้องการนั้นๆ ในปรมัตถมัญญชุสามหาฎีกา ๓/๓๙๐ ว่า จะเอา ไม่ใช่ไม่เอา ฯ ตัณหามาจากเจตสิกตัวไหน? ตัณหามาจากโลภเจตสิกตัวเดียว โลภะเจตสิกเป็นอกุศลเหตุ แต่มาแยกออกเป็นตัณหาหลายประเภท ดังจะเห็นได้ตามที่มาต่างๆ ดังต่อไปนี้ ในธรรมสังคิณีบาลี ข้อ ๘๙๑ ว่า กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา และตัณหาทั้งหลายบรรดามี เมื่อจะสืบหาตัวเดิมกันจริงๆแล้ว ก็คือโลภเจตสิกตัวเดียวนั่นเองฯ ตัณหามีลักษณะอย่างไร? ในพระบาลีธรรมจักกัปปวัตนสูตรได้ตรัสไว้ว่า ลักษณะของตัณหาก็มีอยู่ด้วยกัน ๓ คือ ๑. ทำให้เกิดมีภพใหม่ ๒. เป็นไปพร้อมๆ กับด้วยอำนาจของความยินดี ๓. ยินดีอยู่แต่ในภพนั้นๆ หรือในอารมณ์นั้นๆ คือกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา จะอธิบายให้ฟังสั้นๆนะครับ ตัณหามันเป็นเรื่องของธรรมชาติ มันเป็นองค์หนึ่งในเรื่องการเกิด ตามกฎของอิทัปจถตา ถึงแม้เราจะเป็นอรหันต์และนิพพานไปแล้ว ตัวตัณหามันก็ยังคงมีอยู่ พูดสั้นๆถ้ายังมีสัตว์โลก ย่อมต้องมีตัณหา ตัณหาไม่ได้มาจากเจตสิก แต่ตัณหาทำให้เกิดเจตสิก เจตสิกเป็นอาการของจิตที่เกิดจากการปรุงแต่งของขันธ์ห้า การปรุงแต่งของขันธ์ห้าเกิดได้เพราะ กายเราไปรับเอาสิ่งภายนอกเข้ามา เกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายนอกและใน ตัวตัณหาอาศัยเข้ามาพร้อมกับอายตนะภายนอก เมื่อเข้ามาแล้วเกิดการปรุงแต่งของขันธ์จนเกิดเป็นอาการของจิต(เจตสิก) ดังนั้นเจตสิกมาจากตัณหา ไม่ใช่ตัณหามาจากเจตสิก ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 6 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |