ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

“ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? มาช่วยกันตอบค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43085
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 26 ส.ค. 2012, 09:09 ]
หัวข้อกระทู้:  “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? มาช่วยกันตอบค่ะ

พอดีมีเพื่อนส่งข้อความมาถามว่า...

คำว่า “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ”

ใช้ต่างกันอย่างไรค่ะ ??

เจ้าของ:  เสียงธรรม [ 26 ส.ค. 2012, 11:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

“ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” มีความหมายว่าตาย เหมือนกัน

ต่างกันคือ

“ละสังขาร” เป็นคำกริยา ส่วนคำว่า “มรณภาพ” เป็นคำนาม

ส่วนมากเมื่อพระท่านสิ้นลมใหม่ๆ มักใช้คำว่าละสังขาร ส่วนคำว่ามรณภาพนั้นใช้ได้ทุกโอกาส

ความหมายของ 2 คำนี้เหมือนกัน แต่คนทั่วไปมักใช้แทนกัน ก็ไม่ผิดอะไรเพราะหมายถึงตายเหมือนกัน
แต่ก็ไม่ถูกเท่าไหร่เพราะใช้กันต่างวาระ

เจ้าของ:  วิริยะ [ 26 ส.ค. 2012, 17:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

สาวิกาน้อย เขียน:
พอดีมีเพื่อนส่งข้อความมาถามว่า...

คำว่า “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ”

ใช้ต่างกันอย่างไรค่ะ ??

น่าจะมีสามคำนะ ดับขันธ์ ละสังขาร มรณภาพ

ดับขันธ์ ใช้กับ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า เช่น ดับขันธ์ปรินิพพาน
ละสังขาร ใช้กับ ครูบาอาจารย์ พระเถระ ผู้เป็นพระอริยเจ้า พระผู้เป็นที่เคารพ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชู
หรือใช้มรณภาพก็ได้ (พอใช้มรณภาพแล้วรู้สึกไม่ดี = ความเห็นส่วนตัว)
มรณภาพ ใช้กับ พระสงฆ์ชั้นผู้น้อย หรือสมมุติสงฆ์ทั่ว ๆ ไป

:b1:

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 27 ส.ค. 2012, 09:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

ละสังขาร กับ มรณภาพ

มีพยัญชนะต่างกัน แต่โดยอรรถเหมือนกัน

สังขาร ในความหมายที่เป็นเหตุของอวิชชา
"เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร" เป็นไปในความปรุงแต่งต่างๆ

โดยปริยาย โดยอ้อม หมายถึง

การละสังขาร (๓) ความปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ
เรียกว่า กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร โดยเฉพาะทางใจ
มีคำที่ใช้กันคือคำว่า อภิสังขาร ๓ ได้แก่
ปุญญาภิสังขาร ๑ ความปรุงแต่งฝ่ายบุญ
อปุญญาภิสังขาร ๑ ความปรุงแต่งฝ่ายบาป
และอเนชญาภิสังขาร ความปรุงแต่งจิตหรือ "ภพ" ที่มั่นคงไม่หวั่นไหว.

เช่นเมื่อคนเรามีเจตนามีใจ ปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร
การปรุงแต่งฝ่ายกุศลฝ่ายบุญ จึงมีการปรุงแต่งของใจต่อไป
โดยเชื่อมโยงกับการกระทำของใจเป็นหัวหน้าเป็นประธาน
เป็นเจ้าภาพ ปรุงแต่งทางวาจา ปรุงแต่งทางกาย เพราะใจ ฯลฯ

ดังนั้น โดยปริยาย โดยอ้อม จึงหมายถึง การละอกุศลที่เป็นไป
ในใจ ในกาย ในวาจา ด้วยกุศล ด้วยบุญ ละหรือสังวรด้วยศีล
ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ก็ล้วนละล้วนกระทำลงที่ใจ ที่วาจา ที่กาย
ที่ปรุงแต่งอยู่นี้ หรือบุคคลที่มี อปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งจิต
เจตนา กรรม ในฝ่ายบาปอกุศล ก็ละกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ละกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารในทางกุศล
โดยเข้าจับกระทำไปด้วยเจตนาที่เป็นอกุศล
ปรุงแต่งใจ ปรุงแต่งคำพูด ปรุงแต่งการกระทำฯลฯ

นี่จึงเป็นความหมายของการละ โดยปริยยาย เป็นไปขณะหนึ่งๆ
อยู่เนืองๆ บ่อยๆ ด้วยความสืบต่อของสภาพธรรมทั้งหลาย
การละสังขารโดยปริยาย โดยอ้อม จึงมีด้วยประการฉะนี้

โดยนิปริยาย โดยตรง หมายถึง

ละ(อายุ)สังขาร ตั้งแต่ปฏิสนธิหรือเกิดขึ้นตั้งแต่ในท้องมารดา
ละขณะปฏิสนธิเข้าสู่ปฐมวัย ละสังขาร (ความปรุงแต่ง) ขณะปฐมวัย
ล่วงเลยเข้าสู่มัชฌิมาวัย ละสังขารในมัชฌิมาวัยล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย
และละสังขารอัตตภาพร่างกายที่เข้าสู่ปัจฉิมวัย เข้าสู่กาลมรณะ
คือ ความแตกดับของธาตุ ๔ มหาภูตรูป ๔ นามขันธ์ ๓ เวทนา
สัญญา สังขาร และค่อยถึงการดับของวิญญาณ จุติจิตของนามรูป

ที่ยังไ่ม่หมดสิ้นตัณหาอุปาทาน จำต้องปฏิสนธิในภพใหม่ต่อไปตามอำนาจ
กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ เมื่อยังละภพน้อยใหญ่ไม่ได้
ยังไม่บรรลุมรรคญาณผลญาณ เบื้องต่ำ ก็จำต้องเกิดอยู่ ปฏิสนธิจุติอยู่
อย่างแล้วๆ เล่าๆ จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ข้ามพ้นวัฏฏะ รื้อ
ตัณหาอุปาทานที่จะพาเกิด พาตายในสังสารวัฏฏ์ การทำกาละ
หรือความแตกดับของนามรูป ที่ยังมีอวิชชา

จึงยังมีอำนาจนำสัตว์ทั้งหลายให้เคลื่อนไปสู่ปฏิสนธิ เสมอๆ เนืองๆ
การละ(อายุ)สังขารโดยปริยายของปุถุชน คือ สิ้นชีพ
(ดับไปของกองขันธ์[เพลิงทุกข์]) แต่ไม่สิ้นอุปาทาน (ยังดับ[เพลิงกิเลส]ไม่ได้เลย!)
การละสังขารโดยปริยายของ เสขะบุคคล ของอริยบุคคลคือ
การละนามรูปที่ยังไม่สิ้นสังโยชน์เบื้องสูง โดยสิ้นแต่เพียงสังโยชน์เบื้องต่ำ
ดับเพียงกองกิเลส (สอุปทิเสสนิพพานตามภูมิ) ยังเหลือกองทุกข์
(ขันธวิมุตติตามภูมิของตน จนกว่าจะปรินิพพาน)

มีการละอัตตภาพ ละสังขารโดย นิปริยาย โดยตรง มีเพียงพระอรหันต์
ที่เรียกว่า ปรินิพพาน ดับทั้งเพลิงกิเลส (สังโยชน์ ๑๐ สิ้นเชิง)
และเพลิงทุกข์ (กองธาตุ ขันธวิมุตติโดยสิ้นเชิง)


มรณภาพ ตามคติทางพุทธศาสนา

มี ๓ อย่างคือ สมมติมรณะ ๑ ขณิกมรณะ ๑ สมุทเฉจมรณะ ๑
การแตกดับทำลายลงของสังขาร ความปรุงแต่งต่างๆ ที่ยึดถือไม่ได้
ว่าเป็นสัตว์บุคคล แต่ว่าสภาพความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสภาวะ
สภาพธรรมมีอยู่ เป็นอนัตตา จึงมีอยู่โดยสมมติ การตายของสัตว์นรก
เปรต อสูรกาย สัจเดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ล้วนเป็นสมมติมรณะทั้งสิ้น
เพราะปราศจากสภาพสัตว์ตัวตนบุคคล แต่สภาพหรือสภาวะธรรมนั้นๆ
ได้แก่ นามรูป มีอยู่อย่างนั้นโดยจริงแท้ จึงเรียกว่า สมมติมรณะ

ส่วนการเกิดขึ้น (อุปาทะขณะ) ความตั้งอยู่ (ฐิติขณะ) ความเสื่อมไป
(ภังคะขณะ) ก็มีนัยเช่นเดียวกับ การละสังขารที่เป็นฝ่ายบุญ และฝ่ายบาป
เมื่อความเกิดขึ้นของบุญ มีการปรุงแต่งกายวาจาใจฝ่ายบุญอยู่ ก็มีการละ
การปรุงแต่งฝ่ายบาปโดยปริยาย เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของบาป
ก็เป็นการไม่ตั้งอยู่ หรือเสื่อมไปของบุญ มีความตั้งอยู่ของบาป
ขณะเป็นไปโดยพลันโดยรวดเร็ว อย่างนี้จึงเรียกว่า ขณิกมรณะ

สุดท้าย การดับทั้งเพลิงทุกข์ (ขันธ์) เพลิงกิเลส (อุปาทานขันธ์) โดยสิ้นเชิง
ของพระอรหันต์ จึงเป็นถึงนับหรือเรียกได้เท่ากับ ปรินิพพาน
หรือ สมุทเฉจมรณะ นั่นเอง
เป็นการตัดสิ้นซึ่งอวิชชาโดยไม่เหลือ ถึงบรมสุข ถึงอมตบท คือพระนิพพาน
สูญ...ก็สูญ(สังขตธรรม)สิ้นไปจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
ไม่สูญ...ก็ไม่สูญความเที่ยง ความไม่ปรุงแต่ง (อสังขตธรรม)
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
(จำต้องกล่าวไว้เพื่อกัน ทิฏฐิอันสุดโต่งระหว่างสัตตทิฏฐิ และอุทเฉจทิฏฐิ)

พรรณาบัญญัติโวหารแห่งคำว่า ละสังขารและมรณภาพ แต่โดยสังเขป (ย่อ)
แต่เพียงเท่านี้ขอความเจริญงอกในพระสัทธรรมจงมีแด่กัลยาณมิตร เจริญพร^^

และอนุโมทนากับความเห็นของกัลยาณมิตรข้างต้นด้วยนะครับ
ในพระไตรปิฏก ก็มีคำว่า ละสังขาร และมรณภาพ ที่แปลเอาไว้ใช้กัน
เพื่อนๆ ให้คำอธิบายในการใช้คำไว้ดีแล้วครับ เจริญพร^^

เจ้าของ:  murano [ 28 ส.ค. 2012, 11:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

cool cool cool

ละสังขาร: ตายแบบขอลาตาย... กรูว่า ถึงเวลาอันควรแล้ว กรูตายดีก่า... คร่อก
มรณภาพ: ตายปกติทั่วไป แบบว่า... กรูก็ไม่ได้อยากตายหรอกนะ แต่มันตายอะ

พระที่มีชื่อเสียง เรามักจะใช้ว่า ละสังขาร เป็นการให้เกียรติยกย่องว่า ท่านเห็นว่าถึงเวลาตาย จึงตายเอง ซึ่งจริงๆ จะเป็นงั้นหรือเปล่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายก็พึงพิจารณาเอาเอง
s004 แต่ถ้าท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิไม่ออก ข้าพเจ้าก็จะใบ้ให้พอเป็นกระสาย กรึ่มๆ
นั่งสมาธิตาย อันนี้น่าจะละสังขาร... อยู่ๆ ลุกขึ้นมาบอกว่า พรุ่งนี้กรูตายล่ะ แล้วหลับไม่ตื่น อันนี้ก็น่าจะละสังขาร แต่ป่วยตาย รถชนตาย โดนควายขวิดตาย อันนี้ก็น่าจะตายปกติ เป็นมรณภาพ....

พึงสังวรณ์ ท่านผู้เฉลิดทั้งหลาย... จะตายแบบใด ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงการบรรลุธรรม มันก็อาจสะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ทำมาได้บ้าง เช่น เป็นผู้ฝึกสมถะฌาณจนแก่กล้า ตบะแน่นเปรี๊ยะ เข้าถึงอารัมมนูปนิชฌาณ (สมถะฌาณ) ก็มีแนวโน้มจะนั่งสมาธิตาย

เป็นผู้ฝึกวิปัสสนาสมาธิ จนเข้าถึงลักขณูปนิชฌาณ (วิปัสสนาฌาณ) ก็มีแนวโน้มจะหลับตาย อาจจะบอกลูกศิษย์ให้ตื่นเต้นไปพลางๆ ว่า พรุ่งนี้กรูตายแระ
ถ้าเข้าไม่ถึงฌาณใดๆ เลย ก็ตายปกติแบบคนทั่วไป onion onion onion

อนึ่ง ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย การเข้าถึงฌาณ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงการบรรลุธรรม
รู้สึกว่า วิปัสสนาฌาณจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบ ที่ต้องมี ของอริยบุคคลชั้นอื่น คือไม่จำเป็นต้องมี แต่ถ้ามีจะช่วยให้การเข้าถึงธรรม ทำได้เร็วขึ้น และก็เป็นการเพิ่มคุณสมบัติให้กับเจ้าตัวด้วย

โจบ

เจ้าของ:  eragon_joe [ 28 ส.ค. 2012, 11:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

murano เขียน:
cool cool cool

ละสังขาร: ตายแบบขอลาตาย... กรูว่า ถึงเวลาอันควรแล้ว กรูตายดีก่า... คร่อก
มรณภาพ: ตายปกติทั่วไป แบบว่า... กรูก็ไม่ได้อยากตายหรอกนะ แต่มันตายอะ

พระที่มีชื่อเสียง เรามักจะใช้ว่า ละสังขาร เป็นการให้เกียรติยกย่องว่า ท่านเห็นว่าถึงเวลาตาย จึงตายเอง ซึ่งจริงๆ จะเป็นงั้นหรือเปล่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายก็พึงพิจารณาเอาเอง
s004 แต่ถ้าท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย คิไม่ออก ข้าพเจ้าก็จะใบ้ให้พอเป็นกระสาย กรึ่มๆ
นั่งสมาธิตาย อันนี้น่าจะละสังขาร... อยู่ๆ ลุกขึ้นมาบอกว่า พรุ่งนี้กรูตายล่ะ แล้วหลับไม่ตื่น อันนี้ก็น่าจะละสังขาร แต่ป่วยตาย รถชนตาย โดนควายขวิดตาย อันนี้ก็น่าจะตายปกติ เป็นมรณภาพ....

พึงสังวรณ์ ท่านผู้เฉลิดทั้งหลาย... จะตายแบบใด ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงการบรรลุธรรม มันก็อาจสะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ทำมาได้บ้าง เช่น เป็นผู้ฝึกสมถะฌาณจนแก่กล้า ตบะแน่นเปรี๊ยะ เข้าถึงอารัมมนูปนิชฌาณ (สมถะฌาณ) ก็มีแนวโน้มจะนั่งสมาธิตาย

เป็นผู้ฝึกวิปัสสนาสมาธิ จนเข้าถึงลักขณูปนิชฌาณ (วิปัสสนาฌาณ) ก็มีแนวโน้มจะหลับตาย อาจจะบอกลูกศิษย์ให้ตื่นเต้นไปพลางๆ ว่า พรุ่งนี้กรูตายแระ
ถ้าเข้าไม่ถึงฌาณใดๆ เลย ก็ตายปกติแบบคนทั่วไป onion onion onion

อนึ่ง ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย การเข้าถึงฌาณ ก็ไม่ได้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงการบรรลุธรรม
รู้สึกว่า วิปัสสนาฌาณจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบ ที่ต้องมี ของอริยบุคคลชั้นอื่น คือไม่จำเป็นต้องมี แต่ถ้ามีจะช่วยให้การเข้าถึงธรรม ทำได้เร็วขึ้น และก็เป็นการเพิ่มคุณสมบัติให้กับเจ้าตัวด้วย

โจบ


:b32:

:b17: :b17:

เจ้าของ:  murano [ 28 ส.ค. 2012, 16:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

มาเพิ่มเติมนิดหนึ่ง เพราะเกรงว่า อาจมีท่านผู้เฉลิดข้องใจว่า เหตุใดวิปัสสนาฌาณ จึงไม่ใช่องค์ประกอบ ที่ต้องมี ในอริยบุคคลชั้นอื่น ที่ไม่ใช่พระอรหันต์

มันมีกิเลส (สังโยชน์) อยู่ตัวหนึ่ง คือ ความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ) กิเลสข้อนี้ เป็นกิเลสอย่างละเอียดในใจตน
ความฟุ้งซ่าน ถ้าจะอธิบายด้วยภาษาปัจจุบันก็จะได้ว่า เป็นการสร้างภาพ (render) ของสมองส่วนความคิด เป็นเรื่องเป็นราวต่างๆ และนำไปสู่การเกิดของอารมณ์และการปรุงแต่งต่างๆ
ความฟุ้งซ่านที่สามารถยกเป็นตัวอย่างได้ชัดก็คือ ความฝัน

ข้อสังเกตนิดหนึ่ง มีการสร้างภาพ (render) ในส่วนความคิดในหลายกรณี ที่ไม่นำไปสู่การเกิดการปรุงแต่งหรืออารมณ์ การสร้างภาพในกรณีนั้นๆ ไม่จัดเป็นความฟุ้งซ่าน แล้วก็... ที่เราต้องวงเล็บว่า render เพราะการสร้างภาพแบบนี้ ดูจะไม่มีคำแปลในภาษาไทย จะใช้คำว่า จินตนาการ ก็ไม่น่าจะตรงเสียทีเดียว... จะใช้คำว่าสังเคราะห์ภาพ ก็ดูจะประสาทไปนิด

ความฟุ้งซ่านนี้ ยังมีอยู่ในอริยบุคคลชั้นโสดาบัน สกิทาคามี และอนาคามี (ไม่ทุกรูป เพราะถ้ายังมีกิเลสอย่างละเอียดอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง ก็ยังจัดอยู่ในชั้นอนาคามี)

ในกลไกระดับการทำงานของสมอง มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะหยุดความฟุ้งซ่านได้ ก็คือการเกิดของ เอกัคคะตาเจตสิก หรือ การเข้าถึงฌาณนั่นเอง
เพราะงั้น วิปัสสนาฌาณจึงเป็นองค์ประกอบของความเป็นพระอรหันต์ (ต้องเป็นวิปัสสนาฌาณเท่านั้น) แต่ไม่จำเป็นต้องมีสำหรับอริยบุคคลในชั้นอื่น แต่ส่วนใหญ่จะมีกันทั้งนั้น :b32: :b32: :b32:

เรื่องของ เอกัคคตาเจตสิก เป็นเรื่องที่น่าจะไล่เรียงอยู่ไม่น้อย เอาไว้เมื่อถึงเวลาโลกแตก จะมาเขียนให้อ่านเล่น :b13: :b13: :b13: ประมาณว่า ฌาณยับยั้งผลของกรรมได้อย่างไร กรรมคืออะไร กรรมเกี่ยวอะไรกับเจตสิก การเกิดเป็นสัตว์หรือคน (ไม่ทุกคน) เป็นการชดใช้กรรมได้อย่างไร สมถะฌาณต่างกับวิปัสสนาฌาณในระดับกลไกอย่างไร เหตุใดสมถะฌาณอย่างเดียวจึงไม่สามารถบรรลุธรรม หรือละกิเลสได้ ฯลฯ

จบจิงๆ เน้อ
cool cool cool

เจ้าของ:  eragon_joe [ 28 ส.ค. 2012, 19:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

:b3: :b3: :b3:

ท่านมู คิดถึงจัง อย่าเพิ่งรีบจบดิ่
กลับมาคุยกันให้ยาว ๆ กว่านี้อีกสักหน่อยเต๊อะ

:b3: :b3: :b3:

อิอิ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 28 ส.ค. 2012, 19:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

มีเด็กร้องตามท่านมู...นะ..อิอิ...

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 18 ต.ค. 2014, 05:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

สาวิกาน้อย เขียน:
พอดีมีเพื่อนส่งข้อความมาถามว่า...

คำว่า “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ”

ใช้ต่างกันอย่างไรค่ะ ??

คำถามนิดเดียวแต่คำตอบต้องตอบกันยาว เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

คำว่า "ละ" ก็มีละแบบชั่วคราว หรือละแบบชั่วขณะ ได้แก่ พวกพรหมทั้งหลาย
ผู้ที่เข้าฌานสมาบัติ และผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ

ละแบบถาวร ได้แก่ พระอริยบุคคล คือ ละโดยไม่ย้อนกลับมาอีก เช่น พระโสดาบัน
พระสกทาคามี ละสังโยชน์ ๓ หรือ ทิฎฐิ วิจิกิจฉา
พระอนาคามี ละโทสะ ส่วนที่เหลือพระอรหันต์เป็นผู้ละทั้งหมด
ดังนั้น พระอรหันต์ตายก็เป็นการละขันธ์ ๕ ไม่มีเหลือ (ยกเว้นธาตุ ๔)

คำว่า "สังขาร" มีหลายอย่าง

สังขารคือ ธาตุ ๔ ที่มีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร)
ได้แก่ สิ่งมีชีวิต คน และสัตว์ เป็นต้น
สังขารคือ ธาตุ ๔ ที่ไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร)
ได้แก่ สิ่งที่ไม่มีชีวิต พื้นดิน ภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น

สังขารในขันธ์ ๕ ได้แก่
๑. กายสังขาร การปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจ
๒. วจีสังขาร การปรุงแต่งวาจา คือ วิตก การตรึก วิจาร
๓. จิตสังขาร การปรุงแต่งจิต คือ เจตสิก
ได้แก่ อารมณ์ต่างๆ ที่ปรุงแต่งจิตให้มีอาการเป็นไปต่างๆ

สังขาร คือ เจตสิกที่ปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ เว้น (เวทนา สัญญา)

การ "ละสังขาร" ที่ถามนั้นคงหมายเอาพระภิกษุตาย เป็นละสังขารในขันธ์ ๕ มากกว่า
มีกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เป็นการละแบบธาตุ ๔ ไม่มีใจครอง

ส่วนคำว่า "มรณภาพ" นั้นใช้กับพระภิกษุทั่วไป ในความหมายย่อมแตกต่างกับฆารวาสตาย

เจ้าของ:  toy1 [ 18 ต.ค. 2014, 09:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

ลองพิจารณาหรือปลงสังขารดู กายเราเป็นสังขารที่ก่อตัวขึ้นมาด้วยอากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะสิบสอง พร้อมด้วยจิตรวมกันเป็นสังขาร

อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมตัวกันด้วยอายตนะที่ก่อตัวรวบรวมกรรมประกอบขึ้นมา จากกรรมที่ทำไว้ เป็นสังขารกรรม

ลึกลงไปจากสังขารกรรม คือสังขตเป็นจิตที่พัวพันกับธาตุสี่ อายตนะ อารมณ์ เป็นจิตที่ต้องใช้กรรมกับธาตุทั้งสี่

รู้จักสังขตรู้จักสังขารกรรม ก็นำจิตมาประพฤติปฏิบัติธรรมคลี่คลายกรรมในกิริยาพระ ยืน เดิน นั่ง นอนด้วยจิตมัชฌิมา

สังขารกรรม บางครั้งก็แสดงออกมาเป็นขันธมาร เป็นอุปสรรคทำให้เจ็บป่วยต้องรับทุกขเวทนา เหมือนเป็นมารขัดขวางการปฏิบัติธรรม ด้วยจิตนี้ต้องชดใช้เวรกรรมในสิ่งที่ตนเองเคยทำไว้

สังขารนั้นคือโลก สังขตนั้นเป็นจิต

เมื่อจะละสังขาร ก็ต้องทำจิตละสิ่งที่จิตเราพัวพันอยู่ให้เป็นอสังขตะ เพื่อละสังขารกรรม

เจ้าของ:  SOAMUSA [ 21 ต.ค. 2014, 18:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

สาวิกาน้อย เขียน:
พอดีมีเพื่อนส่งข้อความมาถามว่า...

คำว่า “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ”

ใช้ต่างกันอย่างไรค่ะ ??


ละสังขาร กับมรณภาพ
บางทีในภาษาไทยก็เอาคำบาลีมาใช้ผิดเพี้ยนค่ะชนิดเป็นความหมายตรงกันข้ามกับบาลีศัพท์เดิม
ดังนั้นคำว่าละสังขารอาจจะหมายถึงมรณะธรรมดาทั่วไปก็ได้ หรืออาจจะมีผู้หวังเงินทองจากการมรณภาพของพระ เอาคำละสังขารมาใช้ที่ฟังแล้วพิเศษออกไปอีก เพื่อเน้นว่าพระท่านไม่ธรรมดา เรียกว่าคนเป็นหากินจากงานมรณภาพของพระ

ดังนั้นจึงเอาแน่นอนไม่ได้ ก็อาจจะพูดแบบยกย่องพระท่าน หรืออาจจะหากินกับพระท่านก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นด้วย เช่นผู้พูดต้องการสื่อว่าอะไรด้วย อย่างบางแห่งก็ออกแนวอรหันต์จัดตั้ง สัปเหร่อจัดได้
พระอาจารย์ที่สอนดิฉัน ท่านเคยเล่าว่าสัปเหร่อจัดได้หมดจะเอาสีอะไรแบบไหนค่ะ

เจ้าของ:  น้องพลอย [ 25 ต.ค. 2014, 05:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

SOAMUSA เขียน:
ละสังขาร กับมรณภาพ
บางทีในภาษาไทยก็เอาคำบาลีมาใช้ผิดเพี้ยนค่ะชนิดเป็นความหมายตรงกันข้ามกับบาลีศัพท์เดิม
ดังนั้นคำว่าละสังขารอาจจะหมายถึงมรณะธรรมดาทั่วไปก็ได้ หรืออาจจะมีผู้หวังเงินทองจากการมรณภาพของพระ เอาคำละสังขารมาใช้ที่ฟังแล้วพิเศษออกไปอีก เพื่อเน้นว่าพระท่านไม่ธรรมดา เรียกว่าคนเป็นหากินจากงานมรณภาพของพระ

ดังนั้นจึงเอาแน่นอนไม่ได้ ก็อาจจะพูดแบบยกย่องพระท่าน หรืออาจจะหากินกับพระท่านก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นด้วย เช่นผู้พูดต้องการสื่อว่าอะไรด้วย อย่างบางแห่งก็ออกแนวอรหันต์จัดตั้ง สัปเหร่อจัดได้ พระอาจารย์ที่สอนดิฉัน ท่านเคยเล่าว่าสัปเหร่อจัดได้หมดจะเอาสีอะไรแบบไหนค่ะ

ดูเหมือนคนที่น่าจะถือว่าโชคดี [ที่ได้อยู่ใกล้พระ ใกล้วัด] กลับดูเหมือนห่างไกลแก่นธรรมเข้าไปทุกทีๆ แทนที่จะไปเอาปัญญา ไปเอาความสงบสุข ความพ้นทุกข์ ทำให้ทุกข์น้อยลง กลับไปเอาความเด่นความดัง อยากเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ในวัดในวา ไปเอาทุกข์ เอาบาป เอากรรม เอาเวร เข้าตัวมากขึ้นทุกทีๆ

พระพุทธเจ้า ถ้าทรงครองราชย์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ พระองค์ยังละทิ้งได้

ในยุคปัจจุบัน พระอาจารย์สิริปันโน ลูกชายคนเดียวของมหาเศรษฐีมาเลเซีย ยังปฏิเสธไม่รับมรดกของครอบครัวซึ่งมูลค่ากว่า 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐได้

แต่กลับมีคนเห็นแก่ได้อีกจำนวนมาก ที่มาฆ่ากันตาย มาทำลายกัน ด้วยเงินเพียงไม่กี่บาท :b7: :b2: :b5:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 03 พ.ย. 2014, 21:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: “ละสังขาร” กับ “มรณภาพ” ใช้ต่างกันอย่างไร? : มาช่วยกันตอ

rolleyes rolleyes rolleyes

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/