ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

บวชใจ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42845
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  bigtoo [ 02 ส.ค. 2012, 04:53 ]
หัวข้อกระทู้:  บวชใจ

ไปเจอมาเก็บมาฝาก
แดนมหามงคล

ยอดบุญ ยอดคุณธรรม
แห่งบุญบวชใจ ที่บริสุทธิ์ วิมุตติธรรม
เป็นยอด เป็นแก่น เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ของพระพุทธศาสดา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์
เป็นทางแห่งมหาอมตะ พระนิพพาน

คุญธรรมแห่งบุญบวชใจ
เป็นทางแห่งสันติภาพ สันติสุข สันติธรรมให้แด่โลก
เป็นทางแห่งความสงบ สะอาด สว่าง บริสุทธิ์
วิมุตติ หลุดพ้น จากกิเลสทั้งปวง
เป็นทางดับทุกข์ได้สนิท
เป็นทางจบกิจพรหมจรรย์
เป็นทางพระอริยะ
เป็นทางพระอรหันต์
เป็นทางมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
.........................................................
เป็นยอดแห่งมหาอภัยทาน...
เป็นแก่งแห่งมหาทาน...
เป็นหัวใจแห่งมหาเมตตา มหากรุณา มหามุทิตา มหาอุเบกขาธรรม
ค้ำคูณ คุ้มครอง ป้องกันภัย
ให้ไตรโลกได้บังเกิดความสงบเย็น เป็น ๑ ตลอดกาล
น้อมจิต...คิดตามรอยมหาปัญญาวิมุตติพุทธรรม

ใจเป็นหัวหน้า
ใจเป็นใหญ่
ใจเป็นประธาน

งานพัฒนาจิต พัฒนาใจ งานดูจิต งานรักษาจิต งานดูใจ งานรักษาใจ งานบุญบวชใจ...จึงเป็นงานสำคัญที่ยิ่งใหญ่ สูงสุด เป็น ๑ ในชีวิตชาติเกิดของมวลหมู่มนุษย์ทุกชีวิต

แก่นของพระไตรปิฏก
พระวินัยปิฏก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระสุตตันตปิฏก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระอภิธรรมปิฏก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พุทธธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา รวมได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
รวมยอด คือ รักษาจิตดวงเดียวให้ผ่องใส คือ การบวชใจให้แท้จริง

แก่นพระพุทธศาสนา แก่นธรรม แก่นพรหมจรรย์ แก่นปริยัติ แก่นปฏิบัติ แก่นปฎิเวธ รวมยอดคือ การบวชใจให้แท้จริง เป็น ๑

แก่นมงคล ๓๘ รวมยอดคือ ... การบวชใจให้พ้นภัย ได้ผาสุขเกษมศานต์

แก่นทาน แก่นศีล แก่นภาวนา แก่นมหาศรัทธา แก่นมหาปัญญา แก่นมหาสติ แก่นสมาธิ แก่นมหาเมตตา มหากรุณา มหามุทิตา มหาอุเบกขา
รวมยอด คือ บวชใจให้บริสุทธิ์ เป็นธรรม

บุญบารมี ๑๐ ทัศ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็นสะพานชัย เป็นบันไดธรรม นำจิตผู้ปฏิบัติให้เจริญก้าวถึง ยอดบุญบวชใจได้ อย่างแท้จริง
คุณค่ามหานิสงส์แห่ง...
องค์ศีล ๕ องค์ศีล ๘ องค์ศีล ๑๐ องค์ศีล ๒๒๗ องค์ศีล ๓๑๑
เป็นข้อวัตร เป็นข้อปฏิบัติ ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้ถึงยอด ถึงแก่น บุญบวชใจได้ อย่างสูงสุดเป็น ๑
แก่นของวิชามหาธุดงค์คุณ ๑๓ รวมยอดคือ การบวชใจให้พ้นทุกข์

แก่นของพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร
แก่นของพระโอวาทปาฏิโมกข์
แก่นของพระปัจฉิมโอวาท
คือ ความไม่ประมาท ต่อธรรมทั้งปวง
รวมยอด คือ จบที่จิต บวชที่ใจ ให้เป็น ๑
แก่นของมหาสติปัฏฐานสูตร
แก่นของการภาวนากรรมฐาน ๔๐ กอง
แก่นของวิปัสนาญาณ
รวมยอด คือ การบวชใจให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลส

แก่นของโพธิปักขิยธรรม ๓๗
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๔ พละ ๔
โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
แก่นของอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
รวมยอดคือ การบวชใจให้บริสุทธิ์ วิมุตติธรรม

ถ้าเราคิดบวชใจ...บวชใจ...และบวชใจ ใจเราจะหมดพิษ หมดภัย ไม่ทำลายตนเอง ไม่ทำลายทุกคนในครอบครัว ไม่ทำลายโลกทั้งปวงอีกตลอดกาล...
ถ้าเปรียบเป็น งูพิษร้าย ก็เป็นงูที่ถูกรีดพิษ ได้ปิดประตูอบายภูมิ
ถ้าเปรียบเป็น คน จะได้ขึ้นชื่อว่า... เป็นมหามรดกชีวิตที่มีประสิทธิภาพล้ำค่า ต่อครอบครัว สังคม ประเทศชาติ
จะได้เป็นชีวิต ดวงจิต มหาโลกุตระ มหาอริยะ มหาพระนิพพานเป็นขั้นๆทันกาล

การได้เกิดเป็นมนุษย์...สุดประเสริฐ
การได้พบพระพุทธศาสนา...สุดล้ำเลิศ
การก่อเกิดคุณธรรม...สุดล้ำค่า
เป็นมหามงคลชัยอันสูงสุดในชีวิต


คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ
เกิดมาไม่บวชใจ จะได้อะไรจากการเกิด
แดนมหามงคล
ลูกแก้วอุบาสิกา บงกช สิทธิพล

เจ้าของ:  asoka [ 02 ส.ค. 2012, 05:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวชใจ

:b12: :b12: :b4:
อนุโมทนาสาธุกับคุณ bigtoo ที่ช่างไปสรรหาสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟังไม่ขาด สงสัยคุณbigtooคงจะเป็นนักเที่ยวที่เก่งฉกาจ จึงมีธรรมทัศนะอันหลายหลากมากมาย มาตั้งกระทู้

ทำดีต่อไปนะครับ อย่าท้อแท้ยามมีมารผจญ

"มารบ่มี บารมีบ่เกิด" เด้อ!
:b4: :b4:
:b20:

เจ้าของ:  bigtoo [ 02 ส.ค. 2012, 06:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวชใจ

asoka เขียน:
:b12: :b12: :b4:
อนุโมทนาสาธุกับคุณ bigtoo ที่ช่างไปสรรหาสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟังไม่ขาด สงสัยคุณbigtooคงจะเป็นนักเที่ยวที่เก่งฉกาจ จึงมีธรรมทัศนะอันหลายหลากมากมาย มาตั้งกระทู้

ทำดีต่อไปนะครับ อย่าท้อแท้ยามมีมารผจญ

"มารบ่มี บารมีบ่เกิด" เด้อ!
:b4: :b4:
:b20:
สิ่งไหนเห็นมีประโยชน์กับตัวเอง และผู้อื่น ก็ทำได้ก็ทำ ไม่ได้เสียตังค์ คงไม่ต่างจากพี่หรอกครับใช่ บ่อ เรามันศิษย์อาจารย์เดียวกันอิๆๆ :b12: :b12:

เจ้าของ:  ฝึกจิต [ 02 ส.ค. 2012, 07:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวชใจ

การบวชอยู่ที่บ้าน

บางคนจะสงสัยว่า บวชทำไมอยู่ที่บ้าน? มันก็พอจะตอบได้ว่า เราทำอย่างเดียวกัน ในวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายของคำว่า บวช แปลตามตัวหนังสือ ก็ว่า เว้นหมดจากที่ควรเว้น ก็คือ เว้นจากการปฏิบัติหรือการเป็นอยู่ชนิดที่เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นไปเพื่อความทุกข์ เราจะเว้นเสียโดยเด็ดขาด; ไม่ทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด แต่ว่าโดยแท้จริงก็อยู่ที่บ้าน แต่ไม่ต้องทำในใจว่า อยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่วัด, ทำในใจแต่การประพฤติปฏิบัติ ให้ตรงตามความหมายนั้นเท่านั้น คือว่า เว้นหมดจากสิ่งที่ควรเว้น ในทุกๆระดับ.

หรือแม้ว่าเราจะอาศัยคำอีกคำหนึ่ง คือคำว่า พรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติประเสริฐ, ประพฤติอย่างพรหม ก็ไม่ได้จำกัดว่าที่บ้านหรือที่วัด ถ้าประพฤติได้ก็ประพฤติ; อย่างจะถือศีลพรหมจรรย์อยู่ที่บ้าน ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ยังถือได้ คำว่า พรหมจรรย์ นั้นมีความหมายว่า การประพฤติอย่างเต็มที่หรือเคร่งครัด ติดต่อกันเป็นระยะยาว เป็นการปฏิบัติตลอดชีวิต อย่างนี้ก็ยังได้ พูดกันง่ายๆ ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ที่บ้าน มันก็ยังทำได้.

ทีนี้เมื่อบุคคล บางคนไม่อาจจะออกไปบวช หรือว่าเป็นสตรี ไม่อาจจะบวชเป็นภิกษุณี ก็เสียใจ หรือน้อยใจ อย่างนี้ก็มี, หรือด้วยเหตุอย่างอื่นออกไปบวชไม่ได้ อย่างนี้ก็มี, ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องน้อยใจ, พยายามประพฤติปฏิบัติในธรรมะ ซึ่งเป็นการปฏิบัติให้ดีที่สุดให้สูงที่สุด ตามที่จะทำได้ ก็จะเป็นการบวชอยู่ที่บ้าน เรียกว่า บวชอยู่ที่บ้าน. ฟังดูให้ดีๆ เพราะบวช นั้นคือการเว้นเสียจากสิ่งที่ควรเว้น, พรหมจรรย์นั้น หมายถึงการประพฤติข้อธรรมอย่างจริงจังเคร่งครัด แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ถ้าทำอย่างเคร่งครัดติดต่อกันจนตลอดชีวิต ก็เรียกว่า พรหมจรรย์ได้เหมือนกัน. เดี๋ยวนี้เราจะถือเอาหลักปฏิบัติตามที่มีอยู่อย่างไรในพระพุทธศาสนานั้น เอามาถือไว้เป็นหลักปฏิบัติ ก็จะทำให้เกิดผลอย่างเดียวกัน กับพวกที่บวชออกไปอยู่ที่วัด หรือไปอยู่ที่ป่า, และในบางกรณี บวชอยู่ที่บ้าน จะทำได้ดีกว่าบางคนหรือบางพวก ที่ไปบวชเหลวไหลอยู่ที่วัด หรือแม้อยู่ในป่า ด้วยเหตุนี้แหละพอที่จะกล่าวได้ว่า เรื่องสถานที่นั้น ก็ไม่ได้สำคัญเด็ดขาด อะไรนัก, มันสำคัญหรือเด็ดขาดอยู่ที่การประพฤติกระทำมากกว่า ซึ่งขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีๆ ว่า การบวชอยู่ที่บ้านนั้น จะบวชกันได้อย่างไร?

หลักปฏิบัติในการบวชอยู่ที่บ้าน

การบวชอยู่ที่บ้านนั้น ก็ต้องอาศัยหลักธรรมะที่เป็นเนื้อแท้ หรือเป็นตัวแท้ของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เป็นหลักชัดเจนตายตัว ในที่นี้ จะเลือกเอามาสักหมวดหนึ่ง สำหรับยึดเป็นหลักปฏิบัติ แต่ก็มิได้เลือกเอาหมวด เช่น อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นต้น นั้นมันเป็นหลักทั่วไป ที่วัดก็ได้ ที่ไหนก็ได้, จะเอาชนิดที่สูงขึ้นไป ละเอียดขึ้นไปกว่านั้น คือหมวดธรรมที่มีชื่อว่า อินทรีย์ทั้ง 5, จำไว้ให้ดี.

อินทรีย์ทั้ง๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ๕ อย่างนี้ แต่ละอย่างเรียกว่า อินทรีย์. คำว่า อินทรีย์ แปลว่า สำคัญ ตัวการสำคัญ หลักการสำคัญ, ธรรมะทั้ง ๕ ข้อนี้ จะมีอยู่ในการปฏิบัติทั่วไป, จะทำสมาธิหรือเจริญภาวนาอย่างไร ก็ต้องทำให้มีอินทรีย์ครบทั้ง ๕.

ขอให้ฟังให้ดีว่า จะปฏิบัติธรรมะพวกไหนก็ตาม จะต้องปฏิบัติให้มีอินทรีย์ ในคำเหล่านั้น ครบทั้ง ๕ ที่เรียกว่า ๕, ๕ นี้ ก็คือ สัทธาวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ดังที่กล่าวแล้ว.

...................................................................................

เจ้าของ:  bigtoo [ 02 ส.ค. 2012, 07:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บวชใจ

อุบาสิกา บงกช นี้ไปสร้างวิหารที่อินเดีย ใหญ่โตมากเลย สมเกียรติหญิงไทยใจพุทธจริงๆเลย! onionมาดูตัวเราต่ำต้อยเหลือเกิน :b19: :b19: :b19:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/