วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 23:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครๆก็อยากพ้นทุกข์


ใครคิดว่าตนได้อะไร หรือเป็นอะไร ทั้งในโลกปัจจุบัน และโลกอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องปกติ เพราะยังมีกิเลส


เรื่อง โสดาบัน ตายแล้ว เกิดเป็น ยักษ์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 465&Z=4870


ทำไม โสดาบัน จึงเกิดเป็นยักษ์

ทำไม โสดาบัน จึงมี โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2012, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชนวสภยกฺขวณฺณนา

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=10&i=187


พระเจ้าพิมพิสารพระองค์นั้นทรงสดับธรรมกถาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น เป็นใหญ่แห่งชนหนึ่งแสนยิ่งด้วยสิบพัน บรรลุเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า ชนวสภะ.

บทว่า อิโต สตฺต ความว่า จุติจากเทวโลกนี้เจ็ดครั้ง.

บทว่า ตโต สตฺต ความว่า จุติจากมนุษย์โลกนั้นเจ็ดครั้ง.

บทว่า สํสรามิ จตุทฺทส ความว่า ตามลำดับขันธ์ทั้งหมด สิบสี่ครั้ง.

บทว่า นิวาสมภิชานามิ ความว่า เรารู้นิวาสด้วยอำนาจแห่งชาติ.

บทว่า ยตฺถ เม วุสิตํ ปุเร ความว่า เราเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเวสวัณในเทวโลก และเป็นราชาในมนุษย์โลกอยู่แล้ว ในกาลก่อน แต่อัตภาพนี้ และเพราะได้อยู่อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ได้เป็นโสดาบัน กระทำบุญมากในวัตถุทั้ง ๓ แม้สามารถบังเกิดเบื้องสูงด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น จึงได้เกิดแล้วในที่นี้เทียว เพราะกำลังแห่งความใคร่ในสถานที่อยู่ตลอดกาลนาน.


ด้วยบทว่า อาสา จ ปน เม สนฺติฎฺฐติ นี้ ท่านแสดงว่า เราไม่หลับประมาทว่า เราเป็นโสดาบัน ยังกาลให้ล่วงแล้ว ก็เราได้เจริญวิปัสสนาเพื่อประโยชน์แก่พระสกทาคามี อยู่อย่างมีความหวังว่า เราจะบรรลุในวันนี้ๆ.


บทว่า ยทคฺเค ความว่า ท่านกล่าวมุ่งถึงวันบรรลุพระโสดาบันในปฐมทัศน์ที่สวนลัฏฐิวัน.


บทว่า ตทคฺเค อหํ ภนฺเต ทีฆรตฺตํ อวินิปาโต อวินิปาตํ สญฺชานามิ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ทำวันนั้นเป็นต้นเหตุ ไม่ตกต่ำเป็นเวลานาน นับได้ ๑๔ อัตภาพก่อน ได้จำธรรมที่ไม่ยังตนให้ตกต่ำที่บรรลุแล้ว ด้วยอำนาจโสดาปัตติมรรค ที่สวนลัฏฐิวัน.


บทว่า อนจฺฉริยํ ความว่า อัศจรรย์เนืองๆ.

การที่เราไปด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในระหว่างทาง เป็นการอัศจรรย์ที่คิดถึงบ่อยๆ และธรรมที่เราได้ฟังเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบริษัทของมหาราชเวสวัณนั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นการอัศจรรย์.

บทว่า เทฺว ปจฺจยา ความว่า ภาพที่เห็นในระหว่างทาง และความใคร่ที่จะบอกธรรมที่ได้ฟังต่อหน้าท้าวเวสวัณ.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2012, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบัน


โสดาบันมี ๓ ประเภทคือ

๑. อธิมิกโสดาบัน

๒. อุลลปนาธิปปายโสดาบัน

๓. อริยโสดาบัน



อธิบายความว่า อธิมิกโสดาบัน

ได้แก่มีผู้เข้าใจผิดคิดว่า ตนเองได้บรรลุมรรค,ผลแล้ว โดยมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น

ซึ่งตนเคยได้ยินสภาวะอย่างนั้นเป็นการแสดงว่าได้มรรค,ผลแล้วประการหนึ่ง เพราะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณของอาจารย์อีกประการหนึ่ง ดังนี้เรียกว่า อธิมิกโสดาบัน



อุลลปนาธิปปายโสดาบัน

ได้แก่ผู้ที่รู้ว่าตนยังไม่ได้บรรลุมรรค,ผล แต่อยากจะให้ได้เร็วๆ จึงแจ้งแก่อาจารย์ถึงสภาวะต่างๆ ซึ่งตนเคยได้ยินมาได้เกิดขึ้นแก่ตน และโดยคำรายงานอันเป็นเท็จนี้ ทำให้อาจารย์หลงเชื่อ จึงให้ฟังเทศน์ลำดับญาณ อย่างนี้เรียกว่า อุลลปนาธิปปายโสดาบัน


บุคคลทั้ง ๒ ประเภทนี้ไม่ได้มรรค,ผลจริง แต่โอ้อวดว่าได้ พอนานๆเข้าจิตใจที่ตนยึดมั่นในองคคุณของพระโสดาบันก็จืดจางลง เป็นเหตุให้ประพฤติปฏิบัติตนขาดไปจากองคคุณนั้นๆ มีการล่วงอกุศลกรรมบถ เช่นเสพสุราและกล่าวมุสาวาท เป็นต้น


อริยโสดาบัน

เป็นผู้ที่ได้อริยมรรค, อริยผลอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติใดๆ ถึงแม้จะเป็นเวลาภายหลังการปฏิบัติไปแล้ว ช้านานเพียงไรก็ตาม ก็จะไม่มีการเสื่อมไปจากองคคุณแห่งโสดาบันเป็นอันขาด



การเห็นแจ้งในสภาวะ อริยสัจ ๔ เป็นเพียงแค่มรรค ยังไม่ใช่ผล และที่สำคัญที่สุด ต้องแจ้งสภาวะของนิพพาน โดยตัวสภาวะจริงๆ จึงจะเรียกว่า ผล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 05 ก.ค. 2012, 23:56, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2012, 23:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1...อริยโสดาบัน

เป็นผู้ที่ได้อริยมรรค, อริยผลอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติใดๆ ถึงแม้จะเป็นเวลาภายหลังการปฏิบัติไปแล้ว ช้านานเพียงไรก็ตาม ก็จะไม่มีการเสื่อมไปจากองคคุณแห่งโสดาบันเป็นอันขาด


2....เพราะความหลง จึงเป็นที่มาของโสดาบัน ๓ ประเภท อุลลปนาธิปายโสดาบัน ๑ อธิมานิกโสดา ๑ อริยโสดาบัน ๑


ตกลง...ว่า...1..กับ...2...ขัดกันเองหรือว่า...ไม่ขัดแย้งกันแต่ประการใด?
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2012, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
1...อริยโสดาบัน

เป็นผู้ที่ได้อริยมรรค, อริยผลอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติใดๆ ถึงแม้จะเป็นเวลาภายหลังการปฏิบัติไปแล้ว ช้านานเพียงไรก็ตาม ก็จะไม่มีการเสื่อมไปจากองคคุณแห่งโสดาบันเป็นอันขาด


2....เพราะความหลง จึงเป็นที่มาของโสดาบัน ๓ ประเภท อุลลปนาธิปายโสดาบัน ๑ อธิมานิกโสดา ๑ อริยโสดาบัน ๑


ตกลง...ว่า...1..กับ...2...ขัดกันเองหรือว่า...ไม่ขัดแย้งกันแต่ประการใด?
s006




ขอบคุณค่ะ แก้ไขข้อความแล้วค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2012, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยโสดาบัน


เป็นผู้ที่ได้อริยมรรค, อริยผลอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติใดๆ ถึงแม้จะเป็นเวลาภายหลังการปฏิบัติไปแล้ว ช้านานเพียงไรก็ตาม ก็จะไม่มีการเสื่อมไปจากองคคุณแห่งโสดาบันเป็นอันขาด


อริยโสดาบัน หรือ ปัจจุบันเรียว่า โสดาบัน มี ๒ ประเภท

๑. โสดาปัตติมรรค

๒. โสดาปัตติผล


ไม่แตกต่างจาก สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เป็นที่มาของ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑


โสดาปัตติมรรค

โสดาปัตติมรรค มี ๒ ประเภท ได้แก่

๑. รู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งใน สภาวะพระนิพพาน ตามความเป็นจริง

๒. ไม่ได้รู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จด้วยการฟัง ปฏิบัติด้วยความศรัทธา



โสดาปัตติผล

โสดาปัตติผล มีเพียงหนึ่งเดียว คือ รู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ ๔และรู้แจ้งในสภาวะพระนิพพาน ตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2012, 02:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วบุคคลจะรู้แน่ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 3 ครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2012, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
แล้วบุคคลจะรู้แน่ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 3 ครับ



รู้ค่ะ รู้ต่อเมื่อ ไม่ยึด

การไม่ยึด คือ หยุดสร้างเหตุนอกตัว

โสดาปัตติผล รู้แจ้งแทงตลอด สภาวะอริยสัจ ๔ (เป็นเหตุให้ รู้แจ้งในสภาวะ อุปทานขันธ์ ๕) และ รู้แจ้งสภาวะนิพพาน เป็นที่มาของ จิ.เจ.รุ.นิ

เมื่อรู้แจ้ง สภาวะนิพพาน

เป็นเหตุให้ รู้แจ้งในสภาวะ ปฏิจจสมุปปบาท เป็นเหตุให้ รู้แจ้งใน สภาวะโยนิโสมนสิการ สัมมาสติ(สมถะในสติปัฎฐาน ๔) อิทธิบาท ๔ สมาธิ สัมมาสมาธิ (วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔) และสัมมาทิฏฐิ


เป็นที่มาของสภาวะ


ศิล (ปฏิจจสมุปปบาท โยนิโสมนสิการ สัมมาสติ)

สมาธิ (อิทธิบาท ๔ สมาธิ )

ปัญญา (สัมมาสมาธิ)



ถึงแม้ว่า ผู้ปฏิบัติ จะไม่รู้ปริยัติเลยก็ตาม จะมีเหตุให้รู้เอง รู้จากหยาบๆ จนกระทั่งละเอียด คือ รู้จากสัญญาก่อน(คือ ตัวรู้หรือความรู้ต่างๆที่เกิด ขณะจิตพิจรณา) เมื่อไม่ยึดในสภาวะสัญญาที่เกิดขึ้น จะรู้ชัดโดยปัญญา ในที่สุด

โสดาปัตติผล รู้แล้ว จะหยุดสร้างเหตุนอกตัว ไม่มีการยึดติดรูปแบบการปฏิบัติ แม้กระทั่ง การชักนำ โน้มน้าวหรือคิดสอนผู้อื่น

ไม่ใช่แค่ว่า ใครเชื่อใคร เพราะสร้างเหตุร่วมกันมา หรือใครไม่เชื่อใคร เพราะไม่ได้สร้างเหตุร่วมกันมา แต่เพราะรู้ว่า กิจใดควรทำ กิจใด ไม่ควรทำ

โสดาปัตติมรรค ประเภทที่ ๑ รู้แจ้งอริสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้ง สภาวะนิพพาน เหตุเพราะ ติดอุปกิเลสหรือวิปัสสนูปกิเลส(สภาวะเดียวกัน แตกต่างแค่คำเรียก) จนกว่า จะวางในสิ่งที่คิดว่า รู้ ลงไปได้ โดยตัวของจิตเอง สภาวะถึงจะดำเนินต่อไป

ประเภทที่ ๒ มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จด้วยการฟัง เช่น แบบพระเจ้าพิมพิสาร และในปัจจุบัน คือ ไม่ว่าจะสมัยใดๆก็ตาม มีเกิดขึ้นเยอะมาก ไม่แตกต่างจากสมัยพุทธกาล


อันนี้พูดแค่คร่าวๆ ส่วนรายละเอียด จะมีแยกแยะ รายละเอียดของสภาวะทั้งหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2012, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจนะ


โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก


ก. สัทธานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย ! ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เป็นปกติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (สัมมาทิฏฐิ )
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.





ข. ธัมมานุสารี


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อ การเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (สัมมาทิฏฐิ )

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.




ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้
ในโสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน

ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า.



สารีบุตร !
อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔-๔๓๕/๑๔๓๑.





พระโสดาบันละสังโยชน์ได้สามข้อ มีสามจำพวก


ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สามเป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ (สัทธานุสารี)

ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ โกลังโกละ (ธัมมานุสารี)

จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้เป็น เอกพีชี (โสดาปัตติผล)

คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์ อีกหนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗.





วิธีดู พุทธวจนะ


สัทธานุสารี


ได้แก่ โสดาปัตติมรรค ประเภท มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จด้วยการฟัง ปฏิบัติด้วยความศรัทธา


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี



ในพุทธวจนะ มีคำว่า "มีความเชื่อ น้อมจิตไปในธรรม ๖"




ธัมมานุสารี


ได้แก่ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งแทงตลอด อริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง(รู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕) แต่ยังไม่รู้แจ้งใน สภาวะพระนิพพาน ตามความเป็นจริง


ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อ การเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้; บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี



ในพุทธวจนะ มีคำว่า "การเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา"

เมื่อเห็นคำว่า "ปัญญา" แต่บางคนอาจจะตีความว่า เป็นการคิดพิจรณา

ให้ดูโดยรวม "การเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา" นั่นหมายถึง สภาวะฌาน ที่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่สภาวะฌาน ที่เป็นมิจฉาสมาธิ


ฌาน ทีเป็นสัมมาสมาธิ จะมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

ฌาน ที่เป็นมิฉาสมาธิ จะดับ ดิ่ง นิ่ง ขาดความรู้สึกตัว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2012, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แรกตรัสรู้


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
พรหมสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
อายาจนสูตรที่ ๑
[๕๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ
แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตอุรุเวลาประเทศ ฯ

ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิหารสูตรที่ ๒

[๔๙]
สาวตฺถีนิทานํ ฯ อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว เตมาสํ ปฏิสลฺลียิตุํ นมฺหิ เกนจิ
อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺญตฺร เอเกน ปิณฺฑปาตนีหารเกนาติ ฯ เอวํ ภนฺเตติ โข เต
ภิกฺขู ภควโต ปฏิสฺสุตฺวา ฯ นาสฺสุธ โกจิ ภควนฺตํ อุปสงฺกมติ อญฺญตฺร เอเกน
ปิณฺฑปาตนีหารเกน ฯ

[๕๐]
อถ โข ภควา ตสฺส เตมาสสฺส อจฺจเยน ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต ภิกฺขู
อามนฺเตสิ เยน สฺวาหํ ภิกฺขเว วิหาเรน ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ วิหรามิ ตสฺส ปเทเสน
วิหาสึ โส เอวํ ปชานามิ มิจฺฉาทิฏฺฐิปจฺจยาปิ เวทยิตํ มิจฺฉาทิฏฺฐิวูปสมปจฺจยาปิ
เวทยิตํ สมฺมาทิฏฺฐิปจฺจยาปิ เวทยิตํ สมฺมาทิฏฺฐิวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ ฯเปฯ
มิจฺฉาสมาธิปจฺจยาปิ เวทยิตํ มิจฺฉาสมาธิวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ สมฺมาสมาธิ-
ปจฺจยาปิ เวทยิตํ สมฺมาสมาธิวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ ฉนฺทปจฺจยาปิ เวทยิตํ
ฉนฺทวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ วิตกฺกปจฺจยาปิ เวทยิตํ วิตกฺกวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ
สญฺญาปจฺจยาปิ เวทยิตํ สญฺญาวูปสมปจฺจยาปิ เวทยิตํ ฉนฺโท จ อวูปสนฺโต โหติ
วิตกฺกา จ อวูปสนฺตา โหนฺติ สญฺญา จ อวูปสนฺตา โหติ ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ
ฉนฺโท จ วูปสนฺโต โหติ วิตกฺกา จ วูปสนฺตา โหนฺติ สญฺญา จ วูปสนฺตา โหติ
ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตํ อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา อตฺถิ วายามํ ตสฺมึปิ ฐาเน อนุปฺปตฺเต
ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิตนฺติ ฯ

[๕๑]
สาวตฺถีนิทานํ ฯ อถ โข อญฺญตโร ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ฯเปฯ
เอกมนฺตํ นิสินฺโน โข โส ภิกฺขุ ภควนฺตํ เอตทโวจ เสกฺโข๑ เสกฺโขติ ภนฺเต
๑. ยุ. เสโข เสโขติ ฯ เอวมุปริ ฯ


ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา

[๔๙]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว

ภิกษุทั้งหลายรับ พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาต ไปถวายรูปเดียว.

[๕๐]
ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบ สูตรที่ ๒



พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม สภาวะที่พระองค์ ทรงเคยติดข้องอยู่ ว่าเหตุนั้น เกิดจากอะไร (เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น/สภาวะ)


ดูจากประโยคนี้

เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.


ยังมีอายูหนา คือ มีความพยายามทำ เพื่อให้สภาวะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ไม่แตกต่างจากพระเจ้าพิมพิสาร


มีข้อแตกต่าง ตรงที่ พระผู้มีพระภาค ทรงรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยพระองค์เอง ส่วนพระเจ้าพิมพิสาร มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จด้วยการฟัง


และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง

คือ รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง










แรกเริ่มรู้ เหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่าง คือ ติดอุปกิเลส

เมื่อเป็นเช่นนี้ แรกตรัสรู้ เป็นเหตุให้ ทรงรู้สึกแบบนี้


ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ








สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


หมายเหตุ

ที่นำสภาวะของพระผู้มีพระภาค มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า แรกรู้ แม้แต่พระองค์ ก็ทรงเจอสภาวะอุปกิลสหรือวิปัสสนูปกิเลส แล้วอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย จะไปเหลืออะไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ค. 2012, 22:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตร-บรรลุธรรม


พระอัสสชิเถระแสดงธรรม
[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชก ว่าดังนี้:-
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรม
เหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติ
ทรงสั่งสอนอย่างนี้.
สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม
[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่
สารีบุตรปริพาชก


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... 358&Z=1456



พระสารีบุตร มีดวงตาเห็นธรรม สำเร็จด้วยการฟัง เป็นโสดาปัตติมรรค ประเภท สัทธานุสารี

ซึ่งต่อมา เห็นแจ้งอริยสัจ ๔ และ สภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง(โสดาปัตติผล)



ท่านพระสารีบุตรเถระ เคยเล่าถึงการเข้าผลาสมาบัติของท่าน ให้พระอานนท์เถระฟังว่า

“นี่แน่อาวุโสอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถีนี้แหละ ณ ป่าอันธวันนั้น ผมได้เข้า(ผลาสมาบัติ)สมาธิ มีรูปแบบโดยอาการที่ผมมิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในดินว่าดิน

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในน้ำว่าน้ำ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในไฟว่าไฟ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในลมว่าลม

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณัญจายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากิญจัญญายตนะ ว่าอากิญจัญญายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกนี้ว่าโลกนี้

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกอื่นว่าโลกอื่น

แต่ก็เป็นผู้มีความหมายรู้”


พระอานนท์เถระถามว่า

“แต่แล้วท่านพระสารีบุตร ได้เป็นผู้มีความหมายรู้อย่างไร ในเวลานั้น?”

ท่านพระสารีบุตร เล่าต่อไปว่า

อาวุโส เกิดความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่งแก่ผมว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ภวนิโรโธ นิพฺพานํ– ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้เพียงอีกอย่างหนึ่งก็ดับไป,

อาวุโส เปรียบเหมือนเมื่อไฟติดสะเก็ดไหม้อยู่ เกิดเปลวไฟเพียงวาบหนึ่ง (และ) เปลวไฟอีกวาบหนึ่งก็ดับไป แม้ฉันใด,

อาวุโส ความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่ง เกิดแก่ผมว่า “ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้อีกอย่างหนึ่งก็ดับไป ฉันนั้นแล

แต่ในเวลานั้น ผมมีความหมายรู้ว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ– ความดับภพ คือ นิพพาน”
อํ. ทสก. ๒๔/๑๑ และดู – มโนรถปูรณี, ตติยภาค, หน้า ๓๖๒

เราทุกคนผู้แบกอุปทานขันธ์ ๕ นั้น ท่านเรียกว่า “ภารหาโร – ผู้แบกภาระ หรือผู้นำไปซึ่งของหนัก”

ซึ่งต้องนำ ต้องแบกภาระหนัก ด้วยการบริหารอยู่เป็นนิตย์ มิได้หยุดพัก ตั้งแต่เกิดมาจนสิ้นชีวิตตามอายุขัย และภายหลังมรณะในชาติ ในภพนั้นๆ

แล้วไปเกิดในชาติ ในภพอื่นๆต่อไปอีก ก็ยึดถือขันธ์ ๕ แบกภาระต่อไปอีก ท่านจึงกล่าวว่า

“ภาราทานํ ทุกขํ โลเก– การถือ คือ แบกภาระหนักไว้ เป็นทุกข์ในโลก”

กล่าวคือ “นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา– ไม่มีทุกข์ทั้งหลายใดๆ เสมอด้วยเบญจขันธ์
ขุ. ธ, ๒๕/๔๒

ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภารหาโร จ ปุคฺคโล

ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ.

นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย

สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต.
สํ. ขนฺธ. ๑๗/๓๒-๓๓ สารตฺถปกาสินี, ทุติยภาค, น. ๓๒๑-๓๒๒

ขันธ์ ๕ เป็นภาระหนักแท้ และบุคคลผู้แบกภาระหนัก การแบกภาระหนัก (ขันธ์ ๕) ไว้ เป็นทุกข์ในโลก

การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข ท่านผู้ปลงภาระหนักได้แล้ว ไม่แบกภาระ(ขันธ์) อื่นไว้อีก

ถอนตัณหาพร้อมด้วยอวิชชา อันเป็นรากเหง้าได้เสียแล้ว เป็นผู้ไม่หิว(ด้วยตัณหา) ปรินิพพานแล้ว




http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =186&Z=277


อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร ฯ

สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพ
เป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล
สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลว
อย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
แก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง
ย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มี
สัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต








http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 074&Z=3161

[๒๗๔] ป. ดูกรท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟัง
ตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฐิ ท่านนารทะ
มีญาณเฉพาะตัวท่านว่า ภพดับเป็นนิพพาน ดังนี้หรือ ฯ

นา. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขามา ความ
ตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฐิ ผมย่อมรู้ ย่อมเห็นอย่างนี้ว่า
ภพดับเป็นนิพพาน ฯ


ป. ถ้าอย่างนั้น ท่านนารทะก็เป็นพระอรหันตขีณาสพหรือ ฯ

นา. อาวุโส ข้อว่าภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ
อาวุโส เปรียบเหมือนบ่อน้ำ
ในหนทางกันดาร ที่บ่อนั้นไม่มีเชือกโพงจะตักน้ำก็ไม่มี ลำดับนั้นบุรุษถูกความร้อน
แผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมา เขามองดูบ่อน้ำนั้น ก็รู้ว่ามีน้ำ
แต่จะสัมผัสด้วยกายไม่ได้ ฉันใด ดูกรอาวุโส ข้อว่า ภพดับเป็นนิพพาน ผม
เห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่า ผมไม่ใช่พระอรหันตขีณาสพ
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ



แจ้งในอริยสัจ ๔ และ สภาวะนิพพาน ย่อมรู้และเห็นตามความเป็นจริง เหมือนๆกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 14:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
แรกเริ่มรู้ เหมือนกันหมด ไม่มีแตกต่าง คือ ติดอุปกิเลส

เมื่อเป็นเช่นนี้ แรกตรัสรู้ เป็นเหตุให้ ทรงรู้สึกแบบนี้


ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ


สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


หมายเหตุ

ที่นำสภาวะของพระผู้มีพระภาค มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า แรกรู้ แม้แต่พระองค์ ก็ทรงเจอสภาวะอุปกิลสหรือวิปัสสนูปกิเลส แล้วอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย จะไปเหลืออะไร



ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต

ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น
ก็อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก
แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน
ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ

:b6:

เป็นเพียงแค่ โสดาปัตติมรรค ได้ยังไง

:b6: :b6: :b6:

ทำไมคุณถึงคิดว่า โสดาปัตติมรรค จะสามารถบัญญัติ "สัตว์"
ใช้คำเรียก "สัตว์" ขึ้นมา เพื่อแยกสิ่งที่ถูกเรียกนั้น ออกจากสภาวะ "วิมุตติ" ได้

:b5:

และเนื้อความตรงไหนที่พระพุทธองค์แสดงออกถึงอาการที่แยก สัญญา กะ ปัญญา ไม่ออก

ก็ฐานะนี้ แม้ฐานะนี้ นั่นคือ พระองค์บรรลุฐานะ ที่ สัตว์รู้ตามได้ยาก


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 ก.ค. 2012, 21:39, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้านั่นเป็นแค่โสดาปัตติมรรค
คุณก็ต้องตอบคำถามในสิ่งที่โสดาปัตติมรรคได้ทำต่อมาภายหลังจากวันนั้นให้ได้ด้วย

อ้างคำพูด:
"ปฐมเทศนา ปฐมสาวกและพระอรหันต์ ๖ องค์แรก"

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และประทับเสวย วิมุตติสุข ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธเป็นเวลา ๔๙ วัน จากนั้นพระบรมศาสดาทรงดำเนินสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีเพื่อทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์อันมี โทฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ พระบรมศาสดาทรงระลึกว่า ปัญจวัคคีย์เป็นผู้มีอุปนิสัยในอันจะตรัสรู้ธรรม ทั้งมีอุปการะแก่ประองค์มาก ได้อุปัฏฐากของประองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

พระบรมศาสดาใช้เวลา ๑๑ วัน เดินทางมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในยามเย็นของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ปัญจวัคคีย์ยังคงเข้าใจว่าพระสมณโคดมเลิกละความเพียรในการบำเพ็ญตบะในทุกรกิริยา คงจะไม่มีโอกาสได้บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว จึงนัดหมายกันทำเพิกเฉยแสดงอาการไม่เคารพไม่ยินดีในการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า และกล่าวปฏสันถารใช้สำนวนอันเป็นกริยาไม่เคารพ
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า " ดูกร ปัญจวัคคีย์ บัดนี้ ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มาครั้งนี้หวังจะแสดงธรรมแก่เธอทั้ง ๕ เธอจงตั้งใจสดับและปฏิบัติตามคำของตถาคต ไม่ช้าไม่นานสักเท่าใดก็จะได้ตรัสรู้ตาม"

ปัญจวัคคีย์ไม่เชื่อ กลับคัดค้าน แม้พระบรมศาสดาจะตรัสเตือนซ้ำอีก ปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ กล่าวโต้แย้งถึง ๓ ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเดือนด้วยพระกรุณาให้ปัญจวัคคีย์หวนระลึกถึงความหลังดูว่า
"ดูก่อน ปัญจวัคคีย์ วาจาที่ไม่ควรเชื่อคำใด ตถาคตเคยกล่าวอยู่บ้างหรือ แม้แต่คำว่า ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณนี้ ตถาคตเคยกล่าวกะใคร ที่ไหน แต่กาลก่อน"

ด้วยอานุภาพของพระวาจาจริงของพระองค์ เป็นอัศจรรย์ทำให้ปัญจวัคคีย์ระลึกเห็นตาม พากันแน่ใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้จริงดังพระวาจา ก็พร้อมกันถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยคารวะ ขอประทานอภัยโทษที่แสดงอาการไม่เคารพต่อพระองค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับพักในสำนักปัญจวัคคีย์ ๑ ราตรี ครั้นรุ่งขึ้น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก เป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ พระองค์ประกาศ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" คือ "พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป" หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม

ปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่างและว่าด้วยอริยสัจ ๔ อันมี ทุกข์สมุทัย นิโรธมรรค ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า
"อญญาสิ วต โภ โกณฑญโญ ๆ"
(โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ)

จากนั้นมา คำว่า "อัญญา"จึงมารวมกับชื่อของท่าน ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นพระโสดาบัน และทูลขอบวชเป็นภิกษุในประธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า "ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้สุดทุกข์โดยชอบเถิด"

ณ บัดนั้น พระอัญญาโกณทัญญะจึงเป็นปฐมสาวกหรือพระสาวกองค์แรกของพระพุทธเจ้า เป็นพระสงฆ์องค์แรกของพระพุทธศาสนา เป็นอันว่าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ได้เกิดขึ้นแล้วบริบูรณ์ในกาลแต่บัดนั้น

พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันทรงสั่งสอนพรรพชิตทั้ง ๔ รูปที่เหลืออยู่นั้นด้วยพระธรรมเทศนาต่าง ๆ ต่อมาท่านวัปปะกับท่านภัททิยะได้ธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรมทูลขออุปสมบทพระบรมศาสดาทรงประทานเอหิภิกขุอุปัมปทาให้ และต่อมาท่านมหานามะกับท่านอสัสชิได้ธรรมจักษุ ทูลขออุปสมบท และพระผู้มีประภาคเจ้าทรงประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาให้เช่นกัน

ครั้นพระภิกษุปัญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่พระสาวกและมีอินทรีย์ มีศรัทธา แก่กล้าสมควรสดับธรรมจำเริญวิปัสสนา เพื่อวิมุตติสุขเบื้องสูงแล้ว ครั้นถึงวันแรม ๕ ค้ำ แห่งเดือนสาวนะ คือเดือน ๙ พระบรมศาสดาจึงได้แสดงพระธรรมสั่งสอนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ด้วย "อนัตตลักขณสูตร" คือพระ สูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวใช้ตน) เพื่อพระบรมศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาแสดงอนัตตลักขณสูตรอยู่ จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามกระแสเทศนานั้นพ้นแล้วจากอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมไว้ดองอยู่ในสันดานไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ ) ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์แล้ว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ กับ พระอริยสาวก ๕ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ๑ พระวัปปะ ๑ พระภัททิยะ ๑ พระมหานามาะ ๑ พระอัสสชิ ๑ รวม เป็น ๖ ด้วยประการฉะนี้

http://www.dhammathai.org/buddha/g33.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 20:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิมุตติเป็น มรรค เหร๋อ ?

:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 20:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
๓๒. วิมุตติ
ถาม วิมุตติ คืออะไร?

ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล


http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร