ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=42441
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 มิ.ย. 2012, 15:10 ]
หัวข้อกระทู้:  นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ...........ฯลฯ...
:b29: :b29: :b29:
เราได้อ่านพระไตรปิฎก อาจพบได้บ่อยครั้งว่า"ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง" อาจจะมีผู้สงสัยว่าที่นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งนั้นนั่งตรงไหน?
อธิบาย
เพราะเป็นการนั่งที่ไม่ประกอบด้วยโทษมี ๖ ประการ :b41:
๑. นั่งใกล้นักเวลาพูดกันเสียงจะดังเกินไปเหมือนตะคอกกัน ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน
๒. นั่งไกลนักเวลาพูดกันเสียงเบาๆธรรมดาไม่ได้ยินทำให้ต้องตะโกนซึ่งเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ
๓. นั่งตรงหน้าเกินไป เวลาพูดกันทำให้จ้องหน้าจ้องตากันเป็นการเสียมารยาทขาดคุณสมบัติผู้ดี
๔. นั่งข้างหลังเกินไปเวลาพูดกัน ทำให้เอี้ยวคอหันไปพูดทำให้เมื่อยคอ และทำให้ขาดความคุ้นเคยกัน
๕. นั่งเหนือลมอาจทำให้กลิ่นตัว กลิ่นปากไปรบกวนอีกฝ่ายหนึ่ง
๖. นั่งใต้ลมอาจทำให้กลิ่นตัว กลิ่นปากของอีกฝ่ายหนึ่งมารบกวน
การนั่งที่เว้นจากโทษ ๖ อย่าง เรียกว่า "นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง" ได้แก่การนั่งเฉลียงไปทางขวามือของพระพุทธองค์ หรือ บุคคลที่ตนไปหาเพราะทิศเบื้องซ้ายเป็นทิศไม่ที่นิยมแสดงความเคารพ :b8:

เจ้าของ:  ฝึกจิต [ 20 มิ.ย. 2012, 16:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ขอบคุณในความรู้ใหม่ ของกระผม ครับ
:b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มิ.ย. 2012, 20:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

:b8: :b8: :b8:
เวลาไปฟังหลวงพ่อ....ตำแหน่งที่ชอบนั่งมากที่สุด..คือ...แถวที่..3..4..เฉียงไปทางซ้าย(ของผู้พูด)

อย่างนี้...ก้ไม่ใช่ที่..ที่ควรนั่ง...นะซิ

แล้วทำงัยละ....ที่ชอบ..ที่ชอบ..ซะด้วย :b7: :b7: :b7:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มิ.ย. 2012, 20:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เพราะยังงี้อะเปล่า....หัวมันถึงยังซื่อบื่ออยู่... :b2:

เจ้าของ:  จางบาง [ 20 มิ.ย. 2012, 23:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

นั่งใกล้นักเวลาพูดจะเสียงดังเกินไปเหมือนตะคอกกัน ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน

ข้อนี้ชวนให้สงสัยว่า ถ้าหากต้องนั่งใกล้ด้วยเหตุใดๆก็ตาม ก็สามารถพูดกันเบาๆค่อยๆ
ก็ได้นี่นา แล้วทำไมนั่งใกล้แล้วต้องพูดเสียงดังเท่าเดิมด้วย

นั่งตรงหน้าพอดี บางครั้งก็สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจสูงในการจะรับฟัง

นั่งใต้ลมเหนือลมก็คงได้ถ้าหากเราอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันและซักผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ

:b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 20 มิ.ย. 2012, 23:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

อันที่จริง...แล้ว....

ไม่น่าจะระบุตำแหน่ง..ตรง ๆ ได้เลยนะ..

หากคนมามาก...แล้วจะไปนั่งที่เดียวกันได้อย่างไร?

ลองนึกดู...คนนับพัน...แต่พากันนั่งแค่ฝั่งเดียว...เฉียงไปทางด้านขวา(ของพระองค์)

แล้วก็ต่อกันไปยาว ๆ ..เพราะไปอยู่ทิศอื่นไม่ได้..กลัวจะไม่ใช่ที่อันควรข้างหนึ่ง

เห็นภาพแล้วก็คงพิลึก..น่าดู

ณ. ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง...คือ..ที่ที่ควรในขณะนั้น...มาก่อนก็อยู่หน้า...มาหลังก็อยู่ถัดไป

ไม่ใช่จะแหวกผู้คนเพื่อเดินฝ่าเข้าไป

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 มิ.ย. 2012, 05:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เอาเป็นว่าเรามาศึกษาตามพระไตรปิฎก ว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างไร
เพราะการที่ผมเอาตั้งเป็นกระทู้นั้นผมเคยสงสัยเหมือนกันว่า"นั่งยังไง" เมื่อถามท่าน อ. ท่านก็เมตตา
คลายความสงสัยให้ และก็ในพระไตรปิฎกก็กล่าวไว้เช่นกัน จึงนำมาบอกต่อเพื่อเสริมความรู้กับผู้ที่สนใจ
ส่วนว่าใครจะเอาไปปฏิบัติตามหรือไม่ก็แล้วแต่ นั่นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลว่าสมควรปฏิบัติ หรือเพียงแค่ควรรู้ โดยเฉพาะความสงสัยนี่เองจึงทำให้บุคคลบรรลุธรรมไม่ได้ ก็ในพระโสดาบันท่านละความสงสัยเสียได้แล้ว ไม่มีความสงสัยอีกต่อไป


ถ้าเราจะสงสัยในพระไตรปิฎกนั้น คงจะต้องไปถามพระพุทธเจ้าดูแล้วหละว่าท่านสอนอย่างนี้จริงหรือเปล่า และท่านก็ปรินิพพานไปเสียแล้ว แล้วเราจะไปถามผู้ใดได้ งั้นคงจะต้องรอไปถามองค์ที่จะมาอุบัติขึ้นองค์ต่อไป

การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง
บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิต
เข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง
ในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง ?
ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.
ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง ?
ตอบว่า มีดังนี้คือ :-
๑. อติทูรํ นั่งไกลเกินไป
๒. อจฺจาสนฺนํ นั่งใกล้เกินไป
๓. อุปริวาตํ นั่งในที่เหนือลม
๔. อุนฺนตฺปฺปเทสํ นั่งในที่สูง
๕. อติสมฺมุขํ นั่งตรงหน้าเกินไป
๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก
อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูด
ด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็
จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ
นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน ) ก็จะต้องจ้องตากัน

http://www.dhammahome.com/front/webboar ... p?id=14684

เจ้าของ:  asoka [ 21 มิ.ย. 2012, 06:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

:b8:
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ...........ฯลฯ...
:b16: :b16: :b16:
เรื่องนี้ เป็นเรื่องและงานของพระอานนท์ซึ่งเทียบได้กับศัพท์สมัยใหม่ว่า "พุทธเลขา"ที่นั่งอันควรสำหรับเลขานั้นเป็นอย่างไร เราคงจะสังเกตเห็นและรู้ได้กันอยู่แล้วจากสังคมโลกสังคมการทำงานในยุคปัจจุบัน
ถ้าเป็นครั้งพุทธกาล ไม่มีสื่อและเครื่องมือโสตทัศนูฯ พระอานนท์คงต้องนั่งข้างๆไม่ใกล้ไม่ไกล ไม่บัง ไม่ขวาง ฟังพุทธดำรัสได้ชัดเจนและทูลถามได้ด้วยเสียงอันไม่ดังมาก อยู่ตรงไหนทุกท่านน่าจะจินตนาการหรือนึกมโนภาพออกกันกระมังครับ

:b10:
หรือลุงหมานจะเห็นเป็นอย่างไร? เพราะตอนนี้กระทู้พาขยายออกไปไกลประเด็นมากขึ้นๆหรือเปล่าครับ
:b16:

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 มิ.ย. 2012, 06:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

asoka เขียน:
:b8:
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ...........ฯลฯ...
:b16: :b16: :b16:
เรื่องนี้ เป็นเรื่องและงานของพระอานนท์ซึ่งเทียบได้กับศัพท์สมัยใหม่ว่า "พุทธเลขา"ที่นั่งอันควรสำหรับเลขานั้นเป็นอย่างไร เราคงจะสังเกตเห็นและรู้ได้กันอยู่แล้วจากสังคมโลกสังคมการทำงานในยุคปัจจุบัน
ถ้าเป็นครั้งพุทธกาล ไม่มีสื่อและเครื่องมือโสตทัศนูฯ พระอานนท์คงต้องนั่งข้างๆไม่ใกล้ไม่ไกล ไม่บัง ไม่ขวาง ฟังพุทธดำรัสได้ชัดเจนและทูลถามได้ด้วยเสียงอันไม่ดังมาก อยู่ตรงไหนทุกท่านน่าจะจินตนาการหรือนึกมโนภาพออกกันกระมังครับ

:b10:
หรือลุงหมานจะเห็นเป็นอย่างไร? เพราะตอนนี้กระทู้พาขยายออกไปไกลประเด็นมากขึ้นๆหรือเปล่าครับ
:b16:

ตอบไว้แล้วในกระทู้ข้างบนครับ

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 21 มิ.ย. 2012, 07:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระไตรปิฎก...นะไม่ได้ไปวิเคราะห์...

แต่..เราเอาสองอย่างมา...แล้วว่าเป็นอย่างเดียวกันรึเปล่า?

ณ. ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง...กะ...การนั่งที่มีโทษ 6 อย่างนะ..ครับ

กระผมนึกภาพที่เหล่าทหาร หาร..ที่พระพุทธบิดาส่งมาให้เชิญพระองค์กลับวังหลังตรัสรู้...นะครับ

มาเป็นกองร้อย....

มาก็พบพระพุทธเจ้าเทศน์...

แล้วทหารเหล่านั้น...ก็พากันไปอยู่..ณ. ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง...มิใช่หรอครับ?

จำผิดผลาดอย่างไร..ก็ช่วยแถลงไขให้หน่อย..นะครับ
:b8:

ไม่ได้ไปว่าตำราผิด....แต่กำลังคิดว่า..เราเข้าใจผิดไปเองรึเปล่า

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 21 มิ.ย. 2012, 09:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ลุงหมาน เขียน:
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ...........ฯลฯ...
:b29: :b29: :b29:
เราได้อ่านพระไตรปิฎก อาจพบได้บ่อยครั้งว่า"ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง" อาจจะมีผู้สงสัยว่าที่นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งนั้นนั่งตรงไหน?
อธิบาย
เพราะเป็นการนั่งที่ไม่ประกอบด้วยโทษมี ๖ ประการ :b41:
๑. นั่งใกล้นักเวลาพูดกันเสียงจะดังเกินไปเหมือนตะคอกกัน ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน
๒. นั่งไกลนักเวลาพูดกันเสียงเบาๆธรรมดาไม่ได้ยินทำให้ต้องตะโกนซึ่งเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ
๓. นั่งตรงหน้าเกินไป เวลาพูดกันทำให้จ้องหน้าจ้องตากันเป็นการเสียมารยาทขาดคุณสมบัติผู้ดี
๔. นั่งข้างหลังเกินไปเวลาพูดกัน ทำให้เอี้ยวคอหันไปพูดทำให้เมื่อยคอ และทำให้ขาดความคุ้นเคยกัน
๕. นั่งเหนือลมอาจทำให้กลิ่นตัว กลิ่นปากไปรบกวนอีกฝ่ายหนึ่ง
๖. นั่งใต้ลมอาจทำให้กลิ่นตัว กลิ่นปากของอีกฝ่ายหนึ่งมารบกวน
การนั่งที่เว้นจากโทษ ๖ อย่าง เรียกว่า "นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง" ได้แก่การนั่งเฉลียงไปทางขวามือของพระพุทธองค์ หรือ บุคคลที่ตนไปหาเพราะทิศเบื้องซ้ายเป็นทิศไม่ที่นิยมแสดงความเคารพ :b8:

สงสัยลุงหมานคงเหงา ลูกหลานไปเรียนหนังสือไปทำงานกันหมด
เลยหาเพื่อนคุยแต่ไม่รู้จะคุยอะไร ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดู
เหมือนหนุ่มสาววัยรุ่นที่เนียมอาย ไม่รู้จะคุยอะไรแต่อยากคุย

ลุงหมานครับ ก่อนจะเอาบทวิเคราะห์อะไรมาโพส ถามหน่อยใช้
สมองซีกไหนคิดครับ สมัยพุทธเจ้ามีอย่างที่ลุงหมานโพสด้วยหรือครับ
ผมว่าปัญญาอ่อนมาก(ไม่ได้ว่าลุงนะ ผมว่าคนที่วิเคราะห์)

เพื่อนๆอ่านแล้วมันตลกมั้ยล่ะ พระพุทธเจ้ากับเหล่าอริยสาวก
กลัวเหม็นขี้เต่า เหม็นขี้ฟันกัน :b9:


ลุงผมจะบอกให้ จะวิเคราะห์อะไรต้องนึกตามไปเหมือนว่าเราอยู่ในสถานที่นั้นด้วย
พูดมากไปกลัวเปลื่องน้ำลาย เอางี้ดีกว่า ลุงเคยดูลิเกหรือหนังจักรๆวงศ์ๆมั้ย
ตอนพระราชาออกประชุมขุนนาง ทำไมเขาเว้นที่ตรงกลางไว้ ก็เพื่อเอาไว้ให้
ขุนนางที่อยู่ไกลใช้เดินเพื่อถวายรายงาน หรือ เพื่อให้พระราชาเรียกตัวเพื่อซักถาม
:b13:

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 21 มิ.ย. 2012, 11:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

" นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อได้อ่านพระสูตร" ก็จะเป็นคำที่พบได้บ่อย


อ้างคำพูด:
การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง
บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิตเข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่งในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง?
ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.
ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง?
ตอบว่า มีดังนี้คือ :-
๑. อติทูรํ นั่งไกลเกินไป
๒. อจฺจาสนฺนํ นั่งใกล้เกินไป
๓. อุปริวาตํ นั่งในที่เหนือลม
๔. อุนฺนตปฺปเทสํ นั่งในที่สูง
๕. อติสมฺมุขํ นั่งตรงหน้าเกินไป
๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก
อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูดด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน) ก็จะต้องจ้องตากัน. นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว) ดู. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.


ข้อความเหล่านี้มาจาก อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
เป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์ได้อรรถาธิบายเนื้อความในพระสุตตันตปิฎกอีกทีหนึ่ง

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 มิ.ย. 2012, 12:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

กบนอกกะลา เขียน:
พระไตรปิฎก...นะไม่ได้ไปวิเคราะห์...

แต่..เราเอาสองอย่างมา...แล้วว่าเป็นอย่างเดียวกันรึเปล่า?

ณ. ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง...กะ...การนั่งที่มีโทษ 6 อย่างนะ..ครับ

กระผมนึกภาพที่เหล่าทหาร หาร..ที่พระพุทธบิดาส่งมาให้เชิญพระองค์กลับวังหลังตรัสรู้...นะครับ

มาเป็นกองร้อย....

มาก็พบพระพุทธเจ้าเทศน์...

แล้วทหารเหล่านั้น...ก็พากันไปอยู่..ณ. ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง...มิใช่หรอครับ?

จำผิดผลาดอย่างไร..ก็ช่วยแถลงไขให้หน่อย..นะครับ
:b8:

ไม่ได้ไปว่าตำราผิด....แต่กำลังคิดว่า..เราเข้าใจผิดไปเองรึเปล่า


การนั่งนั้นมีโทษ ๖ อย่าง กับการนั่งนั้นไม่มีโทษ ๖ อย่าง นั้นความหมายก็อันเดียวกันจริงไหม ?
และการนั่งในสิ่งที่ควรข้างหนึ่งก็คือการนั่งในสิ่งที่ไม่มีโทษ ๖ อย่างนั้นเอง
การนั่งในสิ่งที่ไม่ควรก็คือการนั่ง เว้นจากการนั่งในสิ่งที่มีโทษ ๖ อย่างเช่นกัน

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 มิ.ย. 2012, 12:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

FLAME เขียน:
" นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อได้อ่านพระสูตร" ก็จะเป็นคำที่พบได้บ่อย


อ้างคำพูด:
การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง
บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิตเข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่งในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง?
ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.
ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง?
ตอบว่า มีดังนี้คือ :-
๑. อติทูรํ นั่งไกลเกินไป
๒. อจฺจาสนฺนํ นั่งใกล้เกินไป
๓. อุปริวาตํ นั่งในที่เหนือลม
๔. อุนฺนตปฺปเทสํ นั่งในที่สูง
๕. อติสมฺมุขํ นั่งตรงหน้าเกินไป
๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก
อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูดด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน) ก็จะต้องจ้องตากัน. นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว) ดู. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.


ข้อความเหล่านี้มาจาก อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
เป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์ได้อรรถาธิบายเนื้อความในพระสุตตันตปิฎกอีกทีหนึ่ง


ครับขอบคุณที่หาหลักฐานมาอ้างอิงครับ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 21 มิ.ย. 2012, 14:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ลุงหมาน เขียน:
FLAME เขียน:
" นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อได้อ่านพระสูตร" ก็จะเป็นคำที่พบได้บ่อย


อ้างคำพูด:
การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง
บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิตเข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่งในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง?
ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.
ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง?
ตอบว่า มีดังนี้คือ :-
๑. อติทูรํ นั่งไกลเกินไป
๒. อจฺจาสนฺนํ นั่งใกล้เกินไป
๓. อุปริวาตํ นั่งในที่เหนือลม
๔. อุนฺนตปฺปเทสํ นั่งในที่สูง
๕. อติสมฺมุขํ นั่งตรงหน้าเกินไป
๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก
อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูดด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน) ก็จะต้องจ้องตากัน. นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว) ดู. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.


ข้อความเหล่านี้มาจาก อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
เป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์ได้อรรถาธิบายเนื้อความในพระสุตตันตปิฎกอีกทีหนึ่ง


ครับขอบคุณที่หาหลักฐานมาอ้างอิงครับ

การจะอ้างอรรถกถาในพระสูตร มันต้องเอาพระสูตรที่เป็นประเด็นมาโพสด้วย
เจ้าของความเห็นที่ใช้ชื่อเป็นภาษาฝรั่ง ไม่ทราบว่าเป็นอะไร นึกจะโพสพระสูตร
ก็โพสด้วนๆไม่อธิบายความ นี่หนักเข้าไปอีกเล่นโพสอรรถกถา ไม่มีทีมาที่ไป :b9:


หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/