วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 13:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 16:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระเถระทูลขอพร ๘ ประการ
แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ ดังนี้:-
๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง

พระพุทธองค์ตรัสถามคุณและโทษของพร ๘ ประการ
พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพร ๘ ประการว่า:-
“ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไร จึงขออย่างนั้น”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์
ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย
และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม
แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์ อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มา
ถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า พระอานนท์
ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นคุณและโทษ ดังกล่าวมานี้ จึงได้กราบทูลขอพรทั้ง ๘ ประการนั้น พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่
ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่

ปรินิพพาน

อาจจะเป็นเพราะอธิษฐานจิตที่ท่านตั้งไว้
เหมือนท่านตระหนักในกิจที่ท่านตั้งใจนั้น
สำคัญกว่าการเพียรปฏิบัติเพื่อบรรลุ
คือท่านยังไม่ตั้งใจที่จะกระทำให้ถึงการบรรลุธรรม

ส่วนจะเทียบเข้ากับสังโยชน์ข้อใด ยังไม่ได้คิด ... :b12:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่
อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ
http://www.84000.org/one/1/12.html

เอาเรื่องราวก่อนที่พระอานนท์จะบรรลุเป็นพระอรหันต์มาให้อ่าน อ่านแล้วลองพิจารณา
ดูว่าสิ่งที่ทำให้พระอานนท์ติดขัดยังไม่บรรลุ ด้วยสังโยชน์ตัวไหน...
โฮฮับ เขียน:
ปฐมสังคายนารับหน้าที่สำคัญ
ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่
อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีก
ออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกเธอมาแล้ว ตรัส
เตือนให้เธอคลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....
“อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา”

ดูลักษณะอาการที่พระอานนท์แสดงออกว่า น่าจะพิจารณาได้ว่าพระอานนท์
ติดสังโยชน์ในเรื่อง
*กามราคะ*
*ปฏิฆะ*
ที่ว่ายังติดอยู่ในเรื่องกามราคะและปฏิฆะ เพราะยังยินดียินร้ายกับผัสสะที่ได้รับ
คือได้รับเสียงรู้เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพาน ก็เกิดปฏิฆะ มีการกระทบทางใจ
จนต้องแอบมายืนร้องไห้ ต่อเมื่อพระพุทธเจ้ามาเตือนจึงคลายทุกข์ นี่ก็เป็นอาการที่ติด
สังโยชน์กามราคะ คือยินดีพอใจกับผัสสะที่ได้รับ
โฮฮับ เขียน:
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ

และข้อความข้างบนแสดงสังโยชน์ในเรื่อง

*มานะ*.....ยึดมั่นในคุณสมบัติตน
*อุทธัจจะ*...ฟุ้งซ่าน
*อวิชา*....ความไม่รู้จริง

จากอาการข้างบนแสดงอาการของบุคคลที่มีมานะ เพราะไปเปรียบเทียบว่า
ตนยังเป็นแค่พระโสดาบันแต่บุคคลอื่นเป็นพระอรหันต์ ทำให้เกิดอุทธัจจะฟุ้งซ่าน
ต้องรีบเร่งทำความเพียรอย่างหนักทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ
ส่วนเรื่องอวิชา ถ้ายังติดสังโยชน์ตัวใดตัวหนึ่งอยู่ ท่านก็เรียกว่ายังติด อวิชาอยู่ครับ

ยังมียังโยชน์อีกสองตัวที่พระอานนท์ยังติด นั้นก็คือ....
*รูปราคะ*กับ*อรูปราคะ* อยากให้เพื่อนๆ อ่านบทความข้างบนแล้ว
ลองพิจารณาหาเหตุผลว่า ทำไมพระอานนท์ยังติดอยู่กับ รูปราคะและอรูปราคะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2012, 02:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพี่โฮ คุนน้องยังไม่รู้เกี่ยวกับ รูปราคะและอรูปราคะ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2012, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ท่านพี่โฮ คุนน้องยังไม่รู้เกี่ยวกับ รูปราคะและอรูปราคะ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยเจ้าค่ะ :b8:

มันต่างกันตรง รูปไม่มี อ. อ่าง อรูปมี อ. อ่างงั้ย :b32:

ล้อเล่งน่า :b9:

น้องคิงคองลองระลึกถึงสามีที่จากไป โดยไม่คิดถึงเรื่องชู้สาว
หรือไม่ก็ลองคิดถึงลูกตอนที่ลูกไม่อยู่ตรงหน้า

มันจะมีสภาวะหนึ่ง ที่ภาษาเราๆเรียกว่า " สายใย"

น้องคิงคองเอาไปเป็นการบ้าน ลองไปเดินวิปัสนาดู
หรือไม่ก็เอาไปเปรียบเทียบก่อนที่จะเอาสามีเป็นแฟน กับอยู่กินกับสามีแล้ว
มันจะมีอารมณ์ที่แตกต่างจาก กามราคะ ลองดูอารมณ์นั้นดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2012, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ท่านพี่โฮ คุนน้องยังไม่รู้เกี่ยวกับ รูปราคะและอรูปราคะ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยเจ้าค่ะ :b8:

ส่วนอรูปราคะ น้องคิงคองก็เคยเห็นว่าพี่โฮ ชอบแย้งคนอื่นที่ชอบพูดว่า
ให้เอานิพพานมาเป็นอารมณ์ ที่พี่โฮแย้งว่า นิพพานไปไงยังไม่รู้
แล้วจะเอามาเป็นอารมณ์ได้ไง

ตัวนิพพานนี่แหล่ะเป็นอรูป เป็นสังโยชน์ ในเรื่องของอรูปราคะ
คนเป็นปุถุชนตลอดจนอริยชน ยกเว้นพระอรหันต์ ย่อมต้องไม่เคยเห็น
พระนิพพานแบบนี้รูปร่างพระนิพพานเป็นไงย่อมต้องไม่รู้ แสดงว่าไม่รู้รูป
หรือเรียกว่าอรูป การที่อยากได้พระนิพพานนั้นแสดงว่าผู้นั้นยังมี
สังโยชน์ ในอรูปราคะ

ในปุถุชนสามารถอยากในกระแสนิพพานได้ เพราะมันเป็นกำลังใจ
แต่เมื่อได้โสดาบันแล้วจะต้องพยายาม ตัดความอยากกิเลส อรูปราคะ
หรืออยากนิพพานให้ได้ เมื่อไม่อยาก นิพพานก็จะได้นิพพาน
ที่พูดมาไม่รู้เข้าใจหรือเปล่า :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2012, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


คุนน้องก็ติดอยู่กับ อรูปราคะนี่แหละ ยังเสวยสุขเสวยทุกขเวทนาอยู่เลย ยังไม่รู้หรอกว่านิพพานที่แท้จริงเป็นไง :b12: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2012, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
พระเถระทูลขอพร ๘ ประการ
แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ ดังนี้:-
๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง

จากข้อความข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่า พระอานนท์มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวของพระพุทธเจ้า
การที่ตัวเองจะมาเป็นพระอุปัฏฐาก กลัวจะมีผลกระทบขึ้นภายหลัง นี่แหล่ะการปรุงแต่ง
มันเป็นสังโยชน์ ในเรื่องรูปราคะ รูปก็หมายถึงพระพุทธเจ้า ราคะก็คือความลึกซึ้งหรือความผูกพัน
ที่ละเอียดอ่อน

ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ก็ยังไม่หมดเรื่องรูปราคะ
ยังต้องคอยกังวลอยู่กับพระธรรมการสังคายนาพระธรรม พระธรรมก็เปรียบ
เหมือนตัวพระพุทธเจ้า

และการทำสังคายนาครั้งนี้ ผู้ร่วมสังคายนาล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์
จึงทำให้พระอานนท์กังวลใจเพราะตัวเองเป็นแค่พระโสดาบัน ไม่อยากให้
ใครติฉินนินทาว่าไม่ได้เป็นพระอรหันต์แต่ได้ร่วมสังคายนา ทำให้พระอานนท์
เร่งปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหันต์ให้ได้

ลักษณะที่พูดมานี่แหล่ะครับเรียกว่า อรูปราคะ
คือมีความปรารถนาในนิพพาน
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบใจคำตอบมังกรน้อย ที่ว่าท่านพระอานนท์ ตระหนักในกิจของตน จึงยังไม่ตั้งใจในการทำ
ให้บรรลุธรรม

ถ้าเป็นความคิดส่วนตัวของผม ผมคิดว่าท่านพระอานนท์มีการฟังธรรมที่แตกต่างจากพระภิกษุ
ทั่วไป คือท่านฟังโดยมีใจที่เน้นไปในทางเพื่อจะต้องจำบทธรรมนั้นให้ได้ทุกถ้อยคำ จึงไม่
ได้เป็นการฟังชนิดที่ปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสธรรม การฟังธรรมของท่านจากที่ทางต่างๆ
และจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ จึงไม่ทำให้ท่านพระอานนท์หลุดพ้นได้ ถึงแม้จะรู้มากมาย
ก็ตาม เหตุเพราะเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องจำบทธรรม ให้ถูกต้อง การฟังจึงเป็นเรื่อง
ของการเน้นไปที่ตัวถ้อยคำมากกว่าการหยั่งลงไปในสภาวะของถ้อยคำนั้นๆ

แต่พอเมื่อพระพุทธองค์ ปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ก็เหมือนดังหมดหน้าที่แล้วที่จะต้องจำ
เพื่อคนอื่นอีก ใจของท่านจึงส่งไปในทางแห่งธรรมที่ท่านเคยรู้มาแล้วจากการจำ นำธรรมนั้นมา
เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติเพื่อตัวเองอย่างเต็มตัว จึงหลุดพ้นได้ในที่สุด และช้าสุดกว่าหลายท่าน

cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จางบาง เขียน:
ชอบใจคำตอบมังกรน้อย ที่ว่าท่านพระอานนท์ ตระหนักในกิจของตน จึงยังไม่ตั้งใจในการทำ ให้บรรลุธรรม

ไอ้กิจของตนนั้นแหล่ะ มันเป็นมรรค มันเป็นส่วนของสัมมาศีล อันได้แก่
สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ เพียงแต่ว่า การดำเนินกิจของตน
ขาดสัมมาสติ นั้นก็คือไม่มีสติให้อยู่กับกิจของตนอย่างเต็มที่ มัวแต่พะวักพะวง
กับการที่ต้องจดจำพระธรรมกับการบรรลุอรหันต์ อริยมรรคทั้งแปดจึงไม่ได้รวมเป็นหนึ่ง
จางบาง เขียน:
ถ้าเป็นความคิดส่วนตัวของผม ผมคิดว่าท่านพระอานนท์มีการฟังธรรมที่แตกต่างจากพระภิกษุ
ทั่วไป คือท่านฟังโดยมีใจที่เน้นไปในทางเพื่อจะต้องจำบทธรรมนั้นให้ได้ทุกถ้อยคำ จึงไม่
ได้เป็นการฟังชนิดที่ปล่อยให้จิตไหลไปตามกระแสธรรม การฟังธรรมของท่านจากที่ทางต่างๆ
และจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ จึงไม่ทำให้ท่านพระอานนท์หลุดพ้นได้ ถึงแม้จะรู้มากมาย
ก็ตาม เหตุเพราะเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องจำบทธรรม ให้ถูกต้อง การฟังจึงเป็นเรื่อง
ของการเน้นไปที่ตัวถ้อยคำมากกว่าการหยั่งลงไปในสภาวะของถ้อยคำนั้นๆ

การฟังธรรมของพระอานนท์ เป็นลักษณะของการมีสติและสมาธิ ท่านจึงจำพระธรรมที่
พระพุทธเจ้าตรัสได้ทั้งหมด แต่สติและสมาธิของพระอานนท์ไม่ได้เป็นสัมมาสติและสัมมาสมาธิ

ทำไมเป็นเช่นนั้นก็เพราะ พระอานนท์ไม่ใช้สติมาระลึกรู้ ตัวปัญญาสัมมาทิฐิ ถึงแม้พระอานนท์
จะเป็นโสดาบันมีปัญญาสัมมาทิฐิแล้ว แต่พระโสดาบันยังต้องอาศัยสติมาระลึกรู้ปัญญาสัมมาทิฐิ
เพราะอริยมรรคมีองค์แปด จะต้องให้สัมมาทิฐินำหน้าเสมอ

ด้วยเหตุนี้การจำพระธรรมของพระอานนท์ จึงเป็นลักษณะของการยึดเอาไว้
ถ้าพระอานนท์ใช้สัมมาทิฐินำหน้า ธรรมที่พระหน้านนท์จำไว้ก็เป็นไปในทาง
การรู้กระบวนการขันธ์เฉยๆ กระบวนการขันธ์จึงไม่ไปยึดเอาตัวตัณหา มันจึงไม่เกิด
อุปาทานขันธ์ แบบนี้จึงเรียกว่ารู้แต่ไม่ยึด

จางบาง เขียน:
แต่พอเมื่อพระพุทธองค์ ปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ก็เหมือนดังหมดหน้าที่แล้วที่จะต้องจำ
เพื่อคนอื่นอีก ใจของท่านจึงส่งไปในทางแห่งธรรมที่ท่านเคยรู้มาแล้วจากการจำ นำธรรมนั้นมา
เข้าสู่กระบวนการปฏิบัติเพื่อตัวเองอย่างเต็มตัว จึงหลุดพ้นได้ในที่สุด และช้าสุดกว่าหลายท่าน

ตอนพระพุทธองค์ ท่านปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ก็ยังไม่บรรลุ ตอนพระพุทธเจ้ายังอยู่
ท่านก็ยึดในตัวพระพุทธเจ้า ตอนพระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้วท่านก็ยังไปยึดเอาธรรมของพระพุทธเจ้าแทน
มันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างเต็มตัว ก็ท่านปฏิบัติอย่างหนักมาตลอดก็ยังไม่บรรลุ
ดังนั้นมันไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ เพียงแต่ว่าพระอานนท์มองไม่เห็นสาเหตุที่แท้จริง
นั้นก็คือ ตัวสังโยชน์ที่ยังเกาะใจท่านอยู่
(ไม่ได้ปรามาสท่านน่ะ นี้เป็นการพูดตามหลักพระธรรม ขอความกรุณาเพื่อนสมาชิก
อย่าเข้ามาดร่าม่าแอ็คติ้ง เดี๋ยวมันจะเว่อเกินเหตุ :b32: )

พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง อริยสัจจ์สี่ บอกเรื่องทุกข์คืออะไร
ทุกข์ก็คือวัฏฏะสงสาร เกิดแก่เจ็บตาย ซ้ำซาก

ทรงบอกว่า เหตุแห่งทุกข์ คือตัวการที่ทำให้ต้องมาเกิดอีก
และเหตุแห่งทุกข์ก็คือกิเลส กิเลสก็คือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับวัฏฏะสงสาร
และธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้ก็คือ สังโยชน์

ดังนั้นการจะดับทุกข์หรือดับการเวียนว่ายตายเกิด
ก็ต้องไปดับที่เหตุ นั้นก็คือดับสังโยชน์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 207 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร