วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 17:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
จริงอยู่....มีภพอยู่...ก็ยังทุกข์อยู่

แต่เขารู้มาแค่นี้....เขาก็ทำเท่าที่เขารู้....แล้วก็ได้สูงสุดเท่าที่เขารู้....ทุกข์เขาน้อยลง...ก็นับว่าเขาฉลาดพอตัว...เป็นกุศลแล้ว...แม้ยังไม่สูงสุดถึงความไม่เปลี่ยนแปลงย้อนกลับ....บุญทานของเขาก็ยังควรแก่การอนุโมทนาสาธุ...สั่งสมสัมมาทิฏฐิเพื่อกาลข้างหน้าต่อไป



เค้าทำดีเราก็อนุโมทนา ชื่นชมครับ
แต่ตัณหาก็เป็นตัณหา มีความเร้าร้อน เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้อย่างเหนียวแน่นครับ
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้มีการเกิดอีก ก็ไม่ต้องเร่าร้อนเพราะความเกิด ความแก่ ความตายอีกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 18:22
โพสต์: 309


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
เอ่อ... อยากได้บุญในความหมายที่ว่า อยากเกิดบนสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ อยากสวยอยากรวยชาติหน้า เป็นต้นว่า การทำบุญหวังผลนั่นเอง


ทำบุญแล้วไม่หวังผลจะทำไปทำไม..... :b10: :b10:

สรุปแล้วพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ไม่ต้องทำอะไร ให้อยู่เฉย ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาถึงไม่เจริญอย่างไงละ นอกจากไใม่เจริญยังเสื่อมอีก นักการเมืองดูภาพโป้ในสภา นี้หรอเมืองพุทธ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากได้ อยากเป็น อยากมี
ตัณหา มีทั้งหยาบและละเอียด

ตัณหาอย่างหยาบ คือ ตัณหาที่ถูกบังคับด้วยกิเลส ควบคุมลำบาก
ตัณหาอย่างละเอียด เรียก ฉันทะ ความทะยานอยากในทางที่ดี

ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว การอยากได้บุญเป็นบาปหรือไม่??
อยากได้บุญ จัดเป็น ฉันทะ คือทะยานอยากในทางที่ดี หวังเลิกลดละ
สิ่งอันจะนำไปสู่อบายภูมิ


"ฉันทะ" หนึ่งในอธิบาทสี่ "ธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ"

:b12:

ท่าน วิริยะ นี่เข้าใจธรรมลึกซึ้ง คุณน้องนับถือเลยเจ้าค่ะ :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 23:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงแห่งพระธรรม เขียน:
ปัตติปิตา เขียน:
เอ่อ... อยากได้บุญในความหมายที่ว่า อยากเกิดบนสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ อยากสวยอยากรวยชาติหน้า เป็นต้นว่า การทำบุญหวังผลนั่นเอง


ทำบุญแล้วไม่หวังผลจะทำไปทำไม..... :b10: :b10:

สรุปแล้วพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ไม่ต้องทำอะไร ให้อยู่เฉย ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาถึงไม่เจริญอย่างไงละ นอกจากไใม่เจริญยังเสื่อมอีก นักการเมืองดูภาพโป้ในสภา นี้หรอเมืองพุทธ



ผมว่านะ พระพุทธองค์สอนให้ทำ เหตุของสิ่งนั้น เพื่อผลของสิ่งนั้นครับ เช่น ให้เงินขอทาน เพื่อให้ขอทานใช้เงินนั้นเพื่อประโยชน์ตัวเอง หรือ ปล่อยสัตว์ ก็เพื่อให้สัตว์นั้น มีชีวิตที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ ฯลฯ

ส่วนเรื่องความไม่เจริญนั้น หากเป็นด้านวัตถุ ไม่เจริญนั้นแหละดี เจริญทางธรรมชาติ ดีกว่า
ส่วนเรื่อง นับถือพุทธ ก็เพราะ นับถือกันแค่ปาก แต่ไม่เรียนรู้คำสอนที่แท้จริง ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ทั้งที่มีทั้งหลักคำสอนของฆารวาส และ บรรพชิต แล้วแถมคนเสื่อมคนโลภ มาเป็นผู้นำชุมชนอีก ความเสื่อมก็ยิ่งเด่นมากขึ้น

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 00:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงแห่งพระธรรม เขียน:
สรุปแล้วพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ไม่ต้องทำอะไร ให้อยู่เฉย ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาถึงไม่เจริญอย่างไงละ


อะไรเจริญ...

อะไรไม่เจริญ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 00:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:

เค้าทำดีเราก็อนุโมทนา ชื่นชมครับ
แต่ตัณหาก็เป็นตัณหา มีความเร้าร้อน เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้อย่างเหนียวแน่นครับ
เมื่อไม่มีตัณหา ก็ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้มีการเกิดอีก ก็ไม่ต้องเร่าร้อนเพราะความเกิด ความแก่ ความตายอีกครับ


ความอยาก..บางที...ก็เป็นมรรค

แต่เราใช้คำต่างกันว่า..ฉันทะ...อย่างที่เพื่อนสมาชิกว่าใว้ช่วงต้น ๆ นั้นแหละ

ฉันทะ....ทำให้เกิดภพมั้ย?

อยากเป็นโสดาบัน...เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่...อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นโสดาบันแล้วก็อยากเป็นสกทาคามี....เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่..อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นแล้ว...ก็ยังอยากเป็นอนาคามีอีก..เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่....อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?

ทีนี้....กลับมาดูปุถุชนคนของโลก...ปกติก็ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์...สนองสุขในคราวมีชีวิตอยู่ให้เต็มที่...ตายไปก็ไม่มีอะไร....พวกนี้ทุกข์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า....ทุกข์หนัก

กับ....ปุถุชนอีกพวก...ที่เห็นทุกข์หวังสุข....พอทำความดีแล้วมีความสุข....ย่อมเชื่อว่าโลกหน้าก็ต้องสุขเช่นกัน....จึงทำบุญทำทาน....ทุกข์ของเขาย่อมบรรเทาเบาบาง.....

อยากของเขา....ทำให้ทุกข์น้อยลง....อยากของเขาเป็นตัณหา...หรือเป็น...มรรค?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ความอยาก..บางที...ก็เป็นมรรค
แต่เราใช้คำต่างกันว่า..ฉันทะ...อย่างที่เพื่อนสมาชิกว่าใว้ช่วงต้น ๆ นั้นแหละ

ฉันทะ....ทำให้เกิดภพมั้ย?

ตัณหาเป็นกิเลส โลภะเป็นอาการของจิตที่เป็นอกุศล
ฉันทะก็เป็นอาการของจิตเช่นกัน แต่จะเป็นกุศลหรืออกุศล ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เชื่อ
อีกตัวเป็นเหตุ อีกตัวเป็นผล อย่างเอามาปน ศึกษาพระธรรม
ต้องเอาธรรมเทียบเคียงปรมัตถ์ด้วย ไม่งั้นจะเป็นการพูดกันมาสามวาสองศอก

ความอยากไม่ว่าจะเป็นตัณหาหรือโลภะไม่ใช่มรรค
ฉันทะเท่านั้นที่เป็นมรรค แต่ต้องขึ้นอยู่กับสัมมัปปทาน(จิตที่เป็นกุศล)
ถ้ามีจิตที่มีอกุศลเป็นประธานก็ไม่ใช่มรรค

ฉันทะในอิทธิบาทสี่ถ้าเป็นเรื่องการทำงานธรรมดามันทำให้เกิดภพ
แต่ถ้าเป็นอิทธิบาทเพื่ออริยมรรคมีองค์แปด ไม่ทำให้เกิดภพ
กบนอกกะลา เขียน:
อยากเป็นโสดาบัน...เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่...อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นโสดาบันแล้วก็อยากเป็นสกทาคามี....เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่..อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นแล้ว...ก็ยังอยากเป็นอนาคามีอีก..เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่....อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?

การพูดในลักษณะนี้ มันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ยังขาดความเข้าใจในอาการของจิต
อาการของจิตหรือการปรุงแต่งจิต จะแสดงออกไปตาม สัญญา
อาการของจิตจะแสดงออกมาในรูปใด ขึ้นอยู่กับความเชื่อในสัญญานั้นๆว่าเชื่อใน
ลักษณะใด ถ้าเชื่อว่าปฏิบัติแล้วไม่เกิดภพก็เป็นฉันทะ แต่ถ้าเชื่อแล้วปฏิบัติแล้วเกิดภพ
ก็เป็นตัณหาอันเป็นเหตุและโลภะอันเป็นอาการจิต

ดังนั้นความอยากหรือตัณหามันทำให้เกิดภพ เพราะมันเป็นเหตุปัจจัยแห่งภพ
ส่วนฉันทะความพอใจในสิ่งที่เชื่อ คือเชื่อว่า อริยะคือการดับภพดับชาติ
ฉะนั้นการปฏิบัติให้ได้ถึงอริยะ ไม่ใช่ความอยาก แต่เป็นมรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ก็เป็นตัณหาครับ
จิตประกอบด้วยตัณหา ก็เป็นอกุศลจิตครับ

จิตของบุคคลยกเว้นพระอรหันต์ ย่อมประกอบด้วยตัณหาอยู่แล้ว
ตัณหามีทั้งกุศลจิตและอกุศลจิต

ตัณหาเป็นตัวกิเลส เป็นเหตุแห่งกุศลจิตและอกุศลจิต
อกุศลจิตหรือกุศลจิต เป็นอาการของจิต อันเกิดจากขันธ์ไปยึดเอาตัณหามาปรุงแต่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากได้ อยากเป็น อยากมี
ตัณหา มีทั้งหยาบและละเอียด

ตัณหาอย่างหยาบ คือ ตัณหาที่ถูกบังคับด้วยกิเลส ควบคุมลำบาก
ตัณหาอย่างละเอียด เรียก ฉันทะ ความทะยานอยากในทางที่ดี

ตัณหาไม่ได้หมายถึงอยากได้ อยากมีหรืออยากเป็น

ตัณหา ไม่อยากได้ ไม่อยากมีหรือไม่อยากเป็นก็ได้

ความหมายของตัณหาที่แท้จริง มันเป็นตัวกิเลสเป็นตัวต้นเหตุ
ของอุปาทานขันธ์ นั้นก็คือการยึดมั่นในความดีและชั่ว ดังนั้นตัณหา
จึงเป็นต้นเหตุได้ทั้งดีและชั่ว

ฉันทะไม่ใช่ความทะยานอยาก ฉันทะมีเหตุมาจากความเชื่อ
ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เรียกฉันทะ
วิริยะ เขียน:
ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว การอยากได้บุญเป็นบาปหรือไม่??
อยากได้บุญ จัดเป็น ฉันทะ คือทะยานอยากในทางที่ดี หวังเลิกลดละ
สิ่งอันจะนำไปสู่อบายภูมิ
:

มันไม่เกี่ยวคนละเรื่อง ความอยากได้บุญในที่นี้ต้องดูว่า เขาเชื่อมั้ยว่าทำดีได้ดี
ถ้าเขาเชื่อมันถึงจะเป็นฉันทะ แต่ถ้าเขาไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี สิ่งที่ทำก็ทำไปตามมรรยาท
นั้นไม่จัดอยู่ในเรื่องฉันทะ
วิริยะ เขียน:
"ฉันทะ" หนึ่งในอธิบาทสี่ "ธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ"
:b12:

อันนี้ถูก แต่เอามาใช้อธิบายความคนละเรื่อง อธิบายโดยไม่เข้าใจในปรมัตถ์
ความหมายคลาดเคลื่อน ดูแล้วเหมือนสุนทรภู่กำลังแร่พลักษณะม้านิลมังกร
ให้ฟัง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
วิริยะ เขียน:
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากได้ อยากเป็น อยากมี
ตัณหา มีทั้งหยาบและละเอียด

ตัณหาอย่างหยาบ คือ ตัณหาที่ถูกบังคับด้วยกิเลส ควบคุมลำบาก
ตัณหาอย่างละเอียด เรียก ฉันทะ ความทะยานอยากในทางที่ดี

ตัณหาไม่ได้หมายถึงอยากได้ อยากมีหรืออยากเป็น

ตัณหา ไม่อยากได้ ไม่อยากมีหรือไม่อยากเป็นก็ได้

ความหมายของตัณหาที่แท้จริง มันเป็นตัวกิเลสเป็นตัวต้นเหตุ
ของอุปาทานขันธ์ นั้นก็คือการยึดมั่นในความดีและชั่ว ดังนั้นตัณหา
จึงเป็นต้นเหตุได้ทั้งดีและชั่ว

ฉันทะไม่ใช่ความทะยานอยาก ฉันทะมีเหตุมาจากความเชื่อ
ถ้าไม่เชื่อก็ไม่เรียกฉันทะ
วิริยะ เขียน:
ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว การอยากได้บุญเป็นบาปหรือไม่??
อยากได้บุญ จัดเป็น ฉันทะ คือทะยานอยากในทางที่ดี หวังเลิกลดละ
สิ่งอันจะนำไปสู่อบายภูมิ
:

มันไม่เกี่ยวคนละเรื่อง ความอยากได้บุญในที่นี้ต้องดูว่า เขาเชื่อมั้ยว่าทำดีได้ดี
ถ้าเขาเชื่อมันถึงจะเป็นฉันทะ แต่ถ้าเขาไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี สิ่งที่ทำก็ทำไปตามมรรยาท
นั้นไม่จัดอยู่ในเรื่องฉันทะ
วิริยะ เขียน:
"ฉันทะ" หนึ่งในอธิบาทสี่ "ธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ"
:b12:

อันนี้ถูก แต่เอามาใช้อธิบายความคนละเรื่อง อธิบายโดยไม่เข้าใจในปรมัตถ์
ความหมายคลาดเคลื่อน ดูแล้วเหมือนสุนทรภู่กำลังแร่พลักษณะม้านิลมังกร
ให้ฟัง :b32:



:b35: 3 กระดานด้านด้านบนนี้ ผมยกให้คุณโฮ เลยครับ สุดยอด
หากเป็นธรรมที่สมบูรณ์บนทางมรรค จะลงที่ [color=#00FFFF]ทางสายกลางคือความพอดี ไม่ตึงไม่หย่อน เช่น อยากดีมากเกิน จะกลายเป็น ตัณหา จนกลายเป็นบ้าดีไป หรือ แม้แต่ คำว่า ไม่ยึดมั่น หาก คิดว่า อะไรๆจะเกิด ก็ช่างมัน ฉันไม่ยึดมั่นอยู่แล้ว ก็จะกลาย เป็น คนไร ปัญญา ไป ครูบาร์อาจารณ์ จึงสอนว่า จงไม่ยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่นเสียด้วย จึงจะเป็นการใช้ ปัญญา ที่ถูกต้อง [/color]

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
วิริยะ เขียน:
ตัณหา แปลว่า ความทะยานอยาก อยากได้ อยากเป็น อยากมี
ตัณหา มีทั้งหยาบและละเอียด

ตัณหาอย่างหยาบ คือ ตัณหาที่ถูกบังคับด้วยกิเลส ควบคุมลำบาก
ตัณหาอย่างละเอียด เรียก ฉันทะ ความทะยานอยากในทางที่ดี

ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว การอยากได้บุญเป็นบาปหรือไม่??
อยากได้บุญ จัดเป็น ฉันทะ คือทะยานอยากในทางที่ดี หวังเลิกลดละ
สิ่งอันจะนำไปสู่อบายภูมิ


"ฉันทะ" หนึ่งในอธิบาทสี่ "ธรรมที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ"

:b12:

ท่าน วิริยะ นี่เข้าใจธรรมลึกซึ้ง คุณน้องนับถือเลยเจ้าค่ะ :b20:

โมทนาครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ปัตติปิตา เขียน:
เอ่อ... อยากได้บุญในความหมายที่ว่า อยากเกิดบนสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้ อยากสวยอยากรวยชาติหน้า


กามตัณหา นั่นเทียว

ไม่ใช่กามตัณหา แบบนี้เขาเรียกว่า จิตเจือด้วยสักกายทิฐิ
เกิดการปรุงแต่งของขันธ์กับตัณหา จนเกิดอาการของจิตที่เป็นอกุศล
นั้นคือ..โลภะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความอยาก..บางที...ก็เป็นมรรค

แต่เราใช้คำต่างกันว่า..ฉันทะ...อย่างที่เพื่อนสมาชิกว่าใว้ช่วงต้น ๆ นั้นแหละ

ฉันทะ....ทำให้เกิดภพมั้ย?


ฉันทะแปลว่าความพอใจ ฉันทะที่เป็นตัณหานั้นไม่ใช่มรรค เป็นมูลของทุกข์ครับ
ฉันทะในอิทธิบาท ไม่ใช่ตัณหาครับ

อ้างคำพูด:
อยากเป็นโสดาบัน...เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่...อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นโสดาบันแล้วก็อยากเป็นสกทาคามี....เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่..อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?
เป็นแล้ว...ก็ยังอยากเป็นอนาคามีอีก..เป็นแล้วก็ยังมีภพอยู่....อยากเป็นตัณหาหรือเป็นมรรค?


อริยมรรคกับตัณหาไม่ใช่อย่างเดียวกันครับคุณกบ ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับของตัณหาคืออริยมรรคมีองค์แปดครับ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ให้เจริญตัณหา แต่ให้เจริญอริยมรรคครับ

อ้างคำพูด:
ทีนี้....กลับมาดูปุถุชนคนของโลก...ปกติก็ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์...สนองสุขในคราวมีชีวิตอยู่ให้เต็มที่...ตายไปก็ไม่มีอะไร....พวกนี้ทุกข์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า....ทุกข์หนัก กับ....ปุถุชนอีกพวก...ที่เห็นทุกข์หวังสุข....พอทำความดีแล้วมีความสุข....ย่อมเชื่อว่าโลกหน้าก็ต้องสุขเช่นกัน....จึงทำบุญทำทาน....ทุกข์ของเขาย่อมบรรเทาเบาบาง.....

อยากของเขา....ทำให้ทุกข์น้อยลง....อยากของเขาเป็นตัณหา...หรือเป็น...มรรค?



ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทกข์ ไม่รู้ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ตามที่เป็นจริง
เป็นไปตามอำนาจของอวิชชาและตัณหา ท่องเที่ยวไป แล่นไป ด้วยความเร่าร้อน เมื่อจากโลกนี้ไปสู่ปรโลก ในกำเนิดสัตว์นรกบ้าง เปรตบ้าง สัตว์ดิรัจฉานบ้าง หรือเทวโลกบ้าง บางคราวก็กลับมาสู่โลกนี้อีก
เร้าร้อนวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ ตามอำนาจของกรรม บางคราวกุศลกรรมก็พาไปสุคติ บางคราวอกุศลกรรมก็พาไปทุคติ เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ได้เงยหน้าออกมาจากวัฏฏะเลย เพราะฉะนั้นก็พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้อริยสัจจ์สี่ ตามที่เป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2012, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แสงแห่งพระธรรม เขียน:
สรุปแล้วพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ไม่ต้องทำอะไร ให้อยู่เฉย ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาถึงไม่เจริญอย่างไงละ


อะไรเจริญ...

อะไรไม่เจริญ....


ขอร่วมสนทนาด้วยครับ

กุศลเจริญ
อกุศลไม่เจริญ

ถ้าคนในประเทศเป็นคนมีศีลธรรม ประเทศนั้นก็เจริญ สงบร่มเย็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2012, 18:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
ธรรมดา ความอยากเป็นตัณหา ไม่ว่าจะอยาก ในกาม ในภวะ หรือวิภวะ
ถามว่า การอยากได้บุญจัดเป็นตัณหาหรือไม่ เพราะอยากได้บุญก็เป็นความอยากมีอยากเป็น(ภวะ)
ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว การอยากได้บุญเป็นบาปหรือไม่??

:b12:
เป็นคำถามที่ดูเข้าท่าถ้าไม่พิจารณาให้ซึ้งๆ
:b16:
ตัณหา ถ้าแปลตามความหมายเต็มๆ แปลว่า "ความทะยานอยาก"ซึ่งอาการที่พอนึกภาพออกได้คือ "พุ่งหรือโลดแล่นไปข้างหน้าเพื่อจะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยาก" อาการเช่นนี้คงพอบอกได้ว่าอาจขาดสติสัมปชัญญะ หรือเหตุผลกำกับ อย่างนี้บาปแน่ๆ เพราะเกิดความเร่าร้อนใจอยากได้บุญ ถ้าไม่ประกอบด้วยสติปัญญาและเหตุผลที่ถูกต้อง ก็เป็นบาปแน่นอน
:b43:
แต่อยากได้บุญด้วยความมีสติปัญญาและเหตุผลกำกับ รู้ว่า บุญที่ถูกต้องควรทำอย่างไร บุญเป็นสิ่งที่ทำให้อิ่มเอิบกายใจ สงบ เป็นสุข และเป็นฐานสำหรับการทำความดีที่สูงยิ่งๆขึ้นไป เป็นกิจที่ควรทำควรขวันขวาย จึงทำไปด้วยเหตุผล ด้วยฉันทะ ด้วยวิริยะ จิตตะและวิมังสา อย่างนี้เป็นบุญเต็มร้อย
onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 33 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร