ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เมตตากับความโกรธ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41958
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ดอกมะเขือ [ 03 พ.ค. 2012, 13:58 ]
หัวข้อกระทู้:  เมตตากับความโกรธ

ในหนังสือกล่าวว่าเป็นคู่ปรับกัน คือเมตตาแก้ความโกรธ ไม่ทราบนอกจากเมตตาแล้วมีอะไรอีกที่แก้โกรธได้ค่ะ ดิฉันจัดเป็นคนโกรธง่าย ขอคำแนะนำด้วยคะ :b8:

เจ้าของ:  student [ 03 พ.ค. 2012, 14:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

วิปัสสนา แก้ความโกรธได้ครับ คือการพิจารณาถึงโทษของความโกรธ หรือความอดกลั้น แม้มีความโกรธก็ไม่ระบายออกมาทางกาย วาจา ใจ

เจ้าของ:  ฝึกจิต [ 03 พ.ค. 2012, 15:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

http://www.mattaiya.org/%E0%B8%8A%E0%B8 ... B8%98.html

ลองอ่านดูนะครับ

เจ้าของ:  วิริยะ [ 03 พ.ค. 2012, 18:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

เมตตา เปรียบเหมือน น้ำ โกรธ เปรียบเหมือนไฟ จึงเป็นคู่ปรับกัน

ความโกรธ สังเกตุง่ายเพราะเป็นของหยาบ ๆ จะแสดงออกทางกายและวาจา

ผู้ที่มีเมตาเป็นเจ้าเรือน จะมีหน้าตาสดใส รูปงาม ผิวผุดผ่อง จิตใจผ่องใส
ผู้มีความโกรธเป็นเจ้าเรือน จะมีรูปร่างไม่งาม ผิวหยาบ จิตใจเศร้าหมอง

จะแก้ความที่เป็นคนโกรธง่าย อันดับแรกคือ สติ ต้องรู้ทัน อันดับสองคือ ขันติ ข่มไว่ก่อน
แล้ว สุดท้ายจึงใช้ปัญญา พิจารณาให้เห็นโทษของความโกรธว่า เป็นของร้อน ใครก็ไม่
อยากเสวนา ไม่อยากอยู่ใกล้ ญาติก็หน่ายแหนง ฯลฯ

นอกจากเมตตาแล้วยังนึกไม่ออกว่ามีอะไรที่จะแก้ความโกรธได้
ท่านอื่นอาจจะมีนะ

:b12:

เจ้าของ:  asoka [ 03 พ.ค. 2012, 19:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

ดอกมะเขือ เขียน:
ในหนังสือกล่าวว่าเป็นคู่ปรับกัน คือเมตตาแก้ความโกรธ ไม่ทราบนอกจากเมตตาแล้วมีอะไรอีกที่แก้โกรธได้ค่ะ ดิฉันจัดเป็นคนโกรธง่าย ขอคำแนะนำด้วยคะ :b8:

onion
ลองทำอย่างนี้ดูนะครับ จะเป็นการขุดถอนถึงรากเหง้าของความโกรธเลยเชียวแหละครับ
:b16:
หากสติรู้ทันว่ามีความโกรธเกิดขึ้น จงนิ่งรู้ นิ่งสังเกต ความโกรธและอารมณ์ลูกของความโกรธทุกอารมณ์ ให้ทันปัจจุบันของแต่ละอารมณ์ โดยไม่ตอบโต้ด้วยการกระทำใดๆ ให้มีแต่ รู้.... สังเกต... ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ไปจนถึงอารมณ์ลูกอารมณ์สุดท้ายดับไปต่อหน้าต่อตา จิตกลับเข้าสู่ปกติคืออยู่ตรงกลาง เฉยๆ

ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกครั้งที่มีความโกรธ ไม่ช้าจะได้พบว่า ผัสสะทั้งหลายที่เคยทำให้โกรธ จะหมดค่าความหมาย ความโกรธจะเกิดไม่ค่อยได้ หรือเบาบางจางลง จนจะหมดไปในที่สุด

:b27:
onion
อารมณ์ลูกของความโกรธ เช่น ใจเร่าร้อน หงุดหงิด ขุ่นมัว คิดฟุ้ง อยากตอบโต้ โมโห ทนไม่ได้......ฯลฯ
:b16: :b12: :b1:

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 03 พ.ค. 2012, 22:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

ดอกมะเขือ เขียน:
ในหนังสือกล่าวว่าเป็นคู่ปรับกัน คือเมตตาแก้ความโกรธ ไม่ทราบนอกจากเมตตาแล้วมีอะไรอีกที่แก้โกรธได้ค่ะ ดิฉันจัดเป็นคนโกรธง่าย ขอคำแนะนำด้วยคะ :b8:


ดังที่หลายท่านกล่าวมาล้วนสามารถแก้ความโกรธได้ทั้งสิ้น

แต่ถ้าคนไม่เคยฝึกอบรมจิตห้ามไม่ได้หรอกครับยังแก้ไม่ทัน

แต่เมื่อโกรธแล้วควรพิจารณาให้เห็นโทษของความโกรธนั้นทำให้เป็นทุกข์อย่างไรเช่น

เสียใจ(หงุดหงิด จิตสั่นไหว คิดอะไรไม่ออก)

เสียวาจา(พูดคำหยาบ ด่ากัน มองหน้ากันไม่ติด)

เสียกริยา(เต้นแร้งเต้นกา วางมวยกัน ทำร้ายกันบาดเจ็บ)

เสียทรัพย์(ทำลายข้าวของ ขึ้นโรงขึ้นศาล)

เสียเพื่อน เสียคนฯลฯ


ผลเสียที่ได้เิกิดขึ้นจริงกับเรา(บางข้อหรือหลายข้อ)เหล่านี้จะเป็นเครื่องเตือนสติเราเป็นอย่างดี

หัดเจริญสติในชีวิตประจำวัน เมื่อเวลาโกรธจะได้มีช่วงเวลาฉุกคิด เหมือนมีเบรค ความเสียหายจะเิกิดขึ้นน้อยหรือไม่เกิดเลย

เมื่อนึกขึ้นได้เวลาไหนก็ตามควรเจริญเมตตาเสมอไนสิ่งต่างๆ คนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่เรามักโกรธ เมื่อจิตชุ่มฉ่ำด้วยเมตตาเหมือนสนามที่ชุ่มน้ำแล้วการที่ความโกรธที่เหมือนไฟจะถูกจุดติดย่อมเป็นไปได้ยาก

ความโกรธย่อมสอนเราให้รู้จักความไม่โกรธ เหมือนที่สมจิตรเขาพูดว่า ผมโดนมาเยอะ ผมเจ็บมาเยอะ(จึงรู้) :b4:

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 พ.ค. 2012, 08:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

จิตมีลักษณะ ชอบสั่งสม

สั่งสมกิเลส เช่น ความโกรธเป็นต้น

สั่งสมมากมากเข้า ก็จะหนาขึ้น เขาเรียกว่า ปุถุชน คือคนหนา หนาไปด้วยกิเลส

ในทางตรงกันข้าม ถ้าสั่งสมกุศล กุศลต่างๆ เช่น สติ ปัญญา เป็นต้น ก็จะค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นเช่นกัน

การสั่งสมของจิต มันเป็นการสั่งสมข้ามภพข้ามชาติ กันเลยทีเดียว


ความโกรธ ไม่ใช่ รูป
ความโกรธ ไม่ใช่ เวทนา
ความโกรธ ไม่ใช่ สัญญา
ความโกรธ เป็นองค์ธรรมหนึ่งใน สังขาร
ความโกรธ ไม่ใช่ วิญญาณ


กุศลเป็นองค์ธรรม(มีหลายตัว) อยู่ใน สังขาร
อกุศลเป็นองค์ธรรม(มีหลายตัว) อยู่ใน สังขาร

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 09:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

"จิตมีลักษณะ ชอบสั่งสม"

แต่จิตโดยความเห็นเอกอน ไม่ได้ชอบสั่งสมอะไร
แต่เป็นด้วย
อนุสัย พฤติกรรมของ อนุสัย

จิตไม่ใช่ อนุสัย
แต่ อนุสัย ปรากฎขึ้นกับจิต

การเข้าไปจัดการกับ อนุสัย

เจ้าของ:  govit2552 [ 04 พ.ค. 2012, 09:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

โค้ด:
อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น
คือ 1.ราคานุสัย 2.ปฏิฆานุสัย 3.อวิชชานุสัย 4.วิจิกิจฉานุสัย 5.มานานุสัย 6.ภวานุสัย 7.ทิฏฐานุสัย

ส่วนใหญ่จะเป็นกิเลสที่มีในสังโยชน์อนุสัย 7 นี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ... 1%E0%B8%A2

กิเลส ไม่ใช่ รูป
กิเลส ไม่ใช่ เวทนา
กิเลส ไม่ใช่ สัญญา
กิเลส เป็นองค์ธรรมหลายๆองค์ธรรมใน สังขาร
กิเลส ไม่ใช่ วิญญาณ

กิเลส ไม่ใช่ จิต
กิเลส เป็นเจตสิก
กิเลส ไม่ใช่ รูป
กิเลส ไม่ใช่ นิพพาน

กิเลส เป็น นาม
กิเลส ไม่ใช่ รูป

สรุป กิเลส เป็นเจตสิก ประกอบกับจิต เกิดขึ้นพร้อมจิต ตั้งอยู่วัตถุเดียวกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต ดับไปพร้อมจิต

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 10:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

ก็ตามนั้น

จิต มีกิเลสได้อย่างไร

ก่อนที่ สิ่งหนึ่งจะเข้าไปทำให้ปรากฎเป็น กิเลส(เจตสิก)ประกอบกับจิต

มันเป็นด้วยอะไรล่ะ

:b41: :b41: :b41:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 10:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

สภาวะ จิตที่เป็นจิตบริสุทธิ์

สภาวะ จิตที่เจือกิเลส

ถ้าปลายสายเบ็ดไม่มี ตะขอเบ็ด
ปลาจะติดอะไร

:b41: :b41: :b41:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 10:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

อนุสยสูตรที่ ๒
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อ
ตัดอนุสัย ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อนุสัย คือ กามราคะ ๑
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑ อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑ อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑ อนุสัย
คือ มานะ ๑ อนุสัย คือ ภวราคะ ๑ อนุสัย คือ อวิชชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอนุสัยคือกามราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว
ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ละ
อนุสัย คือ ปฏิฆะ ... อนุสัย คือ ทิฏฐิ ... อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ...
อนุสัย คือ มานะ ... อนุสัย คือ ภวราคะ ... อนุสัย คือ อวิชชาเสียได้
ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้
แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ ฯ

จบสูตรที่ ๒

พระพุทธองค์เปรียบกับตาลยอดด้วน

:b39:

แต่เอกอนต๊อง ดันมาเปรียบกับเบ็ดปลายด้วนไปซะได้

:b9: :b9: :b9:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 10:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

แถม

อนุสัยสูตรที่ ๒

[๖๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่
อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้
เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯ

จบสูตรที่ ๗

:b41: :b41: :b41:

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 พ.ค. 2012, 10:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

โดยบัญญัติ เราเห็น/รู้จักคำว่า"อนุสัย"ได้ทันทีที่อ่านจบ

แต่โดยสภาวะ
ผู้ปฏิบัติจะได้เผชิญหน้ากับอนุสัยกันจริง ๆ ตอนนี้

Quote Tipitaka:
เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน


:b41: :b41: :b41:

เจ้าของ:  วิริยะ [ 04 พ.ค. 2012, 11:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เมตตากับความโกรธ

eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน


:b41: :b41: :b41:

:b4: :b1:

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/