วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 19:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ที่พี่ sriariya ทักว่าคงอายุเลย 55 ปี คงหมายถึงวัยทอง น่ะครับ :b1: ถ้าคุณ nongkong อายุ 27 เราก็อายุใกล้ๆกันสินะครับ...ดีใจที่เห็นคนวัยใกล้ๆกันหันมาสนใจธรรม..

tongue เจ้าค่ะ แบบนี้คงจะได้เจอกันในชั้น สุธาวาส สินะเจ้าค่ะ อิอิ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2012, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้ามาอ่านที่คุณเขียนโต้ตอบกันไปมาแล้วนั่งขำค่ะ :b32: :b32: :b32: นี่แหละค่ะที่เราบอกว่าโลกของกิเลส

ทีนี้คุยเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ :b12: คงต้องรอท่านผู้รู้มาแนะนำแล้วล่ะค่ะ
ว่าคนที่อยู่ในโลกที่มีกิเลสต่างๆเย้ายวนใจนั้น จะมีหนทางที่จะบรรลุธรรมได้หรือไม่ค่ะ
ขอเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ
ส่วนเรื่องวัยทองเอาไว้ทีหลังน่ะค่ะ :b32: :b32: :b32: :b41: :b55: :b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 01:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
เข้ามาอ่านที่คุณเขียนโต้ตอบกันไปมาแล้วนั่งขำค่ะ :b32: :b32: :b32: นี่แหละค่ะที่เราบอกว่าโลกของกิเลส

ทีนี้คุยเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ :b12: คงต้องรอท่านผู้รู้มาแนะนำแล้วล่ะค่ะ
ว่าคนที่อยู่ในโลกที่มีกิเลสต่างๆเย้ายวนใจนั้น จะมีหนทางที่จะบรรลุธรรมได้หรือไม่ค่ะ
ขอเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ
ส่วนเรื่องวัยทองเอาไว้ทีหลังน่ะค่ะ :b32: :b32: :b32: :b41: :b55: :b43:


:b9: ว่าเรื่องการบรรลุธรรมต่อนะครับ

เมื่อเราถือพระพุทธองค์เป็นศาสดาแล้วก็คงต้องปฏิบัติตามแนวธรรมที่ทรงวางไว้

คือละอกุศลที่มีแล้ว และไม่สร้างอกุศลใหม่ขึ้นมาอีก

ทำกุศลที่ยังไม่มีให้เกิดมี รักษากุศลที่มีแล้วและเพิ่มพูนให้ถึงพร้อม

เจริญภาวนาทางจิตให้เห็นแจ้ง นี่แหละครับ ผมว่าวงล้อแห่งธรรมย่อมหมุนไปด้วยหลักง่ายๆอย่างนี้

ขอให้ทำจริง ไม่ทอดทิ้ง คงใกล้เข้าไปและถึงได้ในสักวันอันใกล้แน่นอน :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
เข้ามาอ่านที่คุณเขียนโต้ตอบกันไปมาแล้วนั่งขำค่ะ :b32: :b32: :b32: นี่แหละค่ะที่เราบอกว่าโลกของกิเลส

ทีนี้คุยเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ :b12: คงต้องรอท่านผู้รู้มาแนะนำแล้วล่ะค่ะ
ว่าคนที่อยู่ในโลกที่มีกิเลสต่างๆเย้ายวนใจนั้น จะมีหนทางที่จะบรรลุธรรมได้หรือไม่ค่ะ
ขอเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ
ส่วนเรื่องวัยทองเอาไว้ทีหลังน่ะค่ะ :b32: :b32: :b32: :b41: :b55: :b43:

สนองเจตนารมเจ้าค่ะ ดิฉันเอาผลการปฏิบัติที่เข้าถึงกระแสธรรม มาให้เทียบเคียงดู ถ้ามีอารมณ์คล้ายๆกับดิฉันก็แปลว่าเข้าถึงกระแสธรรมแล้ว แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะค่ะว่า การจะเป็นโสดาบัน จะต้องละ ขันธ์5 ยึดมั่นถือมั่นในตัวเราว่ามีเรา มีศรัธทราต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไม่งมงาย และอีกอย่าง ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์ แล้วการละขันธ์5 ดิฉันก็อยากรู้ว่า คนอื่นมีสภาวะอารมณ์แบบไหนกัน ที่บอกละขันธ์5ไม่รู้ละได้จริงอย่างที่พูดหรือป่าว
การละขันธ์5 ที่มีอารมณ์เป็นสัมมาทิฏฐิ ผลจะต้องออกมาเป็นแบบนี้ ส่องกระจกไม่รู้สึกไม่พอใจ หรือ พอใจ ในรูปลกษณ์ของตัวเองเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่รู้สึกอยากได้ของสวยๆงามๆไม่ ไม่อยากได้เครื่องประดับ ไม่อยากได้เสื้อผ้าแบรนเนม ไม่แต่งตัว พูดง่ายๆ ปล่อยวาง(ตอนนี้ดิฉันเห็นตัวเองในกระจกเหมือนศพเน่าบ้าง เห็นเป็นโครงกระดูกบ้าง ไม่แต่งเนื้อแต่งตัวเหมือนแต่ก่อนไม่รักสวยรักงาม เป็นอิเพิ้ง :b32:
ลองไปเทียบเคียงดูนะเจ้าค่ะ ว่ามีอารมคล้ายๆแบบนี้หรือเปล่า ไม่ใช่บอกตัวเองว่า ละขันธ์5 เราไม่เอามัน มันไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ ไปซื้อนาฬิกาแพงๆมาใส่ อยากได้กระเป๋าหลุยติงต๊อง รักสวยรักงาม นั่นมันผิดแล้ว เพราะการละความยึดมั่นถือมั่นว่าเรามีเรา จะไม่มีอารมณ์อยากได้ของที่เป็นสิ่งของนอกกายเจ้าค่ะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปคงได้เห็นผู้บรรลุธรรม ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นขันธ์ 5 ในเมืองไทยขี้ไม่ล้างก้น :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
เข้ามาอ่านที่คุณเขียนโต้ตอบกันไปมาแล้วนั่งขำค่ะ :b32: :b32: :b32: นี่แหละค่ะที่เราบอกว่าโลกของกิเลส

ทีนี้คุยเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ :b12: คงต้องรอท่านผู้รู้มาแนะนำแล้วล่ะค่ะ
ว่าคนที่อยู่ในโลกที่มีกิเลสต่างๆเย้ายวนใจนั้น จะมีหนทางที่จะบรรลุธรรมได้หรือไม่ค่ะ
ขอเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ
ส่วนเรื่องวัยทองเอาไว้ทีหลังน่ะค่ะ :b32: :b32: :b32: :b41: :b55: :b43:

ต้องมีแรงบันดาลใจครับ...หากอยู่แต่กับตัวเราเอง..ดูจะเนือย..เนือย..ไปเรื่อง ๆ
หากได้พบกัลนยาณมิตร...ครูอาจารย์..ที่ถึงพร้อม...นี้นะ..จะได้ใจอย่างไม่ต้องพูดถัง

กิเลส...ไม่ว่าสมัยไหน..มันก็เหมือนกัน...
บุญเราก็ไม่น้อย...พระธรรมคำสอนก็ยังสมบูรณ์...ผู้ที่เขาบรรลุก็มี
แล้ว...กับเราทำไมถึงจะเป็นไปไม่ได้

มีแต่กิเลส..เท่านั้นแหละที่บอกเราว่าเป็นไปไม่ได้

นี้ให้คือการคิดให้กำลังใจกับตัวเอง....


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 09 เม.ย. 2012, 10:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
bbby เขียน:
เข้ามาอ่านที่คุณเขียนโต้ตอบกันไปมาแล้วนั่งขำค่ะ :b32: :b32: :b32: นี่แหละค่ะที่เราบอกว่าโลกของกิเลส

ทีนี้คุยเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ :b12: คงต้องรอท่านผู้รู้มาแนะนำแล้วล่ะค่ะ
ว่าคนที่อยู่ในโลกที่มีกิเลสต่างๆเย้ายวนใจนั้น จะมีหนทางที่จะบรรลุธรรมได้หรือไม่ค่ะ
ขอเรื่องบรรลุธรรมต่อน่ะค่ะ
ส่วนเรื่องวัยทองเอาไว้ทีหลังน่ะค่ะ :b32: :b32: :b32: :b41: :b55: :b43:

สนองเจตนารมเจ้าค่ะ ดิฉันเอาผลการปฏิบัติที่เข้าถึงกระแสธรรม มาให้เทียบเคียงดู ถ้ามีอารมณ์คล้ายๆกับดิฉันก็แปลว่าเข้าถึงกระแสธรรมแล้ว แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะค่ะว่า การจะเป็นโสดาบัน จะต้องละ ขันธ์5 ยึดมั่นถือมั่นในตัวเราว่ามีเรา มีศรัธทราต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไม่งมงาย และอีกอย่าง ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์ แล้วการละขันธ์5 ดิฉันก็อยากรู้ว่า คนอื่นมีสภาวะอารมณ์แบบไหนกัน ที่บอกละขันธ์5ไม่รู้ละได้จริงอย่างที่พูดหรือป่าว
การละขันธ์5 ที่มีอารมณ์เป็นสัมมาทิฏฐิ ผลจะต้องออกมาเป็นแบบนี้ ส่องกระจกไม่รู้สึกไม่พอใจ หรือ พอใจ ในรูปลกษณ์ของตัวเองเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่รู้สึกอยากได้ของสวยๆงามๆไม่ ไม่อยากได้เครื่องประดับ ไม่อยากได้เสื้อผ้าแบรนเนม ไม่แต่งตัว พูดง่ายๆ ปล่อยวาง(ตอนนี้ดิฉันเห็นตัวเองในกระจกเหมือนศพเน่าบ้าง เห็นเป็นโครงกระดูกบ้าง ไม่แต่งเนื้อแต่งตัวเหมือนแต่ก่อนไม่รักสวยรักงาม เป็นอิเพิ้ง :b32:
ลองไปเทียบเคียงดูนะเจ้าค่ะ ว่ามีอารมคล้ายๆแบบนี้หรือเปล่า ไม่ใช่บอกตัวเองว่า ละขันธ์5 เราไม่เอามัน มันไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ ไปซื้อนาฬิกาแพงๆมาใส่ อยากได้กระเป๋าหลุยติงต๊อง รักสวยรักงาม นั่นมันผิดแล้ว เพราะการละความยึดมั่นถือมั่นว่าเรามีเรา จะไม่มีอารมณ์อยากได้ของที่เป็นสิ่งของนอกกายเจ้าค่ะ :b16:

สวัสดีครับคุณ nongkong :b8:
ขอถามสักหน่อยนะครับ...ที่ว่าละขันธ์ 5 นั้น..ละอะไรได้...ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อไปคงได้เห็นผู้บรรลุธรรม ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นขันธ์ 5 ในเมืองไทยขี้ไม่ล้างก้น :b9: :b32:


กระดาษติ๊ดชู่เช็ดก้อด้าย.... :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




83324525.jpg
83324525.jpg [ 269.77 KiB | เปิดดู 3349 ครั้ง ]
ดูวิธีละของพวกเราชาวพุทธแล้วทำท่าจะเฉียดๆใกล้ไปทางโน้น ^ :b15: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“อะไรทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมบรรลุมรรคผลช้าเร็วต่างกัน”

คำตอบได้แก่ อินทรีย์ 5 ที่ทำให้บุคคลฝึกหัดพัฒนาตนช้าเร็วกว่ากัน

บางคนอาจฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จโดยง่าย
บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆก็สำเร็จ
บางคนทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ
บางคนจะฝึกหัดอย่างไรก็ไม่อาจประสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จและความช้าเร็วเป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี
การมีผู้แนะนำหรือครูดีที่เรียกว่ากัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย และสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นต้น

โดยนัยนี้ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น 4 ประเภท เรียกว่า ปฏิปทา 4 คือ

1. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ช้า
2. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก แต่รู้เร็ว
3. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ช้า
4. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้เร็ว

ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆหลายๆอย่างที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้าหรือเร็วนั้น สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อม และบ่งชี้ความก้าวหน้า ช้า หรือ เร็ว ของบุคคลในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรีย์ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

หลักธรรมชุดนี้ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไปตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด มิใช่ใช้เฉพาะสำหรับการเจริญสมาธิเท่านั้น


อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ

ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียร กำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงาน และปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้


ความหมายของอินทรีย์ 5 อย่างนั้น ท่านแสดงสรุปได้ดังนี้


1. ศรัทธา (เรียกเต็มว่าสัทธินทรีย์) พึงเห็นได้ในโสดาปัตติยังคะ 4 ว่าโดยสาระก็คือศรัทธาในตถาคตโพธิ หรือตถาคตโพธิสัทธานั่นเอง
กิจ หรือ หน้าที่ของศรัทธา คือ ความน้อมใจดิ่ง หรือเด็ดเดี่ยว (อธิโมกข์)

ความหมายสามัญว่า ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในความจริง ความดีของสิ่งที่นับถือหรือปฏิบัติ


2. วิริยะ (เรียกเต็มว่าวิริยินทรีย์) พึงเห็นได้ใน สัมมัปปธาน 4 บางทีพูดให้สั้นลงว่า ความเพียรละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
หน้าที่ของวิริยะ คือ การยกจิตไว้ (ปัคคาหะ)

ความหมายสามัญว่า ความเพียรพยายาม มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย


3. สติ (เรียกเต็มว่า สตินทรีย์) พึงเห็นได้ในสติปัฏฐาน 4 บางแห่งว่า สติที่ได้ด้วยปรารภสติปัฏฐาน 4 หรือตัวสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง บางที่ให้ความหมายง่ายลงมาว่า การมีสติ การมีสติครองตัวที่ยวดยิ่ง สามารถระลึกนึกทวนถึงกิจที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้
หน้าที่ของสติ คือ การดูแล หรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน)

ความหมายสามัญว่า ความระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกได้ถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

4. สมาธิ (เรียกเต็มว่า สมาธินทรีย์) พึงเห็นได้ในฌาน 4 หรือพูดอย่างง่ายได้แก่ การทำภาวะปล่อยวางให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
หน้าที่ของสมาธิ คือ การทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขปะ)

ความหมายสามัญว่า ความมีใจตั้งมั่นแน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

5. ปัญญา (เรียกเต็มว่า ปัญญินทรีย์) พึงเห็นได้ในอริยสัจ 4 คือการรู้อริยสัจ 4 ตามเป็นจริง หรือพูดอย่างง่าย ได้แก่ การมีปัญญา ความประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปซึ่งเป็นอริยะ ทำลายกิเลสได้ อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
หน้าที่ของปัญญา คือ การเห็นความจริง (ทัสสนะ)

ความหมายสามัญว่า ความรู้เข้าใจตามเป็นจริง รู้สิ่งที่ทำที่ปฏิบัติ หยั่งรู้ หรือ รู้เท่าทันสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ 5 อย่างนี้ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร

ความเพียรช่วยให้สติมั่นคง

เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ

เมื่อมีสมาธิแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ (เหตุแห่งความทุกข์) มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึงเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและความทุรนทุรายแห่งตัณหา สงบประณีตดีเยื่ยม

ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธา ที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่ง หรือยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก ดังพุทธวจนะ

"ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียรพยายามแล้วก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งจิตมั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้วก็เชื่อยิ่งอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้ เราเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้ามที่อินทรีย์ 5 จะกำจัดเป็นคู่ๆ ดังนี้

1. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่ง หรือมุ่งไปเด็ดเดี่ยว กำจัดอกุศลคือความไม่เชื่อถือ

2. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองจิต หรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศลคือความเกียจคร้าน

3. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้ม หรือดูแลจิต กำจัดอกุศลคือความประมาท

4. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่ายส่าน กำจัดอกุศลคือความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ)

5. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศลคืออวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน โดยย้ำว่าถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์อื่นเหล่านั้นก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน เช่น

ถ้าศรัทธาแรงไป วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว ปัญญาก็ไม่สามารถเห็นตามเป็นจริง

ตามหลักทั่วไปท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ

ให้ศรัทธาเสมอกับปัญญา

และให้สมาธิเสมอกับวิริยะ

ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส

ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดีเป็นคนแก้ไขไม่ได้เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ เมื่ออินทรีย์ 2 คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้าได้ผลดี หลักนี้ท่านให้นำมาใช้กับการเจริญสมาธิด้วย

อย่างไรก็ตาม ท่านว่าถ้าเจริญแต่สมาธิอย่างเดียวล้วนคือบำเพ็ญสมถะ ถึงศรัทธาจะแรงกล้า ก็ได้ผลเกิดอัปปนาสมาธิได้ หรือสมาธิแก่กล้า ก็เหมาะแก่การเจริญสมาธิอยู่ดี

ตรงข้ามกับในการเจริญวิปัสสนาถึงปัญญาจะแรงไปก็ไม่เป็นไร เพราะกลับจะเกิดความรู้แจ้งดีด้วยซ้ำ นี้เป็นกรณีพิเศษ

แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักทั่วไป คือ ให้อินทรีย์ 2 คู่เสมอกัน ก็ได้ผลดี เช่น ให้เกิดอัปปนาสมาธิได้อยู่นั่นเอง

ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่ายิ่งสติมีกำลังก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาจิตไม่ให้ตกไปทั้งข้างอุทธัจจะและข้างโกสัชชะ

การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัยสติทั้งนั้น ท่านอ้างพุทธพจน์ที่ว่า สติมีประโยชน์ต้องใช้ทุกที่ที่กรณีและ สติเป็นที่พึ่งที่อาศัยของใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต่อไปคงได้เห็นผู้บรรลุธรรม ผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นขันธ์ 5 ในเมืองไทยขี้ไม่ล้างก้น :b9: :b32:

ท่านกรัชกายแขวะดิฉันทำไม ก็ดิฉันเพิ่งบรรลุ มันก็รู้ได้ด้วยปัจจัตตัง เอาเป็นว่าดิฉันจะอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองนะ แต่ไม่รู้จะอธิบายได้ดีแค่ไหน ขันธ์ 5 คือ
1.รูปขันธ์ =ดิฉันพิจารณา รูป ที่มีส่วนประกอบคือ อาตนะ หู ตา จมุก ลิ้น กาย ใจ เป็นผัสสะที่ทำให้เกิด จิตปรุงแต่งนะ ดิฉันเห็นความเป็นจริงของร่างกายตัวเองด้วยสัจธรรมเลยละ ความอยากที่บอกไปตั้งแต่ต้น(ขณะนี้ดิฉันละได้แล้ว)
2.เวทนา= ความรู้สึก ผัสสะที่มากระทบ เวลาเราได้ยินดีหรือร้าย เราพอใจ หรือไม่พอใจ=อันนี้ก็ลดได้ในระดับหนึ่ง(แต่ก็ปรุงแต่งเป็นเวทนาอยู่)
3.สัญญา=อันนี้ก็รุ้ได้ด้วยปัจจัตตัง
4.สังขาร=คือ อาการที่จิตปรุงแต่งโดยมีความจำเป็นสัญญา จิตกุศล กับไม่กุศลนะเจ้าค่ะ
5.วิญญาณ=อารมณ์ คือ เป็นการ รับรู้อารมณ์ของอายตนะทั้ง6 นะเจ้าค่ะ
คืออันนี้ดิฉันอธิบายความเข้าใจของดิฉันส่วนกามราคะ คือ รูป รส กลิ่น เสียง ผัสสะ
รูป= ดิฉันหมดความอยากไม่รู้สึกอะไรกับรูปลักษณืภายนอกแล้ว เพราะพิจารณาว่ามันไม่เที่ยง(พุดง่ายๆต่อให้เจอคนหน้าตาหล่อเหลาคารมดี จิตดิฉันก็ไม่แกว่ง เพราะ มันแค่รูปหลักภายนอก คนเราเกิดมา จะหล่อจะสวย พอแก่ก็เสื่อมสภาพไปตามไว ตายก็เอาไปเผาเป็นขี้เถ้าโครงกระดูก จิตดิฉันรับรู้เช่นนี้เลยไม่หวั่นไหว)
2.รส= ดิฉันกินอาหารก็สักแต่ว่ากินเพื่อให้มีชีวิตอยู่ พออิ่มก็เหมือนกัน ต่อให้มันจะอร่อยปานไหน กินเข้าไปก็อุจจาระอกมาเป็นของเน่าเหม็นอยู่ดี คือ กินเพื่อให้มีชีวิตอยู่ โดยไม่พิไรรำพันว่าอยากกินนั่นนะอยากกินนี่นะ และดิฉันก็ไม่ติเตือนถึงแม้อาหารจะมีรสไม่อร่อย
3.กลิ่น=มันเป็นปัจจัตตังอ่ะ อธิบายยาก แบบว่าเอาง่ายๆ ใครใส่น้ำหอม ดิฉันก็ไม่ได้ไปหลงใหลในกลิ่นนั้นแต่
4.เสียง= อันนี้ก็สักแต่ได้ยิน แล้วมองมาที่จิตว่าเราไคว้เขวไปกับมันแค่ไหน (ก็พยายามทำอยู่ คือทำจิตเป็นสมาธิ)
5.ผัสสะ=เวลามีอาไรมากระทบเราไคว้เขวไปกับมันไหม อยากเช่นเราโดน เราโดนด่า หรือโดน ตบ เราหวั่นไหวไปกับมันมากน้อยแค่ไหน อันนี้ก็รู้ได้ด้วยปัจจัตตัง เจ้าค่ะ
แต่โดยรวมคือดิฉันสามารถลดกิเลศให้เบาบางลงได้แล้ว ไม่หวั่นไหวไปกับมันง่ายๆ โดยที่จิตดิฉันมีสมาธิพอในระดับไหนก็ลดได้ในระดับนั้น แล้วท่านกรัชกายมีไรจะชี้แนะเพิ่มเติมอีกไหมเจ้าค่ะ ต้องบอกก่อนดิฉันไม่ค่อยเก่งปริยัติเลยอธิบายไม่ค่อยเก่งคือมันรับรู้ได้ ด้วยกายและใจตนอ่ะ :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 119 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร