ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41357
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  จัทร์เพ็ญ [ 02 มี.ค. 2012, 20:17 ]
หัวข้อกระทู้:  ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:

เจ้าของ:  ขณะจิต [ 02 มี.ค. 2012, 21:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

เมื่อกำลังสติปัญญายังอ่อน แก้โดยการบรรเทา อาการนั้นเช่นการย้ายสถานที่จากที่หรือบุคคลที่ทำให้เกิดปฏิฆะนั้น จิตดูความรู้สึกนั้นจะรู้สึกเป็นก้อนความพลุ่งพล่านขุ่นมัว

เมื่อมีสติรู้ทันใช้สติกางกั้นความคิดจะไม่ปรุงแต่งต่อเป็นความโกรธ ใช้กำลังขันติเฝ้ามองก้อนแห่งความขุ่นมัวนั้น จะเห็นว่าถ้าขาดสติความคิดปรุงแต่งจะเกิดและเพิ่มกำลังแห่งความขุ่นมัวนั้น

แต่ถ้ามีกำลังสติและความอดทนเพียงพอความขุ่นมัวจะลดกำลังลงและค่อยๆหายไป

และจิตจะรู้ว่าการโง่แล้วเกิดปฏิฆะนั้นเป็นความทุกร้อนใจ จะฉลาดขึ้นตามลำดับแล้วถึงที่สุดจิตจะรู้ว่า ความขุ่นเคืองเป็นพิษ เป็นทุกข์ร้อน ไม่จับต้องปรุงแต่งอารมณ์ที่ขุ่นเคืองนั้นอีก

:b1:

การรู้จักบรรเทาความโกรธจึงเป็นวิธีที่ช่วยรับมือความโกรธได้ง่ายขึ้น เหมือนหมาป่าจะล่ากวางต้องรู้จักแยกกวางออกจากฝูงแล้วค่อยๆต้อนให้หมดแรงแล้วฆ่าเสีย

แต่ถ้ากำลังสติมีมากดุจสิงโต ย่อมฆ่ากวางได้โดยการโดดกัดครั้งเดียว

แต่วิธีที่ง่ายคือการสำรวมอินทรีย์ ในการทำ พูด คิด มีเมตตาเจือในจิต จิตย่อมสงบเย็น เกิดปฏิฆะได้ยาก

:b16:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 02 มี.ค. 2012, 22:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:


แก้ด้วย...อนาคามีมรรค

แก้ได้...เป็นอนาคามีผล

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 02 มี.ค. 2012, 22:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

มีความเห็นจริงต่อกายตนได้ละเอียดขึ้น....กว่าการเห็นแค่ความตาย

ความขุ่นข้องหมองใจก็หายเอง

คือละที่สักกายทิฏฐิให้ลึกขึ้นนั้นเอง

เจ้าของ:  คนธรรมดาๆ [ 02 มี.ค. 2012, 22:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

:b8: อนุโมทนากับคุณจันทร์เพ็ญด้วยครับ ผมขออนุญาตแสดงความเห็นดังนี้

สติเป็นเหตุให้เกิดปัญญา อาวุธสุดท้ายที่จะตัดความหม่นหมองใจทุกอย่างได้ จึงสมควรเจริญให้มากให้เป็นปกติ

แต่หากสติยังไม่แข็งแรงพอ จะเอาความหม่นหมองใจไม่อยู่ รู้อยู่เฉยๆไม่ไหว ใจจะโดนความหม่นหมองทั้งหลายลากไป

หากศัตรูมีกำลังเหนือกว่า สู้ตรงๆไม่ไหว ก็ลองสู้โดยอ้อม คือหาทางลดกำลังศัตรูลง เพื่อให้พอฟัดพอเหวี่ยงกับสติเราที่ยังไม่แข็งแรงเต็มที่

สิ่งที่จะลดกำลังกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายได้มีอยู่ 10 อย่าง

ซึ่งคือบารมีทั้ง 10

กิเลสคือมารชนิดหนึ่ง พระพุทธองค์ก็ทรงใช้อาวุธทั้ง 10 ชนิดนี้แหละสู้กับกิเลสมารจนมารทั้งหลายแพ้ราบคาบมาแล้ว คือไม่ว่ามารจะทำร้ายขว้างปาอะไรใส่พระองค์ ของทุกอย่างนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระองค์หมด

โดยการเปรียบเทียบ หากเรามองสิ่งต่างๆที่มากระทบเราให้เป็นดอกไม้ เราก็จะมีโอกาสศึกษาสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบนั้น จนได้รับประโยชน์เข้าถึงธรรมจากสิ่งกระทบนั้นเอง เมื่อนั้นสิ่งๆต่างๆที่ถูกขว้างปาเข้าใส่เรา ก็จะเป็นเหมือนกับของขวัญที่เราใช้ประโยชน์ได้

ยกตัวอย่าง การบริหารเมตตา

หากเรารักใครเมตตาใคร เราจะไม่มีทางขุ่นเคืองเขา แม้เขาจะทำร้ายเราขนาดไหนก็ตาม

ดังนั้นความขุ่นเคือง จึงอาจทำให้เบาบางลงได้ โดยการหมั่นพิจารณาเมตตา พิจารณาความทุกข์ทรมานของตัวเอง รวมถึงผู้คนหรือสิ่งใดๆก็ตามที่มาทำให้ขุ่นเคืองเอาไว้ในใจ

กัลยาณมิตรท่านหนึ่งสอนผมมาว่า "ให้เมตตาต่อทุกคน ใครทุกข์ก็ไม่ดีทั้งนั้น อย่างหยาบๆก็เมตตาต่อทั้งเราด้วย ทั้งเขาด้วย อย่างละเอียดก็ให้เมตตาต่อตัวอารมณ์ขุ่นเคือง เหมือนกับกอดอารมณ์ขุ่นเคืองนั้นไว้"

คือล้อมกรอบจำกัดความขัดใจนั้นไว้ ธรรมดาความขัดใจก็ไม่เที่ยง เขาย่อมอ่อนกำลังลงไปเองเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเขาอ่อนกำลังลงบ้างแล้วจึงใช้สติจดจ่อพิจารณาลงไป ก็จะเจริญปัญญาได้ต่อไป

กัลยาณมิตรอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า "สติเหมือนดั่งเหตุ บารมีทั้ง 10 เหมือนดั่งปัจจัย"

เมื่อเหตุและปัจจัยเหมาะสม ผลย่อมเกิดขึ้นได้

ศึกษาบารมีทั้ง 10 ได้จากลิงค์ของคุณกุหลาบสีชาครับ
viewtopic.php?f=7&t=33558

เป็นเพียงความเห็นหนึ่ง ผิดถูกอย่างไรโปรดพิจารณา

เจ้าของ:  fatcat [ 03 มี.ค. 2012, 01:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

It would be very practical and helpful if all of you (GURUs) would end your suggestions with something that lay people can understand and use right away. I could not understand many posts that alway "quote" Dhamma in Pali. Please help a fool understand better. Thank you.

เจ้าของ:  student [ 03 มี.ค. 2012, 02:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

fatcat เขียน:
It would be very practical and helpful if all of you (GURUs) would end your suggestions with something that lay people can understand and use right away. I could not understand many posts that alway "quote" Dhamma in Pali. Please help a fool understand better. Thank you.


ต้องขอตอบนิดหนึ่งว่า หากไม่ยกเอาคำศัพย์ในพุทธศาสนามาเสริม ก็จะแสดงความหมายของธรรมผิดพลาดไปได้ เป็นเรื่องของผู้ที่ศึกษาต้องหมั่นค้นคว้าในเรื่องคำศัพย์ครับผม

เจ้าของ:  โกเมศวร์ [ 03 มี.ค. 2012, 05:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

มัน มีไม่จริง

เดิมแท้ มันไม่มี

เจ้าของ:  วิริยะ [ 03 มี.ค. 2012, 08:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:

โทสะ แปลว่า ความโกรธ ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ

ความโกรธเกิดพร้อมกับโทมนัส ความไม่พอใจ
จากการกระทำของผู้อื่น ทั้งทางกายและวาจา


โทสะสามารถทำให้เบาบางลงได้ในระดับ พระโสดาบัน
พระสกิทาคามี ส่วนปฏิฆะ เป็นต้นต่อหรือรากเง้าของโทสะ
ดับได้ ต้องบรรลุธรรมระดับ พระอนาคามี

จะทำให้โทสะและปฏิฆะเบาบางลง ต้องมี "เมตตา" และเชื่อ "กรรรม ผลของกรรม" ว่า
ผู้ใดกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของการกระทำนั้น ไม่ช้าก็เร็ว

ถ้ามีผู้ยื่นสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เราและเราไม่รับ สิ่งนั้นก็เป็นของเจ้าของเดิม
เหมือนกับมีคนกระทำไม่ดี ให้ร้ายเรา เราเฉยเสียไม่รับ ก็เป็นฉันนั้น


ท่านเปรียบ "ใจ" เหมือนอ่างหรือกาละมังที่เปิดอยู่ ใครโยนอะไรมาก็รับไว้หมด
ถ้าเปิดบ้างปิดบ้าง เราก็สามารถเลือกรับแต่สิ่งที่ดี ๆ ได้


"ใจ" เป็นของเรา จะสุขจะทุกข์ ก็อยู่ที่เราแหละทำเอง อย่ามัวแต่ไปโทษคนอื่น

:b12:

เจ้าของ:  ปลีกวิเวก [ 03 มี.ค. 2012, 08:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:


สวัสดีค่ะ คุณจันทร์เพ็ญ
ให้พิจาราณาตามนี้นะคะ

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 158

[การสอนตนเมื่อเกิดปฏิฆะ]

[นัยที่ ๑-ระลึกถึงโทษของความโกรธ]

แต่ถ้าเมื่อเธอนำจิตเข้าไปในคนเป็นศัตรูกัน ปฏิฆะเกิดขึ้นเพราะระลึกถึงความ

ผิดที่เขาทำให้ไซร้ เมื่อเช่นนั้น เธอพึงเข้าเมตตา (ฌาน)ในบุคคลลำดับหน้า ๆ

(มีคนที่รักเป็นต้น) ในบุคคลไร ๆ ก็ได้บ่อย ๆออกแล้วทำเมตตาถึงบุคคลนั้นร่ำไป

บรรเทาปฏิฆะให้ได้ถ้าแม้เมื่อเธอพยายามไปอย่างนั้น มันก็ไม่ดับไซร้ ทีนี้

เธอพึงพยายามเพื่อละปฏิฆะ โดยระลึกถึงพระพุทธโอวาททั้งหลาย มีกกจูปม

โอวาท (พระโอวาทที่มีความอุปมาด้วย เลื่อย) เป็นต้นบ่อยๆเถิด ๑ก็แลโยคาวจร

ภิกษุนั้นเมื่อจะสอนตน พึงสอนด้วยอาการ (ต่อไป)นี้แลว่า๒ "อะไรนี่เจ้าบุรุษขี้โกรธ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มิใช่หรือว่า

(๑) "ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้หากพวกโจรป่า๓ จะพึง (จับตัว) ตัดองค์อวัยวะ

ด้วยเลื่อยที่มีด้าม ๒ ข้าง แม้นผู้ใดยังใจให้คิดร้ายในพวกโจรนั้น เพราะเหตุที่ใจร้าย

นั้น ผู้นั้นหาได้ชื่อว่าสาสนกร(ผู้ทำตามคำสอน) ของเราไม่" ฯลฯ

[สอนตนนัยที่ ๒ - ระลึกถึงความดีของเขา]

เมื่อเธอเพียรพยายาม (สอนตน) อยู่อย่างนี้ ถ้าปฏิฆะนั้นระงับลงได้ไซร้ ระงับ

ได้ดังนี้นั่นเป็นการดี หากไม่ระงับ ทีนี้ธรรมใด ๆของบุคคลนั้น เป็นส่วนที่เรียบร้อย

หมดจด ระลึกถึงเข้าจะนำมาซึ่งความเลื่อมใสได้ ก็พึงระลึกถึงธรรมนั้น ๆ (ของเขา)

ขจัดความอาฆาตเสียให้ได้เถิด

[สอนตนนัยที่ ๓ - โกรธคือทำทุกข์ให้ตนเอง]

แต่ถ้าเมื่อพระโยคาวจรนั้นพยายามอยู่ถึงอย่างนั้น ความอาฆาตก็ยังเกิดขึ้นอยู่

นั่นไซร้ ทีนี้เธอพึงโอวาทตนดังนี้ว่า

"(๑) ถ้าศัตรูทำทุกข์ให้แก่เจ้าใจสิ่งอันเป็นวิสัย(คือกาย) ของตนไซร้ ไฉนเจ้า

จึงปรารถนาจะทำทุกข์ไว้ในใจของตัว ซึ่งมิใช่วิสัย (คือไม่ใช่กาย)ของเขาเล่า"


[สอนตนนัยที่ ๔ - พิจารณากัมมัสสกตา]

แต่ถ้าเมื่อเธอแม้สอนตนอยู่อย่างนี้ ปฏิฆะก็ยังไม่ระงับอยู่นั่นไซร้ทีนี้ เธอพึง

พิจารณาให้เห็นความที่ตนและคนอื่น มีกรรมเป็นของ ๆ ตนต่อไป ใน ๒ ฝ่ายนั้น

พึงพิจารณาฝ่ายตนก่อนดังนี้ "นี่แน่ะพ่อเอ๊ย เจ้าโกรธเขาแล้ว เจ้าจักทำอะไร กรรม

อันมีโทสะเป็นเหตุ นั่นมันจักเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียแก่ตัวเจ้าเองมิใช่หรือ เพราะว่า

เจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นผู้รับมรดกของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มี

กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยไป เจ้าจักทำกรรมใดไว้ เจ้าจะต้องเป็นผู้รับผล

ของกรรมนั้น ฯลฯ

[สอนตนนัยที่ ๕ - พิจารณาถึงบุพจริยาของพระศาสดา]

แต่ถ้าเมื่อพระโยคาวจรนั้น แม้พิจารณากัมมัสสกตาอยู่อย่างนี้ปฏิฆะก็ยังไม่ระงับ

อยู่อีกไซร้ ทีนี้เธอพึงพิจารณาถึงพระคุณส่วนบุพจริยาของพระศาสดา๑ (ต่อไป)

นี้เป็นนัยแห่งการพิจารณาในบุพจริยคุณของพระศาสดานั้น (คือสอนตน)

ว่า "นี่แน่ะพ่อนักบวช พระศาสดาของเจ้าในกาลก่อนแก่สัมโพธิสมัย แม้เป็นพระ

โพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ทรงบำเพ็ญพระบารมีอยู่ตลอด ๔ อสงไขยกับแสนกัป ก็มิได้

ทรงยังพระจิตให้ (คิด) ประทุษร้ายในบุคคลทั้งหลายผู้เป็นศัตรู แม้ (ถึงกับ) เป็นผู้

ปลงพระชนม์เอาในชาตินั้น ๆ มิใช่หรือ ข้อนี้มีเรื่องอย่างไรบ้าง ฯลฯ

[สอนตนนัยที่ ๖ - พิจารณาถึงความที่เคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ]

แต่ถ้าเมื่อเธอแม้พิจารณาถึงพระคุณ อันเป็นส่วนบุพจริยาของพระศาสดาดัง

กล่าวมานี้อยู่ ปฏิฆะของเธอผุ้ตกเป็นทาสของกิเลสทั้งหลายมาช้านานนั้น ก็ยังไม่

ระงับอยู่นั่นไซร้ ทีนี้เธอพึงพิจารณาถึงบทพระสูตรทั้งหลาย ที่มีความเนื่องด้วยศัพท์

อนมตัคคะ (สงสารที่ไม่ปรากฏต้นปลาย) ก็ในสุตตบทเหล่านั้น สุตตบท (ต่อไป) นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดุกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ที่ไม่เคยเป็นมารดาไม่เคยเป็น

บิดา ไม่เคยเป็นพี่น้องชาย ไม่เคยเป็นพี่น้องหญิง ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดา

(ของเรา) มิใช่หาได้ง่าย" ดังนี้ ฯลฯ

[สอนตนนัยที่ ๗ - พิจารณาอานิสงส์เมตตา]

แต่ถ้าแม้อย่างนี้ เธอก็ยังไม่อาจดับจิต (ร้าย) ลงได้ไซร้ ทีนี้เธอพึงพิจารณาถึง

อานิสงส์เมตตา (ต่อไป) อย่างนี้ว่า "นี่แน่ะพ่อบรรพชิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มิ

ใช่หรือว่า 'ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อเจโตวิมุติ คือ เมตตา ภิกษุเสพโดยเอื้อเฟื้อ เจริญ

ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นดุจวัตถุ* ก่อตั้งสั่งสมทำให้สำเร็จอย่างดีแล้ว

อานิสงส์ ๑๑ เป็นหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ คืออะไรบ้าง อานิสงส์ ๑๑ คือผู้เจริญ

เมตตา ย่อม

หลับเป็นสุข

ตื่นเป็นสุข

ไม่ฝันร้าย

เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

เทวดารักษา

ไฟก็ดี พิษก็ดี ศัสตราก็ดี ไม่แผ้วพานเขา

จิตตั้งมั่นเร็ว

สีหน้าผ่องใส

ไม่หลงทำกาลกิริยา

เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก"

[สอนตนนัยที่ ๘ - ใช้วิธีแยกธาตุ]

แต่พระโยคาวจรผู้ไม่อาจยังจิต (ร้าย) ให้ดับไป แม้โดยอุบายอย่างนี้ พึงทำ

ธาตุวินิพโภค (แยกธาตุ) ต่อไป ถามว่า ทำอย่างไรแก้ว่า พึงสอนตนโดยวิธีแยก

อย่างนี้ว่า 'นี่แน่ะพ่อบรรพชิต ก็ตัวเจ้าเมื่อโกรธบุคคลนั้น โกรธอะไร โกรธผมหรือ

หรือว่า โกรธขน ฯลฯ

[วิธีสุดท้าย - ทำทานสังวิภาค]

แต่พระโยคาวจรผู้ไม่อาจทำธาตุวินิพโภค ก็พึงทำทานสังวิภาค(การให้และการ

แบ่ง) เถิด (คือ) พึงให้ของ ๆ ตนแก่ปรปักษ์ รับของ ๆ ปรปักษ์มาเพื่อตน แต่ถ้า

ปรปักษ์เป็นภินนาชีวะ (มีอาชีวะแตก คือไม่บริสุทธิ์) มีบริขารไม่เป็นของควรแก่การ

บริโภคไซร้ ก็พึงให้แต่ของ ๆ ตน (ไปฝ่ายเดียว อย่ารับของ ๆ เขาเลย) เมื่อเธอ

ทำอันชื่อว่าการให้นี่ มีอานุภาพมากอย่างนี้ สมคำ(โบราณ) ว่า การให้ ปราบคนที่

ใคร ๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้)การให้ ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จ (ก็ได้) ด้วยการให้

กับการเจรจาไพเราะ

:b8:

เจ้าของ:  หญิงไทย [ 03 มี.ค. 2012, 09:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:


ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วย การมีสติ ไม่มองสิ่งต่างๆด้วยอคติค่ะ

เจ้าของ:  จัทร์เพ็ญ [ 03 มี.ค. 2012, 14:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะค่ะ สาธุ :b8:
ติดใจอยู่ว่า ปิดเปิดกาละมัง ด้วยอะไรนะคะ :b1:

เจ้าของ:  ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 03 มี.ค. 2012, 15:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:


ปฏิฆะ คือ ไม่พอใจ ก็เอาความจริงของกฎไตรลักษณ์มาดับหลังจากผัสสะ หรือ กระทบ
เช่นตาเห็นหน้าคน ก็พิจารณาเขาหนุ่มแก่ตาย เราก็หนุ่มแก่ตาย ได้ยินเสียงด่า พิจารณาเสียงด่าเกิดขึ้นสุดท้ายเสียงด่าก็หายไป ความพอใจก็ไม่เกิด

เจ้าของ:  วิริยะ [ 03 มี.ค. 2012, 18:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ติดใจอยู่ว่า ปิดเปิดกาละมัง ด้วยอะไรนะคะ :b1:

ปิดเปิดด้วย "สติ" ครับ .. สติ แปลได้หลายอย่าง ในที่นี้แปลว่า เฝ้าระวังรักษา

"สติ" เท่านปรียบเหมือน "ยาม" ที่เฝ้าประตูบ้านไม่ให้คนร้ายเข้ามาลักขโมย
กระผมก็มี "ยาม" เหมียนกัน แต่ชอบ "หลับยาม" เป็นประจำ ขอรับ .. อิอิ :b13: :b13:

เจ้าของ:  tonnk [ 03 มี.ค. 2012, 21:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด

จัทร์เพ็ญ เขียน:
ปฏิฆะ ความขุ่นเคืองใจ แก้ได้ด้วยวิธีใด ขอโมทนาคะ :b8:


แก้ได้ด้วยขันติและเมตตา ขันติและเมตตาคืออะไร วิธีเจริญนั้นเจริญอย่างไรควรไปศึกษาเสีย

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/