วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 02:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 14:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 15:49
โพสต์: 20

ชื่อเล่น: ทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ายังเสพติดอะไรบางอย่างอยู่ (เช่นติดกาแฟ) แสดงว่ายังไม่บรรลุอรหันต์หรือเปล่าครับ มีตัวอย่างที่กล่าวถึงในพระไตรปิฏกใหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 15:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เป็น ถ้าเสพติดถือว่า พอใจ ต้องไม่ยึดติดรส ไม่ยึดติดในกลิ่น กินอาหารกินน้ำเพื่อเป็นปัจจัยให้อยู่รอดเท่านั้น กินวันละ 1 มื้อ ต้องไม่ทำอาหาร ไม่ปรุงอาหาร ห้ามเก็บอาหาร ห้ามสะสมอาหาร ห้ามซื้ออาหาร ตักบาตรเท่าที่สามารถทานได้ ไปไหนต้องเอาบาตรไปด้วย พระสงฆ์มีหน้าที่หลัก 3 อย่าง 1.สอนธรรม 2.วิปัสสนาภาวนา 3. ตักบาตร

เป็นพระอรหันต์ต้องละความ พอใจ ไม่พอใจ/ โลภ โกรธ หลง ในใจให้หมดสิ้นถาวร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอแยกประเด็นเป็นธาตุขันธ์นะครับ
เหมือนมีผู้ทำร้ายธาตุขันธ์พระอหันต์ ธาตุขันธ์ของท่านก็ย่อมเป็นไปตามปัจจัย แต่จิตของท่านไม่เกิดโลภะ โมหะ โทสะ ที่ทำให้อกุลจิตเกิดได้แล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 16:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


din เขียน:
ผมขอแยกประเด็นเป็นธาตุขันธ์นะครับ
เหมือนมีผู้ทำร้ายธาตุขันธ์พระอหันต์ ธาตุขันธ์ของท่านก็ย่อมเป็นไปตามปัจจัย แต่จิตของท่านไม่เกิดโลภะ โมหะ โทสะ ที่ทำให้อกุลจิตเกิดได้แล้วครับ

ธาตุขันธ์ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใช่หรือไม่ สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลง แปรปรวณไปตามเหตุปัจจัย ไม่คงทนถาวร เสื่อมสภาพ ความสมดุลย์ลดลงเมื่อแก่ ชรา สุดท้ายดิน น้ำ ลม ไฟ แยกแตกสลายออกจากกัน ไม่มีตัวตนของธาตุขันธ์ แม้กระทั้ง นามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ไม่เป็น ถ้าเสพติดถือว่า พอใจ ต้องไม่ยึดติดรส ไม่ยึดติดในกลิ่น กินอาหารกินน้ำเพื่อเป็นปัจจัยให้อยู่รอดเท่านั้น กินวันละ 1 มื้อ ต้องไม่ทำอาหาร ไม่ปรุงอาหาร ห้ามเก็บอาหาร ห้ามสะสมอาหาร ห้ามซื้ออาหาร ตักบาตรเท่าที่สามารถทานได้ ไปไหนต้องเอาบาตรไปด้วย พระสงฆ์มีหน้าที่หลัก 3 อย่าง 1.สอนธรรม 2.วิปัสสนาภาวนา 3. ตักบาตร

เป็นพระอรหันต์ต้องละความ พอใจ ไม่พอใจ/ โลภ โกรธ หลง ในใจให้หมดสิ้นถาวร


สุรวุฒิ เขียน:
ถ้ายังเสพติดอะไรบางอย่างอยู่ (เช่นติดกาแฟ) แสดงว่ายังไม่บรรลุอรหันต์หรือเปล่าครับ มีตัวอย่างที่กล่าวถึงในพระไตรปิฏกใหมครับ


s006 s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 18:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ธาตุขันธ์ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ใช่หรือไม่ สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลง แปรปรวณไปตามเหตุปัจจัย ไม่คงทนถาวร เสื่อมสภาพ ความสมดุลย์ลดลงเมื่อแก่ ชรา สุดท้ายดิน น้ำ ลม ไฟ แยกแตกสลายออกจากกัน ไม่มีตัวตนของธาตุขันธ์ แม้กระทั้ง นามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)


หาคำตอบมาให้จ้า :b4: :b4:

ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์
แสดงธรรม โดย พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย


ธรรมกถาซึ่งจะอธิบายต่อไปนี้จะได้ยกธรรมสามกองคือ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ขึ้นมาตั้งเป็นกระทู้แล้ว จะได้อธิบาย เป็นลำดับ ต่อไป เพราะธรรมสามกองนี้ เป็นของจำเป็น แก่ผู้ใครในธรรม ไม่ว่าทางโลกียะแลโลกุตตร จำเป็นต้องดำเนิน แลค้นคว้าพิจารณา ตามหลัก ธรรมสามกองนี้ทั้งนั้น จึงจะบรรลุตามเข้าหมายของตนได้ อนึ่ง ธรรมสามกองนี้ ก็เป็นของที่มี พร้อมอยู่ ในตัวของคนเรา แต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อเรามารู้เท่าเข้าใจในธรรมสามกอง ซึ่งมีอยู่ในตัว ของเรานี้แล้ว ก็จะรู้ธรรมอื่นๆ ซึ่งนอกออกไปจากตัวของเรา ซึ่งมีสภาพเช่นเดียวกันนี้ หากหลงใหลเข้าใจผิดไปในธรรมสามกอง ซึ่งมีอยู่ในตัวของเรานี้แล้ว ธรรมอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ นอกออกไปจากตัวของเรา ก็จะหลงใหลเข้าใจผิด ไปหรอก

ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์

มนุษย์ตัวตนคนเราที่เกิดขึ้นมาแล้วนี้ย่อมมีของสามอย่างนี้เป็นสมบัติเบื้องต้น ก่อนจะมีสมบัติใดๆ ทั้งสิ้น แล้วก็เป็นของสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันโดยเฉพาะด้วย จะดีจะชั่ว จะสุกจะดิบ จะเป็นโลกเป็นธรรม ก็ต้องมีของสามอย่างนี้เสียก่อนเป็นมูลฐาน เป็นเครื่องวัด เครื่องหมายแสดงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร ผู้ถือว่าเราว่าเขาว่าสุขว่าทุกข์ ก็ถืออยู่ในองค์ ของสามอย่างนี้ หลงอยู่ในห้วงของสามอย่างนี้ ผู้จะรู้แจ้งเห็นจริง จนเป็นสัจจะ ก็รู้แจ้งเห็นจริงใน ของสามอย่างนี้ ของสามอย่างนี้เป็นเครื่องวัดเครื่องเทียบโลกแลธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้ไม่เห็น ของสามอย่างนี้ก็ตกไปจมอยู่ในของสามอย่างนี้ หรือผู้ที่เห็นแล้ว แต่ยังไม่ชัดแจ้ง ก็ปล่อยวาง ไม่ได้เข้าไปยึดเอามาเป็นของตัวก็มี เรียกย่อๆ ว่าผู้เห็นตนเป็นโลกแล้ว ย่อมไปดึงเอาของ สามอย่างนั้น หรือสิ่งเกี่ยวเนื่องของสามอย่างนั้นมาเป็นโลกไปด้วย ส่วนผู้ที่ท่านเห็นว่า ตนเป็นธรรมแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นแต่สักว่าธรรมเท่านั้น หาได้มีตนมีตัวหรืออะไรทั้งหมดไม่ เช่นธาตุสี่ ก็เป็นสักแต่ว่าธรรมธาตุ ขันธ์ ๕ ก็เป็นสักว่าธรรมขันธ์ ส่วนอายตนะ ๖ ก็รวมอยู่ใน ธรรมทั้งสองนี้

ฉะนั้นต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงธรรมสามอย่างที่กล่าวข้างต้นนั้น เพื่อประโยชน์ แก่ผู้ใคร่ในธรรม แล้วจะได้นำไปพิจารณา เพื่อเป็นแนวทาง นำไปสู่ความสว่างของชีวิตต่อไป ธรรมสามอย่างนั้นได้แก่ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖

หากจะถามว่า ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ มีเท่านี้หรือ ทำไมจึงแสดงแต่ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ เท่านั้น ตอบว่า ธาตุมีมาก เช่นธาตุ ๖ อายตน ๑๘ หรือสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกนี้ เรียกว่า ธาตุ ทั้งหมด ดังที่ท่านเรียกว่า "โลกธาตุ" แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียกว่านิพพานธาตุ ขันธ์ก็มีมากเหมือนกัน ขันธ์แปลว่ากอง ว่าเหล่าหรือหมู่หมวด ท่านแสดงภูมิของสัตว์ ที่ยังมีกิเลส เวียนอยู่ในโลกนี้ไว้ว่า ต้องเกิดอยู่ใน ภพที่มีขันธ์ ๕ ได้แก่มนุษย์และต่ำลงไปกว่ามนุษย์ ตลอดถึงนรก ๑ ขันธ์ ๔ ได้แก่เทพผู้ไม่มีรูป ๑ ขันธ์ได้แก่พรหมผู้มีรูป ๑ รวมความจริงแล้ว โลกนี้พร้อมเทวโลก แลพรหมโลก ท่านก็เรียกว่าขันธ์โลก ส่วนข้อความแห่งธรรม ที่พระพุทธเจ้า ทรงแลดงไว้แล้ว เป็นหมวดหมู่ ท่านก็เรียกว่าขันธ์ทั้งนั้น ที่เรียกว่า พระธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้า มี ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้เป็นต้น ส่วนอายตนะนี่ ก็แยกออกไปจากธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ แต่มีหน้าที่การงานมากไปกว่าที่แสดงย่อๆ ก็เพราะต้องการจะแสดงแต่เฉพาะ ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ อันเป็นมูลฐานล้วนๆ เท่านั้น

ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์

ธาตุ ๔


ธาตุ ๔ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวง แม้แต่ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นนิยานิกธรรม อันจะดำเนินให้ถึงวิมุติด้วยสมถะวิปัสสนา ก็จะหนีจากธาตุสี่นี้ไม่ได้ แต่ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุ ล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับนามธรรมแลกิเลสใดๆ เลย ท่านจำแนกออกเป็นกองๆ ตามลักษณะของธาตุ นั้นๆ เช่นสิ่งใดที่มีอยู่ในกายนี้มีลักษณะข้นแข็ง ท่านเรียกว่า ธาตุดิน มี ๑๘ อย่าง คือ ผม ๑ ขน ๑ เล็บ ๑ ฟัน ๑ หนัง ๑ เนื้อ ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เยื่อในกระดูก ๑ ม้าม ๑ หัวใจ ๑ ตับ ๑ พังผืด ๑ ไต ๑ ปอด ๑ ไส้ใหญ่ ๑ ไส้น้อย ๑ อาหารใหม่ ๑ อาหารเก่า ๑ (ถ้าเติมกะโหลกศีรษะ และมันสมอง ศีรษะเข้าด้วยก็เป็น ๒๐ พอดี แต่ที่ไม่เติม เพราะไปตรงกับกระดูก และเยื่อในกระดูก จึงยังคง เหลือ ๑๘)

ธาตุน้ำ สิ่งใดที่มีลักษณะเหลวๆ ท่านเรียกว่าธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ น้ำดี ๑ น้ำเสลด ๑ น้ำเหลือง ๑ น้ำเลือด ๑ น้ำเหงื่อ ๑ นั้นมันข้น ๑ น้ำตา ๑ น้ำมันเหลว ๑ น้ำลาย ๑ น้ำมูก ๑ น้ำมันไขข้อ ๑ น้ำมูตร ๑

ธาตุไฟ สิ่งใดที่มีลักษณะให้อบอุ่น ท่านเรียกว่า ธาตุไฟ มี ๔ คือ ไฟทำให้กายอบอุ่น ๑ ไฟทำให้กายทรุดโทรม ๑ ไฟช่วยเผาอาหาร ให้ย่อย ๑ ไปทำความกระวนกระวาย ๑

ธาตุลม สิ่งใดที่มีลักษณะพัดไปมาอยู่ในร่างกายนี้ สิ่งนั้นท่านเรียกว่าธาตุลม มี ๖ คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ทำให้มึน งง หาว เอื้อมอ้วก ออกมา ๑ ลมพัดลงข้างล่างทำให้ระบายเผยลม ๑ ลมในท้องทำให้ปวดเจ็บท้องขึ้นท้องเฟ้อ ๑ ลมในลำไส้ ทำให้โครกคราก คลื่นเหียน อาเจียน ๑ ลมพัดไปตามตัว ทำให้กายเบา แลอ่อนละมุนละไม ขับไล่เลือด และโอชาของอาหาร ที่บริโภค เข้าไป ให้กระจายซึมซาบ ไปทั่วสรรพางกาย ๑ ลมระบายหายใจเข้าออก เพื่อยังชีวิตของสัตว์ ให้เป็นอยู่ ๑ หรือจะนับเอาอากาศธาตุคือช่องว่างที่มีอยู่ตัวของเราเช่น ช่องปาก ช่องจมูก เป็นต้น เข้าด้วยก็ได้ แต่อากาศธาตุ ก็เป็นลมชนิดหนึ่งอยู่แล้ว จึงสงเคราะห์เข้าในธาตุลมด้วย มนุษย์ทั้งหลาย ที่เราๆ ท่านทั้งหลายที่เห็นกันอยู่นี้ ถ้าจะพูดตามเป็นจริงแล้ว มิใช่อะไร มันเป็นแค่สักว่า ก้อนธาตุมารวมกันเข้า เป็นก้อนๆ หนึ่งเท่านั้น มนุษย์คนเรา พากันมาสมมติ เรียกเอาตามชอบใจของตน ว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์ นั่นเป็นนั่น เป็นนี่ต่างๆ นานาไป แต่ก้อนอันนั้น มันก็หาได้รู้สึกอะไร ตามสมมติของตนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไร มันก็เป็นอยู่ อย่างนั้นตามเดิม อย่างไปสมมติ ว่าหญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่าแก ่ว่าสวย ไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้น มันก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมัน เมื่อประชุมกันเข้าเป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แล้วมันก็ค่อยแปรไป ตามสภาพขอมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลาย แยกกันไปอยู่ ตามสภาพเดิม ของมันเท่านั้นเอง ใจของคนเราต่างหาก เมื่อความไม่รู้เท่า เข้าใจ ตามเป็นจริงแล้ว ก็ไปสมมติว่า เป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย สวย-ไม่สวย สวยก็ชอบใจรักใคร่ อยากได้มาเป็นของตน ไม่สวย ก็เกลียด เหยียดหยาม ดูถูกไม่ชอบใจ ไม่อยากได้อยากเห็น ใจไปสมมติเอาเอง แล้วก็ไปหลง ติดสมมติของตัวเอง เพิ่มพูนกิเลส ซึ่งมันหมักหมมอยู่แล้ว ให้หนาแน่นขึ้นอีก กิเลสอันเกิดจาก ความหลงเข้าใจผิดนี้ ถ้ามีอยู่ในจิตสันดานของบุคคลใดแล้ว หรืออยู่ในโลกใดแล้ว ย่อมทำบุคคล นั้น หรือโลกนั้น ให้วุ่นวายเดือดร้อนมากแลน้อย ตามกำลังพลังของมัน สุดแล้วแต่มันจะบันดาล ให้เป็นไป ฯ

ความจริงธาตุ ๔ มันก็เป็นธาตุล้วนๆ มิได้ไปก่อกรรมทำเข็ญ ให้ใครเกิดกิเลส หลงรัก หลงชอบเลย ถึงก้อนธาตุ จะขาว จะดำ สวยไม่สวย มันก็มีอยู่ทั่วโลก แล้วก็มีมาแต่ตั้งโลกโน่น ทำไมคนเราพึ่งเกิดมาชั่วระยะไม่กี่สิบปี จึงมาหลงตื่นหนักหนา จนทำให้สังคม วุ่นวาย ไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร มืดบอดยิ่งกว่ากลางคืน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าของพวกเราทั้งหลาย ผู้ทรงประสงค์ความสันติสุขแก่โลก จึงทรงจำแนกสมมติ ที่เขาเหล่านั้น กำลังพากันหลงติดอยู่ เหมือนลิงติดตัง ออกให้เป็นแต่สักว่าธาตุ ๔ ดังจำแนกมาแล้วข้างต้น หรือจะเรียกว่า พระองค์ทรงบัญญัติ ให้เป็นไปตามสภาพของเดิม เพื่อให้เขาเหล่านั้น ที่หลงติดสมมติอยู่แล้ว ให้ค่อยๆ จางออกจากสมมติ แล้วจะได้เห็นสภาพของจริง บัญญัตินี้ไม่เป็นตนเป็นตัว เป็นสภาพธรรมอันหนึ่ง แล้วบัญญัติเรียกขื่อ เป็นเครื่องหมายใช้ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าผู้มาพิจารณา เห็นกายก้อนนี้ เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ แล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาก้อนธาต ุมาเป็นอัตตาเลย อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลส หยาบช้า ฆ่าฟันกันล้มตายอยู่ทุกวันนี้ ก็เนื่องจากความหลง เข้าไปยึด ก้อนธาตุ ว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว

ผู้ใคร่ในธรรมข้อนี้ จะทดลองพิจารณาให้เห็นประจักษ์ ด้วยตนเองอย่างนี้ก็ได้ คือ พึงทำใจให้สงบเฉยๆ อยู่ อย่าได้นึกอะไร แลสมมติว่าอะไรทั้งหมด แม้แต่ตัวของเรา ก็อย่านึกว่า นี่คือเราหรือคน แล้วเพ่งเข้ามาดูตัวของเรา พร้อมกันนั้น ก็ให้มีสติ ทำความรู้สึกอยู่ทุกขณะว่า เวลานี้เราเพ่งวัตถุสิ่งหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อว่าอะไร เมื่อเราทำอย่างนี้ได้แล้ว จะเพ่งดูสิ่งอื่น คนอื่น หรือถ้าจะให้ดีแล้ว เพ่งเข้าไปในสังคมหมู่ชนมากๆ ในขณะนั้น อาจทำให้เกิดความรู้สึกอะไร ขึ้นมาในใจแปลกๆ และเป็นสิ่งน่าขบขันมาก อย่างน้อยหากท่านมีเรื่องอะไรหนักหน่วง และยุ่งเหยิงอยู่ภายในใจของท่านอยู่แล้ว เรื่องทั้งหมดนั้นหากจะไม่หายหมดสิ้นไปทีเดียว ก็จะเบาบาง แลรู้สึกโล่งใจของท่านขึ้นมาบ้าง อย่างน่าประหลาดทีเดียว

หากท่านทดลองดูแล้วไม่ได้ผล ตามที่แสดงมาแล้วนี้ ก็แสดงว่าท่านยังทำใจให้สงบ ไม่ได้มาตรฐานพอจะให้ธรรมเกิดขึ้นมาได้ ฉะนั้นจึงขอให้ท่านพยายามทำใหม่ จนได้ผล ดังแสดงมาแล้ว แล้วท่านจะเกิดความเชื่อมั่น ในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า เป็นคำสอนที่ นำผู้ปฏิบัติให้ถึงความสันติได้แท้จริง ฯ

อนึ่ง คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นคำสอนเพื่อสันติ ผู้ที่ยังทำใจของคนให้สงบไม่ได้แล้ว จะนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นสันติ มาพิจารณาก็ยังไม่เกิดผล หรือมาตั้งไว้ ในใจ ของตน ก็ยังไม่ติด

ฉะนั้น จึงขอเตือนไว้ ณ โอกาสนี้เสียเลยว่าผู้จะเข้าถึงธรรม ผู้จะเห็นธรรม รู้ธรรม ได้ธรรม พิจารณาธรรมใจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งที่แสดงมาแล้วและกำลังแสดงอยู่หรือที่จะแสดงต่อไปนี้ก็ดี ขอได้ตั้งใจทำความสงบเพ่งอยู่เฉพาะในธรรมนั้นๆ แต่อย่างเดียว แล้วจึงเพ่งพิจารณาเถิด จึงจะเกิดความรู้ความเข้าใจ ในธรรมนั้นๆ อย่างถูกต้อง

เรื่อง ธาตุ ๔ เป็นสภาวธรรมเป็นจริงอยู่ตามธรรมชาติแล้ว แต่คนเรายังทำจิตของตน ไม่ให้เข้าถึงสภาพเดิม (คือความสงบ) จึงไม่เห็นสภาพเดิมของธาตุ ธาตุ ๔ เมื่อผู้มาพิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่า ธาตุเป็นสักแต่ว่าธาตุ มันมีสภาพเป็นอยู่เช่นไร มันก็เป็นอยู่เช่นนั้นตามสภาพของมัน ธาตุมิได้ก่อกวนให้ใครเกิดกิเลสความรักแลความหวัง หรือโลภโกรธหลงอะไรเลย ใจของคนเราก็เป็นธาตุเหมือนกัน เรียกว่ามโนธาตุ หากผู้มา พิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งปวง เป็นแต่สักว่าธาต ุคือเห็นธาตุภายใจ (คือกายก้อนนี้) และธาตุภายนอก (คือนอกจากกายของเรา) และมโนธาตุ (คือใจ) ตามเป็นจริงแล้ว ความสงบสุข ก็จะเกิดมีแก่เหล่าประชาสัตว์ทั่วหน้ากัน สมตามพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์ตั้งปณิธานไว้ ทุกประการ

ขันธ์ ๕

เมื่อได้อธิบายธาตุ ๔ มาพอสมควรแล้ว ต่อจากนี้ไปจะได้อธิบายขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นของเกี่ยวเนื่องกันมา ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุล้วนๆ มิได้เกี่ยวเนื่องด้วยใจ คนเราถ้ามีธาตุ ๔ ล้วนๆ ไม่มีใจแล้ว ก็ไร้ค่าหาประโยชน์มิได้ หรือจะพูดให้สั้นๆ ที่เรียกว่าคนตายนั้นเอง ขันธ์ คือกองแห่งธรรม ในตัวของคนเรานี้ ท่านจัดกองแห่งธรรมไว้ ๕ ดวง กองรูปได้แก่ธาตุ ๔ ดังอธิบายมาแล้ว เรียกว่ารูปขันธ์ อีก ๔ กองเรียกว่านามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ อายตนภายใน ๖ มีตาเป็นต้น ประสบกับอายตนะภายนอก ๖ มีรูปเป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึกเป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง หรือโสมนัส โทมนัส อุเบกขาเฉยๆ เรียกว่าเวทนาขันธ์ฯ อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ประสบกันเข้าแล้ว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ดังอธิบายมาแล้วข้างต้น แล้วจำได้หมายรู้ในอารมณ์นั้นๆ แม้จะนานแสนนาน ทั้งที่เป็นอดีต แลอนาคต หรือปัจจุบัน เรียกว่าสัญญาขันธ์ฯ จิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้งสองนั้น ประสบกันก็ดี หรือเกิดลอยๆ ขึ้นมา แล้วคิดนึกฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งไปต่างๆ นานา จนหาที่จบลงไม่ได้ เรียกว่าสังขารขันธ์ หมายถึงสังขารจิตโดยเฉพาะ แต่ถ้าเป็นการตรึกตรองในเรื่องนั้นๆ จนเห็น ถ่องแท้ ชัดเจนหมดกังขา ด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เรียกว่า "ธัมมวิจย" มิได้เรียกสังขารขันธ์ฯ วิญญาณมีมากอย่าง วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท เป็นวิญญาณนำเอาขันธ์ทั้ง ๕ มาปฏิสนธิ คือวิญญาณตัวนั้น ต้องมีขันธ์ทั้ง ๕ พร้อมมูลมาในตัว จึงจะมาอุบัติในภูมิขันธ์ ๕ ได้ ถ้ามี ๔ ก็ไปอุบัติในภูมิขันธ์ ๔ คือมีแต่นามไม่มีรูป ความจริงรูป ท่านก็เรียกรูปจิตเหมือนกัน แต่เป็น รูปละเอียด พ้นเสียจากรูปขันธ์ ที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ถ้ามีหนึ่ง คือมีแต่เฉพาะ วิญญาณ ตัวเดียว ก็ไปอุบัติใน "เอกโอปปาติก" ที่เรียกว่าพรหมลูกฟัก คือมีแต่รูปจิตอย่างเดียว นั้นเองฯ

วิญญาณทำหน้าที่ในอายตนะได้แก่ ความรู้สึกในชั้นแรก ของอายตนะทั้งสองประสบกัน แต่ไม่ถึงกับจำอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์นั้นๆ การจำอารมณ์ เป็นหน้าที่ของสัญญา การเสวย อารมณ์ เป็นหน้าที่ของเวทนา วิญญาณชนิดนี้จะเรียกว่าวิญญาณธาตุก็ได้ฯ ส่วนวิญญาณ ในขันธ์ ๕ เป็นวิญญาณนามบัญญัติล้วนๆ ยังไม่ได้ทำหน้าที่ใดๆ เหมือนกับ ขันธ์อื่นๆ

ขันธ์ ๕ ก็เหมือนกันกับธาตุ คือไม่ใช่ตัวกิเลส แลไม่ได้ทำให้ใครเกิดกิเลส แต่ท่านจัดเป็น ประเภทแห่งรูปธรรม-นามธรรม เป็นกองๆ ไว้ เพื่อให้รู้ว่า นั่นรูป นั่นนาม เท่านั้น กิเลสเกิดขึ้น เพราะผู้มาหลงสมมติ แล้วเข้าไปยึดเอาขันธ์ ว่าเป็นตัวของตนหรือตนเป็นขันธ์บ้างต่างหาก เมื่อจะพูดให้เข้าใจง่ายแล้ว ความที่เข้าใจผิดหลงไปยึดเดาขันธ์ ๕ ว่าเป็นของตนของตัว หรือเห็นว่า ตัวของตนเป็นขันธ์ ๕ บ้าง มิฉะนั้น ก็เห็นว่าขันธ์ ๕ นอกออกไปจากคน หรือคนนอกไป จากขันธ์ ๕ บ้าง ความเห็นอย่างนั้นแล จึงทำให้เข้าไปยึดถือ จนเกิดกิเลสขึ้นเป็นทุกข์ ในเมื่อ ขันธ์เหล่านั้น เป็นไปตามปรารถนาแล้ว ก็ชอบใจ เพลิดเพลิน หลงระเริง ลืมตัว มัวเมา ประมาท จนเป็นเหตุให้ประกอบบาปกรรม ความชั่วด้วยประการต่างๆ หากขันธ์เหล่านั้น ไม่เป็นไปตาม ปรารถนาก็ไม่ชอบใจ เป็นทุกข์โทมนัสด้วยประการต่างๆ ไม่เห็นตามสภาพความเป็นจริง ของขันธ์นั้นๆ ซึ่งมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันอยู่อย่างนั้น

ธรรมที่พระอัสสชิแสดงแก่พระสารีบุตร เมื่อท่านยังเป็นนักบวชนอกพระศาสนา ครั้งพบ กันทีแรกว่า ธรรมของพระสมณะโคดมทรงแสดงว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งนั้นก็ดับไป" ดังนี้ รูปขันธ์เกิดจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม ผู้มีปัญญา มาพิจารณาเห็น แจ้งชัดด้วยตนเองแล้วว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นเหตุแห่งรูป วิชชาเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว อวิชชาก็ดับไป ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่มีอยู่แล้ว ก็กลายเป็นวิบากไป ที่จะเกิดใหม่อีกก็ไม่มี กิเลสแลทุกข์ ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นเพราะความหลงในขันธ์ แล้วเข้าไปยึด เอาขันธ์อัตตา ดังแสดงมาแล้ว ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า

ภารหเว ปญฺจักขนฺธา
ขันธ์ ๕ เป็นภาระจริง

ภาราหาโร จ ปุคคโล
แต่บุคคลก็ยังถือภาระไว้

ภาราทานํ ทุกขํ โลเก
การเข้าไปยึดถือเอาภาระไว้ เป็นทุกข์ในโลก

ภารนิกเขปนํ สุขํ
การปล่อยวางภาระเสีย เป็นความสุข

นิกขิปิตวา ครุ ภารํ
บุคคลปล่อยวางภาระเสียได้แล้ว

อญฺญํ ภารํ อนาทิย
ไม่เข้าไปถือเอาสิ่งอื่นเป็นภาระอีก

สมูลํ ตณหํ อพฺพุยห
เป็นผู้รื้อถอนตัณหากับทั้งรากได้แล้ว

นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ติฯ
เป็นผู้หมดความอยากแล้วปรินิพพาน ดังนี้ฯ




ในพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์อยู่แล้วโดยธรรมชาติ เมื่อผู้ใดเข้าใจผิด คิดว่าเป็นความสุข แล้วหลงเข้าไปยึดไว้ ผู้นั้นจะได้รับความทุกข์เดือดร้อน อย่างยิ่ง เปรียบเหมือน ผู้เห็นเปลวความร้อน ของก้อนเหล็กแดง ว่าเป็นของสวยงาม หลงชอบใจเข้าไปกอดเอาด้วยความรัก ความร้อนของก้อนเหล็กแดงนั้น จะมิได้ผ่อนความร้อน แล้วยอมรับด้วยความปราณีเลย ความร้อนของมันมีอยู่เท่าไร มันก็จะแผดเผาเอาผู้นั้น ให้ไหม้เป็นเถ้าผงไปตามเคยฉะนั้น สมกับพุทธพจน์ว่า "สังขารา ปรมา ทุกขา - สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์อย่างยิ่ง"

หากจะมีคำถามว่า เป็นทุกข์เพราะอะไร? ก็ต้องตอบว่า เป็นทุกข์เพราะความหิว ความไม่รู้จักพอ ความหิว ความไม่รู้จักพอ ไม่ว่าจะเป็นส่วนร่างกาย หรือจิตใจ เป็นทุกข์ทั้งนั้น เมื่อความอิ่ม ความพอของจิตใจเกิดขึ้นมาแล้ว ความสงบสุขของใจ ก็จะเกิดขึ้นมาทันที แล้วจะมองเห็นความเกิดดับ ของขันธ์ตามความเป็นจริงดังอุปมา

รูปขันธ์ "เปรียบเหมือนฟองน้ำ อันเกิดจากคลื่นหรือระลอก เป็นต่อม เป็นฟองขึ้นมา ชั่วครู่หนึ่งประเดี๋ยว แล้วก็ดับแตกไปเป็นน้ำตามเดิม" รูปกายนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แปรสภาพ เป็นรูป มนุษย์ชายหญิงหรือเป็นสัตว์ต่างๆ นานา มาจากธาตุ ๔ อยู่ได้ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งคนเราเข้าใจว่านาน แต่สัตว์บางจำพวกซึ่งมีอายุนานกว่า เขาจะเห็นว่า ชั่วครู่เดียว แล้วก็แตกดับสลายไปเป็นธาตุ ๔ ตามเดิมฯ

เวทนา "เปรียบเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง ลูกคลื่นเหมือนกับเป็นตัวตน กลิ้งมากระทบกับฝั่ง ดังซู่ซ่า แล้วสลายหายตัว ไปเป็นน้ำตามเดิม" เวทนาก็เกิดจากสัมผัส แล้วมีความรู้สึก เปรียบเหมือนเสียงคลื่น เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง หรือเฉยๆ แล้วก็หายไป เดี๋ยวสัมผัสอื่น มากระทบอีก ดังนี้อยู่ตลอดกาลฯ

สัญญา "เปรียบเหมือนพยับแดด ธรรมดาพยับแดด อันเกิดจากไอระเหยของความร้อน เมื่อบุคคลเพ่งมองดูอยู่แต่ที่ไกล จะแลเห็นเป็นตัวระยิบระยับ เป็นกลุ่มเป็นหมู่ๆ เมื่อเข้าไปถึง ใกล้แล้ว สิ่งที่เห็นอยู่นั้นก็จะหายไป" ฉันใด สัญญาความจำที่เกิดจากสัมผัส ในอายตนะทั้ง ๖ ก็ผลุบๆ โผล่ๆ เกิดทางตาบ้าง ทางหูบ้าง โน่นบ้าง นี่บ้างอยู่ตลอดกาล ไม่เป็นของตัวเองเลย ก็ฉันนั้นฯ

สังขาร "เปรียบเหมือนต้นกล้วย ธรรมชาติของต้นกล้วย ย่อมไม่มีแก่นเป็นธรรมดา" สังขารรูปกายของคนเรานี้ก็หาสาระมิได้ เริ่มเกิดขึ้นมาก็มีสภาวะแปรสภาพไปพร้อมๆ กันเลย จะอยู่ได้นานแสนนาน สภาพความแปรปรวนของสังขาร ก็เปลี่ยนแปลงไปตามทุกขณะ อยู่อย่างนั้น แล้วก็มีความแตกดับเป็นที่สุด แม้แต่สังขารจิต คิดนึกปรุงแต่ง เอาจริงเอาจังกัน ประเดี๋ยวๆ ก็หายวูบไป ฉะนั้นเหมือนกันฯ

วิญญาณ "เปรียบเหมือนมายา ธรรมดาเรื่องของมายาแล้ว มีแต่จะหลอกลวงผู้อื่น ให้เข้าใจผิด คิดตามไม่ทัน ในเรื่องของตัวเท่านั้น" วิญญาณก็มีลักษณะหลอกลวง ให้ผู้อื่น ตามไม่ทัน พอตาเห็นรูปเกิดความรู้สึกขึ้น เมื่อจะตามไปดูความรู้สึกนั้นยังไม่ทันอะไร เดี๋ยวไปเกิดความรู้สึกขึ้นทางหู เมื่อจะตามไปดูความรู้สึกทางหูนั้น ยังไม่ทันอะไร เดี๋ยวไปเกิด ความรู้สึกขึ้นทางอื่นต่อๆ ไปอีกแล้ว มีแต่จะหลอกลวงให้คนอื่นตามไม่ทัน ฉันนั้นเหมือนกันฯ

ผู้มาพิจารณาเห็นขันธ์มีอุปมาดังแสดงมาแล้วนี้ ชัดแจ้งด้วยปัญญาอันชอบ ด้วยตนเอง แล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาขันธ์มาเป็นอัตตาหรืออนัตตา แต่จะหยิบยกเอาขันธ์ เป็นเป้าหมาย แห่งญาณทัสสนะของปัญญาวิปัสสนา การใช้ปัญญาแยบคาย ไม่เข้าไปยึดเอาของมีอยู่ แลเนื่องด้วยอัตตา จัดเป็นปัญญาในอริยมรรค เพราะของที่ไม่มี และไม่เนื่องด้วย อัตตาสามัญญนาม ใครๆ ก็ละได้ หรือจะเรียกว่าผู้ไปยึดของไม่มีเป็นผู้ไร้ปัญญาก็ได้

คำสอนของพระพุทธองค์เป็นคำสอนยุทธวิธีเพื่อผจญกับกิเลสข้าศึกความชั่ว ซึ่งมันฝังอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลมานานแล้ว ฉะนั้น ขันธ์ ๕ คือตัวของคนเราแต่ละคน จึงเท่ากับสนามยุทธ แต่ยุทธวิธีของพระองค์ การแพ้คือการเข้าไปยึดถือ การชนะ คือการปล่อยวาง ให้มันเป็นไปตามสภาพเดิมของมัน ไม่เหมือนการแพ้แลการชนะ ของผู้ยังมี กิเลสอยู่ ความเป็นจริงการชนะของทุกๆ อย่างไม่ว่าชนะภายนอกและภายใน ในโลกนี้ หรือใน โลกไหนๆ ก็ตาม ถ้าจะว่าการชนะที่บริสุทธิ์แลแท้จริงแล้ว ก็คือคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่าย จะต้องมี อิสระเต็มที่ หากจะยังมีการคิด เพื่อจะต่อสู้กันอีก หรือเข้าไปยึดอำนาจควบคุมยึดถือ กันอยู่แล้ว ชนะนั้นไม่ชื่อว่าเป็นการชนะที่บริสุทธิ์ แลเป็นธรรมเลย วันหนึ่งข้างหน้า จะต้องมีการแพ้อีก เป็นแน่ หรืออย่างนั้นก็ก่อเวรก่อกรรมซึ่งกันและกัน

พระพุทธองค์ทรงเห็นทุกข์ คือตัวข้าศึก มีชาติเป็นต้น ก็เห็นอยู่ในขันธ์นี้เอง แล้วทรงใช้ ยุทธวิธีด้วยปัญญาอันชอบ จนเอาชนะข้าศึก ก็ในขันธ์อันนี้ แต่แล้วข้าศึกก็มิได้ล้มตาย ฉิบหาย ไปไหน ข้าศึกคือขันธ์ ก็ยังเป็นขันธ์ปกติอยู่เช่นเดิม ปัญญาวุธที่พระองค์นำมาใช้เป็นของกายสิทธิ์ ประหารข้าศึกจนพ่ายแพ้ไปได้ แต่หาได้ทำให้ข้าศึกเจ็บปวด แม้แต่แผลเท่าเมล็ดงา ก็หาได้ ปรากฏไม่ เรื่องนี้มีอุทาหรณ์รับสมอ้าง ดังปรากฏในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรอยู่แล้ว หากจะมีปัญหาถามว่า ข้าศึกที่แพ้แก่พระองค์แล้วจะไปตั้งทัพอยู่ ณ ที่ไหน ตอบว่า เมื่อแพ้แก่ พระองค์แล้ว ก็ต้องเป็นบ่าวรับใช้ของพระองค์ต่อไป ผู้ที่เอาชนะมันไม่ได้เท่านั้น จึงยอมเป็นทาส ของมันต่อไป ฉะนั้น ขันธ์ที่ยังไม่มีใครเอาชนะได้จึงยังมีอิสระครอบโลกทั้งสามอยู่

อายตนะ อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์อะไร อธิบายว่า สื่อสัมพันธ์ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น บ่อน้ำก็คือสายของน้ำที่ออกมาจากใต้ดิน แล้วไหลเนื่องติดต่อกันกับน้ำที่อยู่ข้างนอกไม่ขาดสายนั้นเอง อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับ รูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดี ก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน หรรษา ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป เมื่อตายังไม่หลับ อายตนะอื่นๆ มีหูเป็นต้น ก็มีนัยเช่นเดียวกัน ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ตอนว่าด้วยอายตน ๖ ฉะนั้นในที่นี้จึงจะไม่อธิบายอีก แต่จะอธิบายเฉพาะยุทธวิธี สำหรับต่อสู้กับข้าศึก (คืออารมณ์หรือกิเลส) ที่มันจะรุกรบเข้ามาทางทวาร ๖ ต่อไป เพื่อให้เชื่อมกับขันธ์ ๕ อันอุปมาเทียบเหมือน "สนามยุทธ" ดังได้พูดค้างไว้ ที่พูดค้างไว้นั้นได้พูดเฉพาะแต่สนามยุทธเท่านั้น ยังไม่ได้พูดถึงเชิงยุทธวิธีเลย ฉะนั้นต่อไปนี้จะได้แสดงยุทธวิธีอันจะมีขึ้นในสมรภูมินั้นต่อไป ใครจะแพ้ ใครจะชนะ ขอท่านผู้อ่านจงติดตามดูลวดลายของคู่ต่อสู้ต่อไป

อายตนะ ๖ ได้แต่ ตา ที่เห็นวัตถุรูป ๑ หู ที่เสียงดังมากระทบ ๑ จมูก ที่สูบกลิ่นสารพัด ทั้งปวง ๑ ลิ้น ที่รับรสทุกๆ อย่างที่มาปรากฏสัมผัส ๑ กาย ที่ถูกสัมผัส เย็นร้อน อ่อนแข็ง อันจะรู้ได้ทางกาย ๑ ใจ ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์นั้นๆ ๑

อายตนะทั้ง ๖ นี้ย่อมรับทำหน้าที่แต่ละแผนกๆ ไม่ปะปนกัน เช่นตารับทำหน้าที่ แต่เฉพาะไว้ดูรูปเท่านั้น ตกลงว่าบรรดารูปทั้งหลายแล้ว จะเป็นรูปชนิดใดอย่างไร หยาบละเอียด แม้แต่รูปอสุภะอันแสนน่าเกลียด ก็มอบภาระให้ตาดูไป ให้หูดูแทนไม่ได้เด็ดขาด เป็นต้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นใหญ่ในหน้าที่นั้นๆ

ฉะนั้น เมื่อพูดถึงอายตนะภายใน ๖ แล้ว จึงจำต้องพูดคู่ของอายตนะภายในไปพร้อมๆ กัน จึงจะเห็นประโยชน์ของอายตนะ ๖ ที่ว่ามานั้น เป็นของอยู่ในตัวของเรา ท่านจึงเรียกว่า อายตนะภายใน

สิ่งที่เป็นคู่กับอายตะภายใน เช่นรูป เป็นคู่กับตา เป็นต้น ท่านเรียกว่าอายตนะภายนอก อายตนะภายนอกก็มี ๖ เหมือนกัน อายตนะถ้าไม่มีคู่ เช่นมีแต่ตาอย่างเดียว ไม่มีรูป ให้เห็น ก็ไม่มีประโยชน์อันใดเลย หรือมีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีตาดู ก็จะมีประโยชน์อันใด แต่เมื่อเห็นรูปแล้ว ย่อมมีทั้งคุณแลโทษเหมือนๆ กับผู้รับผิดชอบการงานในหน้าที่นั้นๆ จะต้องรับผิดชอบทั้งดีแลไม่ดี อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก กระทบกันเข้านี่แหละ ที่ทำให้เกิดคุณแลโทษก็อยู่ที่ตรงนี้

ฉะนั้น อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งสองนี้จึงเป็นเหมือนกับมิตรแลศัตรูไปพร้อมๆกัน แต่มิตรไม่เป็นไรเรายอมรับทุกเมื่อ แต่ศัตรูนี้ซิ ตาเกลียดนักจึงคอยตั้งป้อมต่อสู้มัน

อายตนะทั้ง ๖ เมื่อใครได้มาเป็นสมบัติของตนครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่วิกลวิกาลแล้ว จึงนับได้ว่า เป็นลาภของผู้นั้นแล้ว เพราะมันเป็นทรัพย์ภายใน อันมีคุณค่ามหาศาล ยากที่จะหาแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันในตลาดได้ ทรัพย์ทั้งหลายภายนอก จะมีมากน้อยสักเท่าไร แลจะดีมีคุณค่า ให้สำเร็จประโยชน์ ได้ทุกประการก็ตาม หากขาดทรัพย์ภายในเหล่านี้แล้ว ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเท่าไรนัก อนึ่ง ทรัพย์ภายใน ๖ กองนี้ มีแล้วใช้ได้ไม่รู้จักหมดสิ้น ตลอดวันตาย เป็นแก้วสารพัดนึก ให้สำเร็จความปรารถนาได้ทุกสิ่ง เมื่อโดยมิต้องลงทุน หรือหากจะลงทุนบ้างเล็กน้อย แต่ได้ผลล้นค่า เหมือนกับได้ทิพย์สมบัติ ๖ กอง อย่างน่า ภาคภูมิใจด้วย หากใครได้เกิดมาในโลกนี้ ไม่ได้สมบัติ ๖ กองนี้ หรือได้แต่ไม่ครบถ้วน ก็เท่ากับเป็นคนอาภัพในโลกนี้เสียแล้ว สมบัติ ๖ กองนี้เป็นของผู้ที่เกิดมาในกามโลก มีขันธ์ ๕ โดยเฉพาะ อารมณ์ ๕ ที่เกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ บัญญัติธรรมเรียกว่า "กามคุณ ๕" เพราะผู้ที่ได้ประสบอารมณ์ ๕ นี้แล้วชอบใจ ดีใจ ติดใจ เข้าไปฝังแน่นอยู่ในใจ เห็นเป็นคุณทั้งหมด หากจะเห็นโทษของมันอยู่บ้างบางกรณี แต่ก็ยากนักที่เอาโทษนั้นมาลบล้างคุณของมัน ฉะนั้นเหมาะสมแล้วที่เรียกว่า "กามคุณ"

ปุถุชนผู้เยาว์ปัญญาเมื่อได้ประสบอารมณ์ทั้ง ๕ นั้นแล้วจึงหวานฉ่ำ เหมือนแมลงวัน หลงใหลในน้ำผึ้ง ติดทั้งรสทั้งกลิ่น จะบินหนีก็เสียดาย ผลที่สุดคลุกเคล้าเอาตัวไปจม ลอยอยู่ในนั้น กามคุณเป็นหลุมฝังของปุถุชน ผู้เยาว์ปัญญา โดยความสมัครใจ ของแต่ละบุคคล โดยแท้ โลกที่มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ บริบูรณ์ ท่านเรียกว่า "กามโลก" ทุกๆ คน ที่ยังพากัน สร้างบารมีอยู่ จำจะต้องเวียนว่ายมาเกิดในกามโลกนี้จนได้

เพราะกามโลกสมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง จึงทำให้ปุถุชนผู้เยาว์ปัญญา หลงใหลคิดว่า เกิดมาได้รับความสุขพอแล้ว แม้พระพุทธเจ้า หรืออริยเจ้าทั้งหลาย ก่อนที่ท่านจะได้สำเร็จ เป็นพระอริยะ ท่านก็ต้องมาเกิดในกามโลกนี้อันเป็นวิบากผลกรรมของท่านแต่ชาติก่อน

อนึ่ง กามโลกนี้นับว่าเป็นสมรภูมิอย่างดีที่สุด ของท่านผู้จะได้เป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย มรรคปฏิปทา สมถะ-ฌาน-สมาธิ-สมาบัติ-วิปัสสนา อันเป็นหนทางที่จะให้ถึงเป็นพระอริยเจ้า ก็จำเป็นจะต้อง มายืมสถานที่ คือกามโลกนี้ เป็นที่บำเพ็ญเจริญ ให้ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถ้าจะพูดให้สั้นแล้วเรียกว่า ผู้จะพ้นจากกามโลกได้ ก็ต้องมาเกิด หรือมาศึกษาค้นคว้า ในกามโลกนี้ ให้เห็นคุณแลโทษ ชัดแจ้งด้วยปัญญาแยบคาย ด้วยตนเองเสียก่อน จึงจะเรียกว่า รู้แจ้งซึ่งโลกแล้วจึงจะหนีจากโลกนี้ได้โดยชอบธรรม ถึงรูปโลกแลอรูปโลกก็เช่นนั้นเหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


นึกถึงสภาพ พระอรหันต์ติดกาแฟดูซิค่ะ
ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร?....นึกออกไหม? s006

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่เคยเห็น หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่หล้าท่านสูบบุหรี่ บางรูปก็กินหมาก แต่ท่านทั้งสองเป็นอรหันต์หรือไม่ผมไม่สามารถพยากรณ์ได้

แต่เรื่องนี้เคยอ่านเจอว่า พระอรหันต์ยังต้องอาบัติกองใดกองหนึ่งอยู่บ้าง เพราะอรหันต์สาวกนั้นบริสุทธิ์ไม่เท่าตถาคต.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tonnk เขียน:
เท่าที่เคยเห็น หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่หล้าท่านสูบบุหรี่ บางรูปก็กินหมาก แต่ท่านทั้งสองเป็นอรหันต์หรือไม่ผมไม่สามารถพยากรณ์ได้

แต่เรื่องนี้เคยอ่านเจอว่า พระอรหันต์ยังต้องอาบัติกองใดกองหนึ่งอยู่บ้าง เพราะอรหันต์สาวกนั้นบริสุทธิ์ไม่เท่าตถาคต.

??? ??? ???
จิตท่านวิมุติแล้วยังอาบัติอยู่หรือ ???

พระอรหันต์ที่โดนเท่าที่ผมทราบก็คือพระอานนท์ แต่เป็นการโดนย้อนหลัง เพราะตอนที่ทำยังไม่บรรลุอรหันตผล และการปรับอาบัตินั้นก็ช่วยปกป้องปุถุชนจากการกล่าวปรามาสท่านด้วย พระมหากัสสปะท่านเมตตาปุถุชน พระอานนท์ก็รับอาบัตินั้นเพราะเมตตาต่อปุถุชนเช่นกัน ถ้าไม่เมตตาท่านไม่กล่าวปรับท่านไม่รับกันหรอก

บุหรี่ หมาก กาแฟ ทำให้ขาดสติ???
ถ้าอย่างนั้นข้าวก็ทำให้ขาดสติได้เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นว่า ถ้าเสพด้ยความพอใจในรส(จิตเจือด้วยราคะ) กาแฟ หมาก บุหรี่ แม้กระทั่งอาหารก็ถือว่าเป็นความเศร้าหมองแห่งจิตเช่นกัน

แต่ถ้าเป็นเพียงกิริยาอาการแห่งความเคยชิน มีก็ได้ เมื่อไม่มีก็ไม่ทุกข์ไม่เรียกร้องแลเบียดเบียนตนเองแลผู้อื่น ย่อมเป็นจิตที่ผ่องใสเช่นกัน

เรื่องในใจนี้ท่านรู้ของท่าน เราไม่อาจรู้ได้ แต่พระอรหันต์ท่านย่อมเป็นผู้เป็นอยู่ง่าย

ส่วนเรานั้นนับถือพระเพื่อรับธรรมะมาสู่จิตใจ เป็นแสงสว่างเห่งชีวิต เราย่อมรู้ใจตน สำรวจจิตใจตนเอง ให้ผ่องใสด้วยธรรมอยู่เสมอ ดีที่สุดแล :b46:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็รู้อยู่แล้วว่าอะไรที่กินหรือใช้นั้นเกิดประโยชน์หรือไม่เกิดประโยชน์ถ้ายังแยกไม่ออกก็ยังไม่ใช่อริยะถ้าเราเห็นเขาใช้หรือกินเป็นบางครั้งอาจใช้เพื่อเป็นยาแต่ถ้าใช้หรือกินทุกวันนั้นก็เพราะเคยตัวหรือติดอยู่กับสิ่งนั้นเพราะรูป รส กลิ่น เสียง พิจารณากันเอาเองนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 13:38
โพสต์: 376

ชื่อเล่น: ต้น
อายุ: 0
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


din เขียน:
??? ??? ???จิตท่านวิมุติแล้วยังอาบัติอยู่หรือ ???


อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร

ถามว่า พระขีณาสพอื่นๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ.
ตอบว่า ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่ แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ (คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน (กับอนุปสัมบันเป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรมโดยบท พูดเกินกว่า ๕-๖ คำ บอกอาบัติที่เป็นจริง (เป็นต้น). ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=221&p=3

“ข้าแต่พระนาคเสน ความเผลอสติของพระอรหันต์มีอยู่หรือ ?”

“ขอถวายพระพร ไม่มี”

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระอรหันต์ต้องอาบัติบ้างหรือไม่ ?”

“ขอถวายพระพร ต้อง”

“ต้องเพราะวัตถุอะไร ?”

“ขอถวายพระพร ต้องด้วยสำคัญผิดคือเวลาวิกาล เข้าใจว่าเป็นกาลก็มี ห้ามการรับประเคนแล้ว เข้าใจว่าไม่ได้ห้ามก็มี อาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ เข้าใจว่าเป็นเดนภิกษุไข้ก็มี”

“ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยความไม่เอื่อเฟื้อ ๑ ด้วยความไม่รู้ ๑ พระอรหันต์อาบัติด้วยความไม่เอื่อเฟื้อมีอยู่หรือ ?”

“ไม่มีเลย มหาบพิตร”

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระอรหันต์ยังต้องอาบัติอยู่ แต่ความไม่เอื่อเฟื้อย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ ถ้าอย่างนั้นความเผลอสติ ก็มีแก่พระอรหันต์นะซิ”

“ไม่มี มหาบพิตร เป็นแต่พระอรหันต์ยังต้องอาบัติอยู่”

“ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้โยมเข้าใจในข้อนี้ว่า เป็นเพราะอะไร ?”

“ขอถวายพระพร ลักษณะแห่งโทษมีอยู่ ๒ ประการ คือ เป็นโลกวัชชะ ๑ เป็นปัณณัตติวัชชะ ๑  

ที่เป็นโลกวัชชะ (เป็นโทษทางโลก) นั้นได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐  

ที่เป็นปัญญัตติวัชชะ (เป็นโทษทางพระวินัย) นั้น ได้แก่ สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ   ไว้สำหรับพระภิกษุสาวกทั้งหลายอย่าง วิกาลโภชนสิกขาบท   คือการฉันอาหารในเวลาวิกาล เป็นโทษในทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก หรือ การทำให้ภูตคามเคลื่อนที่   คือการตัดต้นไม้ใบหญ้า เป็นต้น เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก การว่ายน้ำเล่น   เป็นโทษทางพระวินัย แต่ไม่เป็นโทษทางโลก

สิ่งที่เป็นโทษทางพระวินัยนี้แหละ เรียกว่า “ปัณณัตติวัชชะ” ส่วนที่เป็นทางโลกนั้น พระอรหันต์ไม่ทำอย่างเด็ดขาด สิ่งที่เป็นโทษทางพระวินัย เมื่อยังไม่รู้ก็ทำ เพราะว่าการรู้สิ่งทั้งปวงไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ทั่วไป สิ่งที่พระอรหันต์ไม่รู้ก็มี เช่น นามและโคตรแห่งสตรีบุรุษ

พระ อรหันต์รู้ได้เฉพาะวิมุตติ คือการหลุดพ้นก็มี พระอรหันต์ขั้นอภิญญา ๖ ก็รู้เฉพาะในวิสัยแห่งตน สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเท่านั้น จึงจะรู้หมด ขอถวายพระพร”

“ถูกต้อง พระนาคเสน”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tonnk เขียน:
อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สังคีติสูตร


รับทราบ rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สุรวุฒิ เขียน:
ถ้ายังเสพติดอะไรบางอย่างอยู่ (เช่นติดกาแฟ) แสดงว่ายังไม่บรรลุอรหันต์หรือเปล่าครับ มีตัวอย่างที่กล่าวถึงในพระไตรปิฏกใหมครับ



ถ้ายังติดในรส ในกลิ่น ของกาแฟ เป็นต้น ก็แสดงว่ายังมีความติดข้อง ยินดีพอใจในกามอยู่ ถ้าเป็นอย่างนี้แม้อนาคามีก็ยังไม่ถึงครับ

แต่เรื่องพวกนี้เราจะดูแต่เพียงภายนอก เพียงแค่รูปไม่ได้หรอกนะครับ แม้ท่านจะบอกว่ากาแฟนี้มีรสอร่อยประณีต แต่จริงๆ ท่านอาจไม่ได้ติดใจหรือยินดีในรสเหล่านั้นเลยก็ได้นะครับ

ขอฝาก พุทธพจน์ จากมิคสาลาสูตร ให้ได้พิจารณากันนะครับ

" เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษ
ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ "

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2012, 23:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:

แต่เรื่องพวกนี้เราจะดูแต่เพียงภายนอก เพียงแค่รูปไม่ได้หรอกนะครับ แม้ท่านจะบอกว่ากาแฟนี้มีรสอร่อยประณีต แต่จริงๆ ท่านอาจไม่ได้ติดใจหรือยินดีในรสเหล่านั้นเลยก็ได้นะครับ
ขอฝาก พุทธพจน์ จากมิคสาลาสูตร ให้ได้พิจารณากันนะครับ

" เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษ
ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ "

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=1


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 107 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร