ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40859
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  เสียงธรรม [ 22 ม.ค. 2012, 18:28 ]
หัวข้อกระทู้:  สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

รูปภาพ


สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ

สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง

ส่วนปัฏฐาน หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น

โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

4.ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

หากเราใช้ชีวิตโดยการนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาใช้ ความผิดพลาดต่างๆย่อมเกิดขึ้นได้ยาก หรือไม่เกิด


ขอเจริญในธรรม :b8:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 23 ม.ค. 2012, 00:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

ครูบาอาจารย์สอนว่า....ต้องรู้ทั้ง 4..ไม่ใช่รู้อันใดอันหนึ่ง

แต่..รู้กาย....แล้ว...เวทนา...จิต..ธรรม..จะรู้ตามมา

ต้องรู้กายก่อน

อาจารย์ว่ามานะ.. :b12:

เจ้าของ:  เสียงธรรม [ 23 ม.ค. 2012, 10:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

กบนอกกะลา เขียน:
ครูบาอาจารย์สอนว่า....ต้องรู้ทั้ง 4..ไม่ใช่รู้อันใดอันหนึ่ง

แต่..รู้กาย....แล้ว...เวทนา...จิต..ธรรม..จะรู้ตามมา

ต้องรู้กายก่อน

อาจารย์ว่ามานะ.. :b12:


เขาถึงได้เรียกว่า สติปัฎฐาน 4 ไง

อนุโมทนาครับ


:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ลูกพระป่า [ 23 ม.ค. 2012, 15:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

อนุโมทนาด้วยครับ :b8:

เจ้าของ:  ฝึกจิต [ 23 ม.ค. 2012, 20:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

กบนอกกะลา เขียน:
ครูบาอาจารย์สอนว่า....ต้องรู้ทั้ง 4..ไม่ใช่รู้อันใดอันหนึ่ง

แต่..รู้กาย....แล้ว...เวทนา...จิต..ธรรม..จะรู้ตามมา

ต้องรู้กายก่อน

อาจารย์ว่ามานะ.. :b12:


สุดยอดเลยท่าน สาธุๆๆ :b8:

เจ้าของ:  asoka [ 24 ม.ค. 2012, 07:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

onion
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของสติปัฏฐานทั้ง 4

การกำหนดให้ปฏิบัติไปทีละฐาน เป็นการปฏิบัติตามตัวหนังสือเป็น บัญญัติ

แต่ที่ปัจจุบันอารมณ์ จะเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐานไปตามธรรมชาติ เป็นปรมัตถ์ เพราะ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นคราใด ถ้ามีสติปัญญาคมกล้าฝึกมาดี จะล้วงลึกและเห็นว่าสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นครบทั้ง 4 ฐานทุกครั้งไป

:b12:

ไฟล์แนป:
GEDC1745_resize.JPG
GEDC1745_resize.JPG [ 70.53 KiB | เปิดดู 5960 ครั้ง ]

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 24 ม.ค. 2012, 11:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

asoka เขียน:
onion
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของสติปัฏฐานทั้ง 4

การกำหนดให้ปฏิบัติไปทีละฐาน เป็นการปฏิบัติตามตัวหนังสือเป็น บัญญัติ

แต่ที่ปัจจุบันอารมณ์ จะเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐานไปตามธรรมชาติ เป็นปรมัตถ์ เพราะ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นคราใด ถ้ามีสติปัญญาคมกล้าฝึกมาดี จะล้วงลึกและเห็นว่าสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นครบทั้ง 4 ฐานทุกครั้งไป

:b12:

ผมมาสนับสนุนที่ว่า สติปัฏฐานจะเกิดครบสี่ฐาน
แต่ผมมีปัญหาครับ คือผมสงสัยว่า ที่พูดๆมาเนี่ย
ให้อธิบายความและยกตัวอย่าง จะทำได้มั้ยครับ :b13:

เจ้าของ:  asoka [ 25 ม.ค. 2012, 21:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
onion
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมของสติปัฏฐานทั้ง 4

การกำหนดให้ปฏิบัติไปทีละฐาน เป็นการปฏิบัติตามตัวหนังสือเป็น บัญญัติ

แต่ที่ปัจจุบันอารมณ์ จะเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐานไปตามธรรมชาติ เป็นปรมัตถ์ เพราะ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นคราใด ถ้ามีสติปัญญาคมกล้าฝึกมาดี จะล้วงลึกและเห็นว่าสติปัฏฐานจะเกิดขึ้นครบทั้ง 4 ฐานทุกครั้งไป

:b12:

ผมมาสนับสนุนที่ว่า สติปัฏฐานจะเกิดครบสี่ฐาน
แต่ผมมีปัญหาครับ คือผมสงสัยว่า ที่พูดๆมาเนี่ย
ให้อธิบายความและยกตัวอย่าง จะทำได้มั้ยครับ :b13:

:b12:
ความร้อนกระทบกาย สติรู้ทันการกระทบ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ความทุกข์ไม่สบายกายเกิดขึ้นเพราะความร้อน สติรู้ทันเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจไม่ชอบยินร้ายต่อความร้อน สติรู้ทัน เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจหงุดหงิดขุ่นมัวเพราะความร้อน สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจอยากหลบไปให้พ้นความร้อน ใจอยากได้พัดลมหรือแอร์มาดับความร้อน สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติที่ถูกอบรมเรื่องสติปัฏฐาน 4 มาแล้ว กำกับใจไม่ให้ยินดียินร้าย เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ปัญญาเฝ้ารู้เฝ้าสังเกตความยินดียินร้าย หรือใจอยากพ้นความร้อนอยู่ สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ขันติ ตบะ อุตสาหะ วิริยะ อิทธิบาท ศรัทธา หนุนสติปัญญาให้อดทนต่อความยินดียินร้ายอยู่ สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ความยินร้ายในความร้อนหรือความอยากจะพ้นร้อนดับไป สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ดังนี้เป็นต้น

:b4: :b1: :b16: :b12:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 26 ม.ค. 2012, 03:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สติปัฏฐาน 4 หลักธรรมของการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท

asoka เขียน:
ความร้อนกระทบกาย สติรู้ทันการกระทบ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ความทุกข์ไม่สบายกายเกิดขึ้นเพราะความร้อน สติรู้ทันเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจไม่ชอบยินร้ายต่อความร้อน สติรู้ทัน เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจหงุดหงิดขุ่นมัวเพราะความร้อน สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ใจอยากหลบไปให้พ้นความร้อน ใจอยากได้พัดลมหรือแอร์มาดับความร้อน สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

:b32: :b32: :b32:
asoka เขียน:
สติที่ถูกอบรมเรื่องสติปัฏฐาน 4 มาแล้ว กำกับใจไม่ให้ยินดียินร้าย เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ปัญญาเฝ้ารู้เฝ้าสังเกตความยินดียินร้าย หรือใจอยากพ้นความร้อนอยู่ สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ขันติ ตบะ อุตสาหะ วิริยะ อิทธิบาท ศรัทธา หนุนสติปัญญาให้อดทนต่อความยินดียินร้ายอยู่ สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ความยินร้ายในความร้อนหรือความอยากจะพ้นร้อนดับไป สติรู้ทัน เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ดังนี้เป็นต้น

:b32: :b32: :b32:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/