วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 14:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2012, 23:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


๑.กิเลส ก็ชื่อหนึ่ง ตัณหาก็ชื่อหนึ่ง สรุปแล้วมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผมรู้แต่ว่า ตัณหามันเป็นเหตุ(สมุทัย) ฉะนั้นการดับตัณหา(นิโรธ)ได้ ผลคือทุกข์ย่อมไม่เกิด แล้วการดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)....

แต่อยากเข้าใจความหมายของศัพท์อ่ะนะ

๒.แล้วก็เรื่อง ปรมัตถธรรม(จิ เจ รุ นิ) กับ โลกุตรธรรม(๔ ๔ ๑) อ่ะครับ ต่างกันไหม อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
กิเลส ก็ชื่อหนึ่ง ตัณหาก็ชื่อหนึ่ง สรุปแล้วมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร


เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะค่ะ
แปลง่ายๆว่า กิเลสคือความโลภ โกรธ และหลง
ส่วนตัณหา คือความทะยานอยากทั้งหลาย

ความโลภ โกรธ หลง ก่อให้เกิดความทะยานอยาก คือตัณหา
หรือบางครั้ง ตัณหา คือความทะยานอยาก ก่อนให้เกิดความโลภ โกรธและหลง

มีกิเลส ก็มักจะมีตัณหา
มีตัณหา ก็มักจะมีกิเลส
เป็นฝาแฝดกัน

ผิดถูกอย่างไร? โปรดพิจารณาค่ะ :b8:


ส่วนข้อสุดท้ายรอท่านผู้รู้มาให้คำแนะนำนะค่ะ :b13:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขันธ์5 มี รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

กิเลส เป็นซับเซ็ต ในสังขารขันธ์
ส่วนตัณหา เป็นซับเซ็ต ใน กิเลส อีกที

หรือพูด อีกนัยหนึ่ง

ในสังขารขันธ์ มีกิเลส ในกิเลส มีตัณหา

แสดงว่า ตัณหา เป็นหน่วยย่อย ของกิเลส และกิเลส เป็นหน่วยย่อยของ สังขารขันธ์อีกที

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
กิเลส ๑๐

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ กิเลสาฯ
ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส

กิลิสฺสติ เอเตหีติ กิเลสาฯ
สัมปยุตตธรรม (คือ จิตและเจตสิก) ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
ชื่อว่า กิเลส

สงฺกิเลเสตีตี สงฺกิเลโส วิพาธติ อุปปาเปติ จาติ อตฺโถ ฯ
ธรรมเหล่าใดย่อมเศร้าหมอง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังกิเลส
เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เร่าร้อน

คำว่า กิเลส หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำให้หมองเศร้า
หรือ เร่าร้อน ฉะนั้น จิต เจตสิก รูป ที่เกิดพร้อมกับกิเลสเหล่านั้น
จึงมีความเศร้าหมองเร่าร้อนไปด้วย เพราะตามธรรมดาจิตใจและกิริยาอาการ
ของบุคคลทั้งหลายนั้น ถ้าไม่ได้เกิดเกี่ยวข้องกับโลภะ โทสะ เป็นต้น แล้ว
บุคคลผู้นั้นจะรู้สึกว่าจิตใจสบาย รูปร่างหน้าตาผ่องใส ไม่มีความ
เดือดร้อนแต่ประการใด เป็นที่สบายตา สบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
แต่ถ้าจิตใจของผู้ใดเกิดขึ้นโดยมีโลภะ โทสะ เป็นต้น เข้าเกี่ยวข้องผูกพัน
ด้วยแล้ว จิตใจของผู้นั้นก็จะมีความเศร้าหมองเดือดร้อน รูปร่างหน้าตา
ไม่ผ่องใสปรากฏขึ้น แล้วแต่กำลังของกิเลสนั้นๆ และย่อมเป็นที่
ไม่สบายตาสบายใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรง
เรียก โลภะ โทสะ เป็นต้น เหล่านี้ว่า กิเลส ดังมีวจนัตถะแสดงว่า

กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา (วา)
กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา
ธรรมชาติใด ย่อมทำให้เร่าร้อน ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า กิเลส หรือ
สัมปยุตตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมองด้วยธรรมชาติใด
ฉะนั้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการเศร้าหมองของสัมปยุตตธรรมนั้น
จึงชื่อว่า กิเลส (ได้แก่ กิเลส ๑๐)

รวมหมายความว่า กิเลสเป็นสภาพธรรม (คือ สภาพตามธรรมชาติ
ก็คือเป็นธรรมชาตินั่นเอง - deedi) ที่เศร้าหมองและเร่าร้อน ซึ่งยังให้สัตว์
ทั้งหลายเศร้าหมองและเร่าร้อน

กิเลส มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) โลภกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะยินดีชอบใจในอารมณ์ ๖
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ
องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิตก ที่ในโลภมูลจิต ๘
(๒) โทสกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ชอบใจในอารมณ์ ๖
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความโกรธความไม่พอใจ
องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
(๓) โมหกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความมัวเมาลุ่มหลง ไม่รู้สึกตัว
ปราศจากสติสัมปชัญญะ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง
คือความหลง ความโง่ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
ที่ใน อกุศลจิต ๑๒
(๔) มานกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความทระนงตนถือตัว
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเย่อหยิ่งถือตัว
องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
(๕) ทิฏฐิกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความเห็นผิดจากเหตุผลตามความเป็นจริง
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความเห็นผิด
องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
(๖) วิจิกิจฉากิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะความสงสัยลังเลใจในพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความสงสัยลังเลใจ
ในสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑
(๗) ถีนกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอยจากความเพียร
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความหดหู่
องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอุกศลสสังขาริกจิต ๕
(๘) อุทธัจจกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะเกิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความฟุ้งซ่าน
องค์ธรรมได้แก่ องค์ธรรมได้แก่อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
(๙) อหิริกกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่ละอายในการกระทำบาป
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่ละอายต่อทุจริต
องค์ธรรมได้แก่ อหิริกเจตสิก ที่ในอุกศลจิต ๑๒
(๑๐) อโนตตัปปกิเลส
เศร้าหมองและเร่าร้อนเพราะไม่เกรงกลัวผลของการกระทำบาป
ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต
องค์ธรรมได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

รวมกิเลสมี ๑๐ องค์ธรรมก็คงมี ๑๐ เท่ากัน ชื่อของกิเลสและชื่อของ
องค์ธรรมก็ตรงกัน

โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิและวิจิกิจฉา
อนาคามิมัคค ประหาร โทสะ
อรหัตตมัคค ประหาร กิเลสที่เหลือ คือ โลภะ โมหะ
มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และ อโนตตัปปะ ได้ทั้งหมด

กิเลสโดยพิสดาร ๑๕๐๐
อารมณ์ที่เป็นเหตุให้กิเลส ๑๐ เกิดขึ้นได้นั้น มี ๑๕๐ คือ
นามเตปัญญาสะ คือ นามธรรม ๕๓ (จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒- deedi)
นิปผันนรูป ๑๘ ลักขณรูป ๔ รวมเป็น ๗๕
ใน อัชฌัตตสันดาน คือ ภายในตัวเรา มี ๗๕
ใน พหิทธสันดาน/b] คือ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่ภายนอกตัวเรา
มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐ อารมณ์ ๑๕๐ x กิเลส ๑๐ คงเป็นกิเลส ๑,๕๐๐

อีกนัยหนึ่ง จำแนกกิเลสออกตามอาการของกิเลส
ก็จำแนกได้ ๓ พวกคือ
(๑)
อนุสยกิเลส
ได้แก่กิเลสที่ตามนอนเนื่องอยู่ในสันดาน หมายความว่า
กิเลสจำพวกนี้นอนสงบนิ่งอยู่ ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ได้ และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
(๒)
ปริยุฏฐานกิเลส
ได้แก่กิเลสที่เกิดอยู่ภายใน หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ใน
มโนทวารเท่านั้น คือ ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์อยู่ในใจ ยังไม่ถึงกับ
แสดงออกมาทางวาจาหรือทางกาย ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางที
ก็รู้บางทีก็ไม่รู้
(๓)
วีติกกมกิเลส
ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นภายนอก หมายความว่า กิเลสจำพวกนี้ได้ล่วง
ออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร อันเป็นการลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์
อย่างโจ่งแจ้ง

อุปกิเลส ๑๖

เครื่องเศร้าหมองอีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส
มีจำนวน ๑๖ คือ
(๑) อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมคือ โลภะ
(๒) โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย องค์ธรรมคือ โทสะ
(๓) โกธะ โกรธ เดือดดาล องค์ธรรมคือ โทสะ
(๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ องค์ธรรมคือ โทสะ
(๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรมคือ ทิฏฐิ
(๖) ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
(๗) อิสสา ริษยา องค์ธรรมคือ อิสสา
(๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ องค์ธรรมคือ มัจฉริยะ
(๙) มายา มารยา เจ้าเล่ห์ องค์ธรรมคือ โลภะ
(๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๒) สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๓) มานะ ถือตัว องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๔) อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรมคือ มานะ
(๑๕) มทะ มัวเมา องค์ธรรมคือ โมหะ
(๑๖) ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรมคือ โมหะ

จาก
คู่มือการศึกษา สมุจจยสังคหวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร)
และ
ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และ ปริจเฉทที่ ๗
หลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท
รจนาโดย พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
+ + + + + + + + + + + + + + +

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1747_resize.JPG
GEDC1747_resize.JPG [ 74.99 KiB | เปิดดู 3875 ครั้ง ]
:b8:
อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับคุณgovit2552ที่ยกเรื่องกิเลสทั้งหลายมาแสดง
:b20:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง
ตัณหา คือ ความอยาก
อุปทาน คือ การยึดมั่นเพื่อตอบสนองตัณหา

กิเลส เกิดจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา ความไม่รู้ คือ ไม่รู้ความจริงของจักรวาลตามกฎไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2012, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
๑.กิเลส ก็ชื่อหนึ่ง ตัณหาก็ชื่อหนึ่ง สรุปแล้วมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผมรู้แต่ว่า ตัณหามันเป็นเหตุ(สมุทัย) ฉะนั้นการดับตัณหา(นิโรธ)ได้ ผลคือทุกข์ย่อมไม่เกิด แล้วการดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)....

แต่อยากเข้าใจความหมายของศัพท์อ่ะนะ

๒.แล้วก็เรื่อง ปรมัตถธรรม(จิ เจ รุ นิ) กับ โลกุตรธรรม(๔ ๔ ๑) อ่ะครับ ต่างกันไหม อย่างไร

สวัสดีครับน้องปัตติปิตา :b8:
**ผมขอตอบคำถามแรกว่า กิเลสกับตัณหานั้นเหมือนกันตรงที่เกิดจากอวิชชาเหมือนกัน ตัณหาต่างจากกิเลสตรงที่ ตัณหา(ความกำหนัด)นั้นเป็นเรื่องที่เจาะจงลงในกามราคะ รูปราคะ อรูปราคะ แต่กิเลสจะเป็นแบบรวมๆมากกว่า นี่เป็นส่วนในความเข้าใจของผมนะครับ
**ส่วนข้อสองในเรื่องปรมัตถ์นั้นให้หาคำตอบจากการปฏิบัติเอาเองดีกว่านะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
๑.กิเลส ก็ชื่อหนึ่ง ตัณหาก็ชื่อหนึ่ง สรุปแล้วมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผมรู้แต่ว่า ตัณหามันเป็นเหตุ(สมุทัย) ฉะนั้นการดับตัณหา(นิโรธ)ได้ ผลคือทุกข์ย่อมไม่เกิด แล้วการดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)....

แต่อยากเข้าใจความหมายของศัพท์อ่ะนะ

๒.แล้วก็เรื่อง ปรมัตถธรรม(จิ เจ รุ นิ) กับ โลกุตรธรรม(๔ ๔ ๑) อ่ะครับ ต่างกันไหม อย่างไร



สวัสดีครับ

ตัณหา เป็นโลภะ เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ผู้ที่จะละตัณหาได้เด็ดขาด ไม่เหลือเลย ก็คือพระอรหันต์ครับ

อ้างคำพูด:
ผมรู้แต่ว่า ตัณหามันเป็นเหตุ(สมุทัย) ฉะนั้นการดับตัณหา(นิโรธ)ได้ ผลคือทุกข์ย่อมไม่เกิด แล้วการดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)...

แต่อยากเข้าใจความหมายของศัพท์อ่ะนะ


ทุกข์ (ทนได้ยาก)
สมุทัย (เหตุเกิด , เหตุให้เกิด )
นิโรธ (ความดับ)
มรรค (ทาง)

อ้างคำพูด:
การดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)
ประโยคนี้ดูแปลก ๆ ครับ


อริยสัจ ๔ โดยย่อ
http://www.84000.org/true/524.html

จิ เจ รุ นิ ตัวย่อย่อของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

โลกุตตรธรรม เป็นไฉน?
มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าโลกุตตรธรรม.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2012, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)
ประโยคนี้ดูแปลก ๆ ครับ



ใช่ครับ ตามความคิดผมนะ การถอนอุปปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น ทำได้ด้วยการเจริญวิปัสสนา จนกระมั่ง เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นความเกิดดับของรูปนาม เห็นว่ามันไม่เที่ยง เมื่อนั้นความยึดมั่นก็จะคลายลง จึงสรุปว่า วิปัสสนาถอนอุปปาทาน ซึ่ง วิปัสสนาก็คือ เจริญสติ สติก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมาจาก มรรค๘ประการ (เรื่องย่อมรรคเป็นสติ เอามาจากท่านเจ้าคุณโชดกครับ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 08:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
การดับตัณหาต้องดับที่ต้นเหง้าเลยครับคือดับที่อวิชชาความไม่รู้
เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด
เห็นผิดคือเห็นว่ากายใจนี้เป็นอัตตาตัวกูของกูหรือสักกายทิฐิ
ตามวงปฏิจจสมุปบาทเราไม่ค่อยพูดกันถึงความดับหรือนิโรโธ
นิโรธะธรรมนั้นเริ่มต้นจาก อวิชชานิโรธา สังขารา นิโรโธ ความไม่รู้หรือความเห็นผิดดับก่อนแล้วความปรุงว่าเป็นอะไรต่อมิอะไรดับตาม ธรรมที่เหลืออีก 10 อย่างก็ดับตามกันไปเป็นเหมือนโดมิโน่

ดังเราจะสังเกตได้ว่า ความสำเร็จระดับที่ 1 ของผู้เจริญมรรค 8 คือ สักกายทิฐิตายขาดจากใจ
มรรคที่ 1 หรือโสดาปัตติมรรคมิได้ไปทำลายสมุทัยคือตัณหาโดยตรงเลย ใช่หรือไม่เอ่ย ลองพากันสังเกตพิจารณา
:
b8:
:b27:
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2012, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
อ้างคำพูด:
การดับตัณหาต้องมาจากการถอนอุปปาทาน(มรรค)
ประโยคนี้ดูแปลก ๆ ครับ



ใช่ครับ ตามความคิดผมนะ การถอนอุปปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น ทำได้ด้วยการเจริญวิปัสสนา จนกระมั่ง เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นความเกิดดับของรูปนาม เห็นว่ามันไม่เที่ยง เมื่อนั้นความยึดมั่นก็จะคลายลง จึงสรุปว่า วิปัสสนาถอนอุปปาทาน ซึ่ง วิปัสสนาก็คือ เจริญสติ สติก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมาจาก มรรค๘ประการ (เรื่องย่อมรรคเป็นสติ เอามาจากท่านเจ้าคุณโชดกครับ)


ผมไม่ค่อยได้ฟังท่านเจ้าคุณโชดกเทศน์มากนักครับ ถ้าจำไม่ผิดได้รู้มาว่า ท่านสอนการเจริญวิปัสสนาแบบพม่า ยุบหนอ-พองหนอ ได้ยินว่าท่านเป็นพระที่ทรงปริยัติรูปหนึ่ง

สติปัฏฐาน การมีสติเข้าไปตั้งอยู่ รู้เห็นเนืองๆ ซึ่งกาย เวทนา จิต ธรรม ตามที่เป็นจริง เป็นไปเพื่อการถ่ายถอนอุปาทานแน่นอนครับ

ผู้ปรารภสติปัฏฐานถูก ก็ชื่อว่าปรารภอริยมรรคมีองค์ ๘ ถูกตามไปด้วย ซึ่งสติปัฏฐานนี้ ไม่มีในศาสนาอื่นมีแต่ใน พุทธศาสนาเท่านั้นครับ

พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยขันธ์ ๓ คือ
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์
ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์
ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.

ส่วนเรื่องสมถะ วิปัสสนา นั้นก็เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ
ซึ่งถ้าว่ากันตามจริงก็นับเนื่องในสังขารขันธ์ ปรุงแต่งจิตให้เป็นไป

สมถะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
วิปัสสนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
สมถะและวิปัสสนาเป็นมรรคเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นมรรคเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ดังนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 110 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร