ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40815
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ธงชาติ [ 19 ม.ค. 2012, 10:54 ]
หัวข้อกระทู้:  พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขอท่านผู้รู้ให้ความหมายด้วยครับ :b8:

เจ้าของ:  tonnk [ 19 ม.ค. 2012, 11:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

การชี้แจงเรื่องพระพุทธะ

บัดนี้ คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะชี้แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึงสรณะ และเรื่องบุคคลผู้ถึงสรณะ ในคำนั้นสัตว์พิเศษ ชื่อว่า พุทธะ เพราะบัญญัติอาศัยขันธสันดานที่ถูกอบรมด้วยการบรรลุอนุตตรวิโมกข์ ซึ่งเป็นนิมิตแห่งพระญาณอันอะไรๆ ขัดขวางมิได้ หรือเพราะบัญญัติอาศัยการตรัสรู้เองยิ่งซึ่งสัจจะ อันเป็นปทัฎฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด เป็นพระสยัมภูเป็นเอง ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ยิ่งพร้อมด้วยพระองค์เอง ซึ่งสัจจะทั้งหลาย ในธรรมทั้งหลายที่มิได้ทรงฟังมาก่อน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณในธรรมเหล่านั้น และความเป็นผู้เชี่ยวชาญในพละทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า พุทธะ.
การชี้แจงเรื่องพระพุทธะโดยอรรถะเท่านี้ก่อน.
แต่เมื่อว่าโดยพยัญชนะ พึงทราบโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ชื่อว่าพุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ตรัสรู้
ชื่อว่าพุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ปลุกให้ตื่น
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในบทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่าอะไร.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ทุกอย่าง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงเห็นทุกอย่าง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้
ชื่อว่า พุทธะ เพราะบานแล้ว
ชื่อว่า พุทธะ เพราะนับกันว่าเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะนับกันว่า เป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นราคะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโทสะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโมหะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ไร้กิเลสสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงดำเนินเอกายนมรรค.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ยิ่งเองซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิลำพังพระองค์เดียว.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงได้ความรู้ เหตุทรงกำจัดความไม่รู้ได้แล้ว.
พระนามว่า พุทธะ นี้ มิใช่พระชนนีตั้ง มิใช่พระชนกตั้ง มิใช่พระเชษฐภาดาตั้ง มิใช่พระเชษฐภคินีตั้ง มิใช่มิตรอมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง พระนามนี้ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มีตอนท้ายแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส บัญญัติคือพุทธะ ทรงทำให้แจ้งพร้อมกับทรงได้พระสัพพัญญุตญาณ.
ในบทว่า พุทธะ นั้น ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เหมือนผู้ที่ลงมาในโลก [อวตาร] ก็เรียกว่า ผู้ลงมา [อวตาร]. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น เหมือนลมที่ทำใบไม้ให้แห้ง ก็เรียกว่าใบไม้แห้ง.
บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ที่สามารถรู้ได้ทุกอย่าง. บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ ที่สามารถรู้ธรรมได้ทุกอย่าง. บทว่า อนญฺญเญยฺยตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เอง มิใช่ผู้อื่นทำให้ตรัสรู้. บทว่า วิกสิตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงบาน เหตุบานด้วยพระคุณนานาประการเหมือนดอกปทุมบาน.
ด้วยบทอย่างนี้เป็นต้นว่า ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงตื่นแล้ว เหตุสิ้นกิเลสดุจความหลับทุกอย่าง เหมือนบุรุษตื่นเพราะสิ้นความหลับ เพราะทรงละธรรมอันทำความหดหู่แห่งจิตได้.
ท่านกล่าวว่า เอกายนมคฺคํ คโตติ พุทฺโธ ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า พุทธะ ก็เพราะทรงดำเนินเอกายนมรรค เหมือนบุรุษแม้เดินทาง เขาก็เรียกว่าผู้เดินไป เพราะปริยาย (ทาง) แห่งอรรถว่าไปสู่ทางตรัสรู้.
บทว่า เอโก อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ ไม่ใช่เพราะตรัสรู้โดยคนอื่น ที่แท้ ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิ อันยอดเยี่ยมด้วยพระองค์เองเท่านั้น. คำนี้ว่า อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฎิลาภา พุทฺโธ เป็นคำแสดงปริยายว่า พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ. ในคำนั้น พึงทราบอรรถ ที่สามารถทำ พุทธะ ศัพท์ของบททุกบทให้สำเร็จความ โดยนัยอย่างนี้ว่า ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า พุทธะ เพราะทรงประกอบด้วยพระคุณ คือพุทธิความรู้เหมือนที่เรียกกันว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง ก็เพราะประกอบด้วยสีเขียว สีแดง ต่อแต่นั้น คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า พุทฺโธติ เนตํ นามํ ท่านกล่าวไว้ก็เพื่อให้รู้ว่า บัญญัตินี้ ดำเนินไปตามอรรถะ คือเนื้อความ.
การชี้แจงเรื่องพุทธะแม้โดยพยัญชนะ มีดังกล่าวมานี้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=1

เจ้าของ:  ชิดชัย [ 26 ม.ค. 2012, 09:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ธงชาติ เขียน:
พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขอท่านผู้รู้ให้ความหมายด้วยครับ :b8:

พุทโธ ผู้รู้ รู้แจ้งและเข้าใจไตรลักษณ์
พุทโธ ผู้ตื่น ตื่นจากความหลง ความยึดมั่นถือมั่น อวิชชา
พุทโธ ผู้เบิกบาน เมื่อรู้แจ้งไตรลักษณ์ ไม่หลงในอวิชชา ย่อมเป็นผู้เบิกบาน ผ่องใส


onion

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 27 ม.ค. 2012, 03:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

tonnk เขียน:
การชี้แจงเรื่องพระพุทธะ

บัดนี้ คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะชี้แจงเรื่องพระพุทธะ เรื่องการถึงสรณะ และเรื่องบุคคลผู้ถึงสรณะ ในคำนั้นสัตว์พิเศษ ชื่อว่า พุทธะ เพราะบัญญัติอาศัยขันธสันดานที่ถูกอบรมด้วยการบรรลุอนุตตรวิโมกข์ ซึ่งเป็นนิมิตแห่งพระญาณอันอะไรๆ ขัดขวางมิได้ หรือเพราะบัญญัติอาศัยการตรัสรู้เองยิ่งซึ่งสัจจะ อันเป็นปทัฎฐานแห่งพระสัพพัญญุตญาณ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด เป็นพระสยัมภูเป็นเอง ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ยิ่งพร้อมด้วยพระองค์เอง ซึ่งสัจจะทั้งหลาย ในธรรมทั้งหลายที่มิได้ทรงฟังมาก่อน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณในธรรมเหล่านั้น และความเป็นผู้เชี่ยวชาญในพละทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า พุทธะ.
การชี้แจงเรื่องพระพุทธะโดยอรรถะเท่านี้ก่อน.
แต่เมื่อว่าโดยพยัญชนะ พึงทราบโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ชื่อว่าพุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ตรัสรู้
ชื่อว่าพุทธะ เพราะทรงเป็นผู้ปลุกให้ตื่น
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในบทว่า พุทฺโธ ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่าอะไร.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงรู้ทุกอย่าง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงเห็นทุกอย่าง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เองไม่ใช่ผู้อื่นทำให้รู้
ชื่อว่า พุทธะ เพราะบานแล้ว
ชื่อว่า พุทธะ เพราะนับกันว่าเป็นผู้สิ้นกิเลสแล้ว.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะนับกันว่า เป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นราคะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโทสะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า สิ้นโมหะสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ไร้กิเลสสิ้นเชิง.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงดำเนินเอกายนมรรค.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ยิ่งเองซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิลำพังพระองค์เดียว.
ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงได้ความรู้ เหตุทรงกำจัดความไม่รู้ได้แล้ว.
พระนามว่า พุทธะ นี้ มิใช่พระชนนีตั้ง มิใช่พระชนกตั้ง มิใช่พระเชษฐภาดาตั้ง มิใช่พระเชษฐภคินีตั้ง มิใช่มิตรอมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติสาโลหิตตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง พระนามนี้ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มีตอนท้ายแห่งความหลุดพ้นจากกิเลส บัญญัติคือพุทธะ ทรงทำให้แจ้งพร้อมกับทรงได้พระสัพพัญญุตญาณ.
ในบทว่า พุทธะ นั้น ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย เหมือนผู้ที่ลงมาในโลก [อวตาร] ก็เรียกว่า ผู้ลงมา [อวตาร]. ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ทรงปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น เหมือนลมที่ทำใบไม้ให้แห้ง ก็เรียกว่าใบไม้แห้ง.
บทว่า สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ที่สามารถรู้ได้ทุกอย่าง. บทว่า สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะความรู้ ที่สามารถรู้ธรรมได้ทุกอย่าง. บทว่า อนญฺญเญยฺยตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้เอง มิใช่ผู้อื่นทำให้ตรัสรู้. บทว่า วิกสิตาย พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงบาน เหตุบานด้วยพระคุณนานาประการเหมือนดอกปทุมบาน.
ด้วยบทอย่างนี้เป็นต้นว่า ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงตื่นแล้ว เหตุสิ้นกิเลสดุจความหลับทุกอย่าง เหมือนบุรุษตื่นเพราะสิ้นความหลับ เพราะทรงละธรรมอันทำความหดหู่แห่งจิตได้.
ท่านกล่าวว่า เอกายนมคฺคํ คโตติ พุทฺโธ ดังนี้ ก็เพื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า พุทธะ ก็เพราะทรงดำเนินเอกายนมรรค เหมือนบุรุษแม้เดินทาง เขาก็เรียกว่าผู้เดินไป เพราะปริยาย (ทาง) แห่งอรรถว่าไปสู่ทางตรัสรู้.
บทว่า เอโก อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ พุทฺโธ ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ ไม่ใช่เพราะตรัสรู้โดยคนอื่น ที่แท้ ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิ อันยอดเยี่ยมด้วยพระองค์เองเท่านั้น. คำนี้ว่า อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฎิลาภา พุทฺโธ เป็นคำแสดงปริยายว่า พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ. ในคำนั้น พึงทราบอรรถ ที่สามารถทำ พุทธะ ศัพท์ของบททุกบทให้สำเร็จความ โดยนัยอย่างนี้ว่า ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า พุทธะ เพราะทรงประกอบด้วยพระคุณ คือพุทธิความรู้เหมือนที่เรียกกันว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง ก็เพราะประกอบด้วยสีเขียว สีแดง ต่อแต่นั้น คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า พุทฺโธติ เนตํ นามํ ท่านกล่าวไว้ก็เพื่อให้รู้ว่า บัญญัตินี้ ดำเนินไปตามอรรถะ คือเนื้อความ.
การชี้แจงเรื่องพุทธะแม้โดยพยัญชนะ มีดังกล่าวมานี้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=1


อนุโมทนาครับ

ขออธิบายตามความเข้าใจ

พุทโธ ชื่อว่า ผู้รู้ เพราะ รู้แจ้งสัจจะทั้งมวล
พุทโธ ชื่อว่า ผู้ตื่น เพราะ ตื่นจากความหลับ คือ กิเลส ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
พุทโธ ชื่อว่า ผู้เบิกบาน เพราะ หลุดพ้น ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง จึงเบิกบาน

เจ้าของ:  ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 27 ม.ค. 2012, 17:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พุทธะ แปลว่า ผู้รู้
รวมกับคำว่า เจ้า
คือ เจ้าผู้รู้
รู้อะไร คือ รู้ความจริงของธรรมชาติตามกฎไตรลักษณ์

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 28 ม.ค. 2012, 07:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

เคยมีผู้รู้ให้นิยามคำนี้ไว้ ดูก็เข้าถ้าดีเหมือนครับ
พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไว้ทั้งสามคำ
ผู้รู้ คือให้นับตั้งแต่ โสดาปัตติมรรคถึงอรหันตผล ของพระพุทธองค์นั้นเอง
ผู้ตื่น คือให้นับตั้งแต่ พระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆจนไปถึงได้แสดงธรรมแก่ปัจจวัคคีย์
ผู้เบิกบาน คือให้ตั้งแต่ อัญญาโกญฑัญญดวงตาเห็นธรรมไปจนถึงปรินิพพาน
จึงเรียกว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ดูๆก็เหมาะสมทั้งสามคำดีครับ

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 28 ม.ค. 2012, 16:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พระท่านชอบสวดอิติปิโส108 ฆราวาสบางกลุ่มชอบสวดอิติปิเท่าอายุเลย1 ที่เป็นเช่นนี้ ในบทสวดอิติปิโส หรือบทพุทธคุณ ทั้งบทหรือห้องเดียวนี้ เป็นนิยามและความหมายของคำว่าพุทโธ บทพุทธุคณหรืออิติปิโส ย่อให้สั้นได้คำเดียวที่กินใจ คือ พุท โธ และเป็นคำบริกรรมของพระสายวัดป่า และคนที่ปฏิบัติตามหลักอานาปานสติ เพื่อให้จิตก้าวข้ามด้วยสมาธิ ถึงสมถะ และเจริญปัญญาไปวิปัสสนา

ฉะนั้น ผ้ที่ภาวนาพุทโธ หรือสวดอิติโส เปนประจำ ย่อมเข้าถึงสมถะ ได้ง่าย เพราะหมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบาน ตามที่หลายคนเข้าใจ :b39:

เจ้าของ:  สุดปลายฟ้า [ 29 ม.ค. 2012, 15:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

:b8: :b8: :b8:

ไฟล์แนป:
ไหว้พระสงบ.jpg
ไหว้พระสงบ.jpg [ 15.33 KiB | เปิดดู 5251 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ธงชาติ [ 03 ก.พ. 2012, 18:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ขอโมทนาทุกคำตอบครับ :b4: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/