ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝึก กสิณ สำเร็จ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40514
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 20 ธ.ค. 2011, 19:53 ]
หัวข้อกระทู้:  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฝึก กสิณ สำเร็จ

"เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกกสิณ สำเร็จ"
ข้าพเจ้าได้เข้าไปในเวบธรรมเวบหนึ่ง ไปพบคำถาม และมีคำตอบอย่างมากมายหลากหลายชนิด ในเรื่องของ "กสิณ"
ความอยากรู้ของมนุษย์นั้น บางครั้ง ก็ไม่ได้อยากรู้ให้เป็นไปตามหลักความจริง ผู้ที่รู้ก็รู้แบบ บิดเบือนหลักธรรมคำสอน บิดเบือนหลักปฏิบัติ ในทางพุทธศาสนา แถมยังเที่ยวแอบอ้างว่า ต้องฝึกอย่างนั้น แล้วจะได้อย่างนี้ ฝึกอย่างนี้แล้วจะได้อย่างนั้น ในเรื่องของกสิณก็เช่นกัน บิดเบือนหลักปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน แบบ กสิณ ไปในทางที่ว่าถ้าฝึกแล้วจะได้อภิญญาบ้าง จะมีพลังจิตบ้าง เพ้อเจ้อ กันไม่มีหยุด ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอ ยืมหัวข้อ "เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ฝึกกสิณ สำเร็จ" มาเขียนอรรถาธิบาย แบบให้เป็นไปตามหลักความจริง และมีคำตอบสำหรับ "คำถาม"ที่ได้กล่าวไปข้างต้น
กสิณ หมายถึง การใช้วัตถุอันจูงใจ หรือใช้วัตถุเป็นเครื่องจูงใจเข้าไปผูกอยู่ หรือจูงให้ใจของบุคคลนั้นๆเข้าไปจดจ่อหรือฝักใฝ่ในวัตถุนั้นๆ ด้วยการเพ่ง หรือมอง หรือกำหนด เพื่อให้เกิดสมาธิ
หากจะกล่าวถึงชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) แล้วละก้อ กสิณ ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั้งหลายที่ประพฤติกระทำอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่เป็นนิจ ดังนั้นในทางพุทธศาสนา จึงได้นำเอาหลักธรรมชาติที่เรียกว่า กสิณนี้มาใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิ อันเป็นการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้วในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วๆไป ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวถึง กสิณ ว่ามีกี่อย่าง ซึ่งหลายๆท่านที่ฝึกศึกษาในด้านธรรมะแห่งพุทธศาสนาก็คงรู้กันอยู่บ้างแล้ว
กสิณ หรือ การใช้วัตถุเป็นเครื่องจูงใจเข้าไปผูกอยู่ ด้วยการเพ่ง ด้วยการมอง ด้วยการระลึกนึกถึง เพื่อให้เกิดสมาธินี้ มนุษย์ ทุกคนทำได้ และทำได้ดีกันแทบทุกคน ยกเว้นผู้ที่มีร่างกายไม่ค่อยจะปกติ เช่น สมาธิสั้น เอ๋อ หรือ อื่นๆ อีกหลากหลาย ในชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น ย่อมล้วนต้องทำงาน ประกอบอาชีพต่างๆ ประกอบการงานต่างๆ ซึ่งก็ล้วนเป็นกสิณในหลากหลายชนิดดังที่ปรากฎอยู่ในพุทธศาสนา บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมการปฏิบัติ "กสิณ"จึงมีอยู่พุทธศาสนา ทั้งๆที่เป็นธรรมชาติในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ในสมัยโบราณ การทำงาน การประกอบอาชีพ การประกอบการงานต่างๆ ยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการทำไร่,ทำนา,ทำสวน หรือค้าขายแลกเปลี่ยน หรือประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ทำจากไม้นานาชนิด กสิณ ที่มีในพุทธศาสนา จึงได้รวมเอาวิถีชีวิตประจำวันของคนในสมัยนั้น มาใช้เพื่อเป็นการฝึกให้เกิดสมาธิ ตามความชอบ ตามความถนัด อันเป็นพื้นฐานของการฝึกปฏิบัติธรรมชั้นต่อไป
ดังนั้น ผู้ที่ฝึกกสิณ จะรู้ได้ว่าสำเร็จ กสิณ หรือไม่ ก็ไห้ดูที่ตัวเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นผู้ที่ขณะประกอบการงาน ขณะประกอบอาชีพ หรือทำงานใดใด ฝักใฝ่กับการประกอบการงาน ประกอบอาชีพ หรือทำงานนั้นๆ โดยไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ถือได้ว่า สำเร็จกสิณ ในชั้นหนึ่งแล้ว

หากเป็นผู้ที่ปฏิบัติ กสิณ ในทางพุทธศาสนา จะรู้ได้ว่าสำเร็จ กสิณ ก็เมื่อ บุคคลผู้นั้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารณ์ ไม่มีปีติ ไม่มีสุข มีแต่สมาธิ ใจจดจ่อ ฝ้กใฝ่ อยู่กับ วัตถุ อันจูงใจเหล่านั้น และที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คือวิธีที่จะวัดว่าให้รู้ว่า ฝึก "กสิณ สำเร็จหรือไม่"


เขียนเมื่อ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔
จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/