ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40288 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 |
เจ้าของ: | ภูเขาทะเลท้องฟ้า [ 01 ธ.ค. 2011, 14:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 01 ธ.ค. 2011, 15:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ภูเขาทะเลท้องฟ้า เขียน: tongue ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การกระทำ และการพูด คือสิ่งที่แสดงออกมาจากการคิด (สังขาร) การคิดเป็นการประมวลผล ทำให้เกิดเวทนา คือ ความพอใจ ไม่พอใจ เราต้องไปหาต้นตอของการเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ว่ามันเกิดได้อย่างไร ก็คือ เกิดจากการสะสมอกุศลในความจำทุกวินาที เราจะทำอะไรได้ จะพูดอะไรได้ตามที่เราสะสมในความจำเท่านั้น เราจะทำดีก็เพราะเราสะสมกุศลในความจำ เราจะทำชั่วก็เพราะเราสะสมอกุศลในความจำ เราสั่งตนเองให้คิดดี คิดชั่วไม่ได้ อันนี้เป็นการหาเหตุที่เราทำความชั่ว แก้เหตุของการทำชั่ว คือ ต้องเปลี่ยนที่สัญญาให้เป็นกุศล เราก็จะคิดกุศล เมื่อคิดกุศล เราก็จะพูดจะทำแต่สิ่งกุศล แล้วจะแก้ยังไงก็คือแก้โดยการวิปัสสนาภาวนา |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 01 ธ.ค. 2011, 17:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ผมไม่รู้จักตนเองหรอกครับ นี่ไม่ใช่ผม ไม่ใช่ตัวตนของผม เกิดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายผมต้องแก่ ผมต้องเจ็บ ผมต้องตาย สรรพสิ่งในโลกนี้เหมือนกันหมดแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต สุดท้ายก็ต้องชำรุด เสื่อม ไม่คงทนถาวร ไม่ยั่งยืน ทั้งเงินทอง ลาภ ยศ เกียรติศักดิ์ เราจะยึดมั่นถือมั่นมันทำไม มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ หรือ ธรรมะ |
เจ้าของ: | ภูเขาทะเลท้องฟ้า [ 01 ธ.ค. 2011, 20:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ผมไม่รู้จักตนเองหรอกครับ นี่ไม่ใช่ผม ไม่ใช่ตัวตนของผม เกิดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายผมต้องแก่ ผมต้องเจ็บ ผมต้องตาย สรรพสิ่งในโลกนี้เหมือนกันหมดแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต สุดท้ายก็ต้องชำรุด เสื่อม ไม่คงทนถาวร ไม่ยั่งยืน ทั้งเงินทอง ลาภ ยศ เกียรติศักดิ์ เราจะยึดมั่นถือมั่นมันทำไม มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ หรือ ธรรมะ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 01 ธ.ค. 2011, 23:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ภูเขาทะเลท้องฟ้า เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ผมไม่รู้จักตนเองหรอกครับ นี่ไม่ใช่ผม ไม่ใช่ตัวตนของผม เกิดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายผมต้องแก่ ผมต้องเจ็บ ผมต้องตาย สรรพสิ่งในโลกนี้เหมือนกันหมดแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต สุดท้ายก็ต้องชำรุด เสื่อม ไม่คงทนถาวร ไม่ยั่งยืน ทั้งเงินทอง ลาภ ยศ เกียรติศักดิ์ เราจะยึดมั่นถือมั่นมันทำไม มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ หรือ ธรรมะ ![]() ![]() ![]() ![]() พระพุทธองค์สอนให้มนุษย์ดับต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง คือดับความพอใจ ไม่พอใจ ของตน นี่คือเหตุที่ตามมาของทุกข์ทั้งปวงของมนุษย์ เราต้องมีปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ที่ตามมาของมนุษย์ก่อน ที่เราเกิดทุกข์ก็เพราะความไม่รู้ เพราะความเชื่อของเรา ไปหลงกับสิ่งนั้น หลงตัวเรา หลงสิ่งที่มากระทบตัวเรา เราต้องใช้ปัญญาเพื่อมาดับเหตุแห่งทุกข์ เราก็จะรู้ว่าสิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก(นี่เรียกว่าเรามีปัญญา) เราก็จะไม่ทำผิดเอง การให้ทาน การทำดี ถือศีล สงเคราะห์ผู้อื่น ความสงบ สมาธิ ความตั้งมั่น คือ ผลที่ได้จากการหยุดความพอใจ ไม่พอใจนั้นเอง การหยุดความพอใจ (โลภ) และ ความไม่พอใจ (โกรธ) และความ (หลง) คือบุญสูงสุดแล้ว การทำดีคือผลจากการมีปัญญาเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมคิดชอบ เมื่อคิดชอบย่อมพูดชอบ และทำชอบ(ทำดี) แล้วเราจะหยุดความพอใจ ไม่พอใจ ได้อย่างไร ก็คือ การวิปัสสนา ฆ่าตัวตนของเรา (พิจารณจากาขันธ์ 5) ฆ่าสิ่งที่มากระทบตัวเรา (พิจารณาอินทรีย์ 6) ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ สุดท้ายแตกสลายหายไป ไม่มีตัวตน ยกตัวอย่าง เมื่อเราเห็นข้าว พิจารณาข้าวไม่เที่ยง กินข้าวไปแล้วเคี้ยวข้าว สุดท้ายข้าวแตกสลายลงท้อง กลายเป็นอุจจาระ ไม่มีข้าว ได้รสจากข้าว พิจารณารสไม่เที่ยง ได้รับรส สุดท้ายรสหายไป ไม่มีรสข้าว การรู้จักตนเองคือ ให้เรารู้จักว่าเราประกอบจากขันธ์ 5 มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายต้องแยกแตกสลายหายไป ไม่มีตัวเรา เราต้องตาย นี่คือการดับทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็จะไม่กลัวสิ่งเหล่านี้เลย การทำบุญเพื่อให้ได้บุญ บุญในที่นี้คือ ความสุขถาวรภายในจิตใจของเรานั้นเอง เมื่อเราดับความพอใจ ไม่พอใจไม่ได้ นี่แหละเราบำเพ็ญเพียรสู่ทุกข์ทุกวินาที สะสมภายในใจมากขึ้น แก้ไม่ได้ เกิดทุกข์มหาศาล นี่แหละบาป หรือ นรก ถ้าดับได้นี่แหละคือบุญสูงสุดของชีวิต สิ่งดีต่างๆ ก็ตามมา การแสวงบุญ ทอดผ้าป่า ไหว้เจดีย์ เข้าวัด สิ่งเหล่านี้คือผลจากการมีศีล ศีลมาจากปัญญา ปัญญามาจากวิปัสสนาภานา (ในพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่าน้้น) |
เจ้าของ: | ภูเขาทะเลท้องฟ้า [ 02 ธ.ค. 2011, 00:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ภูเขาทะเลท้องฟ้า เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ผมไม่รู้จักตนเองหรอกครับ นี่ไม่ใช่ผม ไม่ใช่ตัวตนของผม เกิดจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายผมต้องแก่ ผมต้องเจ็บ ผมต้องตาย สรรพสิ่งในโลกนี้เหมือนกันหมดแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต สุดท้ายก็ต้องชำรุด เสื่อม ไม่คงทนถาวร ไม่ยั่งยืน ทั้งเงินทอง ลาภ ยศ เกียรติศักดิ์ เราจะยึดมั่นถือมั่นมันทำไม มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นของธรรมชาติ หรือ ธรรมะ ![]() ![]() ![]() ![]() พระพุทธองค์สอนให้มนุษย์ดับต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง คือดับความพอใจ ไม่พอใจ ของตน นี่คือเหตุที่ตามมาของทุกข์ทั้งปวงของมนุษย์ เราต้องมีปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ที่ตามมาของมนุษย์ก่อน ที่เราเกิดทุกข์ก็เพราะความไม่รู้ เพราะความเชื่อของเรา ไปหลงกับสิ่งนั้น หลงตัวเรา หลงสิ่งที่มากระทบตัวเรา เราต้องใช้ปัญญาเพื่อมาดับเหตุแห่งทุกข์ เราก็จะรู้ว่าสิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก(นี่เรียกว่าเรามีปัญญา) เราก็จะไม่ทำผิดเอง การให้ทาน การทำดี ถือศีล สงเคราะห์ผู้อื่น ความสงบ สมาธิ ความตั้งมั่น คือ ผลที่ได้จากการหยุดความพอใจ ไม่พอใจนั้นเอง การหยุดความพอใจ (โลภ) และ ความไม่พอใจ (โกรธ) และความ (หลง) คือบุญสูงสุดแล้ว การทำดีคือผลจากการมีปัญญาเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมคิดชอบ เมื่อคิดชอบย่อมพูดชอบ และทำชอบ(ทำดี) แล้วเราจะหยุดความพอใจ ไม่พอใจ ได้อย่างไร ก็คือ การวิปัสสนา ฆ่าตัวตนของเรา (พิจารณจากาขันธ์ 5) ฆ่าสิ่งที่มากระทบตัวเรา (พิจารณาอินทรีย์ 6) ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ สุดท้ายแตกสลายหายไป ไม่มีตัวตน ยกตัวอย่าง เมื่อเราเห็นข้าว พิจารณาข้าวไม่เที่ยง กินข้าวไปแล้วเคี้ยวข้าว สุดท้ายข้าวแตกสลายลงท้อง กลายเป็นอุจจาระ ไม่มีข้าว ได้รสจากข้าว พิจารณารสไม่เที่ยง ได้รับรส สุดท้ายรสหายไป ไม่มีรสข้าว การรู้จักตนเองคือ ให้เรารู้จักว่าเราประกอบจากขันธ์ 5 มาประกอบกันชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายต้องแยกแตกสลายหายไป ไม่มีตัวเรา เราต้องตาย นี่คือการดับทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราก็จะไม่กลัวสิ่งเหล่านี้เลย การทำบุญเพื่อให้ได้บุญ บุญในที่นี้คือ ความสุขถาวรภายในจิตใจของเรานั้นเอง เมื่อเราดับความพอใจ ไม่พอใจไม่ได้ นี่แหละเราบำเพ็ญเพียรสู่ทุกข์ทุกวินาที สะสมภายในใจมากขึ้น แก้ไม่ได้ เกิดทุกข์มหาศาล นี่แหละบาป หรือ นรก ถ้าดับได้นี่แหละคือบุญสูงสุดของชีวิต สิ่งดีต่างๆ ก็ตามมา การแสวงบุญ ทอดผ้าป่า ไหว้เจดีย์ เข้าวัด สิ่งเหล่านี้คือผลจากการมีศีล ศีลมาจากปัญญา ปัญญามาจากวิปัสสนาภานา (ในพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่าน้้น) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | govit2552 [ 02 ธ.ค. 2011, 03:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่ต้องรอให้ตาย ตัวเราก็ไม่มีอยู่แล้ว เป็นแค่สภาวะธรรม อันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอยู่ตลอดเวลา แต่ความเปลี่ยนแปลงอันนั้น เกิดขึ้น รวดเร็วมาก |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 02 ธ.ค. 2011, 08:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ภูเขาทะเลท้องฟ้า เขียน: ...จิตใต้สำนึกคืออะไร? ![]() ![]() ![]() ![]() จิตใต้สำนึก คือ ความดีหรือชั่วที่มีกำลังแรงอยู่ใต้สามัญสำนึก จะปรากฎเมื่อถูกกระตุ้นหรือถูกจี้โดยผู้รู้ เหมือนฝุ่นผงที่นอนก้นตอนน้ำนิ่งหรือตอนน้ำตกตะกอน จะขุ่นขึ้นเมื่อถูกกวน ถ้าจะเปรียบ จิตใต้สำนึก ก็คือ อนุสัยหรือสันดานนั้นเอง ทำแต่สิ่งดีๆ อนุสัยก็ดี หากทำแต่สิ่งที่ไม่ดี อนุสัยก็จะชั่ว มีผิดถูก เพราะความเห็นส่วนตัว พิจารณาด้วยนะ ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ธ.ค. 2011, 10:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
วิริยะ เขียน: ภูเขาทะเลท้องฟ้า เขียน: ...จิตใต้สำนึกคืออะไร? ![]() ![]() ![]() ![]() จิตใต้สำนึก คือ ความดีหรือชั่วที่มีกำลังแรงอยู่ใต้สามัญสำนึก จะปรากฎเมื่อถูกกระตุ้นหรือถูกจี้โดยผู้รู้ เหมือนฝุ่นผงที่นอนก้นตอนน้ำนิ่งหรือตอนน้ำตกตะกอน จะขุ่นขึ้นเมื่อถูกกวน ถ้าจะเปรียบ จิตใต้สำนึก ก็คือ อนุสัยหรือสันดานนั้นเอง ทำแต่สิ่งดีๆ อนุสัยก็ดี หากทำแต่สิ่งที่ไม่ดี อนุสัยก็จะชั่ว มีผิดถูก เพราะความเห็นส่วนตัว พิจารณาด้วยนะ ![]() จิตไม่ได้อยู่ใต้สำนึก จิต คือ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) รวมกัน สำนึก หรือ ระลึก คือ (สัญญา) ต้องบอกว่าสำนึกอยู่ในจิต สำนึก ระลึก สัญญา ก็แล้วแต่ส่วนนี้ทำหน้าที่จำ จำดีก็คิดดี ทำดี จำชั่ว ก็คิดแต่สิ่งชั่ว ทำชั่ว เราบังคับตัวเองให้ทำชั่ว ทำดี ไม่ได้ ถ้าบังคังได้เราก็สามารถบังคับไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ได้ตายได้สิ เราทำอะไรทุกวันนี้เราทำตามสัญญาที่เราสะสมในสมอง เราจะคิดได้ ทำได้ พูดได้ กระทำได้ ก็ตามสัญญาที่สะสม ถ้าเราต้องการต้องการทำดี ดับเหตุแห่งทุกข์ เราต้องเปลี่ยนสัญญาให้เป็นกุศล คือการเอาความจริงของธรรมชาติเอามาดับความเชื่อ ความไม่รู้ ในสัญญาของเราเมื่อเจอสิ่งกระทบ หรือ ผัสสะ เกิดวิญญาณเป็นอันดับแรก 1.วิญญาณ ทำหน้าที่รับ 2.สัญญา ทำหน้าที่จำ 3.สังขาร ทำหน้าที่คิดปรุงแต่ง 4.เวทนา ทำหน้าที่รู้สึก พอใจ ไม่พอใจ จำสิ่งกุศล ผลออกมา คือ รู้ความจริงตามธรรมชาติ รู้แจ้ง พ้นทุกข์ จำสิ่งอกุศล ผลออกมา คือ พอใจ ไม่พอใจ ต้นเหตุแห่งทุกข์ ตา + รูป > จักษุวิญญาณ > สัญญา+อกุศล> สังขารปรุงแต่ง > เวทนา (พอใจ , ไม่พอใจ) |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 02 ธ.ค. 2011, 10:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราบังคับตัวเองให้ทำชั่ว ทำดี ไม่ได้ งั้นเราก็รักษาศีลไมได้ละสิ เพราะศีลคือข้อบังคับ ศีลคือข้อห้าม ธรรมทุกหมวดต้องปฏิบัติ ต้องทรมานตน ต้องบังคับตน ถ้าเป็นที่อย่างคุณโพส คนทุกคนก็ไม่สามารถเป็นคนดีได้ แถมเป็นคนชั่วไม่ได้อีก เลยต้องอยู่กลาง ๆ คุณเริ่มมั่วแล้วนะ เพราะธรรมหมวดอื่นคุณไม่รู้จักเลย รู้แต่ "เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ตอบกระทู้ก็มีแต่ เวทนา สัญญา ฯลฯ แถมรู้ไม่จริงอีก ศึกษาธรรมหมวดบ้างนะ หู ตาจะได้กว้างไกล ![]() |
เจ้าของ: | ภูเขาทะเลท้องฟ้า [ 02 ธ.ค. 2011, 11:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
วิริยะ เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราบังคับตัวเองให้ทำชั่ว ทำดี ไม่ได้ งั้นเราก็รักษาศีลไมได้ละสิ เพราะศีลคือข้อบังคับ ศีลคือข้อห้าม ธรรมทุกหมวดต้องปฏิบัติ ต้องทรมานตน ต้องบังคับตน ถ้าเป็นที่อย่างคุณโพส คนทุกคนก็ไม่สามารถเป็นคนดีได้ แถมเป็นคนชั่วไม่ได้อีก เลยต้องอยู่กลาง ๆ คุณเริ่มมั่วแล้วนะ เพราะธรรมหมวดอื่นคุณไม่รู้จักเลย รู้แต่ "เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ตอบกระทู้ก็มีแต่ เวทนา สัญญา ฯลฯ แถมรู้ไม่จริงอีก ศึกษาธรรมหมวดบ้างนะ หู ตาจะได้กว้างไกล ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ธ.ค. 2011, 11:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
วิริยะ เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราบังคับตัวเองให้ทำชั่ว ทำดี ไม่ได้ งั้นเราก็รักษาศีลไมได้ละสิ เพราะศีลคือข้อบังคับ ศีลคือข้อห้าม ธรรมทุกหมวดต้องปฏิบัติ ต้องทรมานตน ต้องบังคับตน ถ้าเป็นที่อย่างคุณโพส คนทุกคนก็ไม่สามารถเป็นคนดีได้ แถมเป็นคนชั่วไม่ได้อีก เลยต้องอยู่กลาง ๆ คุณเริ่มมั่วแล้วนะ เพราะธรรมหมวดอื่นคุณไม่รู้จักเลย รู้แต่ "เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ตอบกระทู้ก็มีแต่ เวทนา สัญญา ฯลฯ แถมรู้ไม่จริงอีก ศึกษาธรรมหมวดบ้างนะ หู ตาจะได้กว้างไกล ![]() เราทำดีทำชั่วก็เพราะสัญญากุศล เราต้องเปลี่ยนสัญญา อกุศลให้เป็นสัญญญากุศล เมื่อสัญญาเป็นกุศล เราก็จะคิดแต่กุศล เมื่อคิดกุศลก็จะทำจะพูดแต่กุศลเมื่อมีสิ่งมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราไม่ได้ทำตามใจ ใจไม่ได้สั่งกาย แต่สัญญาต่างหากที่สั่งใจ ใจสั่งกายอีกครั้งหนึ่ง "เราบังคังให้ตนเองทำดีไม่ได้ ถ้าสัญญาเรายังเป็นอกุศล" การรักษาศีล เรารู้ได้อย่างไรว่าการรักษาศีล คือการไม่ทำชั่ว ละความชั่ว ก็เพราะ (คุณจำ) ศีลข้อห้ามว่าข้อนี้คืออะไร ผิดหรือชั่วอย่างไร แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่าจำสิ่งกุศลได้อย่างไร หมวดธรรมอย่างอื่นผมไม่รู้หรอกครับเพราะผมไม่ได้ศึกษา ผมต้องการชี้แจง แยกแยะเท่านั้น หาเหตุหาผล หาต้นหาตอ ของความทุกข์ และดับต้นเหตุแห่งทุกข์เ่ท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าทรงเห็นทุกข์ของมนุษย์แล้วจึงหาวิธีการดับทุกข์ทั้งปวงของมนุษย์เท่านั้น ผมจึงศึกษาเฉพาะเรื่องทุกข์และการดับทุกข์่เท่านั้น ศีล สมาธิ ญาณ อภิญญา การทำดี การทำชั่ว เป็นผลของการรู้แจ้งเท่านั้น |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 02 ธ.ค. 2011, 14:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราทำดีทำชั่วก็เพราะสัญญากุศล เราต้องเปลี่ยนสัญญา อกุศลให้เป็นสัญญญากุศล เมื่อสัญญาเป็นกุศล เราก็จะคิดแต่กุศล เมื่อคิดกุศลก็จะทำจะพูดแต่กุศลเมื่อมีสิ่งมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราแยกแยะ กุศล อกุศล ได้ก็เพราะ "ปัญญา" ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราไม่ได้ทำตามใจ ใจไม่ได้สั่งกาย แต่สัญญาต่างหากที่สั่งใจ ใจสั่งกายอีกครั้งหนึ่ง "มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนมยา มโนเศรษฐา" ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ พุทธพนจ์ บทนี้ก็ผิด ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: "เราบังคังให้ตนเองทำดีไม่ได้ ถ้าสัญญาเรายังเป็นอกุศล" ที่จริงควรเป็น "เราบังคับให้ตัวเองทำดีไม่ได้ เพราะขาด "สติ" ขาด "ปัญญา" ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: การรักษาศีล เรารู้ได้อย่างไรว่าการรักษาศีล คือการไม่ทำชั่ว ละความชั่ว ก็เพราะ (คุณจำ) ศีลข้อห้ามว่าข้อนี้คืออะไร ผิดหรือชั่วอย่างไร แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่าจำสิ่งกุศลได้อย่างไร การแยกแยะอย่างนี้แหละเขาเรียก "ปัญญา""รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ท่านจัดเป็น "ไตรลักษณ์" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้ละ ให้ปล่อยวาง คุณกลับยึดติด เอา "สัญญา" มาใช้ในการแยกแยะธรรม มาแยกแยะความดีความชั่วเสียได้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของ "ปัญญา" พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้เพราะ "ปัญญา" ท่านจึงว่า ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ผมว่าคุณควรศึกษาเรื่อง "ปัญญา" ให้มากนะ ![]() |
เจ้าของ: | ไม่เที่ยง เกิดดับ [ 02 ธ.ค. 2011, 15:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
วิริยะ เขียน: ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราทำดีทำชั่วก็เพราะสัญญากุศล เราต้องเปลี่ยนสัญญา อกุศลให้เป็นสัญญญากุศล เมื่อสัญญาเป็นกุศล เราก็จะคิดแต่กุศล เมื่อคิดกุศลก็จะทำจะพูดแต่กุศลเมื่อมีสิ่งมากระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราแยกแยะ กุศล อกุศล ได้ก็เพราะ "ปัญญา" ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: เราไม่ได้ทำตามใจ ใจไม่ได้สั่งกาย แต่สัญญาต่างหากที่สั่งใจ ใจสั่งกายอีกครั้งหนึ่ง "มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนมยา มโนเศรษฐา" ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ พุทธพนจ์ บทนี้ก็ผิด ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: "เราบังคังให้ตนเองทำดีไม่ได้ ถ้าสัญญาเรายังเป็นอกุศล" ที่จริงควรเป็น "เราบังคับให้ตัวเองทำดีไม่ได้ เพราะขาด "สติ" ขาด "ปัญญา" ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: การรักษาศีล เรารู้ได้อย่างไรว่าการรักษาศีล คือการไม่ทำชั่ว ละความชั่ว ก็เพราะ (คุณจำ) ศีลข้อห้ามว่าข้อนี้คืออะไร ผิดหรือชั่วอย่างไร แล้วอย่างนี้ไม่เรียกว่าจำสิ่งกุศลได้อย่างไร การแยกแยะอย่างนี้แหละเขาเรียก "ปัญญา""รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" ท่านจัดเป็น "ไตรลักษณ์" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านให้ละ ให้ปล่อยวาง คุณกลับยึดติด เอา "สัญญา" มาใช้ในการแยกแยะธรรม มาแยกแยะความดีความชั่วเสียได้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของ "ปัญญา" พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้เพราะ "ปัญญา" ท่านจึงว่า ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ผมว่าคุณควรศึกษาเรื่อง "ปัญญา" ให้มากนะ ![]() ใช่ครับเราแยกแยะสิ่งต่างๆก็เพราะมีปัญญา (ปัญญายังดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้) แต่เราต้องหาต้นเหตุของปัญญาที่ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ ว่ามาจากไหน ก็คือมาจากการรู้เห็นว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่เราจะเห็นได้อย่างไร ก็คือพิจารณา ขันธ์ 5 และิอินทรีย์ 6 แยกแยะว่ามีอะไรบ้าง แล้วพิจารณาแต่ละส่วน เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง สรุปแล้วก็คือ ขันธ์ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราวสุดท้ายแตกสลายหายไปหมด ถ้าไม่พิจารณาอย่างนี้ก่อนก็จะดับขันธ์ไม่ได้ หรือว่าตัวเราไม่ได้ อินทรีย์ 6 ก็ทำนองเดียวกัน ก็ไม่เที่ยง เกิดดับ เหมือนกัน แล้วเราจะเกิดปัญญาดับขันธ์ 5 ซึ่งเป็นต้นตอการเกิดเวทนา นำมาซึ่งตัณหาได้อย่างไร ก็ต้องไปเปลี่ยนข้อมูลในสัญญาให้เป็นกุศลก่อน ไม่ใช่การยึดในตัวสัญญา แต่เป็นการเติมความจำกุศลเข้าไปในสมองให้มากๆ มันก็เหมือนคุณศึกษาพระธรรมคำสอนนั้นแหละ ถ้าคุณไม่อ่านพระไตรปิฎก คุณก็ไม่จำ คุณไม่จำคุณก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้ ที่คุณว่า ที่จริงควรเป็น "เราบังคับให้ตัวเองทำดีไม่ได้ เพราะขาด "สติ" ขาดปัญญา ใช่ครับเราบังคับตัวเองไม่ได้ถ้าขาดสติ ไม่มีสติก็ลากความจำไม่ได้ หากลากความจำอกุศล ก็ไม่เกิดปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ สติ ลากดึง สัญญา(กุศล) > เกิดปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์ได้ > ความสงบ ถ้าคุณไม่จำข้อสอบ คุณก็ไม่มีปัญญาทำข้อสอบ แล้วมันจะไม่เกี่ยวกับความจำ หรือสัญญาได้อย่างไร ต้องจำ ต้องเรียนรู้ก่อน ถึงจะละ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ได้ |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 02 ธ.ค. 2011, 15:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เรารู้จักตนของตนดีแค่ไหน? |
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน: ถ้าคุณไม่อ่านพระไตรปิฎก นี่แหละคือ "สุตมยปัญญา" คุณยังไม่รู้หรือคุณก็ไม่จำ คุณไม่จำคุณก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้ การอ่าน การสนทนา นั่นแหละคือเหตุของ "ปัญญา" ท่านเรียก "สุตมยปัญญา" หรือ "ปริยัตปัญญา" "สัญญา" ไม่ใช่ "ปัญญา" แต่เป็นเหตุให้เกิด "ปัญญา" ต่างหาก การคิดหาเหตุหาผลจากการอ่าน การสนทนา นั่นแหละคือ "ปัญญา" การเอาแต่อ่านไม่คิดไม่พิจารณาหาเหตุผล ท่านเรียก "สัญญา" ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |