วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 03:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 16:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คนทุกข์ก็เพราะไม่มีปัญญาดับทุกข์ หากดับเหตุแห่งทุกข์ได้ก็คือ (คนมีปัญญา)
หากดับทุกข์ได้ เราก็ไม่ทำชั่ว ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี (คนมีศีล) คนมีศีลจิตใจก็สดชื่น ผ่องใส สงบสุขตลอดเวลา (คนมีสมาธิ)
"ปัญญา ศีล สมาธิ" นี่คือ ผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต้องหาสาเหตุ ว่าปัญญาของท่านเกิดได้อย่างไร ปัญญาของท่านก็เกิดจากการเห็นความจริงของธรรมชาตินั้นแหละครับ
ไม่ต้องอธิบายว่าท่านเห็นด้วยวิธีไหน


ศีล สมาธิ ปัญญา
ไปถือศีล 5 วัน 7 วัน เมื่อทำศีลให้ครบ> ไปทำสมาธิ> ทำให้สู่ปัญญา สมาธิไปสู่ปัญญาไม่ได้ เพราะสมาธิคือความสงบเท่้านั้น ทั้งทั้งที่ไม่รู้ว่าสาเหตุของการผิดศีลคืออะไร การถือศีลคือ ไปละเว้นสิ่งที่ทำชั่ว (ส่วนของผล) ผลของความพอใจ ไม่พอใจ เราต้องไปดับที่เหตุของการผิดศีล เรา็ก็จะมีศีลตลอดเวลา ไม่ใช่ถือศีล 5 วัน 7 วัน (เหมือนกับหลังคารั่วไปเอากะละมังรอง ทำไมไม่อุดหลังคาหละครับท่าน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐมปัณณาสก์
อานิสังสวรรคที่ ๑
กิมัตถิยสูตร


[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์


ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิป-
ปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็น
อานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิ
เป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ
เป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น
อานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น
อานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ
ด้วยประการดังนี้แล ฯ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=24


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สติสูตร

[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-
ทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือกแม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ


http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005009.htm


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 10 พ.ย. 2011, 20:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่เป็นสุข

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายสมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ

http://board.palungjit.com/f10/%E0%B8%A ... 55907.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สุภสูตร
เรื่องสุภมาณพ
ว่าด้วย อริยขันธ์ ๓ คือ อริยศีลขันธ์, อริยสมาธิขันธ์, และอริยปัญญาขันธ์
http://www.navy.mi.th/newwww/code/speci ... ps0910.htm


ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ วาจาชอบ ๑ ทำการงาน
ชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑
ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. คารวสูตรที่ ๒
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุไม่รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้

ข้อที่ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 10 พ.ย. 2011, 20:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย
และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ ๑


เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่าง
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความ
สิ้นไปรอบแห่งราคะ ...เพื่อละราคะเด็ดขาด ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไป
แห่งราคะ... เพื่อความสำรอกราคะ ... เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ...เพื่อ
ปล่อยราคะเสีย จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องต่ำก็ฉันนั้นในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
ฉันใดในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้น
ตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องต่ำก็ฉันนั้นในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
ฉันใดในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้น
ตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ


อนุโมทนาครับ สาธุ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
" ขอเพียงเข้าใจถูก "


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 02:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิญญาณจะดับสนิทได้ ก็ต่อเมื่อถึงกาลปรินิพพาน
ถ้ายังไม่ปรินิพพาน ย่อมยังมีวิญญาณอยู่
ย่อมยังมีขันธ์ห้าอยู่
ต่อเมื่อถึงวันปรินิพพาน ...........................เมื่อนั้นดับสนิทไม่มีเหลือ
ดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อปรินิพพาน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 09:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้จะเป็นคนมีศีลได้อย่าง


อีตานี้...จะเอาหัวเดินต่างเท้า..ท่าเดียว
มิน่า...เห็นของข้างบนเป็นของข้างล่าง...เห็นฐานเป็นยอด...อยู่เรื่อย.. :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 21:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
หากดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้จะเป็นคนมีศีลได้อย่าง


อีตานี้...จะเอาหัวเดินต่างเท้า..ท่าเดียว
มิน่า...เห็นของข้างบนเป็นของข้างล่าง...เห็นฐานเป็นยอด...อยู่เรื่อย.. :b13: :b13:


เข้าใจใหม่นะครับ
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่นำมาปฏิบัติกันมาจากตรงนี้นะครับ
ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่ผู้รู้ทั้งหลายแปล หรือให้ความหมายไว้ แล้วนำมาวางเป็นไตรสิกขาให้พระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับเป้าหมาย ความหมายที่ถูกต้อง
อธิศีล คือ ศีลใหญ่ มี 4 ข้อไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่เสพเมถุน ไม่ถวดอุตตริมนุสสธรรม ไมลักทรัพย์เกิน 5 มาสก หรือ 1 บาท ศีล 4 ข้อนี้ ถ้าพระสงฆ์องค์ไหนผิดข้อใดข้อหนึ่ง พระสงฆ์องค์นั้นจะหมดสภาพเป็นพระสงฆ์ทันทีที่ผิด เรียกว่าพระสงฆ์ปาราชิก พระสงฆ์ที่ผิดศีล 4 ข้อนี้ ข้อใดข้อหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสจะว่าเป็นโมฆบุรุษเป็นตาลยอดด้วน ถ้าอยู่ในสภาพพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าโจรปล้นเขากิน ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานชาตินี้ ไม่สามารถจะบวชเป็นภิกษะต่อไปได้

อธิจิต หมายถึง จิตที่ยิ่งใหญ่ คือ จิตที่ไม่ประมาท รู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง เกิดจากเหตุและปัจจัย ว่างจากตนและของตนจนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ไปหลงพอใจ และไม่พอใจกับสิ่งที่มากระทบสัมผัสตัวเราขณะปัจจุบัน อธิจิต ไม่ใช่สมาธิ

อธิปัญญา หมายถึง ความรู้ที่ดับได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ได้จากการวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5
และอินทรีย์ 6 ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราในขณะปัจจุบันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ความรู้อย่างนี้เรียกสัมมาทิฏทิ หรือปัญญาสามารถดับความพอใจ และไม่พอใจที่เป็นอวิชชาได้ทันทีเรียกว่า อธิปัญญา ปัญญาที่ยิ่งใหญ่

อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นไตรสิกขาของพระสงฆ์ หรือเป็นข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ไม่ใช่สำหรับฆราวาส
ไตรสิกขาสำหรับฆราวาสนั้น พระพุทธเจ้าได้วางไว้เป็นหลักข้อปฏิบัติไว้ว่า ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา



ส่วนวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ปุถุชนคนทั่วไปให้ได้มาซึ่งปัญญาเพื่อใช้ในการดับทุกข์ คือ การวิปัสสนาทางเดียวเท่านั้น เรียกว่าทางสายเอก

"ปัญญา ศีล สมาธิ" ไม่ใช่ไตรสิกขา แต่เป็นผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ มรรคมีองค์ 8
เมื่อเราปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อให้รู้เห็นความจริงของโลกและชีวิตว่าไม่เที่ยงแล้ว ไม่มีตัวเรา ไม่ไปหลงพอใจ
ไม่พอใจสิ่งที่มากระทบสัมผัสตัวเรา สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) หรือปัญญาเกิดขึ้นทันที และองค์ธรรมของมรรคมีองค์ 8 เกิดขึ้น ตามมาคือ สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) สัมมาวาจา(ศีล) สัมมมกัมมันตะ(ศีล) สัมมาอาชีวะ(ศีล) สัมมาวายามะ(สมาธิ) สัมมสติ(สมาธิ) สัมมาสมาธิ(สมาธิ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิ..แปลว่า...ยิ่ง..อย่างยิ่ง

อธิศีล...มีศีลอย่างยิ่งคือ..มีแบบไม่ขาดตกบกพร่อง...

ของฆารวาสก็ศีล 5 หากมีแบบไม่ขาดตกบกพร่อง..ก็เรียกอธิศีลได้...ในสมัยพุทธกาลโสดาบันไม่ได้เป็นพระก็เยอะ

ส่วนพระ ท่าน 227 ก็ต้อง 227ไม่ขาดตกบกพร่องอีกเช่นกัน...จึงเรียกอธิศีล

อธิศีลที่คุณว่ามา..คือศีลใหญ่นั้นนะ...เข้าใจว่าเป็นศีลข้อสำคัญ ๆ ....นั้นนะ...เข้าใจผิดแล้ว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 127 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร