วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 06:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ มีลักษณะอย่างไร จะโดยย่อหรือพิสดารก็ได้ครับ
ขอความกรุณากัลยาณมิตรทั้งหลาย ยินดีรับฟังทุกความเห็นครับ

หากนำมาจากพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ใด ช่วยอ้างอิงที่มาด้วยครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 07 ต.ค. 2011, 05:59, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวเข้าใจว่าโยนิโสมนสิการ
คือการใส่ใจในสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง
หรือการกระทำไว้ในใจซึ่งสภาพธรรมนั้นๆ ตามที่เป็นจริงโดยแยบคาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 07:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




100_4796_resize.JPG
100_4796_resize.JPG [ 57.12 KiB | เปิดดู 3858 ครั้ง ]
:b8:
มนสิการ = ตั้งใจ

โยนิโส = ตั้งสติปัญญา

เมื่อมาทำงานร่วมกันแล้วก็คือ

สัมมาวายามะ + อิทธิบาท

+สัมมาสติ+สัมมาทิฐิ+สัมมาสังกัปปะ

แล้วมรรคที่เหลือเขาจะถูกดึงมาเสริมมาตามหนุนโดยอัตโนมัติ

วิสัชชนามาโดยนัยยะเชิงปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ทราบจะเข้าใจกันง่ายหรือเปล่านะครับ

เจริญปัญญา สติ สมาธิ และเจริญธรรมกันทุกๆท่านนะครับ สาธุ

:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการ ทางปริยัติแปลว่า ทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย

ตรงนี้ปัญหามีมาตั้งแต่ยกพระไตรปิฎกลงสู่ภาษาสยาม คำว่าทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ทิ้งราก
ภาษาเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งจะว่าอนุโลมตามอรรถคือเนื้อหา ก็ไม่ตรงเลยด้วยซ้ำ

โยนิโสมนสิการ มาจาก ยถา + ตถา + มน + กร

ยถา ศัพท์ แปลว่า ใด
ตถา ศัพท์ แปลว่า นั้น
มน ศัพท์ แปลว่า ใจ
กร ธาตุ แปลว่า ทำ

แปลรวมว่า ทำไว้ในใจโดยประการใด(เกิดขึ้น) โดยประการนั้น

ความหมายคือ ในเวลาปฏิบัติธรรม สภาวะใดเกิดขึ้นแบบไหนอย่างไร รู้สภาวะตามนั้นแบบนั้น ไม่ต้องปรุง
แต่งอะไร คือรู้แบบละอภิชฌาและโทมนัส (รู้แบบสติปัฎฐาน)

ต่อเมื่อมีคนที่น่านับถือแปลว่า ทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ก็ถือตามนั้นเพราะคนพูดน่าเชื่อถือ
ก็เลยยากที่จะเข้าใจว่าต้องปฏิบัติอย่างไร อธิบายกันวนอยู่ที่ตัวหนังสือกันจนเฟ้อ ถ้าไม่ทิ้งรากศัพท์เดิม
อ่านแล้วพอจะรู้เลยว่า ต้องรู้หรือเข้าใจสภาวะที่รับรู้อยู่อย่างไร

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2011, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 20:58
โพสต์: 36

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: ฟังเพลง
ชื่อเล่น: เด่น
อายุ: 32

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมใหม่ - หน้าที่ 728
[๑"สำหรับภิกษุผู้เสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ปรารถนาความเกษมจากโยคะ
อันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอย่างอื่นแม้สักอย่าง ที่มีประโยชน์มาก
เหมือนโยนิโสมนสิการเลย ภิกษุผู้ใช้โยนิโสมนสิการย่อมกำจัดอกุศลได้
และบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น"]
[๒เราไม่เล็งห็นธรรมอย่างอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น
หรือให้สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ
สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น"]
[๓"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ได้เกิดขึ้น
หรือให้โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย
เมื่อมีโยนิโสมนสิการ โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์"]
[๔"เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด
ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ถูกกำจัดได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"]
[๕โยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต เป็นเหตุให้ราคะไม่เกิด และราคะที่เกิดแล้ก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตติ เป็นเหตุให้โทสะไม่เกิด และโทสะที่เกิดแล้วก็ถูกละได้
โยนิโสมนสิการ (โดยทั่วไป) เป็นเหตุให้โมหะไม่เกิด และโมหะที่เกิดแล้ว ก็ถูกละได้]
[๖เมื่อใช้โยนิโสมนสิการ นิวรณ์ 5 ย่อมไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็ถูกกำจัดได้
ในขณะเดียวกันก็เป็นเหตุให้โพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นและเจริญเต็มบริบูรณ์]
[๗"ธรรม 9 อย่างที่มีอุปการะมาก ได้แก่ ธรรม 9 อย่าง ซึ่งมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล
กล่าวคือ เมื่อโยนิโสมนสิการ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ
กายย่อมสงบระงับ (ปัสสัทธิ) เมื่อกายสงบระงับ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ย่อมนิพพิทาเอง
เมื่อนิพพิทาก็วิราคะ เพราะวิราคะ ก็วิมุตติ"]
ความหมายของโยนิโสมนสิการ ว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วย โยนิโส กับ มนสิการ โยนิโส มาจาก โยนิ ซึ่งแปลว่า
เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา [๘อุบาย วิธี ทาง]
๑ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา] เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย การทำในใจ
โดยแยบคายนี้มีความหมายแค่ไหนเพียงใด คัมภีร์ขึ้นอรรถกถาและฎีกาได้ไขคามไว้
โดยวิธีแสดงไวพจน์ให้เห็นความหมายแยกเป็นแง่ๆ ดังต่อไปนี้
1. อุบายมนสิการ แปลว่า คิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือคิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธี
หมายถึงคิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะ ทำให้หยั่งรู้สภาวลักษณะ
และสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
2. ปถมนสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดให้ต่อเนื่องเป็นลำดับ
จัดลำดับได้หรือมีลำดับ มีขั้นตอน แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบ
ตามแนวเหตุผลเป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้ ที่นี้
เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง
3. การณมนสิการ แปลว่า ติดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดตามเหตุผล หรือ
คิดอย่างมีเหตุผลหมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย
พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าในถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
4. [๒อุปปาทกมนสิการ แปลว่า คิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์
เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การคิดการพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม เช่น
ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร การรู้จักคิดในทางที่ทำให้หายหวาดกลัว ให้หายโกรธ
การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจมีแข็งมั่นคงเป็นต้น]
ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดที่เรียกว่า
โยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งๆ อาจมีลักษณะครบทีเดียวทั้ง 4 ข้อ
หรือเกือบครบทั้งหมดนั้น หาก
{๑ ไวพจน์ของมนสิการ คือ อาวัชชนา อาโภค สมันนาหาร ปัจจเวกขณ์
(ดู ที.อ.2/323; ม.อ.1/88; อิติ.อ.80; วิสุทธิ,2/63; 138) นอกจากนี้
ในบาลี ยังพบคำจำพวกไวพจน์ของมนสิการอีกหลายคำ เช่น อุปปริกขา
(เช่น สํ.ข. 17/87/53; 242/171) ปฏิสังขา (เช่น องฺ.จตุกฺก.21/37/51 ฯลฯ ฯลฯ)
ปฏิสัญจิกขณา (เช่น องฺ.ทสก.24/92/197 = โยนิโสมนสิการ ใน
สํ.นิ.16/154/84 และ สํ.ม.19/1577/489) ปริวีมังสา
(เช่น สํ.นิ.16/189/97) คำว่า
สัมมามนสิการ (ที.สี.9/27/16; ที.ปา.11/13/32; ที.อ.1/136;3/95; ม.อ.1/272)
ก็มีความหมายใกล้เคียงกับโยนิโสมนสิการ แต่มีที่ใช้น้อย ไม่ถือเป็นศัพท์เฉพาะ.}
{๒ ไขความเป็น อุปายมนสิการ ปถมนสิการ อุปปาทกมนสิการ ที่ สํ.อ.3/252;
เป็นอุปายมนสิการ และปถมนสิการที่ ที.อ.2/70,323,500 =
วิภงฺค.อ.353 = ม.อ.1/387,88; อิติ.อ.80; สํ.อ.2/27; เป็นอุปายมนสิการ
ที่ ม.อ.2/467; สํ.อ.1/200; 3/215; องฺ.อ.1/49,518; วินย.ฎีกา 4/110;
เป็นอุปปาทกมนสิการ ที่ ม.อ.1/405; เป็นการณมนสิการในฎีกาแห่งทีฆนิกาย
(ขยายความปถมนสิการนั่นเอง; ฉับไทยยังไม่พิมพ์ พึงดูฉบับอักษรโรมัน หรืออักษรพม่า)
คำอธิบายทั่วไปที่น่าฟัง ดู วิสุทธิ.1/167; วินย.ฎีกา 2/350, วิสุทธิ.ฎีกา 1/226;
อาจดูประกอบที่ปัญจิกา 1/432; 2/115,267; คำอธิบายข้างบน แสดงตามอัตโนมัติด้วย.
พุทธธรรมใหม่ - หน้าที่ 730
จะเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนั้นสั้นๆ คงได้ความว่า คิดถูกวิธี คิดมีระบียบ คิดมีเหตุผล
คิดเร้ากุศล แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ ก็เห็นได้ว่าทำยากสักหน่อย มักจับเอาไปได้
แต่บางแง่บางด้านไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือไม่ต้องเขียนบรรยายยืดยาวเหมือนอย่าง
ที่เขียนไว้ในตอนเริ่มต้นของบทนี้ อย่างไรก็ตามมีลักษณะเด่นบางอย่างของความคิดแบบนี้
ที่อาจถือเป็นตัวแทนของลักษณะอื่นๆ ได้ ดังที่ได้เคยแปลโดยนัยไว้ว่า [๑ความคิดถูกวิธี
ความรู้จักคิด การคิดเป็น การคิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัย การคิดสืบต้นถึงต้นเค้า
เป็นต้น หรือถ้าเข้าใจความหมายดีแล้ว จะถือตามคำแปลสืบๆ กันมาว่า การทำในใจโดย
แยบคาย ก็ได้]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2011, 11:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 20:58
โพสต์: 36

แนวปฏิบัติ: ยุบหนอ-พองหนอ
งานอดิเรก: ฟังเพลง
ชื่อเล่น: เด่น
อายุ: 32

 ข้อมูลส่วนตัว


วรรคที่๑, ปัญหาที่ ๘, มนสิการลักขณปัญหา ปัญหาที่ ๘
พระเจ้ามิลินท์ตัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ลักษณะแห่ง
โยนิโสมนสิการมีอย่างไร แห่งปัญญามีอย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร โยนิโสมนสิการ
มีลักษณะยกขึ้น ปัญญามีลักษณะตัด
ม. ขอเธอ จงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบความต่าง แห่งลักษณะทั้ง ๒
นั้นให้ฟัง
น. ขอถวายพระพร ชาวนาเขาเกี่ยวข้าวกันอย่างไร
ม. เขาก็เอามือขวาจับเคียวตะล่อนข้าวรวมกันเข้าเป็นกำ แล้วเอา
มือซ้ายจับกำข้าวขึ้น แล้วเขาก็ตัดกำข้าวด้วยเคียวนั้น
น. นั่นแลฉันใด แม้ผู้ที่ฝึกฝนตนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใช้ความคิด
ความนึกยกเอาเหตุผล แห่งวิธีฝึกหัดทั้งหลายมารวมไต่สวนใช้ความ
รอบรู้เป็นผู้ชี้ขาดว่า จะควรฝึกหัดด้วยวิธีอย่างไร จึงจะมีผล
ขอถวายพระพร นี้แล เป็นความต่างแห่งลักษณะทั้ง ๒ นั้น
จบมนสิการลักขณปัญหา
:b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบพระคุณทุกท่านครับ

โยนิโสมนสิการ
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

ขอกล่าวถึงอโยนิโสมนสิการบ้างครับ จะได้ทำให้เข้าใจโยนิโสมนสิการมากขึ้น ซึ่งสองอย่างนี้มีลักษณะตรงข้ามกัน

อโยนิโสมนสิการ ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นไฉน
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาตัวตนว่าเป็นอัตตาตัวตน
ความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ใน สิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
หรือความนึก ความนึกเนืองๆ ความคิด ความพิจารณา
ความทำไว้ในใจ แห่งจิต โดยผิดจากความจริง

นี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการความทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 115 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร