ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=39748 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กล่องธรรม [ 02 ต.ค. 2011, 20:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
คำว่า “อนัตตา” “อนัตตา” หรือ "อนัตตตา" แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา มิใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5 คำนี้จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก 2 คำ คือ อนิจจัง กับ ทุกขัง นั่นเอง รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา ถ้าหากว่า... เป็น"อัตตา" รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่า ขอรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น.... จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา....” |
เจ้าของ: | เก็บเกี่ยว [ 02 ต.ค. 2011, 20:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
![]() ![]() |
เจ้าของ: | กล่องธรรม [ 02 ต.ค. 2011, 21:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
คำว่า ปุถุชน "ปุถุชน" ในคำว่า เยน ปุถุชโนอธิบายได้ดังต่อไปนี้ ปุถุชนมี 2 พวก คือ อันธปุถุชน และ กัลยาณปุถุชน ดังนี้. 1.อันธปุถุชน หรือ อันธพาลชน คือ บุคคลผู้ไม่มีการเรียน การสอบสวน การฟัง การทรงจำและการพิจารณาในขันธ์ ธาตุและอายตนะ เป็นต้น 2.กัลยาณปุถุชน หรือ กัลยาณมิตรชน คือ บุคคลผู้มีการเรียน การสอบสวน การฟัง การทรงจำและการพิจารณาในขันธ์ ธาตุและอายตนะ ซึ่งตรงข้ามกับ อันธปุถุชน อนึ่ง ปุถุชนทั้ง 2 ประเภทนี้ ขึ้นชื่อว่า ปุถุชน ก็หมายความว่ายังเป็นผู้ที่ยังไม่ละกิเลส เป็นผู้ที่ยังมีกิเลส ด้วยมีเหตุทั้งหลายมากมายเป็นปัจจัยแห่งการเกิดกิเลส เพราะยังกำจัดสักกายทิฏฐิมากมายไม่ได้ ยังสร้างบุญบาปต่างๆมากมาย ยังยึดมั่นถือมั่น ยังเป็นผู้ที่ถูกอารมณ์ต่างพัดไปได้ง่าย เช่น ถูกความเดือดร้อนให้เดือดร้อน ถูกความเร่าร้อนให้เร่าร้อน กำหนัด ยินดี รักใคร่ สยบ หมกมุ่น ข้อง ติด พัวพัน อยู่ในเบญจกามคุณ เพราะถูกนิวรณ์ 5 กางกั้น กำบัง เคลือบ ปกปิด ครอบงำ เหตุที่เป็นไปเช่นนั้น เพราะ ปุถุชน ยังหลงอยู่ในวังวนของปุถุชน บูชาในปุถุชนธรรม และเบือนหน้าหนีจากอริยธรรม เช่นนั้นเอง |
เจ้าของ: | ปฤษฎี [ 03 ต.ค. 2011, 04:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
พุทธวัจน์ " ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโนสัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน ฯ "
![]() |
เจ้าของ: | กล่องธรรม [ 03 ต.ค. 2011, 07:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
คำว่า "อาพาธ" "อาพาธ" หรือ "อาพาธา" หมายถึง ความเจ็บไข้ได้ป่วย มี 9 ชนิด ดังนี้ 1.กัมมวิปากชา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม 2.ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน 3.วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน 4.วิสมปริหารชา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี 5.สนฺนิปาติกา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม), ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน 6.เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้ มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน 7.อาพาธ คือ ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร) 8.อุตุปริณามชา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร 9.โอปกฺกมิกา อาพาธา คือ ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคน คือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น |
เจ้าของ: | denchai [ 03 ต.ค. 2011, 15:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: รู้ศัพท์ธรรมมะ วันละนิด |
สาธุ ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |