วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 16:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เรียน เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

ทางเว็บประสงค์อยากให้กระทู้นี้เป็นกรณีศึกษาร่วมกัน
ไม่ต้องการก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นแต่อย่างใด
เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่จะนำ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ออกไปจัดตั้ง “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ”
เพื่อลงทุนด้านพลังงาน หาแหล่งพลังงานสำหรับประเทศในอนาคต
(เช่น ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม ทองคำ และอื่นๆ) ฯลฯ นั้น
ยังไม่ชัดเจนเลยว่าจะนำเงินส่วนใดไปใช้

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ซึ่งเป็นเงินตราต่างประเทศและทองคำนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน


(๑) “ทุนสำรองเงินตรา” หรือ “เงินคลังหลวง”
อยู่ในฝ่ายออกบัตรธนาคาร ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ทุนสำรองเงินตรานี้ มีเงินตราต่างประเทศและทองคำ
จากโครงการผ้าป่าช่วยชาติของ
องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รวมอยู่ด้วย


(๒) “ทุนสำรองทั่วไป”
อยู่ในฝ่ายการธนาคาร ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)


admin/ทีมงาน

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:



ผู้แทนคณะสงฆ์ 13 รูป พร้อมคณะศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เข้ายื่นหนังสือถึง นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เพื่อขอมิให้นำเงินคลังหลวงไปใช้จัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ

http://www.luangta.com/info/news_text.p ... =409&type=


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เงินควรที่จะได้ใช้ประโยชน์แก่สัตว์โลก ทั้งคน และ สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตาจิต

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เงินควรที่จะได้ใช้ประโยชน์แก่สัตว์โลก ทั้งคน และ สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตาจิต


ผมเห็นดังนี้ครับ

เห็นด้วยว่า เงิน "ในส่วนที่ควรจะใช้ประโยชน์แก่สัตว์โลก ทั้งคน และ สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตาจิต (โภเค ภุญฺเชยฺย )" ก็ควรใช้

แต่เงิน "ในส่วนที่จำเป็นต้องเก็บเอาไว้เป็นเงินสำรองเผื่อมีวิกฤตการณ์ฉุกเฉิน (นิธาเปยฺย) หรือเพื่อการันตีความั่นคงของชาติ" ก็ควรจะเก็บเอาไว้

ทั้งในทางโลก และทางธรรม กล่าวตรงกัน

ลองดูที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงการแบ่งทรัพย์เป็น 4 ส่วน

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

[163] โภควิภาค 4 (การแบ่งโภคะเป็น 4 ส่วน, หลักการแบ่งทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน - fourfold division of money)

1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย (1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์ - On one part he should live and do his duties towards others.)

2-3. ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย (2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน - With two parts he should expand his business.)

4. จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย (อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น - And he should save the fourth for a rainy day.)


พระพุทธเจ้าซึ่งมีเมตตาอันประมาณไม่ได้ ท่านก็ยังแนะนำให้เก็บเงินไว้ 1ใน 4 เป็นเงินทุนสำรอง เช่นกันครับ

ที่ไทยเราเคยซวนเซจนต้องกู้เงินจากไอเอ็มเอฟ เมื่อปี 2540 เพราะไทยเราไปนำเงินในส่วนที่ 4 มาใช้จนเกือบหมด

อีกประการหนึ่ง การที่หลวงตาท่านได้เคยจัดผ้าป่ากู้ชาติ หาทองคำและเงินสกุลดอลลาร์ ก็เป็นเพราะเมตตาอันหาประมาณไม่ได้เช่นกัน.

โอวาท หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

http://www.luangta.com/thamma/thamma_ta ... 97&CatID=2

"...พี่น้องทั้งหลายได้ทราบหรือยังว่าเราช่วยชาติของเราตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ บ้านเมืองของเราจะจม ทั้งผู้ทั้งคนหมูหมาเป็ดไก่จ่อหัวลงทะเลแห่งความล่มจมกัน นี่ก็ประกาศกันลั่นทั่วประเทศไทย ที่บ้านเมืองจะล่มจม ใครมาทำให้ล่มจม ประเทศใหญ่ประเทศน้อยที่ไหนเขาจะมารังแกหรือมาทำบ้านเมืองเราให้ล่มจมไม่มี ประเทศไหนๆ ก็ไม่มี ใหญ่ขนาดไหนไม่มี แม้คนเดียวเขาก็ไม่มาทำให้บ้านเมืองเราล่มจม มองไปที่ไหนสุดท้ายก็ได้ประเทศไทยเรา หมดทั้งบ้านทั้งเมืองประเทศไทย ด้วยความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ใช้ไม่รู้จักประมาณ ควักกระเป๋าออกๆ กระเป๋าฉีกขาด บ้านเมืองจะจม มันจมเพราะชาติไทยเรา ไม่ได้จมเพราะชาติใดเขามาทำให้ล่มจม ชาติไทยเราเป็นผู้ทำต่างหาก..."


ยินดีที่ได้สนทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ความคิดเห็นส่วนตัวนั้น เงินควรที่จะได้ใช้ประโยชน์แก่สัตว์โลก ทั้งคน และ สัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตาจิต


ระลึกได้ อาจจะ หมายถึง ประชานิยม ...???


ความจริงแล้ว เงินที่จะใช้ในการประชานิยม ก็น่าจะอยู่ใน "เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย (1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์ - On one part he should live and do his duties towards others.)"

นี่คือ การใช้ทรัพย์สงเคราะห์ส่วนรวม หรือ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

ประชานิยมที่พอดี เป็นสิ่งที่ดี เป็นการให้โอกาสผู้ขาดโอกาสได้หรือมีในสิ่งที่พึงได้พึงมี.เป็นการใช้เงินส่วนรวมช่วยผู้ด้อยโอกาส เป็นทาน เป็นเมตตา.หรือ ถ้าดูดีๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังมีรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมช่วยผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งก็มีกลิ่นอายของประชานิยม.

ประชานิยมที่เป็นปัญหา คือ ประชานิยมสุดขั้ว เช่น ที่เคยเกิดในอาร์เจนตินา (สมัยประธานาธิบดีอิริโกเยน และ ประธานาธิบดีเปรอง) และ ล่าสุดในกรีซ .ประชานิยมสุดขั้ว เกิดจาก นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมเพื่อมุ่งชนะการเลือกตั้ง (เมื่อชนะด้วยวิธีนี้ก็อยากจะใช้วิธีนี้อีกไปเรื่อยๆ) และ ประชาชนเกิดเสพประชานิยมจนติด เกิดการอ่อนแอไม่มุ่งมั่นจะสร้างสิ่งต่างๆด้วยตนเอง/คอยแต่จะพึ่งรัฐบาล คล้ายๆ เสพติด. ดูจากประชาชนกรีซที่ออกมาก่อจลาจลเมื่อไอเอ็มเอฟเข้าควบคุมเศรษฐกิจของประเทศ และ บีบให้รัฐฐาลกรีซลดเงินด้านประชานิยม.

ประชานิยม ก็คล้าย ยามอร์ฟีน ที่เอาไว้ระงับปวด .ถ้าใช้ในขนาดที่พอดี ไม่มากเกินก็เป็นยาระงับปวดชั้นเลิศ แต่ ถ้ามากเกินไปอาจเกิดโทษ และ ถ้าใช้นานเกินไปอาจเสพติด .

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวมอร์ฟีน แต่ปัญหาอยู่ที่ลักษณะการใช้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คงต้องคอยดูต่อไปว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรกับเงินกองคลังที่มาจากการบริจาคของหลวงตา แลจะรีบร้อนใช้เงินจำนวนนี้จังเลย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ประชานิยมสุดขั้วที่เลยเถิด จนทำความเสียหาย

ในอาร์เจนตินา

http://bit.ly/nsrc48

1. "....ในอาร์เจนตินา ในปี พ.ศ.2459 เมื่อฮิโปลิโต อิริโกเยน ชนะการเลือกตั้ง และนำเงินงบประมาณมาใช้จ่ายในการซื้อความนิยมจากประชาชนอย่างไม่อั้น อันถือเป็นต้นตำรับของนโยบายประชานิยมในปัจจุบัน ผลก็คือเงินสำรองหมดประเทศ ต้องไปกู้ยืมมาจากต่างประเทศ หนักเข้าก็ไม่มีประเทศไหนยอมให้กู้ จึงหันมาออกพันธบัตรจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง และ ประเทศอาร์เจนตินาต้องตกอยู่ในสภาพล้มละลายเป็นเวลาถึง 40 ปี...."

http://bit.ly/qnIRxn

2.".....เมื่อครองอำนาจเปรองได้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้มากว่า 1 สมัย บริหารประเทศโดยใช้นโยบายประชานิยม แจกเงินและสิ่งของให้คนยากจน สนับสนุนเอกชน ควบคุมสหภาพแรงงาน ซื้อหนังสือพิมพ์มาเป็นกระบอกเสียงของตัวเอง และผูกขาดสื่อสารมวลชน ภายในเวลาปีเศษรัฐบาลเปรองใช้เงินสำรองของประเทศหมดเกลี้ยง เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประชาชนออกมาประท้วงจนเกิดความวุ่นวาย เมื่อได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 เปรองยังใช้นโยบายแบบเดิม วิกฤติเลวร้ายลงจนทหารออกมาทำรัฐประหารในปี 2498 เปรองต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ จากนั้นปี 2516 เปรองกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งแต่อยู่ได้ไม่ถึง 10 เดือนก็เสียชีวิต ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2517..."


ในกรีซ เมื่อเร็วๆ นี้

http://bit.ly/pjIONm

3."...ภายใต้การแข่งขันเอาแพ้-เอาชนะในลักษณะเช่นนี้ อาจารย์วีระพงษ์ สรุปไว้ว่า ส่งผลให้ ประชาชนชาวกรีซ...เสพติดกับการได้ค่าจ้างงานสูงกว่าความเป็นจริง...เสพติดกับการได้สวัสดิการที่ดีๆ จากรัฐ...เสพติดกับการกู้ยืมเงินอย่างง่ายๆ แม้ว่าจะไม่มีปัญญาใช้คืน...และเสพติดกับความมักง่ายที่เกิดจากนโยบายประชานิยม ซึ่งแต่ละพรรคแข่งกันหยิบยื่นให้มากว่า 30 ปี เรียกว่า...ถ้าหากพรรคไหนไม่งัดนโยบายประชานิยม ลด-แลก-แจก-แถม ออกมาโฆษณาให้หนักๆ เข้าไว้ มักจะต้องแพ้เลือกตั้งไปซะทุกที ..."

....................

ส่วนประชานิยมที่พอดี ที่เหมาะสม พรรคการเมืองที่เสนอไม่ได้เสนอจนเว่อร์ และ ประชาชนก็ไม่ถึงขั้นเสพติดประชานิยม ก็ ไม่ใช่ปัญหา. เป็น สิ่งที่ดี ถูกต้องทั้งในทางโลก และ ทางธรรม.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นด้วย กับการนำเงินคงคลังพิเศษ ไปทำเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เพราะอาจจะเป็นช่องทางให้เกิดการคอรัปชั่นขนานใหญ่เกิดขึ้น เพราะมนุษย์บางกลุ่มบางคน ยังเขลาเบาปัญญา หวังในลาภ ยศ สรรเสริญ จนเกินไป บ้างมีเงินมีทรัพย์สินร่ำรวยมหาศาล ก็ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักคิดว่า ความร่ำรวย ความมีทรัพย์สินมากมาย อย่างดีก็แค่มีไว้ให้ลูกหลายสืบทอดต่อไป คนรวยกับคนจน ต่างกันนิดเดียวเท่านั้น คนรวย,คนจน รับประทานอาหาร สามมื้อเหมือนกัน แต่อาหารของทั้งสอง แตกต่างกัน ซึ่งมันก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจในหลักโภชนาการ คนรวยมี บ้านหลังใหญ่ มีรถยนต์คันหรู มีเงินฝากในธนาคารเยอะ มีกิจการหลากหลาย แล้วขอถามว่า พวกเขามีอะไร ได้อะไรจากสิ่งที่พวกเขามีอยู่ มันก็ได้แค่ความคิดของตัวเองเท่านั้น ลองไปพิจารณาเถิด
และที่ว่าไม่เห็นด้วย กับการนำเงินคงคลัง ไปทำให้เกิดประโยชน์นั้น ก็เพราะผิดหลักการครองเรือน ในที่นี้จะไม่อธิบาย เพราะพวกเขาที่นำความคิดนั้นมาน่าจะรู้ดี ว่าผิดหลักอย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีข่าวคืบหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

http://bit.ly/ozxw1i

รัฐบาลยืมมือฝรั่งกินตับคลังหลวง

กระทรวงการคลังยังไม่ยอมถอย เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ก็เปลี่ยนหน้าให้ นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังมาแถลงว่า ธีระชัยได้ขอให้ธนาคารโลกทำการศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Funds) ของประเทศไทย รวมทั้งเชิญชวนให้บรรษัทการเงินระหว่างประเทศเข้ามาร่วมในการพัฒนาระบบการเงินฐานรากของไทยด้วย

ทั้งนี้ เป็นการร้องขอหลังจากที่ผู้แทนของธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เข้าพบเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสที่ รมว.คลัง เข้ารับตำแหน่งใหม่

สำหรับการพบกับตัวแทนเอดีบี รมว.คลัง ได้เชิญชวนให้เอดีบีเข้ามาพัฒนากองทุนร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไทยที่จะดำเนินการได้ในอนาคตอันใกล้นี้

พระอาจารย์นพดล นันทโน เจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา จ.กำแพงเพชร ลูกศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือพระธรรมวิสุทธิมงคล แห่งวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี กล่าวว่า ขณะนี้คณะลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัวทั่วประเทศ กำลังจับตาดูความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลที่จะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกไปตั้งกองทุนความมั่งคั่งฯ อย่างใกล้ชิดว่า จะนำเงินส่วนใดไปใช้ เพราะเงินทุนสำรองฯ แยกแบบกลางๆ จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนของฝ่ายออกบัตร ที่ใช้หนุนหลังธนบัตรหรือที่เราเรียกว่าคลังหลวง และ ส่วนที่เป็นของฝ่ายการธนาคาร ซึ่งอันนี้การบริหารขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ธปท. ว่าจะดูแลบริหารอย่างไรจึงจะเหมาะสม

ถ้าชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลจะเอาเงินจากส่วนของคลังหลวงออกมาใช้แน่แล้ว เราขอยืนยันว่า ทั้งพระและลูกศิษย์หลวงตามหาบัวทั่วประเทศไม่นิ่งนอนใจแน่ จะออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลแน่นอน

"เงินในส่วนของคลังหลวง มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทองคำหรือเงินสด ตรงนี้ต้องเก็บไปใช้ในยามจำเป็น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเท่านั้น เพราะเท่าที่ไปฟัง ธปท.มา เราเข้าใจว่าจริงๆ แล้วมีไม่เพียงพอด้วยซ้ำ ฉะนั้น ควรเก็บไว้ใช้เฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น รัฐบาลไม่ควรไปแตะต้องคลังหลวง มันไม่เป็นมงคลเพราะเหมือนเอาเงินที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย สะสมไว้ให้ออกมาใช้ มันง่ายเกินไป" พระอาจารย์นพดล กล่าว

พระอาจารย์นพดล กล่าวว่า การที่เราคัดค้านการนำเงินคลังหลวงไปใช้ ไม่ใช่ว่าเรามองนโยบายการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติไม่ดี แต่เรามองว่ามันยังไม่จำเป็นถึงขั้นต้องนำเงินจากคลังหลวงไปตั้ง รัฐบาลน่าจะมีช่องทางอื่นในการบริหารจัดการ หรือหาเงินไปตั้งกองทุนได้ถ้าเห็นว่ามันดี มีประโยชน์ เป็นช่องทางหารายได้เข้าประเทศ

พระอาจารย์นพดล กล่าวทิ้งท้ายว่า พวกเราลูกศิษย์ของหลวงตามหาบัวทุกคนขอเอาใจช่วยผู้ว่าการ ธปท. ที่ตั้งใจปกป้องคลังหลวงโดยไม่ห่วงจะสูญเสียตำแหน่ง ถือว่าท่านทำหน้าที่ปกป้องสมบัติชาติอย่างเต็มกำลัง ถือเป็นวีรบุรุษของเรา ต้องเอาใจช่วยท่านอย่างเต็มที่ เพราะถือว่ามีเจตนาดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อัมมารเตือนหลายประเทศทำกองทุนมั่งคั่งแล้ว'เจ๊ง'

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

http://www.suthichaiyoon.com/detail/14775


"อัมมาร" เตือนสติ อย่าคิด "สุ่มเสี่ยง" จัดตั้ง "กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ" เหตุหลายประเทศทำแล้วขาดทุนหนัก ขณะที่อีกหลายนักวิชาการออกโรงค้านหวั่นทำชาติล่มจม หลังจากที่ "ธีระชัย" เร่งรัด "ประสาร" ตั้งดำเนินการยืนยันช่วยลดการบริหารความเสี่ยงทุนสำรองระหว่างประเทศของแบงก์ชาติ โดบยกตัวเลขปี 2553 แบงก์ชาติทุนติดลบกว่า 4.3 แสนล้านบาท

ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งของกระทรวงการคลัง แต่ขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นปัญหาของรัฐบาลที่จะทำให้กองทุนนี้ประสบความสำเร็จ ซึ่งหลายประเทศทำแล้วก็เจ๊ง ยกตัวอย่างของประเทศลิเบีย แม้กระทั่งสิงคโปร์ที่แม้จะมีการบริหารจัดการที่ดี แต่ผลการดำเนินงานของกองทุนก็ยังมีปัญหา

อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยกับการลดสัดส่วนการลงทุนในดอลลาร์ของทุนสำรองระหว่างประเทศ และปัจจุบัน ธปท.มีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนอยู่มาก สะท้อนถึงความอ่อนแอของเรา

"เหมือนวายุภักษ์ที่วัตถุประสงค์จัดตั้งครั้งแรกเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แต่สุดท้ายกลับไปลงทุนในหุ้น" ดร.อัมมาร กล่าว

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีคลัง ได้เปิดประเด็น"ขายไอเดีย" เร่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้จัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้เพื่อการลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มประเทศในเอเชีย ซึ่งล่าสุดเขาได้เขียนข้อความโพสต์ผ่านเฟซบุ๊คของตัวเขาเอง "Thirachai Phuvanatnaranubala" เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา ในหัวข้อเรื่องว่า "ตอบคำถามบางเรื่องเกี่ยวกับกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ"

นายธีระชัย ได้ตอบโจทย์คำถามข้อที่ 1 ของจัวเอง ที่ระบุว่า การนำเงินทุนสำรองไปลงทุนแบบกองทุนมั่งคั่งของชาติจะมีความเสี่ยงหรือไม่ โดยต้องยอมรับว่าการลงทุนทุกรูปแบบมีความเสี่ยงทั้งนั้น เช่น สมมติให้กู้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูงในเอเชีย ลักษณะความเสี่ยงก็อาจเกิดจากจำนวนผู้โดยสารมีน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่น่าจะเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เนื่องจากเอเชียเป็นประเทศกำลังพัฒนา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่สูง ดังนั้น โครงการใดที่สนองความจำเป็นพื้นฐาน ถึงแม้หากจะบังเอิญมีปัญหาระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็จะมีโอกาสฟื้นได้แน่นอน

"อย่าเข้าใจผิดว่าการที่ ธปท. นำเงินทุนสำรองไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและยุโรปดังที่ปฏิบัติอยู่ขณะนี้ไม่มีความเสี่ยง เพราะที่แท้จริงมีความเสี่ยงทั้งในด้านราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ และในด้านค่าเงินต่างประเทศที่อ่อนตัวเพราะมีการพิมพ์เงินออกมามากเกินไป" นายธีระชัย กล่าว

ระบุ ธปท.ขาดทุน 4.3 แสนล้าน

นายธีระชัย กล่าวว่า ทราบหรือไม่ว่าปี 2553 ธปท.มีผลขาดทุนจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 117,473 ล้านบาท และยังมีขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์อีก 260,211 ล้านบาท จำนวนเงินที่สูงมหาศาลเช่นนี้ คือ ปัญหาที่ควรจะต้องแก้ไข ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงกิจการของ ธปท. แต่เป็นการช่วยกันคิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากสิ้นปี 2553 ธปท. มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาลถึง 431,829 ล้านบาท ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็จะต้องปิดกิจการไปแล้ว

"นี่ไม่ใช่สี่แสนบาทนะครับ แต่เป็นสี่แสนล้านบาท แม้ ธปท.ไม่ได้ขอให้รัฐบาลช่วยตั้งงบประมาณมาช่วยแก้ไขขาดทุน แต่ทรัพย์สินของ ธปท. ก็เป็นทรัพย์สินของชาติ ซึ่งควรมีการบริหารจัดการให้ดีที่สุด"

นอกจากนี้ การที่ ธปท.ขาดทุนจำนวนมหาศาล ทำให้ ธปท. ไม่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีอยู่กว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ ทำให้รัฐบาลมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อกองทุนฟื้นฟูฯ แต่ละปี 5-6 หมื่นล้านบาท และขณะนี้ ธปท.ได้ขึ้นดอก เบี้ยไปอยู่ในระดับสูง ทำให้ภาระดอกเบี้ยที่รัฐบาลต้องจ่ายสูงขึ้นไปด้วย จึงเป็นภาระต่อนโยบายทางการคลังอย่างมาก

ชี้ไม่จำเป็นกันเงินไว้ให้ต่างชาติ

รัฐมนตรีคลัง กล่าวถึง ความจำเป็นที่ ธปท.ต้องกันทุนสำรองสภาพคล่องเอาไว้เท่ากับเงินที่ต่างชาติได้นำมาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรหรือไม่ เพื่อรองรับในกรณีที่ต่างชาติอาจจะขายและนำเงินกลับออกไปว่า ไม่จำเป็นต่างชาติที่หากจะรุมกันขายหุ้น ก็จะทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะทำให้ต่างชาติชะลอการขายกันเอง ส่วนคนไทยก็ไม่ต้องไปตื่นเต้น และคอยรอรับซื้อเมื่อราคาลงต่ำก็พอ

นอกจากนี้ หากต่างชาติรุมกันนำเงินกลับออกไป เงินบาทก็จะอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ธปท.ไม่ควรจะไปฝืนสภาพตลาด ธปท.ควรจะปล่อยให้ค่าเงินปรับลดลงตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินทุนสำรองเข้าไปรองรับเอาไว้ดังเช่นในปี 2540

นักวิชาการหวั่นทำประเทศชาติล่มจม

นายไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค้านแนวคิดการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งของรัฐบาล โดยเห็นว่า เป็นความเสี่ยงที่รัฐบาลไม่ควรนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน เพราะรูปแบบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนที่จะมีกำไรระยะปานกลาง หรืออาจจะไม่มีกำไรต่อโครงการโดยตรงเลย แต่ผู้ลงทุนจะมีผลตอบแทนเป็นอย่างอื่น เช่น การลงทุนในรถไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่มีผลต่อรายได้จากโครงการโดยตรง แต่จะมีผลทางอ้อม เช่น จากการท่องเที่ยว เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างในหลายประเทศที่นำทุนสำรองระหว่างประเทศไปตั้งเป็นกองทุนแล้วประสบปัญหาขาดทุน ส่วนประเทศที่นำทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนแล้วประสบความสำเร็จก็มีบ้าง เพราะประเทศเหล่านั้น มีกระบวนการจัดการที่ดี มีนักการเมืองที่มีความรับผิดชอบ ไม่หาประโยชน์จากนโยบาย แต่ในบ้านเราไม่ใช่

ขณะเดียวกัน ยังเห็นว่ารูปแบบการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศของ ธปท.โดยการนำไปลงทุนในเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่มีผลกำไร หรือให้ผลตอบแทนต่ำ แต่อย่าลืมว่า สหรัฐอเมริกาไม่เคยผิดนัดชำระหนี้

"แม้เราจะไม่มีกำไรจากการบริหารทุนสำรอง แต่เราก็ไม่เคยเสียหายถึงขั้นล่มจม ยกเว้นกรณีของวิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งก็ไม่ใช่สาเหตุจากภาครัฐ แต่เป็นของภาคเอกชน ฉะนั้นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ประเทศอื่นที่เขาทำสำเร็จ เพราะเขามีข้อมูล วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนเรา ฉะนั้น ก็ขอให้คิดให้หนัก" นายไพโรจน์ กล่าว

"ปรีชา" ชี้ส่อขัดรัฐธรรมนูญ

นายปรีชา สุวรรณทัต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญกฎหมายด้านการเงินการคลัง ชี้ว่า ท่าทีล่าสุดของรัฐบาลที่จะแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินตรา พ.ศ. 2501 เพื่อเปิดทางให้นำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ได้นั้น แม้กฎหมายฉบับดังกล่าวจะต้องแก้ไขแน่นอนเพื่อสนองแนวคิดนี้ แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ

นายปรีชา อธิบายว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีกรอบวินัยการเงินการคลังและงบประมาณบัญญัติไว้ในหมวด 8 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 มาตรา คือ มาตรา 166-170 บางมาตราเป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับเดิมๆ แต่บางมาตราก็ได้บัญญัติขึ้นใหม่

"ดำริของรัฐบาลที่จะให้มีกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งชาตินั้นผมไม่ติดใจ โดยเฉพาะถ้าได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียโดยละเอียดรอบคอบแล้วว่ามีข้อดีมากกว่าเสียก็สามารถทำได้ แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วง คือ เรื่องการนำเงินมาตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่ง เพราะจากที่ฟังการให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีคลัง ทราบว่าจะนำมาทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่ง ธปท.ดูแลอยู่ ซึ่งหากจะทำเช่นนั้นจริงก็มีปัญหาที่รัฐบาลต้องระมัดระวังและรอบคอบ"

ประเด็นแรกที่รัฐบาลต้องตอบให้ชัดเสียก่อน คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่ ธปท.รักษาไว้ ถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ ซึ่งคำว่า "เงินแผ่นดิน" ในปัจจุบันไม่มีคำนิยามเอาไว้ในทางกฎหมาย แต่โดยทางวิชาการหรือที่กระทรวงการคลังยึดถือ "เงินแผ่นดิน" หมายถึงเงิน ที่เป็นของทุกหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ภูมิภาค หรือส่วนท้องถิ่น รวมถึงเงินของรัฐวิสาหกิจ คือ อะไรที่ไม่ใช่เงินของเอกชนถือเป็นเงินแผ่นดิน

เมื่อความหมายของเงินแผ่นดินเป็นอย่างนั้น ก็น่าคิดว่าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่รัฐบาลจะแบ่งบางส่วนนำมาใช้ตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งฯ ก็น่าจะเป็น "เงินแผ่นดิน" ด้วย คำถามต่อไป ก็คือ เมื่อเป็นเงินแผ่นดินแล้ว สามารถนำมาใช้จ่ายได้หรือไม่

ประเด็นนี้มีรัฐธรรมนูญในหมวด 8 เกี่ยวข้องอยู่ 2 มาตรา คือ มาตรา 169 และ มาตรา 170 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินแผ่นดินเอาไว้ ที่จะอนุญาตให้ใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้เฉพาะที่อนุญาตไว้ในกฎหมาย 4 ฉบับ ซึ่งไม่มี พ.ร.บ.เงินตรา สรุปก็คือถ้าเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ ก็จะขัดมาตรา 169 แม้จะแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราแล้วก็ตาม

ในขณะเดียวกัน ก็มีความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยเอาไว้ว่า ธปท.เป็นองค์กรของรัฐ มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพราะ ธปท.เป็นหน่วยงานธุรกิจลักษณะหนึ่งที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซ็นต์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กองทุนมั่งคั่ง

โดย Korbsak Sabhavasu



กองทุนมั่งคั่ง - At the begining

http://on.fb.me/paLhKd


กองทุนมั่งคั่ง - At the crossroad

http://on.fb.me/nI6cdb


กองทุนมั่งคั่ง - The solution

http://on.fb.me/n8wdbw


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บทความของ
รศ.ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม


จากการที่ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้อาศัยสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสารในเชิงโปรโมตการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมานั้น นายธีระชัยได้เผยแพร่บทความเรื่อง “ตอบคำถามบางเรื่องเกี่ยวกับกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ” ผ่านทางเฟซบุ๊กของตน

ในบทความนี้ นายธีระชัยได้พยายามโน้มนำผู้อ่านให้เห็นคล้อยกับการจัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ ด้วยการนำผลการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ปรากฏในงบการเงินประจำปี 2553 มาใช้สนับสนุนคำกล่าวอ้างที่ว่า การบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปแบบอนุรักษนิยมที่กระทำกันอยู่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ด้วยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและยุโรป) ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งความเสี่ยง ตรงกันข้ามกลับส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยประสบกับการขาดทุนจำนวนมหาศาลอีกด้วย

นายธีระชัยได้เขียนในบทความดังกล่าวว่า

"...ท่านทราบหรือไม่ว่า ปี 2553 ธปท.มีผลขาดทุนจากดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 117,473 ล้านบาท และยังมีขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์อีก 260,211 ล้านบาท"

นายธีระชัยยังเพิ่มเติมอีกว่า "...ณ สิ้นปี 2553 ธปท.มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาล สูงถึง 431,829 ล้านบาท ถ้าเป็นธุรกิจเอกชนก็จะต้องปิดกิจการไปแล้ว นี่ไม่ใช่สี่แสนบาทนะครับ แต่เป็นสี่แสนล้านบาท"

เป็นธรรมดาที่ผู้อ่านบทความของนายธีระชัย ย่อมต้องรู้สึกตกใจไปกับตัวเลขที่นายธีระชัยยกมาอ้าง เพราะว่ามูลค่าความเสียหายจากการขาดทุนข้างต้นนี้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อครั้งธนาคารแห่งประเทศไทยต้องสูญเสียเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลไปกับการปกป้องค่าเงินบาทในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เลยทีเดียว

ในบรรดาผู้กด like บนหน้าเฟซบุ๊กของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้น มีทั้งผู้รู้และไม่รู้ในเศรษฐศาสตร์การเงิน (โดยเฉพาะเรื่องของการธนาคารกลาง) และยังมีคนอีกมากมายที่ไม่ได้ติดตามข่าวคราวในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกด้วย

การที่นายธีระชัยนำข้อมูลบางประการที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับทราบนัก มาถ่ายทอดในวงกว้าง ย่อมเป็นการเปิดหูเปิดตา ให้ความรู้กับชุมชนออนไลน์ แต่การให้ข้อมูลนั้นควรจะต้องมีความครบถ้วน รอบด้าน มิฉะนั้นแล้วอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนจนกลายเป็นอคติได้ ผู้อ่านควรรับทราบด้วยว่า

1. การขาดทุนที่ปรากฏในงบการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยนี้ มิใช่สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามปกปิด ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่สาธารณะสามารถเข้าไปดู และศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งงบการเงินนี้ได้ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานบัญชีจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เรียบร้อยแล้วด้วย และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีการเผยแพร่รายงานงบการเงิน พร้อมแถลงชี้แจงถึงรายละเอียดในทุกๆ ปี

2. หากผู้อ่านได้มีโอกาสพิจารณารายละเอียดในงบการเงินปี 2553 นี้จะพบว่า “การขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์” จำนวน 260,211 ล้านบาท ที่นายธีระชัยอ้างถึงนั้น เป็นการขาดทุนที่ "ยังไม่เกิดขึ้นจริง" จากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ที่เรียกว่า "ยังไม่เกิดขึ้นจริง" เพราะเป็นการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยถือครองอยู่ว่ามีมูลค่าในรูปเงินบาทเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ซึ่งมูลค่าที่ลดลงของสินทรัพย์นี้ เป็นการลดลงในทางบัญชีเท่านั้น เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งขึ้น จึงทำให้สินทรัพย์ที่ตราในรูปเงินตราต่างประเทศมีมูลค่าเป็นเงินบาทลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินดอลลาร์สหรัฐที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสะสมมาในช่วงหลังวิกฤติ 2540 ในช่วงเวลานั้นค่าเงินบาทอยู่ในราว 40 บาท/1 ดอลลาร์ มาในวันนี้ ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอยู่ในราว 30 บาท/1 ดอลลาร์ จึงเป็นผลให้มูลค่าสินทรัพย์ต่างประเทศลดลงกว่าเดิม 10 บาทต่อดอลลาร์ในทันที

อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ในคลังของ ธปท. หาได้ลดลงไม่ ตัวปริมาณเงินดอลลาร์ยังคงอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น การนำตัวเลขการขาดทุนทางบัญชี หรือการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงมานำเสนอ เสมือนเป็นการขาดทุนที่ได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วนั้น จึงไม่ต่างอะไรกับการบิดเบือนข้อเท็จจริง

3. การขาดทุนทางบัญชีอันเนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น มิใช่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา แต่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงเวลาหลังจากที่เศรษฐกิจไทยได้พลิกฟื้นขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ซึ่งการขาดทุนทางบัญชีได้ถูกบันทึกไว้และปรากฏเป็นการขาดทุนสะสม จนมาถึงวันนี้ การขาดทุนสะสมได้ทำให้ส่วนของทุนในงบการเงินติดลบถึง 431,829 ล้านบาท ดังที่ปรากฏในบทความของนายธีระชัย

อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่ปรากฏเป็นเพียงตัวเลขสะสมของการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการขาดทุนทางบัญชีของมูลค่าทรัพย์สินที่ดูเหมือนจะถูกลดค่าลงเมื่อแสดงค่าในรูปของเงินบาทเท่านั้น ตัวเลขการขาดทุนสะสมนี้ แม้จะดูมหาศาล แต่ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และมิใช่ตัวเลขที่ใครจะให้ความสำคัญแม้แต่น้อย

4. งบการเงินนี้สะท้อนให้เห็นการดำเนินกิจกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ส่วนที่ไม่ปรากฏในงบการเงินนี้ ได้แก่ กิจการของทุนสำรองเงินตรา กิจการธนบัตร และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

ดังนั้น การพูดว่า “ธปท.มีส่วนของทุนติดลบเป็นจำนวนเงินมหาศาล” จึงไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบัญชีการเงินอยู่ 3 บัญชีด้วยกัน ได้แก่ บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ บัญชีเงินตรา และบัญชีผลประโยชน์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

บัญชีที่มีสินทรัพย์อยู่จำนวนมหาศาล (ซึ่งทั้งกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานอยากเอาเงินส่วนนี้ออกมาใช้จัดตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ) คือ บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ ฐานะของเงินสำรองระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมนั้น อยู่ที่ 1.89 แสนล้านดอลลาร์ (หรือ 5.68 ล้านล้านบาท)

จะเห็นได้ว่า หากจะพิจารณาถึงฐานะทางการเงินที่แท้จริงของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น จำต้องพิจารณาโดยรวมทุกบัญชีเข้าด้วยกัน มิใช่มองเพียงบัญชีเดียว

อันที่จริงผู้อ่านที่มีวิจารณญาณน่าจะมองเห็นตรรกะที่ไม่สอดคล้องกันในบทความของนายธีระชัยได้ โดยมิต้องอ่านบทความของผมด้วยซ้ำ เพราะหากธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารเงินของประเทศจนเกิดความเสียหาย ขาดทุนย่อยยับแล้วไซร้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลที่ไหนไปให้คุณธีระชัยเอาไปตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติได้?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
อันที่จริงผู้อ่านที่มีวิจารณญาณน่าจะมองเห็นตรรกะที่ไม่สอดคล้องกันในบทความของนายธีระชัยได้ โดยมิต้องอ่านบทความของผมด้วยซ้ำ เพราะหากธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารเงินของประเทศจนเกิดความเสียหาย ขาดทุนย่อยยับแล้วไซร้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลที่ไหนไปให้คุณธีระชัยเอาไปตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติได้?

ท่านเจ้าของบทความประโยคนี้ครับ เรื่องตรรกะที่ท่านกหล่าวโยงไปถึงท่านร.ม.ต.คลังนี่ผมไม่สนใจหรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจคือตัวเจ้าของกระทู้ที่นำเรื่องนี้มาโพสในเว็บธรรมะ ไม่ทราบว่าเจ้าของ
กระทู้มีจุดประสงค์อะไรครับ ผมดูๆแล้วมันก็ไม่พ้นเรื่องการเมืองเลยนะครับ

ถ้าเจ้าของกระทู้จะอ้างว่าเป็นเรื่องของหลวงตาบัว ทางรัฐบาลเขาก็บอกแล้วว่า จะไม่ยุ่งกับ
เงินบริจาคของหลวงตา ขอร้องเถอะครับอย่าพยายามดึงของสูงเพื่อสนองตัญหาตัวเองเลยครับ
แบบนี้ชาวบ้านเรียกว่า พวกเสี้ยม บ้านเมืองวุ่นวายยังไม่พอหรือครับ
อะไรยี้ยังเอามาวุ่นวายกับธรรมะอีก

เสี้ยมให้คนด่าพระด่าจ้าวยังไม่หน่ำ นี่ยังมายุแย่ให้บ้านเมืองวุ่นวายอีก
อยากแสดงความเห็นอะไรทำไมไม่ออกตัวเลยว่าเป็นความเห็นตัวเอง
นี่ทำไมนิสัยไม่เปลี่ยน ชอบดึงคนโน้นโยงคนนี้ ทำให้คนเขาเกลียดกันมันไม่ดีน่ะ
แล้วก็อย่าทำตัวเป็นอีแอบซิครับ



ท่านผู้ดูแลครับกรุณาเข้ามาดูหน่อยซิครับว่า
กระทู้นี้กับอีกหลายกระทู้ของบุคคลคนนี้เป็นกระทู้อิงการเมืองหรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:
อันที่จริงผู้อ่านที่มีวิจารณญาณน่าจะมองเห็นตรรกะที่ไม่สอดคล้องกันในบทความของนายธีระชัยได้ โดยมิต้องอ่านบทความของผมด้วยซ้ำ เพราะหากธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารเงินของประเทศจนเกิดความเสียหาย ขาดทุนย่อยยับแล้วไซร้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลที่ไหนไปให้คุณธีระชัยเอาไปตั้งกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติได้?

ท่านเจ้าของบทความประโยคนี้ครับ เรื่องตรรกะที่ท่านกหล่าวโยงไปถึงท่านร.ม.ต.คลังนี่ผมไม่สนใจหรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจคือตัวเจ้าของกระทู้ที่นำเรื่องนี้มาโพสในเว็บธรรมะ ไม่ทราบว่าเจ้าของ
กระทู้มีจุดประสงค์อะไรครับ ผมดูๆแล้วมันก็ไม่พ้นเรื่องการเมืองเลยนะครับ

ถ้าเจ้าของกระทู้จะอ้างว่าเป็นเรื่องของหลวงตาบัว ทางรัฐบาลเขาก็บอกแล้วว่า จะไม่ยุ่งกับ
เงินบริจาคของหลวงตา ขอร้องเถอะครับอย่าพยายามดึงของสูงเพื่อสนองตัญหาตัวเองเลยครับ
แบบนี้ชาวบ้านเรียกว่า พวกเสี้ยม บ้านเมืองวุ่นวายยังไม่พอหรือครับ
อะไรยี้ยังเอามาวุ่นวายกับธรรมะอีก

เสี้ยมให้คนด่าพระด่าจ้าวยังไม่หน่ำ นี่ยังมายุแย่ให้บ้านเมืองวุ่นวายอีก
อยากแสดงความเห็นอะไรทำไมไม่ออกตัวเลยว่าเป็นความเห็นตัวเอง
นี่ทำไมนิสัยไม่เปลี่ยน ชอบดึงคนโน้นโยงคนนี้ ทำให้คนเขาเกลียดกันมันไม่ดีน่ะ
แล้วก็อย่าทำตัวเป็นอีแอบซิครับ



ท่านผู้ดูแลครับกรุณาเข้ามาดูหน่อยซิครับว่า
กระทู้นี้กับอีกหลายกระทู้ของบุคคลคนนี้เป็นกระทู้อิงการเมืองหรือเปล่า


ศาสนาอยูได้เพราะการเมือง

การกล่าวหาว่าใครเสี้ยมใครยุแยงต้องพิสูจน์ต้นเหตุ

อันนั้นแหละการเมืองล้วนๆถ้าหากกล่าวถึง

แต่ทศพิศราชธรรมที่ใช้ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขในเวปธรรมะพูดถึงได้

เช่นเดียวกับเหตุกังวลที่ท่านตรงประเด็นเป็นห่วงเป็นใยบ้านเมือง

นี่ยังไม่กล่าวถึงความอาจหาญที่คิดแก้ไขพระไตรปิฎก

ที่บอกว่าอย่าทำตัวเป็นอีแอบหรือไอ้แอบดีครับ

และแอดมินก็ต้องทำหน้าที่ให้เข็มแข็งสมกับเป็นผู้บริหาร

ต้องแยกระหว่างความอ่อนแอกับเมตตา

และต้องมีวิสัยทรรศที่ยาวไกล

ต้องแยกแยะได้ว่าอันไหนถูกและผิด

ที่แล้วมาปล่อยประละเลยไปมาก

ที่สำคัญ

ต้องทำหน้าที่ ไม่ต้องมีอคติกับความคิดเห็นใดๆ

สิ่งเดียวที่จะทำคือ

ความคิดที่ไม่เกิดผลดีต่อผู้อ่าน

ด้วยความปราถนาดีจริงๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมจะยกตัวอย่างธรรมะที่เป็นการเมืองของท่านพุทธทาส

ให้เห็นว่า การปกครองไม่ว่าจะระบอบใดถ้าเป็นธรรม เป็นไปตามครรลองธรรมะ แม้ว่าจะเรียกระบอบนั้นว่า

เผด็จการ คอมมูนนิสต์ หรืออะไรก็ตาม ถือว่าเป็นการปกครองโดยธรรม

แต่การปกครองใดที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแต่แฝงหรืออีแอบมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้เป็นความสุขของปวงชน ก็ไม่เรียกว่าเป็นการปกครองโดยธรรม


ตรงประเด็น เขียน:
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives

ประชาธิปไตยที่ว่า เป็นของประชาชน
เพื่อประชาชน โดยประชาชนนั้น
ใช้ได้เฉพาะประชาชนที่มีธรรมเท่านั้น
ถ้าประชาชนไม่มีธรรม
มันก็กลายเป็นประชาธิปตายเท่านั้นเอง
ดังนั้น ต้องหว่านพืชธรรมก่อนพืชประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยเพื่อลดหรือป้องกันความเห็นแก่ตัว
ถ้าเห็นแก่ตัวก็มีแต่ประชาธิปตาย โดยไม่รู้สึกตัว
ความไม่เห็นแก่ตัวจึงเป็นรากฐานของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยแท้จึงมีแต่ความไม่เห็นแก่ตัว
ซึ่งเป็นของมีได้ยาก สำหรับปุถุชนสมัยนี้ที่บูชาวัตถุ

พุทธทาสภิกขุ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2011, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เสี้ยมให้คนด่าพระด่าจ้าวยังไม่หน่ำ นี่ยังมายุแย่ให้บ้านเมืองวุ่นวายอีก
อยากแสดงความเห็นอะไรทำไมไม่ออกตัวเลยว่าเป็นความเห็นตัวเอง
นี่ทำไมนิสัยไม่เปลี่ยน ชอบดึงคนโน้นโยงคนนี้ ทำให้คนเขาเกลียดกันมันไม่ดีน่ะ
แล้วก็อย่าทำตัวเป็นอีแอบซิครับ


ท่านผู้ดูแลครับกรุณาเข้ามาดูหน่อยซิครับว่า
กระทู้นี้กับอีกหลายกระทู้ของบุคคลคนนี้เป็นกระทู้อิงการเมืองหรือเปล่า


ผมไม่ได้ตั้งใจเข้ามาโพสต์ ด้วยความสัตย์จริง

แต่รับพฤติกรรมคุกคามการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของท่านท่านผมยกมาข้างต้นไม่ได้

ทำไมเวลานี้ทุกวงการจึงมีแต่การคุกคามแม้แต่ในเวปธรรมะ

ทำไมเดี๋ยวนี้ต้องแสดงความคิดเห็นให้ถูกใจคนกลุมใดกลุมหนึ่งมิฉนั้นจะถูกปิดกั้นหรือคุกคามด้วยการกล่าวหาที่หยายคาย(ถึงจะไม่ใช่คำหยาบ)

ถ้า

การแสดงความคิด แสดงเหตุผล กระทำไม่ได้ ก็จงอย่าเรียกว่าประชาธิปไตยเลยครับ

อนาธิปไตย์ก็ไม่ควรเรียก

แม้แต่วรรณะที่ต่ำที่สุดในบางสังคมยังมีสิทธฺในความคิดเห็นได้

ถ้าสังคมไทยจะมาจำกัดความคิดเห็นให้ต้องเป็นไปตามคนบางกลุ่ม ก็นับว่าถอยหลังไปหลายร้อยปี

และสรุปว่าที่เจริญนั้นแค่วัตถุไม่ใช่วัฒนธรรม

ผมมีคำถามว่า

ประเทศไทย

ประชาชนถูกจำกัดเสรีภาพไปตั้งแต่เมื่อไหร่

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไป

เพราะ

ไม่เช่นนั้นคนไทยจะตกเป็นทาสความคิด ซึ่งประเทศที่พัฒนาล้าหลังที่สุดในเวลานี้ประชาชนของเขาก็มีเสรีภาพในการคิด ความคิด

โดยไม่ต้องถูกคุกคาม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 127 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร