วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 10:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๕. ช่วยอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ขอแบบภาษาปัจจุบัน อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
เช่น สังขาร นี่คือ ร่างกาย วิญาณนี่คือ ผี แล้วตัณหา คืออะไร.. นามรูป นี่หมายถึงตัวเราหรือเปล่าครับ แล้วสฬายตนะ คืออะไร ผัสสะคืออะไร ขอแบบอธิบายง่ายๆ ภาษาปัจจุบันหน่อยนะครับ ฟังภาษาโบราณไม่ค่อยจะเข้าใจ
เวทนา นี่คือ ความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่หรือเปล่าครับ


หลักปฏิจจสมุปบาท >>
เมื่อสิ่งนี้ มี ...... สิ่งนี้ ย่อมมี
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ .....สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี........สิ่งนี้ ย่อมไม่มี
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้........สิ่งนี้จึงดับไป

สังขาร คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
วิญญาณ คือการอาการจิตไปรู้ ความกระทบกันของ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก
ตัณหา คือ ความดิ้นรนของจิต ความทะยานอยากของจิตไปในอารมณ์ต่างๆ ที่จิตเสวยอารมณ์นั้นๆ
นามรูป คือ รูปกาย นามกาย
รูปกาย คือการประชุมของมหาภูตรูป 4 และรูปอาศัย 24
นามกาย คือ เวทนาและสัญญา
สฬายตนะ คือช่องต่อของการรับรู้เข้าสู่จิต มีประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ประตูใจคือมโน
ผัสสะ คือการที่ สิ่งสามสิ่งมาประจวบกัน คือ ประสาทสัมผัสใด +สิ่งที่มากระทบถูกต้องประสาทสัมผัสนั้น และจิตไปรู้เข้า
เวทนา อาการของจิตที่รู้ยิ่งขึ้น จากการกระทบจนเป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือ สุขก็ไม่ใช่ไม่สุขก็ไม่ใช่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 06 ส.ค. 2011, 09:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 02:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๖. คำว่า ตัณหา กิเลส อุปาทาน อวิชา เหมือนกันหรือเปล่าครับ กิเลสแปลว่า โลภ โกรธ หลง หรือเปล่าครับ
แล้วตัณหากับกิเลสแตกต่างกันอย่างไรครับ แล้วอวิชชา อุปาทาน คำเดียวกันหรือเปล่าครับ


ตัณหา อธิบายไปแล้ว กลับไปอ่าน
กิเลส เครื่องเศร้าหมอง อันมีมูลจาก อกุศลมูล 3 คือราคะ โทสะ โมหะ ถ้ากิเลสเหล่านี้จิตไปฉวยเข้าเอาเข้ามา ก็เป็นอุปกิเลส เครื่องเศร้าหมองของจิต
อุปาทาน อาการความยึดความถือ ของจิต
อวิชชา ความไม่รู้ในสัจจะ คืออริยะสัจจ์ 4

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๗. เจตสิก แตกต่างกับจิตอย่างไร ขอแบบอธิบายง่ายๆ ภาษาปัจจุบันหน่อยนะครับ ฟังภาษาพระไม่ค่อย
จะเข้าใจเท่าไร คำว่า จิตนี่หมายถึงจิตใจหรือเปล่าครับ หรือ จิตตัวอื่นๆ และคำว่า ขันธ์ 5 คืออะไรครับ อย่างคำว่า สังขารแปลว่าร่างกายหรือเปล่าครับ ส่วนคำว่า วิญญาณที่แปลว่าผีหรือเปล่าครับ แล้วคำว่า รูป หมายถึงรูปลักษณะ หรือรูประบายสี หรือ รูปจินตนาการครับ



จิต คือวิญญาณธาตุ ธาตุรู้
เจตสิก คืออาการจิต

ใจ ใช้ในความหมายของ มโนทวาร หรือมนายตนะ
วิญญาณในขันธ์ 5 คืออาการจิตที่ไปรู้ การกระทบของ อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก
สังขารในขันธ์ 5 คืออาการจิตที่ไปรู้ยิ่งขึ้น จนรู้ปรุงคิด รูป เวทนา สัญญา

ขันธ์ 5 จึงเป็นอาการจิต ที่ไปรู้ เป็นหลักใหญ่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 03:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๘. พระโสดาบัน พระสกิทาคามิ พระอนาคามิ พระอรหันต์ แตกต่างกันอย่างไรคับ และเป็นบุคคลที่ได้ญาณชนิดไหนกันบ้าง ทำไมจึงมีหลายระดับ


ภูมิของอริยะเจ้า แบ่งกันด้วยการละ วาง สลัดออก จากสังโยชน์ เครืองผูกจิตกับกิเลส
พระโสดาบัน ย่อม ละเครื่องผูกคือ ความรู้ความเห็นสักกายะที่ผิดๆได้ ละกิเลสอย่างหยาบด้วยศีลได้
ละความสงสัยในสัทธรรมได้
พระสกิทาคามี ทำลายกิเลสนิวรณ์ได้เด็ดขาด
พระอนาคามี ละกามฉันท์ ได้หมดสิ้น
พระอรหันต์ ละรูปราคะ อรูปราคะ ความฟุ้งซ่าน ความมีเราเป็นเรา และอวิชชาได้หมดสิ้น

ญาณที่พระสารีบุตรแสดงจำแนกไว้ 73 ญาณ มี มากมายหลายอย่าง แล้วแต่อุปนิสัยของท่านนั้นๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๑๕. คำว่า ตัวตน บุคคล สัตวะ ชีวะ หมายความว่าอย่างไร


ข้อ9-14 ไม่รู้เรื่องจ้ะ
ข้อ 15 ตัวตน บุคคล สัตวะ ชีวะ เป็นคำในพุทธกาล ใช้เรียก ความเป็นเรานี่ล่ะ
ว่า ตัวตน หรืออัตตา
บุคคล คือเฉพาะ ตนที่เป็นคน
สัตวะ คืออัตตาที่ยังข้องอยู่ในภพ
ชีวะ คือวิญญาณที่เป็นผี ล่องลอยจากร่างหลังตาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามที่ ๑๓. เปรตเกิดจากความห่วงหาอาลัยเวลาใกล้สิ้นชีพ แล้วสัตว์นรก อสุรกาย และเดรัจฉานเกิดจากอะไร


เปรต สัตว์นรก อสุรกาย และเดรัจฉาน เป็นทุคติภูมิของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยจิตอกุศล
เป็นความต่างๆ ของกรรม จึงกล่าวได้ว่า เกิดจากกรรม

เป็นเผ่าพันธ์ ของ อกุศลกรรม ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
สังขารธรรมทั้งหลาย อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาไม่ว่าขณะตื่นหรือหลับ อัตตสัญญาก็เป็นเพียงธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่เรา

แท้จริงเราไม่ได้เกิด ไม่ได้หลับ ไม่ได้สลบ ไม่ได้ตายเลย
เมื่อเราไม่ได้เกิดแล้ว จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเรามีชีวิตอยู่


:b4: smiley

สังขารธรรม คือ จิต เจตสิก รูป
สังขารธรรม คือ ขันธ์5

เรา เป็นแค่ สภาวะธรรม ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีจริงๆ
สิ่งที่มีจริงๆ คือ ขันธ์5 คือสังขารธรรม คือ จิต เจตสิก รูป

จิต ไม่ใช่ เรา
เจตสิก ไม่ใช่ เรา
รูป ไม่ใช่ เรา

เรา ไม่ใช่ จิต
เรา ไม่ใช่ เจตสิก
เรา ไม่ใช่ รูป

เรา ไม่ใช่ ขันธ์5
ขันธ์5 ไม่ใช่เรา

ขันธ์5 แม้จะมีจริง แต่ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตน ขันธ์5 เป็นอนัตตา

เรา เป็นแค่สภาวะธรรม จึงยิ่ง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน เข้าไปใหญ๋

จิต มีจริง แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา
เจตสิก มีจริง แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา
รูป มีจริง แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา

รูปบางรูป จับต้องได้ แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา

เพราะฉะนั้น คำว่าตัวตน ในภาษาพระ จึงไม่ใช่ตัวตน แบบทางวิทยาศาสตร์

คน สัตว์ สิ่งของ เป็นรูปบางรูป(ไม่ใช่รูปทั้งหมด) มองเห็นได้ จับต้องได้
แต่ ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2011, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ชีวิตเป็นคำใหม่ซะแล้ว อาจไม่ใช่คำในครั้งพุทธกาล
เพราะต้นไม้ก็มีชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
ในขณะที่ ต้นไม้สมัยพุทธกาล เป็นสิ่งไม่มีชีพ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 23:02
โพสต์: 157

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรต เกิดจาก ความอยาก อยาก อยาก

สัตว์นรก เกิดจากจิตที่เร่าร้อนเพราะกิเลส

อสุรกาย เกิดจากจิตที่ไม่กล้าละบาปทั้งที่รู้ ไม่กล้าทำบุญ

เดรัจฉาน เกิดจากจิตที่ไม่ละอายในการทำชั่ว ไม่เกรงกลัวที่จะทำบาป

.....................................................
มาตามหา เพื่อนร่วมทาง

ประโยชน์สูง-ประหยัดสุด > > ต้องทำให้ได้ คือแก้ไขตนเอง > > ฝึกหยุด-ไม่หยุดฝึก >
ไม่มีเวลาสำหรับความชั่วบาปอีกแล้ว. ." ทุกวินาทีเป็นวินาทีแห่งบุญ "
เราจะฝึกฝนตนเพื่อไปถึงจุดนั้นให้ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2011, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


perish
สมาชิก ระดับ 3
เขียนถาม "ทำอย่างไรจิตจึงจะหลุดพ้น ได้นิพพาน บรรลุอรหันต์

คำถามที่ ๑. ทำอย่างไรจิตจึงจะหลุดพ้น ได้นิพพาน บรรลุอรหันต์
คำถามตรงตัวอยู่แล้วครับ นิมนตร์พระคุณเจ้าผู้เจริญในธรรม รบกวนไขข้อข้องใจให้ด้วยครับ สาธุ

ตอบ ข้อ ๑. ปฏิบัติธรรม ตามหลักกรรมฐาน ๔๐ กอง จึงจะสามารถบรรลุโสดาบันได้ แต่ถ้าจะบรรลุอรห้นต์ ต้องปฏิบัติธรรม ตามหลักธรรม ศรีอารย์

คำถามที่ ๒. ร่างกายไม่ใช่ที่อยู่ของเรา เป็นที่อยู่ของจิต แต่ถ้าดูให้ดีจิตไม่ใช่ที่อยู่ของเรา แล้วอะไรจะต่อไปครับ
สมมติ ถ้าถอดตัวเราออกจากกาย แล้วมาถอดตัวเราออกจากจิต แล้วเราจะถอดอะไรต่อไปครับ ....
สาธุขอพระคุณเจ้าผู้เจริญในธรรมช่วยตอบด้วยนะครับ

[b]ตอบ ข้อที่ ๒. คุณเข้าใจผิดแล้วขอรับ คำว่าเรา ก็คือ ร่างกาย จิต เจตสิก รวมกันขอรับ มนุษย์ถอดจิตไม่ได้ขอรับ แต่ถ้าปฏิบัติธรรม บรรลุถึงชั้น สกทาคามี หรือ อนาคามี ก็จะสามารถ เนรมิตกายตัวเองได้ขอรับ หรือจะเรียกว่า แยกกายเป็นหลายกายก็ได้ขอรับ[/b]

คำถามที่ ๓.หลับตานั่งสมาธินานๆ พอจิตสงบซักระยะหนึ่ง จะมีดวงอาทิตย์กลมๆๆวิ่งไปวิ่งมาอยู่ บางครั้งไปทาง
ตาซ้าย บางครั้งไปทางตาขวานี่เรียกว่า อาการอย่างไรครับ
ตอบ ข้อที่ ๓. อย่างนั้นเรียกว่า สร้างภาพหลอนขอรับ หมายความว่า คุณคิดของคุณเอง การปฏิบัติสมาธิ ต้องสงบทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง หมายความว่า ไม่คิด จิตใจสงบ ฯลฯ

คำถามที่ ๔. เจ้าชายนินทรา กับ อสัญญสัตวะพรหมแตกต่างกันหรือไม่ครับ และจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐานแตก
ต่างกับอสัญญสัตวะพรหมหรือไม่ สับสนกับภาวะที่จิตดับ
ตอบข้อที่ ๔. ตอบโดยรวม เพราะข้าพเจ้าไม่รู้จัก เจ้าชาย นินทรา แต่จะตอบว่า ทั้งสองอย่างที่คุณถามมา แตกต่างกันขอรับ เพราะ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก หมายถึง "สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่าใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เรา เขา กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔) นั่นหมายความว่า ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ
แต่ อสัญญสัตวฯ หมายถึง ผู้ไม่มีสัญญา ผู้ไม่เสวยเวทนา คือไม่มีความรู้สึก


คำถามที่ ๕. ช่วยอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ขอแบบภาษาปัจจุบัน อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
เช่น สังขาร นี่คือ ร่างกาย วิญาณนี่คือ ผี แล้วตัณหา คืออะไร.. นามรูป นี่หมายถึงตัวเราหรือเปล่าครับ แล้วสฬายต
นะ คืออะไร ผัสสะคืออะไร ขอแบบอธิบายง่ายๆ ภาษาปัจจุบันหน่อยนะครับ ฟังภาษาโบราณไม่ค่อยจะเข้าใจ
เวทนา นี่คือ ความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่หรือเปล่าครับ
ตอบ ข้อที่ ๕. หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนมีสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นๆตามมาอีก สิ่งที่เกิดตามมานั้น ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งอื่นๆอีก อย่างนี้เป็นต้น
คำถามที่ ๖. คำว่า ตัณหา กิเลส อุปาทาน อวิชา เหมือนกันหรือเปล่าครับ กิเลสแปลว่า โลภ โกรธ หลง หรือเปล่าครับ
แล้วตัณหากับกิเลสแตกต่างกันอย่างไรครับ แล้วอวิชชา อุปาทาน คำเดียวกันหรือเปล่าครับ
ตอบ ข้อ ๖. อวิชชา คือ ความไม่รู้, อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ) กิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ,ตัณหา คือ ความอยาก ที่เกิดจากอำนาจกิเลส พิจารณาเอาว่าเหมือนกันหรือไม่
คำถามที่ ๗. เจตสิก แตกต่างกับจิตอย่างไร ขอแบบอธิบายง่ายๆ ภาษาปัจจุบันหน่อยนะครับ ฟังภาษาพระไม่ค่อย
จะเข้าใจเท่าไร คำว่า จิตนี่หมายถึงจิตใจหรือเปล่าครับ หรือ จิตตัวอื่นๆ และคำว่า ขันธ์ 5 คืออะไรครับ อย่างคำว่า
สังขารแปลว่าร่างกายหรือเปล่าครับ ส่วนคำว่า วิญญาณที่แปลว่าผีหรือเปล่าครับ แล้วคำว่า รูป หมายถึงรูปลักษณะ
หรือรูประบายสี หรือ รูปจินตนาการครับ
ตอบ ข้อที่ ๗. จิต หมายถึง ธรรมชาติรู้อารมณ์ หรือการรับรู้อารมณ์ เหมือนได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก ด้วยอายตนะภายใน ,เจตสิก หมายถึง ความรู้ หรือ ธรรมะ ที่ประกอบอยู่ในจิต ,
จิตไม่ได้หมายถึง จิตใจแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสมัยครั้งพุทธกาล หรือสมัยปัจจุบัน ก็มีความหมายเหมือนกัน ต่างกันตรงศัพท์ภาษา,
ขันธ์ ๕ หมายถึง รูป(ร่างกายทุกส่วนและที่นอกเหนือจากร่างกายเรา),เวทนา,สัญญา,สังขาร ,จิตวิญญาณ (จิต)
สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง หรือการผสมผสานภายใน ของ รูป ,เวทนา,สัญญ,สังขาร,จิตวิญญาณ[/b

คำถามที่ ๘. พระโสดาบัน พระสกิทาคามิ พระอนาคามิ พระอรหันต์ แตกต่างกันอย่างไรคับ และเป็นบุคคลที่ได้
ญาณชนิดไหนกันบ้าง ทำไมจึงมีหลายระดับ
[b]ตอบ ข้อที่ ๘. ต่างกันตรง ความรู้ ความสามารถ แห่งธรรม แตกต่างกันตรง การขจัดอาสวะ และปรากฏการณ์ทางสรีระร่างกาย และไม่ใช่มีหลายระดับ ทุกระดับจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ที่แบ่งแยกเอาไว้ เพื่อมิให้เกิดความหลง แต่เพื่อให้เกิดมีความเพียร และหมั่นฝึกฝนอยู่เสมอ


คำถามที่ ๙. คำว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คืออะไรครับ หมายถึง มีพระธรรม ๘๔,๐๐๐ ข้อ หรือ มี
พระธรรม ๘๔,๐๐๐ ตัวอักษรครับ สาธุ
ตอบ ข้อ ๙. พระธรรม ๘๔,๐๐๐ หมวด

คำถามที่ ๑๐. อยากทราบว่า สังฆาฎิกับเครื่องอัฐบริขาร คืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไรครับ มีภาพประกอบให้ดูมั้ย
ครับ อยากทราบว่าพระใช้ผ้ากี่ผืนครับ ตอนแรกนึกว่าพระภิกษุสงฆ์ใช้ผ้าผืนเดียวครับสาธุ หากมีภาพประกอบแต่
ละชิ้นจักเป็นพระคุณยิ่ง
ตอบ ข้อที่ ๑๐. ไปหาดูตามวัดเถอะขอรับ ง่ายดี บ้านคงไม่ไกลวัดดอกนะ หรือจะไปขอดู ตามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ ก็ได้เช่นกัน
คำถามที่ ๑๑. อยากทราบประวัติภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ที่ติดตามพระพุทธเจ้า ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมา
จากกลุ่มคนพวกไหนบ้าง เช่น ชฎิลสามพี่น้องที่อยู่ฝั่งแม่น้ำเนรันชลานับถือลัทธิปูชาไฟมีสาวก ๙๐๐ รูปต่อมา
หันมาปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าหมด เป็นต้น และท่านเหล่านั้นมีใครกันบ้างทำไมเห็นอ่านในหนังสือบ่อยๆ เช่น
ตอนพระพุทธเจ้าปรินิพพานก็มีพระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปมาพร้อมกันไม่ได้นัดหมาย
ตอบ,ข้อ ๑๑. อันนี้ ต้องไปศึกษา ค้นคว้าเอาเองเพราะตอบไม่ได้

คำถามที่ ๑๒. พระที่ฝึกฌาน สามารถเข้าฌานได้นานที่สุดกี่วัน กี่ชั่วโมงโดยไม่ต้องทานอาหาร
ตอบ ข้อที่ ๑๒ ฌาน(ชาน) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิ ถ้าคุณหมายถึงการปฏิบัติสมาธิ ก็คงไม่เกินสูงสุด ๕ ถึง ๖ ชั่วโมง ขอรับ
คำถามที่ ๑๓. เปรตเกิดจากความห่วงหาอาลัยเวลาใกล้สิ้นชีพ แล้วสัตว์นรก อสุรกาย และเดรัจฉานเกิดจากอะไร
ตอบ ข้อที่ ๑๓ คุณจะรู้ไปทำไม รู้แล้วไม่ได้ทำให้คุณหลุดพ้น รู้ไปก็เท่านั้น จะมาอ้างว่า รู้แล้วจะไม่ทำบาป ไร้สาระ
คำถามที่ ๑๔. อยากทราบวิธีเพ่งกสิณที่ถูกต้อง
ตอบ ข้อ ที่ ๑๔ เพ่งอย่างไรก็ถูกต้องทั้งนั้น ขอรับ ถ้าทำให้เกิดสมาธิ เพราะ กสิณหมายถึง วัตถุอันจุงใจ หรือ จูงใจเข้าไปผูกอยู่กับวัตถุนั้น เพื่อให้เกิดสมาธิ (ตามหลักพุทธศาสนาในประเทศไทยที่สอนกันมา)
คำถามที่ ๑๕. คำว่า ตัวตน บุคคล สัตวะ ชีวะ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ข้อที่ ๑๕ กล่าวโดยรวม หมายถึง สิ่งมีชีวิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


หัวข้อที่ถามนั้น ตั้งเป็นกระทู้ได้ 15 กระทู้ได้เลย
มาลงรวมกระทู้เดียวกัน ทำให้ สับสนไปพอสมควร

แต่หวังว่าคนถาม คงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย กับคำตอบต่างๆ
ของเหล่ากัลยาณมิตร

แม้ผมเอง ก็ยังมีข้อสังสัย อยู๋เยอะเช่นกัน
ยกตัวอย่าง เช่นเรื่องปฏิจจสมุปบาท

กรณี อวิชชา ทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดนามรูป

บางคนอธิบายว่า อวิชชา ทำให้เกิด สังขาร คือ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

กายสังขาร คือลมหายใจเข้าออก

ในหลักเหตุและผล อวิชชา จะทำให้เกิด กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกได้อย่างไร

อวิชชา ทำให้เกิดวจีสังขาร มโนสังขาร ยังพอทำเนา

กรณีที่คนเรามีวิชชา บ้าง ทำไมยังหายใจอยู่ได้
พระอรหันต์ขจัดอวิชชาสิ้นหมดแล้ว ............ ยังมีกายสังขาร คือลมหายใจเข้าออก

ใครมีหลังฐานบ้างว่า ในพระไตรปิฏก ยืนยัน ว่า อวิชชาทำให้เกิด กายสังขาร จริงแท้

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
แม้ผมเอง ก็ยังมีข้อสังสัย อยู๋เยอะเช่นกัน
ยกตัวอย่าง เช่นเรื่องปฏิจจสมุปบาท

กรณี อวิชชา ทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดนามรูป

บางคนอธิบายว่า อวิชชา ทำให้เกิด สังขาร คือ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

กายสังขาร คือลมหายใจเข้าออก

ในหลักเหตุและผล อวิชชา จะทำให้เกิด กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกได้อย่างไร

อวิชชา ทำให้เกิดวจีสังขาร มโนสังขาร ยังพอทำเนา

กรณีที่คนเรามีวิชชา บ้าง ทำไมยังหายใจอยู่ได้
พระอรหันต์ขจัดอวิชชาสิ้นหมดแล้ว ............ ยังมีกายสังขาร คือลมหายใจเข้าออก

ใครมีหลังฐานบ้างว่า ในพระไตรปิฏก ยืนยัน ว่า อวิชชาทำให้เกิด กายสังขาร จริงแท้

สวัสดี คุณ Govit2552
พระพุทธองค์ แสดงว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ไม่ใช่อวิชชา ทำให้เกิดสังขาร
Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


Quote Tipitaka:
[๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร
จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=33&Z=87&pagebreak=0

ชีวิตเราที่เรียกว่า กองทุกข์ คือสิ่งผสมปรุงแต่ง (สังขาร) เพราะความเกิดเป็นปัจจัย
ความเกิด หรืออุบัติขึ้น เพราะมีภวะ ความมี ความเป็น หรือที่เรียกว่าภพ

จิตที่มีความมีความเป็นนี้ เพราะหยั่งลงด้วยอวิชชามาช้านาน
อวิชชา อาสวะนั้นนั่นเทียว ที่เป็นปัจจัย ให้แก่การเข้าถึงภพ และเป็นปัจจัยแก่กายสังขาร
เมื่อดับอวิชชา กายสังขารที่มีอวิชชาเป็นปัจจัยย่อมดับไป แต่ขันธ์วิบาก ยังดำรงอยู่ตราบจนสิ้นอายุขัยจึงแตกทำลายไป ตามกาล

พระองค์ แสดงว่า ปัสสาสะ อัสสาสะ คือกายสังขาร ด้วยทรงอนุเคราะห์ให้รู้จักชีวิตคือการปรุงแต่ง หากปราศจากการปรุงแต่งแล้ว ชีวิตก็ตั้งอยู่ไม่ได้ สิ่งที่เห็นได้พิจารณาได้ชัดเจน คือปัสสาสะ อัสสาสะนี่เอง
รูปกายนี้ มีการปรุงแต่งนานาประการ การตั้งวิปัสสนาที่ ปัสสาสะ อัสสาสะ เป็นบทตั้งที่ใกล้ที่สุด

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังรอ เจ้าของกระทู้มาตอบ แนวปฏิบัติมหายาน และการทรงพระสูตร อยู่นะครับ

:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


smiley ขอบพระคุณครับ ท่านเช่นนั้น

อวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

อ้างคำพูด:
อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)

1.ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร)

2.อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่วได้แก่อกุศลเจตนาทั้งหลาย)

3.อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอาเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน)

สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง)
1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก)

2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร)

3.จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา)
สังขาร 3 ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัตินี้ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ

สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ, สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม)
1.กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย)

2.วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา)

3.จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ)
สังขาร 3 ในหมวดนี้ ได้ในความหมายของคำว่า สังขาร ในปฏิจจสมุปบาท

จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


นอกจาก กายสังขาร วจีสังขาร และ มโนสังขาร แล้ว

ปุญญาภิสังขาร
กับอปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร

สังขารเหล่านี้ มีเพราะอวิชชา เป็นปัจจัย ด้วยใช่หรือไม่
ปรากฏในพระไตรปิฏก ด้วย ใช่หรือไม่

เพราะมีคน กล่าวถึงเช่นกัน ว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขารเหล่านี้

ถามท่านเช่นนั้น ต่อครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 22:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะความโลภของมนุษย์เป็นปัจจัย....ปรากฎการณ์โลกมีปัญหาเรื่องมลภาวะจึงเกิด...

มลภาวะคือการมี..ก๊าซคาร์บอนด์ฯ..หรือก๊าซพิษอื่น ๆ มากขึ้น...แต่ก๊าซพิษเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนประกอบอะไรจากกิเลสของมนุษย์เลยสักนิด......แต่มันมีขึ้นมาได้มาก ๆ เพราะมนุษย์มีกิเลส..

อวิชชาเป็นปัจจัย...สังขารจึงมี...

ก็คงจะคล้าย ๆ กัน...

ตอนยังไม่มีรูปนามใด ๆ ...สังขารแรกคงเป็นเพียงรูปอย่างเดียว

พอมีรูปนามขึ้นมาแล้ว...สิ่งที่เกิดเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย...คงมีทั้งที่เป็นรูปและนาม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 100 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร