ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
สติปัฏฐาน 4 http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=38105 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | kriwut [ 16 พ.ค. 2011, 13:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | สติปัฏฐาน 4 |
สติปัฏฐาน 4 คือ การปฏิบัติอย่างไร ใครรู้ช่วยอธิบายทีครับ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 16 พ.ค. 2011, 16:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
การเจริญกายคตาสติ เช่นการเจริญอานาปานสติ คือการเจริญสติปัฏฐาน เจริญธรรม |
เจ้าของ: | 2504 [ 16 พ.ค. 2011, 18:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
สาธุครับ |
เจ้าของ: | อนัตตาธรรม [ 16 พ.ค. 2011, 20:30 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 | ||
![]() ปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมแห่งธรรมมะเพื่อความหลุดพ้นซึ่งมีธรรมอื่นที่จำเป็นและหมายถึงโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการด้วย เริ่มต้นคือ อานาปานสติและสติปัฏฐาน 4 ในร่างกายเรานี้จะมีปัจจุบันซ้อนปัจจุบันอยู่หลายชั้นโดยธรรมชาติ ใครจะสัมผัสรู้ปัจจุบันชั้นใดได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับความละเอียด เฉียบแหลม คมกล้าของสติ ปัญญา และระดับความตั้งมั่นของสมาธิของผู้ปฏิบัติแต่ละคน ที่ระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ของสติจะปรากฏบนฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในระดับต่างๆมีเรียงลำดับลงไปจากหยาบถึงละเอียดดังนี้คือ 1.ที่สัมผัสของทวารทั้ง 5 (กาย) 2.ความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) 3.ความนึกคิด (จิต) 4.อารมณ์ (ธรรม) 5.ลมหายใจ (กาย) 6.หัวใจเต้น (กาย) 7.ชีพจร (กาย) 8.ความสั่นสะเทือนในร่างกาย (กาย) 9.อุเบกขาที่สมบูรณ์ หรือสังขารุเปกขาญาณ (เวทนาและธรรม) สิ่งชี้วัดว่าสติ ปัญญา ตามทันปัจจุบันอารมณ์ คือ ความนึกคิดหยุดรำงับไป เหลือแต่สภาวธรรมแสดงอยู่ตามกำลังแห่งเหตุและปัจจัยจนดับสนิทลง ตราบใดที่ยังมีความนึกคิดเกิดขึ้นในจิต แสดงว่าสติ ปัญญา ตามไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ ถ้าวิเคราะห์ วิจัยดูจะพบว่าขณะที่คิดนึกอยู่นั้น จิตติดอยู่กับอดีตหรืออนาคต สรุปว่าปัจจุบันอารมณ์เป็นที่รวมและที่เกิดของสติปัฏฐานทั้ง 4 วิธีเจริญสติปัฏฐาน 4 ที่ง่าย และไม่ต้องจำอะไรมากคือการ ตั้งใจ (มนสิการ) ตั้งสติ ปัญญา (โยนิโส)ขึ้นมา นั่ง ยืน หรือ นอน เจริญสติปัญญา เฝ้าตามดู ตามรู้ ตามสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เป็นสำคัญ เมื่อเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา สภาวธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต ในที่สุดก็จะรู้ธรรมตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหมดคือ 1.อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดเวลา 2.ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ (ต้องเปลี่ยนแปลง) 3.อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน กลวง ว่างเปล่า เมื่อเห็นความจริงทั้ง 3 อย่างนี้ผู้ปฏิบัติแต่ละคนจะเห็นชัดต่างกัน บางคนชัดอนิจจัง บางคนชัดทุกขัง บางคนชัด อนัตตา เห็นชัดในข้อใดก็ได้ตามจริตนิสัยและการสร้างสมมาของแต่ละคน ที่สุดจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทานความเห็นผิด ว่าขันธ์ 5 นี้เป็นอัตตา ตัวตน ตัวกู ของกู หรือละสักกายทิฐิได้นั่นเอง ![]()
|
เจ้าของ: | kriwut [ 18 พ.ค. 2011, 14:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ขอบคุณครับ |
เจ้าของ: | Supareak Mulpong [ 19 พ.ค. 2011, 11:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
สติปัฏฐาน ๔ แปลง่ายๆ เป็นภาษาชาวบ้านว่า สภาวะที่เราระลึกนึกถึงโลกและชีวิตตามความเป็นจริงที่แท้จริง ชีวิต ประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรมที่เหลือ ก็คือ โลก การทำให้ความคิดเห็นนี้มั่นคง หรือ การเจริญสติปัฏฐาน ก็คือ การทำความเห็น หรือ สัมมาทิฐิให้มั่นคง เมื่อสัมมาทิฐิมั่นคง สติปัฏฐานก็มั่นคงตามมาด้วย การเจริญสติปัฏฐาน ต้องไปปฏิบัติที่เหตุของการทำให้สติระลึกนึกถึงโลกและชีวิตตามความเป็นจริงที่แท้จริง ซึ่งก็คือ การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ การเจริญสติปัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร สรุปได้ง่ายๆ ว่า ให้พิจารณากิเลสที่เหลือ แล้วเอามาช่วยในการวิปัสสนา กายานุปัสนา มาจากคำว่า กาย + อนุ + วิปัสสนา แปล่า พิจารณากาย ถ้ายังมีตัวฉันหลงเหลืออยู่ ก็ให้วิปัสสนาเพิ่มเติม เวทนานุปัสนา มาจากคำว่า เวทนา + อนุ + วิปัสสนา แปล่า พิจารณาเวทนาที่ยังเกิดขึ้นอยู่ ถ้ายังมีเวทนาหลงเหลืออยู่ ก็ให้วิปัสสนาเพิ่มเติม จินตานุปัสนา มาจากคำว่า จิต + อนุ + วิปัสสนา แปล่า พิจารณาจิต ถ้ายังมีอกุศลจิตหลงเหลืออยู่ ก็ให้วิปัสสนาเพิ่มเติม ธัมมานุปัสนา มาจากคำว่า สิ่งแวดล้อม + อนุ + วิปัสสนา แปล่า พิจารณาสิ่งที่อยู่รอบๆ ถ้ายังมีความกำหนัดในวัตถุกามหลงเหลืออยู่ ก็ให้วิปัสสนาเพิ่มเติม สมดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ฯลฯ ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัสตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวยอารมณ์เป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใดความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ [๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ ๗. สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙) วิปัสสนา หรือ การเจริญอริยมรรค http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38128 |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 21 พ.ค. 2011, 18:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
![]() ![]() ![]() อนุโมทนาสาธุด้วยครับ วรานนท์ก็เพิ่งกลับมาจากการปฏิบัติที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ไปเกือบสองเดือนเลยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | buddha's student [ 22 พ.ค. 2011, 02:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติปัฏฐาน 4 |
สติปัฏฐาน4 (หากแปลง่ายๆเลย) คือ ฐานที่ตั้งแห่งสติ สติ คือ การระลึกได้ คล้ายกับความจำ คือ รู้ว่าในอดีต ปัจจุบัน ได้ทำอะไรไปบ้าง ประกอบด้วย ฐานกาย... พิจารณากาย - ให้พิจารณาอิริยาบถต่างๆที่เป็นอยู่ ประกอบด้วย 1. อิริยาบถหลัก เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน 2.อิริยาบถย่อย เช่น การกิน การถือของ การเคาะแป้นพิมพ์^^ ฐานเวทนา... พิจารณาอารมณ์ ความรู้สึก - ให้พิจารณาอารมณ์ที่กำลังเป็นอยู่ เช่น มีความสุข มีความทุกข์ หรือเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ฐานจิต... พิจารณาจิตใจ - ให้พิจารณาจิตที่กำลังเป็นอยู่ เช่น จิตมีความโลภ จะมีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น จิตมีความโกรธ จะมีความหงุดหงิด ไม่พอใจในสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ จิตมีความหลง จะมีความหมกหมุ่นในเรื่องใดเรื่องนึงมาก เช่น เรื่องการงาน เรื่องการเงิน เรื่องความรัก ฐานธรรม... พิจารณาหลักธรรม -ให้พิจารณาหลักธรรมที่กำลังเป็นอยู่ เช่น ตอนนี้มีสติ สัมปชัญญะ ตอนนี้มีนิวรณ์5เช่น ความง่วง ความฟุ้งซ่าน ความโกรธ เกิดขึ้น ตอนนี้มีอนิจจังเกิดขึ้น เช่น ความทุกข์ที่กำลังเป็นอยู่นี้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่ได้ตามติดตัวเราตลอดเวลาซักกะหน่อย เพื่อนำไปสู่นิพพาน |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |