ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=37752 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 5 |
เจ้าของ: | ปฤษฎี [ 12 เม.ย. 2011, 21:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามีในพุทธวจนะผมขอพุทธวจนะยืนยัน ยินดีรับฟังทุกความเห็น |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 12 เม.ย. 2011, 21:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ขอเข้ามานั่งดูด้วย...เป็นคนแรก ![]() แต่คิดว่า..ไม่มีนะ... แค่คิดว่า.. ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 13 เม.ย. 2011, 09:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ขอนั่งชมก่อน ใจคิดว่า ขณิกสมาธินั้นอรรถกถาจารย์เขียนขึ้นในภายหลัง ส่วน อุปจารสมาธิ กับ อปปนาสมาธิ นั้นมีในพระไตรปิฎก เดียวจะเข้าไปค้นหาดู |
เจ้าของ: | mes [ 13 เม.ย. 2011, 09:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
FLAME เขียน: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามีในพุทธวจนะผมขอพุทธวจนะยืนยัน ยินดีรับฟังทุกความเห็น เข้าไปหาใน84000พระธรรมชันธ์ ไม่มีครับ |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 13 เม.ย. 2011, 10:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
FLAME เขียน: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามีในพุทธวจนะผมขอพุทธวจนะยืนยัน ยินดีรับฟังทุกความเห็น ถ้านับจาก สัมมาสมาธิ ไม่มีครับ |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 13 เม.ย. 2011, 11:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ถ้าจะเอาเฉพราะคำ ในคัมภีร์ระบุเลยไม่มี แต่สมาธิระดับนั้น แท้จริงมีอยู่ แต่ไม่จัดเข้าเป็นจิตที่สงัดจาก กามและคุณภาพไมเหมือนปฐมฌาณ |
เจ้าของ: | ปฤษฎี [ 14 เม.ย. 2011, 00:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
คำสามคำนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัส แต่เอามาจากอรรถกถาจารย์ ผมพึ่งมารู้เมื่อไม่นานมานี้เองว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติคำเหล่านี้ไว้ ในปัจจุบันคำพระพุทธเจ้านับวันยิ่งถูกอรรถกถากลืน หลายสิ่งหลายอย่างที่ใช้กันอยู่ที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเลย ต้องช่วยกันอนุรักษ์ ต้องช่วยกันอนุรักษ์คำพระพุทธเจ้า |
เจ้าของ: | สุดปลายฟ้า [ 14 เม.ย. 2011, 00:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | จางบาง [ 14 เม.ย. 2011, 00:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ลองคิดดูซิว่า หากหลักธรรมเสื่อมและคลาดเคลื่อนไปมากจริงๆจนถึงขนาดต้องมีการสังคายนา แล้วใครกันบ้างหนา ในยุคนี้ ที่จะได้รับเลือกให้มาเป็นอรรถกถาจารย์ผู้ร้อยเรียงคำสอน ในยุคที่ผ่านมานั้น ก็คงไม่ต่างกันมากกับยุคนี้ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | saengthong [ 14 เม.ย. 2011, 00:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ตามที่ (พยายาม) ศึกษามา ในพุทธวจนะไม่มีครับ น่าจะมีในชั้นอรรถกถา แต่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าศึกษาจากพุทธวจนะดั้งเดิม คงศึกษากันอีกหลายชาติ กว่าจะทำความเข้าใจได้ ลักษณะสมาธิแบบพุทธศาสนา ในคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบริขารแห่งสมาธิไว้ ๗ ประการ (บริขารในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบแห่งมัคคสมาธิ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, องฺ. สตฺตก. อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) ไว้ว่า บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒.สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓.สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)๔.สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕.สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)๖.สมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗.สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ บ้าง คำว่า อุปนิสะ ในที่นี้ได้แก่ หมวดธรรมที่เป็นเหตุ ทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, ที.ม.ฏีกา ๒๙๐/๒๖๗) เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร บ้าง ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะจึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมีสัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ (ที.ม. ๑๐/๒๙๐/๒๒๔-๒๒๕) จากพระพุทธพจน์ที่ยกมานี้จึงแสดงให้เห็นว่าสมาธิหรือภาวะที่จิตสงบ ไม่ใช่เป็นภาวะที่จิตไร้สติ ขาดสัมปชัญญะ(ปัญญา) แต่หากเป็นสมาธิที่มีอริยมรรคเป็นองค์ประกอบอยู่ในจิต จึงจะสามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนา กัมมัฏฐานต่อไป ขอตอบตามที่ได้ (พยายาม) ศึกษามา ยังรู้น้อยต้องขอคำชี้แนะจากทุกท่านด้วยครับ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 14 เม.ย. 2011, 00:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
3คำนี้พระองค์ไม่มีตรัสบอกไว้ในคัมภีร์ ไม่ใช่ผมไม่รู้ครับ ไม่ได้ตรัสแต่ไม่ได้บอกว่าไม่มีเลย แต่สมาธิ3แบบนี้มีอยู่ คือ อาการจิตมีคุณภาพสู้ปฐมฌาณไม่ได้ จึงมิได้จัดเข้ามาในสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินับแต่ปฐมฌาณขึ้นไปครับ คำถาม ฌาณที่เป็นอกุศล(อกุศลฌาณ) และ ฌาณที่เป็นอัพยากฤต มีไหม? |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 14 เม.ย. 2011, 00:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
สัมปชัญญะ ไม่ใช่ปัญญาครับคุณแสงทอง แปลว่า รู้สึกตัว ![]() |
เจ้าของ: | ปฤษฎี [ 14 เม.ย. 2011, 00:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
saengthong เขียน: แต่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ถ้าศึกษาจากพุทธวจนะดั้งเดิม คงศึกษากันอีกหลายชาติ กว่าจะทำความเข้าใจได้ พุทธวจนะ ชัดเจน กระจ่าง ไพเราะ ลึกซึ้ง ตรงไป ตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ขัดแย้งกันเอง และถูกต้องไม่จำกัดกาล |
เจ้าของ: | ปฤษฎี [ 14 เม.ย. 2011, 00:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
หลับอยุ่ เขียน: 3คำนี้พระองค์ไม่มีตรัสบอกไว้ในคัมภีร์ ไม่ใช่ผมไม่รู้ครับ ไม่ได้ตรัสแต่ไม่ได้บอกว่าไม่มีเลย แต่สมาธิ3แบบนี้มีอยู่ คือ อาการจิตมีคุณภาพสู้ปฐมฌาณไม่ได้ จึงมิได้จัดเข้ามาในสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินับแต่ปฐมฌาณขึ้นไปครับ คำถาม ฌาณที่เป็นอกุศล(อกุศลฌาณ) และ ฌาณที่เป็นอัพยากฤต มีไหม? สิ่งใดพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ อย่าบัญญัติเพิ่ม ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น. มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕ อ้างอิง http://www.watnapahpong.org/ |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 14 เม.ย. 2011, 01:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่มีในพุทธวจนะ |
ไม่ได้บัญญัติเพิ่มเข้าใจเปล่า มันมีคือมันมี |
หน้า 1 จากทั้งหมด 5 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |