ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=37455 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | din [ 25 มี.ค. 2011, 00:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
ต่างคนก็มีเหตุผลที่กินต่างกัน ลองมาดูมุมมองคนที่ไม่กินมองคนกินกันบ้าง ไม่เห็นด้วยกับคนกลุ่มที่มีความคิดว่ากินเพราะ -คิดว่ากินแล้วได้บุญ -คิดว่ากินเนื้อสัตว์แล้วเป็นปาบทั้งหมด เห็นด้วยกับคนกลุ่มที่มีความคิดว่ากินเพราะ -เห็นเนื้อแล้วเกิดภาพสัตว์ตอนถูกฆ่าขึ้นมา เกิดความสงสารเลยไม่อยากกิน ไม่เกี่ยวกับปาบหรือบุญ -กินเพราะเป็นความชอบส่วนตัว -ถูกกับโรคประจำตัว -สบายใจที่จะกิน |
เจ้าของ: | student [ 25 มี.ค. 2011, 02:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
เรื่องกินเรื่องใหญ่ครับ เพราะกินอย่างคนมีความเห็น เห็นว่าเป็นการทำร้ายสัตว์ ทำให้เกิดโรคภัย เห็นว่าคนเราเป็นสัตว์กินเนื้อ ไม่กินก็ไม่ได้จะไม่มีแรง เห็นว่าได้บุญกว่าหากกินอาหารผ่านการทำพิธีทางศาสนา แต่พระพุทธเจ้าท่านยกย่องคนกินที่กินอย่างไม่ประมาทคือกินอย่างพิจารณา เช่น พิจารณาแหล่งกำเหนิดของอาหาร อย่างหมูกินอยู่อย่างสกปรก เหยียบย่ำดินโคลน ก่อนเป็นอาหารต้องโดนฆ่าทำลายชีวิต มีการแล่เนื้อ มีใส้ พุง เลือด และของเหม็น ต้องเดินทางไกลจากมือสู่มือ จากตลาดสู่บ้าน ต้องสูญเสียกำลัง และเชื้อเพลิงประกอบอาหารกว่าจะมาอยู่บนโต๊ะกินข้าว แม้จะกินเจ ผักต่างๆล้วนมาจากดิน มีการให้ปุ๋ย มียาฆ่าแมลง มีการเปลี่ยนมือ จากมือหนึ่งสู่มือหนึ่ง มีการสูญเสียเวลาและพลังงานกว่าผักจะโต มีการสูญเสียเวลาหุงต้ม กว่าจะมาอยู่บนจานข้าว |
เจ้าของ: | muntana [ 07 เม.ย. 2011, 19:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
student เขียน: เรื่องกินเรื่องใหญ่ครับ เพราะกินอย่างคนมีความเห็น เห็นว่าเป็นการทำร้ายสัตว์ ทำให้เกิดโรคภัย เห็นว่าคนเราเป็นสัตว์กินเนื้อ ไม่กินก็ไม่ได้จะไม่มีแรง เห็นว่าได้บุญกว่าหากกินอาหารผ่านการทำพิธีทางศาสนา แต่พระพุทธเจ้าท่านยกย่องคนกินที่กินอย่างไม่ประมาทคือกินอย่างพิจารณา เช่น พิจารณาแหล่งกำเหนิดของอาหาร อย่างหมูกินอยู่อย่างสกปรก เหยียบย่ำดินโคลน ก่อนเป็นอาหารต้องโดนฆ่าทำลายชีวิต มีการแล่เนื้อ มีใส้ พุง เลือด และของเหม็น ต้องเดินทางไกลจากมือสู่มือ จากตลาดสู่บ้าน ต้องสูญเสียกำลัง และเชื้อเพลิงประกอบอาหารกว่าจะมาอยู่บนโต๊ะกินข้าว แม้จะกินเจ ผักต่างๆล้วนมาจากดิน มีการให้ปุ๋ย มียาฆ่าแมลง มีการเปลี่ยนมือ จากมือหนึ่งสู่มือหนึ่ง มีการสูญเสียเวลาและพลังงานกว่าผักจะโต มีการสูญเสียเวลาหุงต้ม กว่าจะมาอยู่บนจานข้าว ********************** ทำไม จึงไม่ควรกิน เนื้อสัตว์? ข้อคิดพิจารณาธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมกข์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์? เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อยึดเอาประโยชน์ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นทางก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลมาก โดยลงทุนทางวัตถุน้อยที่สุดแต่ให้ผลมากทางใจ ประโยชน์ทางฝ่ายธรรม ข้อที่ ๑ เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น เพราะพวกพืชผัก เป็นของหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ ซึ่งมีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น นักกินผักย่อมไม่มีเวลาไปกระวนกระวายเพราะอาหารไม่ค่อยจะถูกปากถูกลิ้นนัก เลย ในขณะที่นักกินเนื้อมักต้องเลียบๆ เคียงๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งภัตตาหารเนื้อบ่อยๆ ญาติโยมเสียไม่ได้ในท่าทีก็พยายามหามาถวายศรัทธาญาติโยมที่มีใจเป็นกลาง เคยปรารภกับข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า เขาสามารถจะเลี้ยงพระได้ถึง ๕๐ รูป โดยไม่รู้สึกลำบากอะไรเลย หากเป็นอาหารที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อกับปลา แต่ที่ผ่านมาต้องฝืนใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อย่างมากๆ ไม่ใช่ว่าจะคิดว่า เนื้อมีราคาแพงกว่าผักแต่เป็นเพราะรู้ว่าสัตว์ถูกฆ่าตาย เพื่อการทำบุญเลี้ยงพระของเรามีอีกหลายคน ที่ทีแรกค้านว่าการทำอาหารมังสวิรัติวุ่นวายลำบาก แต่เมื่อได้ทดลองทำไป ๒-๓ ครั้ง กลับสารภาพว่าเป็นการง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องไปติดไฟเลยก็มี ตัณหาของนักกินผักกับกินเนื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร จะกล่าวในข้อหลังเฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า “คนกินเนื้อสัตว์ เพราะแพ้รสตัณหา กินเพราะตัณหา ไม่ใช่เพราะเลี้ยงง่าย” ข้อที่ ๒. เป็นการฝึกในส่วน “สัจธรรม” คนเราห่างไกลจากความพ้นทุกข์ก็เพราะมีนิสัยเหลวไหลต่อตัวเอง สัจจะในการกินผักนั้นเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลินบริสุทธิ์ ได้ผลสูงเกินกว่าที่คนไม่เคยทดลองจะคาดถึง พืชผักเป็นอาหารที่จะหล่อเลี้ยง “ดวงธรรมแห่งสัจจะ”ในใจของเราให้สมบูรณ์แข็งแรงดังนั้นการฝึกกินผัก อาหารพืชผักจึงเป็นแบบฝึกหัดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่ยอดเยี่ยมกว่าแบบฝึกหัดอย่างอื่นๆ เพราะแบบฝึกหัดบางอย่างค่อนข้างง่าย แต่บางอย่างก็ยากเกินจะฝึกทำให้ไม่สามารถนำมาเป็นเกมฝึกหัดประจำทุกๆวัน แต่เราผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกทุกวันจึงจะได้ผลเร็ว เหตุฉะนี้การฝึกใจด้วยเรื่องอาหารอันเป็นสิ่งที่เราต้องบริโภคอยู่ทุกวันจึง เหมาะมาก อย่าลืมพระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า “สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์” ข้อที่ ๓.เป็นการฝึกในส่วน“ทมะ”ธรรม “ทมะ” คือ การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ คนเราเป็นทุกข์เพราะตัณหาอันได้แก่ ความอยากที่ข่มใจไว้ไม่อยู่ มีข้อพิสูจน์เฉพาะเรื่องผักกับเนื้อง่ายๆ เช่นข้าพเจ้าเคยเห็นชาวบ้านที่มาจากป่าดอนสูงๆ อุตสาห์หาบเอาพวกพืชผักลงมาแลกปลาแห้งๆ จากชาวบ้านแถบริมทะเลขึ้นไปกินทั้งๆ ที่ต้องเสียเวลาเป็นวันๆ ในขณะที่กลางบ้านของเขาก็มีอาหารพวกพืชผัก เผือก มัน ฟัก มะพร้าวฯลฯ อย่างอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังเป็นของสด สามารถบำรุงร่างกายได้มากกว่าปลาแห้งๆ และขึ้นราที่พวกเขาสู้อุตส่าห์ลงมาหามหิ้วขึ้นไปเก็บไว้กินเป็นไหนๆดังนั้น… ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหาจักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม เหตุนี้การข่มจิตด้วยเรื่องอาหารการกินจึงเหมาะมาก เพราะจะมีการข่มได้ทุกวันการข่มจิตอยู่เสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์เช่น กัน โปรดทราบ! ว่ามันเป็นการยากยิ่งที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหา โดยพยายามเลือกกินแต่ผักจากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อ และผักปนกันมาจงยึดเอาเกมกีฬาฝึกข่มจิต ที่เป็นเครื่องชนะตนอันนี้เถิดการเลี้ยงพระในงานต่างๆ ข้าพเจ้าเคยเห็นเคยได้ยินเสียงเอ็ดตะโร เรียกเอาแต่อาหารเนื้อส่วนอาหารผักล้วนดูเหมือนว่าเป็นการยากที่จะถูกเลือก กับเขา มิหนำซ้ำยังเหลือกลับไปอีก แมกระทั่งอาหารที่ปรุงระคนกันมาก็หายไปแต่ชิ้นเนื้อคงเหลือแต่ผักติดจานกลับ ไป และยิ่งไปกว่านั้น ก็คือควรรู้ไว้ด้วยว่าบรรดาพ่อครัวแม่ครัวและเจ้าภาพเขารู้ตัวก่อนด้วยซ้ำไป จึงปรุงอาหารเนื้อสัตว์เอาไว้ให้มากกว่าอาหารผักหลายเท่านัก ทั้งนี้ก็เพราะตัณหาทั้งของฝ่ายแขกเหรื่อชาวบ้าน และฝ่ายบรรพชิตทั้งหลายร่วมมือกัน “แบ่งอิทธิพล” ข้อที่ ๔. เป็นการฝึกในส่วน “สันโดษ” สันโดษ คือ ความพอใจเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ตามฐานะของตน โดยทั่วไปชีวิตของผู้ออกบวชย่อมดำรงอยู่ด้วยอาหารชั้นเลว ทว่าข้าพเจ้าเคยเห็นบรรพชิตบางรูป เว้นไม่ยอมรับอาหารจากคนจนเพราะเห็นว่าเลวเกินไป คือเป็นเพียงผักหรือผลไม้ชั้นต่ำ และถึงแม้จะรับมาก็เพื่อทิ้ง นี่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ไม่เคยมีความสันโดษหรือถ่อมตนดังนั้น… การฝึกเป็นนักกินผัก กินอาหารอย่างง่ายๆ จะแก้ได้หมด “สันโดษเป็นทรัพย์อย่างเอกของบรรพชิต” ข้อที่ ๕. เป็นการฝึกในส่วน “จาคะ” จาคะ คือ การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบหรือความพ้นทุกข์ นักกินผักที่แท้จริงมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส เกินกว่าที่จะมีใจนึกอยากในเรื่องจะบริโภคอาหารที่มีรสหลากหลาย เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่ากินเพื่ออย่าให้ตาย ซึ่งต่างไปจากเนื้อสัตว์ที่ยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิตความหลงใหลในรส ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ไม่มีดวงจิตของนักกินผักเลย ส่วนนักกินเนื้อนั้น ท่านจะทราบของท่านได้เองเป็นปัจจัตตัง เช่นเดียวกับธรรมะอย่างอื่นๆ ข้อที่ ๖. เป็นการฝึกในส่วน “ปัญญา” ปัญญา คือ ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก การใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของการยึดมั่น และให้ใจละวางความยึดมั่นในการกินอาหาร แบบฝึกหัดที่ยากและเป็นก้าวที่ใหญ่ของการปฏิบัติธรรมเช่นนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกบริโภคอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่าน ต้องใช้พิจารณาตัวเองอยู่เสมอทุกมื้อเพราะเนื้อทำให้หลงในรส ส่วนผักทำให้ยกใจขึ้นไป ซึ่งเหมาะแก่สันดานของสัตว์ผู้มีกิเลสย้อมใจจนจับแน่นเป็นน้ำฝาดมาแต่เดิม ปัญญาของท่านต้องรู้อยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นแต่การกินผักจะช่วยขัดเกลากิเลสทุกๆ วัน แท้จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้มีความเห็นว่าฝ่ายที่จะช่วยขัดเกลาจิตใจต้องเป็น ผักความจริงอาจจะถือว่า ผักเป็นอาหารชั้นเลวหรือไม่ประณีตก็พอแล้ว แต่เมื่อมาพิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วมันมาตรงกับอาหารผัก เพราะจะทำอย่างไร เนื้อก็เป็นของชวนกินเพียงแต่ต้มเฉย ๆ พอได้กลิ่นมันก็ยั่วตัณหาอยู่ดี!เพราะฉะนั้นฝ่ายที่จะปราบตัณหา จึงกลายเป็นเกียรติยศของผักไป อาหารผักเป็นอาหารที่ข่มตัณหาได้และมีแต่ความบริสุทธิ์จึงเหมาะสม สำหรับผู้ที่ระแวงภัย และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ ผลดีในฝ่ายโลก อาหารผักมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายยิ่งกว่าเนื้อสัตว์หรือไม่? เรื่องนี้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ก็บอกแก่เราชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอาหารผัก จะทำให้ผู้บริโภคมีกำลังแข็งแรงโรคน้อย ดวงจิตสงบ ช่วยให้ความกระหาย ในความอยาก ความโกรธ ความมัวเมา บรรเทาลงเป็นอันมาก |
เจ้าของ: | muntana [ 07 เม.ย. 2011, 19:13 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ | ||
ผมเลิกกินเนื้อสัตว์เพราะคลิปนี้ครับ อยากให้ดูและวัดใจตัวเองว่า ยังมีความเมตตามากพอที่จะเห็นเป็นเรื่องธรรมดาหรือเปล่า http://www.jozho.net/index.php?mo=5&qid=666547 http://www.peta.org/issues/animals-used ... hotos.aspx
|
เจ้าของ: | student [ 08 เม.ย. 2011, 02:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
อนุโมทนาครับ ผมดูคริปไปแล้วแต่ไม่หมด สารภาพว่าเห็นแล้วเกิดความหดหู่ใจมากและเกิดความสงสารสัตว์เหล่านั้นที่เป็นเพื่อนร่วมโลกล้วนแล้วแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ผมเข้าไปโพสกระทู้เกี่ยวกับน้องคนหนึ่งที่กินผักอย่างเดียวโดยที่แม่เป็นห่วงเพราะหลายสาเหตุ ผมยกย่องน้องคนนั้นมากที่มีจิตใจที่เมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำไมหรือครับ เพราะน้องคนนั้นกินอย่างพิจารณา พิจารณาว่าเป็นการเบียดเบียนต่อสัตว์ พิจารณาว่าการเกิดเป็นทุกข์สัตว์โลกที่เกิดมาล้วนแล้วแต่เคยเกิดร่วมเป็นพ่อแม่พี่น้องกันมาก่อน จะกินเนื้อพ่อแม่พี่น้องลงหรือ แม้ว่าสุขภาพน้องเขาไม่ดีแต่น้องเขาก็ยอมรับสภาพของตนเอง ไม่หวังว่าจะต้องไปสวรรค์ หรือมีความสุขมากกว่าคนอื่นๆ หรือมีความแจ่มใสของดวงจิต มีสมาธิดีกว่า ปฏิบัติได้ผลเร็วกว่า แต่น้องเขามีจิตมุ่งหวังเพื่อการเลิกเบียดเบียนสัตว์นั่นเป็นจุดมุ่งหวังที่เกิดจากความเมตตา กระทู้เรื่องราวของน้องคนนี้อยู่ในบอร์ดเรานี่และลองหาดูนะครับ |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 09 เม.ย. 2011, 03:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
ประเด็นนี้ มีคนถกเถียงกันอย่างมากมายอยู่ทุกปี สามารถค้นดูข้อความเก่าๆได้ครับ เรื่องกินเจไม่กินเจ ใครชอบอะไรก็ทำไปได้ คนเราต่างธาตุต่างศรัทธา ไม่ต้องเอาเราไปเปรียบเขา เอาเขาไปเปรียบเรา เราว่าดี ไม่เดือดร้อนใคร เราทำไป แต่ไม่ใช่ว่าเอาความคิดความเชื่อของเรา ไปเป็นเครื่องวัดว่าคนที่ไม่ทำ เป็นคนมีปัญหา หรือไปเที่ยวต่อว่า ว่า การกินเนื้อสัตว์ เป็นปัญหา พระพุทธเจ้าของเราก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ แม้กระทั่งวันสุดท้ายของพระชนม์ชีพ มื้อสุดท้ายก็ทรงฉันอาหารที่ทำจากหมู ถ้าการกินเนื้อสัตว์เป็นปัญหา ก็อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าของเราก็เป็นหนึ่งในผู้ที่กินเนื้อสัตว์เป็นปกติ เสือสิงห์ มันเกิดมาในภพของสัตว์ มันก็ต้องมีอาหารในแบบของมัน มันกินของสดของคาว เอาไปต้มไปย่าง มันไม่ชอบเท่าของสด หนอนมันกินเมือกกินมูถเป้นอาหาร นั่นก้คืออาหารของหนอน จะไปเอาน้ำผึ้งให้มันกิน มันไม่เอา เป็นเทวดา เขาอิ่มทิพย์ แต่เขาชอบของสวยของหอม จะให้มากินเหมือนมนุษย์ เขาก็ไม่เอา มันแสลงสำหรับเขา เป็นคนก็เหมือนกัน คนเหนือกินอย่างนึง คนใต้กินอย่างหนึ่ง เด็กกินอย่างนึง ผู้ใหญ่กินอย่างนึง แล้วแต่กรรมตกแต่งให้เราเป็นคนประเภทไหน กินอะไรเป็นอาหาร เราไม่ชอบกินเนื้อ เราพอใจจะไม่กินเนื้อ นั่นคือธาตุของเรา เราพอใจแบบนั้น มันก็จบตรงนั้น การพยามไปเที่ยวปรุงแต่งบีบคั้นให้คนกินเนื้อรู้สึกผิดบาปจนเกินไป ก็ไม่ใช่เรื่องควรทำ คนจะกินไม่กิน ต้องเป็นศรัทธาที่เขาแตกออกมาจากใจเขาเอง |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 09 เม.ย. 2011, 03:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
พระเทวทัตเสนอไม่ให้ฉัน เนื้อสัตว์ ใช่หรือเปล่า? |
เจ้าของ: | จางบาง [ 15 เม.ย. 2011, 00:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
อยู่ๆก็ไม่อยากทานเนื้อสัตว์เฉยๆขึ้นมาซะยังงั้น เพราะไม่อยากทานเลยไม่ทาน ไม่รู้สึกว่าต้องฝืนใจที่ไม่ทานเนื้อ เพราะไม่อยากทานอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรู้สึกว่ากำลังฝืนใจตัวเองให้ลำบากลำบนอะไรกับการไม่ทาน และไม่เห็นว่าจะเกี่ยวกับการได้บุญตรงไหนที่ไม่ทานเนื้อ แต่พบว่า ใจเย็นขึ้นมาก และกายก็เย็นขึ้นมาก ผักก็ดินน้ำไฟลม เนื้อทั้งหลายก็ดินน้ำไฟลม ใครสะดวกอย่างไรก็ทานอย่างนั้น พระพุทธองค์เพียงแต่ให้รอบรู้และฉลาดเท่าทัน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นผักหรือเนื้อ ก็เกิดกิเลสได้เท่าๆกัน.......ถ้ารู้ไม่ทัน |
เจ้าของ: | คนเกือบหลงทาง [ 17 เม.ย. 2011, 19:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
ลองไปอ่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ดู มีเรื่องที่หมอชีวกทูลถามพระพุทธเจ้าว่าการที่พระฉันเนื้อสัตว์โดยที่(น่าจะ)รู้อยู่แล้วว่าเขาฆ่าเพื่อที่จะมาถวายแก่พระภิกษุ ไปดูนะว่าพระพุทธองค์ตอบว่าอย่างไร ลองหาอ่านดูนะครับ 75 อุบาสก พุทธสาวกในสมัยพุทธกาล ของธรรมะสภาครับ เล่มนี้เลยครับ ส่วนปกดูได้จาก Link นี้ครับ http://dbook2.tarad.com/product.detail.php?id=2344918# |
เจ้าของ: | คนเกือบหลงทาง [ 18 เม.ย. 2011, 06:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับคนที่รับประทานเจและมังสวิรัติ |
วันนี้พกมาด้วย จากหนังสือ 75 อุบาสกพุทสาวกในสมัยพุทธกาล หน้า 75 (ยาวหน่อยนะ หรือคนพิมพ์พิมพ์ช้าก็ไม่รู) อ่านด้วยกันแล้ววิเคราะห์ด้วยกันนะ สมัยหนึ่งหมอชีวกสูตรว่าด้วยเรื่องการฉันเนื้อสัตว์ สมันหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อัมพวัน ถวายบังคมแล้วนั่งกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ" ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมาว่า คนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงเพื่อถงายพระสมณโคดม ทั้งๆที่พระสมณโคดมทราบเช่นนั้นแล้ว ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเฉพาะตน อาศัยตนทำ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญคนเหล่านั้น พูดตรงกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไม่ได้กล่าวตู่พระองค์ด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรมจะไม่ถึงข้อติเตียนล่ะหรือ?(คือพวกเขากล่าวตามที่ตรัสไว้ว่าควรบริโภคเนื้อที่บริสุทธิ์ ๓ ส่วนล่ะหรือ?) ตรัสตอบปฏิเสธว่า คนเหล่านั้นกล่าวไม่ตรงกับที่พระองค์ตรัสไว้เรียกว่าเขากล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง เพราะได้ตรัสไว้ว่า เนื้อที่ไม่ควรบริโภคต้องประกอบไปด้วยเหตุ ๓ ประการ(เรียกว่าเนื้อที่เป็นอกัปปิยะ) คือ ๑.เนื้อที่ตนเห็น คือ มีการเห็นด้วยตาว่าผู้อื่นฆ่ามาเพื่อทำเป็นอาหารถวายเรา ๒.เนื้อที่ได้ยิน คือ มีการฟังเสียงด้วยหูว่าผู้อื่นฆ่าและนำเนื้อนั้นมาถวายเรา ๓.เนื้อที่ตนรังเกียจ คือ มิได้เห็นด้วยตาหรือได้ยินด้วยหู แต่เกิดความสงสัยว่าเขา อาจจะฆ่าแล้วทำมาเป็นอาหารถวายเรา ส่วนเนื้อที่ควรบริโภคต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ (เรียกว่าเนื้อกัปปิยะ)ซึ่งตรงข้ามกันคือ ๑.เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๒.เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๓.เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ..................................................................................................... ..................................................................................................... ลักษณะการฉันอาหารไม่มีโทษ แล้วทรงแสดงวิธีแผ่เมตตา(เมตตาอัปปมัญญา)ของภิกษุทั้งหลาย เพื่อความไม่เบียดเบียนไม่ได้รับโทษจากการฉันเนื้อว่า ภิกษุในธรรมวินัย อาศัยอยู่ในเขตบ้านหรือที่ใดก็ตาม เธอก็มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอด ๔ ทิศ พร้อมทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ไปในสัตว์ทุกเหล่า โดยมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน(คือมีตัวเราเองเป็นเครื่องเปรียบเทียบว่าเรารักตนเองฉันใด คนอื่นสัตว์อื่นก็รักตนฉันนั้น)ด้วยใจประกอบ ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่(มีกำลังเมตตามาก)หาประมาณไม่ได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดอยู่ มีคฤหบดีหรือลูกคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น แล้วนิมนต์เพื่อให้ฉันอาหารในวันรุ่งขึ้นหากภิกษุต้องการก็รับนิมนต์นั้นได้ เวลาเช้าภิกษุนั้นไปยังบ้านที่เขานิมนต์ เขาเลี้ยงดูด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่ได้มีความคิดว่าอยากให้คฤหบดีหรือลูกปฏิบัติเลี้ยงดูเช่นนี้ต่อไปทุกๆวัน เธอไม่ได้กำหนัด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบาตร เธอรู้โทษ มีปัญญาใคร่ครวญ ไม่เป็นทาสอาหาร ภิกษุเช่นนั้นไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือไม่เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ภิกษุเช่นนี้ชื่อว่าฉันอาหารไม่มีโทษ หมอชีวกทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังมาว่า พรหมปกติอยู่ด้วยเมตตา คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พยานแล้ว เพราะพระองค์ทรงปกติอยุ่ด้วยเมตตา" ตรัสตอบว่าชีวก บุคคลยังมีความพยาบาท เพราะยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ แต่ราคะ โทสะ โมหะนั้น พระตถาคตละแล้ว ประดุจตาลยอดด้วน มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาถ้าท่านยกย่องเราว่าเป็นพรหม เพราะเราละราคะ โทสะ โมหะแล้ว เราอนุญาตให้ท่านกล่าวเช่นนั่นได้ หมอชีวกกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายถึงการละ ราคะ โทสะ โมหะ นั่นแหละ" แม้ภิกษุมีใจประกอบด้วย กรุ มุทิตา อุเบกขา ก็มีการแผ่ไปเหมือนกับการแผ่เมตตานั้น ก็ชื่อว่าผู้ไม่คิดเบียดเบียนตนหรือเบียดเบียนผู้อื่นเช่นกัน ทรงแสดงโทษของการฆ่าสัตว์ ๕ ประการ จากนั้น ตรัสโทษของการฆ่าสัตว์เพื่อถวายพระตถาคต หรือจะถวายใครก็ตามย่อมประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมากเช่นเดียวกัน คือ ๑.ประสบบาปตั้งแต่วาจาสั่งให้เขาไปนำสัตว์นั้นมา ๒.สัตว์ซึ่งถูกผูกคอนำมา ย่อมทุกข์โทมนัส ๓.ประสบบาปเมื่อสั่งวาจาให้ฆ่า (หรือฆ่าด้วยเองก็บาป) ๔.เมื่อสัตว์กำลังถูกฆ่าย่อมทุกข์ทรมาน ๕.เมื่อถวายหมายให้พระตถาคต หรือสาวกของตถาคต ยินดีในเนื้ออกัปปิยะนั้น ก็ย่อมประสบบาปไม่ใช่บุญ .................................................................................................................................................................................................................................................................. มันก็ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงสักเท่าไหร่หรอก มันก็อ้อมไปอ้อมมา ในส่วนความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ขออนุญาตเล่าอะไรเล็กน้อย (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านครับ) มีครั้งหนึ่งหลังจากปฏิบัติธรรมเสร็จ(อายุราวๆ 17-19 ปี)พี่สาวก็มาถามว่ายังไม่อยากกินเนื้อสัตว์เลยอะ เราไม่กินเนื้อสัตว์สัก 1 อาทิตย์ดีไหม ก็เลยพากันไม่กินเนื้อสัตว์(แบบเขี่ย) 1 สัปดาห์ จากนั้นก็เกิดความเสียดายจึงพากันปฏิบัติต่อเลยไปเป็น 3 เดือน พี่สาวเขาบอกว่าพอแล้ว แต่ตัวผมยังเสียดายก็เลยกินต่อจนมาถึงทุกวันนี้(ตั้งแต่เข้าปี 1 ก็ไม่ได้กินแบบเขี่ยแต่กินแบบมังสวิรัติไปเลย) สรุปได้ว่าตอนนี้ผมก็ไม่ทานเนื้อสัตว์อยู่แล้วซึ่งบางครั้งมันก็อาจมองในคนละแง่มุมซึ่งผมต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ ในความเห็นของผม จากสิ่งที่หมอชีวกทูลถามพระพุทธเจ้า ผมคิดว่าเราก็ทานได้นะ แต่ว่าการทานของเราต้องทานด้วยเมตตา อย่ายินดีในการรับประทานเนื้อสัตว์ แผ่เมตตาขอบคุณให้กับเจ้าของกายเนื้อที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ต่อได้ อย่าไปยินดีว่าเออเนื้อสัตว์นี้อร่อย ทีหลังจะกินเพิ่มอีกจาน สัตว์ก็เหมือนมนุษย์นี่แหละบางครั้งจิตยังยึดติดในสภาพเดิมๆ เวลาตายแล้วมีจิตขุ่นมัว อยู่ในโลภะ โทสะ โมหะ ก็มาเกิดใน(แถวๆ)กายเนื้อบ้างก็มี เขาก็มีความหวงในกายเนื้อเดิมของเขา บางครั้งก้มาในรูปแบบไวรัส แบคทีเรีย เจ้ากรรมนายเวร แบบนี้ก็มี(คิดว่านะ)ซึ่งก็ก่อให้เกิดความทุกข์แก่ผู้รับประทานแบบนี้ก็มี อย่างที่บอกว่ามันคือความคิดเห็นของผม โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน ถ้าผมตีความผิดผมขอกราบขอขมาผู้อ่านทุกท่านด้วยครับ ขอท่านผู้อ่านเจริญในธรรมที่ถูก ที่ควร สมควรแก่บารมีและปัญญาของทุกท่านทุกคนเทอญ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |