วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 09:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ส่วนคำว่า สัญญา ที่ผมกล่าวไว้นั้นถูกแล้วครับ คือ สัญญาในขันธ์ ๕ นั้นแหละครับ ตามความเข้าใจของผม สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ซึ่งแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่บรรจุเก็บไว้ในจิตแต่ละคน ทั้งดีและไม่ดี และน่าจะเกี่ยวข้องกับการปรุงแต่ง ตอบโต้ (สังขาร) สร้างกิเลสเกาะกุมจิต ส่งผลต่อวิญญาณ และรูปนาม และเมื่อเกิดขึ้นมาในชาติใหม่ ข้อมูลที่เก็บไว้ในจิต ก็มีผลต่อการแสดงออกมาเป็นกรรมใหม่ทั้งทั้งทางกาย วาจา หรือทางใจ เป็นลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพนั่นแหละครับ
ตรงนี้แหละครับที่ผมอยากลบข้อมูลเก่าๆ ที่เราเองเคยเก็บข้อมูลมันไว้ในจิตที่เก็บสะสมเพิ่มพอกพูนไว้ไม่รู้กี่ชาติ ต่อกี่ชาติ (โดยเน้นในทางอกุศลกรรมก่อน) และเข้าใจว่าการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจะช่วยในการลอกกิเลสนี้ให้ออกหมดไป โดยใช้ปัญญาในการพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นต้น


ข้างบนน่าจะตอบหมดแล้วนะครับ หรือ หากยังตกหล่นประเด็นไหนถามซ้ำได้อีกครับ

เหลือคำถามนี้อีกหน่อย

อ้างคำพูด:
เท่าที่ติตตามโพสของคุณกรัชกายมา เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ในธรรมดีมาก จึงใคร่ขอคำแนะนำในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมมะ โดยเฉพาะการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หรือการปฏิบัติต่างๆ ครับ ว่าควรเริ่มจากอะไร หนังสืออะไร แนวทางการปฏิบัติ เอาตามแบบของคุณกรัชกายก็ได้นะครับ


ขอบพระคุณในคำชื่นชมครับ :b8:

การศึกษาธรรมะสั้นๆก็เริ่มศึกษาเรียนรู้จากกายยาววาหนาคืบ มีวิญญาณครองนี่แหละครับ :b1:

โลกภายนอก กว้างไกล ใครใครรู้
โลกภายใน ลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
จะมองโลก ภายนอก มองออกไป
จะมองโลก ภายใน ให้มองตน


ส่วนหนังสือขอแนะพุทธธรรมโดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ส่วนแนวปฏิบัติที่กรัชกายทำมาแต่ต้นก็ใช้พอง-ยุบ เป็นต้น เป็นกรรมฐานหลัก ส่วนเวทนา ความคิด (จิต) ธรรม ก็กำหนดรู้ (ปริญญา) ขณะที่ปรากฏแต่ละขณะๆไป

กาย เท่ากับพอง-ยุบ และเดินจงกรม (รวมทั้งการงานประจำวันทำอะไรก็เอาอันนั้นเป็นฐาน)

เวทนา เกิดขณะใดก็กำหนดรู้ขณะนั้นเดี๋ยวนั้น

ความคิด (จิต) แวบออกจากพอง-ยุบ ขณะใด ก็กำหนดรู้ขณะนั้นเดี๋ยวนั้น

ธรรม (นิวรณ์) เกิดขณะใด ก็กำหนดรู้ขณะนั้นเดี๋ยวนั้น

ยังถามเพิ่มได้อีกครับ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวแล้วนั้นเป็นเพียงคำพูด ดูๆเหมือนง่าย และรวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม
แต่ภาคปฏิบัติ หรือภาคการเรียนรู้กายใจหรือชีวิตซึ่งมันเป็นธรรมชาติธรรมดาของมันเนี่ย มิใช่ง่ายนัก หินเอาการอยู่

ดูธรรมะหรือธรรมชาติที่ปรากฏแก่ผู้เจริญภาวนา ซึ่ง...เก็บรวบรวมจากนักปฏิบัติมีหลากหลายอารมณ์

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=3.0

นั่นแหละครับ สภาวทุกข์ ที่จะต้องกำหนดรู้เพื่อละ มันเป็นอาสวะที่ถูกหมักหมมสะสมอยู่ในขันธสันดานมานานนักหนา
วิธีปฏิบัติเมื่อภาวะนั้นปรากฏก็ คือกำหนดรู้ตามที่มันเป็น หรือ ตามเป็นจริงของมัน เป็นยังไง รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้น
มิใช่คิดว่า เป็นคนโชคร้าย หรือว่า เป็นภูตผีปีศาจดลบันดาล แล้วหาวิธีแก้กันอย่างที่เห็นทั่วๆไป ไม่ใช่ครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2011, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำให้อ่านหัวข้อ “เหตุใดสติที่ตามทันขณะปัจจุบัน” จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา ด้วย

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=750.0

นำมาให้ดูตรงนี้นิดหน่อย

กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆ คน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ก็คือการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ สุขสบายบ้าง ทุกข์ระคายเจ็บปวด ไม่สบายบ้าง เฉยๆ บ้าง

เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด ก็ชอบใจติดใจสิ่งนั้น

ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ที่สิ่งใด ก็ขัดใจไม่ชอบสิ่งนั้น เมื่อชอบก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซ้ำ หรืออยากได้ อยากเอา เมื่อไม่ชอบก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย

กระบวนการนี้ ดำเนินไปตลอดเวลา มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยไม่มีได้สังเกต และที่แรงเข้ม สังเกตได้เด่นชัด มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจนและสืบเนื่องไปนาน

ส่วนใด แรงเข้มหรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มีความคิดปรุงแต่งยึดเยื้อเยิ่นเย้อออกไป ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ ก็ผลักดันแสดงออกมาเป็นการพูด การกระทำต่างๆ ทั้งน้อยและใหญ่

ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกันระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจากกระบวนธรรมน้อยๆ ที่เป็นไปในชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญ

ฯลฯ

ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆ ตื้นๆ ในการดำเนินชีวิตและทำกิจกรรมทั่วไปเท่านั้น แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็นอัน มีสวยงาม น่าเกลียด ติดในสมมุติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้ เป็นความเคยชิน หรือ นิสัยของจิตที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมาคนละนานๆ เกือบจะว่า ตั้งแต่เกิดทีเดียว 20-30 ปีบ้าง 40-50 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบกระบวนกันมาเลย การจัดการแก้ไข จึงมิใช่จะทำได้ง่ายนัก

ในทันทีที่รับรู้อารมณ์ หรือ มีประสบการณ์ยังไม่ทันตั้งตัว ที่จะยั้งกระบวน จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน

ดังนั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไข ความเคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย

องค์ธรรมสำคัญ ที่จะใช้เป็นตัวเบิกทาง และเป็นหลักรวมพลทั้งสองกรณี ก็คือ สติ

การปฏิบัติตามหลัก สติปัฏฐาน ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้
กล่าว คือ เมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ ตลอดเวลา ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆ แก้ไขความเคยชินเก่าๆพร้อมกับสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย

สรุปด้วยพุทธพจน์นี่อีกครั้งหนึ่ง


“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. หายจ้อย :b1: เพิ่งนึกได้ พุทธพจน์ข้างบน มีบางศัพท์อาจไม่เข้าใจความหมาย จึงนำคำแปลมาให้ดูเพื่อความเข้าใจ ทั้งชุดเลย

...โสกะ (โศก) ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

โสกะ ความแห้งใจ
ปริเทวะ ความร่ำไร
ทุกข์ โทมนัส ความเสียใจ
อุปายาส ความผิดหวังคับแค้นใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 125 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร