ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ดำเนินชีวิต http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=36762 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | somamomiji1234 [ 13 ก.พ. 2011, 14:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | ดำเนินชีวิต |
ผมสงสัยอะ คนเราจะยึดหลักอะไรในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ใจมันรู้สึกสงบและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะว่าตอนนี้ใจผมมันรู้สึกโหว่งอะ ชอบแล่นไปอดีตที อนาคตที กลัวบ้าง ง่วงบ้าง |
เจ้าของ: | Bwitch [ 13 ก.พ. 2011, 14:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
![]() ![]() |
เจ้าของ: | Bwitch [ 13 ก.พ. 2011, 14:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
somamomiji1234 เขียน: ผมสงสัยอะ คนเราจะยึดหลักอะไรในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ใจมันรู้สึกสงบและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและเบียดเบียนคนอื่นให้น้อยที่สุดอะครับ คุณต้องตอบให้ได้ก่อนว่าคุณเกิดมาเพื่ออะไร เมื่อมองเห็นจุดหมายรำำไร แล้วค่อยพิจารณาหา หลัก ยึด |
เจ้าของ: | จางบาง [ 13 ก.พ. 2011, 19:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
โดยส่วนตัวตลอดที่ผ่านมา ก็ไม่รู้ว่าใช้อะไรเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มีแต่ จัดการกับชีวิตของตัวเองไปตามเหตุตามปัจจัย ที่คิดว่าดีที่สุดแล้วในขณะนั้น เช่นหากใจไม่สงบ ก็จะหาวิธีทำให้มันสงบ อาจอาศัยการทำสมาธิก็ได้ หรืออุบายต่างๆที่คิดออก หากใจท้อแท้ ก็หาอุบายปลอบใจตัวเอง หากนิสัยแย่มากๆในบางโอกาสก็ต้องปรามและหยุดยั้งเขาให้ได้ เข้ามาตอบแล้วนะค่ะบีวิด ทีนี้ถึงตาบีวิดบ้างนะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Bwitch [ 14 ก.พ. 2011, 01:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
![]() เพราะตัวเองยังไม่มี "ปัญญา" ค่ะ ปัจฉิมวาจา viewtopic.php?f=26&t=32715 อ้างคำพูด: "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลักที่สาธุชนทั้งหลายควรยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติคือ "หลักธรรม" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ธรรม คือ ธรรมะ คือ ธรรมดา คือ ธรรมชาติ ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ไว้ ๒ ด้าน คือธรรมฝ่ายพ้นทุกข์ (โลกุตรธรรม) สำหรับผู้ที่มุ่งออกจากทุกข์ และธรรมฝ่ายโลก (โลกียธรรม) สำหรับผู้ที่ยังยินดีในวัฏฏะสงสาร เช่นการอยู่ในศีล การอยู่ในธรรม ฆราวาสธรรม เป็นต้น ศึกษาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ viewtopic.php?f=28&p=246175#p246175 อ่านพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน http://www.dharma-gateway.com/buddha/bu ... n-page.htm อ้างคำพูด: ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหาอุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นของตน ที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงไหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุฑิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบาย คลายทุกข์ คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม" |
เจ้าของ: | tonnk [ 14 ก.พ. 2011, 11:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
หลักอริยมรรค ดับได้ทุกสิ่ง แต่ต้องเดินให้เป็น |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 16 ก.พ. 2011, 15:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
somamomiji1234 เขียน: ผมสงสัยอะ คนเราจะยึดหลักอะไรในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ใจมันรู้สึกสงบและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะว่าตอนนี้ใจผมมันรู้สึกโหว่งอะ ชอบแล่นไปอดีตที อนาคตที กลัวบ้าง ง่วงบ้าง ![]() ![]() ขอแนะนำ "ทางสายกลาง" หรือ "ทางสายเอก" ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ เป็นเพียงทางสายเดียวเท่านั้นที่คุณจะ พบความสุขที่แท้จริงในภพนี้และภพหน้า ![]() ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม ![]() |
เจ้าของ: | Bwitch [ 17 ก.พ. 2011, 20:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
![]() ร่วมแสดงความเป็นชาวพุทธ...ให้ปรากฏ ด้วยการประกาศเจตนา สมาทาน “หลักชาวพุทธ” ภูมิธรรมขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ เพื่อพัฒนาการแห่งชีวิตและสังคม http://www.chaobuddha.com/profile03.php |
เจ้าของ: | student [ 19 ก.พ. 2011, 20:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ดำเนินชีวิต |
ผมมีความคิดตามหลักพุทธศาสนาว่า ศีล5ควรจะเป็นหลักเอกของการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการกำจัดกิเลสอย่างอยาบ การนั่งสมาธิเพื่อกำจัดกิเลสอย่างกลาง แล้วขั้นปัญญาเพื่อดับกิเลสอย่างละเอียดอันเป็นต้นตอของความทุกข์ทั้งมวลครับผม |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |