วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 16:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 63, 64, 65, 66, 67, 68, 69 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระโพธิสัตว์จักต้องสำเร็จในธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการ จึงสามารถดำเนินจริยาโปรดสัตว์ในสหาโลกธาตุนี้ได้ โดยมิแปดเปื้อนด้วยมลทินโทษ ก็คุณสมบัติ ๘ ประการนั้นเป็นไฉน? คือ:

๑. พระโพธิสัตว์จักต้องบาเพ็ญตนให้เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงสัตว์โดยไม่ปรารถนารับผลตอบแทนจากสัตว์ทั้งหลายใดๆ.

๒.พระโพธิสัตว์สามารถเสวยสรรพทุกข์แทนสรรพสัตว์ได้โดยมิย่นย่อท้อถอย.

๓. พระโพธิสัตว์สร้างคุณความดีไว้มีประมาณเท่าไร ก็สามารถอุทิศให้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ ไม่หวงแหนตระหนี่ไว้.

๔. พระโพธิสัตว์ตั้งจิตอยู่ในสมธรรมอันสม่าเสมอในปวงสัตว์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ถ่อมตนไว้ไม่ลาพองโดยปราศจากความขัดข้องใดๆ.

๕. พระโพธิสัตว์เห็นพระโพธิสัตว์ทุกๆองค์ ปานประหนึ่งเห็นพระพุทธองค์ อนึ่ง พระสูตรใดที่ยังมิเคยได้สดับตรับฟัง ครั้นได้มีโอกาสสดับตรับฟังแล้ว ก็ไม่บังเกิดความคลางแคลงกังขาอย่างไรในพระสูตรนั้นๆ.*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : คุณสมบัติข้อนี้เท่ากับตอบปัญหาของฝ่ายหินยาน ที่มีความสงสัยในพระสูตรคัมภีร์ต่างๆของมหายานว่า ไม่มีในพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี จะเป็นของแต่งขึ้น ภายหลังกระมัง ถ้าว่าเราเป็นพระโพธิสัตว์ไซร้ ก็ต้องไม่บังเกิดความสงสัยขึ้น เพราะฝ่ายมหายานถือว่าพระสูตรจะเป็นของใหม่ของเก่าก็ตาม แต่ให้ถือเอาอรรถธรรมในคัมภีร์เป็นสาคัญ)

๖. พระโพธิสัตว์ไม่หันปฤษฎางค์ให้กับธรรมของพระอรหันตสาวก* แต่สมัครสมานเข้ากันได้กับธรรมดังกล่าวนั้น

(* หมายเหตุจากผู้แปล : ฝ่ายมหายานถือว่า ธรรมฝ่ายหินยานนั้น เป็นบุพภาคที่จักพาบุคคลให้เข้าถึงธรรมฝ่ายมหายาน)

๗. พระโพธิสัตว์ ไม่เกิดความริษยาในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ผู้อื่น แลไม่เกิดความหยิ่งทะนงในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ตนเอง สามารถควบคุมจิตของตนไว้ได้.

๘. พระโพธิสัตว์ จักต้องหมั่นพิจารณาโทษของตนอยู่เป็นนิตย์ ไม่เที่ยวเพ่งโทษโพนทะนาโทษของผู้อื่น ตั้งจิตมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการสร้างบารมี.

นี้แล ชื่อว่าธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการของพระโพธิสัตว์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาค จึงมีพุทธบรรหารว่า

"มีวิมุตติธรรมทวารบท ว่าด้วยอันตธรรมและอนันตธรรม อันพวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกศึกษาไว้

ก็อันตธรรมนั้นเป็นไฉนเล่า? บรรดาสังขตธรรมทั้งปวง ชื่อว่าอันตธรรม

อนันตธรรมนั้นเป็นฉันใด? กล่าวคือ อสังขตธรรมนั่นเอง ชื่อว่า อนันตธรรม"

"บุคคลผู้เป็นโพธิสัตว์ ย่อมไม่สละสังขตธรรมจนหมดสิ้น
ในขณะเดียวกันก็ย่อมไม่ยึดถืออยู่ในอสังขตธรรม

คำใดซึ่งตถาคตกล่าวว่า ไม่สละสังขตธรรมจนหมดสิ้นนั้นเป็นไฉน?
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ย่อมมีจิตไม่ห่างจากมหาเมตตา ไม่เว้นจากมหากรุณา
มีจิตปณิธานมุ่งต่อสรรเพชดาญาณอย่างลึกซึ้งเสถียรภาพ บ่ห่อนจักได้หลงลืมคืนคลาย

อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมมุ่งแสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ โดยมิบังเกิดความเหนื่อยหน่ายเอือมระอาใดๆ
ย่อมปฏิบัติตนในสังคหวัตถุธรรมเป็นนิรันดร์
ย่อมอภิบาลรักษาพระสัทธรรมให้โรจนาภาสโดยจิรายุกาล มิเสียดายแม้กระทั่งชีวิตของตน

อนึ่งเล่า ย่อมมีวิริยะอาจหาญบำเพ็ญสร้างสมสรรพกุศลินทรีย์โดยมิท้อแท้
ตั้งหฤทัยธำรงมั่นในอุดมคติไม่วิจละ คลอนแคลนใดๆ

พระโพธิสัตว์นั้นย่อมอุทิศมุ่งต่อพระโพธิญาณด้วยปัญญาโกศล
หมั่นศึกษาเรียนเล่าในพระสัทธรรมโดยมิเกียจคร้าน

แสดงธรรมแก่ผู้อื่นโดยปราศจากธรรมมัจฉริยะ
แลย่อมเพียรถวายสักการบูชาในพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิเชือนแช

เมื่อพระโพธิสัตว์ใดปฏิบัติได้ดังนี้ พระโพธิสัตว์นั้นย่อมไม่บังเกิดความเกรงขามต่อชาติแลมรณะ
ไม่บังเกิดโสมนัสฤๅโทมนัสในยามเสวยอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์

แลไม่บังเกิดความดูแคลนต่อบุคคลผู้ยังมิได้ศึกษา แต่จักให้ความเคารพ
ประหนึ่งว่าเขาเป็นพระพุทธะพระองค์หนึ่งฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์เหล่าใดตกเป็นกิเลสทาส พระโพธิสัตว์ย่อมชักนำให้สัตว์เหล่านั้น ได้วิโมกข์สถิตอยู่ในสัมมาทัศนะ

ผู้ใดประพฤติตนเป็นผู้ห่างไกลจากโลกียสุข พระโพธิสัตว์ย่อมไม่สำคัญว่านั่นเป็นจรรยาอันวิเศษ*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : หมายความว่าผู้ที่สละโลกิยสุขเอาตัวรอดแต่ผู้เดียว ย่อมไม่เป็นที่ปรารถนาของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์จะต้องทำหน้าที่ช่วยสัตว์ต่อไป ไม่ยอมมุ่งความพ้นทุกข์ส่วนตน)

พระโพธิสัตว์ย่อมไม่ถือประโยชน์สุขแห่งตนเป็นสำคัญ แต่จักมีมุทิตาจิตในความสุขของสรรพสัตว์เป็นสำคัญ

อนึ่งเล่า พระโพธิสัตว์นั้นย่อมมนสิการว่า การเข้าสู่ฌานสมาบัติมีอุปมาฉันเดียวกับการเข้าสู่ภูมินรก
แลความว่ายเวียนเกิดตายในสงสารสาคร มีความสุขครุวนาเช่นการคมนาการสู่อุทยานอันแสนจะรื่นรมย์*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : หมายความว่า พระโพธิสัตว์ไม่ติดในฌานสุข เห็นฌานสุขดุจทุกข์ในนรกและย่อมไม่กลัวต่อชาติภพ เพราะหากกลัวชาติภพเสียแล้ว ก็ไม่สามารถจะทาหน้าที่ช่วยสัตว์ได้ พระโพธิสัตว์จึงยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์)

ทัศนาเห็นบุคคลผู้มาขอศึกษาธรรม ประหนึ่งเขาผู้นั้นมีฐานะเป็นครูบาที่ดีของเรา*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : เพราะเป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์มีโอกาสบาเพ็ญบารมีสั่งสอนธรรมแก่เขา จึงเท่ากับเขาเป็นครูทำให้พระโพธิสัตว์ได้เพิ่มพูนบารมี)

พระโพธิสัตว์ย่อมสามารถสละสรรพสมบัติ ด้วยตั้งอยู่ในสรรเพชดาญาณสัญญาโดยสมบูรณ์มิบกพร่อง

ทัศนาเห็นบุคคลผู้ทุศีล อลัชชี พระโพธิสัตว์ย่อมเกิดความมุ่งมาตรที่จักอนุเคราะห์ช่วยเหลือ
ยังบุคคลนั้นให้กลับตนตั้งอยู่ในกุศลภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมสำคัญสรรพบารมีธรรมเป็นประดุจชนกชนนี
แลย่อมสำคัญว่า โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเป็นประดุจบริวารแวดล้อม

มุ่งบำเพ็ญกุศลินทรีย์โดยไม่มีเขตสุด
เอาสรรพไพจิตราลังการแห่งปวงวิสุทธิโลกธาตุ มาปรุงสำเร็จเป็นพุทธเกษตรแห่งตน
บำเพ็ญอนันตบริจาคธรรม ยังศุภลักษณะให้ไพบูลย์

พระโพธิสัตว์นั้นย่อมกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย ยังกายทวาร วจีทวาร มโนทวารให้สะอาดหมดจด
มีความแกล้วกล้าอาจหาญ มิย่นย่อต่อการเวียนเกิดเวียนตายในกัลป์อันเป็นอปรไมยเพื่อโปรดสรรพสัตว์

อนึ่ง ครั้นได้สดับสรรพคุณาลังการอันประมาณมิได้ของพระพุทธเจ้าเล่า
มนัสแห่งพระโพธิสัตว์ก็ไม่บังเกิดความเหนื่อยหน่ายท้อถอยใดๆ

พระโพธิสัตว์นั้นย่อมเอาปัญญาญาณเป็นพระขรรค์เข้าพิฆาตเข่นฆ่าโจร
กล่าวคือกิเลส มีตนวิโมกข์หลุดรอดจากความผูกมัด กล่าวคืออุปาทานในขันธ์ ธาตุ อายตนะ
ประกอบกิจโดยการประคับประคองสรรพสัตว์ให้ถึงวิมุตติธรรมโดยอนันตกาล

พระโพธิสัตว์บำเพ็ญมหาวิริยธรรม บำราบข่มขี่โยธีมารให้พ่ายแพ้
ย่อมมุ่งต่อปัญญาญาณในพระนิพพานอันเป็นอนารัมณธรรม

พระโพธิสัตว์นั้นย่อมมีอัปปิจฉตากอปรทั้งสันตุฏฐิธรรมเป็นปกติจริยา
แต่ก็มิได้ปลดปลงประดาโลกิยธรรมเสียเลยทีเดียว

พระโพธิสัตว์ย่อมไม่ทำลายสมาจารวัตร แต่ก็สามารถอนุโลมตามโลกจรรยาได้ มิขัดข้องกีดขวางกันเลย
ย่อมอาจสามารถใช้อภิญญาโกศล ชักจูงสั่งสอนนิกรสัตว์

พระโพธิสัตว์ย่อมได้บรรลุสมฤติธารณธรรม ได้สดับฟังเรื่องราวใดๆย่อมอาจจดจำมิเลือนลางเคลื่อนคล้อยไป

อนึ่ง พระโพธิสัตว์ ย่อมมีอินทรีย์ปโรปริยัติญาณ สามารถตัดวิมัติกังขาแห่งปวงสัตว์ได้
ย่อมเป็นผู้ยินดีในการเทศนาอบรมสั่งสอนจำแนกธรรม โดยปราศจากอุปสรรคข้องขัดแต่อย่างใด

บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ อันยังผลให้เสวยเทวสมบัติ มนุษยสมบัติ
บำเพ็ญอัปปมัญญาภาวนา ๔ เบิกวิถีพรหมโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง เพราะพระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญกุศลจรรยา ด้วยการอาราธนาพระพุทธองค์แสดงพระสัทธรรม
และได้มีจิตสัมปสาทนียอนุโมทนาในการแสดงพระสัทธรรมนั้น

จึงได้วิบากคือสุรเสียงสำเนียงของพระพุทธะไว้กับตน
แลอาศัยความที่กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของพระโพธิสัตว์นั้นสุจริต
จึงได้วิบากคืออิริยาบถอากัปจรรยาของพระพุทธะไว้กับตน

แลเนื่องด้วยพระโพธิสัตว์ได้ศึกษาบำเพ็ญในกุศลธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพลํ้าลึก
จริยาวัตรแห่งพระโพธิสัตว์นั้นจึงยิ่งวิเศษอุดมเลิศ

ย่อมอาศัยมหายานศาสน์เป็นหลักปฏิบัติ สำเร็จเป็นโพธิสัตว์สงฆ์
จิตตั้งอยู่ในอัปปมาทธรรม มีกุศลธรรมทั้งหลายไม่เสื่อมหาย
ผู้ใดปฏิบัติตามวิถีธรรมดั่งพรรณนามานี้ ย่อมชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ไม่สละสังขตธรรมจนหมดสิ้น

อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรมนั้นเป็นไฉน?

กล่าวคือพระโพธิสัตว์บำเพ็ญสุญตวิโมกขธรรม ย่อมเป็นผู้ไม่ถือเอาศูนยตาเป็นธรรมอันตนจักบรรลุ

บำเพ็ญอนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
ก็ย่อมไม่สำคัญถือเอาอนิมิตตธรรม อัปปณิหิตธรรมนั้นเป็นธรรมอันตนจักบรรลุ

ฤๅเมื่อบำเพ็ญอนุตปาทธรรม ก็ย่อมไม่สำคัญถือเอาอนุตปาทธรรม เป็นธรรมอันตนจักบรรลุ

พระโพธิสัตว์ย่อมมีอนิจจานุปัสสนา แต่ก็ไม่บังเกิดความเบื่อหน่ายต่อการบำเพ็ญสร้างสมกุศลสมภาร
พระโพธิสัตว์ย่อมพิจารณาโลกโดยทุกขานุปัสสนา แต่ก็ไม่บังเกิดความอางขนางหน่ายแหนงในชาติมรณะ
พระโพธิสัตว์ย่อมมีอนัตตานุปัสสนา แต่ก็ทำหน้าที่โปรดสัตว์โดยไม่เอือมระอาเหน็ดเหนื่อย

พระโพธิสัตว์ย่อมมีนิโรธานุปัสสนา แต่ก็ไม่ยังตนให้ถึงความดับเองโดยอนันตกาล
พระโพธิสัตว์ย่อมถึงพร้อมด้วยวิราคานุปัสสนา แต่ก็ตั้งกายใจของตนบำเพ็ญกุศลธรรม

พระโพธิสัตว์ย่อมพิจารณาความปราศจากที่ไป* แต่ก็มีกุศลธรรมเป็นที่ไป
(* หมายเหตุจากผู้แปล : คือสภาวธรรม ย่อมปราศจากที่มาที่ไป หรือการมาการไปโดยปรมัตถ์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโพธิสัตว์ย่อมบำเพ็ญอนุตปาทานุปัสสนา แต่ก็อาศัยอุปปาทธรรมเพื่อเกื้อกูลสรรพสัตว์
พระโพธิสัตว์ย่อมบำเพ็ญอนาสวานุปัสสนา แต่ก็ไม่สละถอนปวงอาสวธรรมเสียจนสิ้น ฯลฯ

พระโพธิสัตว์เมื่อยังมีปณิธานไม่เต็มเปี่ยมสำเร็จสมไพบูลย์ ย่อมไม่ละเลยต่อการสร้างสมบารมีธรรมเข้าไว้ มีอาทิเช่น ฌานสมาธิ ปรัชญา เป็นต้น

พระโพธิสัตว์ใดบำเพ็ญธรรมปฏิบัติดั่งพรรณนามานี้ ย่อมชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรม

แลเพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์มีบารมีธรรมอันไพบูลย์พร้อมพรั่ง ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่ยึดถืออยู่ในอสังขตธรรม

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์มีปรัชญาญาณสมบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่สละสังขตธรรมเสียจนหมดสิ้น

แลเพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์ ดำรงอยู่ในภูมิธรรมแห่งมหาเมตตา มหากรุณา ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรม

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์ยังปณิธานให้เต็มรอบ ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่สละสังขตธรรมเสียจนหมดสิ้น
แลเพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์พึงสร้างสมธรรมสุขในสรรพสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรม

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์จักต้องจ่ายแจกธรรโมสถให้แก่ประชาสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่สละสังขตธรรมเสียจนหมดสิ้น

แลเพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์จักต้องรู้ชัดในพยาธิภัยแห่งปวงสัตว์ ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรม

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระโพธิสัตว์จักต้องมีภารกิจดับพยาธิทุกข์ (หมายถึงกิเลส) ของสรรพชีพนั้น
ดังนั้นจึงเป็นผู้ไม่สละสังขตธรรมเสียจนหมดสิ้น

ดูก่อนปวงสัมมาจารีชน พระโพธิสัตว์ใดหากได้บำเพ็ญธรรมานุธรรมปฏิบัติ ดั่งตถาคตพรรณนามา เป็นผู้ไม่สละสังขตธรรมจนหมดสิ้น ในขณะเดียวกัน ก็ย่อมไม่ยึดถือตั้งอยู่ในอสังขตธรรม

พระโพธิสัตว์นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงวิมุตติธรรมทวารบท ว่าด้วยอันตธรรม อนันตธรรม อันพวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกศึกษาไว้ด้วยประการฉะนี้"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูก่อนเมตไตรยะ เธอพึงรู้ไว้ด้วยว่า อันพระโพธิสัตว์นั้นมีสองลักษณะ ก็สองลักษณะนั้นเป็นไฉน?

๑. คือ พระโพธิสัตว์ที่ยินดีเพลิดเพลิน ในเรื่องสานวนอักขรโวหารบัญญัติ

๒. คือ พระโพธิสัตว์ที่มิได้ครั่นคร้ามหวาดกลัวต่ออรรถธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพ สามารถจักเข้าถึงซึมซาบได้

ก็พระโพธิสัตว์ใด ที่ยินดีเพลิดเพลินในเรื่องสำนวนอักขรโวหารบัญญัติ พึงรู้ได้ว่า เป็นพระโพธิสัตว์นวกะ

พระโพธิสัตว์ใดปราศจากความเพลิดเพลินยินดี ปราศจากความยึดถือ ปราศจากความครั่นคร้ามในพระสูตรอันลํ้าลึก สามารถเข้าถึงแก่นสารในพระสูตรนั้น

ครั้นได้สดับซึ่งพระธรรมนั้นแล้ว ก็มีจิตสะอาดผ่องแผ้ว ธำรงรักษาไว้ได้ แลสาธยายเล่าบ่นกับทั้งอาจปฏิบัติตามธรรมดังกล่าว พึงรู้ได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์รัตตัญู อบรมปฏิบัติโพธิจริยามานานกาล

อนึ่ง เมตไตรยะ! ยังมีธรรมอยู่ ๒ ประการ ซึ่งนวกโพธิสัตว์มิสามารถตัดสินเด็ดขาดในอรรถธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพได้ ก็สองประการนั้นเป็นไฉน?

๑. พระสูตรอันมีนัยะล้าลึกใด ซึ่งนวกโพธิสัตว์ได้สดับแล้ว บังเกิดความครั่นคร้ามกังขา ไม่สามารถอนุโลมตาม แลกล่าวจ้วงจาบโดยไร้ศรัทธาว่า ธรรมเหล่านี้เรามิเคยได้ฟังมาก่อนเลย ได้มาจากผู้ใดกัน? ประการหนึ่ง

๒. บุคคลที่เขาอภิบาลซึ่งพระสูตรอันมีนัยะล้าลึก แลเขาแสดงประกาศซึ่งพระสูตรนั้น นวกโพธิสัตว์ก็ไม่ยอมเข้าใกล้สักการบูชาบุคคลผู้นั้น อนึ่ง ยังกล่าวโทษตาหนิติเตียนบุคคลผู้นั้นอีกด้วย อีกประการหนึ่ง

ก็ทั้ง ๒ ประการนี้ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า เป็นการกระทำซึ่งทำลายตนเองของนวกโพธิสัตว์ ผู้ไม่สามารถควบคุมจิตของเขาในท่ามกลางธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพได้

อนึ่ง เมตไตรยะ! ยังมีโทษอยู่อีก ๒ ประการ ซึ่งพระโพธิสัตว์ผู้รัตตัญู ผู้มีศรัทธาเข้าใจในธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพ แต่เป็นการทำลายตนเอง มิสามารถบรรลุอนุตปาทธรรมกษานติได้ สองประการนั้นเป็นไฉน? คือ

๑. รัตตัญญูโพธิสัตว์ใด ดูหมิ่นนวกโพธิสัตว์ ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนตักเตือนนวกโพธิสัตว์นั้น

๒. แม้จะมีความเชื่อความเข้าใจในธรรมอรรถอันลึกซึ้ง แต่ก็ยังยึดถือในวิกัลปลักษณะ นี้แลธรรม ๒ ประการ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วคราวหน้ามาต่อกันที่พระสูตรในหมวดอวตังสกสูตร (พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร, อวตังสกสูตร, คันธวยูหสูตร, พุทธาวตังสกสูตร, อวตังสกมหาไพบูลยสูตร, พุทธาวตังสกะ มหาไพบูลย์สูตร) :b46: :b39: :b46:

โดยเฉพาะในส่วนของโพธิสัตว์ปุจฉาวิทยาวรรค ที่ว่าด้วยเรื่องของทุกสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว .. หนึ่งเดียวคือทุกสรรพสิ่ง (All is One and One is All) :b8: :b46: :b39:

และในส่วนของปฐมโพธิจิตกุศลวรรค ที่ว่าด้วยเรื่องของโพธิจิต
:b8: :b46: :b39:

และคงเป็นพระสูตรสุดท้ายของมหายานที่จะศึกษาเพื่อปูพื้นกันนะครับ โดยจะเอามาลงในแบบฉบับย่อ ไม่ยืดยาวให้อ่านยาก :b1: :b46: :b39:

เพราะวิสุทธิปาละเห็นว่า ตัวอย่างจากพระสูตรมหายานที่ตัดมา น่าจะเพียงพอแล้วที่จะใช้สรุปการเชื่อมโยงแก่นของมหายานทั้งสาม อันได้แก่ ศูนยตา, ตถาคตพีชะ-โพธิจิต, และโพธิสัตว์จริยา รวมถึงวิธีปฏิบัติภาวนาในแนวทางของมหายานและเซ็น ตามประสบการณ์และสติปัญญาที่พอจะเรียบเรียงแบ่งปันกันได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่พระสูตรอีกหมวดหนึ่งอันเป็นรากฐานสำคัญของมหายาน โดยเฉพาะนิกายฮวาเหยียน (อวตังสกะ) และนิกายเซ็น (ซึ่งทั้งสองนิกายต่างก็มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน) นั่นคือ พระสูตรในหมวดอวตังสกะสูตรกันครับ :b1: :b46: :b39:

พระสูตรในหมวดนี้มีชื่อในภาษาสันสกฤตสะกดไทยเต็มๆว่า พระมหาพุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร (หรือมหาไพบูลยสูตร) บางทีก็เรียกย่อๆว่า พุทธาวตังสกสูตรบ้าง อวตังสกสูตรบ้าง อวตัมสกสูตรบ้าง ทศภูมิกสูตร ซึ่งเป็นจุลวรรคหนึ่งในพระสูตรใหญ่บ้าง อวตังสกคัณฑวยูหสูตร หรือคัณฑวยูหสูตร ซึ่งเป็นจุลวรรคใหญ่สุดของพระสูตร ที่แปลว่า พวงดอกไม้ (The Flower Garland Sutra, or The Flower Ornament Sutra) บ้าง :b46: :b47: :b46:

ส่วนภาษาจีนกลางใช้ชื่อว่า ต้า ฟั่ง กวง ฝอ ฮวา เหยียน จิง (大 方 廣 佛 華 嚴 經) ซึ่งอ่านออกเสียงแต้จิ๋วว่า ไต๋ ฮึง ก้วง ฮุก ฮั่ว เงี้ยม เก็ง เรียกกันย่อๆว่า ฮวา เหยียน จิง (จีนกลาง) หรือ ฮั่ว เงี้ยม เก็ง (แต้จิ๋ว) และมีผู้ตั้งชื่อแบบไทยง่ายๆไว้ว่า พระสูตรพวงดอกไม้ หรือพระสูตรรัตนะมาลา :b46: :b47: :b48:

หัวใจสำคัญของพระสูตรนี้ก็คือ "ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนเป็นหนึ่ง หนึ่งนั้นคือสัจธรรมสูงสุด .. พุทธะ, จิต, สรรพสัตว์ ล้วนเป็นหนึ่ง" :b8: :b46: :b39:

หรือสั้นๆง่ายๆ แต่ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่งว่า "ทั้งหมดคือหนึ่ง .. หนึ่งคือทั้งหมด" หรือ "All is One .. One is All" :b8: :b46: :b39:

นั่นคือ ทุกสรรพสิ่งที่เป็นสังขตะ คือยังไม่พ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง ถ้าดูเพียงผิวเผินเหมือนจะแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้ว ต่างเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ตามหลักปัจจยาการ หรือหลักอิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีสิ่งนี้ สิ่งนี้ เป็นปัจจัย)
:b48: :b49: :b47:

เช่น ในเรื่องของรูป ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้แก่เรื่องของสสารและพลังงาน .. โต๊ะหนึ่งตัวกับดวงอาทิตย์ หรือกับจักรวาลทั้งจักรวาล ดูผิวเผินเหมือนจะเป็นคนละสิ่ง :b50: :b51: :b50:

แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว โต๊ะหนึ่งตัว ประกอบไปด้วยเนื้อไม้ .. ในเนื้อไม้ ต่างเชื่อมโยงกลับไปได้ถึงต้นไม้หนึ่งต้น กลับไปได้ถึงป่าไม้ทั้งผืน มวลอากาศ สายน้ำ ผืนแผ่นดิน เมฆฝน พลังงานจากดวงอาทิตย์ .. จนถึงจักรวาลทั้งจักรวาล :b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือในเรื่องของปรากฏการณ์ทางสังคมที่ดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่องกัน แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ต่างสามารถเชื่อมโยงถึงกันและกัน :b46: :b47: :b46:

เช่น คนอินเดียในสมัยพุทธกาล ซึ่งตรงกับยุคของกรีกโบราณ กับการรัฐประหารในประเทศไทย ดูผิวเผินเหมือนจะไม่ข้องเกี่ยวเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน :b49: :b48: :b44:

แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว การรัฐประหาร อันมีรากฐานปัจจัยมาจากความขัดแย้งของผู้คนในประเทศไทย ที่มีความคิดและพฤติกรรมอันแตกต่างหลากหลาย .. :b48: :b49: :b55:

ย้อนพัวพันถักทอกลับไปได้ถึงสมัยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ .. สืบเนื่องไปถึงรากฐานค่านิยมของสังคมที่สั่งสมกันมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ .. ย้อนกลับไปถึงอยุธยา สุโขทัย ขอม ล้านนา ล้านช้าง น่านเจ้า ฯลฯ ซึ่งต่างได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากทั้งพุทธและพราหมณ์ อันมีต้นกำเนิดจากคนอินเดียสมัยก่อนและหลังพุทธกาล :b49: :b48: :b47:

อีกทั้งความขัดแย้งดังกล่าว สามารถสืบสายไปถึงปัจจัยจากแนวคิดทางการเมืองการปกครองที่เรียนรู้กันมาจากโลกสมัยใหม่ ที่สามารถเชื่อมโยงข้ามโลกและกาลเวลากลับไปได้ถึงอดีตของประชาธิปไตยในยุคกรีกโบราณ คติเทวนิยมและธรรมาธิปไตยจากปรัชญาของศาสนาในอินเดีย สืบจนถึงอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือนานกว่านั้น ฯลฯ :b49: :b48: :b51:

ซึ่งความเป็นจริงของการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันตามธรรมชาติของทุกสรรพสิ่งตรงนี้ ทำให้ทุกสรรพสิ่ง ทุกปรากฏการณ์ ต่างเชื่อมสายสัมพันธ์ โยงใยถึงกันได้หมดดุจดอกไม้ที่ร้อยเรียงอยู่บนพวงเดียวกัน (อวตังสกะ) หรือดุจเส้นใยที่ถักทอเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นตาข่ายผืนเดียว (อินทชาละ) .. ในทุกนาม - รูป (All Minds and Matters), ในทุกกาล - ปริภูมิ (All Times and Spaces) :b46: :b47: :b41:

ทำให้ทุกสรรพสิ่ง ทุกปรากฏการณ์ในจักรวาลสามแดนโลกธาตุนี้นั้น ไม่เคยเกิดปรากฏขึ้นมาได้โดยบังเอิญ เพราะต่างมีที่มาที่ไป ตามเหตุปัจจัยที่ถักทอร้อยเรียงเป็นสายสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน ตามระบบแห่งความเป็น "เช่นนั้นเอง" ของธรรมชาติ หรือของกระแสธรรม :b8: :b46: :b39:

ดังนั้น ทุกสรรพสิ่ง ทุกปรากฏการณ์ ดูผิวเผินเป็นสิ่งต่างกัน แต่ลึกซึ้งแล้ว เป็นสิ่งเดียว "ซึ่งกันและกัน" ดังคำกล่าวของผู้รู้ที่ว่า :b49: :b50: :b48:

"โลกปรากฏการณ์ เป็นช่องทางปรากฏตัวของโลกจริงแท้ .. เพียงแต่โลกจริงแท้มีหนึ่งเดียว โลกปรากฏการณ์มีมากหลาย แต่จริงๆแล้วก็คือ ทั้งหมดอยู่ในหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวอยู่ในทั้งหมด (All is in One, One is in All)" :b55: :b51: :b53:


ส่วนรายละเอียดแบบย่อ ขออนุญาตยกเอาที่มีผู้กล่าวสรุปไว้ดีแล้ว มาลงแทนการตัดจากพระสูตรมาตรงๆ ตามด้านล่างนี้นะครับ :b1: :b47: :b48:

(แต่ถ้าท่านใดอยากศึกษาพระสูตรนี้โดยตรง ก็มีผู้แปลเป็นไทยไว้ให้แล้วบางส่วน ตามลิงค์ด้านล่าง

http://goo.gl/hDaVwo)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธาวตังสกะ มหาไวปุลยสูตร (Da Fang Guang Fo Hua Yan Jing) มีชื่อในภาษา อังกฤษว่า The Flower Garland Sutra หรือ The Great and Vast Buddha Garland Sutra

เป็นพระสูตรว่าด้วยศูนยตาภาวะ (สุญญตา) ที่มีจุดประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้ศึกษาได้ละวางความแตกต่างระหว่างกัน และความมีอยู่ของกันและกัน ให้เข้าถึงสภาวะที่เรียกว่า เอกภาพ หรือ ตถตา หรือก็คือสิ่งสากลชนิดหนึ่งของสรรพสิ่ง ว่ามีลักษณะร่วมบางอย่าง (มูลฐาน) ที่เหมือนกัน

โดยได้แสดงตามหลักปัจยาการที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ซึ่งให้ความหมายว่าประดุจอินทรชาละ หรือตาข่ายของพระอินทร์ ที่ถักทอร้อยเรียงเข้าด้วยกัน ด้วยแก้วรัตนมณีจำนวนมหาศาลที่สาดแสงส่องประกายถึงกันตลอดทั้งหมด ด้วยเหลี่ยมมุมบ้าง ความกลมมนบ้าง

เหมือนกับหลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน สะท้อนถึงกัน เพราะมีสภาวะเดิมแท้ที่ว่างเปล่า คือการยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เหมือนกัน จึงไม่มีอุปสรรคแก่กัน

ซึ่งท่านจะได้พบความพิศดาร อัศจรรย์และคัมภีรภาพได้ต่อไปนี้ โดยขอให้ท่านได้กระทำจิตตนให้เหมือนอากาศธาตุที่กว้างใหญ่ไพศาล ไร้สี กลิ่น รส ปราศจากความสูงต่ำ และปราศจากสิ่งกีดขวาง อันเป็นคุณสมบัติของอากาศที่สามารถแทรกซึมไปในทุกอณู ของสรรพสิ่งและในทุกสถานที่เสียก่อน แล้วจึงเปิดใจศึกษาพระธรรมที่ไร้สภาวะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7579.0

พระสูตรมหายานอีกสูตรหนึ่ง ไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนักแต่ก็มีความลึกซึ้งอย่างที่เป็นแกนนำสำหรับพุทธศาสนิกที่เชื่อถือและปฏิบัติตาม นี่ก็คือ อวตังสกสูตร

กล่าวว่าพระสูตรนี้เกิดขึ้นจากพระพุทธเจ้าดำรัสเมื่อแรกตรัสรู้ หากลุ่มลึกเกินกว่าเวไนยนิกรสมัยพุทธกาลจะเข้าใจได้ จึงมาปรากฎความขึ้น เมื่อพุทธปรินิพพานล่วงแล้วไปได้ราวๆ ๕oo ปี แล้วแปลออกมาเป็นภาษาจีนอีกสามร้อยปีต่อแต่นั้นมา

พระสูตรนี้มีถ้อยคำอุปมาที่สำคัญอันว่าด้วยข่ายของพระอินทร์ (ท้าวสักกะ) ซึ่งถักไว้ด้วยมณีรัตนะต่างๆ แต่ละเม็ดจะสะท้อนให้เห็นแสงของกันและกัน เป็นการโยงปัจจยาการ หรือ อิทัปปัจจยตา ของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล ซึ่งอยู่ในเครือข่าย หรือแหของพระอินทร์ (จะเรียกว่า อินทรชาลสูตร โดยเปรียบกับ พรหมชาลสูตร ของเถรวาทเราก็ได้ เพราะ ชาละ ก็คือร่างแหนั้นแล)

อวตังสกสูตร เก็บความอย่างละเอียด แต่ย่อยสุดไปจนใหญ่สุด และในทุกอณูมีพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์เจ้าปรากฏอยู่ด้วยเสมอไป พระสูตรเริ่มแรกจากการพรรณาถึงภาวนาวิธี ที่กระทำได้ทุกๆวัน ของทุกๆคน ก่อนเข้าถึง อวตังสก หรือดอกไม้อันประดับอย่างเป็นเลิศ อันได้แก่ พระไวโรจนพุทธ ซึ่งก็คือพระธรรมกายของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ในสกลจักรวาล หรือจะกล่าวว่า พระไวโรจนพุทธ ก็คือสกลจักรวาลนั่นเอง

พระไวโรจนพุทธทรงแสดงออกซึ่งพุทธภาวะ อันได้ก่อสัจภาวะของธรรมชาติ หากกระจายและและขยายความออกไปเป็นพระโพธิสัตว์ต่างๆ เช่น พระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ ซึ่งทรงแสดงออกซึ่งการกระทำทุกๆอย่าง

พระสูตรนี้เน้นที่พระไวโรจนพุทธและพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ แล้วจึงอธิบายว่าด้วยทศภูมิกะ หรือการเจริญโพธิสัตวธรรมบารมีเป็นขั้นๆทั้งสิบขั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทท้ายสุดของพระสูตร มีชื่อว่า คัณฑวยูหสูตร ซึ่งนับว่ายาวที่สุดและแบ่งเป็น ๓๙ ตอน ทางเมืองจีนเน้นบทนี้เป็นที่ยิ่ง กล่าวพรรณาว่าด้วยการเข้าถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้วคือดินแดนซึ่งเป็นสัตยะ ด้วยการเล่าถึงบุญจาริกของท่านสุธน ซึ่งพระโพธิสัตว์มัญชุศรีส่งให้ไปแสวงหาสัจธรรม

ท่านสุธนไปแสวงหาครูอาจารย์ถึง ๓๒ ท่าน จากวิถีชีวิตต่างๆจนในที่สุด ท่านสุธนไปพบพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ซึ่งชี้ให้ดูหอใหญ่ หมายความว่าหอนี้รวมภูมิปัญญาของพระโพธิสัตว์ไว้ จนท่านเข้าใจสกลจักรวาล

ท่านสุธนเข้าไปยังหอใหญ่ที่ว่านี้ แล้วไปเจอหอใหญ่อื่นๆอีกมาก ทั้งยังไปค้นพบด้วยว่า พระศรีอริยเมตไตรยนั้นได้บรรลุธรรมถึงที่สุดในโลกต่างๆมามากแล้ว หากยังคงอธิษฐานโพธิสัตวธรรมบารมี รอเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไปเพื่อคอยช่วยสรรพสัตว์

แต่ละหอที่ท่านสุธนค้นพบ ล้วนกว้างขวางอย่างไพศาล มีเนื้อที่ที่รวมเอาเนื้อที่ของหออื่นๆเข้ามาด้วย จนไม่รู้จักจบสิ้น ในที่สุดพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ทรงส่งท่านสุธนกลับไปหาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์เพื่อไปเรียนรู้เพิ่มเติม แต่แล้วพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ก็เพียงตบศรีษะท่านสุธน ให้ท่านกลายสภาพไปเป็นพระสมันตรภัทรโพธิสัตว์ภายในเสี้ยวเวลา ๕๒ วินาที นี้แลคืออวสานของพระสูตร

ชื่อพระสูตรว่า อวตังสก นี้ กลายเป็นนิกายหนึ่งของมหายานในเมืองจีนคือ หัวเหยียนจง ซึ่งสอนพุทธปรัชญาอย่างลึกซึ้ง ด้วยการแปลภาวนาวิธีต่างๆให้เกิดตื่นขึ้นจากการบีบรัดของกองกิเลส จนหลายคนเห็นกันว่านิกายนี้ในเมืองจีนเป็นจุดสุดยอดของปรัชญามหายาน ซึ่งเน้นในเรื่อง ปัจจยาการ อันนำมาใช้ได้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นเหตุให้พวกนิเวศวิทยาสมัยใหม่ของฝรั่ง หันมาสนใจพระสูตรนี้และนิกายนี้กันเป็นอันมาก

คัดมาจาก ความเข้าใจเรื่องมหายาน โดย ส. ศิวรักษ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.gmwebsite.com/webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-071129085622060&PageNo=10&Other=
http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7579.0
http://ajaytao2010.files.wordpress.com/2012/08/understanding-our-mind-thich-nhat-hanh.pdf

Understand Our Mind, by the Venerable Thich Nhat Hanh
(Originally published as "Tranformation at the Base : Fifty Verses on the Nature of Consciousness")

สู่ชีวิตอันอุดม, หลวงปู่ติช นัท ฮันห์, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป, ส.ศิวรักษ์ แปลและเรียบเรียง

อวตัมสกสูตร : ตาข่ายพระอินทร์ สหสัมพันธ์แห่งสรรพสิ่ง
พีชะ และ สังขาร มีธรรมชาติที่โยงใยถึงกัน และทะลุทะลวงถึงกัน
หนึ่งเกิดจากทั้งหมด และ ทั้งหมดเกิดจากหนึ่ง


จากคำนำได้เอ่ยไว้แล้ว ท่านอสังคะกับวสุพันธุ์เริ่มนิกายวิญญาณวาทในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ตอนนั้นคำสอนของ อวตัมสกสูตรยังไม่ได้เข้ามาสู่ระบบคำสอนในทางจิตวิทยาของพุทธศาสนา ซึ่งเนื้อหามาจากพระอภิธรรม

จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๗ แล้ว ที่ท่านพระถังซำจั๋งได้นำเอานิกายวิญญาณวาทไปเมืองจีน แม้กระนั้น อวตัมสกสูตร ก็ยังไม่เข้าสู่นิกายนั้น

ท่านฟาซัง ( ค.ศ. ๖๔๓-๗๑๒ ) เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ ๓ ของนิกายอวตัมสกะในเมืองจีน และท่านเป็นคนแรกที่นำเอาข้อความจาก อวตัมสกสูตร เข้ามาสู่ระบบจิตวิทยาอย่างพุทธ ดังนั้นท่านเขียนอรรถาธิบายไว้ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน (Notes on the Mystical in the Avatamsaka Sutra)

คาถาต้นบทนี้เอ่ยถึงคำสอนในเรื่องที่โยงใยถึงกัน และทะลุทะลวงถึงกัน ดังปรากฎความอยู่ในอวตัมสกสูตร

อวตัมสกสูตร นับได้ว่าเป็นต้นตอที่มาจากภาพลักษณ์ในเรื่องตาข่ายของพระอินทร์

ตาข่ายที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตาข่ายของพระอินทร์กว้างใหญ่ไพศาล แต่ละช่วงของตาข่ายในจักรวาลมีมณีรัตนะต่างๆ

ทุกครั้งที่ตาข่ายทอดไปถึง มณีรัตนะเรือนโกฏิผูกติดอยู่กับตาข่าย และแต่ละมณีรัตนะก็เจียรไนออกไปอย่างต่างๆกัน เวลามองไปยังด้านใดด้านหนึ่งของมณีรัตนะดวงใด ก็จะเห็นมณีรัตนะทุกๆดวงอยู่ในนั้น ดังความในอวตัมสกสูตรมีว่า ในตาข่ายของพระอินทร์นั้น หนึ่งอยู่ในทั้งหมดและทั้งหมดอยู่ในหนึ่ง

นักคิดชั้นนำชาวพุทธนำเอาภาพลักษณ์อันวิเศษนี้มาใช้ เพื่ออธิบายในเรื่องโยงใยถึงกันและทะลุทะลวงถึงกัน

ตามความคิดอย่างธรรมดาๆ แบบแยกแยะของเรา เราเห็นกาน้ำชาเป็นหนึ่งหน่วย เป็นวัตถุโดดๆ

แต่ถ้าเรามองให้ลึกลงไปอย่างเพียงพอ ก็จะเห็นว่ากาน้ำชาประกอบด้วยธรรมะอันมากหลาย กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กาละ เทศะ ฯลฯ และเราจะพิจารณาจนเห็นได้ว่าจักรวาลทั้งหมดรวมลงมาอยู่ในกาน้ำชานี้

นี้แลคืออิทัปปัจจยตาของความเป็นกาน้ำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกไม้ดอกหนึ่งก็ประกอบไปด้วยธาตุอื่นๆ นอกเหนือดอกไม้ดอกนั้น เช่น เมฆ พื้นดิน และแสงแดด ถ้าไม่มีเมฆไม่มีพื้นดินจะมีดอกไม้ได้อย่างไร นี้แลคือการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน คือหนึ่งขึ้นกับทั้งหมด และทั้งหมดเป็นไปได้ก็มาจากหนึ่ง

เราจะเห็นได้ถึงธรรมชาติของการโยงใยถึงกัน และทะลุทะลวงถึงกันในทุกๆพีช และในทุกๆสังขาร

การทะลุทะลวงถึงกันหมายความว่า ทั้งหมดคือหนึ่ง ดอกไม้ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดดๆ หากต้องโยงใยกับทุกอย่าง

ธรรมทั้งหมดก็เป็นเช่นนั้น

เดวิด บอร์ม ซึ่งเป็นนักนิวเคลียฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เสนอศัพท์ทางวิชาการขึ้น ๒ คำคือ explicate order (ระเบียบแบบแผนที่อธิบายได้ ) กับ implicate order (ระเบียบแบบแผนที่ทราบโดยนัยเท่านั้น) ซึ่งใกล้เคียงกับศัพท์ทางพุทธศาสนาในเรื่อง สมมติสัจ กับ ปรมัตถสัจ

ในทางที่อธิบายได้ แต่ละอย่างมีขึ้นนอกเหนือไปจากอย่างอื่นๆ ช้างอยู่นอกกุหลาบ โต๊ะอยู่นอกป่า เธออยู่นอกจากฉัน ฯลฯ

ระเบียบแบบแผนที่อธิบายได้ คือสิ่งซึ่งเรามองเห็นโดยได้มองให้ลึกลงไป แต่บอร์มก็ค้นพบด้วยว่าถ้าเรามองลึกลงไปยังธรรมชาติของทุกสิ่งที่เขาเรียกว่าอนุภาคพื้นฐาน (elementary particle) ก็จะเห็นได้ว่าอนุภาคหนึ่งเกิดขึ้นโดยอนุภาคอื่นๆ

มติในชีวิตประจำวันของเราเอามาใช้ได้กับสิ่งซึ่งเล็กน้อยอย่างหาที่สุดมิได้

ในอนุภาคหนึ่ง ซึ่งเรารับรู้ได้ว่ามีอนุภาคอื่นๆปรากฎอยู่ด้วย

และเมื่อมองให้ลึกลงไปในธรรมชาติของอนุภาคหนึ่ง ก็จะช่วยให้เราเข้าถึงระเบียบแบบแผนที่เข้าได้โดยนัยเท่านั้น

กล่าวคือ มีทุกอย่างอยู่ในทุกๆอย่าง

นี่คือคำสอนของอวตัมสกสูตร

ระเบียบแบบแผนที่เราทราบได้เพียงนัยนั้น เหมือนกับปรมัตถมิติ และระเบียบแบบแผนที่อธิบายได้ ก็เทียบได้กับสมมติสัจแห่งสังสารวัฏ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดและตาย เริ่มต้นและถึงที่สุด นี่และนั่น เป็นไม่เป็น

แต่ในทางปรมัตถ์นั้น ไม่อาจสามารถอธิบายได้ด้วยถ้อยคำหรือความคิด เพราะถ้อยคำและความคิดมีธรรมชาติไปในทางที่ตัดสัจภาวะออกเป็นเสี่ยงๆ

พร้อมกันนั้นก็พึงตราไว้ว่า การศึกษาพุทธศาสนา และการเจรจากับคนอื่นๆ เราต้องใช้ถ้อยคำ ความคิด และคำนิยามต่างๆ แต่เมื่อถึงที่สุดแล้ว เราต้องเอาสิ่งสมมติต่างๆ นั้นออกให้หมด เพื่อเข้าถึงสัจภาวะที่แท้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 63, 64, 65, 66, 67, 68, 69 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 183 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร