วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 21:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 67, 68, 69, 70, 71, 72, 73 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2015, 14:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


1.กลุ่มสมาธินำปัญญา ลักษณะชอบความสงบ ทำอะไรทำจรืงจะทำเป็นอย่างๆ จนกว่าจะสำเร็จ ไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้าง ในการปฎิบัติจะกำหนดรูปนามตามความเป็นจริงได้ยาก เนื่องจากรูปนามโดยคุณสมบัติจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงขัดกับอุปนิสัย การกำหนดรูปนามจึงมีความอึดอัด หากกำหนดรู้ในรูปก็จะไหลไปรวมกับรูป แยกรูปนามได้ยาก

2.กลุ่มปัญญานำสมาธิ เป็นคนชอบพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาธรรม(ความคิด)ทำให้เกิดความเข้าใจที่จะเป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฎฐิ หรือมิจฉาทิฎฐิ(ความฟุ้งซ่านในธรรม)ก็ได้ ที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฎฐิที่แท้จริง เพราะการจะเข้าถึงสัมมาทิฎฐิที่แท้ได้ก็ต่อเมื่อรู้ลงในรูปนามแล้วพบสภาพความเกิดดับของรูปนาม

3.กลุ่มสมาธิสมดุลปัญญาเป็นคนชอบพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุผล ขณะเดียวกันก็มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่พิจารณาจนเห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมเป็นกลุ่มที่มักจะไม่มีปัญหาในการปฎิบัติเหมือน 2 กลุ่มแรก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่ภาคปฏิบัติในการเจริญสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เพื่อเข้าถึงพุทธิปัญญาตามแนวทางมหายานกันนะครับ :b8: :b46: :b39:

และที่จะกล่าวถึงแนวทางของมหายาน ก็คงหยิบเอามาเพียงแค่บางส่วนที่เป็นแก่นของมหายานเท่านั้นนะครับ ไม่ได้หมายถึงมหายานทั้งหมด คือรวมทั้งแก่นทั้งกระพี้และเปลือกของมหายาน ซึ่งหลังๆมาคำสอนและแนวปฏิบัติบางอย่างก็เป็นเพียงแค่กระพี้กับเปลือก คือออกนอกแนวของมหายานยุคเดิม หรือแม้กระทั่งออกนอกแนวของพุทธธรรมไปเยอะ :b46: :b47: :b46:

(ซึ่งทางเถรวาทเองก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยแตกต่างกันสักเท่าไหร่ ทำให้มีผู้คนที่เข้าถึงแก่นธรรมคำสอนอย่างแท้จริงเพียงส่วนน้อย ไปติดอยู่ที่กระพี้กับเปลือกกันเสียมาก) :b48: :b49: :b50:

เนื่องเพราะถ้าพูดถึงมหายาน ซึ่งถือว่าเป็นฝั่งเสรีนิยม (Liberal) ในพระพุทธศาสนาแล้วละก็ อาจจะจำแนกแจกแจงออกได้อีกเป็นหลายสิบนิกาย ตามแต่อาจารย์รุ่นหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สองท่านจะตีความพระธรรมวินัยเน้นไปในแนวไหน หรือนำพระธรรมวินัยไปปฏิบัติเพียงบางหัวข้อที่ถูกจริตของตน แล้วตั้งแนวทางที่ตรงตามจริตนั้นๆขึ้นมาจนได้รับความนิยม แล้วยกขึ้นเป็นสำนักหรือนิกาย :b47: :b48: :b47:

ทั้งนี้ด้วยเหตุที่ว่า ทางมหายานนั้นค่อนข้างให้เสรีภาพในการตีความพระธรรมวินัย คือไม่ได้ห้ามแนวคิด ความเชื่อ คำสอน วินัยบัญญัติ หรือวิธีปฏิบัติตามแนวทางใหม่ๆจากพระอาจารย์ (อาจาริยาวาทะ) ถึงแม้จะออกนอกกรอบที่พระบรมครูทรงวางไว้แต่ดั้งเดิมไปบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะถือเอาคำของพระบรมครูที่ทรงอนุญาตให้แก้ไข (เฉพาะ) พระวินัย หรือสิกขาบทในส่วนที่เล็กน้อยได้ จนบางทีก็เสรีเลยเถิด liberal กันออกไปไกล แม้กระทั่งล่วงล้ำเข้าไปแก้ไขความรู้ความเข้าใจในส่วนของพระธรรม ที่พระบรมครูทรงไม่ได้ตรัสอนุญาตให้แก้ไขไว้ :b46: :b39: :b46:

(ซึ่งในความเป็นจริง ส่วนของพระธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมนั้น ไม่มีใครหรืออะไรจะสามารถไปแก้ไข เนื่องเพราะเป็นความจริงตามธรรมชาติที่เป็นสัจจธรรม ไม่สามารถกำหนดขึ้นมาใหม่ตามทิฏฐิ หรือตามอำนาจใครได้)
:b42: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งต่างจากแนวทางปฏิบัติของเถรวาท ที่ถือว่าเป็นฝั่งอนุรักษ์นิยม (Conservative) ในพระพุทธศาสนา เนื่องจากถือเอาอย่างเคร่งครัดในมติของคำพูดที่ตกลงกันในที่ประชุมสงฆ์ระดับผู้ใหญ่ (เถรวาทะ) ที่เป็นผู้รู้รอบ (อรหันต์ปฏิสัมภิทา) จำนวน ๕๐๐ รูป อันมีองค์พระมหากัสสปะเป็นประธานเมื่อครั้งปฐมสังคายนา :b46: :b47: :b46:

(ที่แปลว่า การประชุมเพื่อตรวจชำระ สอบทาน และจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระบรมครู วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามรากศัพท์ของคำว่า "สังคายนา" คือ สํ = พร้อมกัน + คีติ = สวด หมายถึง สวดพร้อมกัน ไม่ใช่การแต่ง หรือบัญญัติธรรมวินัยขึ้นมาใหม่) :b50: :b49: :b50:

โดยไม่มีการแก้ไขสิ่งที่พระบรมครูทรงบัญญัติไว้แต่เดิมอย่างใด แม้พระบรมครูทรงเปิดช่องอนุญาตไว้สำหรับสิกขาบทเล็กน้อย แต่องค์พระอานนท์ท่านไม่ได้สอบถามพระบรมครูให้ชัดเจนว่า สิกขาบทเล็กน้อยนั้นคืออะไร มติที่ประชุมจึงเห็นควรให้คงส่วนของสิกขาบทไว้ตามเดิมอย่างนั้น :b47: :b46: :b47:

เนื่องเพราะเหล่าองค์พระสาวกสมัยปฐมสังคายนาท่านมองการณ์ไกล เห็นว่าถ้าปล่อยให้แก้ไขได้ ยาวนานออกไปเหล่าสงฆ์บางกลุ่มก็อาจจะขอแก้ไขกันตามใจชอบ เช่น ถ้ามติส่วนใหญ่ของสงฆ์กลุ่มนั้นขอถอนสิกขาบทที่สำคัญออกไปได้แล้วมันจะยุ่งกันใหญ่ สงฆ์กลุ่มอื่นก็จะขอแก้ไขกันตามใจชอบ สังฆะแต่ละคณะก็จะไม่ตั้งอยู่บนวินัยที่บริสุทธิ์อันเดียวกัน ธรรมวินัยของพระบรมครูก็คงจะค่อยๆเสื่อม และสูญหายไปในเวลาอันไม่นาน :b42: :b43: :b44:
เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย http://www.84000.org/tipitaka/read/?7/620-622

เน้นไว้อีกทีนะครับว่า ตรงนี้พูดถึงการแก้ไขเฉพาะส่วนของพระวินัย ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนของพระธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม :b46: :b47: :b46:

ซึ่งพระธรรมตรงส่วนนี้นั้น ไม่ได้อยู่ทั้งฟากของ Liberal เสรีนิยม หรือฟากของ Conservative อนุรักษ์นิยม พระปรมัตถธรรมอยู่หนือการแบ่งแยกให้ออกเป็นสองได้ด้วยทิฏฐิหรือข้อกำหนดสมมติบัญญัติ เนื่องเพราะพระปรมัตถธรรมเป็นสัจจธรรมความจริงตามธรรมชาติที่มีเพียงหนึ่ง ไม่มีอะไรหรือใครจะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดขึ้นมาใหม่ได้ แม้กระทั่งพระบรมครูซึ่งพระองค์เองก็ได้กล่าวไว้ว่า ทรงเป็นเพียงผู้ค้นพบและนำมาเปิดเผยเท่านั้น :b49: :b50: :b51:

พระปรมัตถธรรมจึงมีลักษณะเป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียว (เอกลักษณะ) ไม่สามารถตีความหรือกำหนดใหม่ให้เป็นสอง (ทวิลักษณะ) หรือมากกว่าสอง (พหุลักษณะ) ได้ :b48: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนวิธีปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งในพระปรมัตถธรรมนั้น (ซึ่งรวมในส่วนของสิกขาบทไว้ด้วย) พระบรมครูก็ได้ทรงวางกรอบ วางแนวทางเอาไว้ให้ตัดสินว่า วิธีปฏิบัตินั้นๆ เป็นวิธีที่จะเข้าสู่การรู้แจ้งในพระปรมัตถธรรมหรือไม่ ตามที่เคยยกมาให้ได้ศึกษากันนะครับ :b1: :b46: :b39:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=613

โดยเฉพาะในส่วนของสังขิตตสูตร ที่ทรงกล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า ถ้าเป็นคำสอนของพระศาสดา จะต้อง :b47: :b46: :b48:

(๑) เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
(๒) เป็นไปเพื่อให้สัตว์หลุดพ้นจากวัฏฏะ ไม่เป็นไปเพื่อผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏะ
(๓) เป็นไปเพื่อลดละกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อรักษาหรือเพิ่มพูนกิเลส
(๔) เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
(๕) เป็นไปเพื่อสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อดิ้นรนแสวงหาในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร
(๖) เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
(๗) เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
(๘) เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5908&Z=5933

ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของมหายานในยุคปัจจุบันที่มีความหลากหลาย จึงมีทั้งที่มุ่งตรง และไม่มุ่งตรงต่อสัจจธรรม :b46: :b39: :b46:

(ทั้งนี้รวมถึงเถรวาทบางแห่ง ที่อาศัยเพียงรูปลักษณ์ของเถรวาท แต่บิดเบือนพระธรรมวินัยให้ผิดเพี้ยนไป ด้วยการตั้งคำสอนด้วยการดัดแปลง หรือกำหนดความหมายของคำบาลีที่มีอยู่ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ดูว่าเป็นคำสอนในพระธรรมวินัยของพระบรมครู :b46: :b42: :b46:

แต่ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาที่วัตรปฏิบัติ และหลักธรรมคำสอนในรูปแบบใหม่ที่จูงใจให้คนเชื่อถือศรัทธา ก็จะเห็นได้ในอาการอันออกนอกแนวได้ว่า ไม่เป็นไปตามหลัก ๘ ข้อด้านบน :b43: :b49: :b55:

โดยเฉพาะไม่เป็นไปเพื่อลดละกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ แต่นำพาไปสู่ภพภูมิที่ตกต่ำลง หรือถ้าสูงขึ้น ก็ยังไปติดตาข่าย ไปได้สูงสุดแค่เทวดาที่ยังติดข้องอยู่ในกามคือกามาวจรภูมิ หรือเทวดาชั้นพรหม ไม่ว่าจะเป็นรูปาวจรภูมิหรืออรูปาวจรภูมิ ซึ่งอย่างไรก็ยังไม่พ้นวัฏฏะ ไม่ได้เข้าสู่โลกุตรภูมิ คือไม่ได้ดับทุกข์ลงอย่างสิ้นเชื้อเกิดอยู่ดี) :b51: :b50: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จึงเป็นเรื่องราวของผู้ปฎิบัติ ที่จะต้องอาศัยหลักซึ่งพระบรมครูทรงวางเอาไว้ดีแล้ว เพื่อใช้คัดกรองคำสอนในยุคปัจจุบันเอานะครับว่า อันไหน เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด, เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ, เพื่อการลดละกิเลส, เพื่อความเป็นผู้มักน้อย, เพื่อความสันโดษ, เพื่อความสงัด, เพื่อความเพียร, และเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย .. :b46: :b47: :b46:

โดยคำสอนเหล่านั้น วิญญูชนสรรเสริญ แล้วจึงลงลึกศึกษากับเหล่าผู้รู้ รวมทั้งทดลองปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรม คือการดับทุกข์ :b49: :b55: :b49:


ซึ่งแนวทางมหายานที่เลือกมาแบ่งปันประสบการณ์กันตรงนี้ จะพยายามหยิบยกเอาส่วนที่ค่อนข้างมุ่งตรงต่อแก่นธรรมคำสอนของมหายานดั้งเดิมในพระสูตรที่ยกมา และอยู่ในกรอบ ๘ ข้อของสังขิตตสูตรที่พระบรมครูทรงวางไว้ให้เป็นแนวทาง :b51: :b53: :b50:

และถ้าพิจารณาด้วยกรอบดังกล่าว ก็พอจะสรุปได้ว่า มีการรักษาหนึ่งในแนวทางมหายานดั้งเดิมเหล่านี้ไว้ในแนวปฏิบัติและวิถีแห่งเซ็น :b50: :b49: :b48:

โดยเหตุผลที่ยกแนวทางแห่งเซ็นมาเป็นตัวแทนของแก่นแห่งมหายานตรงนี้ เนื่องเพราะในการกำเนิดขึ้นของเซ็น มีพื้นฐานมาจากการที่มหายานเองในยุคหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สองและเริ่มเผยแผ่เข้าสู่จีนนั้น ได้แตกแยกออกเป็นอีกหลายสิบนิกาย พร้อมด้วยพิธีกรรมที่เกิดขึ้นตามมาอีกมากมายหลายอย่าง :b47: :b48: :b43:

จนกระทั่งนิกายที่เกิดขึ้นมาทีหลังๆนั้น ได้ออกห่างจากแก่นของพระสูตรมหายานดั้งเดิม และบางนิกายก็ได้มีการแต่งพระสูตร (อาจาริยาวาท) ออกนอกแนวขึ้นมาใหม่อีก จนบางทีก็เหลือกันแต่เปลือก หรือเหลือแต่วัตถุและพิธีกรรม (ที่ไม่ได้สร้างศรัทธา เพื่อนำเข้าสู่พุทธิปัญญาที่ถูกต้อง) จนทำให้พลาดออกไปจากแนวทางของการบรรลุสู่ความเป็นพุทธะแบบดั้งเดิมออกไปไกล :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยเหตุนี้ เซ็นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นจากสังฆาจารย์นักปฏิบัติ ที่ต้องการกลับไปสู่รากฐานเดิมแท้ของมหายานยุคก่อนเก่า คือกลับมาสู่ความเรียบง่าย ตัดตรงเข้าสู่แก่นธรรม โดยทิ้งเปลือกหรือรูปแบบ กระบวนการ วัตถุ และพิธีกรรมหลายๆอย่างที่ไม่ได้สร้างศรัทธา เพื่อนำเข้าสู่พุทธิปัญญาออกไป :b46: :b39: :b46:

(ส่วนเปลือกที่สามารถสร้างศรัทธา เพื่อนำทางเข้าสู่พุทธิปัญญาบางอย่าง ก็ยังรักษาแนวทางเอาไว้อยู่ ไม่ได้ทิ้งเปลือกไปเสียทีเดียวทั้งหมด เนื่องเพราะเปลือก ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รักษา และเพื่อชักจูงนำพาผู้ปฏิบัติ ให้เข้าถึงซึ่งแก่นแท้เนื้อในนะครับ) :b49: :b48: :b49:

และสิ่งเหล่านี้ ทำให้แนวทางของเซ็นกับของเถรวาทแท้ๆ มีความใกล้เคียงกันอยู่พอสมควร เพราะเป็นแนวทางที่เน้นแก่นของการปฏิบัติ ได้แก่การรักษาศีล เจริญสติ ฝึกสมาธิ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งจิต และเพื่อเป็นฐานเข้าสู่การพิจารณาธรรม หรือวิปัสสนา จนเกิดพุทธิโลกุตรปัญญาในการมองโลกได้ตรงตามจริง คือตามกฏของสามัญลักษณะ หรือกฏของไตรลักษณ์นั่นเอง (เพียงแต่เซ็นและมหายานนั้น เน้นเรื่องศูนยตาเป็นหลัก ส่วนเถรวาทนั้น เน้นทั้งอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาหรือสุญญตา ตามแต่จริตของผู้ปฏิบัติ) :b47: :b48: :b47:

ซึ่งเห็นควรจะยกมาเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเอาไว้ เผื่อจะถูกจริตกับมิตรทางธรรมกันได้บ้างนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเริ่มกันที่การเจริญสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เพื่อสัมผัสรู้ได้ในสภาวะความเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง (Singularity of Things) - สภาวะที่ว่างเปล่าจากตัวตนของธรรมทั้งหลายทั้งปวง (Non-Self of All Existences) หรือศูนยตากันครับ :b1: :b46: :b39:

(จริงๆมีรายละเอียดเกี่ยวกับสภาวะของศูนยตาอีกเยอะพอสมควร แต่ขอยกไปรวมไว้ในภาคส่วนของอธิปัญญาสิกขาเลยทีเดียว ไม่อย่างนั้นภาคส่วนของอธิศีลสิกขาจะยาวยืดยาดออกไปอีก แค่หัวข้อสติสัมปชัญญะอันนำเข้าสู่อินทรียสังวรศีลหัวข้อเดียวก็ว่ากันมาสามปีกว่าแล้ว แต่ก็ยังไม่จบเสียที เพราะยังมีรายละเอียดที่เห็นควรจะแจกแจงกันอีกเยอะ :b48: :b49: :b50:

ที่ว่ายังอีกเยอะ เนื่องจากเห็นว่าหัวข้อนี้ เป็นภาคส่วนที่สำคัญอย่างมากถึงมากที่สุด ที่โสดาบันบุคคลจะต้องบ่มเพาะองค์ธรรมตรงนี้ให้เข้มแข็งเพียงพอต่อการใช้งาน เพื่อข้ามผ่านเข้าสู่สกทาคามีบุคคล และขึ้นสู่ระดับโลกุตรธรรมที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจที่จะให้รายละเอียดต่อไปนะครับ :b47: :b46: :b44:

อีกทั้งการฝึกสติสัมปชัญญะ ทั้งการรู้กายและการรู้ใจ ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติโดยทั่วไปอย่างสูง จึงตั้งใจลงรายละเอียดไว้ให้มากหน่อย) :b50: :b49: :b48:

คราวนี้ ถ้าจะกล่าวถึงการฝึกในวิถีเซ็น คงต้องอ้างอิงกลับไปที่แนวปฏิบัติในการเจริญสติ สมาธิ และปัญญา ของครูบาอาจารย์สายเซ็นมหายาน ซึ่งปรากฏอยู่ในคำสอนของท่านเว่ยหลาง ท่านฮวงโป และโดยเฉพาะของหลวงปู่นัท ฮันห์ ที่ท่านได้สรุปไว้ดีแล้ว (ซึ่งคงต้องช่วยกันทำเหตุปัจจัย คือเจริญสติเจริญภาวนา เป็นสังฆบูชาให้องค์หลวงปู่ท่านฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยทางสมองได้โดยไว) เสริมด้วยอุบายปฏิบัติจากเซ็นสายญี่ปุ่น และจากประสบการณ์ที่พอจะสรุปแนวทางทั้งหมดออกมาได้นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และอย่างที่ได้เคยกล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า ภาพรวมของการฝึกสติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ ก็คือ ในขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกจากในรูปแบบที่กำหนดไว้เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน จนขยับขยายการฝึกสติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ จากการฝึกในรูปแบบ ให้ลามเข้ามาสู่การฝึก และการใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป :b46: :b47: :b42:

เพื่อให้สติสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นมานั้น สามารถเข้ามาคุ้มครองกายใจ จนเกิดเป็นอินทรียสังวรศีล และความสะอาดสุจริตทั้ง ๓ คือทางใจ ทางวาจา ทางกาย เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ที่คุ้มครองกายใจได้โดยอัตโนมัติ ตลอดทั้งวัน ตลอดทุกเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งในเวลานอนหลับ นะครับ :b1: :b46: :b39:

และด้วยความสะอาดทางกาย ทางวาจา และทางใจ บวกกับสติ, สัมปชัญญะ, และสมาธิที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ส่งผลบวกต่อเนื่องออกไปได้ในสองทางที่สอดคล้องกับสัมมาวายามะ หรือองค์สัมมัปปธาน ๒ คู่ของพระบรมครู นั่นคือ :b50: :b51: :b50:

(๑) ในทางป้องกันอกุศลใหม่ (สังวรปธาน) และกำจัดอกุศลเก่า (ปหานปธาน) คือทำให้กิเลสนิวรณ์ จนถึงความเห็นผิดจากความเป็นจริง ซึ่งได้แก่อวิชชา เหี่ยวแห้งลงไปเพราะขาดอาหาร และ :b48: :b49: :b48:

(๒) ในทางรักษาพัฒนากุศลเก่า (อนุรักขปธาน) และเจริญกุศลใหม่ (ภาวนาปธาน) คือทำให้การพิจารณาธรรมในฐานทั้ง ๔ (สติปัฏฐาน ๔) และธรรมที่เป็นองค์แห่งการรู้แจ้งทั้ง ๗ (โพชฌงค์ ๗) สมบูรณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ จนบรรลุซึ่งโลกุตรกุศล คือการเกิดขึ้นซึ่งวิชชาและวิมุตติ หลุดพ้นจากทุกข์กันได้อย่างถาวรนะครับ
:b49: :b48: :b47:


ทบทวน จับหลัก และทิศทางในภาพรวมที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในอวิชชาสูตรและตัณหาสูตรตรงนี้ให้มั่น แล้วไปลงรายละเอียดกันต่อครับ :b1: :b46: :b39:

อวิชชาสูตรและตัณหาสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?24/61-62


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับมาในขั้นแรก ก็คือการฝึก สติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ ในรูปแบบ ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย มีความสัปปายะเพียงพอ :b46: :b47: :b46:

เพื่อให้ สติ + สัมปชัญญะ + สมาธิ ได้เติบโตขึ้นได้อย่างเข้มแข็ง จิตคุ้นชินที่จะบ่มเพาะให้องค์ธรรมเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้เองอย่างแข็งแรง พอเพียงสำหรับการนำมาใช้งาน คือการคุ้มครองจิตในชีวิตประจำวันที่มีแต่การกระทบกระทั่ง กระแทกกระทั้น ด้วยสภาวะบีบคั้นจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยสัปปายะกันสักเท่าไรนัก :b47: :b44: :b47:

และอย่างที่เคยเปรียบเทียบเอาไว้ตอนต้นแล้วว่า ตรงนี้ก็เหมือนกับการฝึกขับรถยนต์นะครับ ที่ควรจะต้องหัดในสถานที่ที่จัดไว้ เพื่อให้ฝึกกันได้อย่างง่ายๆเสียก่อนในตอนแรก แล้วค่อยเอาความคุ้นชินตรงนั้น ออกมาใช้เพื่อขับบนถนนจริงซึ่งยากกว่า วุ่นวายกว่า มีการกระทบกระทั่งมากกว่า :b48: :b49: :b48:

เพียงแต่ว่า การฝึกซ้อมจิตในรูปแบบ กับการฝึกซ้อมและนำมาใช้จริงในชีวิตประจำวันนั้น ถูกบังคับให้ต้องทำคู่กันไป เพราะในชีวิตจริง คงไม่มีใครสามารถหลีกเร้นกายเพื่อไปฝึกจิตอย่างเดียวจนเพียงพอ แล้วจึงค่อยออกมาเผชิญโลกได้นะครับ
:b1: :b46: :b39:

และสำหรับฆราวาสที่ยังต้องทำมาหาเลี้ยงชีพหาเลี้ยงครอบครัวอยู่นั้น คงต้องจัดสรรเวลาในแต่ละวัน, จัดสรรวันในแต่ละอาทิตย์, หรือจัดสรรช่วงอาทิตย์ที่เป็นวันหยุดต่างๆในแต่ละเดือน เพื่อที่จะสามารถปรารภความเพียร ด้วยการแทรกการฝึกในรูปแบบลงไปให้ได้มากที่สุด อย่างเหมาะสมกลมกลืนไปพร้อมๆกับการฝึกในชีวิตประจำวัน ตามแต่วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละท่านกันนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และ "การฝึกในรูปแบบ" สำหรับในเบื้องต้นแล้วอาจจะจำกัดความกันอย่างในความหมายแคบ คือเพียงแค่การฝึกนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมในสถานที่ที่สงบ เป็นสัปปายะ ไร้ซึ่งการรบกวนจากโลกภายนอก ในเวลาที่สามารถกลับมาอยู่กับกายใจได้อย่างสะดวกสบาย ตามที่กำหนดช่วงเวลาเอาไว้ในแต่ละวัน ซึ่งโดยมากมักจะเป็นในเวลาตื่นนอนตอนเช้ามืด และ/หรือก่อนเข้านอนในตอนค่ำ :b48: :b47: :b48:

หรือพิเศษหน่อยก็คือ การเข้าคอร์สอบรมในสถานปฏิบัติธรรม ที่ท่านจัดสิ่งแวดล้อมไว้ให้เป็นสัปปายะกับการเรียนรู้กายใจ โดยมีวิปัสสนาจารย์ที่เชื่อถือได้ คอยเป็นผู้แนะแนวทางปฏิบัติและสอบอารมณ์ :b49: :b50: :b51:

แต่ถ้าจะจำกัดความของคำว่า "การฝึกในรูปแบบ" อย่างในความหมายกว้าง ก็ไม่จำเป็นว่าจะเป็นเพียงแค่การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมในเวลาเช้าค่ำ หรือการเข้าวัดปฏิบัติธรรมตามสำนักปฏิบัติต่างๆเท่านั้นนะครับ :b55: :b54: :b49:

แต่อาจจะขยายความหมายให้กว้างออกไปถึงการทำสมาธิ ที่หมายถึงการทำจิตให้สงบอยู่กับอารมณ์เดียวโดยปราศจากกิเลสนิวรณ์ และการเดินจงกรม ที่หมายถึงการเดินอย่างมีสติโดยไม่จำกัดท่าทางและสถานที่ ในช่วงเวลาว่างระหว่างวันของการทำงาน :b48: :b47: :b46:

หรือกว้างออกไปกว่านั้นอีกก็คือ เวลาใดๆก็ได้ ที่สามารถมีสติกลับมาอยู่กับกายใจได้ง่าย เช่น เวลาทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวคนเดียว อันได้แก่ เก็บเตียง ถูฟัน อาบน้ำ ทานข้าว เดินไปทำงาน ฯลฯ :b46: :b42: :b47:

หรือการทำงานที่มีเวลาดำเนินการอันเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน ล้างจาน ทำอาหาร ฯลฯ หรือการทำงานในอาชีพ เช่น ปลูกข้าว ดูแลสวน ซ่อมรถ ประกอบชิ้นส่วน ทำรายงาน เตรียมงานสอน คิดวิเคราะห์แผนงาน ทำอาหารขาย ฯลฯ :b48: :b47: :b46:

หรือแม้กระทั่งงานที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น เช่น สอนหนังสือ เรียนหนังสือ ประชุมงาน พบปะลูกค้า เจรจาต่อรอง จับผู้ร้าย ให้บริการประชาชน ฯลฯ ก็สามารถจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติในรูปแบบได้ (ซึ่งจะยกตัวอย่างที่ดัดแปลงจากประสบการณ์ในลำดับต่อไปนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ถ้าจะกล่าวกันอย่างเคร่งครัดแล้วละก็ ในที่สุดแล้วสำหรับนักปฏิบัติผู้มีความเพียรและมุ่งมั่นเอาจริง การฝึกในรูปแบบที่ค่อยๆแทรกลงไปนั้น ก็จะกลมกลืน กลายเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกในชีวิตประจำวัน :b46: :b39: :b46:

หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือ การฝึกในชีวิตประจำวันนั่นหล่ะ ที่จะกลมกลืนกลายเป็นการฝึกในรูปแบบไป :b47: :b46: :b47:

จนกระทั่งในที่สุด การฝึกในชีวิตประจำวัน ซึ่งก็คือการฝึกในรูปแบบไปแล้วนั้น ก็จะกลายเป็นการฝึกโดยไร้รูปแบบ :b47: :b48: :b49:

คือไม่จำเป็นว่าสถานที่และเวลาจะต้องเป็นสัปปายะหรือไม่ และจะต้องฝึกด้วยท่าทางหรือกิริยาอาการใดๆ ผู้ฝึกนั้นก็จะสามารถฝึกได้ในทุกกิริยาอาการ ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ทั้งภาครับรู้โลก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ), ภาคประมวลผล (ใจ), และภาคสั่งการกระทำต่อ (ใจ วาจา กาย) :b50: :b49: :b48:

เพราะความเป็นสัปปายะจะเกิดขึ้นเองในภายใน เป็นส่วนเดียวกับใจ โดยไม่ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอก :b55: :b49: :b50:

จนในท้ายที่สุด เมื่อ สติ, สัมปชัญญะ, และสมาธิบริบูรณ์พร้อม การฝึกนั้นก็จะไม่ใช่การฝึกอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นเครื่องอยู่ หรือเป็นวิหารธรรมที่เป็นปรกติสุขในปัจจุบันของจิต :b47: :b46: :b47:

สมาธิภาวนาอันเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ และ สมาธิภาวนาอันเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1188&Z=1233)

ตามคำของพระสุปฏิปันโนสายวัดป่า คือเป็นสติอัตโนมัติ ปัญญา (สัมปชัญญะ) อัตโนมัติ ที่เข้ามาคุ้มครองภาครับรู้โลก, ภาคประมวลผล, และภาคสั่งการกระทำต่อของกายใจ :b47: :b48: :b49:

หรือตามที่โบราณจารย์ท่านใช้คำว่า การทรงฌานในชีวิตประจำวันอยู่ได้ตลอดเวลานั่นเองนะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2015, 16:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการทรงฌานในชีวิตประจำวันนี้นั้น จะเริ่มจากการทรงลักขณูปนิชฌาน คือมีไตรลักษณ์เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอด :b46: :b47: :b46:

บวกกับการทรงอารัมมณูปนิชฌานสำหรับฌานลาภีบุคคล ที่มีสติที่บริสุทธิ์, มีอุเบกขา คือใจที่เป็นกลางปราศจากชอบชังโดยสิ้นเชิง, และมีเอกัคคตารู้ในอารมณ์เดียวทีละขณะอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากอาการฟุ้ง เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ และเป็นเครื่องอยู่ของจิต ตามเหตุปัจจัยที่ฝึกฝนมาพร้อมจนเป็นอัตโนมัติ "เช่นนั้นเอง" นะครับ :b1: :b46: :b39:


ตรงนี้มีรายละเอียดอีกมาก ไว้อธิบายสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ และการทรงฌานในชีวิตประจำวันอีกทีในภาคส่วนของอธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาในมรรคบุคคลและผลบุคคลที่สูงขึ้นแล้วกันนะครับ ไม่อย่างนั้นภาคส่วนอธิศีลสิกขาของสกทาคามีมรรคจะไม่จบเสียที :b49: :b48: :b47:

เนื้อหาค่อนข้างจะยาวแล้ว .. ไว้อธิบายและยกตัวอย่างในรายละเอียดของการปฏิบัติในรูปแบบ จนกลายเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามวิถีแห่งเซ็นกันต่อในคราวหน้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2015, 13:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากการจำแนกกลุ่มผู้ปฏิบัติออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1.สมาธินำปัญญา 2.ปัญญานำสมาธิ 3.สมาธิสมดุลปัญญา
การจำแนกเช่นนี้เป็นผลจากการบำเพ็ญบารมีมาในอดีต ส่งผลให้แต่ละคนมีแนวทางที่ต่างกัน อย่าว่าแนวทางต่างกันแม้เลย แม้จะมีอาจารย์เดียวกัน ผู้ได้รับการถ่ายทอดแนวทางวิปัสนาเหมือนกัน ฟังคำสอนพร้อมกัน ผู้หนึ่งได้ผลเป็นวิปัสสนา อีกผู้หนึ่งได้ผลเป็นสมถ ความต่างนี้หากพิจารณาให้ดีเกิดจากลักษณะอุปนิสัย ดังนั้นก่อนอื่นต้องรู้จักอุปนิสัยของตนเอง ว่าจัดอยู่ในกลุ่มใด เพื่อปรับวิธีการให้เหมาะสม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2015, 19:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับแนวทางปฏิบัติที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นกรณีศีกษาของผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มสมาธินำปัญญา ผลที่เกิดขึ้นในการการปฏิบัติแม้จได้รับการสั่งสอนจากพระอาจารย์ที่มีความรู้ด้านวิปัสสนาที่ชำนาญทั้งปริยัติและปฏิบัติก็ตาม แต่เนื่องด้วยลักษณะอุปนิสัยที่ชอบการจดจ่ออารมณ์ ทำให้ปฏิบัติวิปัสสนา แต่เบี่ยงเบนไปเป็นสมถ ทำให้เนิ่นช้า เกิดปํญหาจากการปฏิบัติ ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก แต่ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ จนถึงจุดหมาย ดังน้ันสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นการสรุปผลจากการปฏิบัติ หากคลาดเคลื่อนประการใดขอให้พระรัตนตรัยจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2015, 20:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเรียงลำดับขั้นตอนแบ่งเป็น 5 ขั้น คือ
1.ความเห็นตรง ถูกต้องตามความเป็นจริง(สัมมาทิฏฐิ)
2.เครื่องมือและวิธีการ
3.การปรับอินทรีย์
4สัมมาสมาธิและไตรลักษณ์
5.ความจริงอันประเสริฐที่ดับร้อน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 67, 68, 69, 70, 71, 72, 73 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 177 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร