วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 20:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2013, 01:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(แทรกความรู้ทางอภิธรรมไว้นิดนะครับ โดยอาการแข้นแข็งค้ำยันนี้ก็คือ วิเสสลักษณะของธาตุดิน หรือปฐวีธาตุ ซึ่งมีลักษณะ คือความแข็ง และมีรสะ (กิจ หน้าที่การงาน) คือการค้ำให้ทรงอยู่ :b42: :b39: :b40:

และอาการตึงไหวนี้ก็คือ วิเสสลักษณะของธาตุลม หรือวาโยธาตุ ซึ่งมีลักษณะ คืออาการเคร่งตึง และมีรสะ (กิจ หน้าที่การงาน) คือการโยกไหว :b49: :b50: :b51:

ซึ่งทั้งสองเป็นธาตุในมหาภูตรูป ๔ ที่มาประกอบกันเป็นกลุ่มของรูป (กลาป) ที่สมมติเรียกว่า "กาย") :b53: :b50: :b51:

และในขณะที่จิต เฝ้ารู้ลงในอาการยืนของกายอยู่นั้น บางครั้งจิตก็จะหลุดจากการรู้ในอาการยืน หรือในอาการแข้นแข็งตึงไหว สลับไปรู้ลงในลมหายใจซึ่งยังเป็นการรู้กายอยู่บ้าง หรือหนักกว่านั้นคือ สลับไปฟุ้งคิดบ้าง ไปสักพัก ก็จะเกิดการระลึกรู้กลับมาใหม่ว่ากำลังฝึกสติรู้อาการยืน กลับมาระลึกลง และรู้ชัดในรูปยืนได้ใหม่ สลับกันไป :b46: :b42: :b43:

(สำหรับผู้ที่ฝึกดูลมหายใจแนวอานาปานสติมา ถ้าไม่สามารถรู้ลงในรูปยืนได้อย่างต่อเนื่อง จิตชอบที่จะกลับไปดูลมหายใจ ก็ให้ดูลมหายใจสลับกับอาการยืนไปได้เลยนะครับ ไม่จำเป็นต้องฝืนให้จิตมารู้ที่การยืนอย่างเดียวอีก เดี๋ยวอึดอัดตาย จนกว่าลมหายใจจะสงบลงไปได้เองถึงจะมารู้ในรูปยืนอย่างเดียวได้) :b44: :b39: :b43:

สาเหตุที่จิตไม่สามารถรู้ชัดอยู่ในรูปยืนได้นานต่อเนื่อง โดยมีการรู้ลงในอาการอื่นๆสลับเข้ามาเป็นระยะนั้น ก็เนื่องจากสมาธิยังไม่แข็งแรงพอที่จะหน่วง หรือ hold จิต ให้รู้ชัดแต่ในอาการยืนได้เพียงอย่างเดียว :b51: :b53: :b51:

แต่ถ้าฝึกอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนจิตสงบ สมาธิก็จะมีความเข้มแข็งมากขึ้นไปเรื่อยๆ อาการที่จิตสลับไปรู้ลงในอาการอื่นๆนอกจากอาการยืน ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ :b46: :b47: :b46:

จนสุดท้าย ถ้าสมาธิมั่นคงเพียงพอแล้ว การรู้ลงในรูปยืนก็จะอยู่ได้นานโดยไม่มีการรู้ลงในอาการอื่นเข้ามาแทรก :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2013, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการสลับรู้ลงไปในอาการอื่น โดยมีการรู้ลงในรูปยืนด้วยการพิจารณาเฝ้าสังเกตโยนิโสมนสิการในปฐวีธาตุและวาโยธาตุของรูปยืนเป็นแกนหลัก จนกระทั่งสุดท้ายเมื่อสมาธิมั่นคงจนเหลือแต่การรู้ลงในรูปยืนอย่างเดียวได้แล้วนั้น :b43: :b44: :b45:

ก็จะเป็นการฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ ระลึกและรู้ชัดลงในรูปยืน ซึ่งจะเป็นหลักการพื้นฐานในการฝึกให้มีสติที่เข้มแข็ง สมาธิที่ตั้งมั่น และสัมปชัญญะที่มั่นคง ในการระลึกและรู้ชัดลงในรูปนามอื่นๆได้ทั้งหมดเช่นเดียวกับรูปยืนนะครับ :b46: :b39: :b46:


และการมีสติระลึกรู้ และมีสัมปชัญญะรู้ชัดในรูปยืน ซึ่งจะมีการรู้ชัดลงในอาการแข้นแข็งและตึงไหว อันได้แก่การรู้ชัดลงใน "วิเสสลักษณะ" ของปรมัตถธรรมในส่วนสังขตะ คือมหาภูตรูปได้แล้วนั้น :b46: :b47: :b42:

ยังสามารถต่อยอดขึ้นไปรู้ชัดใน "สามัญลักษณะ" ของปรมัตถธรรมในส่วนของรูปได้อีก เช่น ดูอาการไม่เที่ยงของรูป ได้แก่การโคลง การตึงไหว ซึ่งก็คืออาการที่เปลี่ยนไปของรูปเนื่องจากตกอยู่ภายใต้ภาวะบีบคั้นหรือทุกขังนั่นเอง :b46: :b39: :b46:

จนไปถึงเวทนาคืออาการเมื่อย ทนอยู่ไม่ได้ของรูปหรือของกายเพราะถูกบีบคั้นจากทุกขัง สั่งหรือบังคับไม่ให้โคลงหรือไม่ให้เมื่อยก็ไม่ได้ เพราะขึ้นกับเหตุปัจจัย ไม่เป็นตัวของตน เป็นอนัตตา :b50: :b49: :b48:

หรือเห็นขาซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของกายมีลักษณะเป็นแท่งแข็งๆ ทำหน้าที่ค้ำยันกาย และเห็นทั้งขาทั้งกายมีอาการขยับโคลงไหวอยู่ห่างๆจากศูนย์กลางการรับรู้ที่เรียกว่าใจ โดยไม่เห็นว่าเป็นเรา :b55: :b54: :b41:

ซึ่งการเห็นตามความเป็นจริงของรูปตรงนี้ คือการต่อเนื่องไปเห็นในอิริยาบถบรรพ และสัมปชัญญบรรพ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เกิดการไถ่ถอนซึ่งความเห็นผิดในกายนี้ว่าเป็นของของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา นั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยอิริยาบถอื่นๆอีกในคราวหน้า :b46: :b42: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2013, 01:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ความรู้ใหม่ไปฝึกอีกแล้ว ท่านกล่าวถึงอาการไหวโยกไปมา เวลายืน ก็จะนำไปกำหนดรู้ดูครับ ผมว่าเป็นประโยชน์ดี

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2013, 20:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผ่านมาเป็นการกล่าวถึงการพัฒนาลำดับของสมาธิ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ สติ สัมปชัญญะ สมาธิจะดำรงอย่างไรถึงจะดำเนินมรรคได้ตรงที่สุด ก็ต้องย้อนว่าอะไรคือสิ่งที่ผู้เดินทางต้องเตรียมและรู้ รวมถึงการปรับ
ตัว(ปรับอินทรีย์)ซึ่งก็ต้องสังเกตอินทรีย์หรืออุปนิสัยของตนเอง
อุปนิสัยโดยจำแนกคร่าว ๆ แบ่งได้ 3 กลุ่ม
1.กลุ่มสมาธินำปัญญา
2.กลุ่มปัญญานำสมาธิ
3.กลุ่มสมาธิสมดุลกับปัญญา

1.กลุ่มสมาธินำปัญญา ลักษณะชอบความสงบ ทำอะไรทำจรืงจะทำเป็นอย่างๆ จนกว่าจะสำเร็จ ไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้าง ในการปฎิบัติจะกำหนดรูปนามตามความเป็นจริงได้ยาก เนื่องจากรูปนามโดยคุณสมบัติจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงขัดกับอุปนิสัย การกำหนดรูปนามจึงมีความอึดอัด หากกำหนดรู้ในรูปก็จะไหลไปรวมกับรูป แยกรูปนามได้ยาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 20:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


2.กลุ่มปัญญานำสมาธิ เป็นคนชอบพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุผล แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาธรรม(ความคิด)ทำให้เกิดความเข้าใจที่จะเป็นเหตุให้เกิดสัมมาทิฎฐิ หรือมิจฉาทิฎฐิ(ความฟุ้งซ่านในธรรม)ก็ได้ ที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฎฐิที่แท้จริง เพราะการจะเข้าถึงสัมมาทิฎฐิที่แท้ได้ก็ต่อเมื่อรู้ลงในรูปนามแล้วพบสภาพความเกิดดับของรูปนาม
3.กลุ่มสมาธิสมดุลปัญญาเป็นคนชอบพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ความเป็นเหตุผล ขณะเดียวกันก็มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่พิจารณาจนเห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมเป็นกลุ่มที่มักจะไม่มีปัญหาในการปฎิบัติเหมือน 2 กลุ่มแรก

หากจะจำแนกกลุ่มผู้ปฎิบัติ ทึ่มีทั้งหมดในโลกนี้จะพบว่า กลุ่มสมาธินำปัญญาจะมีจำนวนมากที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 16:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อผู้ปฎิบัติธรรมส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทมีสมาธินำปัญญา หากจะต้องปรับแนวทางเพื่อให้มรรคมีองค์ 8 เกิดความสมบูรณ์ จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่สมาธินำปัญญา ซึ่งจะพิจารณาจากความเข้าใจในการปฎิบัติวิปัสนากรรมฐาน การเลือกใช้ที่ตั้งของกรรมฐาน วิธีปฎิบัติ รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการปฎิบัติ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนถึงวัตถุประสงค์การปฎิบัติวิปัสสนา หลายคนตอบว่าเพื่อให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน แต่จะมีซักกี่คนที่เข้าใจว่า การเข้าถึงมรรคผลนิพาน ก็คือสภาพสักกายทิฎฐิที่ดับอย่างถาวรนั่นเอง ดังนั้นหากยังไม่เข้าใจความหมายของสักกายทิฎฐิ ก็อาจเผลอใช้สักกายทิฎฐิว่าเป็นเครื่องมือที่จะเข้าถึงมรรคผลนิพาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 10:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฎฐิ คือการยึดถือว่ากายกับใจนี้เป็นของตน ซึ่งต้องแยกพิจารณาตรงความหมายของ “ความยึดถือ” และ” ของตน”
ความยึดถือ คือ ความมั่นหมาย การครอบครอง การไม่สละ ซึ่งเป็นนัยยะหลัก ส่วนนัยยะรอง คือการเพ่งเล็ง การใส่ใจอย่างมาก ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดมาจากความปารถนา เนื้อแท้ก็คือโลภะจิต นั่นเอง
ตน หรือของตน คือ การมีศูนย์กลางของความรู้สึก ความคิด ความทรงจำ ต่อสิ่งที่เรามั่นหมาย ครอบครอง เพ่งเล็ง การใส่ใจ
ดังนั้นการทำลายสักกายทิฎฐิ คือการทำลายโลภะจิต อย่างหยาบ ซึ่งก็กระทบไปถึงโทสะอย่างหยาบถูกทำลายลงด้วย(ความหมายของโทสะอย่างหยาบคือ การไม่เป็นไปตามโลภะอย่างหยาบ หรือของคู่ของโลภะ) สรุปคือเหตุถูกทำลายผลจึงไม่เกิด นั่นเอง) สำหรับโมหะจิตถูกทำลายเป็นลำดับตั้งแต่ขณะเห็นความเกิดดับของรูปนาม(สัมมสนญาณ) ก็เริ่มเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน บ้างแล้ว รวมถึงการที่ศูนย์กลางของความรู้สึกหายไป
ทำไมจึงมีศูนย์กลาง ซึ่งต้องทำความเข้าใจ คำว่า”ศูนย์กลาง”ก่อน หากถามว่า ณ ส่วนใดของรูปนามนี้ คือศูนย์กลาง อาจมีผู้ตอบว่า สมอง หรืออาจเป็นกลางหน้าอก ที่จริงแล้วศูนย์กลาง ของรูปนามนี้ คือหทัยวัตถุ หรือตรงตำแหน่งหัวใจ ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมของจิต รองลงมาคือกลางหน้าอกนั่นเอง ณ ที่ตำแหน่งหัวใจนี้เอง จะถูกร้อยรัดบีบคั้นด้วยกิเลส ตัณหาแสงสว่างของจิตไม่สามรถสาดส่องออกมาได้ ต่อเมื่อเกิดมรรค ผล และเข้าถึงสภาวนิพพานชั่วขณะ กิเลสถูกทำลาย สภาพศูนย์กลางหายไป ความบีบคั้นลดลง จิตจะสาดแสงออกมาได้ จึงได้พบสันติสุขระดับหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวมา กระผม ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ (ผล)เพื่อย้อนหาเหตุ กระบวนการที่เป็นส่วนของเหตุก็คือมรรคมีองค์ 8 โดยมรรคสุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ ก็คือเหตุก่อนเข้าถึงมรรค ผล ส่วนเหตุของสัมมาสมาธิ ก็คือ สัมมาทิฎฐิ ประกอบร่วมกับสัมมาสังกัปปะ ดังนั้นการที่สัมมาสมาธิไม่เต็มร้อย ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะสัมมาทิฎฐิ ประกอบร่วมกับสัมมาสังกัปปะยังไม่เต็มร้อยนั่นเอง ในที่นี้ยังมีมรรค อื่นที่สำคัญแต่ละไว้ เอาที่หัวใจของมรรคก่อน

ดังนั้นสัมมาทิฎฐิประมาณใหนถึงจะเต็ม100 % ข้อความต่อจากนี้ไปจะมีความสำคัญต่อการปฎิบัติ โปรดใช้การพิจารณา ไตร่ตรอง หากมีส่วนใดออกนอกกรอบความคิดของท่านอย่าเพิ่งด่วนปฎิเสธ เพราะเรามักอยู่ในกรอบของความคิดจากพื้นฐานที่สะสมมา ซึ่งมาจากความรู้จากการศึกษา จากการปฎิบัติโดยได้รับจากครูบาอาจารย์ซึ่งถือเป็นกัลยาณมิตร ที่ได้อบรมมา อย่างที่กระผมได้เคยเป็นมาแล้ว แต่ใครจะรู้ว่าความรู้ดังกล่าวอาจยังไม่เพียงพอที่จะปรับแนวทางแก้ปัญหาของตนเองจนลุล่วงถึงอมตธรรม จนกว่าจะมีครูอาจารย์ที่มีความสัมพันธ์กับเราในอดีตมา click เปิดทาง แต่ตนเองต้องใช้ปัญญาแก้ไขจนถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งกระผมได้เคยประสบมาด้วยตนเอง ติดวนเวียนอยู่ในการปฎิบัติธรรม มา 20 กว่าปี เข้าปฎิบัติในสถานที่ปฺฎิบัติธรรมอื่น ๆ 10 วันบ้าง 20 วันบ้างสภาวธรรมวนเวียนอยู่ เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาโจทย์ได้ไม่เต็ม 100 % เมื่อเข้าปฎิบัติธรรมสภาวจิตก็ดี แต่ออกจากการปฎิบัติจิตก็ตกลงอีก เพราะความไม่ดับสนิท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Self Esteem
ป่านนี้ คงอายุ 19 ปีแล้ว
onion

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สักกายทิฎฐิ คือการยึดถือว่ากายกับใจนี้เป็นของตน ซึ่งต้องแยกพิจารณาตรงความหมายของ “ความยึดถือ” และ” ของตน”
ความยึดถือ คือ ความมั่นหมาย การครอบครอง การไม่สละ ซึ่งเป็นนัยยะหลัก ส่วนนัยยะรอง คือการเพ่งเล็ง การใส่ใจอย่างมาก ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดมาจากความปารถนา เนื้อแท้ก็คือโลภะจิต นั่นเอง
ตน หรือของตน คือ การมีศูนย์กลางของความรู้สึก ความคิด ความทรงจำ ต่อสิ่งที่เรามั่นหมาย ครอบครอง เพ่งเล็ง การใส่ใจ
ดังนั้นการทำลายสักกายทิฎฐิ คือการทำลายโลภะจิต อย่างหยาบ ซึ่งก็กระทบไปถึงโทสะอย่างหยาบถูกทำลายลงด้วย(ความหมายของโทสะอย่างหยาบคือ การไม่เป็นไปตามโลภะอย่างหยาบ หรือของคู่ของโลภะ) สรุปคือเหตุถูกทำลายผลจึงไม่เกิด นั่นเอง) สำหรับโมหะจิตถูกทำลายเป็นลำดับตั้งแต่ขณะเห็นความเกิดดับของรูปนาม(สัมมสนญาณ) ก็เริ่มเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน บ้างแล้ว รวมถึงการที่ศูนย์กลางของความรู้สึกหายไป
ทำไมจึงมีศูนย์กลาง ซึ่งต้องทำความเข้าใจ คำว่า”ศูนย์กลาง”ก่อน หากถามว่า ณ ส่วนใดของรูปนามนี้ คือศูนย์กลาง อาจมีผู้ตอบว่า สมอง หรืออาจเป็นกลางหน้าอก ที่จริงแล้วศูนย์กลาง ของรูปนามนี้ คือหทัยวัตถุ หรือตรงตำแหน่งหัวใจ ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมของจิต รองลงมาคือกลางหน้าอกนั่นเอง ณ ที่ตำแหน่งหัวใจนี้เอง จะถูกร้อยรัดบีบคั้นด้วยกิเลส ตัณหาแสงสว่างของจิตไม่สามรถสาดส่องออกมาได้ ต่อเมื่อเกิดมรรค ผล และเข้าถึงสภาวนิพพานชั่วขณะ กิเลสถูกทำลาย สภาพศูนย์กลางหายไป ความบีบคั้นลดลง จิตจะสาดแสงออกมาได้ จึงได้พบสันติสุขระดับหนึ่ง


สักกายะทิฏฐิ เป็นการเห็นผิด "ว่าตน"
เห็นผิดว่า "มีตน" "ของตน" "เป็นตน" ต่อขันธ์ 5
เน้นที่ "ความคิดความเห็น" ต่ออัตตา
ซึ่งโดยชั้นลึกแล้ว อัตตวาทุปาทาน ครอบอยู่โดยทั้งหมด

เมื่อได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้อง ทำความรู้ความเห็นให้ตรงต่อสัจจะธรรม สักกายทิฏฐิก็คลายตัวออกไปเอง เพราะความคิดความเห็นนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ที่กล่าวมา กระผม ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ (ผล)เพื่อย้อนหาเหตุ กระบวนการที่เป็นส่วนของเหตุก็คือมรรคมีองค์ 8 โดยมรรคสุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ ก็คือเหตุก่อนเข้าถึงมรรค ผล ส่วนเหตุของสัมมาสมาธิ ก็คือ สัมมาทิฎฐิ ประกอบร่วมกับสัมมาสังกัปปะ ดังนั้นการที่สัมมาสมาธิไม่เต็มร้อย ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะสัมมาทิฎฐิ ประกอบร่วมกับสัมมาสังกัปปะยังไม่เต็มร้อยนั่นเอง ในที่นี้ยังมีมรรค อื่นที่สำคัญแต่ละไว้ เอาที่หัวใจของมรรคก่อน

ดังนั้นสัมมาทิฎฐิประมาณใหนถึงจะเต็ม100 % ข้อความต่อจากนี้ไปจะมีความสำคัญต่อการปฎิบัติ โปรดใช้การพิจารณา ไตร่ตรอง หากมีส่วนใดออกนอกกรอบความคิดของท่านอย่าเพิ่งด่วนปฎิเสธ เพราะเรามักอยู่ในกรอบของความคิดจากพื้นฐานที่สะสมมา ซึ่งมาจากความรู้จากการศึกษา จากการปฎิบัติโดยได้รับจากครูบาอาจารย์ซึ่งถือเป็นกัลยาณมิตร ที่ได้อบรมมา อย่างที่กระผมได้เคยเป็นมาแล้ว แต่ใครจะรู้ว่าความรู้ดังกล่าวอาจยังไม่เพียงพอที่จะปรับแนวทางแก้ปัญหาของตนเองจนลุล่วงถึงอมตธรรม จนกว่าจะมีครูอาจารย์ที่มีความสัมพันธ์กับเราในอดีตมา click เปิดทาง แต่ตนเองต้องใช้ปัญญาแก้ไขจนถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งกระผมได้เคยประสบมาด้วยตนเอง ติดวนเวียนอยู่ในการปฎิบัติธรรม มา 20 กว่าปี เข้าปฎิบัติในสถานที่ปฺฎิบัติธรรมอื่น ๆ 10 วันบ้าง 20 วันบ้างสภาวธรรมวนเวียนอยู่ เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาโจทย์ได้ไม่เต็ม 100 % เมื่อเข้าปฎิบัติธรรมสภาวจิตก็ดี แต่ออกจากการปฎิบัติจิตก็ตกลงอีก เพราะความไม่ดับสนิท

สัมมาทิฏฐิ ไม่เต็มร้อย เพราะไม่ได้ทำเหตุให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้อง
ถูกต้อง คือ ต้องได้ยินได้ฟังสิ่งที่ถูกต้อง ได้คิดตาม ได้ปฏิบัติตามจากสิ่งที่ถูกต้อง
พระพุทธองค์ ทรงตรัส ให้ศึกษา จาก ธรรมที่ประณีต เรียบเรียงไว้ดี เป็นคำของพระพุทธองค์ อันเนื่องด้วยสุญญตา
คือให้ศึกษา พุทธภาษิต เป็นสิ่งถูกต้องและควรศึกษาเท่านั้น

เมื่อเล่าเรียนดี ก็จะปฏิบัติในมรรคมีองค์ 8 ได้ดี เพราะได้ทำเหตุควรแก่สัมมาทิฏฐิซึ่งเป็นองค์ธรรมแห่งปัญญาในอริยมรรคมีองค์ 8

ในสมัยพุทธกาล พระองค์ทรงชี้แนะแก่สาวกเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ พระไตรปิฎกยังไม่ปรากฏ
แต่พระองค์ก็ใช้คำว่า "สุตตันตะเหล่าใด"
เป็นการยืนยันว่า พระองค์ให้ศึกษาถ้อยคำที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสุตตันตะ(คือสูตรอันเป็นถ้อยคำที่เรียบเรียงไว้ดี)...
ซึ่งปัจจุบันปรากฏเป็นหลักฐานซึ่งได้ผ่านการสังคยนาบันทึกไว้ในพระสูตรต่างๆ
พระสูตรต่างๆ จึงเป็นการบันทึก สุตตันตะ ของพระองค์ไว้ เพื่อการศึกษาพุทธภาษิต ...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เฝ้าดูพัฒนาการ...เมื่อรู้ปฏิจจสมุปบาท..แล้วจะทำอย่างไร....มานาน...พอดู

ต้อง..มีครูบาอาจารย์คู่ปรับ...(หมายถึง...ทำบุญมาด้วยกัน..เป็นครูเราโดยธรรม)..มาคลิก..นี้เรื่องจริง
นี้ก็เป้น...คุณอันหนึ่งของพระสงฆ์...เพราะเราไม่ได้เจอพระพุทธเจ้าตัวเป็นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป้นเรื่องเฉพาะตัว
ของเรา...เราเป็นสาวกะ...ต้องมีคนมาคลิกเป็นเรื่องจำเป็นโดยธรรมชาติ....

แต่...ท่านจะมาคลิก..ได้เนี้ย...คนรับ...ต้องมีพื้นฐานมามากพอ...สั่งสมบุญบารมี..มีสติปัญญาพอ...นั้นก็คือ...ได้ศึกษาปฏิบัติจนเกิดผลของการปฏิบัตินั้นมาเพียงพอ...

หน้าที่ของสาวกะ...คือ..ศึกษาปฏิบัติจนมีปฏิเวธในข้อธรรมที่นำมาปฏิบัตินั้น ๆ...จนเต็มภูมิพอเพื่อรอการคลิก...อย่างเดียวเลย

เราสาวก..จึงพึงระลึกรู้คุณของพระสงฆ์...เพราะเหตุนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 09:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ยังไม่เห็น...เลย...คือ...อย่างไรจึงเรียกว่า..รู้ในปฏิจจสมุปบาท

ถ้า...อวิชชา...ปัจจะยา...สังขารา...จนครบ 12 ขั้น....คือ..ปริยัติ...เราท่อง..จำ...มา

แล้ว...อย่างไรเรียกว่า...ปฏิบัติ...เพื่อตามรู้ในปฏิจจะ...ในแต่ละขั้น...(สาวกรู้กว้างทั้งหมดแล้วรู้ลึกตรงขั้นที่ตนถนัด..ก็ได้)

แล้ว...อย่างไรจึงเป็นปฏิเวธ....ของการปฏิบัติในปฏิจจะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 09:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พาหิยะ...เธออย่าสนใจในรูป

เพียงเท่านี้....ก็คลิกสวิสปฏิจจะที่สะสมมาทุกชาติ..หมุนจนครบ 12 อาการ...เรียกว่าจี้ตรงจุดและต่อม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ที่ยังไม่เห็น...เลย...คือ...อย่างไรจึงเรียกว่า..รู้ในปฏิจจสมุปบาท

ถ้า...อวิชชา...ปัจจะยา...สังขารา...จนครบ 12 ขั้น....คือ..ปริยัติ...เราท่อง..จำ...มา

แล้ว...อย่างไรเรียกว่า...ปฏิบัติ...เพื่อตามรู้ในปฏิจจะ...ในแต่ละขั้น...(สาวกรู้กว้างทั้งหมดแล้วรู้ลึกตรงขั้นที่ตนถนัด..ก็ได้)

แล้ว...อย่างไรจึงเป็นปฏิเวธ....ของการปฏิบัติในปฏิจจะ

รู้ และรู้อยู่
ฝึกรู้ ต้องฝึกด้วยสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้ มึความรู้ ในรู้
หลักปฏิบัติ มีง่ายๆ เพียงมีสัมมาสติ กำหนดให้ได้ว่า จิตวิ่งจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่ง
ด้วยความคิดความดำริอย่างไร
ทำไมจึงวิ่งไป ไม่อาจอยู่ในกิจที่ตั้งใจกระทำอยุ่ได้
ถ้า...หมั่นพิจารณาด้วยจิตนั้น แล้วดึงกลับสู่อารมณ์กัมมัฏฐานด้วยสติได้
ก็จะสามารถ รู้ ถึงกระแสแห่งปฏิจสมุปบาทได้
เพราะกระแสแห่งปฏิจสมุปบาท คือกระแสแห่งความปรุงแต่ง ความพล่าน ความดำริ ความยึดเอาเป็นตน
หมั่นรู้ทัน บ่อยๆ ความรู้อยู่ ก็จะไวขึ้นมีกำลังมากขึ้น

ปฏิจสมุปบาท โดยปริยัติมี 12ขั้น
แต่ตอนปฏิบัติ มีเพียง จับตัว อัตตา ออกมา ก็จะสำเร็จประโยชน์ของการรู้อยู่ แห่งปฏิจสมุปบาท

พระพุทธองค์จึงทรงสอนด้วยการสรุปในการปฏิบัติ ว่า
"สัพเพธัมมานาลังอภินิเวสายะ" ......ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 106 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร