วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2011, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 10:28
โพสต์: 439


 ข้อมูลส่วนตัว




567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 4240 ครั้ง ]
แวะเข้ามาอ่าน :b8: :b8: :b8: อนุโมทนากับทุกๆคำตอบที่มีสาระดีๆคะ

.....................................................
สรรพสิ่งทุกอย่าง ล้วนมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

.................................................................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุและผลอยู่ในตัว
การกระทำของตนย่อมเป็นกรรมที่ตนกำหนดเอง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ในส่วนของสภาวะหลังจากบรรลุโสดาปัตติผลแล้วนั้น อันที่จริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยในพระไตรปิฎกที่น่าสนใจอีกมากเช่น อานิสงค์ ๖ (อานิสังสสูตร ๒๒/๓๖๘), ญาณ ๗ (โกสัมพิยสูตร ๑๒/๕๔๓ – ๕๕๐), องค์คุณ ๘ (ปรากฏอยู่หลายที่ เช่น หัวข้อท้ายสุดของ คิญชกาวสถสูตร ๑, ๒, และ ๓ : ๑๙/๑๔๗๒, ๑๙/๑๔๗๕, ๑๙/๑๔๘๐), ฯลฯ :b38: :b37: :b39:

แต่ขอให้ผู้ที่สนใจ เข้าไปศึกษาตามหัวข้อที่ลงท้ายไว้ให้นะครับ เพราะถ้าจะกล่าวถึงทั้งหมด คงจะเยิ่นเย้อเกินไป ไม่ได้ขึ้นสกทาคามีมรรค สกทาคามีผลเสียที :b1: :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาต่อกันที่การปฏิบัติ (มรรค) เพื่อเข้าสู่สกทาคามี (ผล) :b46: :b44: :b39:

อย่างแรกที่ควรรู้ก่อนก็คือ ในสังโยชน์ทั้ง ๑๐ นั้น สกทาคามี มีการพัฒนาขึ้นมาจากโสดาบันได้แล้วในแง่ใดบ้าง :b1: :b48: :b46: :b41:

สกทาคามีนั้น ยังละสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้เท่าๆกับโสดาบันนะครับ แต่สังโยชน์เบื้องต่ำสองข้อที่เหลือ คือ (๑) ราคะ (ความติดใจย้อมใจติดเพลินอยู่ในอารมณ์ด้วยอำนาจโลภะ ซึ่งในระดับที่ยังไม่พ้นเป็นอนาคามีนั้นจะเน้นในกามราคะ คือการย้อมใจติดเพลินอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ ที่ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส) :b46: :b51: :b47:

และ (๒) ปฏิฆะ (ความขุ่นใจขัดใจหงุดหงิดขึ้งเคียดแค้นเคือง หรือโศกเศร้า หรือหวาดกลัวหวาดเสียว หรือการกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ด้วยอำนาจโทสะ) นั้น เบาบางลงอย่างมากมาย (ส่วนสังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อนั้น ก็เบาบางลงในระดับหนึ่งเพราะจิตรู้เท่าทันมากขึ้นด้วยกำลังของสติที่มีมากขึ้น ซึ่งถ้ามีเวลาจะอธิบายในลำดับต่อไปนะครับ) :b1: :b46: :b46:

นั่นคือ ความยินดีพอใจยึดอยากต้องการดึงเข้าหาตัว (กาม/ภวตัณหา --> (ขันธ) อุปาทาน) ในรสหวานของสุขโสมนัส หรือยินร้ายไม่พอใจขุ่นมัวไม่ชอบ ต้องการผลักออกจากตัว (วิภวตัณหา --> (ขันธ) อุปาทาน) ในรสขมของทุกข์โทมนัส ที่เนื่องมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ผ่านปสาทรูปทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ยังปรากฏอยู่ในสภาวะของโสดาบันที่ยังมี โลภ โกรธ หลง อยู่เยอะนั้น ได้ลดลงอย่างมากมายด้วยการพัฒนาที่แก่กล้าขึ้นของอินทรีย์ทั้ง ๕ โดยเฉพาะสตินทรีย์ :b46: :b39: :b46:

ดังนั้น กิเลสในสังโยชน์ ๑๐ ที่เป็นโจทย์ใหญ่ของระดับโสดาบันในการก้าวข้ามไปสู่สกทาคามีก็คือ ราคะ และ ปฏิฆะ นั่นเอง ที่สกทาคามีมรรคบุคคล จะต้องทำให้เบาบางลงให้ได้ หรือในปฏิสัมภิทามรรค องค์พระสารีบุตรท่านใช้คำว่า การละกามราคะสังโยชน์และปฏิฆะสังโยชน์ ในส่วนหยาบ :b46: :b44: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการทำให้กิเลสทั้งสองเบาบางลงหรือทำให้ในส่วนหยาบหมดไปในระดับสกทาคามีนั้น ถึงแม้ว่าจะยากแล้ว แต่เมื่อเทียบกับการทำให้หมดไปในระดับอนาคามี ถือว่าง่ายกว่ากันมากมาย เหมือนกับการลดอุณหภูมิในทางวิทยาศาสตร์นะครับ การทำให้อุณหภูมิลดลงไปสู่ระดับ ๐ องศาเซลเซียส หรือ ๒๗๓.๑๕ เคลวิน ด้วยวิทยาการสมัยนี้ถือว่าง่ายมาก แค่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่บ้านก็ทำได้แล้ว :b50: :b49: :b48:

แต่การลดอุณหภูมิลงไปอีกให้ได้ซัก -๒๑๐ องศาเซลเซียส หรือ ๖๓.๑๕ เคลวิน ซึ่งเป็นจุดหลอมเหลวของไนโตรเจนนั้น ต้องใช้วิทยาการ, เครื่องมือ, และความพยายามมากขึ้นไปอีก :b47: :b48: :b49:

แต่เมื่อเทียบกับการลดอุณหภูมิลงไปอีกให้ใกล้ ๐ องศาสัมบูรณ์ หรือ absolute zero ที่ ๐ เคลวิน ซึ่งมนุษยชาติในปัจจุบันสามารถทำลงไปได้ถึง หนึ่งในพันล้านเคลวินเหนือ absolute zero ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิในฟินแลนด์นั้น ต้องใช้เวลาเตรียมการถึง ๙ ปี เทียบกับการทำไนโตรเจนเหลวแล้ว ยากกว่ากันคนละเรื่องเลย :b51: :b53: :b51:

นี่ยังไม่พูดถึงการลดลงไปที่ศูนย์องศาสัมบูรณ์ ซึ่งถึงแม้ว่าจะลดลงไปอีกน้อยมากเพียงหนึ่งในพันล้านเคลวิน ซึ่งเทียบได้กับกิเลสอย่างละเอียดที่เหลืออยู่บางมากๆในระดับอนาคามีที่ต้องลดลงไปจนเหลือศูนย์ในระดับอรหันต์แล้วนั้น แค่เพียงเศษเสี้ยวละเอียดที่เหลือที่ถึงแม้จะบางมากแล้วก็ตาม ก็ถือว่ายากมากมายมหาศาลในการทุ่มเทพยายามกว่าจะลดลงให้ได้เหลือศูนย์ คือหมดไปอย่างสิ้นเชิงนะครับ :b1: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 09 พ.ย. 2011, 22:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้เมื่อเห็นโจทย์ชัดแล้วว่า กิเลสตัวหลักที่ต้องต่อสู้คือ (กาม) ราคะ และ ปฏิฆะ ซึ่งจะต้องต่อกรด้วยการพัฒนาอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้แก่กล้าขึ้น :b38: :b37: :b39:

ถึงจุดนี้ก็เกิดคำถามละครับว่า แล้วจะเอาเครื่องมืออะไรไปต่อสู้ ไปพัฒนาอินทรีย์ทั้ง ๕ รวมถึงจะใช้เครื่องมือนั้นอย่างไรให้ถูกทิศถูกทาง :b1: :b46: :b39:

คือสั้นๆว่า จะภาวนาอย่างไรเพื่อให้ได้ผลที่ไม่เนิ่นช้า :b50: :b49: :b48:

คำตอบก็คือ เครื่องมือเดิม เครื่องมือคุ้นเคย ที่พระบรมครูทรงชี้แนะไว้นั่นแหละครับ ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ หรือไตรสิกขา ซึ่งโดยย่อคือการเจริญสมถะและวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่งนั่นเอง :b44: :b39:

ถ้าจะพูดในเชิงสมถะในส่วนของไตรสิกขาซึ่งก็คือองค์ศีล (อธิศีลสิกขา) และองค์สมาธิ (อธิจิตตสิกขา) แล้ว :b49: :b48: :b50:

เราจะใช้เครื่องมือคือสมถะนี้เพื่อเอาไว้กดข่มทอนกำลังของกิเลสอย่างหยาบ (วีติกกมกิเลส = กิเลสที่แสดงออกทางกายและวาจา) และกิเลสอย่างกลาง (ปริยุฏฐานกิเลส = นิวรณ์ ๕ + คิดฟุ้งปรุงแต่งในโลกนี้ + โลกหน้า + ความขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก ซึ่งเมื่อจัดเข้าชั้นคร่าวๆแล้ว คือนิวรณ์ ๕ นั่นเอง) :b48: :b54: :b48:

เพื่อให้เกิดความสงบระงับผ่องใสแห่งจิตจนมีกำลังในการวิปัสสนาให้เกิดปัญญา ตามพุทธพจน์ที่ว่า “ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอย” (มหาตัญหาสังขยสูตร ๑๒/๔๕๗) :b48: :b47: :b46:

โดยศีลจะกดข่มทอนกำลังกิเลสขั้นหยาบที่แสดงออกมาทางกายและวาจา ส่วนสมาธิจะเอาไว้กดข่มทอนกำลังของกิเลสขั้นกลางที่เกิดขึ้นในใจ ซึ่งคือนิวรณ์ทั้ง ๕ ที่มีกามราคะและพยาบาท อันเป็นกิเลสที่แรงและเห็นได้ง่ายของโลภะและโทสะ ก่อนที่จะตัดให้ขาดถึงรากคือกิเลสในส่วนละเอียด (อนุสัยกิเลส) คือราคะและปฏิฆะด้วยกำลังของวิปัสสนาในระดับอนาคามีมรรค :b51: :b46: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในระดับสกทาคามีมรรคนั้น เรื่องศีลเป็นอันว่าพอจะเบาใจได้นะครับ เพราะเมื่อผ่านโสดาบันมาก็จะมีศีล ๕ ที่บริบูรณ์แล้ว แต่การปฏิบัติในส่วนของสกทาคามีมรรคสำหรับผู้ที่มุ่งมั่นเอาจริง อาจจะขยับเพิ่มขึ้นไปเป็นศีล ๘ ก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ศีล ๘ ก็ยังไม่ถึงกับจำเป็นมากในระดับขั้นของสกทาคามี :b38: :b37: :b39:

คือถ้าปฏิบัติได้ก็จะดี เพราะจะทำให้การภาวนาก้าวหน้าได้ไว แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่อยู่ในสกทาคามีมรรคเองแล้ว เมื่อถึงจุดหนึ่ง จะเห็นโทษของการละเมิดศีล ๘ ในส่วนที่เพิ่มจากศีล ๕ ได้จนค่อยๆมีศีล ๘ เป็นปรกติเองโดยอัตโนมัติเมื่อถึงในช่วงท้ายๆของระดับอนาคามีมรรคก่อนก้าวข้ามไปสู่อนาคามีผล .. อันนี้เล่าในส่วนของฆราวาส ไม่นับรวมถึงพระเถรเณรชี ที่ท่านเหล่านั้นต้องถือศีลตามสถานะของตนให้ครบอยู่แล้วนะครับ :b1: :b46: :b48: :b46:

แต่อย่างที่กล่าวไป ศีล ๘ มีความจำเป็นอย่างมากถึงมากที่สุดในระดับขั้นของอนาคามีมรรค ซึ่งจะได้อธิบายถึงเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งยวดของศีล ๘ เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติในอนาคามีมรรคในลำดับถัดไปนะครับ :b48: :b47: :b48:

สำหรับศีล ในส่วนอธิศีลสิกขาของระดับสกทาคามีมรรค ที่ "จำเป็น" และ “ต้อง” เพิ่มเติมให้เข้มข้นขึ้นมากกว่าระดับโสดาบัน ก็คือศีลในระดับอินทรียสังวรศีลอันเป็นอริยะ ซึ่งคู่มากับการเจริญสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ ให้มั่นคงเข้มแข็งยิ่งๆขึ้นไปกว่าในระดับโสดาบัน :b46: :b39: :b46:

แล้ว “อินทรียสังวรศีลและสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะ” เป็นอย่างไร ? :b48: :b47: :b54:

ตรงนี้ขอยกเอาที่พระบรมครูทรงกล่าวไว้ในมหาตัณหาสังขยสูตรมาทั้งวรรค ดังนี้ครับ :b1: :b49: :b50: :b49:

(ซึ่งอันที่จริง ในพระสูตรนี้ซึ่งเริ่มต้นในส่วนของอธิศีลสิกขา พระบรมครูทรงกล่าวโดยเริ่มจากจุลศีล (มัชฌิมศีล และมหาศีลไม่ปรากฏในพระสูตรนี้) จบท้ายด้วยอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ ก่อนจะเข้าสู่อธิจิตตสิกขาในหมวดการชำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ด้วยองค์ฌาน :b49: :b48: :b49:

จากนั้นจึงเข้าสู่อธิปัญญาสิกขาด้วยการใช้โยนิโสมนสิการวิปัสสนาดับอกุศลธรรมและวงจรปฏิจจสมุปบาท .. :b50: :b49: :b49:

ซึ่งในส่วนของจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีลนั้น ในระดับฆราวาสก็คงเลือกนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับฐานะของตนให้มากที่สุดนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ศีล ๕ และศีล ๘ รวมถึงข้อปลีกย่อยอื่นๆอีกเล็กน้อยนั่นเอง (รายละเอียดที่มากกว่าของลำดับขั้นอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ศึกษาได้จากสามัญญผลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0 นะครับ)) :b46: :b47: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 09 พ.ย. 2011, 22:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"... ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์.
ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลส
ในภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการ
คู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว
การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง
การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

การชำระจิต

[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็น
อริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้
แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากวิกิจฉาได้.

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่อง
ทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มี
ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. บรรลุ
ตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน."


มหาตัณหาสังขยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://84000.org/tipitaka/read/?12/455


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ สกทาคามีมรรคบุคคล จะต้องฝึก “สติ” ให้แก่กล้ามากขึ้นไปอีก เพื่อใช้ในการคุ้มครองทวารทั้ง ๖ และในการกระทำกิจกรรมใดๆทั้งกาย วาจา และใจ ให้สุจริตนั่นเองครับ ตามพุทธพจน์ในกุณฑลิยสูตรที่ว่า “อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์” :b42: :b46: :b42:

(หมายเหตุไว้นิดนึงตรงนี้ครับว่า สติในขั้นอินทรีย์สังวรและสติสัมปชัญญะซึ่งอยู่ในหมวดของอธิศีลสิกขานี้ ยังไม่ใช่สติในระดับสติปัฏฐาน ๔ ที่อยู่ในหมวดปัญญาสิกขานะครับ เพราะเป็นเพียงแค่การ “ระลึกรู้” เพื่อคุ้มครองทวาร ไม่ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ และ “ระลึกรู้” ในการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งของอากัปกิริยาทางกาย :b46: :b39: :b46:

แต่ในสติปัฏฐาน ๔ จะเป็นการ “ระลึกรู้” รวมทั้ง “พิจารณาให้เห็นถึง” องค์ธรรมคือไตรลักษณ์ ได้แก่ความเกิดขึ้นในกาย, เวทนา, จิต, ธรรม บ้าง ความเสื่อมในกาย, เวทนา, จิต, ธรรม บ้าง ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกาย, เวทนา, จิต, ธรรม บ้าง ซึ่งพระบรมครูทรงกล่าวกำกับไว้ในตอนท้ายของทุกบรรพในมหาสติปัฏฐานสูตรนะครับ แต่การเจริญสติในอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ จะเป็นรากฐานให้การเจริญสติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ตามที่พระบรมครูทรงกล่าวในกุณฑลิยสูตร) :b48: :b50: :b48:

ซึ่งนี่ คือสิ่งที่พ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งหลายได้เน้นย้ำเป็นนักเป็นหนาให้ผู้ปฏิบัตินั้น ฝึกสติให้แก่กล้าจนกลายเป็นมหาสติ หรือที่องค์หลวงตาบัวท่านใช้คำว่า สติอัตโนมัติ นั่นละครับ (ซึ่งสติ โดยเฉพาะสติปัฏฐาน ๔ เมื่อพัฒนาจนเป็นมหาสติ ก็จะเป็นบาทฐานทำให้เกิดปัญญา เป็นมหาปัญญา หรือที่องค์หลวงตาท่านเรียกว่า ปัญญาอัตโนมัติ นั่นเองครับ) :b1: :b46: :b46:

โดยสติจะเป็นอัตโนมัติได้นั้น ต้องได้รับการฝึกฝนพัฒนาจากระดับสกทาคามี จนเข้าสู่ระดับอนาคามีเสียก่อนนั่นเอง :b42: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 07:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb_resize.jpg
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb_resize.jpg [ 35.2 KiB | เปิดดู 4407 ครั้ง ]
self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ? ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:
:b8: ก็เริ่มต้นทำตัณหาและอวิชชาให้นิโรโธเลยครับ ในภาคปฏิบัตินั้นต้องทำอวิชชาอันแรกคือ สักกายทิฐิ ความเห็นผิดว่า กายใจนี้เป็นเรา เป็นตัวกู ของกู ให้ได้เสียก่อน ตัณหาจึงจะนิโรโธได้ครับสาธุ :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อืม ที่แท้ก็ เป็นพวกปฏิเสธการฝึกสมาธินี่เอง :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2011, 13:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
กระผมได้ห่างหายไปนาน วันนี้ขอกล่าวถึงจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของจักรวาล ที่ปรับเปลี่ยนหมุนเวียน
หาที่สิ้นสุดไม่ได้ ลักษณะของธรรมชาติจะมีแรงดึงดูดทำให้เกิดการรวมตัวประกอบกันเป็นโครงสร้างต่างๆ และสุดท้ายก็ต้องแตกกระจายเป็นความว่างเปล่า สภาวะธรรมต่างที่ปรากฎในจิตตั้งแต่กามภูมิ รูปภูมิและอรูปภูมิ หากพิจารณาให้ดีคือการรวมและกระจาย จุดสุดท้ายก่อนการบรรลุธรรมขั้นสูง จึงกลับไปสู่สภาวะจิต ที่มีการกระจายและการรวม หากจิตมีกำลังถึงพร้อมก็จะออกจากการกระจายและการรวม บรรลุถึงการเข้าสู่ธรรมชาติที่เหนือสภาวะคู่ดังกล่าว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2012, 20:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

พระสกทาคามีบุคคล เป็นผู้มีความสงบ เนื่องจากกิเลส 3 คือ โลภะ โทสะ โมหะ เบาบางลง การบรรลุถึงมรรคระดับนี้ต้องมีสมาธิตั้งระดับทุติยฌานเป็นบาท ถึงระดับนี้แล้ว อารมณ์กรรมฐานส่วนใหญ่จะอยู่ระดับฌาน การเลื่อนจากฌานหนึ่งไปสู่อีกฌานหนึ่ง เป็นการรู้ไปที่อารมณ์ฌาน ชึ่งได้แก่ ปิติ สุขและเอกคตารมณ์ อารมณ์ปิติเกิดดับลง สุขปรากฏแทน เทคนิคที่ทำให้จิตไม่ค้างในอารมณ์ฌาน คือการรู้ถึงแรงที่ปกคลุมจิต(หัวใจ)เมื่อแรงที่เป็นเหตุดับจิตก็เคลื่อนสู่ระดับที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในขั้นนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงอารมณ์ฌานทุกขณะ จึงไม่ติดในฌาน จากรูปฌานที่คล่องแล้วก็จะเข้าถึงอรูปฌานในระดับต่อไป สำหรับอรูปฌานที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของจิต คือระดับที่จิตเคลื่อนสู่ระดับจิตใต้สำนึกที่ลึกที่สุดและแล้วความลับของภพก็ถูกเปิดเผยออกมาอย่างไม่สิ้นสุด สมดังพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ไม่เคยมีสถานที่ใดเลยที่เราไม่เคยอยู่เคยเกิดเคยเป็น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 19:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

อรูปฌานที่เก็บข้อมูลทั้งหมดของจิต คือระดับที่จิตเคลื่อนสู่ระดับจิตใต้สำนึกที่ลึกที่สุด และแล้วความลับของภพก็ถูกเปิดเผยออกมาอย่างไม่สิ้นสุด อาจมีคำถามว่าสมาธิอื่น เข่น รูปฌาน การคลายของภพไม่เกิดขึ้นหรือ จริงๆแล้วสมาธิระดับอื่น ๆ ก็สามารถรู้ได้เนื่องจากสมาธิตั้งแต่ระดับฌานที่ 2 ขึ้นไปไม่มีการปรุงแต่งของความนึกคิด ชึ่งเป็นอุปสรรคของญาณรู้แล้ว ก็อาจจะเกิดปรากฎการณ์การเห็นอดีตได้โดยเฉพาะระดับฌานที่ 4 จิตจะมีความเป็นกลางสูงสุด จะเกิดญาณได้อย่างเต็มที่

แต่สำหรับสมาธิระดับที่จิตเคลื่อนสู่จิตใต้สำนึกที่ลึกที่สุด หากเลยระดับนี้ไปแล้วสมาธิจะเคลื่อนกลับไปยังกามภพ(ขณิกสมาธิ) สมาธิจะวนเป็นวงกลม ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจาร รูปฌาน อรูปฌาน กลับมาที่ขณิกสมาธิอีก เมื่อผ่านจากอรูปมายังขณิกสมาธิ ถึงแม้จะเป็นขณิกแต่เป็นการออกจากอรูปที่เป็นสมาธิระดับสูง ณ จุดนี้จะเกิดการสั่นสะเทือนที่ระเอียดจะรู้ถึงการคลายรอบของใจ และเห็นภาพปรากฏตาม หากอารมณ์สบาย จะพบว่ารูปที่เห็นจะเป็นสุคติภูมิ แต่ถ้าใจเกิดความอึดอัดแน่น รูปที่เห็นจะเป็นทุคติ เป็นที่น่าสังเกตว่าหากเกิดในทุคติก็จะเกิดต่อเนื่องกัน เช่นถ้าเป็นสัตว์บก ก็จะเป็นสัตว์บกต่อเนื่องแต่จะเป็นสัตว์ต่างประเภท เกิดจากความติดใจในภพนั้นๆ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 19:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่า...ลาจากภพบอร์ดนี้ไปเสียแล้ว... :b32: :b32: :b32:

เข้ามาอ่านครับ... :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2012, 07:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

การตั้งใจเลื่อนหรือการเคลื่อนของสมาธิมี 2 ลักษณะคือ 1) การเข้าสมาธิเป็นลำดับตั้งแต่ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจาร รูปฌาน อรูปฌาน กลับมาที่ขณิกสมาธิอีก เรียกว่าอนุโลม 2) การถอยสมาธิลงจากระดับอรูปฌานสู่ขณิกสมาธิ เรียกว่าปฎิโลม สำหรับการปฏิโลมคือ เมื่ออยู่ในสมาธิระดับอรูป ให้ปล่อยจิตโดยไม่ต้องรู้ในสภาวะธรรมของอรูป จะรู้ถึงสภาวะธรรมขององค์ฌานแต่ละระดับ ย้อนกลับเป็นลำดับ ถ้าต้องการอยู่ในองค์ฌานใด ก็คือการอนุโลมและปฏิโลมในองค์ฌานนั้น เช่นขณะอยู่ในองค์ฌานที่ 2 จิตจะเป็นหนึ่งแช่มชื่น สบาย ไม่มีความนึกคิด(เอธิโกภาวะ) แสงสีเหลืองเข้ม จิตมีกระแสการสั่นสะเทือนสูงและหยาบกว่า ฌานที่ 3 การเลื่อนสู่ฌานที่ 3 คือการรู้ในอารมณ์ แช่มชื่นสบาย(เวทนา)ไม่ต้องดูแสงเพราะแสงจัดเป็นนิมิต ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา เมื่อรู้เวทนา เวทนาคือความแช่มชื่นสบายจะดับลง เปลี่ยนเป็นความสุขสดชื่น เหมือนยืนบนภูเขาที่มีลมเย็น ๆผ่านข้ามาจิตจะเบากระจายมาก แสงจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเข้มเป็นสีเหลืองอ่อนนวลๆความถี่จิตจะละเอียดกว่าฌานที่ 2 เป็นที่สังเกตว่าระดับแสงจะสัมพันธ์กับความถี่ของจิตเกิดจากการชนกันของอนุภาคจิตนั่นเอง :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 166 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร