วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2024, 01:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างท่าน อนัตตาธรรม กล่าวนั้นชอบแล้ว
หากเข้าใจจริงๆ(ปัจจัตตัง)แล้วก็ไม่จำเป็นต้องถามใคร :b12: :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 16:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 14:48
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่น ต้องขออภัย หากคำตอบกระทู้นี้ มีความคลาดเคลื่อนประการใด ก็ขอให้ผู้อ่านอโหสิกรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ด้วย

:b43: ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม (การเกิดขึ้นของทุกข์)
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

:b42: ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม (การดับไปแห่งทุกข์)
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

- อย่างแรก ต้องเข้าใจว่า ปฎิจสมุปบาท เกิดขึ้นเร็วมาก และดับไป แล้วเกิดใหม่ ทุกเสียววินาที ตัวอย่างเช่น
เรามองเห็นรถ คันหนึ่งวิ่งผ่านหน้าเราไป แล้วก็....
เพราะอาศัยซึ่ง จักษุด้วย , ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิดจักขุวิญญาณ : การประจวบพร้อมแห่งธรรม 3 ประการ
( จักษุ+รูป+จักษุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ ( *อ้าว เห็นรถเข้าแล้ว )
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา (ความรู้สึกต่ออารมณ์)
* อ้าว นึก ชอบ , ไม่ชอบ หรือ เฉย ๆ เข้าแล้ว
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา (ความอยาก)
* อ้าว สวยอะ อยากได้ อ้าว เสี่ยววะ ขับมาได้ไง อ้าว เฉย ๆ อะ
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงอุปทาน (ความยึดมั่น)
* ทำไง ถึงมีรถคันนั้นได้นะ ต้องหาเงิน หรือ.... หรือ ให้ฟรียังไม่เอาเลย

ควรปฎิบัติอย่างไร สำหรับคนที่ฝึกสติ บ่อย ๆ เวลาเกิดเหตุการณ์อะไรสักอย่าง + กับเราศึกษา ปฎิจจสมุปบาท มาอย่างละเอียด เราก็สามารถตัด หรือ ดับความทุกข์ ที่จะเกิดขึ้นได้ทัน
- ดับช่วงไหน ตอบ จับมันเจอในช่วงไหน ก็ ตัดวรจร มันช่วงนั้น ความสุข ความทุกข์ ก็จะไม่เกิด เช่น เห็นรถ แล้วเกิดเวทนา
ก็รู้สึกตัว อ้อ จิตของฉัน เกิดเวทนา ก็หยุด ตัณหา , อุปทาน , ภพ , ชาติ.... ก็จะไม่เกิด
แต่ถ้าตัดไม่ทัน เกิด ตัณหา รู้ตัว ก็หยุด อุปทาน , ภพ , ชาติ .... ก็ไม่เกิด
- การใช้ชีวิต ก็จะสงบจะเจอแต่เรื่องดี ๆ เพราะ เรารู้แล้วว่า วงจรของแต่ละเหตุการณ์ที่เราเจอ ทุก ๆ เสียววินาที
มันเป็นแบบนี้ วนเวียนไปเรื่อย รู้ตัว ก็ตัด ความทุกข์ ก็ไม่เกิด

อีกตัวอย่าง เช่น เห็น สร้อยคอทองคำตก (รูป) เห็นด้วยตา (สฬายตนะ) รวมเป็นสิ่งที่เห็น (ผัสสะ)
ถ้าในบัดเดี่ยวนั้น เราหันมองไปทางอื่นสะ ไม่สนใจมัน เวทนา , ตัณหา , อุปทาน , ภพ.... ก็จะไม่เกิด คือตัดผัสสะ
- เหตุการณ์นี้จบ ความสุข ความทุกข์ ไม่เกิด ปล่อยมันไว้ตรงนั้นหละ
แต่ถ้าไม่ทัน เวทนา ชอบ มาแล้ว ตัณหาอยากได้ มาทันที ไวมาก เอ๊ะ มันไม่ใช่ของเรา ตัดตัณหา อุปทาน, ภพ... ก็จะไม่เกิด
- เหตุกาณ์นี้จะจบ ความสุข ความทุกข์ ก็ไม่เกิด สร้อยคอทองคำ มัน ก็นอน อยู่ตรงนั้นหละ

การศึกษา เรื่อง ปฎิจจสมุปบาท ต้องศึกษาให้ละเอียด เพราะพระพุทธองค์ ทรงแจกแจงละเอีดยมาก เช่น
ตัณหา ก็แจกแจงเป็น 108 ตัณหา เวลาเกิดตัณหา เรารุ้แล้ว ก็จะได้ตัดได้ทัน
การปฎิบัติ อย่างไร ต้องทำด้วยจิต และ สติ หมั่นเจริญสมาธิ ภาวนา ก็คือการฝึกจิต นั่นหละ
พอมีสติ และเราได้ศึกษามาบ้างแล้ว สติจะไปดึงความรู้ที่ได้เรียนมา แบบนี้ เรียกว่าปัญญา
อันนีหละ จะตัดวงจรปฎิจจสมุปบาท ได้ ความสุข ความทุกข์ ก็จะไม่เกิด ( ความสุขที่จริง คือความทุกข์น้อย ๆ ที่เราพอใจ)

แนะนำหนัง ปฎิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาศ เล่มหนา (มาก) ปกสีดำ ราคาสูงไปนิด
แต่สำหรับผม ได้อ่านเล่มนี้แล้ว คิดว่า หนังสือในโลกนี้ ไม่จำเป็นต้องอ่านอีกแล้ว

ปฎิจจสมุปบาท ปฎิบัติ อย่างไร ตอบ ใช้สติ เป็นผู้ปฎิบัติ กายเนื้อ , ความคิด โดยสมองความเร็วไม่พอที่จะตัดวงจร ปฎิจจสมุปบาท ฝึกสติ ให้มาก ๆ แล้วก็จะทำได้เอง คนที่เข้าก็จะเป็นเรื่องง่าย เหมือนพลิกฝ่ามือ
คนที่ไม่เข้าใจ ก็ท่องตัวหนังสือไปก่อน ให้จำมาก ๆ แล้ว ฝึกสมาธิ ก็จะเข้าใจเอง ครับ

ขอให้ทุกท่านได้เจริญในธรรม หาก มีสิ่งใด ที่ข้าพเจ้ากล่าวผิดไปจนทำให้ท่านไขว้เขว จากแนวทางที่ถูกต้อง
ข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านโปรดอโหสิกรรม ให้กับข้าพเจ้าด้วย

สวัสดีครับ
ยางบง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:



Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑ - ๑๑๕. หน้าที่ ๑ - ๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0





น่าสังเกตุตรงที่ พวกชอบเอาปฏิจสมุปบาทมาพูด แต่ ดันๆๆๆๆๆ ไม่ค่อยยกพุทธอุทานคาถา3พระคาถามากล่าวกัน นั่นเพราะอะไร
เดาว่าเพราะพวกไม่เพียรเพ่งอยู่ ไม่เอาสมถะ ไม่เอาฌาณ ๆลๆ มันก็เลยสงสัยกันกันต่อไป
:b4:
ปล ผมก็ยังไม่เพียร เหมือนกันนะ แต่ ถ้าทำได้ก็เอา ติดตรงทำไม่ได้ :b9: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุอนุโมทามิ

ขอบคุณกับข้อธรรมและคำอนุโมทนาของมิตรทางธรรมทุกท่านครับ หลายสิ่งหลายอย่าง วิสุทธิปาละก็ได้เรียนรู้และฝึกฝนตนเองจากข้อคิดและประสบการณ์ของกัลยาณมิตร ครู พี่เลี้ยง ทุกท่านที่อยู่ในลานฯเหมือนกัน :b1: :b46: :b46:

นึกขึ้นได้ถึงข้อธรรมที่เกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร หรือกัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ ขอยกเอามาจากพจนานุกรมฉบับประมวลธรรมของท่านเจ้าคุณฯหลวงพ่อประยุทธ์ (ซึ่งอาการอาพาธของท่านน่าเป็นห่วงอยู่มากในเวลานี้) มาแทรกฝากมิตรทางธรรมทุกๆท่านไปก่อน ดังนี้ครับ :b1: :b39: :b39:

กัลยาณมิตรธรรม ๗ : องค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ — qualities of a good friend)

1. ปิโย (น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม — lovable; endearing)

2. ครุ (น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย — estimable; respectable; venerable)

3. ภาวนีโย (น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ — adorable; cultured; emulable)

4. วตฺตา จ (รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี — being a counsellor)

5. วจนกฺขโม (อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว — being a patient listener)

6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป — able to deliver deep discourses or to treat profound subjects)

7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย — never exhorting groundlessly; not leading or spurring on to a useless end)

เจริญในธรรม บนรากฐานของความเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน เพราะที่แห่งนี้มีกัลยาณมิตร สมดังเจตนาของผู้ก่อตั้งลานฯ และผู้ดำเนินงานทุกท่านครับ :b8: :b1: :b46: :b46:

ส่วนที่จะมาต่อจากคราวที่แล้วนั้น ขอยกยอดไปคราวหน้านะครับ ช่วงนี้มีกิจทางโลกเข้ามาซึ่งต้องจัดการให้เสร็จไปก่อนสักสองสามวัน :b1: :b31: :b31: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2011, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 17:27
โพสต์: 72


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านยังไม่จบ เดี่ยวมาอ่านต่อ อนุโมทาณาก่อน ครับ ท่าน :b8: :b8: :b8:

.....................................................
มองทาง สำรวจทาง รู้ทุกเส้นทาง เผื่อเจอแยกจะได้จำได้ และเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2011, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2011, 17:27
โพสต์: 72


 ข้อมูลส่วนตัว


sompong852 เขียน:
ก่อนอื่น ต้องขออภัย หากคำตอบกระทู้นี้ มีความคลาดเคลื่อนประการใด ก็ขอให้ผู้อ่านอโหสิกรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ด้วย

แนะนำหนัง ปฎิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาศ เล่มหนา (มาก) ปกสีดำ ราคาสูงไปนิด
แต่สำหรับผม ได้อ่านเล่มนี้แล้ว คิดว่า หนังสือในโลกนี้ ไม่จำเป็นต้องอ่านอีกแล้ว


สงสัยจะเป็นเล่นเดียวกับที่ผมเคยได้อ่าน เมื่อสมัยบวชตามประเภณี จะกล่าวได้ว่าด้วยหนังสือเล่นนี้เป็นแรงจูงใจก้อ มิผิดครับ (อ่านตั้งสองสามรอบ เพราะเข้าใจยากเอาเรื่อง) :b8: :b8: :b8:

.....................................................
มองทาง สำรวจทาง รู้ทุกเส้นทาง เผื่อเจอแยกจะได้จำได้ และเลือกเส้นทางได้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำอนุโมทนาครับ :b8:

ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b46:

สรุปจากการปฏิบัติให้จิตเห็นจิต คือการรู้ลงมาที่ใจ ไม่ว่าในการดำเนินชีวิตประจำวันผ่านการรับรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายแล้วส่งไปที่ใจ (ปัญจทวารวิถี) หรือในการตริ ตรึก นึก คิด เผลอ เหม่อ (มโนทวารวิถี) หรือในการฝึกสมาธิฝึกอานาปานสติ (มโนทวารวิถี ต่อไปที่ฌานวิถี) :b38: :b37: :b39:

แล้วทำไมถึงต้องรู้ลงมาที่ใจ หรือดักรู้ที่ใจ (มโนวิญญาณ ที่ทำงานผ่านทางมโนทวาร) ไม่ไปรู้ที่ทวารอื่น (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ) ? :b1: :b48: :b44:

เนื่องเพราะสติทำงานคุ้มครองได้เพียงครั้งละทวาร การที่จะดักรู้ที่ทวารทั้ง ๕ จึงเป็นภาระอย่างมาก เพราะโดยปรกติในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่หลายเรื่องที่เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่า จะเกิดผัสสะขึ้นทางทวารใดในทวารทั้ง ๕ แต่ที่แน่ๆคือ เมื่อผ่านทวารทั้ง ๕ แล้วจะต้องส่งต่อไปรับรู้โดยมโนวิญญาณที่มโนทวาร ไม่มีอื่นอีก :b45: :b46: :b39:

และเนื่องเพราะใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธานในกรรมทั้งปวง การมีสติรู้ลงมาที่ใจ ทำให้ดักเห็นได้ทันในภาครับของการกระทบผัสสะในปัญจทวารวิถี และภาคส่งหรือกระทำต่อในมโนทวารวิถี ซึ่งก็เริ่มต้นที่ใจในการคิด ฟุ้ง ปรุง แต่ง สั่งการ หรือหลง เผลอ เหม่อ ลอย ฯลฯ :b48: :b47: :b47:

การดักรู้ลงมาที่ใจ จึงเป็นการเรียนรู้ถึงธรรมชาติของใจได้อย่างถ่องแท้ตั้งแต่ภาครับรู้และภาคกระทำต่อ ให้เกิดปัญญาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ เห็นสภาวะที่ทุกข์ดับ และเห็นถึงทางที่จะไปดับซึ่งทุกข์นั้น :b39: :b39: :b39:

นั่นคือ การเข้ามาเรียนรู้ในอริยสัจจ์ ๔ หรืออีกนัยหนึ่งคือวงจรปฏิจจสมุปบาท ทั้งสายเกิดและสายดับ ลงที่ใจนั่นเอง :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น การรู้ลงที่ใจหรือที่มโนทวาร - มโนวิญญาณ จึงเป็นการง่ายกว่าที่จะพยายามไปรู้ลงที่ทวารหรือวิญญาณอื่น และเป็นการง่ายกว่าในการรู้ให้ถึงอริยสัจจ์ เพราะอริสัจจ์หรือปฏิจจสมุปบาทนั้นเกิดขึ้นที่ใจและดับลงที่ใจ :b39: :b39: :b39:

ดังเช่นในเรื่องพระใบลานเปล่าที่อรหันต์สามเณรแนะนำพระโปฐิละว่า ถ้าจะจับตัวเงินตัวทองจากจอมปลวกที่มีอยู่ ๖ ช่อง ให้อุด ๕ ช่องแล้วดักจับจากช่องที่มันเข้า ตามข้อความที่ว่า “ในบรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้ในมโนทวาร” จนพระโปฐิละที่มีความแตกฉานในพระปริยัติ เอาไปปฏิบัติจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ :b8: :b44: :b44:
(ศึกษาเพิ่มเติม พระเถระใบลานเปล่า http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5)

ซึ่งในส่วนของมโนทวารวิถีนั้นชัดเจนอยู่แล้วว่า เป็นการทำงานด้วยใจล้วนๆโดยไม่เกี่ยวข้องกับทวารอื่น ดังนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปใช้สติดักรู้ลงมาที่ทวารไหนๆนอกจากมโนทวาร :b51: :b53: :b51:

ส่วนปัญจทวารวิถี การดักรู้ที่ทวารอื่นๆก่อน เช่น ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วค่อยตามมาดักรู้ที่ใจนั้นอาจจะช้าเกินไปในการสังเกตและเรียนรู้วงจรของกิเลสและทุกข์ :b49: :b49: :b50:

เพราะวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้นเกิดขึ้นเร็วมาก เช่น เมื่อเห็นสาวสวย ถ้ามาดักรู้ที่ตา (จักขุทวาร - จักขุวิญญาณ) จะเป็นการยากที่จะให้สติตามจิตทันต่อการกระทบจนถึงการปรุงแต่งได้ และยิ่งจะทำให้จิตส่งออกนอกได้ง่ายขึ้น :b41: :b41: :b41:

นั่นคือ แทนที่จะวกกลับมาดูที่ใจ กลับยิ่งหลงส่งออกนอกไม่ยอมละสายตาจากเหตุคือสาวสวย (ที่เรียกว่า ขาดสติเผลอมองตาไม่กระพริบ :b20: :b5: ) ทำให้สติไม่สามารถตามทันผัสสะที่ส่งไปที่ใจให้รับรู้ ซึ่งภายในวิบตาเดียวจิตก็ขึ้นมโนทวารวิถีส่งออกนอกปรุงแต่งต่อจนเสร็จกิเลสไปตั้งนานแล้ว ไม่สามารถตามดูให้ทันที่ใจลงในปัจจุบันได้อย่างกระชั้นชิด :b38: :b37: :b39:

ดังนั้น การพยายามดักรู้ที่ตาแล้วตามกลับมาดักรู้ที่ใจจึงเป็นการยากที่จะให้มีสติตามทันการทำงานของจิต ไม่เหมือนกับการกำหนดสติลงมาตั้งรับที่ใจเลยโดยตรงซึ่งความต่อเนื่องของสติจะมีมากกว่า และถ้าหลงปรุงหลงแต่งจริงๆก็จะตามทันเห็นกิเลสได้ง่ายกว่า :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะจิตจะใช้เวลาในการออกจากการคุ้มครองที่ใจส่งไปรับรู้ทางทวารตา (ปัญจทวาราวัชชนจิต – ทวิปัญจวิญญาณจิต) ก่อนจะกลับมาดึงสัญญาเดิมมาเปรียบเทียบและรับรู้ตัดสินลงที่ใจอีกครั้ง (สันตีรณจิต – โวฏทัพพนจิต ที่มีมโนทวาราวัชชนจิตทำหน้าที่) :b48: :b48: :b48:

ก็จะมีเวลาพอที่จะให้มีสติต่อเนื่องเพื่อระลึกและรู้ “เท่าทัน” ผัสสะเวทนา หรืออย่างน้อยที่สุด ระลึกและรู้ “ตาม” ตัณหาอุปาทานที่หลงปรุงหลงแต่งออกไปได้เร็วขึ้น :b46: :b46: :b46:

และถ้าจะฝึกฝนให้สติคุ้มครองเพียงแค่มโนทวาร ก็จะทำได้ได้ง่ายกว่าคุ้มครองทวารอื่นๆที่มีอยู่อีกถึง ๕ ทวาร นั่นคือ ถ้าจะให้มีสติตามรู้ผัสสะลงที่ใจได้จริงๆก็ต้องอาศัยการฝึกด้วยความเพียรบ่อยๆ รู้อยู่ในตัวรู้ จนจิตคุ้นชินในการตั้งสติไว้ที่ใจ (มโนทวาราวัชชนจิต) ที่รับสัญญาณต่อจากการรับรู้ผัสสะที่ทวารทั้ง ๕ หรือการขึ้นวิถีจิตต่อในมโนทวารวิถีนะครับ :b1: :b51: :b51:

ซึ่งการฝึกในสติปัฏฐาน ๔ หมวดกายานุปัสสนา ไม่ว่าจะเป็นการรู้กองลม (อานาปานสติบรรพ), การรู้อิริยาบถใหญ่คือ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือการตั้งกายอยู่ในอาการอื่น (อิริยาบถบรรพ), การรู้อิริยาบถย่อย (สัมปชัญญบรรพ) พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านก็แนะนำให้รู้ที่ใจลงในปัจจุบัน ซึ่งในอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตรได้อธิบายโดยใช้ประโยคที่ว่า :b39: :b39: :b46:

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ, วาโยธาตุ ก็ทำให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่าเดิน ... แม้ในอิริยาบถอื่น มียืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

(ส่วนบรรพอื่นๆในกายานุปัสสนา ได้แก่ ปฏิกูลมนสิการ การพิจารณากายเป็นปฏิกูล, ธาตุมนสิการ การพิจารณากายเป็นธาตุ, และนวสีวถิกา การพิจารณากายที่เสื่อมสลายไปในป่าช้านั้น เป็นการพิจารณากายลงในปัจจุบันตามความเป็นจริง (ในฌาน ๔) หรือผสมกับการใช้สติสัมปชัญญะ “ฝึกคิด” (วิตก วิจารณ์ คืออสุภกรรมฐานในฌาน ๑ หรือนอกฌาน) ให้ออกจากกามในส่วนของเนกขัมมวิตก ซึ่งเป็นมโนทวารวิถีที่ต้องดักรู้ลงมาที่ใจอยู่แล้วในตัว :b46: :b46: :b51:

เช่นเดียวกับสติปัฏฐานหมวดอื่นๆคือ เวทนา, จิต, ธรรม ซึ่งเกิดขึ้นที่ใจ และรู้ลงที่ใจอยู่แล้ว แต่ต่างจากปฏิกูลมนสิการ, ธาตุมนสิการ, และนวสีวถิกานิดเดียวตรงที่ว่า สำหรับหมวดเวทนา, จิต, ธรรม นั้น การรู้มาที่ใจลงในปัจจุบันนั้นจะต้องปราศจากการคิดนะครับ ไม่อย่างนั้นจะเป็นวิปัสสนึกไป) :b1: :b46: :b51: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ขอมาเพิ่มเติมรายละเอียดของการเพียร “ฝึกคิด” ทางด้านกุศลวิตก เพื่อให้จิตคุ้นชินกับการคิดที่ไม่เป็นไปเพื่ออกุศล ซึ่งมีอานิสงค์คือ สามารถป้องกันการที่จิต “หลงคิด” ไปในทางอกุศล หรือถ้า “หลงคิด” ไปแล้วก็สามารถรู้ตัวได้ไว ไม่ปล่อยให้การคิดนั้นเลยเถิดเกิดเป็นการกระทำที่ก่อร่างสร้างทุกข์ :b38: :b37: :b39:

เพราะว่าการคิดชนิดที่เป็นกุศลวิตก จิตจะเบิกบานหรือเป็นกลางปราศจากความตื่นเต้นหรือร้อนเร่า และถ้าจิตเสพสภาวะดังกล่าวจนคุ้นชินแล้ว จิตจะรู้สึกไม่สบายด้วยตัวเองจากการคิดอกุศลที่ทำให้จิตตื่นเต้นหรือร้อนเร่าโดยอัตโนมัติ นั่นคือ จะมีสัญญาณบอกขึ้นในจิตว่า กำลัง “หลงคิด” ในทางอกุศลอยู่ให้เกิดสติระลึกรู้ขึ้นได้เองนะครับ :b1: :b51: :b51:

โดยการฝึกคิดในกุศลวิตกเองนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการฝึกป้องกันหรือลดทอนกำลังของกิเลสด้วยองค์ธรรมที่ตรงกันข้าม (ตทังคปหาน) ซึ่งถึงแม้จะเป็นการประหารกิเลสแบบชั่วคราว แต่ก็เป็นส่วนสนับสนุนให้การประหารกิเลสแบบถาวรด้วยโลกุตรปัญญา (สมุจเฉทปหาน) สามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกปลอดโปร่ง ไม่โดนกิเลสน๊อคเอาเสียก่อน :b39: :b39: :b39:

อธิบายขยายความด้วยการเปรียบเทียบ โดยให้ใจคือนักมวย เวลาขึ้นชกกับคู่ต่อสู้ที่เหนือกว่าอย่างกิเลส เทคนิคอันหนึ่งก็คือการตัดกำลังให้คู่ต่อสู้ค่อยๆอ่อนกำลังลง ก่อนจะส่งหมัดน๊อคเข้าที่จุดอ่อนเพื่อเอาชนะอย่างเด็ดขาด :b44: :b51: :b53:

ฉันใดก็ฉันนั้นนะครับ การใช้องค์ธรรมตรงกันข้ามอยู่บ่อยๆ เป็นการทำให้กิเลสที่มีกำลังมากนั้นค่อยๆอ่อนกำลังลงมาอยู่ในสถานะที่คู่คี่พอจะจัดการประหารให้เด็ดขาดด้วยโลกุตรปัญญาได้ :b1: :b48: :b48:

ยกตัวอย่างเช่น การฝึกแผ่เมตตาบ่อยๆจะเป็นการลดทอนกำลังของกิเลสในหมวดโทสะ ซึ่งถ้าไม่หมั่นฝึกแผ่เมตตาให้กิเลสลดทอนกำลังลงบ้างแล้ว เมื่อเกิดความโมโห ตัวกิเลสจะมีกำลังแรงจนกระทั่งสติเอาไม่อยู่ โดนกิเลสพาไปกระทำในเรื่องที่อาจจะเสียใจไปชั่วชีวิตก็ได้ :b5: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งเมื่อฝึกด้วยการหมั่นแผ่เมตตาอยู่เป็นนิจจนกิเลสโดนทอนกำลังลงบ้างแล้ว เมื่อเกิดการกระทบจนหลงปรุงแต่งโทสะขึ้น โทสะนั้นก็จะอยู่ในขั้นเบาลงมาให้สามารถใช้สติตามรู้ตามดูจนโทสะดับให้เห็นและเกิดโลกุตรปัญญาขึ้นมาแทนที่ได้ แทนที่จะเป็นโทสะแรงจนสติตามไม่ทันเมื่อไม่มีการฝึกแผ่เมตตาอยู่เรื่อยๆ :b1: :b53: :b51:

ซึ่งโทสะและทุกข์ที่เกิดตามโทสะมานั้น ก็เหมือนกับสารกัมมันตภาพรังสีในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์นะครับ ถ้าคุมไม่ดี ปล่อยให้ลุกลามไปจนถึงจุดที่คุมไม่ได้แล้ว หายนะคือสิ่งที่รออยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทอนกำลังลงมาให้อยู่ในระดับที่เบาบางพอที่จะควบคุมและเรียนรู้ลงในไตรลักษณ์ได้ :b44: :b48: :b47:

และไม่ต้องกลัวว่า แผ่เมตตามากๆแล้วจะไม่เกิดโทสะให้ตามรู้ตามดูจนเกิดโลกุตรปัญญาได้นะครับ จิตปุถุชนหรือแม้แต่โสดาบันหรือสกทาคามีบุคคล ถ้ายังไม่บรรลุธรรมขั้นอนาคามีบุคคลแล้ว อย่างไรก็เกิดโทสะแน่ๆถ้ามีการกระทบกับสิ่งที่ไม่น่ายินดี :b48: :b47: :b43:

เพียงแต่จะเป็นโทสะที่แรงจนเอาไม่อยู่หรือเบาลงมาให้ตามรู้ตามดูจนเกิดปัญญาได้ ซึ่งด้านที่ควรกลัวมากกว่าก็คือ โทสะนั้นจะมีกำลังแรงเกินไปจนสติตามระลึกรู้ไม่ทัน และโดนโทสะลากไปกระทำในสิ่งที่เป็นอกุศลไปแล้ว :b46: :b46: :b46:

ในส่วนของกิเลสตัวอื่น คือโลภะ และโมหะ ก็อธิบายได้ในแนวทางเดียวกัน :b1: :b51: :b51:

และนี่ คือความจำเป็นที่จะต้องหมั่นฝึกคิดในทางกุศลวิตก เพื่อลดทอนกำลังของกิเลสในส่วน โลภะ โทสะ โมหะ ให้ลดลงมาอยู่ในระดับที่จะจัดการเรียนรู้ให้มีสติตาม ให้วิปัสสนาทัน จนเกิดโลกุตรปัญญาขึ้นนะครับ :b1: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงค์อีกประการของการฝึกคิดในกุศลวิตกโดยใช้องค์ธรรมตรงกันข้ามกับกิเลสนั้นก็คือ ถ้าปฏิบัติให้มากเข้าจนสามารถลดทอนกำลังของกิเลสให้เบาบางลงได้มากจริงๆแล้ว ... :b46: :b39: :b46:

จะสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินกรรมฐานที่โน้มเอียงไปในทางสุขาปฏิปทา ที่พิจารณาสุข โสมนัส อุเบกขา ลงในไตรลักษณ์ ซึ่งปฏิบัติได้สะดวกสบายกว่าแนวทางทุกขาปฏิปทา ที่พิจารณาทุกข์ โทมนัส ลงในไตรลักษณ์ด้วยนะครับ :b1: :b48: :b48:

อธิบายได้ว่า เมื่อกิเลสโดยเฉพาะนิวรณ์ ๕ เบาบางลงด้วยการฝึกคิดในเนกขัมมะ, อพยาบาท, และอวิหิงสา (เช่น การทำบุญทำทาน, การแผ่เมตตา, การทำกรรมฐาน ๔๐ กอง, ฯลฯ) การทำสมาธิให้เข้าถึงฌานก็จะง่ายขึ้น :b40: :b39: :b44:

และเมื่อได้ฌานแล้ว ก็สามารถระลึกรู้องค์ธรรมในฌานที่ตั้งอยู่และดับไป ลงในปัจจุบันให้เห็นถึงอริยสัจจ์จากในฌานได้โดยตรงตามที่เคยอธิบายไว้ในมรรคที่ ๑, ๓, และ ๔ ขององค์พระอานนท์ก่อนหน้านี้นะครับ ซึ่งองค์ธรรมในฌานนั้นมีเวทนาอยู่แค่ ๒ คือ โสมนัสหรืออุเบกขาเท่านั้น ไม่มีโทมนัสเวทนาโผล่มาให้ทรมานใจ :b1: :b38: :b37:

และการเห็นอริยสัจจ์หรือปฏิจจสมุปบาทจากในฌานที่มีจิตผ่องใสเบิกบานตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูโดยไม่มีอะไรมารบกวนนั้น จะเห็นได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมากกว่าการเห็นนอกฌานมาก เพียงแต่ต้องใช้การสังเกตและสติปัญญาที่ละเอียดมากๆในการเข้าไปรู้ไปดูสิ่งที่ละเอียดในองค์ฌานจนเกิดโลกุตรปัญญาขึ้นมาได้โดยไม่ “หลง” ไปติดสุขติดสงบในฌานกันเสียก่อน :b45: :b45: :b46:

แต่ถ้าไม่สามารถทำให้เกิดฌานจนปฏิบัติในแนวสุขาปฏิปทาได้จริงๆ อย่างน้อยการฝึกคิดในกุศลวิตกก็ทำให้กิเลสเบาบางลงมา นั่นหมายความว่า ทุกข์ที่ตามกิเลสมานั้นก็เบาบางลงมาด้วย ทำให้ถึงแม้ว่าจะต้องดูทุกข์ให้แจ่มแจ้งจนเกิดปัญญาในแนวทางทุกขาปฏิปทา ทุกข์นั้นก็ไม่ถึงกับทำให้ลำบากทรมานมากมายจนทนไม่ไหวไปนะครับ :b1: :b42: :b39:

และทั้งหมดนี้ คืออานิสงค์ของการฝึกคิดในทางกุศลวิตก หรือในทางสัมมาสังกัปปะนั่นเอง :b46: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกตัวอย่างการฝึกตริ ตรึก นึก คิด สั่งการกระทำ ในกุศลวิตกข้อแรก คือการคิดให้ออกจากกาม (เนกขัมมวิตก) เช่น :b38: :b37: :b36:

# การบริจาคทำบุญทำทานบ่อยๆ (จาคะ) เพื่อให้จิตคลายจากการหมกมุ่นปรนเปรอสนองแต่ความอยากของตน ทอนกำลังของกิเลส ลดความเห็นแก่ตัวลงมา ฯลฯ :b46: :b39: :b46:

# การหมั่นพิจารณากายานุปัสสนา (ทั้งกายเราและกายผู้อื่น) เป็นสิ่งปฏิกูล หรือกำลังเปื่อยเน่าเสื่อมสลายไปในป่าช้า, การคิดพิจารณาอสุภกรรมฐาน, มรณานุสติ, กายคตานุสสติ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุวัฏฐาน ในกรรมฐาน ๔๐ กอง เช่น เห็นสาวสวยเดินมาก็ให้คิดจินตนาการกำหนดให้เป็นซากศพ หรือมองเห็น – ได้กลิ่น – ลิ้มรสอาหารอร่อยก็ให้คิดคำนึงถึงสิ่งปฏิกูลต่างๆ เพื่อทอนกำลังของกิเลส ฯลฯ :b46: :b39: :b46:

ส่วนตัวอย่างการฝึก ตริ ตรึก นึก คิด สั่งการกระทำ ในกุศลวิตกข้อที่ ๒ และ ๓ คือการคิดในทางที่ไม่พยาบาทและเบียดเบียนทั้งผู้อื่นและตนเองนั้น (อพยาบาทวิตก, อวิหิงสาวิตก) เช่น :b38: :b37: :b36:

# การบริจาค ทำบุญทำทาน, การคิดในทางมรณานุสติ, วัณณกสิณ ๔ (เพ่งหรือคิดจินตนาการถึงสีเขียว, แดง, เหลือง, ขาว), พรหมวิหาร ๔ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง การแผ่เมตตา ต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข พ้นทุกข์ หรือยินดีกับความสุขของผู้อื่น บนพื้นฐานของการวางใจเป็นกลางลงได้ตามเหตุและปัจจัยที่เกิดขึ้น เช่น เห็นผู้อื่นเดือดร้อนแล้วสงสาร แต่ไม่เป็นทุกข์ไปกับความสงสาร (กรุณา) นั้น (คือ ต้องไม่เบียดเบียนตนเองให้เป็นทุกข์ไปด้วย) ฯลฯ :b46: :b39: :b46:

คิดว่าน่าจะเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดให้เห็นภาพของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการ “หลง” คิดในทางอกุศล ซึ่งคือมรรค ๘ ในหมวดของสัมมาสังกัปปะได้ชัดเจนขึ้นบ้างแล้วนะครับ :b1: :b39: :b39:

ขอยกพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ใช้วิธีคิดที่เป็นกุศล เพื่อลดและละการ “หลง” คิดในทางอกุศลอีกครั้ง ดังนี้ครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก ...”

(เทวธาวิตักกสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&pagebreak=0)

ไว้มาต่อรายละเอียดปลีกย่อยบางประการอีกเล็กน้อย ก่อนไปจบที่หัวข้อสุดท้าย คือ แนวทางการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อริยบุคคล ๔ ระดับ และสภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นในแต่ละขั้น ตามกำลังปัญญาที่พอจะอธิบายได้นะครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:

ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว
เราควรจะปฏิบัติอย่างไร ? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ


แบ่งเป็นสองช่วง
คือ เราเรียนรู้ธรรมชาติ ซึ่งได้แก่หลักปฏิจจสมุปบาท ช่วงหนึ่ง เมื่อเรียนรู้ธรรมชาติแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามมรรควิธีเพื่อเข้าถึงธรรมชาตินั้น อีกช่วงหนึ่ง

การอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท มุ่งให้เข้าใจกฎธรรมดา หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมชาติเป็นสำคัญ เพือให้มองเห็นสาเหตุ และจุดที่จะต้องแก้ไข
ส่วนรายละเอียดของการแก้ไข หรือ วิธีปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของปฏิจจสมุปบาทโดยตรง แต่เป็นเรื่องของมรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทา



http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 99#msg7499

ผู้ใดปฏิบัติจนเห็นปฏิจจสมุปบาท (การเกิด-ดับของทุกข์) ก็แปลว่าผู้นั้นเห็นธรรมะ คือเข้าถึงนิโรธ (นิพพาน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 16:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรควิธี, วิธีปฏิบัติ,ข้อปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็บอกไว้แล้วว่าปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน

พุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 39 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร