วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 08:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 135 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
ผู้รู้ คือจิต ผู้ถูกรู้คืออาการของจิต รูปร่างกายเบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไปไม่มีอะไรเป็นผู้รู้สักอย่างเดียวสิ่งทั้งหมดของร่างกายคือสิ่งถูกรู้ ส่วนนามธรรมทั้ง๔ มีเวทนา ความสุข ความทุกข์หรือเฉยๆ จะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนามีแต่ความเกิดและความดับ เวทนาก็คือผู้ถูกรู้ สัญญาความจำได้หมายรู้จำเรื่องอดีตจำเรื่องอนาคตจำเรื่องปัจจุบันจำได้ก็ตามจำไม่ได้ก็ตามมีแต่ความเกิดและความดับคือผู้ถูกรู้ สังขารความนึกคิดปรุงแต่ง คิดเรื่องอะไรก็ตามคิดเรื่องบุญเรียกว่าปุญญาภิสังขาร คิดเรื่องบาปเรียกว่าอปุญญาภิสังขารมีแต่ความเกิดและความดับ และคือผู้ถูกรู้ วิญญาณความรู้อะไรได้คือ เป็นความรู้ตามอายตนะเช๋นตาเห็นรูปเรียกว่าจักขุุวิญญาณความรู้ทางตา หูได้ยินเสียงเกิดความรู้ขึ้นเรียกว่าโสตะวิญญาณ ความรู้ทางหู จมูกได้กลิ่นเกิดความรู้ขึ้นเรียกฆานะวิญญาณ อื่นๆ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งถูกรู้หรือผู้ถูกรู้ สิ่งถูกรู้หรือผู้ถูกรู้ทั้งมวลล้วนเกิดๆดับๆทั้งนั้น ผู้รู้คือจิต ไม่เกิดไม่ดับ นักปฏิบัติธรรมร้อยทั้งร้อย จิตใจไปอยู้กับสิ่งถูกรู้หรือผู้ถูกรู้ทั้งนั้น จิตที่รู้เกิดรู้ดับเป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิดรู้ดับเป็น ทุกข์ จิตที่รู้ไม่เกิดไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิดไม่ดับเป็น นิโรธความดับทุกข์หรือนิพพานนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


จางบางลางเลือน เขียน:
ผู้รู้โดยแท้จริงไม่มี มีแต่ตัวรู้ เรียกว่าวิญญาณขันธ์
สิ่งที่ถูกรู้ ทุกชนิด รวมแล้วก็มีแค่ รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์

ตัวรู้ เรียกว่า จิต มโน วิญญาณ หรือ ใจ
สิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่า อารมณ์ของจิต

ส่วนผู้รู้ ก็คือ ความเห็นผิดเอาเองว่ามีตน เรียกส่วนสำคัญผิดนี้ว่า อัตตานุทิฏฐิ
หรือ อัตตวาทุปาทาน

บุคคลที่สำคัญว่ามีตนอยู่ นะส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวชีวิต
ส่วนหนึ่งส่วนใดของกายหรือจิต หรือส่วนใดของโลกธาตุ
บุคคลนั้น เป็นผู้มีทิฏฐิ ที่ยังไม่บริสุทธิ์ ถูกต้องตามธรรม


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2552 ณพัทสีมาวัดอรัญญิกาวาส อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อเวลา 09.50 น.
เหตุดลบันดาลใจที่ให้บวชเพราะความทุกข์บีบคั้นจิตใจ
และเห็นการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องที่น่ากลัวไม่น่ายินดีอย่างยิ่ง
ข้าพเจ้าได้ฉายาว่า ปะสันโน หลังจากบวชแล้ว ข้าพเจ้าได้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
กับข้อวัตรปฏิบัติต่างๆตามรอยครูบาอาจารย์โดยหวังเพื่อจะพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
และมีความปรารถนาจะต้องรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้าภายในชาตินี้ให้ได้
แม้ตัวตายก็ขอยอมเอาร่างกายชีวิตจิตใจเป็นเดิมพันไม่เสียดายอาลัยอาวรณ์กับสิ่งใดๆทั้งสิ้น

ข้อปฏิบัติคือฉันอาหารมื้อเดียวเป็นวัตร ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็นเป็นวัตร
เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาเป็นวัตรบทบริกรรมภาวนาครั้งแรกข้าพเจ้าใช้คำภาวนาคือพุทโธ
ตามรอยครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยพร่ำสอนมาแต่ใหนแต่ไรภาวนาเรื่อยไป
ทำให้จิตใจสงบบ้างไม่สงบบ้าง บางทีทำให้จิตใจฟุ้งซ่านจิตใจไปอยู่กับสิ่งภายนอกหมด
บางครั้งก็ทำให้ข้าพเจ้าหงุดหงิดรำคราญใจกับตนเองคิดว่าทางนี้ไม่น่าเป็นผลเสียแล้ว
น่าจะมีวิธีหรือทางอื่นที่จะทำให้จิตใจสงบเร็วกว่านี้และไวกว่านี้อย่างน้อยก็ตัดความฟุ้งซ่านภายในจิตใจก็ยังดี
ข้าพเจ้าคิดไม่ออกไม่รู้จะหาทางออกให้กับตนเองอย่างไรดี
จนกระทั่งมีวันหนึ่งข้าพเจ้าได้รู้จักท่าน พระอาจารย์สุธีร์ คุณธีโร
ท่านได้แนะนำให้ข้าพเจ้ารู้วิธีการปฏิบัติจิตภาวนาทางสายใหม่ก็คือมหาสติปัฏฐานสี่นั่นเอง
ที่ให้ผลเร็วกว่าและตรงกว่า
โดยท่านบอกว่าต้องปฏิบัติจิตด้วยความจริงใจมีความพียรทุกอิริยาบทใช้สติปัญญากำหนดรู้จิตให้ต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใดจะยืน,เดิน,นั่ง,นอน,เหลียวซ้ายแลขวา,การขบการฉัน,การถ่ายหนัก,
ถ่ายเบา,ก็ให้มีสติระลึกรู้อยู่กับผู้รู้ก็คือจิตนี่เอง การปฏิบัติทางจิตได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ท่านพระอาจารย์สุธีร์ท่านได้แนะนำให้รู้จักผู้รู้คือรู้ที่ไม่เกิดไม่ดับ
สิ่งถูกรู้คือสิ่งที่เกิด-ดับ แต่ท่านพระอาจารย์สุธีร์
ให้มีสติรู้อยู่กับผู้รู้คือรู้ที่ไม่เกิดไม่ดับ
ข้าพเจ้าเจริญสติรู้อยู่กับผู้รู้คือรู้ที่ไม่เกิดไม่ดับได้ประมาณสองอาทิตย์กว่าๆ
คืนวันที่ข้าพเจ้าได้ความสว่างกระจ่างแจ้งประจักรแก่จิตใจก็มาถึง
ในคืนวันที่ 14 พฤศจิกายน 2552 เวลาประมาณตีสองกว่าๆ
มีความรู้สึกว่าตัวเองมีผู้รู้คอยเป็นภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา
รู้สึกอึดอัดรำคราญจิตใจ ทันใดนั้น ข้าพเจ้าไม่ลังเลใจที่จะตัดสินใจเป็นครั้งสุดท้ายที่เด็ดเดี่ยว
อาจหาญเข้าทำการประหัตประหารกับตัวกิเลสอันมีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ความยึดมั่นถือมั่นในตน
โดยมีตัวมหาสติมหาปัญญาเข้าคลี่คลายสถานะการณ์ทะลุทะลวงอย่างเด็ดเดี่ยวอาจหาญ
เจาะเข้าไปที่อายตนะ๖และขันธ์๕ ได้ความว่า เหตุทุกอย่างเกิดขึ้นที่จิตดับลงที่จิต
เท่านั้นยังไม่พอตัวมหาสติ,มหาปัญญาไม่ไว้วางใจเข้าทะลุทะลวงสติปัฏฐาน๔
คือกาย,เวทนา,จิต,ธรรม, อย่างอาจหาญแกล้วกล้าไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆทั้งสิ้น
จนคลี่คลายสถานการณ์ทุกอย่างจึงสงบ
ฝ่ายกิเลสศิโรราบหั่นแหลกแตกกระจายหายซากไปจากจิตใจโดยสิ้นเชิงอ
วิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ได้สูญสลายหายสิ้นไปจากจิตใจไม่มีเหลือ
เรียกว่า กิเลสดับไปจากจิตใจแบบไม่มีเชื้อเหลือ
เพราะกิเลสไม่สามารถทนทานต่อธรรมมาวุธคืออาวุธอันทันสมัยได้แก่มหาสติ,มหาปัญญา
ซึ่งเป็นอาวุธที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้กับนักรบผู้กล้าตายในสมรภูมิรบ
เพื่อรบกับข้าศึกคือกิเลสและหมู่มาร กิเลสทั้งหลายเมื่อถูกทำลายด้วยตปะธรรมคือธรรมของพระพุทธเจ้า
การงานทางด้านจิตภาวนาเพื่อที่ถอดถอนกิเลสประเภทต่างๆได้เสร็จสิ้นลงแล้ว
เสร็จภารกิจของนักรบผู้กล้าที่ได้ชื่อได้นามว่า สากยะบุตรพุทธชิโนรสอย่างแท้จริง
ไม่มีการเสกสรรปั้นแต่งแต่อย่างใดแต่เป็นความจริงล้วนๆ
ผู้ที่สนใจต้องการปฏิบัติจิตให้ถึงความพ้นทุกข์สามารถปฏิบัติกันได้ด้วยกันทุกคน
ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะใดๆทั้งสิ้นเพราะกิเลสมีอยู่ที่จิตที่ใจด้วยกันทุกคนการปฏิบัติก็ปฏิบัติที่จิตที่ใจนั่นเอง
ขอให้มีความตั้งใจจริงกับธรรมของพระพุทธเจ้า
และจะเห็นพุทธะที่แท้จริงซึ่งพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า โยธัมมัง ปัสสะติ โสมัง ปัสสะติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
ได้ความสรุปว่าเหตุทุกอย่างกิดขึ้นที่จิตดับลงที่จิต
จิตไปยึดมั่นถือมั่นว่ากายเป็นเราเป็นของๆเรา ความเกิด,ความแก่,ความเจ็บ,ความตาย
เขาก็เป็นของเขามาแต่ไหนแต่ไร ทุกอย่างเข้าสู่สถานะการณ์ปรกติ
กายก็สักแต่ว่ากาย,เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา,จิตก็สักแต่ว่าจิต,ธรรมก็สักแต่ว่าธรรม
ทุกอย่างเป็นอยู่แล้วตามปรกติไม่มีใครเป็นเจ้าของไม่ขัดไม่แย้งกัน
ดังน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอนไม่ซึมซาบเข้าหากันฉันนั้น ไม่มีเราไม่มีเขา
สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มีในจิตในใจอีกต่อไป
ทุกอย่างได้ประจักรแจ้งแก่จิตแก่ใจข้าพเจ้าตอนนี้เอง อวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน
ได้สูญสลายหายซากไปจากจิตใจโดยสิ้นเชิง จบแล้ว พอแล้ว
เห็นความจริงชัดเจนแจ่มแจ้งกับจิตใจ พระพุทธเจ้าได้ปรากฏตรงนี้เอง
หมดความสงสัยเรื่องภพเรื่องชาติเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดโดยประการทั้งปวง
ทุกสิ่งทุกอย่างเห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน รู้สักแต่ว่ารู้ รู้แจ้งสักแต่ว่ารู้แจ้ง
ไม่มีได้ไม่มีเสีย ไม่มีที่มาและไม่มีที่ไป ได้ธรรมบทหนึ่งว่า
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพธัมมา อะนัตตา
และได้รวมลงสู่ไตรลักษณ์คือ อะนิจจัง,ทุกขัง,อะนัตตา
และจิตก็ได้กลายมาเป็นจิตดวงใหม่ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงไม่มีใครเป็นเจ้าของ
เพราะไม่มีอุปปาทานนั่นเอง
ข้าพเจ้าไม่อาจกลั้นปิติไว้ในจิตในใจได้
มันได้ทะลักไหลล้นเป็นสายธารน้ำตาให้กับความโง่เหง่าเต่าตุ่นของตนเองและสัตว์โลกทั้งหลาย
ที่พากันหลงเวียนเกิดเวียนตายหาที่สิ้นสุดยุติลงไม่ได้เกินที่จะพรรณนาอธิบายอย่างไม่อายต่อหน้าฟ้าดิน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเป็นหนึ่งเดียวที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
บุญคุณพระคุณของพระพุทธเจ้าเกินสุดที่จะพรรณนาเกินสุดที่จะเอื้อนเอ่ย
พระคุณของบิดามารดาหาที่สุดจะเปรียบเปรยและยากที่จะทดแทนพระคุณได้
และยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือได้
ทุกสิ่งทุกอย่างยืนยันด้วยจิตด้วยใจตนเองเป็น สันทิฏฐิโก
ผู้ปฏิบัติจิตภาวนาจะพึงรู้เองเห็นเองอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ปัจจัตตัง
รู้เฉพราะผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริงเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ปฏิบัติจิตแบบปลอมๆก็เจอแต่ของปลอมที่กิเลสมันเสกสรรให้บรรลุธรรม
ก็บรรลุธรรมแบบปลอมๆ นิพพานก็นิพพานแบบปลอมๆ
พ้นทุกข์ก็พ้นทุกข์แบบปลอมๆ
แล้วก็พากันอวดอ้างว่าเป็นนิพพานของจริง
เหมือนพวกมืดบอดด้วยปัญญาญาณเห็นกิเลสเป็นธรรม
เห็นธรรมเป็นกิเลส เห็นตะกั่วเป็นทองคำทั้งแท่ง
ส่วนผู้ที่ท่านแจ่มแจ้งรู้พระนิพพานด้วยใจแล้ว
ท่านได้แต่สงสารและเวทนาแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้
มันต้องขึ้นอยู่กับสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของแต่ละคนด้วย
ขอขอบพระคุณท่านพระอาจารย์สุธีร์ คุณธีโร
พระมหาบัณฑิตของข้าพเจ้าที่คอยชี้แนะแนวทาง
ให้กับนักรบผู้กล้าตายในสมรภูมิรบกับข้าศึกคือกิเลสและหมู่มาร
ได้ทำการประหัตประหารจอมกษัตริย์วัฏฏะจักร อวิชชา ตัณหา อุปปาทาน
ได้สำเร็จลงได้เกินสุดที่จะบรรยาย พระคุณบุญคุณของครูบาอาจารย์
ศิษย์ขอนอบน้อมด้วยจิตด้วยใจไว้หนือเกล้าด้วยชีวิตจิตใจ
ที่ยากที่จะพรรณนาจนหาที่สุดไม่ได้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
ลาก่อนและลาขาดภพชาติภพภูมิ
อันเป็นสถานที่เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย,ของสัตว์โลกผู้มืดบอดทั้งหลาย
ขีณาชาติ ความเกิดได้สิ้นสุดยุติลงในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนี้นี่เอง
อะกุปปา เม วิมุตติ ความหลุดพ้นนี้ไม่มีกำเริ่บอีกแล้วตลอดอนันตกาล อะกาลิโก

พระทองดี ปะสันโน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
พวกเราหลายคนคงได้อ่านหนังสือของคุณลุงหวีด บัวเผื่อน แล้ว และอาจทราบมานานแล้วถึงคุณธรรมของท่าน ผู้เป็นวิสุทธิบุคคล ในเพศฆราวาส และเป็นหนึ่งในพยานบุคคล ที่พิสูจน์ว่า ฆราวาสที่สิ้นกิเลสแล้ว แม้ไม่ได้บวช ก็สามารถทรงสังขารไว้ได้เกิน 7 วัน

เมื่อวานหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ นำเรื่องราวบางส่วนจากหนังสือ "จิตที่พ้นจากทุกข์" ของคุณลุงหวีดไปลงเผยแพร่ด้วย ขออนุโมทนากับทุกคนที่มีส่วนร่วมในการพิมพ์หนังสือนี้เผยแพร่ครับ



หวีด บัวเผื่อน...จิตที่พ้นทุกข์
• 26 กันยายน 2553 เวลา 18:30 น. |
• เปิดอ่าน 112 |
• ความคิดเห็น 1
หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อ ว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”.....
โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
ตอนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แข็งแรงอยู่ หลังฉันแล้วท่านมักจะเทศน์อบรมฆราวาสและตอบปัญหาธรรมที่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย มีจดหมายไปกราบเรียนถาม เช้าวันที่ 4 พ.ย. 2546 ท่านตอบจดหมายหน้าเดียว ซึ่งถามมาเพียงข้อเดียวว่า
“กระผมได้ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว กระผมจิตว่างอยู่หลายปี ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งหลายจนจิตว่างไปหมด เหลือแต่ผู้รู้ แต่ก็ยังมาติดผู้รู้อีก เมื่อพิจารณาผู้รู้อย่างจริงจัง ก็เหมือนมีสปริงดีดผู้รู้นั้นกระเด็นหายไปทันที เหลือแต่ผู้รู้ที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด ในขณะนั้นสมมติทั้งสามแดนโลกธาตุปรากฏเกิดขึ้นที่ใจ อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย กระผมขอกราบเรียนถามหลวงตาว่า ที่กระผมเข้าใจว่าธาตุผู้รู้นี้ไม่ดับไม่สูญ เป็นรู้ที่อยู่ในรู้ตลอดชั่วนิรันดรใช่ไหมครับ แม้สังขารนี้จะดับไปแล้วก็ตาม ขอความกรุณาหลวงตาช่วยตอบกระผมด้วยครับ”
ผู้อ่านจดหมายกราบเรียนท่านว่า ผู้ถามนามว่า นายหวีด บัวเผื่อน มา จาก อ.เมือง จ.จันทบุรี
หลวงตามหาบัวตอบว่า “ถ้าธรรมดาแล้วปัญหาเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็หมดปัญหาไปในตัว ไม่จำเป็นต้องถาม แต่ที่ถามนั้นเขาก็มีความมุ่งหมายอีกอย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นด้วย สำหรับคนผู้ถามปัญหาเราก็เชื่อเขาแล้วว่าเขาไม่มีปัญหา...อันนี้เราให้ สนฺทิฏฺฐิโก เป็นสมบัติของคุณเอง รับรองคุณเองก็แล้วกัน”
บางถ้อยคำในการตอบคำถามครั้งนั้นมี ว่า “ที่เขาเล่ามานี้ไม่มีที่ต้องติ หมดปัญหาไป”
“นี่คือผลแห่งการปฏิบัติ นิยมไหมว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เพศหญิง เพศชาย กิเลสกับธรรมไม่มีเพศ จิตผูกได้ด้วยกันทั้งนั้น แก้ได้ด้วยกัน นี่ผลแห่งการแก้ การบำเพ็ญ จะเป็นฆราวาสก็ตามก็เป็นอย่างให้เห็นอยู่นี้แหละ นี่เป็นอยู่ที่จิต ผู้ปฏิบัติต่อจิตเป็นอย่างนี้ และผู้ไม่เป็นอย่างงั้นก็ค่อยเป็นมาโดยลำดับ ขอให้ได้รับการบำรุงรักษาเถอะ จะค่อยเป็นค่อยไปของมันอยู่นั้นละ” (อ่านเทศน์อบรมฆราวาส วันที่ 4 พ.ย. 2546 เรื่องพื้นฐานแห่งความสำเร็จในธรรมที่ http://www.luangta.com หรือ ที่http://www.luangta.c...D=2432&CatID=0)
หลายปีต่อมา หวีด บัวเผื่อน หรือที่ผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลุงหวีดได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติขึ้นเล่มหนึ่งใช้ชื่อ ว่า “จิตที่พ้นจากทุกข์”
การปฏิบัติของคุณลุงหวีดเริ่มต้นจากการมีสติสัมปชัญญะ

ท่านว่าถึงจะออกมาจากการภาวนาแล้วก็ “ต้องมีสติสัมปชัญญะคุ้มครองจิตใจ ของตนอยู่ตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ให้ปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อเผลอสติ (การลืมตัว) ก็พยายามทำความรู้สึกหรือรู้ตัวทั่วพร้อมกันใหม่ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลาโดยมีความเพียรเป็นหลักไม่ท้อถอยอ่อนแอ ไม่ไหลไปตามอารมณ์...”
แรกๆ ก็ทำไม่ได้แต่อาศัยความมุ่งมั่นและความพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น ให้จงได้ จึงมีมานะพยายามที่จะเอาชนะใจของตนเอง
ด้วยวิธีนี้ “จึงสามารถครองสติไว้ได้ยาวนานขึ้นจากนาที เป็นสองสามนาที เป็นสิบนาที เป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง เป็นวันโดยใช้เวลาไม่นานปีนัก”
ที่ทำได้เพราะท่านมุ่งมั่นโดยตั้ง ปฏิญาณไว้กับตนเองว่า ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะต้องมีสติอยู่ด้วย แต่ถ้าขาดจากสติสัมปชัญญะเสียแล้ว ก็ขออย่าได้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกเลย เพราะถ้าเราเอาชนะตนเองไม่ได้แล้วจะเอาชนะสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร...คนเราถ้าอยู่อย่างขาดสติสัมปชัญญะแล้วก็เหมือนกับเรือที่ขาด หางเสือ
ท่านคอยเตือนตัวเอง คอยควบคุมให้มีสติคุ้มครองจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน
“ให้จิตเป็นปกติ คือ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกเป็นธาตุแห่งอารมณ์ดีหรือชั่วทั้งหลาย พยายามไม่พูดในจิต ไม่คิดในใจ เมื่อตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น เช่น เห็นป้ายโฆษณาก็ไม่อ่านในใจ มีสติอยู่กับสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา วางเฉยอยู่อย่างเบาๆ ไม่เดือดร้อนในสิ่งที่มากระทบใดๆ ทั้งสิ้น
วันหนึ่งๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา หากเผลอตัวไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ เมื่อรู้ตัวก็หยุดคิด หยุดปรุงแต่ง หยุดแสวงหา ให้จิตใจอยู่อย่างสบาย ไม่กังวล หยุดโกรธ หยุดโลภ หยุดปรารถนา”
ผลของการปฏิบัติเช่นว่า ในที่สุด จิตของก็เป็นสมาธิขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์
กล่าวคือ ภายในจิตใจไม่มีสังขารความคิดหรืออารมณ์ดีชั่วใดๆ มาก่อกวนเลย...บางครั้งจะคิดเรื่องการงานบ้าง แต่จิตกลับนิ่งเฉยเสีย ไม่ออกทำงานเลย ติดว่างอยู่อย่างนั้น ถึงกับต้องบังคับให้จิตออกมาคิดเรื่องอื่นๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นจิตจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา...”
ท่านว่าตอนนั้นนอนใจคิดว่าที่เป็น อยู่ถูกต้องแล้ว ไม่รู้ว่า นี่คือการติดสมาธิ ผลคือ ติดความว่างอยู่ถึง 2 ปีเต็มๆ
แม้จะส่งผลเช่นนั้น แต่คุณลุงก็ยืนยันว่า “อย่างไรก็ดี การปฏิบัติให้จิตเป็นสมาธินั้นเป็นทางเดินเบื้องต้นที่ถูกต้อง ท่านให้ชี่อว่า สมถกรรมฐาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติ”
ท่านว่า การปฏิบัติต้องมีความเพียรเป็นหลัก ทุ่มเทกันด้วยชีวิตจิตใจไม่ท้อถอย ปฏิบัติดังนี้แล้ว จิตจะเกิดความชุ่มชื้นสงบเย็น ความภาคภูมิใจและความปีติสุขอย่างบอกไม่ถูก
จากสมถะก็เข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน คือ การพิจารณากายที่ยาววาหนาคืบนี้ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง
ใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่าย เพราะ “จิตที่ติดอยู่สมาธิจะเพลินอยู่ในสมาธิ ยากจะออกมาพิจารณาจึงต้องบังคับจิตให้ออกมาทำงานทางด้านปัญญาบ้าง โดยต้องฝืนและบังคับซึ่งก็ไม่เป็นผลนักในตอนแรก แต่ก็จำเป็นต้องออกมาพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้ว...”
ท่านแก้โดย ลองเอากรรไกรตัดผมตัวเองออกมาพิจารณาดู ตัดเล็บที่ปลายนิ้วทั้งสิบออกมาวางไว้กับพื้นแล้วพิจารณาดู
“พิจารณาวนเวียนไปวนเวียนมา ก็ไม่เห็นว่ามันจะเป็นเราไปได้...หากเราลอกหนังที่ปิดบังอยู่นี้ออกมาเพื่อ เปิดเผยความจริง เหมือนเราลอกหนังเป็ดหนังไก่หรือหนังกบก็คงจะเห็นเนื้อแดงๆ เลือดไหลซึม ไม่แตกต่างอะไรกับพวกซากศพ ผีเปรต...”
ความรู้นี้แจกแจงลงไปเป็นธาตุ 4 ค่อยๆ เห็นความจริงขึ้นว่า “...กาย คือกาย จิตคือจิต ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็นความไม่รู้ของจิตเองที่ไม่รู้ความจริง แล้วก็ไปยึดถือร่างกายเป็นเรา...”
ท่านพิจารณาจนนับครั้งไม่ถ้วน “จนบางครั้งจิตเป็นคนที่เดินไปเดินมานี้เป็นกระดูกที่ไม่มีเนื้อหนังหุ้ม อยู่ เห็นเพียงกระดูกเปล่าๆ ที่เดินไปเดินมาจึงสรุปได้ว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกันไม่ปะปนกัน กายเป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวของจิตเท่านั้น จิตก็เริ่มยอมรับตามความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ...”
ท่านว่า เมื่อถึงการพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ ไปติดอยู่ที่การพิจารณาเวทนาอยู่นานมาก แม้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสไว้ว่า เวทนาก็ไม่ใช่เรา แต่พิจารณาอย่างไร จิตก็ไม่ยอมรับ เพราะรู้สึกอยู่กับตัวว่า ความปวดเมื่อยจากการทำสมาธินั้น “เราเป็นผู้ปวดเมื่อยทุกครั้งไป” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังคิดว่า “เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เป็นเนื้อเดียวกันหมด”
บัดที่จะทะลุขึ้นนี้ไปได้จู่ๆ มันก็เกิดขึ้นดังนี้
“วันหนึ่งขณะที่จิตกำลังสงสัยอยู่ พิจารณาใคร่ครวญวกไปเวียนมาอยู่หลายรอบ เพื่อหาความจริงว่าเวทนาเป็นเราหรือไม่ ขณะนั้นเอง คล้ายกับเกิดนิมิตขึ้นในจิต เห็นเวทนาได้ลอยออกจากจิตของข้าพเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เวทนานี้ขาดออกจากจิตโดยสิ้นเชิง รู้สึกชัดเจนมาก เหมือนเราเอามีดไปฟันต้นกล้วยขาดกระเด็นออกจากกัน เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา เวทนานั้นก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นเวทนา เพราะเวทนา ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ เวทนาจึงเป็นเพียงขันธ์ๆ หนึ่งปรากฏขึ้นมา เป็นคนละส่วนกันกับธาตุรู้หรือจิต...”
คุณลุงจึงเปรียบเทียบไว้ว่า ธาตุรู้หรือจิตเป็น กระจก เวลาเวทนาเกิดขึ้น กระจกจะไปเจ็บได้อย่างไร เพราะธาตุรู้หรือจิตเป็นเพียงผู้เห็น แต่ไม่ใช่ผู้เจ็บ กระจกกับเวทนามันคนละอัน
ท่านว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เจ็บ จิตไม่ใช่ผู้เจ็บ ความเจ็บมันมาจากสัญญาจำได้ ถ้าเราเป็นกระจก หากเวทนา เหมือนเม็ดพริกขี้หนู เม็ดพริกขี้หนูไม่รู้เลยว่าตัวเองเผ็ด เพราะไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจ และไม่มีเจตนาที่จะทำให้ใครเผ็ด ความเจ็บความปวด ก็ไม่มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกัน จึงไม่สามารถทำให้ใครเจ็บปวดได้
“หากไม่เข้าใจความจริงนี้ความเจ็บความปวดนั้นก็จะเป็นเรา คือเราเจ็บ โดยไม่สามารถแยกจากกันได้ แต่หากเข้าใจความจริงนี้แล้ว เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ก็เป็นความจริงอันหนึ่ง อาการเจ็บก็เป็นเพียงอาการและความจริงอันหนึ่ง และธาตุรู้หรือจิตก็เป็นผู้รู้ซึ่งเป็นความจริงอีกอันหนึ่งเช่นกัน ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าความเจ็บความปวดเราเป็นของเราแต่อย่างใด”
สัญญา ก็ไม่แตกต่างจากเวทนา
สัญญาก็เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่มีชีวิตไม่มีจิตใจเหมือนกัน เป็นของตาย คือ เกิดๆ ดับๆ แล้วจะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรกัน สิ่งที่ติดตาติดใจ ก็คงจำได้นานหน่อยถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ติดใจก็ดับเร็วลืมเร็ว
สัญญาจึงไม่ใช่เราเหมือนกับเวทนานั่นเอง
สังขาร ความคิดความปรุงแต่ง ก็เป็นอาการและความจริงของตนอีกอันหนึ่งเช่นกัน คือคิดแล้วดับไป ปรุงแล้วดับไป
ปัญหาของคุณลุงในข้อนี้ก็คงเหมือน กับนักปฏิบัติทั่วไปที่เข้าวัดแล้วบางทีก็อดตำหนิติเตียนครูบาอาจารย์อยู่ใน ใจ แม้จะห้ามไม่ให้คิดแล้วบางทียิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ เมื่อนำปัญหานี้ไปปรึกษาครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้แก้ไขปัญหาด้วยประโยคเดียว
ทันทีที่ครูบาอาจารย์ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอกโยม เพียงแต่โยมอย่าไปคิดว่าสังขารความคิดเป็นโยมก็แล้วกัน” คุณลุงว่า “ความรู้สึกของข้าพเจ้าในขณะนั้นเหมือนยกภูเขาออกจากอกโล่งไปหมด เข้าใจได้ในทันทีว่า สังขารความคิด มีอาการและความจริงเช่นนี้ บังคับไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งถูกรู้ เป็นคนละอันกับจิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นไตรลักษณ์อยู่อย่างนั้น”
เรื่องของวิญญาณ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้รับการสัมผัส ใจสัมผัสอารมณ์ เมื่อมีการกระทบกันทางอายตนะทั้ง 6 ดังกล่าวข้างต้น อาการของวิญญาณก็จะรับทราบการกระทบนั้นเป็นครั้งๆ เป็นเรื่องๆ ไป กระทบครั้งหนึ่งรับทราบครั้งหนึ่งแล้วก็ดับไป รับทราบแล้วดับ รับทราบแล้วดับ ไม่ใช่ธาตุรู้หรือจิต เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เช่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า “ขันธ์ 5 ทั้งหมดมิใช่เรามิใช่ของเรา เป็นเพียงอาการของจิต มีธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ขันธ์ 5 เป็นเพียงสิ่งถูกรู้ และเราเป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้เท่านั้น”
เมื่อเข้าใจว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวเราของเรา ปัญหาสำคัญตามมาคือ แล้วเราคืออะไรล่ะ?
คุณลุงว่าค้นอยู่นาน ที่สุดเมื่อถามครูบาอาจารย์ก็ได้คำตอบว่า “เราคือความรู้สึกหรือธาตุรู้”
“ธาตุรู้นี้ไม่ใช่ความรู้ทั่วไปที่ เราเรียนมาจากหนังสือไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สัมผัสด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น และสัมผัสด้วยกาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งถูกรู้ทั้งหมด จึงไม่ใช่ธาตุรู้ ธาตุรู้นี้มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว เท่านั้นในสามแดนโลกธาตุนี้ สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดไม่ใช่ธาตุรู้ แม้แต่อารมณ์ที่สัมผัสได้ด้วยใจของเรานี้ ก็ยังไม่ใช่ธาตุรู้ แต่เป็นเพียงสิ่งถูกรู้เท่านั้น นี่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราจำ เป็นจะต้องพิจารณาให้เห็นธาตุรู้นี้ให้ได้ เพราะธาตุรู้นี้แหละคือเรา ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร หรือวิญญาณ ที่ก่อนหน้านี้เห็นว่าเป็นเรา
ธาตุรู้หรือจิตนี้ เราเกิดมานับอสงไขยไม่ถ้วน แต่กลับไม่เคยเห็นธาตุรู้ที่เป็นธรรมธาตุนี้มาก่อนเลย ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวไว้ว่า “นกไม่เห็นฟ้า ปลาไม่เห็นน้ำ หนอนไม่เห็นอาจม”
“จากนั้นมาข้าพเจ้าจึงพยายามอยู่กับ ธาตุรู้ ถึงแม้ในตอนแรกจะขาดๆ หายๆ อยู่ได้เพียงหนึ่งนาทีสองนาทีก็หายไป เมื่อได้สติก็พยายามดึงกลับมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาหลับ ในที่สุดด้วยความเพียรอย่างยิ่งของข้าพเจ้าทำให้สามารถอยู่กับผู้รู้ได้มาก ขึ้นเรื่อยๆ จนอยู่ได้ครบ 100% และสามารถอยู่กับธาตุรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
ท่านว่า ติดอยู่กับผู้รู้เป็นเวลาสองปีเต็มๆ ในที่สุดพระอาจารย์ของคุณลุงก็มาเทศน์โปรดให้ปล่อยธาตุรู้
“โยมจะจับไว้ทำไมกันปล่อยไปเสียนะ โยม ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักเท่ารู้อีกแล้ว โยมจะจับไว้ทำไมกัน”
พอว่า “ผมปล่อยไม่เป็นหรอกครับอาจารย์ ปล่อยไม่ได้ ไม่รู้จะปล่อยอย่างไร” พระอาจารย์ก็หยิบหนังสือขึ้น แล้วก็ปล่อยลงมา “ปล่อยอย่างนี้แหละโยม ปล่อยได้ไหม”
แม้ครูบาอาจารย์จะช่วยโปรดหลายหนมา ที่บ้านถึง 7 ครั้ง ไปกราบที่สำนัก 3-4 หนก็ไม่ได้ผล เพราะปรารภกับตัวเองว่า “ธาตุรู้นี้เป็นชีวิตจิตใจแล้วเราจะปล่อยวางได้อย่างไร”
ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2536 ขณะที่คุณลุงเตรียมตัวออกจากสำนักพระอาจารย์กลับบ้านในเวลา 4 โมงเย็น โดย “คิดอย่างน้อยเนื้อต่ำใจว่าชาตินี้คงไม่มีวาสนาที่จะสามารถปล่อยรู้ได้ ทันใดนั้นอาจารย์ได้กล่าวขึ้นว่า “โยม เวลามีสิ่งกระทบโยมก็ปล่อยรู้แล้วมาจับสิ่งที่มากระทบ แต่ในขณะที่ไม่มีสิ่งกระทบ โยมก็มาอยู่กับธาตุรู้อีก เอาอย่างนี้ได้มั้ยโยม เมื่อมีสิ่งกระทบ โยมก็ปล่อยทั้งสองอย่างไปเลย เวลานี้โยมเปรียบเหมือนหนอนคืบ เมื่อมาจับที่หัวก็ปล่อยหาง เมื่อจับหางก็ปล่อยหัว ให้โยมปล่อยทั้งสองอย่างไปเลยได้มั้ย”
“เท่านั้นเอง ข้าพเจ้าถึงกับตะลึง สะดุ้งขึ้นในใจและขณะเดียวกันนั้น ทั้งธาตุรู้และสิ่งถูกรู้เหมือนมีพลังหนึ่งมาสะบัดอย่างรุนแรงธาตุรู้ และสิ่งถูกรู้นั้นกระเด็นออกไปทันที และเกิดธาตุรู้อีกตัวหนึ่งซึ่งเป็นรู้ภายใน คือตัวที่มองธาตุรู้ตัวแรกและสิ่งถูกรู้ที่กระเด็นออกไป ปรากฏเป็นรู้ปัจจุบันขึ้นมาทันที เป็นธาตุรู้ที่ไม่ต้องประคองไม่ต้องจับ ไม่ต้องกำหนด
“ธาตุรู้นี้ไม่มีหาย ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ธาตุรู้ตัวใหม่นี้เป็นอิสรเสรี โดยที่ไม่มีเราเป็นเจ้าของเหมือนแต่ก่อน เป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นปัจจุบันธรรม เป็นกลางๆ ไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย ไม่กินเนื้อที่ ปราศจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งสิ้น ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนมาก สมมติที่ฝังจมอยู่ในจิต คือธาตุรู้ตัวแรกนั้นดับไป ภพชาติทั้งหลายที่ติดแน่นอยู่ในจิตนานแสนนานได้ดับลงพร้อมกันในขณะนั้น อวิชชาดับไปโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งประกาศชัยชนะเหนือกิเลสทั้งหลาย อย่างขาวสะอาด ในสามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นกลับตัวเป็นธรรมพร้อมกันหมดทั้งภายในและภายนอก
“ความเป็นกลาง ความสะอาด ความบริสุทธิ์นั้น ก็หมายถึงจิตดวงนี้เอง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือ จิตดวงนี้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ซึ่งก็คือ การเห็นจิตที่บริสุทธิ์ ณ ปัจจุบันนั่นเอง
“จิตที่บริสุทธิ์จึงเป็นจิตที่อยู่ นอกเหตุเหนือผล เหนือสมมติ เหนือบัญญัติ เหนือเกิด เรียกว่า เป็นวิมุตติ หมดภาระ หมดสิ้นการงาน หมดคำพูด จึงหยุดแล้วปล่อยคำว่าหยุดลงเสียด้วย สมกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ‘ไม่มีธรรมใดที่ไม่เป็นโมฆะ’ นั่นหมายความว่า สมมติทั้งหลายที่เคยติดแน่นในจิตเมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสมมตินั้นแล้ว สมมติก็เป็นโมฆะหรือหมดความหมายไป”
คุณลุงหวีด บัวเผื่อน เพิ่งละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีพิธีประชุมเพลิง ณ วัดเขากระแจะ อ.เมือง จ.จันทบุรี ทิ้ง “จิตที่พ้นจากทุกข์” ไว้เป็นหลักไมล์และป้ายบอกทางให้แก่ผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์ไว้ข้างหลังได้ ศึกษา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
การที่เราจะรู้ว่าเป็นภาวนามยปัญญาจริงหรือไม่ต้องสังเกตดูสติปัญญาที่จิตที่เรากำหนดรู้ เบื้องต้นนักปฏิบัติธรรมตัองฝึกฝืนในการกำหนดสติรู้สภาวะธรรมว่าอะไรคือรูปอะไรคือนามอะไรคือจิตจนกระทั่งสติปัญญาที่เราเพียรพยายามกำหนดสติรู้อยู่ในปัจจุบันจิตที่รู้ในปัจจุบันธรรมที่รู้ไม่เลือกไม่นิยมว่าจะเป็นอิริยาบทใดไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใหนยืนก็มีสติรู้เดินก็มีสติรู้นั่งก็มีสติรู้นอนก็มีสติรู้ตื่นขึ้นมาจากที่นอนก็มีสติรู้เข้าห้องน้ำแปรงฟันทำภาระกิจต่างๆก็มีสติรู้เหลียวซ้ายแลขวาก็มีสติรู้เหยีดแขนคู้แขนก็มีสติรู้พูดง่ายๆก็คือมีสติรู้ทุกๆอิริยาบทนั่นเองจนกระทั่งสติที่กำหนดรู้จะเป็นสติปัญญาอัตโนมัติหรือเรียกว่ามหาสติมหาปัญญาเราจะมีสติรู้ในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมทุกขณะตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับนี่เรียกว่าภาวนามยปัญญาลองพิจารณาดูว่าตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับเรามีสติรู้ตัวตลอดสายหรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
ธรรมะในสัญญาความจำได้หมายรู้ต่อให้เรียนจนจบพระไตรปิฎกหมดหรือจบป.ธ.๙ สักร้อยคนพันคนก็ไม่ทำให้ใครพ้นจากกองทุกข์ได้สักรายเดียวนอกจากปฏิบัติทางด้านจิตภาวนาเท่านั้น เรียนมามากมาน้อยก็แค่รู้จำไม่ผิดอะไรกับนกแก้วนกขุนทอง ปฏิบัติจิตภาวนาเท่านั้นที่รู้จริงและพ้นจากกองทุกข์ได้ด้วยไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารตลอดกาลนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
การแก้ทุกข์มันต้องแก้ที่การปฏิบัติจิตทุกข์ทั้งหลายมารวมอยู่ที่จิตที่ใจร่างกายธาตุขันธ์ที่ว่ามันเป็นทุกข์จริงๆแล้วร่างกายธาตุขันธ์มันไม่รู้เรื่องหรอกดูคนที่ตายสิมีทุกข์ไหมเอาไปนอนหรือไปไว้ที่ใหนเขาก็ไม่ว่าเพราะไม่มีจิตใจที่จะรับรู้รับทราบความสุขความทุกข์ต่างๆสิ่งที่จะแก้ไขก็คือแก้ที่ตัวจิตดวงรู้ๆนี่เองเพราะความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราของเขามันอยู่ที่จิตดวงรู้ๆนี่เอง
อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
ขันธ์๕และธาตุ๔เขาเป็นธรรมชาติของเขามาตั้งแต่กัปป์ใหนกัลป์ใดไม่มีใครทราบในธรรมนิยามพระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลายเราตถาคตจะอุบัติขึ้นก็ตามไม่อุบัติขึ้นก็ตามสังขารทั้งหลายไม่เที่ยงสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตัวตนธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตนพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านรู้เห็นตามความเป็นจริงท่านปล่อยวางตามความเป็นจริง(คำว่าปล่อยวางในที่นี้หมายถึงท่านปล่อยวางที่จิตที่รู้ๆนี่เอง)ขันธ์๕ธาตุ๔ถ้าจิตยังมีอุปปาทานก็เป็นเครื่องมือของกิเลสเพราะกิเลสยึดมั่นถือมั่นว่าธาตุ๔ขันธ์๕เป็นเราเป็นของๆเราแต่ถ้าชำระจิตใจหมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทำลายอวิชชาตัณหาอุปปาทานหมดไปจากจิตใจแล้วธาตุ๔ขันธ์๕ก็เป็นขันธ์ล้วนๆไม่มีอุปปาทาในจิตในใจจิตก็เป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆอยู่ด้วยกันและไม่ขัดแย้งกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 09:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
นักปฏิบัติธรรมที่รู้แจ้งด้วยจิตใจเกี่ยวกับสุญญตามีน้อยเท่ากับเขาโค ส่วนนักปฏิบัติธรรมที่รู้ตามสัญญาความจำได้หมายรู้มีมากเท่ากับขนโค ธรรมะของจำไม่ทำให้พ้นทุกข์หรอกต่อเรียนจนจบพระไตรปิฎกมามากมายก็ไม่ทำให้จิตใจพ้นจากกองทุกข์ไปได้หรอกท่านนอกจากจะทำให้เกิดทิฏฐิมานะมากขึ้นไปอีกตั้งใจปฏิบัติให้รู้เห็นความจริงว่าสุญญตามันเป็นยังไงแล้วจะสงสัยเอง สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระโมฆราชว่าสุญญะโต โลกัง อะเวกขัสสะ โมฆะราชะสะทาสะโต ดูกร โมฆราชเธอจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อพิจารณาโลกนี้เป็นของว่างเปล่าพยามัจจุราชจะมองไม่เห็นเธอ โลกนี้มันอยู่ที่ใหน?ล่ะโลกนี้มันก็อยู่ที่จิตที่ใจที่รู้ๆนี่เอง พระนิพพานอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ใจ เห็นไหมเล่า ? ไม่มีว่างไม่มีเปล่า อยู่ทั้งนั้น
จะมีอะไรเป็นเรา ที่ไหนกัน ? ทุกสิ่งนั้นดับไป เหลือใจเอย
ชีวิตนี้ น้อยๆและสั้นๆ อย่าพากันปล่อยใจ เลยท่านเอ๋ย
มีสติรู้อยู่ที่ใจ ให้คุ้นเคย ต้องได้เชยชม พระนิพพานอยู่ที่ใจ
เป็นการอยู่กับผู้รู้ ละกิเลส จะมีเพศชั้นวรรณะ กันที่ไหน ?
ทุกขณะที่รู้ อยู่กับใจ จงหมั่นใช้ปัญญา รู้ของจริง
รู้ของจริงทิ้งของเท็จ ได้เด็ดเดี่ยว ไม่เกาะเกี่ยวแม้ความว่าง สว่างยิ่ง
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้ใจจริง ยิ่งรู้ยิ่งหลุดพ้น ไม่ต้องเบิกบาน
ความร้อนร้นหม่นไหม้ ไกลใจหมด พระนิพพานปรากฏ ก็ไม่ยึดเป็นแก่นสาร
มีสติรู้ให้ได้ ทุกอาการ จะพบพระนิพพานจริงๆ ที่ใจเอย !
พระนิพพาน
พระนิพพาน พ้นจากความมีและไม่มีให้คนเห็น
พระนิพพาน พ้นจากความเป็นและไม่เป็นเช่นสังขาร
พระนิพพาน พ้นจากความหมายและไม่หมายให้วิจารณ์
พระนิพพาน ไม่เกิด-ไม่ดับ คือจิตหรือรู้ล้วนๆที่บริสุทธิ์เอย
สุญญะโตโลกังอะเวกขัสสะ โมฆะราชะสะทาสะโต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็คำเขาว่า จะเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาคำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า หรือจะเป็นสาวกของเขา

อ่านๆ ไป ค่อยๆ ลากออกจากธรรมวินัยทีละนิด และเริ่มต่อต้านไม่ให้คนเชื่อพระไตรปิฏก สุดท้ายก็ลากลงสมาธิ ก็มีอยู่แค่นี้ .. เอาอากิญญาจนฯ มาเป็นสุญญตา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 10:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
จึงวิ่งหาโน่นหานี่
เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ

คนที่หลงจึงต้องแสวงหา
ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
จะหาไปให้ลำบากทำไม
อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง

ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว


http://www.84000.org/supatipanno/index.html


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 11:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1 วิเวกธรรม

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิเวกธรรมแก่เมตตคูมาณพดังต่อไปนี้
อุปธิกิเลสมีประเภท 10 ประการ คือ 1 ตัณหา 2 ทิฏฐิ 3 กิเลส 4 กรรม 5 ทุจริตความประพฤตชั่วด้วย กาย วาจา และใจ 6 อาหาร 7 ปฏิฆะ 8 อุปาทินนกะ ธาตุสี่ 9 อายตนะหก 10 วิญญาณกายหก ทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ย่อมมีอุปธิกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นนิพพาน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลมารู้ทั่วถึง รู้แจ้ประจักษ์ชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สังขารที่หลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือมารู้ทั่วถึงว่า ยํ กิญจิ สมุทยธมมํ สพพนตํ นิโรธธมมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วเป็นผู้ตามเห็นซึ่งชาติว่าเป็นแดนเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ และมาเห็นว่าอุปธิเป็นแดนเกิดแห่งชาติทุกข์เป็นต้นแล้ว ก็ไม่พึงทำอุปธิมีตัณหาเป็นต้น ให้เจริญขึ้นในสันดานเลย

เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องข้ามตัณหา จึงตรัสพระคาถาว่า ยํ กิญจิ สญชานาสิ อุทธํ อโธ ติโยญจาปิ มชเฌ เอเตสุ นนทิญจ ปนุชชวิญญาณํ ภเว น ติฏฐ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านจงรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง สถานกลางแล้วจงบรรเทาเสีย จะละเสียซึ่งความเพลิดเพลินและความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น วิญญาณของท่านก็จะไม่ตั้งอยู่ในภพดังนี้

คำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางนั้น ทรงแสดงไว้ 6 นัย คือนัยที่ 1 อนาคตเป็นเบื้องบน อดีตเป็นเบื้องต่ำ ปัจจุบันเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 2 เหล่าธรรมที่เป็นกุศล เป็นเบื้องบน เหล่าธรรมที่เป็นอกุศล เป็นเบื้องต่ำ เหล่าธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 3 เทวโลกเป็นเบื้องบน อบายโลก เป็นเบื้องต่ำ มนุสสโลกเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 4 สุขเวทนา เป็นเบื้องบน ทุกขเวทนา เป็นเบื้องต่ำ อุเบกขาเวทนาเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 5 อรูปธาตุเป็นเบื้องบน กามธาตุเป็นเบื้องต่ำ รูปธาตุเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 6 กำหนดแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องบน กำหนดแต่ปลายผมลงไปเป็นเบื้องต่ำ ส่วนท่ามกลางเป็นเบื้องขวางสถานกลาง เมื่อท่านมาสำคัญหมายรู้เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ทั้ง 6 นัยนี้แล้ว แม้อย่างใดอย่างหนึ่งพึงบรรเทาเสียซึ่งนันทิ ความยินดี เพลิดเพลิน และอภินิเวส ความถือมั่นด้วยตัณหา และทิฏฐิในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง เสียให้สิ้นทุกประการ แล้ววิญญาณของท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพและปุณภพอีกเลย เมื่อบุคคลมารู้ชัดด้วยญาณจักษุในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ไม่ให้ตัณหาซ่านไปในภพน้อย ภพใหญ่ มีญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ 4 เป็นผู้ไม่มีกังวล คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และทุจจริตต่างๆ ละกังวลทั้งปวงเสียแล้ว กามภเว อสตตํ ก็เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยวพัวพันในวัตถุกาม และกิเลสกาม ในกามภพและปุณภพอีกเลย ท่านนั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะ ห้วงลึกที่กดสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสารฯ โอฆะนั้น 4 ประการคือ 1 กามโอฆะ 2 ภวโอฆะ 3 ทิฏฐิโอฆะ 4อวิชชาโอฆะ ติณโณ จ ปรํ ท่านนั้นย่อมข้ามห้วงทั้ง 4 ไปฟากโน้น คือ พระนิพพานธรรม อขีเณ เป็นผู้ไม่มีตะปูคือกิเลสเป็นเครื่องตรึงแล้ว กิเลสทั้งหลายที่เป็นประธาน คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และกิเลสที่เป็นบริวาร มี โกโธ อุปนาโห เป็นต้น จนถึงอกุศลอภิสังขารซึ่งเป็นประหนึ่งตะปูเครื่องตรึงจิตให้แนบแน่นอยู่ ยากที่สัตว์จะฉุดจะถอนให้เคลื่อนให้หลุดได้ เมื่อบุคคลมาละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว เผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เป็นนรชนผู้รู้ผู้ดำเนินด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้งชัดเป็นเวทคู ผู้ถึงฝั่งแห่งวิทยาในพระศาสนานี้ ไม่มีความสงสัยใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และปฎิจจสมุปบาทธรรม ปัจจยการ ย่อมบรรลุถึงวิเวกธรรม คือพระอมฤตนฤพานด้วยประการฉะนี้



http://www.84000.org/supatipanno/index.html


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 12:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
2 สันติธรรม

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึ่งสันติธรรมแก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า ยํกิจิ สญชานาสิ โธตก อุททํ อโธ ติโยญญาปิ มชเฌ เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก ภวาภวาย มากาสิ ตัณหํ แปลความว่า ดูกรโธตกะ ท่านมากำหนดรู้หมายรู้ซึ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำซึ่งตัณหา ความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลยดังนี้

อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญาณนี้ด้วยปัญญาว่า เป็นเครื่องข้องเครื่องติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ส่วนคำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางในพระคาถานั้น ก็มีนัยอธิบายเป็น 6 นัยเช่นเดียวกับเรื่องวิเวกธรรมที่กล่าวมาแล้ว
ทรงแสดงที่อาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรมมีสัญญาเป็นนิทานว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันทำให้สัตว์เนิ่นช้า 3ประการนี้ มีสัญญาความสำคัญหมายเป็นเหตุให้เกิด เมื่อบุคคลมาสำคัญหมายในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อัพยากฤต สามธาตุ สามภพ ด้วยประการใดๆ ปปัญจสังขาร ที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บังเกิดกล้าเจริญทวีขึ้นด้วยประการใดๆ ทำให้บุคลลเกิดความเห็นถือมั่นด้วยตัณหาว่า เอตํ มม นั่นเป็นของเรา ถือมั่นด้วยมานะว่า เอโสหมสมิ เราเป็นนั่น ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า เอโส เม อตตา นั่นเป็นตัวตนแก่นสารของเรา ดังนี้แล้วก็ข้องอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยฉันทะราคะ สเน่หาอาลัย ผูกพันจิตใจไว้ไม่ให้เปลื้องปลดออกได้ สัญญาอันเป็นนิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี ตัณหา มาน ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี สงโค เป็นเครื่องข้องเครื่องติด เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกไม่ให้พ้นไปได้ เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก ท่านรู้แจ้งประจักษ์ว่าสัญญาเป็นเหตุแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีสัญญาเป็นเหตุดังนี้แล้ว ท่านอย่าได้ทำตัณหา คือความปรารถนาดิ้นรน ด้วยจำนงหวังต่างๆ เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงหยั่งญาณรู้ชั่งด้วยตราชู คือ ปัญญา แล้วเห็นประจักษ์แจ้งชัดว่า เป็นเครื่องผูกจำ เป็นเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลก ท่านอย่าได้ทำซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ตัณหาอันเป็นไปในอาหารวิสัยคือรูป เสียงกลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ แตกต่างโดยอาการปวัฎฎิเป็น 3ประการ คือกาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา 6 หมู่ ตามอารมณ์ สามอย่างตามอาการที่เป็นไปในภพ เป็นธรรมอันเกิดอีก เกิดขึ้นเป็นไปพร้อมกับทุกข์ คืออุปทานขันธ์ ท่านอย่าได้ทำตัณหานั้น เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย ท่านจงละตัณหานั้นเสีย จงบรรเทาเสีย ทำตัณหานั้นให้มีที่สุด ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซึ่งอันจะยังเกิดตามไม่ได้ ท่านจงละตัณหานั้นด้วยสมุจเฉทปาหานเถิดฯ



http://www.84000.org/supatipanno/index.html


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 12:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
3 อนุปาทาปรินิพาน

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอนุปาทาปรินิพพานของพระอริยสาวก ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ แก่อุปสีวมาณพ โดยหลีกเลี่ยงสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะทั้งสองเสีย จึงตรัสพระคาถาว่า
อจฉิยถา วาตเวเคณ จิตตา อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ เอวํ มุนิ นาม กายา วิมุตโต อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ

แปลว่า เปลวเพลิงอันกำลังลมพัดดับไปย่อมนับไม่ได้ว่าไปไหนฉันใด ท่านผู้เป็นมุนี พ้นพิเศษแล้วจากนามกาย ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ นับไม่ได้ ว่าไปไหนฉันนั้น
วาตา อันว่าลมทั้งหลาย โดยปริยายในนิเทศ ว่าลมมาทิศบูรพา ปัจฉิม อุดร ทักษิณ ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมกล้า ลมเวรัมภา พัดมา แต่พื้นดินขึ้นไปได้โยชน์หนึ่ง ลมปีกสัตว์ ปีกครุฑ ลมใบตาล ลมเปลวเพลิง อันกำลังลมเหล่านั้นพัดแล้วเปลวเพลิงย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมดังสงบรำงับไป ย่อมไม่ถึงซึ่งอันนั้น ย่อมไม่ถึงซึ่งโวหาร ว่าเปลงเพลิงไปแล้วยังทิศโน้นๆ ดังนี้ฉันใด บุคคลผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นเสขมุนีนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากรูปกายในกาลก่อนเป็นปกติ ให้มรรคที่ 4 เกิดขึ้นในสมาบัตินั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากนามกายอีก เพราะความที่พ้นจากนามกาย อันท่านได้กำหนดรู้แล้ว เป็นอุปโตภาควิมุตติ พ้นวิเศษแล้วจากส่วนสองด้วย ส่วนสองเป็นขีณาสวะอรหันตร์ ถึงซึ่งอันไม่ตั้งอยู่คืออนุปาทาปรินิพพานแล้วตรัสพระคาถาต่อไปว่า
อตถํ ตสส น ปมาณมตถิ เยน นํ วชชํ ตํ ตสส นตถิ สพเพสุ ธมเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพเพ
แปลว่า สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลทั้งหลายจะพึงกล่าวว่าท่านนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นของท่านก็ไม่มีธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระขีณาสพถอนขึ้นพร้อมแล้ว แม้ทางวาทะทั้งปวงที่บุคคลจะพึงกล่าวพระขีณาสพท่านก็ตัดขึ้นพร้อมแล้ว
สิ่งสภาวะอันเป็นธรรมนั้น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร และวัฏฏะ ท่านถอนขึ้นเสียแล้ว ตัดเสียขาดแล้ว มีอันไม่บังเกิดต่อไป เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเพิกถอน สละละวางเสียสิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะนี้ฯ



http://www.84000.org/supatipanno/index.html


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 12:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 10:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
4 ปริญญา 3 ประการ

การกำหนดรู้ตัณหานั้น กำหนดรู้ด้วยปริญญา 3 ประการ คือ
1. ญาตปริญญา คือความกำหนดรู้ชัดเจนว่า นี้รูปตัณหา นี้สัททตัณหา นี้คันธตัณหา นี้รสตัณหา นี้โผฏฐัพพะตัณหา นี้ธัมมตัณหา อย่างนี้แลชื่อว่าญาตปริญญา
2. ตีรณปริญญานั้นคือ ภิกษุกระทำตัณหาทั้ง 6 ให้เป็นของอันตนรู้แล้ว พิจารณาใคร่ครวญ ซึ่งตัณหาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรคเสียดแทง เป็นต้น อย่างนี้แลชื่อตีรณปริญญา
ปหานปริญญานั้นคือ ภิกษุมาพิจารณาใคร่ครวญ ฉะนี้แล้ว ละเสียซึ่งตัณหา บรรเทาเสีย ถอนเสีย และกระทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่เป็นต่อไปอย่างนี้และชื่อว่าปหานปริญญา



http://www.84000.org/supatipanno/index.html


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 12:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 135 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร