ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=34950
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  หัสพล พวงแก้ว [ 10 ต.ค. 2010, 01:35 ]
หัวข้อกระทู้:  ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 10 ต.ค. 2010, 07:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

tongue
ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง ธรรมชาติอันยิ่ง มี 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นสัจจธรรม ความจริง มีคุณลักษณะเฉพาะตัว ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น รู้ได้ที่ใจ บอกชื่อได้ เรียกว่า ปรมัตถบัญญัติ แต่ไม่สามารถอธิบายบอกกล่าวอาการ สิ่งที่เป็นได้ด้วยคำพูด จะเรียกชื่อว่า วา่ ธรรม อนัตตาธรรม สัจจธรรม ความจริง อมตะ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง ก็ได้

รายละเอียดของปรมัตถธรรมแต่ละอย่างที่แจกแจงออกไป คือ จิต 89 หรือ 121 ดวงโดยพิสดารเจตสิก 52 รูป 28 นิพพาน 1 ล้วนแล้วเรียกว่า ปรมัตถธรรม หรือสัจจธรรม หรือ ธรรม ทั้งสิ้น

การปฏิบัติธรรม ชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่าต้องปฏิบัติ ต้องเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าสังเกต พิจารณา อยู่กับธรรม สัจจธรรม อนัตตาธรรม หรือปรมัตถธรรมนี้ทั้งสิ้น จึงจะนำไปสู่ผล คือ นิพพาน

บัญญัติธรรม = ธรรมอัน ต้องสมมุติใส่ชื่อขึ้นมา ไม่มีความจริงคงอยู่ เช่น บ้าน วัด มือ เท้า แขน ขา
คน หญิง ชาย มนุษย์ สัตว์ สีเขียว แดง ดำ สวย หล่อ ขี้เหร่ พุทโธ ธัมโม

สังโฆ ฯลฯ

ครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งสอนเรื่องบัญญัติและปรมัตถ์ไว้ว่า

เอาบัญญัติ หาบัญญัติ เห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ

เอาปรมัตถ์์ หาปรมัตถ์ เห็นปรมัตถ์ ได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์

ฝากไว้เป็นโฉลกธรรมให้พากันตีความออกมาให้ได้ จะเป็นคุณอย่างยิ่งแก่ชีวิต สาธุ


ไฟล์แนป:
Resize of aa026.jpg
Resize of aa026.jpg [ 81.84 KiB | เปิดดู 8466 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ศรีสมบัติ [ 10 ต.ค. 2010, 13:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

ส่วนหนึ่งของธรรมบรรยาย พระครู เกษมธรรมทัต แห่งวัด มเหยงคณ์
"สติ จะต้องระลึกตรงต่อปรมัตถธรรม หรือ รูป นาม หรือ ธาตุ หรือ ธรรมชาติ หรือ สภาวะที่กำลังปรากฏ
สิ่งที่ประกอบเป็นชีวิต จิตใจ กาย ใจ ที่บุคคลยึดถือเป็นตัวตน เป็นเรา เป็นของเรา สติระลึกเข้าไปสัมผัส สิ่งที่เป็นจริงโดยแท้ คือ ปรมัตถธรรม เรียกว่า ต้องเพิกสมมติออกไป ตัดสมมติออกไปเพื่อจะเข้าไปสัมผัสแก่นแท้ของธรรมชาติ ของความเป็นจริง ถ้าไม่เพิกสมมติมันก็ไปเกาะยึดติด ค้างอยู่ในของปลอม รูปร่าง สัณฐาน รูป ทรง สัณฐาน นี้เป็นสมมติ รูปทรง แขน ขา หน้าตา อวัยวะ นี้เป็นสมมติ"
:b48: :b48: :b48:
"ความรู้สึก เย็นๆ ร้อนๆ ตึงๆ หย่อนๆ ไหวๆ สบาย-ไม่สบาย นี่แหละคือความจริงของชีวิต เรียกว่า ปรมัตถธรรม"
:b48: :b48: :b48:
"ยก เป็นสมมติ ก้าว เป็นสมมติ เหยียบ เป็น สมมติ ขวา-ซ้าย เป็นสมมติ ขวา-ซ้าย ก็เป็นความหมาย ยก-ย่าง-เหยียบ เป็นความหมาย รูปทรง ของขา ของเท้า เห็นรูปทรงเห็นรูปร่างของขา เป็น ก้อนๆ เป็นเงาๆ ก็ตาม เป็นแท่งๆ นี่ ก็เป็นบัญญัติ เป็น สมมติ"
:b48: :b48: :b48:
"สี เป็น รูปธรรม เห็น เป็นนามธรรม เลยจากนั้น เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นสิ่งของ เป็นรูปร่างเป็นความหมาย นั่นก็เป็นสมมติ
...เสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม เลยจากนั้น เป็นเสียงคน เสียงสัตว์ เป็นความหมายเป็นชื่อ เป็นเรื่องราว ก็เป็นบัญญัติ"
"จิตที่คิด จิตที่นึก จิตที่รู้สึก เป็นปรมัตถธรรม..เรื่องราวของจิต จะเรื่องคน เรื่องสัตว์ เรื่องการงาน เป็น บัญญัติ ที่จิตไปนึกถึง ไปคิดถึง เรื่องราวต่างๆ ความคิด ความนึก เป็น ปรมัตถ์ ในสภาวะเรื่องราวเป็นบัญญัติ"
เป็นตัวอย่างสั้นๆที่ยกตัดมา หวังว่าคงจะได้รับคำตอบบ้าง ระหว่างความหมายและความแตกต่างของสองคำนี้ ไม่มากก็น้อยครับ
เจริญในธรรม :b8:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 10 ต.ค. 2010, 13:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

หัสพล พวงแก้ว เขียน:
คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:


บัญญัติธรรม คือธรรมทีี พระองค์ได้ทรงจำแนกไว้
เช่น พระวินัย เพื่อความผาสุกของหมู่สงฆ์ และเพื่อความเลื่อมใสของหมู่ชนที่มีแด่หมู่สงฆ์
บัญญัติธรรม โดยการตั้งบท และจำแนกอธิบาย เช่น ธาตุ ขันธ์ อายตนะ อริยะสัจจ์ ปฏิจจสมปุปาทา สติปัฏฐาน โพชฌงค์ 7 อิทธิบาท 4 ฯลฯ เป็นต้น

ปรมัตถธรรม คือบัญญัติธรรมอีกประการหนึ่งที่เป็นสภาวะอันสูงสุด คือ มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน เท่านั้น

ทั้งบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรม ล้วนปรากฏอยู่ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ในพระไตรปิฏก

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 09 พ.ย. 2010, 23:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

เช่นนั้น เขียน:
หัสพล พวงแก้ว เขียน:
คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:


บัญญัติธรรม คือธรรมทีี พระองค์ได้ทรงจำแนกไว้
เช่น พระวินัย เพื่อความผาสุกของหมู่สงฆ์ และเพื่อความเลื่อมใสของหมู่ชนที่มีแด่หมู่สงฆ์
บัญญัติธรรม โดยการตั้งบท และจำแนกอธิบาย เช่น ธาตุ ขันธ์ อายตนะ อริยะสัจจ์ ปฏิจจสมปุปาทา สติปัฏฐาน โพชฌงค์ 7 อิทธิบาท 4 ฯลฯ เป็นต้น

ปรมัตถธรรม คือบัญญัติธรรมอีกประการหนึ่งที่เป็นสภาวะอันสูงสุด คือ มรรค 4 ผล 4 และนิพพาน เท่านั้น

ทั้งบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรม ล้วนปรากฏอยู่ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ในพระไตรปิฏก


ท่านเช่นนั้นยังติดและเข้าใจว่าปรมัตถธรรม คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 อยู่นะครับ
ที่ท่านยึดอยู่นี้ ทั่วไปเรียกกันว่า โลกุตรธรรมทั้ง 9


ปรมัตถธรรม = ธรรมอันยิ่ง
ที่ว่าเป็นธรรมอันยิ่งเพราะ ไม่สามารถอธืบายให้เข้าใจด้วยคำพูดหรือบัญญัติใดๆได้ ต้องสัมผัสรู้ที่ใจ
ธรรมใดที่ต้องรู้ได้ด้วยใจ ธรรมนั้นเรียกว่า "ปรมัตถธรรม" เข้าใจอย่างนี้จึงจะกว้างขวางได้ในเรื่องปรมัตถธรรมครับ

Onion_L

เจ้าของ:  govit2552 [ 10 พ.ย. 2010, 07:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

สวัสดีครับ ท่านอนัตตาธรรม และทุกท่าน

เห็นท่านกล่าวแก้คุณเช่นนั้น

ผมเลยหวนนึกถึง หนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาส เล่นหนึ่ง
ชื่อ ปรมัตถธรรม ..............แต่จะมีคำอื่นประกอบหน้าประกอบหลัง นี่ไม่แน่ใจ

ผมเปิดเข้าไปอ่าน ไม่มีพูด เรื่อง จิต เจตสิก รูป นิพพาน เลย..

ผมก็งงอยู่กับ คำว่า ปรมัตถธรรม เหมือนกัน

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 10 พ.ย. 2010, 08:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

ปรมัตถธรรม คือ "ความจริง" ที่จริงแท้โดยไม่มีทางเป็นเท็จ
อดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ไม่มีผลอะไร เคยจริงอย่างไร ก็จริงอยู่อย่างนั้น


บัญญ้ติธรรม คือ "ข้อเท็จจริง" เวลาหนึ่งจริง แต่อีกเวลาหนึ่งไม่จริง จริงๆเท็จๆ
เช่นชาตินี้เป็นคน แต่อดีตอาจจะไม่ใช่ อนาคตก็ไม่แน่

อย่างวันนี้เราบอกว่า ร่างกายนี้เป็นของเรา แต่ถ้าได้เข้าถึงปรมัตถธรรม
ย่อมเห็นว่ามันเป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัย เมื่อเข้าถึงความรู้ความจริงเหล่านี้จนถึงขนาดแล้ว
มันก็จะล้างความเห็นเดิม ที่หลงยึดว่านี่เป็นร่างกายของเรา เป็นต้น
ตัวความจริงที่เป็นธาตุขันธ์นั่นแหละ และการประชุมกันของธาตุขันธ์นั่นแหละ คือปรมัตถ์
มันจะไม่ใช่นายมานะ นางมานี คน สัตว์ อะไรอีก

เจ้าของ:  วิริยะ [ 11 พ.ย. 2010, 08:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

หัสพล พวงแก้ว เขียน:
คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:

บัญญัติธรรม หมายถึง สิ่งที่สมมุติขึ้นมาเพื่อสื่อสารกันระหว่างสิ่งสมมุติทั้งหลาย เช่น
นี่คนสัตว์สิ่งของ นี่ช้างม้าวัวควายฯ นี่ชายนี่หญิง นี่นาย ก. นาง ข ฯลฯ

ปรมัตถธรรม หมายถึง ความรู้อันยิ่ง ความจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน เช่น
นี่คือ ธาตุสี่ ขันธุ์ห้า นี่คือสิ่งที่เสื่อมไปเป็นที่สุด ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร สิ่งเหล่านี้ คือ ไตรลักษณ์
สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับเป็นธรรมดา ฯลฯ

แตกต่างกันอย่างไร?
ผู้รู้บัญญัติธรรม ยิ่งรู้ยิ่งยึด ไม่ปล่อย ไม่วาง ไม่ละ อันได้แก่ ปุถุชนเราท่านทั้งหลาย
ผู้รู้ปรมัตถธรรม ยิ่งรู้ยิ่งปล่อย ยิ่งละ ยิ่งวาง อันได้แก่ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ดังนี้..

ความเห็นส่วนตัว..ขอรับ

เจ้าของ:  หัสพล พวงแก้ว [ 10 ธ.ค. 2010, 23:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

วิริยะ เขียน:
หัสพล พวงแก้ว เขียน:
คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:

บัญญัติธรรม หมายถึง สิ่งที่สมมุติขึ้นมาเพื่อสื่อสารกันระหว่างสิ่งสมมุติทั้งหลาย เช่น
นี่คนสัตว์สิ่งของ นี่ช้างม้าวัวควายฯ นี่ชายนี่หญิง นี่นาย ก. นาง ข ฯลฯ

ปรมัตถธรรม หมายถึง ความรู้อันยิ่ง ความจริงอันเที่ยงแท้แน่นอน เช่น
นี่คือ ธาตุสี่ ขันธุ์ห้า นี่คือสิ่งที่เสื่อมไปเป็นที่สุด ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร สิ่งเหล่านี้ คือ ไตรลักษณ์
สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นดับเป็นธรรมดา ฯลฯ

แตกต่างกันอย่างไร?
ผู้รู้บัญญัติธรรม ยิ่งรู้ยิ่งยึด ไม่ปล่อย ไม่วาง ไม่ละ อันได้แก่ ปุถุชนเราท่านทั้งหลาย
ผู้รู้ปรมัตถธรรม ยิ่งรู้ยิ่งปล่อย ยิ่งละ ยิ่งวาง อันได้แก่ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ดังนี้..

ความเห็นส่วนตัว..ขอรับ


พอดีไปอ่านเจอเข้าที่เว็บ(ขอโทษที่จำไม่ได้)คำตอบเหมือนกับที่คุณวิริยะตอบมาเลยครับ
และผมก็คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบนี้เหมือนกันครับ
ขอขอบคุณทุก ๆท่านด้วยและอนุโมทนาบุญในคำตอบของทุกท่านครับ

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 24 ธ.ค. 2010, 21:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

tongue
บัญญัติธรรม เป็นของอัตตา

ปรมัตถธรรม เป็นของอนัตตา


[b]ความนึก คิด ปรุง แต่ง (บัญญัติ) บังธรรม (ปรมัตถธรรม)ไว้

ภาวนาจนหยุดความนึกคิดเมื่อใด จึงจะได้สัมผัสปรมัตถธรรม[/b]


:b27: :b16: :b12: :b8:

เจ้าของ:  yuy [ 29 ม.ค. 2011, 00:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างนะ

เจ้าของ:  plus [ 05 ก.พ. 2011, 21:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

ปรมัถธรรม นี่ใช่อันเดียวกับ บรมธรรมใช่มะครับ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 06 ก.พ. 2011, 05:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปรมัตถธรรมกับบัญญัติธรรม

อ้างคำพูด:
คำว่า "ปรมัตถธรรม" หมายถึงอะไร และ "บัญญัติธรรม" หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไรครับ :b10:

ทุกสิ่งที่เกิดในโลกใบนี้ล้วนเป็นธรรมชาติ และการศึกษาให้รู้และเข้าใจในธรรมชาติ
เขาเรียกว่า ธรรมะ

ธรรมชาติแบ่งสิ่งที่เกิดขึ้นออกเป็น2อย่าง คือ ทางโลกกับทางธรรม
ในที่นี้จะขอกล่าวในทางธรรม ธรรมที่กว่า ยังแบ่งเป็นรูปธรรมและนามธรรม

มีธรรมอยู่3สิ่งที่มีไว้อธิบายเรื่องรูปนาม ที่เกี่ยวกับกระทู้นี้ก็คือ

1.บัญญัติ 2.ปรมัตถ์ 3.สมมุติ

1.บัญญัติ เป็นสิ่งที่มีขึ้นเพื่อใช้เรียก สิ่งต่างๆในธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ปรมัติหรือสมมุติ
2.ปรมัตถ์ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น ภายในกายใจของเรา มันเป็นสภาวะที่เกิดจากการได้รับ
ผัสะสะ จากการกระทบของอายตนะต่างๆ
3.สมมุติ เกิดจากการที่เราไปยึดเอาอายตนะภายนอกเข้ามา แล้วเอามาปรุงแต่ง

กลับมาในประเด็นของกระทู้ ถ้าพูดถึงเรื่องความแตกต่างของ ปรมัตถ์กับบัญญัติ มันคงไม่ถูกนัก
เพราะ บัญญัติมีไว้ใช่เรียก สภาวะหรือปรมัตถ์ที่เกิดขึ้น จะได้ทราบถึงความแตกต่างของ
สภาวะหรือปรมัตถ์เหล่านั้นครับ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/