ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ประยุกต์กรรม ๕ มาเป็นหลักบริหารได้ไหม http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=32945 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | mahanoi [ 01 ก.ค. 2010, 22:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | ประยุกต์กรรม ๕ มาเป็นหลักบริหารได้ไหม |
![]() กมฺมสกา กมฺมทายาทา กมฺมพนฺธุ กมฺมโยนิ กมฺมปฏิสรณา ว่าถ้าเราจะมาประยุกต์หลักกรรมอันนี้มาเป็นหลักการบริหารงานหรือกิจการต่างๆนั้น เราจะนำมาประยุกต์ใช้แบบไหนอย่างไร ขอขอบคุณล่างหน้า |
เจ้าของ: | mahanoi [ 04 ก.ค. 2010, 22:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ประยุกต์กรรม ๕ มาเป็นหลักบริหารได้ไหม |
![]() ![]() กมฺมสกา เขาแปลว่า มีกรรมเป็นของตน แต่เราสงสัยว่าถ้าจะใช้คำว่ามีกิจการเป็นของตนเองได้หรือไม่ กมฺมทายาทา เขาแปลว่ามีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นมรดกบ้าง เราก็คิดว่าถ้าเราเหมาความหมายเอาว่า มีผู้สืบสานงาน ในทำนองนี้ได้ใหม กมฺมพนฺธุ เขาแปลว่า มีกรรมเป็นพวกพ้อง และก็พ้องกับคำว่ากรรมพันธุ์ เราจะถือเอาความหมายในทำนองว่า มีสายงาน หรือคล้ายๆ รูปแบบขององค์กรที่มีความซับซ้อนหลายๆชั้น ได้ไหมหนอ.. กมฺมโยนิ เขาแปลว่ามีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นแดนเกิด เรามาพินิจพิจารณาว่าถ้าเราจะเอาความหมายในเชิงคล้ายๆกับว่าเมื่อบุคคลเข้าทำงานแล้วจำเป็นจะต้องมีการสมมติบัญญัติตำแหน่งหน้าที่ให้เขาทำ แล้วก็ทำให้เขาเกิดเป็นนั้นเป็นนี้ เช่นเป็นผู้อำนวยการ เป็นฯลฯ มันพอจะฟังได้หรือเปล่า กมฺมปฏิสรณา เขาแปลว่ามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราก็เห็นชัดว่าคนทั้งหลายเขาอาศัยการทำงานเลี้ยงชีวิต และและก็คิดไปว่ากิจการนั้นๆที่เราสร้างทำขึ้นจำเป็นจะต้องบริหารให้พึ่งตัวเองได้ กิจการอยู่รอดเป็นตัวของตัวเอง ![]() นี้เป็นความคิดเห็นที่เราพิจารณาดู จะมีความเป็นจริงอยู่แค่ไหนนั้น อยากจะปรึกษาผู้รู้ทั้งหลายในลานธรรมจักรของเรา ถ้าเป็นไปได้เราอาจจะได้ความรู้ไหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงๆ ส่วนเพื่อนๆ ทั้งหลายมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร ช่วยพูดให้ฟังหน่อย ขอบคุณหลายๆ เด้อครับ : ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | จันทร์ ณ ฟ้า [ 05 ก.ค. 2010, 00:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ประยุกต์กรรม ๕ มาเป็นหลักบริหารได้ไหม |
เอ่อ อ่านกระทู้แล้วก็งงๆ รอผู้รู้มาตอบเหมือนกันค่ะ^^ แต่คิดว่า ถ้าจะประยุกต์หลักธรรมมาใช้กับการบริหารงานน่าจะเป็นหลักอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ถ้าจะโยงถึงเรื่องกรรม ก็เป็นมุมมองที่ว่า งานเป็นสิ่งที่เราต้องทำแทบทุกวัน การทำงานเป็นการสร้างกรรมที่ต้องทำซ้ำๆเป็นกิจวัตรจึงให้ผลแรง จึงควรเลือกทำงานที่เป็นสัมมาอาชีวะ ส่วนความเห็นที่คุณจขกท.โยงเรื่องกรรมกับงานข้างต้นนั้น มองว่าไม่น่าเกี่ยวกันเท่าไหร่ค่ะ และยังนึกไม่ออกว่าจะใช้ความหมายที่เชื่อมโยงนี้ให้เกิดประโยชน์กับงานเพิ่มขึ้นยังไง ที่จริงหากทุกคนในองค์กรตระหนักถึงเรื่องกรรม รู้ว่ากรรมทุกอย่างที่กระทำไปแล้ว ทั้งใจ วาจา กาย เป็นของตน เป็นแดนเกิด เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นทายาท เป็นที่พึ่ง ก็จะทำให้องค์กรปกติสุข และเจริญก้าวหน้าได้มากๆเลย เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ ผิดพลาดยังไงต้องขออภัยด้วยค่ะ |
เจ้าของ: | mahanoi [ 04 พ.ย. 2010, 21:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ประยุกต์กรรม ๕ มาเป็นหลักบริหารได้ไหม |
เราคิดว่าหลักอิทธิบาทนั้นเป็นหลักธรรมที่เป็นคุณธรรมอันเป็นคุณสมบัติในการทำงาน แต่หลักกรรมห้าประการนี้เมื่อพิจารณาแล้วเราดูเหมือนว่ามันเป็นหลักวิชาการการบริหารงานมากกว่า ที่เข้าใจกันมา เพราะที่เราเข้าใจกันมานั้นมันเป็นเหมือนกับสิ่งปลอบประโลมใจเฉยๆ เช่นอะไรก็โทษแต่กรรม เราเคยทำมาในอดีต ชดใช้กันซะให้หมด เป็นกรรมของเรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนอดีต เราจะไปแก้ไขอะไรได้ แต่คำว่ากรรม จริงๆ นั้นเป็นเรื่องของการกระทำ จึงเป็นสิ่งที่เราต้องทำลงไปจึงมีผลต่อไปได้ อีกอย่างกรรมห้านี้เราพิจารณาเห็นว่ามันน่าจะนำมาเป็นหลักบริหารจัดการกิจการได้ และคิดว่าน่าจะเข้ากับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ถ้าเป็นอย่างนี้เราสามารถพัฒนาหลักกรรมเป็นหลักวิชาการได้อย่างสมบูรณ์ในตัว เช่น... กมฺมสกา ก็คือจะทำกิจการใดๆ ในกิจการนั้นๆ จะต้องพึ่งตัวของตัวเองได้ ยืนบนลำแข้งของตัวเองให้ต้นเองคือกิจการนั้นๆดำรงอยู่ได้เป็นต้น จึงเสนอหัวข้อนี้ขึ้นเผื่อว่าสมาชิกเรามีแนวคิดดีๆ มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจต่อไปได้นั่นเอง |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |