วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็นจาก คำถามของท่านผู้หนึ่ง มานำเสนอ


อ้างคำพูด:
สมถะ ที่ว่าครอบคลุมไปถึงสมาธิที่บังเกิดจากการเจริญวิปัสสนา

ก็ยังไม่เข้าใจว่าจะยกข้อแตกต่างตรงไหน คือ สมถะ(ที่เกิดจากการเจริญปัญญาภาวนา)ที่ว่านั้น มีความหมายไกลมากกว่า "สมถะศิลาทับหญ้า"อย่างไร





สมถะ ในลักษณะที่ว่า"ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า" ก็คือ สมถะที่ไม่ใช่เพียงเข้าไปสงบเฉยๆ....แต่เป็น สมถะที่สนับสนุนการเกิดปัญญา หรือ สมถะที่เป็นผลจากกระบวนการทางปัญญา(วิมังสาสมาธิ).

ซึ่ง ที่สมบูรณ์แบบที่สุด ก็จะเป็นระดับ สัมมาสมาธิในองค์มรรค นั่นเอง.

ในระดับพระไตรปิฎก นับเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็น สมถะ เช่นกัน...จุดนี้สำคัญ; คงไม่มีใครเข้าใจว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นศิลาทับหญ้า น่ะครับ

จาก พระไตรปิฎกเล่มที่34

สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศลเป็นไฉน?

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิตความดำรงอยู่แห่งจิตความมั่นคงแห่งจิตความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรคในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่าสมถะมีในสมัยนั้น.



สังเกตุ...

จากระดับพระอภิธรรมปิฎก(คนล่ะเล่มกับ พระอภิธัมมัตถะสังคหะ)สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็ นับว่าเป็น สมถะด้วยเช่นกัน.



สมถะในอริยมรรคจากระดับพระไตรปิฎกจึงมีความหมายที่กว้าง และ ลึกกว่าคำว่าสมถะแบบศิลาทับหญ้า มาก.
เพราะครอบคลุมความหมายของ สัมมาสมาธิในองค์มรรค ด้วย



อนึ่งสมถะในระดับพระสูตร นั้น ครอบคลุมไปถึงสมาธิที่บังเกิดจากการเจริญวิปัสสนาเสียด้วย

พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23 ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถายุคนัทธวรรคยุคนัทธกถา

[๕๓๗]ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไรฯ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิด้วยประการดังนี้

วิปัสสนาจึงมีก่อนสมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ


ใน พระสูตรนี้ สมถะ(เอกัคคตา) เป็นผลจาก จิตปล่อยวางอันสืบเนื่องมาจากการเจริญวิปัสสนา .
เพราะเห็น จึง วางและสงบระงับ.

สมถะ ในลักษณะนี้ ย่อมเป็นคนล่ะอย่าง กับ จิตที่เข้าไปสงบเฉยๆแล้วไม่เกิดปัญญา(ศิลาทับหญ้า). ตรงกันข้าม สมถะในลักษณะนี้เป็นผลจากกระบวนการทางปัญญา เสียด้วยซ้ำ

ครูบาอาจารย์พระป่าท่านจะเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ . หลวงปู่ชา หลวงพ่อพุธ และ ๆลๆ ท่านก็สอนเรื่องเหล่านี้ไว้ เช่นกันครับ ลองหาอ่านจากกระทู้เก่าๆในลานธรรมจักร ดูน่ะครับ



นอกจากนี้

ยังมี พระสูตรที่ชัดเจนอีกจุดหนึ่ง ซึ่งแสดงถึงสมถะที่ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า คือ สมถะในขณะจิตแห่งการบรรลุอริยมรรคผล

จาก

พระไตรปิฎก เล่มที่ 31

[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ

ๆลๆ

[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือ ทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ




อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตา(สมถะ)แห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้.

สมถะแบบนี้ ไม่ใช่ศิลาทับหญ้า(สงบเฉยๆไม่เกิดปัญญา)แล้ว.... แต่ เป็นสมถะในขณะจิตที่กำลังจะบรรลุมรรคผล คือ กำลังจะบังเกิดสัมมาญาณะที่ล่ะสังโยชน์ขาด แล้ว.


สมถะในลักษณะนี้ ก็เป็นที่ชัดเจนอีกจุดหนึ่งว่า ไกลไปกว่าความหมายของศิลาทับหญ้า ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ท่านได้กล่าวถึง เอกัคคตา(สมถะ) ในขณะที่จะบรรลุมรรคผล ไว้เช่นกัน


จบทางเดินสติปัฏฐาน

จากหนังสือ แนวทางคำสอนในการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่มั่น
บันทึกและตรวจสอบธรรมโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดศรีสว่าง จ.หนองบัวลำภู


"....ตลอดครบถ้วนแล้ว จิตในจิตก็ดับ เป็นจิตรวมใหญ่เข้าถึงจิตเดิม เข้าถึงฐีติภูตัง เป็นจิตตาธิปติอิทธิบาท เป็นบาทเข้าสู่จิตเดิม

ฌานนี้เป็นฌานพุทธ ที่พระพุทธเจ้าค้นพบในวันตรัสรู้ เป็นฌานโลกุตระ

ฌานนี้เมื่อเข้าถึงแล้ว จะไม่มีคำว่าเข้า คำว่าออก เช่นกับฌานโลก
เพราะเป็นอกาลิโกไม่มีกาลถอย เพราะเข้าแล้วจะมีขั้นตอนต่อเนื่องทันที

จิตเป็นเอกัคคตาจิต
จิตเป็นหนึ่งที่ฐีติจิต
จิตตามเห็นธรรมในธรรม คือ อินทรีย์ 5พละ5
ในขณะที่เข้าถึงนั้น อินทรีย์ 5 และพละ5 ที่เป็นอินทรีย์เกิดในของเดิมจะปรากฏออกมาให้เห็นเป็นธรรมในธรรมทันที

เมื่อตามเห็นธรรมในธรรมแล้ว นิวรณ์5 ขันธ์5 อายตนะ12 โพชฌงค์7 และมรรคมีองค์8 เป็นโลกีย์มรรคดับสิ้น เข้าถึงธรรมฐีติ เป็นโลกุตระมรรค เป็นอริยมรรค4 ผล4

จบทางเดินสติปัฐฐานซึ่งเป็นทางตรงทางสายเอกอริยมรรคตรงนี้

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เอกายโนภิกฺขเว อยํ มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอกเป็นหนึ่งในทางทั้งหลาย ...."



เอกัคคตาที่หลวงปู่มั่น ท่านกล่าวนี้ ก็น่าจะตรงกับ สมถะที่ชื่ออานันตริกสมาธิ ใน คห.ก่อน เช่นกัน


ลอง พิจารณาดูน่ะครับ ว่า


เอกัคคตา(สมถะ)ในลักษณะนี้ จะจัดเป็นศิลาทับหญ้า ได้ไหม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระไตรปิฎก สมถะ มีความหมาย ครอบคลุมทั้ง


1.มิจฉาสมาธิ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่34

อกุศลธรรม
อกุศลจิต ๑๒
----------
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?


[๓๐๕] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.



2.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ เช่น บรรยาย ในรูปาวจรกุศลจิต(รูปฌานที่เป็นโลกียะ) ในอรูปาวจรกุศลจิต(อรูปฌานที่เป็นโลกียะ)


3.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่34

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.



สมถะที่ว่าเป็นศิลาทับหญ้า คือ ในข้อใด?

สมถะศิลาทับหญ้า ก็คือ เมื่อเจริญสมาธิภาวนาจนบังเกิดปิติ-สุข-เอกัคคตา ขึ้น แล้วยุติลงเพียงแค่นั้น โดยไม่ได้ใช้ผลของสมาธิที่เกิดขึ้นมาสนับสนุนการเจริญปัญญา

น่าจะสงเคระห์อยู่ในข้อ1คือมิจฉาสมาธิ(ประกอบด้วยโมหะ) หรือ อาจจะจัดเป็นข้อ2ได้แต่เป็นลักษณะไม่ได้ใช้ประโยชน์ของสมาธิอย่างที่ควร


สมถะ ในลักษณะ ศิลาทับหญ้า ....นี้ จะตรงกับ การที่ไปพัวพันยินดีอยู่ในความสงบแล้วไม่นำผลของความสงบมาใช้สนับสนุนการเจริญมรรคด้านปัญญา

คือ จบเพียงแค่ขั้นของความสงบ

ดังเช่นที่ปรากฏ ในอุเทสวิภังคสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่๑๔

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ
นั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดวิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความ
ยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก


ซึ่ง ความจริงแล้ว การที่มาจบลงเพียงสมถะในลักษณะนี้ พระพุทธองค์ท่านก็ไม่ได้สรรเสริญน่ะครับ



ในความจริงแล้ว
ครูบาอาจารย์พระป่าองค์อื่นๆ เช่น หลวงปู่มั่น ท่านเองก็ไม่ได้สอนให้ผู้ภาวนาจบเพียงขั้นความสงบนี้


หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
ท่านได้เคยตักเตือนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในคราวที่หลวงตามหาบัวท่านกำลังติดสุขจากสมาธิอยู่. มี เนื้อความดังนี้

สุขในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน

"...ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านถามว่า 'สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ'
'สงบดีอยู่' เราก็ว่าอย่างนี้ ท่านก็ไม่ว่าอะไร

พอนานเข้า ๆ ก็อย่างว่านั่นแหละ 'เป็นยังไง ท่านมหาสบายดีเหรอใจ'
สบายดีอยู่ สงบดีอยู่'
'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ'
ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะพลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร แสดงท่าทางออกหมดแล้วนะนี่ จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ
'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ' ท่านว่า
'ท่าน รู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิก็เหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละ มันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม ๆ' นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมา 'ท่านรู้ไหมว่า สมาธิทั้งแท่งนั้นละคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม ' นั่น
ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ
'ถ้าหากสมาธิเป็นตัวสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน' นั่นเอาซิโต้ท่าน
'มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ
สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่'
นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป
'สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ๆ พูดออกมาซิ' มันก็ยอมละซิ"


(ปล...หลวงปู่มั่น ท่านสอนเตือนให้ระวัง ไม่ให้จบเพียงแค่การติดสุขจากสมาธิ ท่านไม่ได้ห้ามเจริญสมาธิภาวนาอย่างที่มีบางท่านเข้าใจผิดกัน น่ะครับ)


และ หลวงปู่ ชา สุภัทโท
ท่านกล่าวถึง การภาวนาจนไม่ติดในความสงบไว้ ดังนี้

"....อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง

และเมื่อจิตสงบแล้วความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือสมาธิธรรมทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ
ถ้าความสงบหายไปก็เกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

เมื่อ มีความสงบแล้วยังไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่

ท่านจึงเอาตัวสมถะตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผลจนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบ
ความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมติ เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่นี่ก็ติดสมมติ ติดบัญญัติ


เมื่อติดสมมติติดบัญญัติก็ติดภพติดชาติ

ภพ ชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละ เมื่อหายความฟุ้งซ่านก็ติดความสงบก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้...."



...........................


ในทางกลับกัน ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านจะสอนถึงการใช้สมถะมาสนับสนุนการเจริญปัญญา(ไม่ใช่จบเพียงศิลาทับหญ้า) เอาไว้ดังนี้


โอวาทธรรม ที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
ท่านแสดงต่อ หลวงปู่ หลุย จันทสาโร

เกี่ยวกับ การใช้ สมถะ เป็นที่พักของจิตเพื่อเอ้อต่อการเจริญวิปัสสนา มาเสนอ


"การนอน การสงบเข้าฌาน เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง

**สมถะต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วนวิปัสสนาจิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ
เหนื่อยแล้วเข้าพักจิต พักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีก ดังนี้
**

ฉะนั้น ให้ฉลาดการพักจิตการเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ชำนิชำนาญทั้งสองวิธีจึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญามีศีลทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิต เจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ 10 ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้งสว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติ เป็นจิตพระอรหันต์สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่”






และ โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔


ๆลๆ

ที นี้เวลามันสงบลงไป ถอนขึ้นมา หลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคง ภายในตัวของมันขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

จากความสงบที่สั่งสม กำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อยๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแน่นหนามั่นคง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

เวลา สงบแล้วถอนขึ้นมาๆ นั้นเรียกว่าจิตสงบ หรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมาไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋งๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น

พอจิต เป็นสมาธิ มีความสงบ มันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่างๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ

จิต ขั้นนี้ เวลามันสงบมีกำลังมากๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิด การปรุงต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่วมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่า เป็นความสะดวกสบาย ไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิ จึงมักติดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี

เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้ว จะติดได้



ทีนี้ พอจิตมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว มันอิ่มอารมณ์แล้วที่นี่ เมื่อจิตอิ่มอารมณ์แล้ว พาออกทางด้านปัญญา

ถ้า จิตไม่อิ่มอารมณ์ ยังหิวอารมณ์อยู่แล้ว ออกทางด้านปัญญา จะเป็นสัญญาไปเรื่อยๆ คาดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ กลายเป็นสมุทัยไปหมด เลยไม่เป็นปัญญาให้

เพราะฉะนั้น ท่านถึงสอนให้อบรมทางสมาธิเสียก่อน
สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา คือสมาธิมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว สมาธิมีความอิ่มตัวแล้ว ก็หนุนปัญญาได้ พิจารณาทางด้านปัญญาก็คล่องตัวๆ เป็นปัญญาจริงๆ ไม่ได้เป็นสัญญาอารมณ์ เพราะจิตอิ่มอารมณ์แล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ยกเอาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก กระทั่งถึงร่างกายทุกสัดทุกส่วน ให้เป็นเหมือนไฟได้เชื้อ เชื้อนั้นคือร่างกายทุกส่วนนี้แล ไฟคือสติปัญญา ตปธรรม หนุนเข้าไปพิจารณาเข้าไป

ๆลๆ


นี่การพิจารณาภาวนา เบื้องต้นก็อย่างที่พูดให้ฟังแล้ว ต้องตั้งจิตตั้งใจเอาให้จริงจัง

ถ้าว่าบริกรรมก็เอาให้จริงแล้วจะเข้าสู่ความสงบ
จากความสงบแล้วเข้าเป็นสมาธิ
จากสมาธิแล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา เป็นขั้นเป็นตอน เป็นเวล่ำเวลา

เวลา ที่มันหมุนทางด้านปัญญานี้ มันหมุนจริงๆ นะจนไม่มีวันมีคืน ต้องพัก จิตอันนี้ถึงขั้นมันหมุนติ้วเสียจริงๆ แล้วเจ้าของเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะสังขาร ปัญญาเอาสังขารความปรุงนี้ออกใช้ แต่เป็นความปรุงฝ่ายมรรค ไม่ได้เหมือนความปรุงของกิเลสที่เป็นฝ่ายสมุทัย

เมื่อทำงานมากๆ มันก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ให้เข้าพักสมาธิเข้าสู่ความสงบ อย่ายุ่งเวลานั้น บังคับเข้าให้ได้ มันเพลินนะ จิตเวลาถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมเข้าพักสมาธิ มันเห็นสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ

ปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส แล้วการฆ่ากิเลสไม่รู้จักประมาณ มันก็เป็นสมุทัยอีกเหมือนกัน ไม่รู้จักประมาณ เพราะฉะนั้นจึงเวลาเข้าพักให้เข้าพัก พักความสงบของจิต ถ้ามันพักไม่ได้จริงๆ ก็อย่างที่ผมเคยพูดให้ฟัง เอาพุทโธบริกรรมเลยก็มี ผมเคยเป็นแล้วนะ มันไม่ยอมจะเข้าพัก มันจะหมุนแต่ทางด้านปัญญา ฆ่ากิเลสถ่ายเดียวๆ ทั้งๆ ที่กำลังวังชาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอแล้ว เราจึงต้องเอาพุทโธบังคับไว้ให้อยู่กับพุทโธ สติตั้งอยู่นั้น ไม่ยอมให้ออกปัญญาหมุนไว้ สักเดี๋ยวก็ลงสู่ความสงบแน่วเลย นั่นเห็นไหมล่ะ พอจิตเข้าสู่ความสงบนี่ โอ๋ย เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามนะ

เวลาออกทาง ด้านปัญญามันเหมือนชุลมุนวุ่นวาย เหมือนนักมวยเข้าวงในกัน ทีนี้เวลาเข้ามาสู่สมาธินี้ มันเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม เพราะได้พักผ่อนหย่อนจิต ตอนนี้บังคับเอาไว้นะ ไม่อย่างนั้นมันจะออกอีก เพราะกำลังของด้านปัญญามันหนักมากกว่าสมาธิเป็นไหนๆ

ถ้าว่าเราเผลอ นี้ ผมไม่อยากพูด ถ้าว่ารามือ พอพูดได้ เพราะมันไม่เผลอนี่ พอเราอ่อนทางนี้ รามือสักนิดหนึ่ง มันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับไว้ให้อยู่กับสมาธิแน่วอยู่นั้น จนเห็นว่าเป็นที่พอใจ มีกำลังวังชาทางด้านสมาธิ แล้วค่อยถอนออกมา พอถอนออกมามันจะดีดผึงเลยทางด้านปัญญา

ให้ทำอย่างนี้ตลอดไปสำหรับ นักปฏิบัติ อย่าเห็นแก่ว่าปัญญาดี ปัญญาฆ่ากิเลส แล้วเตลิดเปิดเปิงทางด้านปัญญา นี้เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ที่แทรกจิต โดยการพิจารณา ไม่รู้จักประมาณ เลยกลายเป็นเรื่อง หลงสังขารทางด้านปัญญาไป สังขารทางด้านปัญญา กลายเป็นสมุทัยไปได้ เพราะเราไม่รู้จักประมาณ

เวลา พิจารณาให้พิจารณาเต็มที่ ไม่ต้องบอกพอ ถึงขั้นปัญญาขั้นนี้แล้ว มันจะหมุนของมันเอง แต่เวลาพักให้พักเต็มที่ อย่างนั้นถูก ถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมพัก มันจะหมุนทางด้านปัญญา เพราะเพลินในการฆ่ากิเลส

หมุนเข้ามาทางสมาธิ เรียกว่าพักเอากำลัง เหมือนเราพักผ่อนนอนหลับ รับประทานอาหารมีกำลังวังชา

ถึง จะเสียเวล่ำเวลาในการพักก็ตาม สิ้นเปลืองไปเพราะอาหารการกินก็ตาม แต่สิ้นเปลืองไปเพราะผลอันยิ่งใหญ่ในกาลต่อไปโน้น ประกอบการงานมีกำลังวังชา

นี่ จิตของเราพักสมาธินี้จะเสียเวล่ำเวลา แต่เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ในสมาธินี้ จะหนุนปัญญาให้ก้าวเดินสะดวก คล่องแคล่ว นั่น ให้เป็นอย่างนั้น พิจารณาอย่างนั้น

ผู้ปฏิบัติจับไว้ให้ดีนะที่สอนนี้ ผมไม่ได้สอนด้วยความลูบคลำนะ สอนตามหลักความจริงที่ได้ผ่านมาอย่างไร อย่าเหลาะๆ แหละๆ นะการภาวนา เอาให้จริงจัง เรื่องมรรคผลนิพพานไม่ต้องถาม ขอให้ก้าวเดิน นี่คือทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ไปที่ไหน ขอให้ก้าวเดินตามนี้ให้ถูกต้องเถิด จะเข้าถึงมรรคผลนิพพานโดยไม่ต้องสงสัย สำคัญอยู่ที่การดำเนิน ถ้าผู้แนะไม่เข้าใจนี้ทำให้ผิดพลาดได้ นี้เราแนะด้วยความแน่ใจ เพราะเราดำเนินมาแล้วอย่างช่ำชอง ไม่มีอะไรสงสัยแล้ว

ในการแนะนำสั่งสอนหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะสมถะ ไม่ว่าจะสมาธิ ไม่ว่าจะปัญญา ปัญญาขั้นใด ตั้งแต่สติปัญญาอัตโนมัติไปเรื่อย จนกระทั่งมหาสติมหาปัญญา มารวมอยู่ที่หัวใจนี้ทั้งหมด มีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ประจักษ์หัวใจตลอดเวลา แล้วจะไปสงสัยสติปัญญา และสติปัญญาอัตโนมัติ ตลอดมหาสติ มหาปัญญาไปได้ยังไง ก็มันเป็นอยู่กับหัวใจ พากันจำให้ดี ให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมถะคือการตั้งสติให้มั่นในจุดใดจุดหนึ่ง ไม่แตกกระจายฟุ้งซ่าน

ไม่ได้หมายความว่าหมดความรู้ลึกหรือความคิดอย่างที่ใครๆเข้าใจ

แม้แต่ในเวทยิตนิโรธ ผมก็เข้าใจของผมว่า ความรู้ลึกน้อยมากที่สุดเท่านั้น

อะไรที่เราเรียกว่าฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านเป็นความคิด

การตั้งสติให้มั่นจึงเป็นการคิดที่จุดเดียวเรียกว่าเอกัคคตา

ไม่ได้หมายความว่าหยุดคิด

ตรงที่การรวมความคิดพุ่งอยู่ที่จุดเดียวนี่แหละก่อให้เกิดพลังมากมหาศาลกลายเป็นปัญญา คืออธิปัญญา

มีลักษณะเกิดโดยการผุดขึ้น คือญานทัสสนะ

ไม่ใช่ปัญญาที่พัฒนาจากประสพการณ์การเรียนรู้

ปัญญาที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าญานทัสสนะต้องมีสมาธิเป็นผู้กำเนิด หรือสมถะ

ญานทัสสนะมีหลายระดับ

ระดับสูงสุดคือ ยถาภูตญานทัสสนะ เป็นญานที่รู้เห็นตามความเป็นจริง

หรือรู้แจ้งเห็นจริง

เป็นการทำนิพพานให้แจ้งด้วย

ซึงเป็นการนิสรณะ ไม่ใช่"ศิลา"ทับหญ้าอีกต่อไป

ผมตั้งข้อสังเกตุนิดหนึ่งว่า

การเกิดญานทัสสนะนั้น

ไม่มีที่ใดบอกว่าเกิดขึ้นในขณะทำสมถะ

แต่เกิดจากการทำสมถะแน่นอน

การเกิดญานทัสสนะ อาจเกิดคนละเวลากับการทำสมถะก็ได้


ทั้งหมดนี้เป็นทิฐิของผมครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วิโมกข์ อนุโลมเรียกเป็นวิมุติได้เฉพาะเมื่อใช้คำว่า เจโตวิมุติ คอความหหลุดพ้นแห่งจิตด้วยกำลังสมาธิ

Quote Tipitaka:
๓๕๐] วิโมกข์ ๘ อย่าง
๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ
๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็น
วิโมกข์ข้อที่สอง ฯ
๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญา
ดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ
๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็น
วิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ
๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ
๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้า
ถึงเนวสัญญายตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ
๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคล
ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่
พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ
สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย



Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ
เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง
ออกบ้าง ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์
จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า
อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป
กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ
จบมหานิทานสูตร ที่ ๒


Quote Tipitaka:
[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-
*สังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุติ
บางพวกเป็นปัญญาวิมุติเล่า.
ดูกรอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 12:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออภัยครับที่ยกพระไตรปิฎกมายาว

แต่อยากแสดงที่เป็นตัวหนังสือสีแดงครับว่า

สมถะ ที่มีความหมายไกลไปกว่า"ศิลาทับหญ้า" มีอยู่

[Quote-Tipitaka][๔๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน
คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
วิโมกข์ ๓ ประการนี้ ฯ
อีกประการหนึ่ง วิโมกข์ ๖๘ คือ สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑
อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) ๑
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) ๑ ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
(วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) ๑ วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔
อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐาน
วิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโต
วุฏฐานวิโมกข์ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย เพราะ
อรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่ารูปในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
เพราะอรรถว่าภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิโมกข์ วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์
สมยวิโมกข์ อสมยวิโมกข์ สามายิกวิโมกข์ อสามายิกวิโมกข์ กุปปวิโมกข์
(วิโมกข์ที่กำเริบได้) อกุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่ไม่กำเริบ) โลกิยวิโมกข์
โลกุตตรวิโมกข์ สาสววิโมกข์ อนาสววิโมกข์ สามิสวิโมกข์ นิรามิสวิโมกข์
นิรามิสตรวิโมกข์ ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ปณิหิตปัสสัทธิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ วิสุญญตวิโมกข์ เอกัตตวิโมกข์ นานัตตวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ฌานวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ฯ
[๔๗๐] สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความ
เป็นตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความยึดมั่นในนามรูปนั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ว่างเปล่า นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็นตัวตน
และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำเครื่องกำหนดหมายในนามรูปนั้น เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีเครื่องกำหนดหมายนี้เป็นอนิมิตต-
*วิโมกข์ ฯ
อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคน
ไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นามรูปนี้ว่างจากความเป็น
ตัวตน และจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน เธอย่อมไม่ทำความปรารถนาในนามรูปนั้น
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ไม่มีความปรารถนา นี้เป็นอัปป-
*ณิหิตวิโมกข์ ฯ
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ เป็นอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อรูปสมาบัติ ๔ เป็นพหิทธาวุฏฐาน-
*วิโมกข์ ฯ
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ เป็นทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
[๔๗๑] วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน ปฐมฌานออก
จากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตกวิจาร ตติยฌานออกจากปีติ จตุตถฌานออกจาก
สุขและทุกข์ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญา-
*ณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา นี้เป็นวิโมกข์ ๔
แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน โสดาปัตติมรรคออกจาก
สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉานุสัย ออกจาก
เหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจาก
สรรพนิมิตภายนอก สกทาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตาม
กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก
อนาคามิมรรคออกจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
ส่วนละเอียดๆ ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก อรหัตตมรรคออกจากรูป-
*ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย ออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามรูปราคะเป็นต้นนั้น จากขันธ์ทั้งหลาย
และออกจากสรรพนิมิตภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
[๔๗๒] วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิตเพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุตถฌาน นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน วิตก วิจาร ปีติ
สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน-
*สมาบัติ นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนา
ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา เพื่อประโยชน์แก่การได้โสดาปัตติมรรค สกทา-
*คามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐาน-
*วิโมกข์ ฯ
[๔๗๓] วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การได้
หรือวิบากแห่งปฐมฌาน แห่งทุติยฌาน แห่งตติยฌาน แห่งจตุตถฌาน มีอยู่
นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบาก
แห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ แห่งวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แห่งอากิญจัญญา-
*ยตนสมาบัติ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ มีอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ๔
ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์เป็นไฉน โสดาปัตติผลแห่งโสดา
ปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผลแห่งอนาคามิมรรค
อรหัตตผลแห่งอรหัตตมรรค นี้เป็นวิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ ฯ
[๔๗๔] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน
ย่อมได้เฉพาะนีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเสียวภายนอก ย่อมได้เฉพาะ
นีลสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว
ครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า นิมิตสีเขียว
ทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้เป็นรูป เธอเป็นผู้มีความสำคัญว่าเป็นรูป ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ฯลฯ นิมิตสีแดง ...
นิมิตสีขาวในภายใน ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอัน
ถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปในนิมิต
สีขาวในภายนอก ย่อมได้เฉพาะโอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้
ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า นิมิตสีขาวทั้งสองทั้งภายในและภายนอกนี้ เป็นรูป
เธอย่อมมีความสำคัญว่าเป็นรูป ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปย่อม
เห็นรูปทั้งหลายอย่างนี้ ฯ
[๔๗๕] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูป
ในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก อย่างไร ฯ
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเขียวในภายใน
ไม่ได้นีลสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีเขียวภายนอก ย่อมได้นีลสัญญา
เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้น
แล้วเธอย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่มีความสำคัญ
ว่าเป็นรูปในภายใน นิมิตสีเขียวภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มีรูปสัญญา ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่มนสิการถึงเฉพาะนิมิตสีเหลือง ... นิมิตสีแดง ...
นิมิตสีขาวในภายใน ไม่ได้โอทาตสัญญา ย่อมน้อมจิตไปในนิมิตสีขาวภายนอก
ย่อมได้โอทาตสัญญา เธอทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
กำหนดไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วเธอย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน นิมิตสีขาวในภายนอกนี้เป็นรูป เธอก็มี
รูปสัญญา ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่าเป็นรูปในภายใน
เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก อย่างนี้ ฯ
[๔๗๖] ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงาม
เท่านั้น อย่างไร ฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่
ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน
ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง มีใจประกอบด้วย
กรุณา ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง
มีใจประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็น
ที่เกลียดชัง มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เพราะ
เป็นผู้เจริญอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายไม่เป็นที่เกลียดชัง ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
ภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อย่างนี้ ฯ
[๔๗๗] อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ด้วยมนสิการว่า อากาศหา
ที่สุดมิได้ นี้เป็นอากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงอากาสานัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้เป็นวิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ
ด้วยมนสิการว่า สิ่งน้อยหนึ่งไม่มี นี้เป็นอากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะล่วงอากิญจัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญา-
*ยตนสมาบัติ นี้เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ ฯ
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติโดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
นี้เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ ฯ
[๔๗๘] สมยวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็น
สมยวิโมกข์ ฯ
อสมยวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอสมยวิโมกข์ ฯ
สามยิกวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสามยิก
วิโมกข์ ฯ
อสามยิกวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอสามยิกวิโมกข์ ฯ
กุปปวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นกุปป-
*วิโมกข์ ฯ
อกุปปวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอกุปปวิโมกข์ ฯ
โลกิยวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นโลกิย
วิโมกข์ ฯ
โลกุตตรวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นโลกุตตรวิโมกข์ ฯ
สาสววิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสาสว-
*วิโมกข์ ฯ
อนาสววิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอนาสววิโมกข์ ฯ
[๔๗๙] สามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นสามิส
วิโมกข์ ฯ
นิรามิสวิโมกข์เป็นไฉน วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป นี้เป็นนิรามิส
วิโมกข์ ฯ
นิรามิสตรวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นนิรามิสตรวิโมกข์ ฯ
ปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ อรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นปณิหิต-
*วิโมกข์ ฯ
อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
ปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน
ฯลฯ แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้เป็นปณิหิตปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ ฯ
สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสุญญต-
*วิโมกข์ ฯ
วิสุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นวิสุญญตวิโมกข์ ฯ
เอกัตตวิโมกข์เป็นไฉน อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพาน
นี้เป็นเอกัตตวิโมกข์ ฯ
นานัตตวิโมกข์เป็นไฉน ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นนานัตต-
*วิโมกข์ ฯ
[๔๘๐] สัญญาวิโมกข์เป็นไฉน สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐
สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย
พึงมีได้ ฯ
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
อนิจจานุปัสนาญาณพ้นจากนิจจสัญญา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นสัญญา-
*วิโมกข์ ทุกขานุปัสนาญาณพ้นจากสุขสัญญา ... อนัตตานุปัสนาญาณพ้นจาก
อัตตสัญญา ... นิพพิทานุปัสนาญาณพ้นจากนันทิสัญญา (ความสำคัญโดยความ
เพลิดเพลิน) ... วิราคานุปัสนาญาณพ้นจากราคสัญญา ... นิโรธานุปัสนาญาณพ้น
จากสมุทยสัญญา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ พ้นจากอาทานสัญญา (ความ
สำคัญโดยความถือมั่น) ... อนิมิตตานุปัสนาญาณพ้นจากนิมิตตสัญญา ... อัปปณิ-
*หิตานุปัสนาญาณพ้นจากปณิธิสัญญา ... สุญญตานุปัสนาญาณพ้นจากอภินิเวส-
*สัญญา (ความสำคัญโดยความยึดมั่น) ... เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากนิจจสัญญา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป
พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ๑
เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ
ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากนิจจสัญญา
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า
ในชราและมรณะ พ้นจากอภินิเวสสัญญา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสัญญาวิโมกข์
สัญญาวิโมกข์ ๑ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑๐ สัญญาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสัญญาวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้สัญญาวิโมกข์ ฯ
[๔๘๑] ญาณวิโมกข์เป็นไฉน ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐
ญาณาวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึง
มีได้ ฯ
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร อนิจจานุปัสนายถาภูตญาณ
พ้นจากความหลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็น
ญาณวิโมกข์ ทุกขานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็นสุข จาก
ความไม่รู้ ... อนัตตานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความเป็นตัวตน
จากความไม่รู้ ... นิพพิทานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลงโดยความ
เพลิดเพลิน จากความไม่รู้ ... วิราคานุปัสนายถาภูตญาณพ้นจากความหลงโดย
ความกำหนัด จากความไม่รู้ ... นิโรธานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจากความหลง
โดยเป็นเหตุให้เกิด จากความไม่รู้ ... ปฏินิสสัคคานุปัสนายถาภูตญาณ พ้นจาก
ความหลงโดยความถือมั่น จากความไม่รู้ ... อนิมิตตานุปัสนายถาภูตญาณพ้นจาก
ความหลงโดยความเป็นนิมิต จากความไม่รู้ ... อัปปณิหิตานัสนายถาภูตญาณ
พ้นจากความหลงโดยความเป็นที่ตั้ง จากความไม่รู้ ... สุญญตานุปัสนายถาภูตญาณ
พ้นจากความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความหลง
โดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ฯลฯ
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความหลงโดยความ
ยึดมั่น จากความรู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณ
วิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดย
ปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ใน-
*สัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ พ้นจากความ
หลงโดยความเป็นสภาพเที่ยง จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์
ฯลฯ ยถาภูตญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ พ้นจาก
ความหลงโดยความยึดมั่น จากความไม่รู้ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นญาณวิโมกข์
ญาณวิโมกข์ ๑ เป็นญาณวิโมกข์ ๑๐ ญาณวิโมกข์ ๑๐ เป็นญาณวิโมกข์ ๑ ด้วย
สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นญาณวิโมกข์ ฯ
[๔๘๒] สีติสิยาวิโมกข์เป็นไฉน สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยา-
*วิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย พึงมีได้ ฯ
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
อนิจจานุปัสนา เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความ
เดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ทุกขานุปัสนา ... โดยความเป็นสุข ... อนัตตา-
*นุปัสนา ... โดยความเป็นตน ... นิพพิทานุปัสนา ... โดยความเพลิดเพลิน ...
วิราคานุปัสนา ... โดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนา ... โดยความเป็นเหตุเกิด
ปฏินิสสัคคานุปัสนา ... โดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนา ... โดยมีนิมิต
เครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสนา ... โดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสนา
เป็นญาณอันมีความเย็นใจอย่างเยี่ยม พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อน
และความกระวนกระวายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็น สีติสิยาวิโมกข์
สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติยาวิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นญาณอันมีความเย็นอย่างเยี่ยม
พ้นจากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพ
เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดย
ปริยายพึงมีได้อย่างนี้ ฯ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นญาณอันมีความเย็นอย่างเยี่ยม พ้น
จากความเดือดร้อน ความเร่าร้อนและความกระวนกระวายโดยความเป็นสภาพไม่
เที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯลฯ สีติสิยาวิโมกข์ ๑ เป็นสีติสิยา
วิโมกข์ ๑๐ สีติสิยาวิโมกข์ ๑๐ เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ นี้เป็นสีติสิยาวิโมกข์ ฯ
[๔๘๓] ฌานวิโมกข์เป็นไฉน เนกขัมมะเกิด เผากามฉันทะ เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌาน เนกขัมมะเกิดพ้นไป เผาพ้นไป เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน-
*วิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ความไม่พยาบาทเกิด เผาความพยาบาท เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฌาน ความไม่พยาบาทเกิดพ้นไป เผาพ้นไป ... อาโลกสัญญาเกิด เผา
ถีนมิทธะ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ความไม่ฟุ้งซ่านเกิด เผาอุทธัจจะ ... การ
กำหนดธรรมเกิด เผาวิจิกิจฉา ... ญาณเกิด เผาอวิชชา ... ความปราโมทย์เกิด
เผาอรติ ... ปฐมฌานเกิด เผานิวรณ์ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน ฯลฯ อรหัต-
*มรรคเกิด เผากิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌาน เกิดพ้นไป เผาพ้นไป
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ ธรรมเกิด ย่อมเผา ฌายีบุคคลย่อมรู้กิเลสที่เกิด
และที่ถูกเผา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฌานวิโมกข์ นี้เป็นฌานวิโมกข์ ฯ
[๔๘๔] อนุปาทาจิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็น
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วย
สามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้ ฯ
คำว่า พึงมีได้ ความว่า ก็พึงมีได้อย่างไร ฯ
อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ทุกขานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่น
โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเป็นตัวตน
... นิพพิทานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคา
นุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ พ้น
จากความถือมั่นโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ พ้นจากความ
ถือมั่นโดยความถือผิด ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยนิมิต ...
อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ พ้นจากความถือมั่นโดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตานุปัสนาญาณ
พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐
เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป พ้นจากความถือมั่นโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น เพราะ
เหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็นอนุปาทาจิตต-
*วิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ ด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ใน
สังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะพ้นจากความถือมั่นโดย
ความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความว่างเปล่า ในชราและมรณะ พ้นจากความถือมั่นโดยความยึดมั่น
เพราะเหตุนั้นจึงเป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑ เป็น
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑๐ เป็นอนุปาทาจิตตวิโมกข์ ๑
ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย พึงมีได้อย่างนี้ ฯ
[๔๘๕] อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ทุกขานุ-
*ปัสนาญาณ อนัตตานุปัสนาญาณ นิพพิทานุปัสนาญาณ วิราคานุปัสนาญาณ
นิโรธานุปัสนาญาณ ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ อนิมิตตานุปัสนาญาณ อัปปณิ-
*หิตานุปัสนาญาณ สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทานเท่าไร ฯ
อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๑ อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ นิพพิทา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑
นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๔ อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ อัปปณิหิตา
นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๓ ฯ
[๔๘๖] อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนิจจา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน ทุกขานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๑ นี้ ฯ
อนัตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนัตตานุปัสนา
ญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน
อนัตตานุปัสนาญาณย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน นิพพิทา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน วิราคานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
อุปาทาน ๑ นี้ ฯ
นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน นิโรธานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวา-
*ทุปาทาน นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เหล่านี้ ฯ
ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ เป็นไฉน ปฏินิสสัคคา
นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพ
ตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๔
เหล่านี้ ฯ
อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน อนิมิตตา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวา-
*ทุปาทาน อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ เป็นไฉน อัปปณิหิตา
นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ นี้ ฯ
สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เป็นไฉน สุญญตา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวา-
*ทุปาทาน สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ เหล่านี้ ฯ
ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสนาญาณ ๑ อนัตตานุปัสนาญาณ ๑
อนิมิตตานุปัสนาญาณ ๑ สุญญตานุปัสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๓ คือ
ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ ญาณ ๔ เหล่านี้ คือ
ทุกขานุปัสนาญาณ ๑ นิพพิทานุปัสนาญาณ ๑ วิราคานุปัสนาญาณ ๑ อัปปณิหิตา
นุปัสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจากอุปาทาน ๑ คือ กามุปาทาน ญาณ ๒ เหล่านี้ คือ
นิโรธานุปัสนาญาณ ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ๑ ย่อมพ้นจาก อุปาทานทั้ง ๔
คือ กามุปาทาน ๑ ทิฏฐุปาทาน ๑ สีลัพพตุปาทาน ๑ อัตตวาทุปาทาน ๑ นี้เป็น
อนุปาทาจิตตวิโมกข์ ฯ
จบวิโมกขกถา ปฐมภาณวาร ฯ
[๔๘๗] ก็วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออก
ไปจากโลก ด้วยความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ โดยความพิจารณาเห็นสรรพ-
*สังขาร โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด ด้วยความที่จิตแล่นไปในอัปปณิหิตธาตุ
โดยความองอาจแห่งใจในสรรพสังขาร และด้วยความที่จิตแล่นไปในสุญญตาธาตุ
โดยความพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยแปรเป็นอย่างอื่น วิโมกข์อันเป็นประธาน
๓ นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก ฯ
[๔๘๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
สังขารย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ
สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ
น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็น
ของสูญ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิต
มากด้วยธรรมอะไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมไป เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา จิตมากด้วยความรู้ ฯ
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้อินทรีย์เป็นไฉน ฯ
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป
ย่อมได้สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้
สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์ ฯ
[๔๘๙] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความ
น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์
นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัยเกิดร่วมกัน) เป็นอัญญมัญญปัจจัย
(เป็นปัจจัยของกันและกัน) เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน) เป็นสัมปยุตต
ปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน) เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
เพราะอรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วย
ความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
มากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตาม
อินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร
ใครย่อมเจริญ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ
สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย ... เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่า
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มี
แก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ
สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไปด้วยความรู้
ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจ
เป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ
ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด ฯ
[๔๙๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความ
น้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์
นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย
เป็นสัมปยุตตปัจจัยในเวลาแทงตลอด มีอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธ
ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยย์
นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่
เป็นไฉน ... ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่
เป็นไฉน ... ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ
สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย ในเวลา
แทงตลอด ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น ด้วยอาการอย่างนี้ แม้บุคคลผู้แทงตลอด
ก็ย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ย่อมแทงตลอด ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ สมาธินทรีย์
เป็นใหญ่ ... ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้ ปัญญินทรีย์
เป็นใหญ่ ... ฯ
[๔๙๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อินทรีย์อะไร
มีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไร
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์
อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็น
กายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
[๔๙๒] บุคคลผู้เชื่อน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคล
ทำให้แจ้งเพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลบรรลุ
แล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคลเชื่ออยู่ย่อม
น้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลัง
จึงกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั่นจึงชื่อว่ากายสักขี ญาณ
ความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้ว
ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคล
๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑
พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้ เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ
โดยปริยาย ฯ
คำว่า พึงเป็น คือ พึงเป็นอย่างไรเล่า ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์อย่างนี้ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่างนี้ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะ
ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ บุคคล ๓
จำพวกนี้ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์อย่างนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล
๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้
เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ อย่างนี้ ฯ
บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิ
ปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฐิปัตตะ
อย่างหนึ่ง เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็น
กายสักขีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นทิฐิปัตตบุคคล บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ
สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง
เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฐิปัตตะอย่างหนึ่ง อย่างนี้ ฯ
[๔๙๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี
ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะ
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์
นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธา
นุสารีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔
ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔
เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมด
นั้นเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ
ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค
ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์
ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอัน
บุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็น
สัทธาธิมุต ฯ
[๔๙๔] เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดา
ปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค
ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า
เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
... สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วย
สามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี ฯ
[๔๙๕] เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง
เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔
ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์
บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์
มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญ
ดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดา
ปัตติผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรค
ทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็น
อันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้น
เป็นทิฐิปัตตะ ฯ
[๔๙๖] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งเนกขัมมะ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง หรือจักถึง
ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทงตลอด
ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง
หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือว่าจักถึงความสำเร็จ ถึงความ
แกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมด
นั้นเป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
[๔๙๗] บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน การกำหนดธรรม ญาณ
ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตน
สมาบัติ อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา
วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา ขยานุปัสนา วยานุปัสนา
วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตานุปัสนา สุญญตานุปัสนา
อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสนะ อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา
วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค
อรหัตมรรค ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญ
ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์
๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือ
จักเจริญ ซึ่งวิโมกข์ ๘ บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจักบรรลุ ถึงแล้ว ย่อมถึง
หรือจักถึง ได้แล้ว ย่อมได้ หรือจักได้ แทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือ
จักแทงตลอด ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว
ย่อมถูกต้อง หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึง
ความชำนาญ ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความ
แกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้น
เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
[๔๙๘] ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรลุแล้ว ย่อมบรรลุ หรือจัก
บรรลุซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วย
สามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งแทงตลอดแล้ว ย่อมแทงตลอด หรือจักแทง
ตลอดซึ่งวิชชา ๓ ฯลฯ บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถ
แห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะ
ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งศึกษาแล้ว ย่อมศึกษา หรือจักศึกษาซึ่งสิกขา ๔
ทำให้แจ้งแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง หรือจักทำให้แจ้ง ถูกต้องแล้ว ย่อมถูกต้อง
หรือจักถูกต้อง ถึงความชำนาญแล้ว ย่อมถึงความชำนาญ หรือจักถึงความชำนาญ
ถึงความสำเร็จแล้ว ย่อมถึงความสำเร็จ หรือจักถึงความสำเร็จ ถึงความ
แกล้วกล้าแล้ว ย่อมถึงความแกล้วกล้า หรือจักถึงความแกล้วกล้า บุคคลทั้งหมดนั้น
เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุต ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง
ปัญญินทรีย์ ฯ
[๔๙๙] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทง
ตลอดสัจจะด้วยอาการเท่าไร ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการ ๔ คือ บุคคลย่อมแทงตลอดทุกขสัจเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการ
แทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ
๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่ง
สมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะด้วยอาการเท่าไร ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา แทง
ตลอดสมุทยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการ
แทงตลอดด้วยภาวนา การแทงตลอดด้วยการเจริญมรรคสัจ การแทงตลอดด้วย
อาการกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง การแทงตลอดด้วยการละสังขารทั้งปวง การแทงตลอด
ด้วยการเจริญกุศลทั้งปวง และการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งมรรค ๔ แห่ง
นิโรธ การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วย
อาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถ
แห่งสมาธินทรีย์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ฯ
จบทุติยภาณวาร
[๕๐๐] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏโดยความ
สิ้นไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ
น่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏโดยความเป็นของ
ว่างเปล่า ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยอะไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมมากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์จิตย่อมมากด้วยความสงบ เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นอนัตตา จิตย่อมมากด้วยความรู้ ฯ
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ มนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ ย่อมได้วิโมกข์เป็นไฉน ฯ
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจ
เชื่อ ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ
ย่อมได้อัปปณิหิตวิโมกข์ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้
ย่อมได้สุญญตวิโมกข์ ฯ
[๕๐๑] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความ
น้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้นมี
เท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มีกิจอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ใครเจริญ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ ... ใครเจริญ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ ... ใครเจริญ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นมี ๒
ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจ
เป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นเจริญ การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่
บุคคลผู้ปฏิบัติผิด ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย ... การเจริญวิโมกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ปฏิบัติผิด ฯ
[๕๐๒] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความ
น้อมใจเชื่อ วิโมกข์อะไรเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามวิโมกข์นั้น
มีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มีกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ในเวลา
แทงตลอด วิโมกข์ไหนเป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามวิโมกข์
นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะ
อรรถว่ากระไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ วิโมกข์อะไร
เป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยความน้อมใจเชื่อ
อนิมิตตวิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนา ที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้น
มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อนิมิตตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์
แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอนิมิตตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า
ภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น
แม้บุคคลผู้แทงตลอดอย่างนี้ก็ชื่อว่าเจริญ แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยความสงบ อัปปณิหิต
วิโมกข์เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็น
สหชาตปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด อัปปณิหิต
วิโมกข์ก็เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามอัปปณิหิตวิโมกข์นั้น
ก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยความรู้ สุญญตวิโมกข์
เป็นใหญ่ วิโมกข์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นมี ๒ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย ... มีกิจเป็นอันเดียวกัน แม้ในเวลาแทงตลอด สุญญตวิโมกข์ก็เป็นใหญ่
วิโมกข์แห่งการแทงตลอดที่เป็นไปตามสุญญตวิโมกข์นั้นก็มี ๒ ทั้งเป็นสหชาต
ปัจจัย ... แม้ผู้เจริญก็ชื่อว่าแทงตลอด ฯ
[๕๐๓] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง วิโมกข์อะไรมี
ประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อ
มนสิการโดยความเป็นทุกข์ วิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไร
มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา วิโมกข์
อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะวิโมกข์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
เพราะอนิมิตตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดย
ความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง เพราะอัปปณิหิตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง
บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์มี
ประมาณยิ่ง เพราะสุญญตวิโมกข์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ
[๕๐๔] บุคคลเชื่อน้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล
บุคคลทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล
บุคคลถึงแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล บุคคล
เชื่อย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตตบุคคล บุคคลถูกต้องฌาน
ก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี
บุคคล ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคล
เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้วหรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคล
ทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วย
สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ก็บุคคล
เหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่งความไม่พยาบาท
อาโลกสัญญา ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่าน ฯ
ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์
เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง
สุญญตวิโมกข์ ฯ
[๕๐๕] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม
แทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ได้ด้วยอาการ ๔ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ
เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย
ภาวนา การแทงตลอดสัจจะย่อมมีด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ ด้วย
อาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วย
สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด
สัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
ได้ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ฯลฯ
และการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งมรรค ๔ แห่งนิโรธ การแทงตลอดสัจจะ
ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิ
มุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ฯ
[๕๐๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อม
เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง สัมมาทัศนะ ความเห็นชอบย่อมมีได้
อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อมละความสงสัยได้
ที่ไหน ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคล
เห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ... ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคล
เห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร
บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในที่ไหน ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ ย่อมเห็นนิมิต
ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็น
สภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตาม
สัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นความเป็นไปตาม
ความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็นสภาพ
อันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น
อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและความเป็น
ไปตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ ธรรมทั้งปวง
เป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตาม
สัมมาทัศนะนั้น อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ (ปัญญา
เครื่องข้ามความสงสัย) มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถ
อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ มีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
[๕๐๗] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา อะไรย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง นิมิตย่อมปรากฏโดยความ
เป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปย่อมปรากฏโดยความ
เป็นของน่ากลัว เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความเป็นไป
ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านั้น คือ ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว
อาทีนวญาณ และนิพพิทา มีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสนา และสุญญตานุปัสนา มีอรรถต่างกัน
และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ อนัตตานุปัสนา และสุญญตานุปัสนา มีอรรถอย่าง
เดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
[๕๐๘] เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาอะไรย่อมเกิดขึ้น ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ญาณ คือ การพิจารณานิมิต
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ญาณ คือ การพิจารณาความเป็นไป
ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ญาณ คือ การพิจารณาทั้งนิมิต
และความเป็นไปย่อมเกิดขึ้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ และ
สังขารุเปกขาญาณ มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความ
เป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากอะไร ย่อมแล่นไปในที่ไหน ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตย่อมออกไปจากนิมิต
ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีนิมิต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตย่อม
ออกไปจากความเป็นไป ย่อมแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเป็นไป เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา จิตย่อมออกไปจากนิมิตและความเป็นไป ย่อมแล่นไป
ในนิพพานธาตุอันเป็นที่ดับ ซึ่งไม่มีนิมิต ไม่มีความเป็นไป ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และ
โคตรภูธรรม มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกันหรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่าง
กันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปภายนอก และ
โคตรภูธรรม มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยวิโมกข์อะไร ฯ
เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมหลุดพ้นไปด้วย
อนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมหลุดพ้นไปด้วยอัปปณิหิต
วิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมหลุดพ้นไปด้วยสุญญตวิโมกข์ ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วนทั้งสอง
และมรรคญาณ มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน
ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
ธรรมเหล่านี้ คือ ปัญญาในความออกไปและความหลีกไปจากส่วนทั้งสอง
และมรรคญาณมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
[๕๐๙] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการเท่าไร ย่อมมีใน
ขณะเดียวกันด้วยอาการเท่าไร ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ ย่อมมีในขณะเดียวกัน
ด้วยอาการ ๗ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ เป็นไฉน ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความเป็นใหญ่ ๑
ด้วยความตั้งมั่น ๑ ด้วยความน้อมจิตไป ๑ ด้วยความนำออกไป ๑ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างไร ฯ
เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง อนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่
เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ เมื่อมนสิการ
โดยความเป็นอนัตตา สุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นใหญ่ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะ
ต่างกันด้วยความเป็นใหญ่อย่างนี้ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้งมั่นอย่างไร ฯ
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย
สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมตั้งจิตไว้มั่นด้วย
สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมตั้งจิตไว้
มั่นด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความตั้ง
มั่นอย่างนี้ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความน้อมจิตไปอย่างไร ฯ
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมน้อมจิตไปด้วย
สามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมน้อมจิตไปด้วย
สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมน้อมจิต
ไปด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความ
น้อมจิตไปอย่างนี้ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไปอย่างไร ฯ
บุคคลเมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมนำจิตออกไปสู่
นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับ ด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมนำจิตออกไปสู่นิพพานอันเป็นที่ดับด้วย
สามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยความนำออกไป
อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะต่างกันด้วยอาการ ๔ นี้ ฯ
[๕๑๐] วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ คือ ด้วยความประชุม
ลง ๑ ด้วยความบรรลุ ๑ ด้วยความได้ ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ด้วยความ
ทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความถูกต้อง ๑ ด้วยความตรัสรู้ ๑ ฯ
วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ด้วยความ
บรรลุ ด้วยความได้ ด้วยความแทงตลอด ด้วยความทำให้แจ้ง ด้วยความถูกต้อง
ด้วยความตรัสรู้ อย่างไร ฯ
บุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมพ้นจากนิมิต เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลย่อมพ้นจากอารมณ์ใด ย่อมไม่
ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง
อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
สุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความ
ประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อม
พ้นจากความปรารถนาอันเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิต-
*วิโมกข์ บุคคลไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น
วิโมกข์นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด
เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตใด
ไม่ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓
ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ... ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ บุคคล
มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมพ้นจากความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์
นั้นจึงเป็นสุญญตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิตเพราะนิมิตว่างเปล่าด้วยวิโมกข์ใด เพราะ
เหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ บุคคลไม่มีนิมิต เพราะนิมิตใด ไม่
ตั้งอยู่ในนิมิตนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็นอัปปณิหิตวิโมกข์ บุคคลไม่ตั้ง
อยู่ในอารมณ์ใด เป็นผู้ว่างเปล่าจากอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์นั้นจึงเป็น
สุญญตวิโมกข์ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกัน ด้วยความประชุมลง ...
ด้วยความตรัสรู้อย่างนี้ วิโมกข์ ๓ ย่อมมีในขณะเดียวกันด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ
[๕๑๑] วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นประธานมีอยู่ ธรรมอันเป็นประธาน
แห่งวิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์มีอยู่ ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์
มีอยู่ วิโมกข์วิวัฏมีอยู่ การเจริญวิโมกข์มีอยู่ ความสงบระงับแห่งวิโมกข์
มีอยู่ ฯ
วิโมกข์เป็นไฉน คือ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิต
วิโมกข์ ฯ
สุญญตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น
โดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุญญตวิโมกข์ ทุกขานุ
ปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่น โดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้น
จากความยึดมั่นโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความ
ยึดมั่นโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดย
เป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
ถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นนิมิต ...
อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยเป็นที่ตั้ง ... สุญญตา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า
ในรูป ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นโดยความ
เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากความยึดมั่นทุกอย่าง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ นี้เป็นสุญญตวิโมกข์ ฯ
[๕๑๒] อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนา-
*ญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
เครื่องหมายโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
ความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายทุกอย่าง ...
อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง ...
สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น ... ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มี
นิมิตในรูป ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความ
ไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง ... ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น ...
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความ
เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งใน
ชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ
ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ฯ
[๕๑๓] อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
ที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ
ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดย
ความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความกำหนัด ...
นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคา-
*นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อม
พ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
ที่ตั้งทุกอย่าง ... สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น ...
ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็น
สภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ
พิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
ว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้น
จากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ
การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน
จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มี
ที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิต-
*วิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้น
จากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็น
อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
[๕๑๔] ธรรมอันเป็นประธานเป็นไฉน ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่ายความ
ตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้ธรรมอันเป็นประธาน ฯ
ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็น
อารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ ฯ
ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศล-
*ธรรมแม้ทุกอย่าง เป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ นี้ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ ฯ
ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์เป็นไฉน กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรม
แม้ทุกอย่าง เป็นธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ นี้ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ ฯ
[๕๑๕] วิโมกขวิวัฏเป็นไฉน สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณ-
*วิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ บุคคลหมายรู้หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
สัญญาวิวัฏ บุคคลคิดอยู่หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏ บุคคล
รู้แจ้งหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏ บุคคลทำความรู้หลีกออกไป
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏ บุคคลปล่อยวางหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นวิโมกขวิวัฏ บุคคลหลีกออกไปในธรรมอันมีความถ่องแท้ เพราะเหตุนั้น จึง
เป็นสัจจวิวัฏ สัญญาวิวัฏมีในที่ใด เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น เจโตวิวัฏมีในที่ใด
สัญญาวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏมีในที่ใด จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น
จิตตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
จิตตวิวัฏมีในที่ใด ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น ญาณวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโต
วิวัฏ จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏมีในที่ใด
วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกข
วิวัฏมีในที่ใด สัจจวิวัฏก็มีในที่นั้น สัจจวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น นี้เป็นวิโมกข์วิวัฏ ฯ
[๕๑๖] การเจริญวิโมกข์เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก
ซึ่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
*จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ... โสดาปัตติมรรค ... สกทาคามิมรรค ...
อนาคามิมรรค ... การเสพ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอรหัตมรรค นี้เป็นการ
เจริญวิโมกข์ ฯ
ความสงบระงับแห่งวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน ...
ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผล
แห่งอนาคามิมรรค อรหัตผลแห่งอรหัตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ ฯ
จบตติยภาณวาร ฯ
จบวิโมกขกถา
[/Quote-Tipitaka]

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ


อ้างคำพูด:
ปัญญาที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าญานทัสสนะต้องมีสมาธิเป็นผู้กำเนิด หรือสมถะ

ญานทัสสนะมีหลายระดับ

ระดับสูงสุดคือ ยถาภูตญานทัสสนะ เป็นญานที่รู้เห็นตามความเป็นจริง

หรือรู้แจ้งเห็นจริง

เป็นการทำนิพพานให้แจ้งด้วย

ซึงเป็นการนิสรณะ ไม่ใช่"ศิลา"ทับหญ้าอีกต่อไป


เห็นด้วยครับ



ผม ระลึกถึง พระพุทธวจนะ ที่ตรัสไว้ว่า

http://84000.org/tipitaka/read/?16/69/37

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
@๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๆลๆ



........................


ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นเหตุที่อิงอาศัย


ยถาภูตญาณทัสสนะ ถ้าจะเทียบในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาญาณะ

ส่วน สมาธิ ในพระสูตรนี้ ถ้าจะเทียบในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot], รสมน และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร