ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปานะแปลว่าอะไร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=32089
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  tonnk [ 27 พ.ค. 2010, 09:42 ]
หัวข้อกระทู้:  ปานะแปลว่าอะไร

ปานะ ทั้งหลายแปลว่าอะไร

เจ้าของ:  บัวไฉน [ 08 ส.ค. 2010, 20:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปานะแปลว่าอะไร

tonnk เขียน:
ปานะ ทั้งหลายแปลว่าอะไร


:b6: ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหม นะคุณ tonnk
ถ้าไม่ใช่ ปานะ ในความหมายของคุณ tonnk ก็ขออภัยด้วย
ไปลอกเขามาอีกที จริงๆ แล้วถ้าคุณไปวัดเพื่อ
ฝึกกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ สักครั้งละก็เข้าถึง
คำว่า น้ำ "ปานะ" แน่ เพราะมีให้ดื่มทุกเย็น :b9:
เจริญในธรรม


:b45: น้ำปานะ :b45:

:b53: ได้แก่ เครื่องดื่ม หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้
ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติแก่พระภิกษุให้รับ ประเคน
แล้วสามารถเก็บไว้ฉันได้ตลอด ๑ วัน ๑ คืน เรียกว่า ยามกาลิก
ทรงอนุญาติไว้ ๘ อย่าง
๑. อัมพะปานะ น้ำมะม่วง
๒. ชัมพุปานะ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจะปานะ น้ำกล้วยมีเมล็ด
๔. โมจะปานะ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
๕. มะธุกะปานะ น้ำมะทรางต้องเจือด้วยน้ำจึงควร
๖. มุททิกะปานะ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
7. สาลุกะปานะ น้ำเหง้าบัว
๘.ผารุสะกะปานะ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่


:b51: นอกจากน้ำปานะ ๘ อย่างแล้ว
ท่านยังอนุญาตน้ำที่จะอนุโลมตามน้ำปานะไว้อีก เรียกว่า กัปปิยปานะอนุโลม
คือน้ำปานะที่สมควร ซึ่งฉันได้โดยไม่เป็นอาบัติในเวลาวิกาล ได้แก่
น้ำปานะแห่งผลไม้เล็ก เช่น ลูกหวาย
มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอนุญาติให้ฉันน้ำปานะเหล่านั้นผสมกับน้ำตาล
แล้วเคี่ยวไฟจนเข้มข้น (ยกเว้นที่ทำจากถั่วและนม)
สามารถฉันได้ จัดเป็น อัพโพหาริก เช่น น้ำอัดลมในสมัยนี้
แม้นน้ำผลไม้สำเร็จรูป เช่น น้ำองุ่นที่กรองเนื้อออกดีแล้ว ก็ดื่มได้


:b46: น้ำที่ไม่ทรงอนุญาต ดื่มแล้วองค์อุโบสถต้องแตกทำลาย
อกัปปิยปานะอนุโลม หรือ เครื่องดื่มที่ไม่พึงดื่ม คือ
น้ำปานะที่ไม่สมควร ภิกษุดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้
ถ้าดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตย์ ได้แก่
น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด
คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
น้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่ ) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก
น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม และ ฟักทอง
น้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ มีถั่วเหลือ ถั่วเขียว
ถั่วดำ และงา เป็นต้น แม้นจะต้มจะกรอง ทำเป็น
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ก็ย่อมเป็นอาบัติปาจิตตีย์
นม ท่านจัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล
แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร
หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์


:b26: ดังนั้น ผู้หวังความบริสุทธิ์ของอุโบสถมีองค์ ๘
พึงงดเว้นเครื่องดื่มที่ทรงห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายในยามวิกาล

เจ้าของ:  ปฐมกรรม [ 23 ก.ย. 2010, 22:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปานะแปลว่าอะไร

ความคิดส่วนตัวครับ
น้ำปานะ ผมคิดว่าน่าจะเป็นน้ำเปล่า ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ใดๆทั้งสิ้น เพราะเคยได้ยินจากพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอก ว่าไม่สมควรทานน้ำที่มี รส จะเกิดความอยากความต้องการมากขึ้น แทนที่จะตัดความอยากให้เกิด แต่กลับไปเพิ่มพูนให้มีเยอะขึ้น

ฟังจากข้างต้นแล้ว ในสมัยก่อน การคั้นน้ำผลไม้ สำหรับพระสงฆ์แล้ว มันน่าจะลำบากน่าดูที่จะนำมาฉันท์ตอนเย็น ตอนค่ำ หรือจะเก็บไว้ก็ไม่สำควร เพราะพระไม่สมควรนำ อาหารคาว หวาน เก็บไว้เกินเที่ยง

ส่วนน้ำต่างๆที่ได้มีการกลั่น น่าจะไว้ตอนพระท่านอาพาส มากกว่าครับ

แต่สำหรับผู้ถือศีลอุโบสถ อาจจะเป็นการอนุโลมก็เป็นได้

ข้อความด้านบนนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและส่วนครอบครัวโปรดใช้วิจารณาญานครับ

เจ้าของ:  student [ 24 ก.ย. 2010, 00:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปานะแปลว่าอะไร

อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวินัยของสงฆ์ดีจัง

เจ้าของ:  วังวนในกามภพ [ 25 ก.ย. 2010, 01:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปานะแปลว่าอะไร

บัวไฉน เขียน:
tonnk เขียน:
ปานะ ทั้งหลายแปลว่าอะไร


:b6: ไม่ทราบว่าใช้ได้ไหม นะคุณ tonnk
ถ้าไม่ใช่ ปานะ ในความหมายของคุณ tonnk ก็ขออภัยด้วย
ไปลอกเขามาอีกที จริงๆ แล้วถ้าคุณไปวัดเพื่อ
ฝึกกรรมฐานหรือนั่งสมาธิ สักครั้งละก็เข้าถึง
คำว่า น้ำ "ปานะ" แน่ เพราะมีให้ดื่มทุกเย็น :b9:
เจริญในธรรม


:b45: น้ำปานะ :b45:

:b53: ได้แก่ เครื่องดื่ม หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้
ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติแก่พระภิกษุให้รับ ประเคน
แล้วสามารถเก็บไว้ฉันได้ตลอด ๑ วัน ๑ คืน เรียกว่า ยามกาลิก
ทรงอนุญาติไว้ ๘ อย่าง
๑. อัมพะปานะ น้ำมะม่วง
๒. ชัมพุปานะ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจะปานะ น้ำกล้วยมีเมล็ด
๔. โมจะปานะ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
๕. มะธุกะปานะ น้ำมะทรางต้องเจือด้วยน้ำจึงควร
๖. มุททิกะปานะ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
7. สาลุกะปานะ น้ำเหง้าบัว
๘.ผารุสะกะปานะ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่


:b51: นอกจากน้ำปานะ ๘ อย่างแล้ว
ท่านยังอนุญาตน้ำที่จะอนุโลมตามน้ำปานะไว้อีก เรียกว่า กัปปิยปานะอนุโลม
คือน้ำปานะที่สมควร ซึ่งฉันได้โดยไม่เป็นอาบัติในเวลาวิกาล ได้แก่
น้ำปานะแห่งผลไม้เล็ก เช่น ลูกหวาย
มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอนุญาติให้ฉันน้ำปานะเหล่านั้นผสมกับน้ำตาล
แล้วเคี่ยวไฟจนเข้มข้น (ยกเว้นที่ทำจากถั่วและนม)
สามารถฉันได้ จัดเป็น อัพโพหาริก เช่น น้ำอัดลมในสมัยนี้
แม้นน้ำผลไม้สำเร็จรูป เช่น น้ำองุ่นที่กรองเนื้อออกดีแล้ว ก็ดื่มได้


:b46: น้ำที่ไม่ทรงอนุญาต ดื่มแล้วองค์อุโบสถต้องแตกทำลาย
อกัปปิยปานะอนุโลม หรือ เครื่องดื่มที่ไม่พึงดื่ม คือ
น้ำปานะที่ไม่สมควร ภิกษุดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้
ถ้าดื่ม ต้องอาบัติปาจิตตย์ ได้แก่
น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด
คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
น้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่ ) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก
น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม และ ฟักทอง
น้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ มีถั่วเหลือ ถั่วเขียว
ถั่วดำ และงา เป็นต้น แม้นจะต้มจะกรอง ทำเป็น
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ก็ย่อมเป็นอาบัติปาจิตตีย์
นม ท่านจัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล
แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร
หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์


:b26: ดังนั้น ผู้หวังความบริสุทธิ์ของอุโบสถมีองค์ ๘
พึงงดเว้นเครื่องดื่มที่ทรงห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายในยามวิกาล


ขอบคุณครับ ได้ทบทวนอีกครั้ง เกือบลืมไปเลยตั้งแต่บวชเรียนมา อนุโมทนาครับ

เจ้าของ:  Hanako [ 26 ก.ย. 2010, 11:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปานะแปลว่าอะไร

น้ำเก็กฮวยน่าจะได้เนาะ กรองละเอียดเลยไม่มีผงเหลือเลย :b48:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/