ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=30933
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ศิรัสพล [ 19 เม.ย. 2010, 15:15 ]
หัวข้อกระทู้:  ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

พระสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างจริงๆ ชั้นพระสูตรและอรรถกถา ในการอาศัยโยนิโสมนสิการในการเจริญวิปัสสนากระทั่งบรรลุอรหันต์ ขอนำเอามาให้อ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจให้ดี เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์แก่การเจริญก้าวหน้าในทางธรรมต่อไป ดังนี้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
พระสูตรหลัก
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


เถรคาถา จตุกกนิบาต
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในจตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา

สุภาษิตชี้โทษแห่งบ่วงมัจจุราช


[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็
หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
อรรถกถาอธิบายขยายความ
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา

อรรถกถาจตุกกนิบาต
อรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑


บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ คาถาของท่านพระนาคสมาลเถระ.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านพระนาคสมาลเถระนี้บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ในคิมหสมัยได้เห็นพระศาสดาเสด็จดำเนินบนภาคพื้นอันร้อนระอุไปด้วยแสงพระอาทิตย์ จึงได้ถวายร่ม.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่านาคสมาละ เจริญวัยแล้วได้ศรัทธาบวชในสมาคมแห่งพระญาติ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดกาลเล็กน้อย.

วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร เห็นหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งประดับตกแต่งแล้วฟ้อนอยู่ ในเมื่อดนตรีกำลังประโคมอยู่ในหนทางใหญ่ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปว่า วาโยธาตุอันกระทำให้วิจิตรนี้ย่อมเปลี่ยนแปรกรัชกายไปโดยประการนั้นๆ ด้วยอำนาจความแผ่ไป น่าอัศจรรย์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้แล้ว ได้บำเพ็ญขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑-

แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทางไปได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าเข้าไปกลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ภูมิภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่าน เพลิง พายุใหญ่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่ หนาวร้อนย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โปรดรับร่มนี้อันเป็นเครื่องป้องกันลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักสัมผัสพระนิพพาน.

พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอมเทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้งและได้เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้

เราได้เสวยกรรมของตนซึ่งก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ

ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

____________________________
๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๔๗

ก็แลครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุข้อปฏิบัติของตนขึ้นเป็นประธานด้วย ๔ คาถาว่า

เราเดินทางเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำ
คนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์นุ่งห่มสวยงาม ทัด
ทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรี
ที่ถนนหลวง ท่ามกลางพระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอัน
ธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบาย
อันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา
ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจาก
สรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ความว่า มีตัวประดับด้วยอาภรณ์มีกำไรมือเป็นต้น.

บทว่า สุวสนา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มผ้าดี คือนุ่งผ้างาม.

บทว่า มาลินี ได้แก่ ทัดทรงดอกไม้ คือมีพวงดอกไม้ประดับแล้ว.

บทว่า จนฺทนุสฺสทา ได้แก่ มีร่างกายลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์.

บทว่า มชฺเฌ มหาปเถ นารี ตูริเย นจฺจติ นฏฺฏกี ความว่า หญิงนักฟ้อนคือหญิงฟ้อนรำคนหนึ่งในสถานที่ตามที่กล่าวแล้ว ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีมีองค์ ๕ ในท่ามกลางถนนพระนคร คือกระทำการฟ้อนรำอยู่ตามปรารถนา.

บทว่า ปิณฺฑิกาย ได้แก่ เพื่อภิกษา.

บทว่า ปวิฏฺโฐมฺหิ ได้แก่ เราเข้าไปยังพระนคร.

บทว่า คจฺฉนฺโต นํ อุทิกฺขิสํ ความว่า เมื่อเดินไปบนถนนในพระนคร ตรวจดูถนนเพื่อกำจัดอันตราย ได้แลดูหญิงนักฟ้อนนั้น.

ถามว่าเหมือนอะไร?

แก้ว่า เหมือนบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้.

อธิบายว่า อารมณ์มีรูปเป็นต้นอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุคือแห่งมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้ คือเที่ยวสัญจรอยู่ในโลก ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวฉันใด หญิงนักฟ้อนแม้นั้นก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวแก่ปุถุชนคนบอด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเสมือนกับบ่วงแห่งมัจจุราช.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ข้องอยู่เสมือนบ่วงแห่งมัจจุราช.

บทว่า เม ได้แก่ เรา.

บทว่า มนสีกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า ร่างกระดูกนี้อันเอ็นเกี่ยวพันไว้ อันเนื้อฉาบทาไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดและปฏิกูล มีอันปิดบัง ย่ำยี ทำลาย กำจัดความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา จึงแสดงอาการอันแปลกเช่นนี้.

บทว่า อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไปทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่งกายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิกปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อมได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น.

บทว่า นิพฺพิทา สมติฏฺฐถ ความว่า ความเบื่อหน่ายย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งอาทีนวานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นโทษ คือนิพพิทาญาณย่อมสำเร็จแล้วในหทัยของเรา, จิตในการจับรูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น แม้เพียงครู่เดียวก็ไม่ปรากฏ. โดยที่แท้เกิด แต่เพียงวางเฉยในรูปธรรมนามธรรมนั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจความเป็นผู้ใคร่จะพ้นเป็นต้น.

บทว่า ตโต ความว่า เบื้องหน้าแต่วิปัสสนาญาณ.

บทว่า จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราได้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค ในเมื่อโลกุตรภาวนาเป็นไปอยู่.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงเหตุเกิดขึ้นแห่งผล.

จริงอยู่ ในขณะแห่งมรรคจิต กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมหลุดพ้น. ในขณะแห่งผลจิต กิเลสชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว ฉะนี้แล.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑

-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกกนิบาต ๑. นาคสมาลเถรคาถา จบ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=323&p=1

เจ้าของ:  enlighted [ 12 พ.ค. 2010, 23:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

ศิรัสพล เขียน:
พระสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างจริงๆ ชั้นพระสูตรและอรรถกถา ในการอาศัยโยนิโสมนสิการในการเจริญวิปัสสนากระทั่งบรรลุอรหันต์ ขอนำเอามาให้อ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจให้ดี เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เป็นประโยชน์แก่การเจริญก้าวหน้าในทางธรรมต่อไป ดังนี้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
พระสูตรหลัก
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


เถรคาถา จตุกกนิบาต
ว่าด้วยคาถาสุภาษิต ในจตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา

สุภาษิตชี้โทษแห่งบ่วงมัจจุราช


[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้นจิตของเราก็
หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
อรรถกถาอธิบายขยายความ
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกกนิบาต
๑. นาคสมาลเถรคาถา

อรรถกถาจตุกกนิบาต
อรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑


บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ คาถาของท่านพระนาคสมาลเถระ.

เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านพระนาคสมาลเถระนี้บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ในคิมหสมัยได้เห็นพระศาสดาเสด็จดำเนินบนภาคพื้นอันร้อนระอุไปด้วยแสงพระอาทิตย์ จึงได้ถวายร่ม.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่านาคสมาละ เจริญวัยแล้วได้ศรัทธาบวชในสมาคมแห่งพระญาติ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดกาลเล็กน้อย.

วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร เห็นหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งประดับตกแต่งแล้วฟ้อนอยู่ ในเมื่อดนตรีกำลังประโคมอยู่ในหนทางใหญ่ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปว่า วาโยธาตุอันกระทำให้วิจิตรนี้ย่อมเปลี่ยนแปรกรัชกายไปโดยประการนั้นๆ ด้วยอำนาจความแผ่ไป น่าอัศจรรย์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้แล้ว ได้บำเพ็ญขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑-

แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จจงกรมอยู่ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทางไปได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าเข้าไปกลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ภูมิภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่าน เพลิง พายุใหญ่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่ หนาวร้อนย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โปรดรับร่มนี้อันเป็นเครื่องป้องกันลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักสัมผัสพระนิพพาน.

พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอมเทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้งและได้เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้

เราได้เสวยกรรมของตนซึ่งก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ

ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

____________________________
๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๔๗

ก็แลครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุข้อปฏิบัติของตนขึ้นเป็นประธานด้วย ๔ คาถาว่า

เราเดินทางเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำ
คนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์นุ่งห่มสวยงาม ทัด
ทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรี
ที่ถนนหลวง ท่ามกลางพระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอัน
ธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบาย
อันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา
ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจาก
สรรพกิเลส ขอท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ความว่า มีตัวประดับด้วยอาภรณ์มีกำไรมือเป็นต้น.

บทว่า สุวสนา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มผ้าดี คือนุ่งผ้างาม.

บทว่า มาลินี ได้แก่ ทัดทรงดอกไม้ คือมีพวงดอกไม้ประดับแล้ว.

บทว่า จนฺทนุสฺสทา ได้แก่ มีร่างกายลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์.

บทว่า มชฺเฌ มหาปเถ นารี ตูริเย นจฺจติ นฏฺฏกี ความว่า หญิงนักฟ้อนคือหญิงฟ้อนรำคนหนึ่งในสถานที่ตามที่กล่าวแล้ว ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีมีองค์ ๕ ในท่ามกลางถนนพระนคร คือกระทำการฟ้อนรำอยู่ตามปรารถนา.

บทว่า ปิณฺฑิกาย ได้แก่ เพื่อภิกษา.

บทว่า ปวิฏฺโฐมฺหิ ได้แก่ เราเข้าไปยังพระนคร.

บทว่า คจฺฉนฺโต นํ อุทิกฺขิสํ ความว่า เมื่อเดินไปบนถนนในพระนคร ตรวจดูถนนเพื่อกำจัดอันตราย ได้แลดูหญิงนักฟ้อนนั้น.

ถามว่าเหมือนอะไร?

แก้ว่า เหมือนบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้.

อธิบายว่า อารมณ์มีรูปเป็นต้นอันเป็นบ่วงแห่งมัจจุคือแห่งมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้ คือเที่ยวสัญจรอยู่ในโลก ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวฉันใด หญิงนักฟ้อนแม้นั้นก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวแก่ปุถุชนคนบอด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเสมือนกับบ่วงแห่งมัจจุราช.

บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ข้องอยู่เสมือนบ่วงแห่งมัจจุราช.

บทว่า เม ได้แก่ เรา.

บทว่า มนสีกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า ร่างกระดูกนี้อันเอ็นเกี่ยวพันไว้ อันเนื้อฉาบทาไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดและปฏิกูล มีอันปิดบัง ย่ำยี ทำลาย กำจัดความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา จึงแสดงอาการอันแปลกเช่นนี้.

บทว่า อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไปทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่งกายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิกปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อมได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น.

บทว่า นิพฺพิทา สมติฏฺฐถ ความว่า ความเบื่อหน่ายย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งอาทีนวานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นโทษ คือนิพพิทาญาณย่อมสำเร็จแล้วในหทัยของเรา, จิตในการจับรูปธรรมและนามธรรมเหล่านั้น แม้เพียงครู่เดียวก็ไม่ปรากฏ. โดยที่แท้เกิด แต่เพียงวางเฉยในรูปธรรมนามธรรมนั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจความเป็นผู้ใคร่จะพ้นเป็นต้น.

บทว่า ตโต ความว่า เบื้องหน้าแต่วิปัสสนาญาณ.

บทว่า จิตฺตํ วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราได้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค ในเมื่อโลกุตรภาวนาเป็นไปอยู่.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงเหตุเกิดขึ้นแห่งผล.

จริงอยู่ ในขณะแห่งมรรคจิต กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมหลุดพ้น. ในขณะแห่งผลจิต กิเลสชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว ฉะนี้แล.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑

-----------------------------------------------------
.. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกกนิบาต ๑. นาคสมาลเถรคาถา จบ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=323&p=1



อิอิ

ตัวอย่าง เริ่มโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนา อย่างแยบคาย ตั้งแต่สมัย พระพุทธเจ้ากาลก่อน
คือ พระปทุมุตตระ

มาแยบคายสุดๆ สมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม


พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอมเทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้งและได้เป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
เราได้เสวยกรรมของตนซึ่งก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันนี้ชนทั้งหลายก็พากันกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ
ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 12 พ.ค. 2010, 23:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

ขออนุญาติคุณศิรพลครับ

ดูประโยคนี้ครับ มีสมถะด้วยครับ

....ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ....

เจ้าของ:  mes [ 13 พ.ค. 2010, 12:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

คุณคิรัสพล

:b8: :b8: :b8:

กระทูคุณคิรัสพลคงไม่ได้ต้องการแสดงว่า

โยนิโสอย่างเดียวล้วนๆใช่ไหมครับ


เพราะมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า

Quote Tipitaka:
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน ฯเปฯ

ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ผู้ใดมีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน

เจ้าของ:  enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 12:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

mes เขียน:
คุณคิรัสพล

:b8: :b8: :b8:

กระทูคุณคิรัสพลคงไม่ได้ต้องการแสดงว่า

โยนิโสอย่างเดียวล้วนๆใช่ไหมครับ


เพราะมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า

Quote Tipitaka:
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน ฯเปฯ

ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา
ปัญญาก็ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ผู้ใดมีทั้งฌานและปัญญานั่นแล
จึงนับว่าอยู่ใกล้นิพพาน


โยนิโส ตอนนั้น ไกลจากนืพพาน สีอสงไขย แสนกัปป์ คร๊าบ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 13:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

ฝากลิงค์เรื่องที่พูดๆถึงกันไว้ด้วยขอรับ :b1:

viewtopic.php?f=2&t=31566

ไฟล์แนป:
post-343-1181794836.jpg
post-343-1181794836.jpg [ 51.07 KiB | เปิดดู 6095 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 13:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

enlighted เขียน:
โยนิโส ตอนนั้น ไกลจากนืพพาน สีอสงไขย แสนกัปป์ คร๊าบ


ไกลขนาดนั้นเลยหรือ :b14:

เจ้าของ:  enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 15:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
โยนิโส ตอนนั้น ไกลจากนืพพาน สีอสงไขย แสนกัปป์ คร๊าบ


ไกลขนาดนั้นเลยหรือ :b14:


มีเศษ อีก เจ็ดแสน สามหมื่นสองพันสองร้อยห้าปี กับอีก ยี่สิบเก้าวัน

อือื

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 17:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
โยนิโส ตอนนั้น ไกลจากนืพพาน สีอสงไขย แสนกัปป์ คร๊าบ


ไกลขนาดนั้นเลยหรือ :b14:


มีเศษ อีก เจ็ดแสน สามหมื่นสองพันสองร้อยห้าปี กับอีก ยี่สิบเก้าวัน

อือื


พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ :b7:

เจ้าของ:  enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 17:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
โยนิโส ตอนนั้น ไกลจากนืพพาน สีอสงไขย แสนกัปป์ คร๊าบ


ไกลขนาดนั้นเลยหรือ :b14:


มีเศษ อีก เจ็ดแสน สามหมื่นสองพันสองร้อยห้าปี กับอีก ยี่สิบเก้าวัน

อือื


พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ :b7:


อิอิ

ปลดปลอ่ยสัตว์ และนางระบำรำฟ้อน เป็นโยนิโส พระโพธิสัตว์อยู่แล้ว อิอิ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 17:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

enlighted เขียน:

พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ


อิอิ

ปลดปลอ่ยสัตว์ และนางระบำรำฟ้อน เป็นโยนิโส พระโพธิสัตว์อยู่แล้ว อิอิ



อะไร "โยนิโส" ได้แก่อะไร ?

เจ้าของ:  enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 17:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:

พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ


อิอิ

ปลดปลอ่ยสัตว์ และนางระบำรำฟ้อน เป็นโยนิโส พระโพธิสัตว์อยู่แล้ว อิอิ



อะไร "โยนิโส" ได้แก่อะไร ?


[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 17:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:

พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ


อิอิ

ปลดปลอ่ยสัตว์ และนางระบำรำฟ้อน เป็นโยนิโส พระโพธิสัตว์อยู่แล้ว อิอิ



อะไร "โยนิโส" ได้แก่อะไร ?


[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น


อ้อ...ข้อความทั้งหมดนั้นหรือ โยนิโส ของท่าน

เจ้าของ:  enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 18:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:
กรัชกาย เขียน:
enlighted เขียน:

พุทโธ ธัมโม สังโฆ :b7: :b2: โยนิโส ท่าน enlighted

แนะนำให้ท่านพูดเรื่อง ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ปล่อยปลาไหล ปล่อยหอยขม ฯลฯ เข้าท่ากว่าน่านะ


อิอิ

ปลดปลอ่ยสัตว์ และนางระบำรำฟ้อน เป็นโยนิโส พระโพธิสัตว์อยู่แล้ว อิอิ



อะไร "โยนิโส" ได้แก่อะไร ?


[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น


อ้อ...ข้อความทั้งหมดนั้นหรือ โยนิโส ของท่าน


อิอิ

แบบนั้นใช้เวลานานเกินไป
ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในกาลก่อน โน้นนนนนนนนนนนนนนน

อิอิ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2010, 18:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวอย่างการใช้โยนิโสมนสิการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์

enlighted เขียน:
[๓๒๓] เราเดินเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ตก
แต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์ นุ่งห่มผ้าสวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบ
ไล้ด้วยกระแจะจันทน์ ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่ามกลาง
พระนคร เป็นดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้นแก่เรา อาทีนว-
โทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น


อ้อ...ข้อความทั้งหมดนั้นหรือ โยนิโส ของท่าน

อิอิ

แบบนั้นใช้เวลานานเกินไป
ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในกาลก่อน โน้นนนนนนนนนนนนนนน

อิอิ


แล้วโยนิโสในปัจจุบันที่ท่านเข้าใจคืออะไร โยนิโส ?

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/