วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 06:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

หากคนเราทุกข์ให้เป็น ก็จะไม่เป็นทุกข์ (หลวงปู่ชา)

เราไม่สามารถปฏิเสธความทุกข์ได้เลย จะมีเข้ามาหาตัวเราได้อยู่ทุกวี่วัน และเมื่อใดที่เรามีความทุกข์ เราเจอกระแสมรสุมแห่งทุกข์เข้ามาสู่ชีวิต เราจะต้องพยายามบอกกับตนเองว่าต้อง “ใจสงบ”สำคัญมาก อย่าตื่นตูมไปกับความทุกข์ที่เข้ามาสู่ชีวิต พยายามยิ้มเข้าไว้ ทำงานให้เต็มที่ รับผิดชอบให้เต็มที่ เบิกบานมีความสุขให้เต็มที่ อย่าไปเต็มทีกับชีวิตและอารมณ์ แล้วเราจะพบว่าความทุกข์ไม่สามารถเข้ามากระแทกกระทั้นทำให้เกิดกระทบกระเทือนได้เลย

ถ้าหากเวลาใดที่มีใครมาด่าว่าเรา ก็จงนึกเสียเถิดว่าจริงๆ แล้วคนที่มาด่าว่าเรานั้น เขาก็มีส่วนดีๆ อยู่ด้วยเหมือนกัน แล้วเราก็ควรกล่าวชื่นชมในส่วนดีของเขา
เราไม่ต้องรับรู้เลยว่าเขานั้นเป็นใครที่มาด่าว่าเรา เราควรกำหนดรู้ว่า ที่เขาว่าเรานั้นคือเรื่องอะไร และเราเป็นจริงดังเขาว่าหรือไม่ ถ้าจริง ก็ต้องขอบคุณเขาที่กรุณามาว่าเรา เขาเสมือนเป็นกระจกส่องเรา แม้กระจกนั้นจะขุ่นมัวบ้าง แจ่มใสบ้าง ก็ไม่เห็นเป็นไร แค่เขาเป็นกระจกให้เราก็ดีอยู่แล้ว หรือสิ่งที่เขาว่าเรานั้นมันผิดหมดไม่ถูกต้องเลย ก็ไม่เห็นเป็นไร คิดเสียว่าเขาส่งโจทย์มาให้เราทดสอบ ว่าเราแน่แค่ไหน
เราจะรักษาจิตใจไม่ให้ขุ่นมัวเวลาที่ถูกว่าถูกด่ามากน้อยแค่ไหน จะทำให้เราไม่มีความรู้สึกโกรธ ใจไม่ได้มีความรู้สึกขุ่นมัวแต่อย่างไร แต่กลับทำให้มีความเบิกบานแจ่มใสและมีความสุข และนี่ก็คืออานุภาพของธรรมะ ต้องการที่จะบอกมายังท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านเห็นคุณค่าของธรรมะ จงมุ่งที่จะนำพาตนเองไปสู่การปฏิบัติธรรม ธรรมะจะไม่ทำให้เรามีความทุกข์จนเกินกว่าที่ควรจะเป็น ธรรมะจะทำให้เราไม่มีอาการหวั่นไหวจนเกินกว่าที่ควรจะเป็น นี่คือการนำเสน่ห์ของพุทธศาสนามาเปิดเผยให้ท่านทั้งหลายได้เห็นคุณค่าของพุทธธรรม และจงมาปฏิบัติธรรมกันเถิด
อย่าเอาใจไปฝากไว้กับใคร จงเอาใจมาฝากไว้กับใจ
ถ้าใจไม่ดีก็ต้องเก็บใจใส่ลิ้นชัก เอาสำนึกในการทำงานมาทำงานให้มากๆ คนที่ทำงานมากๆหรือคนที่ไม่ชอบอยู่ว่าง จิตจะว่าง ส่วนคนที่ชอบอยู่ว่างๆ จิตจะไม่ว่าง

คนจิตว่างนั้นไซร้ไม่อยู่ว่าง สู้สะสางสร้างสรรมิหวั่นไหว
จิตสงบสะอาดสว่างกระจ่างใจ เพราะมีไฟสร้างโดยมิโรยรา
คนจิตไม่ว่างนั้นไซร้ชอบอยู่ว่าง ไม่สะสางสารพันซึ่งปัญหา
โดดเดี่ยวโด่เด่อยู่เอกา เพราะเหตุว่าจิตวุ่นจิตขุ่นมัว
ถ้าคนเราปล่อยตนเองว่างมากๆ ความชั่วจะเข้าครอบงำ

คนที่ทำความชั่วส่วนใหญ่จะเป็นคนเกียจคร้าน คนขยันมักจะไม่ทำความชั่วเพราะว่าจิตของตนเองมีที่เกาะคืองาน เอางานเป็นกสิณ กระทั่งภาษิตจีนยังกล่าวว่า “อยู่เฉยมักคิดชั่ว”
เพราะฉะนั้นถ้าใครไม่อยากคิดชั่ว อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่เฉย
ควรทำงาน แม้ว่าการทำงานบางอย่างจะไม่นำไปสู่การทำเงิน จะไม่มีรายได้เป็นสิ่งตอบแทน ก็ไม่ต้องไปสนใจ แล้วจะพบว่าเราได้อะไรที่มีคุณค่ายิ่งกว่าเงิน นั่นก็คือ ความสุขความเจริญในกุศลธรรม ความสบายใจ ความมั่นคงในจิตใจ

........................................................................................ ความรักความชังล้วนไม่จีรัง

อิฐเก่าเล่าตำนานแต่กาลก่อน สั่งสอนไตรลักษณ์ประจักษ์จิต
อนิจจาอนิจจังชีวังชีวิต ไม่มีสิทธิยืนยันนิรันดร

เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จริงใจจริงจังคำสั่งสอน
แปรทุกข์เป็นทุนอันสุนทร ใจร้อนไปไยต้องใจเย็น

ความรักล้นเหลือเผื่อแผ่โลก ดับโศกดับทุกข์ดับขุกเข็ญ
เป็นญาติร่วมสายไยหรือไม่เป็น มองเห็นเช่นญาติร่วมชาติชน

เวลาชีวิตเหลือนิดน้อย แม้นปล่อยเปล่าไปก็ไร้ผล
พระกาลผลาญพร่าเข่นฆ่าคน ผู้ยอมจำนนกับชีวิต

บทกวีนี้เขียนขึ้นเพื่อต้องการสร้างอนุสติให้กับชีวิตของทุกชีวิตว่า
“ยังกิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง” หมายความว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีการดับไปเป็นธรรมดา”

อะไรๆ ต่างๆ ในโลกนี้มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่ว่าจะเป็นชีวิตสังขารของเรา หรือแม้แต่ในที่สุดแล้วจิตวิญญาณของเราก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นเดียวกัน มีขณะจิตแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ถ้าหากเราเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่อง “ไตรลักษณ์” คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างถึงจิตวิญญาณถึงพริกถึงขิงอย่างแท้จริงแล้ว เราจะรู้ว่าไตรลักษณ์ทำให้เราเห็นถึงธรรมชาติของจิตวิญญาณที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ทำให้เราไม่เอาจริงเอาจังกับภาวะจิตขณะใดขณะหนึ่งมากมายนัก

อารมณ์ที่เป็นสุข เป็นความยินดี อารมณ์ที่เป็นทุกข์ เป็นอารมณ์ที่ไม่น่ายินดี อารมณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเป็นสุขและเป็นทุกข์คืออารมณ์กลางๆ วางเฉย อันที่จริงแล้วถ้าหากจะถามว่า อารมณ์ที่ดีที่สุดคืออารมณ์ใด สามารถตอบได้เลยทีเดียวว่าไม่ใช่อารมณ์ดีและก็ไม่ใช่อารมณ์ไม่ดี
แต่เป็นอารมณ์ที่ไปพ้นจากอารมณ์ดีและอารมณ์ไม่ดี ขยายความหมายได้ว่า ไม่มีอารมณ์บวก ไม่มีอารมณ์ลบ ไม่มีอารมณ์ชอบ ไม่มีอารมณ์ชังเข้ามาสู่จิตของเราเลย ฉะนั้นเราจึงจะต้องพยายามรักษาอารมณ์ของเรา

กระบวนการนำพาชีวิตของเราไปสู่การเรียนรู้ไตรลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เราได้รู้เท่าทันอาการของจิตที่มันมีทั้งอารมณ์บวกอารมณ์ลบในจิต และมักจะมีผ่านมาผ่านไปอยู่เสมอๆ เดี๋ยวชอบเดี๋ยวชัง เวลารักก็รักอย่างหัวปักหัวปำ เวลาชังก็ชังอย่างหัวฟัดหัวเหวี่ยง แล้วเราก็โต่งไปโต่งมากับอารมณ์รักอารมณ์ชังอยู่นั่นแล้ว เราก็ไม่ได้เป็นอิสระจากอารมณ์ทั้งสองอารมณ์ได้สักที
อารมณ์ที่ดีที่สุด คือ อารมณ์ไม่รักและก็ไม่ชัง เป็นอารมณ์ที่รับรู้ความจริงตามความเป็นจริงและก็ปล่อยวาง มีลูก ก็ไม่ต้องไปรักลูกและก็ไม่ต้องไปชังลูก เพราะรักลูกก็ไม่ดี ชังลูกก็ไม่ดี ต้องไม่รักไม่ชัง แต่ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด ด้วยการกำหนดรู้ตามสมมุติสัจจะว่า นี่เขาคือลูก เราจะต้องแสดงความรักโดยที่ไม่ต้องมีใจแบบรักผูกพันมั่นหมาย โดยให้เราทำไปตามหน้าที่

แม้แต่สามีภรรยาที่อยู่ร่วมกัน ที่สุดแล้วก็จะพัฒนาจิตถึงขั้นที่จะไม่ต้องรักสามี ไม่ต้องรักภรรยา ไม่ต้องชังสามี ไม่ต้องชังภรรยา แต่ทำหน้าที่ของเราไปตามความเหมาะควร เราอยู่กันด้วยความสำนึก เราอยู่ด้วยจิตวิญญาณที่รู้ซึ้งถึงหน้าที่ของกันและกัน
ฉะนั้นจงบอกกล่าวกับตนเองเถิดว่า อนิจจังในทางจิตนั้นจะทำให้เราไม่เป็นจริงเป็นจังกับอาการที่เกิดขึ้นเท่าไรนัก จิตที่เกิดอารมณ์กับความรักอย่าไปเอาจริงเอาจังกับมันเพราะประเดี๋ยวมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป มันไม่พอดี

อารมณ์ที่มีกิเลสเป็นตัวนำนั้น มันไม่พอดีทั้งสิ้น เราต้องถอดถอนกิเลสออกไปจากอารมณ์ และพยายามทำให้จิตใจของเราเป็นจิตที่มีธรรมชาติเป็นธาตุรู้โดยที่ไม่ต้องมีกิเลสเจือปน จงพยายามฝึกรับรู้ความจริงตามความเป็นจริง และทำจิตของเราให้สงบเบิกบานแจ่มใสอย่างมากที่สุด ก็จะเกิดผลดีแก่ตนเองอย่างแน่นอน

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 26 มี.ค. 2010, 21:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ายๆเลยค่ะ ถ้าเกิดทุกข์ก็ต้องวางทุกข์ค่ะ วางโดยไม่เอาความคิดไปใส่รวมกับความรู้สึกให้เกิดเป็นอารมณ์ทุกข์ แค่นี้เองค่ะหลักการทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2010, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อย่าเอาใจไปฝากไว้กับใคร จงเอาใจมาฝากไว้กับใจ
ถ้าใจไม่ดีก็ต้องเก็บใจใส่ลิ้นชัก
เอาสำนึกในการทำงานมาทำงานให้มากๆ
คนที่ทำงานมากๆหรือคนที่ไม่ชอบอยู่ว่าง จิตจะว่าง
ส่วนคนที่ชอบอยู่ว่างๆ จิตจะไม่ว่าง

คนจิตว่างนั้นไซร้ไม่อยู่ว่าง สู้สะสางสร้างสรรมิหวั่นไหว
จิตสงบสะอาดสว่างกระจ่างใจ เพราะมีไฟสร้างโดยมิโรยรา
คนจิตไม่ว่างนั้นไซร้ชอบอยู่ว่าง ไม่สะสางสารพันซึ่งปัญหา
โดดเดี่ยวโด่เด่อยู่เอกา เพราะเหตุว่าจิตวุ่นจิตขุ่นมัว
ถ้าคนเราปล่อยตนเองว่างมากๆ ความชั่วจะเข้าครอบงำ...


“ยังกิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง”
หมายความว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีการดับไปเป็นธรรมดา”

อะไรๆ ต่างๆ ในโลกนี้มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตสังขารของเรา หรือแม้แต่ในที่สุดแล้วจิตวิญญาณของเรา
ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นเดียวกัน
มีขณะจิตแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ถ้าหากเราเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่อง “ไตรลักษณ์” คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อย่างถึงจิตวิญญาณถึงพริกถึงขิงอย่างแท้จริงแล้ว
เราจะรู้ว่าไตรลักษณ์ทำให้เราเห็นถึงธรรมชาติของจิตวิญญาณ
ที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ทำให้เราไม่เอาจริงเอาจังกับภาวะจิตขณะใดขณะหนึ่งมากมายนัก...


]อารมณ์ที่มีกิเลสเป็นตัวนำนั้น มันไม่พอดีทั้งสิ้น
เราต้องถอดถอนกิเลสออกไปจากอารมณ์
และพยายามทำให้จิตใจของเราเป็นจิตที่มีธรรมชาติเป็นธาตุรู้
โดยที่ไม่ต้องมีกิเลสเจือปน
จงพยายามฝึกรับรู้ความจริงตามความเป็นจริง
และทำจิตของเราให้สงบเบิกบานแจ่มใสอย่างมากที่สุด
ก็จะเกิดผลดีแก่ตนเองอย่างแน่นอน


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 197 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร