วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 04:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: :b35: :b35:

คำสอนพระพุทธเจ้า ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด

เขียนหัวข้อให้น่าสนใจครับ บางท่านคันหัวใจ จะได้เข้ามาอ่าน

ขอบพระคุณทุกท่านครับ ขออนุโมทนาทุกท่านครับ ที่เข้ามาอ่าน มาแลกแนวคิดกัน

ผมว่าในบอร์ดนี้มีแต่คนดี ๆ ทั้งนั้น พี่น้องกัน ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าด้วยกัน เหยียบเล็บขบกันบ้าง ก็ไม่ถือโทษกัน


สำคัญคือ

อ่าน ได้ สุตมยปัญญา
ตรึก ได้ จินตมยปัญญา
ทำ ได้ ภาวนามยปัญญา


หลักธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า มีมาก เรียน ศึกษา จะเชื่อ จะจำ ทุกอย่างต้องมีการเทียบเคียงทั้งนั้นครับ

หลักเทียบเคียง หลักอ้างอิง เขาเรียก มหาประเทศ (มหาปเทส)
พระบรมครูของพวกเรา ได้วางไว้ให้แล้วครับผม
ขออนุญาต แนบอรรถกถาในบอร์ดต่อไป เผื่อบางท่านสนใจจะดูครับ จะได้รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไร


หลักตัดสินลักษณะธรรมวินัย ๘

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่หม่อมฉัน ซึ่งหม่อมฉันได้ฟัง
แล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยวอยู่เถิด ฯ


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า
ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อประกอบ สัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อพรากสัตว์ออก
เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย
ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ


ดูกรโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้
เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
เป็นไปเพื่อสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก


ดูกรโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ฯ
สังขิตตสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่มที่ ๒๓

หลักใหญ่สำหรับตัดสินว่าควรเชื่อถือหรือไม่ ๔

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ใกล้
โภคนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ นี้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็นไฉน


(ข้อที่ ๑ นี้เป็นการยกมาตรงทั้งหมดก่อน ค่อย ๆ อ่าน จะได้เห็นความสวยงามลึกซึ้งของอรรถะ และพยัญชนะของพระพุทธพจน์ แต่เพื่อให้รู้พอสังเขป ที่เหลือ ผมขออนุญาตนำมาจากพจนานุกรม ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณอาจารย์เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตโต นะครับ ผู้ที่ต้องการโดยพิสดาร กรุณาเพิ่มเติมเอง)

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น
ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตรพึงสอบสวนในพระวินัย
ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยบทและพยัญชนะเหล่านั้น
เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย
ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า
นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้
ภิกษุนี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว


อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น


ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย
ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตรสอบสวนในพระวินัย
บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตรสอบสวนกันได้ในพระวินัย


ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้
และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ฯ



มหาปเทส ๔
(ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ ๑ ว่าด้วยหลักทั่วไป


๑. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

๒. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

๓. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยูจำนวนมากเป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง ๕ นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์

๔. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์
เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย


ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย

ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี

โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน ๔ คือ
๑. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
๒. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง )
๓. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
๔. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)

อังฺคุตรนิกาย จตุกฺกนิบาตร เล่ม ๒๑

หลักใหญ่สำหรับเทียบเคียง ๔ (ฝ่ายพระวินัย)
ตรงนี้ใช้สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ตัดสินวินัยครับ ยกมาพอสังเขป ให้ดูลักษณะ วินัยพระสงฆ์


[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่าสิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งไรไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.

วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ (สมควร หรือ ไม่สมควร)

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทานสำหรับอ้างอิง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้:-
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควรขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค


ฐาตุ จิรํ สตํ ธมฺโม ธมฺมธรา จ ปุคฺคลา
ขอธรรมะของสัตบุรุษจงดำรงอยู่ชั่วกาลนาน
ขอคนทั้งหลายจงเป็นผู้ประพฤติธรรมเถิด


:b48: :b48: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 08 ม.ค. 2010, 07:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ลักษณะอธิบายของพระอรรถกถาจารย์

ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้

โดยมากท่านจะอธิบาย ๒ แบบ คือ
1.อธิบายศัพท์ แยกแยะ วิเคราะห์ ให้ความหมาย ในที่ไม่ชัดเจน
2.อธิบายธรรมะ ตีความ เทียบเคียง ที่ไปที่มาให้ ท่านจะเทียบเคียงพระไตรปิฏกโดยมากให้ ถ้าเป็นมติ ท่านก็ว่าเป็นมติ


อรรถกถาสังขิตตสูตร
สังขิตตสูตรที่ ๓ มีอรรถกถาวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สราคาย แปลว่า เพื่อความมีความกำหนัด.
บทว่า วิราคาย แปลว่า เพื่อคลายความกำหนัด.
บทว่า สํโยคาย ได้แก่ เพื่อประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.
บทว่า วิสํโยคาย ความว่า เพื่อความไม่ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.
บทว่า อาจยาย ได้แก่ เพื่อความขยายวัฏฏะ.
บทว่า โน อปจยาย ได้แก่ ไม่ใช่ เพื่อความขยายวัฏฏะ.
บทว่า ทุพฺภรตาย แปลว่า เพื่อความเลี้ยงยาก.
บทว่า โน ทุพฺภรตาย แปลว่า ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย.
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะด้วยปฐมวาร (หมายถึง รอบแรกทรงตรัสธรรมที่เป็นโลกียขึ้นก่อน) แต่ในทุติยวาร ตรัสวิวัฏฏะ (แต่รอบสองตรัสเอาโลกุตตรขึ้นก่อน)
ก็แลพระนางโคตมีบรรลุพระอรหัต ด้วยพระโอวาทนี้แล.


อรรถกถา มหาปเทสสูตร สัญเจตนิยวรรค

พึงทราบวินิจฉัยในมหาปเทสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โภคนคเร วิหรติ ได้แก่ ในปรินิพพานสมัย พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปนครนั้นแล้วประทับอยู่.
บทว่า อานนฺทเจติเย ได้แก่ ในวิหารอันตั้งอยู่ตรงสถานที่เป็นภพของอานันทยักษ์.
บทว่า มหาปเทเส แปลว่า โอกาสใหญ่หรือข้ออ้างใหญ่. อธิบายว่า เหตุใหญ่ ที่กล่าวอ้างคนใหญ่ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า เนว อภินนฺทิตพฺพํ ความว่า ภาษิตนั้นอันเธอทั้งหลายผู้ร่าเริงยินดี ให้สาธุการแล้วไม่พึงฟังก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเมื่อมีผู้กระทำอย่างนี้ ภิกษุนั้นแม้จะถูกต่อว่าในภายหลังว่า คำนี้ไม่สม ก็ยังกล่าวว่า เมื่อก่อนนี้เป็นธรรม บัดนี้ไม่ใช่ธรรมเสียแล้วหรือ ดังนี้แล้วไม่ย่อมสละลัทธิ.
บทว่า นปฺปฏิกฺโกสิตพฺพํ ได้แก่ ไม่พึงกล่าวก่อนว่าคนโง่นี้พูดอะไร. เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นจักไม่กล่าวถึงแม้ข้อที่ถูกและไม่ถูก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนภินนฺทิตฺวา อปฺปฏิกฺโกสิตฺวา ดังนี้.
บทว่า ปทพฺยญฺชนานิ ได้แก่ พยัญชนะกล่าวคือบท.
บทว่า สาธุกํ อุคฺคเหตฺวา ได้แก่ เรียนด้วยดีว่า ท่านกล่าวบาลีไว้ในที่นี้ กล่าวความไว้ในที่นี้ กล่าวอนุสนธิไว้ในที่นี้ กล่าวคำต้นคำปลายไว้ในที่นี้ ดังนี้.
บทว่า สุตฺเต โอตาเรตพฺพานิ ได้แก่ พึงเทียบเคียงกันในพระสูตร.
บทว่า วินเย สนฺทสฺเสตพฺพานิ ได้แก่ พึงสอบสวนในพระวินัย.
ในที่นี้ ท่านกล่าววินัยว่าเป็นสูตร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสุตตวิภังค์ว่า คัดค้านไว้ในที่ไหน คัดค้านไว้ในกรุงสาวัตถี.

ขันธกะท่านเรียกว่าวินัย ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า โกสมฺพิยํ วินยาติสาเร ดังนี้. ไม่ยึดถือเอาแม้วินัยปิฎกอย่างนี้ แต่ถือเอาวินัยปิฎกอย่างนี้ว่า อุภโตวิภังค์เป็นพระสูตร ขันธกะแลปริวารเป็นพระวินัยดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ถือเอาปิฎกสองอย่างนี้คือ สุตตันตปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย. หรือว่าไม่ถือเอาปิฎกสามอย่างนี้ก่อน คือสุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย
จริงอยู่ ชื่อว่าพุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรมีอยู่ คือ ชาดก ปฏิสัมภิทา นิเทศ สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน แต่พระสุทินนเถระคัดค้านพุทธพจน์นั้นทั้งหมดว่าพุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรนั้นไม่มีดังนี้ แล้วกล่าวว่าปิฎก ๓ เป็นพระสูตร แต่วินัยเป็นการณะ.

เมื่อจะแสดงถึงการณะต่อจากนั้น จึงกล่าวสูตรนี้ว่า
ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประกอบด้วยราคะ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อสังโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อปราศจากสังโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อความยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความคลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความวิเวก ย่อมเป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม
ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา ดังนี้
ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความปราศจากราคะ ไม่เป็นไปเพื่อความมีราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อปราศจากสังโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อสังโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อวิเวก ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลี ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม
ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.


เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีดังนี้ว่า
บทว่า สุตฺเต ได้แก่ พึงเทียบเคียงในพุทธพจน์คือปิฎก ๓.
บทว่า วินเย นี้ ได้แก่ พึงสอบสวนในเหตุแห่งการกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น อย่างหนึ่ง.
บทว่า น เจว สุตฺเต โอตรนฺติ ความว่า บทพยัญชนะทั้งหลาย ไม่มาในที่ไหนๆ ตามลำดับ ในพระสูตร ยกเปลือกขึ้นแล้ว ปรากฏชัดว่ามาจากคัมภีร์ คุฬหเวสสันตระ คุฬหอุมมัคคะ คุฬหวินัยและเวทัลลปิฎกอย่างใดอย่างหนึ่ง (เป็นคัมภีร์ฝ่ายมหายาน). ก็บทพยัญชนะที่มาแล้วอย่างนี้ และไม่ปรากฏในการนำกิเลสมีราคะเป็นต้นออกไป ก็พึงทิ้งเสีย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิติ หิทํ ภิกฺขเว ฉฑฺเฑยฺยาถ ดังนี้.
พึงทราบความในบททุกบท โดยอุบายนี้.
บทว่า อิทํ ภิกฺขเว จตุตฺถํ มหาปเทสํ ธาเรยฺยาถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ซึ่งโอกาสเป็นที่ประดิษฐานธรรมข้อที่ ๔ นี้ไว้.


:b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2010, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำสอนพระพุทธเจ้า ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด


เป็นกระทู้ที่อยากทราบพอดีเลย.. เพราะอยากรู้ว่า ผู้ที่คัดค้านตำรา คือหนังสือพระไตรปิฎก ว่าเชื่อไม่ได้บ้าง มีท่านพระพุทธโฆษาจารย์ แต่งเองบ้าง ต่าง ๆ นา ๆ และสุดท้าย แม้พระเอง ก็ไม่เคยเรียน อ่านพระไตรปิฎก กันเลยน้อยมากที่จะศึกษาและอ่าน เพราะไม่เชื่อถือ หรือสุดแล้วแต่ ...และก็ทำผิดพุทธบัญญัติ ทำผิดพระวินัย ด้วยเรื่องต่าง ๆ นา ๆ ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น การรับเงิน ทอง ซอง ..มีเงินฝากในธนาคาร มีอำนาจเบิกจ่ายในธนาคาร รับเงินเดือนประจำตำแหน่งที่ได้มาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งได้มาจากการเสียภาษีของชาวบ้าน รับบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง ปลุกเสกวัตถุให้เป็นของขลัง เป่าพ่น ดูหมอทำนาย เรียนทางโลก นอนกุฎีอย่างหรูหรามีแอร์เย็นฉ่ำ รับวัว ควาย นำไปแจกชาวบ้าน ยอมเป็นผู้รับใช้โยม และที่ร้ายที่สุด ณ ขณะนี้ มีลูกมีเมียซ่อนไว้อีกต่างหาก โดยที่ครูบาฯอาจารย์เป็นผู้ปกปิดไว้เพราะความรักในลูกศิษย์......ฯลฯ...จนขณะนี้จึงสงสัยว่า พระพุทธเจ้าสอนผิดไว้ตรงไหน ..ทำไมผู้ปฏิญญาว่าเป็นสมณะเชื้อสายพระศากยะบุตร ไม่คิดอยากจะแก้ไขสิ่งที่รู้ว่าทำผิดมาตลอด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า นั่นคือสิ่งที่ผิด...ก็ยังทำ ...สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 13:40
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโอกาสพ่อแม่ครูอาจารย์ทุกท่าน
ผมเป็นคนที่เพิ่งเข้าสู่วงการพอเห็นคำถามนี้ผมตอบได้แต่เพียงว่า "ผมรู้น้อย ปฏิบัติน้อย อ่านน้อย เลยไม่สงสัยใดเลยในพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสังฆเจ้า คนที่ไม่มีค่าเทียบเท่าธุลีขี้เล็บพระพุทธเจ้าอย่างผม .... ไม่ควรเลย...ไม่ควรเลย...ที่จะไปค้นหาที่ถูก - ที่ผิด ของพระองค์ท่าน"

.....................................................
นโม เม สพฺพอริยสํฆานํ
ขอผูกขาดจองขาดในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปทุกภพทุกชาติ
จนกว่าจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ขอนอบน้อมนมัสการธรรม องค์หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ด้วยเศียรเกล้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชนย่อมตอกย้ำแต่เรื่องถูกผิด ไปพิจารณาทุกเรื่องไม่เว้นแม้คำสอนขององค์พุทธะ ทิฏฐิความเห็นธรรมะนี้ในอริยบุคคลขั้นต้นขึ้นไป จะมีแค่สิ่งนี้ต่อตรงธรรมหรือไม่ สื่อที่ใช้ ธรรมที่กล่าว ที่สืบทอดมา มันต่อตรงสัจธรรมจริงไหม เยิ่นเย้อ บิดเบือน คลาดเคลื่อน จะไม่ใช่แค่อันนี้ถูก อันนี้ผิด อย่างที่เราว่าไป หากว่าถูกผิดก็เป็นว่าร้อยคนร้อยความคิด เถียงกันไปมาไม่นอกเหนือทิฐิ พิจารณาไปย่อมคลาดเคลื่อนเอาความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ ว่าของกูถูก ของเองผิดประมาณนี้ เดิมแท้ไม่ผิด ถูกอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 23:37
โพสต์: 31

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น"
คำสอน84000พระธรรมขันธ์ ย่อแล้วครอบคลุมเรื่อง ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่ไม่มีข้อใดที่ไม่พูดถึงเรื่อง ขันธ์5 ความมุ่งหมายคือการตัด ปลง ปล่อย วาง ขันธ์5 นั้นเสีย
พุทธปัจฉิมโอวาท ตรัสให้เข้าใจว่าควรมีความไม่ประมาท "เวลาเหลือไม่มากแล้ว(ผ่านไปทุกลมหายใจเข้าออก) ให้รีบพากันปฏิบัติ"
ปฏิบัติอะไร...
ปฏิบัติในด้าน ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยความไม่ประมาท นั่นเอง..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
...ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในกุศลทั้งปวงของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย...และขออนุญาตเขียนให้อ่านดังนี้
:b8:
...คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ล้วนมาจากจิตที่เมตตาปรารถนาให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์...
...มนุษย์ผู้ฉลาดควรปฏิบัติตามคำสอนและใช้ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลด้วยตนเอง...
...การวิพากษ์วิจารณ์พุทธพจน์ย่อมเป็นสิ่งไม่สมควร...จะกลายเป็นลิงได้แหวน...ไก่ได้พลอยไปได้...
...การไม่ลงมือปฏิบัติย่อมไม่อาจพิสูจน์ความจริง...ที่พระองค์ตรัสจากความจริงที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว...
:b8:
...ธรรมเหล่าใดที่ตถาคตกล่าวไว้ดีแล้ว...ตถาคตกระทำด้วยและเห็นด้วยปัญญาอันชอบเองแล้ว...
...ตถาคตเป็นได้แต่เพียงผู้บอก...ท่านจงมาดูเถิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเกิดและดับเป็นธรรมดา...
...ผู้ใดพิจารณาเห็นธรรมที่ตถาคตกล่าวอยู่เนืองๆ...ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อติดตามเราตถาคตตลอดเวลา...
...ผู้ที่อยู่ใกล้ตถาคตแล้วไม่พิจารณาเห็นการเกิด-ดับในทุกสิ่ง...ย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากเราตถาคต...
:b8:
...ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต...ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมที่เรากล่าวผู้นั้นปฏิบัติตามเราตถาคต...
...ธรรมที่เราตถาคตกล่าวล้วนเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ในจิตใจที่เกิดจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน...
...อันพาหมู่สัตว์หมุนวนเป็นวัฎจักร...เกิด-ตายนับภพนับชาติมิได้ในสังสารวัฏ(วัฏฏสงสาร31ภพภูมิ)
...เราตถาคตบอกกล่าวท่านทั้งหลายว่าให้รีบพากันหลบหลีกภัยจากวัฏฏะวน...อันหาที่สุดมิได้นี้เสีย...
:b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของท่าน ไม่มีตรงไหนที่ผิดคะ

มีแต่ คนที่ไปอ่านน่ะ จะตีความกันผิด หรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2007, 11:39
โพสต์: 85

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

สาธุ อนุโมทนา ทั้งคนเขียน คนอ่าน

อ่านตรงนี้ เหมือนมีตาชั่งติดตัว

มีไม้บรรทัดคอยวัด

ยิ่งกว่า มอก. สคบ.

เป็นเครื่องแยกกากแยกเนื้ออย่างดี

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าใคร บอกได้ว่า พระองค์สอนถูกต้องแล้ว และสอนผิดตรงไหนได้

ก็คงจะเก่งกว่า พระุพุทธเจ้าแล้วหล่ะครับ

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:
คำสอนพระพุทธเจ้า ตรงไหนถูก ตรงไหนผิด


คำสอนของพระพุทธเจ้าถูกทุกข้อครับ ไม่มีผิดเลย
ที่ผิด คงไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
คงจะเป็นคำสอนที่มาจากแหล่งอื่นแน่ :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย กามโภคี เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 23:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากจะบอกว่า ถ้าปฎิบัติ ถึง จริง ความสงสัยจะน้อยมาก อ่านแล้วจะเข้าใจได้เลยว่า หมายความว่าอย่างไร

ที่ตีความกันมาก โดยเฉพาะที่ตั้งตนเป็นเจ้าสำนักอะไรต่างๆ ส่วนมากเลย ปฎิบัติได้ไม่ถึงขั้น
เมื่อปฎิบัติได้ไม่ถึง ก็จะใช้การตีความ ซึ่งแทบจะร้อยทั้งร้อย ตีความผิด เพราะใช้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมมาตีความ

เช่นก่อนหน้านี้ มีการตีความ ฌาณ 4 กันว่าเป็นฌาณที่ไม่มีสติ ไม่มีความคิดโดยสิ้นเชิง ซึ่ง ผิด แท้จริงแล้ว นั่นเป็นสภาวะของภวังค์ต่างหาก
แต่เพราะยังเข้าไม่ถึงระดับนั้น ก็เลยพยายามตีความตามความเข้าใจของตน พยายามตีความคำว่า อุเบกขา และเอกัคคตา ให้เข้าไปเป็นสภาวะของภวังค์

หรือเช่น มโนมยิทธิ พระสูตรมีว่า...

ภิกษุนั้น.... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง...


หากเข้าถึงมโนมยิทธิจริง จะรู้ว่า... ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความ หากมีการตีความอย่างใดอย่างหนึ่งออกไปจากนี้ นั่นก็ไม่ใช่ มโนมยิทธิ

ที่เขียนนี้ เพื่อยกเป็นตัวอย่างเท่านั้น
คำในไตรปิฏกนั้น ไม่จำเป็นต้องตีความใดๆ หากมีการตีความ (ในลักษณะ ขยายความออกไป จนเนื้อหาเปลี่ยน) นั่นคือ คุณผิดแล้ว


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 09 มี.ค. 2010, 21:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร