ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=28019 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 25 ธ.ค. 2009, 22:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
![]() ![]() ![]() หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การละเว้นความชั่ว การประกอบความดี และการชำระจิตของตนให้ผ่องใส ส่วนวิธีการที่จะบรรลุถึงหลักคำสอนทั้ง ๓ ประการนั้นขึ้นอยู่กับภาวะของตน สำหรับฆราวาส (คฤหัสถ์)ญาติโยมส่วนใหญ่แล้ว คือ การให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา สำหรับของพระภิกษุสงฆ์องค์สามเณร คือการรักษาศีล การเจริญสมาธิ และการเจริญปัญญา หรือเรียกอีกอย่างว่า เจริญศีล สมาธิ และปัญญานั่นเอง เป็นการปฏิบัติกรรมฐาน พูดถึงกรรมฐาน คืองานทางจิต หรือแปลว่าที่ตั้งแห่งการงานทางจิต ที่ตั้งแห่งการงานทางจิตนั้นมี ๒ อย่างคือ สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ หรือสงบกิเลส และวิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญาเพื่อขจัดกิเลส หรือความรู้แจ้งชัดในสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริง ซึ่งหลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า ทานมีอานิสงค์ส่งให้ชีวิตสะอาดปราศจากความโลภ เป็นเหตุให้บรรลุถึงมนุษย์สมบัติ ศีลมีอานิสงค์ส่งให้เป็นแสงสว่างห่างไกลจากความโกรธ เป็นเหตุให้บรรลุถึงสวรรค์สมบัติ ภาวนามีอานิสงค์ส่งให้จิตใจไร้ความหลง ความงมงาย เป็นเหตุให้บรรลุถึงนิพพานสมบัติ เพราะฉะนั้น หลักการบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา หรือการบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการปฏิบัติกรรมฐาน จึงเป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อละความชั่วทั้งปวง แล้วประกอบความดีให้ถึงพร้อม แล้วหมั่นชำระจิตของตนให้สะอาด สว่าง สงบ ผ่องใส ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับชีวิตทุกชีวิต ทุกเพศ ทุกวัย และทุกขณะลมหายใจเข้า ออก ตราบใดที่ชีวิตเรายังมีลมหายใจอยู่ เพราะชีวิตทุกชีวิตที่ขาดธรรมะแล้ว จะดำรงและดำเนินชีวิตอยู่ในโลกใบนี้อย่างสงบสุขไม่ได้เลย ประพฤติธรรม สำคัญ อยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิด ก็มัวหมอง ไม่ผ่องใส ถ้าตั้งถูก ก็ผุดผ่อง ไม่หมองใจ ตั้งสติไว้ ให้คุมจิต ไม่ผิดธรรม การเข้าถึงธรรมปฏิบัติ เพื่ออบรมจิตใจ ให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ ไม่ให้ฟุ้งซ่านมีปัญญาในการแก้ไขปัญหา สามารถนำพาชีวิต จิตใจให้ห่างไกลความชั่ว นำไปสู่ทางที่ถูกต้องและดีงาม จนอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยอุบายวิธีและหลักธรรมปฏิบัติที่กล่าวมานี้ พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัตินำ เป็นแบบอย่างมาแล้ว วิปัสสนากรรมฐานงานทางจิต เป็นนิมิตอันเลิศประเสริฐผล ให้เกิดสุขสมหมายคลายกังวล ถ้าทุกคนปฏิบัติ จัดว่าดี แต่ด้วยหลักการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน ที่หลากหลาย เร่งร้อน มีข้อจำกัดด้วยภาวะและเวลา ทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องสถานที่ และครูผู้ฝึกสอนที่ชี้แนะนำอย่างถูกต้อง ขอเจริญพร
(พระครูนิคมภัทรกิจ) เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์แห่งที่ ๖ |
เจ้าของ: | ไวโรจนมุเนนทระ [ 30 ธ.ค. 2009, 16:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ |
เจ้าของ: | moddam [ 30 ธ.ค. 2009, 18:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
![]() ขออนุโมทนาครับ ว่าแต่ว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจจ์ 4 ใช่ไหม หรือ หนอ |
เจ้าของ: | ทักทาย [ 31 ธ.ค. 2009, 11:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
ขอท่านพรั่งพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ และเจริญในธรรม นะค่ะท่าน สุเมโธ |
เจ้าของ: | damjao [ 31 ธ.ค. 2009, 14:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
คราวหนึ่งมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้า โดยทูลว่า พระพุทธวจนะทั้งหมดที่ตรัส ถ้าจะสรุปให้สั้นเพียงประโยคเดียวได้หรือไม่จะว่าอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านว่าได้ พระองค์ตรัสว่า "สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ" แล้วพระองค์ก็ยำลงไปอีกทีหนึ่งว่าถ้าใครได้ฟังข้อความนี้ ก็คือได้ปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ถ้าได้รับผลจากการปฏิบัติข้อนี้ก็คือได้รับผลทั้งหมดในพระพุทธศาสนา นี่ลองคิดดูเองว่ามันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาหรือยัง เพราะมันเป็นทั้งเรื่องวิชชา เป็นทั้งเรื่องปฏิบัติ และเป็นทั้งเรื่องผลของการปฏิบัตืฃิ มันสมบูรณ์ถึงอย่างนี้ คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง[u][b]ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ปฏิบัติเพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ได้รับผลมาเป็นจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร เป็นจิตที่ว่างที่สุดจึงถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา หรือหัวใจของธรรมะทั้งหมด สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ สิ่งทั้งปวงไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น[/b][/u] นี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ........... ![]() |
เจ้าของ: | ตรีกฤช [ 04 ม.ค. 2010, 12:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
หัวใจของพุทธศาสนาสำหรับผมนั้นก็คงตามที่เรียน ๆ มาก็คือ 1. ละเว้นความชั่ว 2. ทำแต่ความดี 3. ทำจิตให้บริสุทธิ์ เพราะถ้าไม่ละเว้นความชั่วมันก็จะไม่รู้ว่าสิ่งใดดีสิ่งไหนชั่ว เมื่อละชั่วได้ถึงจะรู้จักความดี แล้วก็จะทำแต่ความดี (คงไม่มีใครละชั่วแล้วทำชั่วอีก) เมื่อทำความดีมันก็จะเป็นฐานและเหตุปัจจัยในการบำเพ็ญเพียรเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ คือ กิเลสหมดสิ้น (คงไม่มีใครหลุดพ้นด้วยการทำความชั่วนะ) ก็มีเท่านี้แหละครับหัวใจพุทธศาสนาสำหรับผม (ความรู้สึกส่วนตัวนะครับ) ส่วนอริยสัจ 4 นั้นผมว่ามันเป็นสัจธรรมเสียมากกว่า เป็นสิ่งที่ว่าจะมีหรือไม่มีพระพุทธเจ้า มันก็เป็นความจริงของมันอยู่อย่างนั้น ผมว่ามันเหนือกว่าศาสนาอีกครับ ส่วนหัวใจสามข้อที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่ท่านสอนให้ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธปฏิบัติตามเพราะมันเป็นหัวใจที่ช่วยให้เห็นและเลิกสงสัยในอริยสัจ 4 เสียมากกว่า |
เจ้าของ: | ขงเบ้งเทพแห่งกลยุทธ์ [ 05 ม.ค. 2010, 20:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
แก่นธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ โลกุตรธรรม 9 เป็นหัวใจอันสูงสุด ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 05 ม.ค. 2010, 22:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
![]() ![]() ![]() อนุโมทนาสาธุด้วยครับ กับทุกคำตอบ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 05 ม.ค. 2010, 22:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
หัวใจพระพุทธศาสนาไม่มี |
เจ้าของ: | หลวงจีนงมงาย [ 05 ม.ค. 2010, 23:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
. ![]() ละ
![]() โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ หลวงจีนงมงาย ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | kokorado [ 07 ม.ค. 2010, 19:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ |
เรื่องหัวใจพระพุทธศาสนั้น ท่าน ป.อ. ประยุทธ์ ปยุตโต ได้อรรถาธิบายไว้อย่างแจ่มแจ้งวันหลังจะได้นำมาโพสต์ให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 07 ม.ค. 2010, 20:32 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ | ||
![]() ![]() ![]() อนุโมทนาสาธุด้วยครับ ![]() ![]() ![]()
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |