วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 18:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบขอข้อปฏิบัติในการเข้าพิธีรับศิษย์กุยกี (มหายาน) มีขั้นตอนพิธีอย่างไรบ้าง
และผู้มาเป็นศิษย์ต้องคุณสมบัติอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ
และการเข้าร่วมมนตราภิเษก (พิธีก้วงเต้ง)
มีขั้นตอนอย่างไรครับขอบพระคุณครับ

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 11:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นโพสต์มานาน ไม่มีคนหาให้
ขออาสานะครับ
ขออนุโมทนาด้วย ในมหากุศลจิตของท่าน

ทะเลทุกข์กว้างไกลไร้ขอบเขต กลับใจได้ ถึงฟากฝั่ง

เป็นตำนานมาทางจีน
พิจารณาแล้ว เป็นสิ่งที่ดีงาม


การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ 皈依 (กุยอี)
ชาวพุทธศาสนิกชนมักรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่าพระรัตนตรัยตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ( บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ) ก็ได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อโปรด ปัญจวัคคีย์ให้เป็นพระอริยสงฆ์ในเวลานั้นก็ได้เกิดพระรัตนตรัยขึ้นครั้งแรกในโลก คือมี พระพุทธ佛 ซึ่งเป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้า
พระธรรม法 คือ อริยสัจสี่
พระสงฆ์僧 คือ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5

การมอบตัวเป็นพุทธมามกะ หรือกุยอี(皈依) ในนิกายมหายานซึ่งถือว่าเป็นศิษย์ของพระตถาคต และมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งโดยแท้จริง


กุยอี 皈依 มีความหมายตามหลักพระพุทธศาสนาดังนี้
皈依佛 ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ผู้เลิศกว่าศาสดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นสรณะ
皈依法 ข้าพเจ้าถึงพระธรรมอันเลิศ ด้วยธรรมอันบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส เป็นสรณะ
皈依僧 ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ ผู้เป็นยอดแห่งหมู่คณะทั้งหลายเป็นสรณะ
ผู้ที่จะมอบตัวเป็นพุทธมามกะนั้น โดยทั่วไปเริ่มแรกมักจะมีความศรัทธาที่ไม่มั่นคงมีปณิธานที่แน่วแน่ ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเกิดกำลังใจที่เข้มแข็งต่อสู่กับอุปสรรคต่างๆ ด้วยจิตใจที่มั่นคงและยังเป็นการปลูกเมล็ดกุศลขึ้นในจิตใจอีกด้วย

佛門稱佛、法、僧 為三寶,此三寶自釋迦牟尼佛、在鹿

在鹿野苑度五比丘後即 已成立。彼時釋尊是佛寶、四聖諦是法寶。五比丘是僧寶此名化相三寶。
皈依是皈順依靠之意。初覺人,信未堅,力未充,須皈

須皈依三寶,佛弟子皈依三 寶後,才是正式佛徒,所以三皈又具有正名定分的作用。所謂皈佛者。一切佛皆當皈依,不限於某一佛皈法者。佛門經律論。皆當皈依,不限於某一法皈僧者上自聖賢僧下迨凡夫僧,皆當皈,不限於某一比丘,佛子受三皈後,永應以佛為師,再不皈依外道邪教。以僧為師,再不皈依異教徒眾,若此信心,永守不渝則盡未來際,常得親近三寶佳 於正道。


ความหมายของการเป็นพุทธมามกะ

信佛為何須先歸依三寶


เหตุใดการเป็นพุทธศาสนิกชนจึงต้องปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ด้วยโดยความจริงแล้ว

สรรพสัตว์ทั้งหลายยังต้องผูกพันกับการเวียนว่ายตายเกิดไปไม่รู้จักจบสิ้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านทรงมีพระกรุณาที่จะโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ดังนั้นหากบุคคลใดก็ตามปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ตามทางแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว จึงควรตั้งใจปฏิญาณตนโดยขอพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งเพื่อจะได้มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการบำเพ็ญตนตามพระธรรมคำสั่งสอนต่อไปและจะยังผลให้ได้พ้นจากวัฏสงสารในที่สุด

眾生沉淪在六道苦海中,佛法僧三寶是救度眾生的慈

航,若人能於險難中皈投依仗三寶,則能得到解脫眾苦。所以正信佛教的人,須先歸依三寶遵從三寶教教導,才能得離苦得樂。


บุญกุศลในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมากะ( กุยอี )

皈依三寶的福德


ผู้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนั้น จะเป็นผู้มีพระรัตนตรัยคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้ประกอบแต่กรรมดี กุศลที่ยังไม่เกิดจงทำให้เกิดในจิตใจ ส่วนกุศลที่เกิดแล้วก็จงทำให้เจริญงอกงามต่อไป อกุศลทั้งหลายในจิตใจที่ยังไม่เกิดจงอย่าให้เกิด อกุศลที่เกิดแล้วก็จงทำให้หมดไป บุญกุศลในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ในพระไตรปิฏกได้กล่าวถึงอานิสงส์ของ การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะว่ามีผลานิสงส์มากมายโดยอาจสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ผู้นั้นจะได้เกิดในที่ที่มีแต่ความสุขเป็นนิจ
2. ผู้นั้นจะไม่ตกลงสู่อบายภูมิทั้ง 3 ได้แก่ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ นรกภูมิ
3. คุณแห่งพระรัตนตรัยจะปกปักษ์รักษาผู้นั้นอยู่เสมอ
4. บุคคลผู้นั้นสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารและมุ่งสู่พุทธมรรคได้
ในอนาคตอันใกล้

皈依三寶為佛弟子有如是功德有佛法僧三寶所依靠皈
順,修諸善業。

未生的善心善行速令它生
已生的善心善行速令增長
未生的惡心惡行勿令它生
已生的惡心惡行速令它滅

若人皈依佛法僧三寶,福德無量,

㈠ 所生之處受勝妙樂,
㈡ 不墮三塗惡趣(畜生、餓鬼、地獄)
㈢ 能得到三寶加持
㈣ 其人速能了解生死輪迴,成就佛道


ในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ

皈依三寶不得皈依在家眾


ในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ต้องกระทำต่อหน้าพระรัตนตรัยโดยมีพระสงฆ์

เป็นพยานรับรู้ในการปฏิญาณตน ของบุคคลผู้นั้น ดังนั้นหากไม่ได้สมาทานพระรัตนตรัยต่อพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์แล้ว ก็ถือว่ายังไม่ได้เป็นพุทธมามกะอย่างถูกต้อง

在家信眾未正式出家受具足戒,其人就是未入僧數的俗

人,當然不能算是三寶中的僧寶。若人皈俗家居士,非但不能算是皈依三寶,而且不能得到皈依三寶的功德法益。優婆塞戒經說在家之人多惡因緣所纏繞故。


ข้อควรทำเป็นพุทธมามกะแล้ว

三寶弟子的任務


เมื่อเป็นพุทธมามกะแล้ว พุทธศาสนิกชนที่ดีนั้นควรทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ตาม

กำลังความสามารถแห่งตนที่จะกระทำได้ทั้งยังควรพยายามขัดเกลาและอบรมตนให้ดีขึ้น โดยอาศัยพระพุทธธรรมเป็นเครื่องอบรมบ่มนิสัย หากเป็นพุทธมามกะโดยไม่ขัดเกลาซึ่งความไม่ถูกต้องในตนเองให้เบาบางลงแล้ว ก็ยังไม่เป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์ตามประสงค์แห่งพุทธองค์ พุทธมามกะควรถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เมื่อเป็นพุทธมามกะแล้วควรตั้งใจว่าจะถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะคือเป็นที่พึ่งไปจนตลอด โดยไม่เปลี่ยนใจหรือกลับใจไปนับถือหรือยกย่องสิ่งที่เป็นอวิชชา (คือสิ่งที่ไม่เป็นความจริงไม่เป็นทางพ้นทุกข์) ฉะนั้นบุคคลที่นับถืออวิชชาบุคคลนั้นย่อมไม่เป็นพุทธมามกะอย่าแท้จริง

正信佛弟子唯一的任務是;「護持三寶」附註出家僧眾

發揚佛法的經濟來源,完全依靠信眾發心。居士若能以財物供養出家眾,僧眾則能如法修行發揚佛法濟度眾生;信眾則因此得大福報,功德無量。真心想學佛修行的人一定要先學習做人,人如果學不成非但不能成就佛道,而且有求昇反墮的危險。學佛三要素是要尋求明師,要讀佛經要勤勤修佛法。
คำปฏิญาณตนของพุทธมามกะ

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปแม้จนชีวิตหาไม่ ข้าพเจ้ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นพระศาสดาเป็นสรณะที่พึ่ง โดยจะไม่นับถือศาสดาอื่น เป็นศาสดาเป็นที่พึ่งตลอดไป

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปแม้จนชีวิตหาไม่ ข้าพเจ้ามีพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นสรณะที่พึ่ง โดยจะไม่นับถือคำสอนของศาสดาอื่นนอกพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งตลอดไป

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปแม้จนชีวิตหาไม่ ข้าพเจ้ามีพระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง

โดยจะไม่นับถือสาวกของศาสดาอื่นนอกพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งตลอดไป


三歸依

ซำ กุย อี

從今日起,盡此報身,皈依佛,稱佛為師,
ฉ่ง กิม ยิก คี่ จิ่ง ชื่อ ป่อ เซง กุย อี ฮุก เช็ง ฮุก อุ้ย ซือ
永不歸依天魔外道。
หย่ง ปุก กุย อี เทียง ม๊อ หงัว เต๋า


從今日起,盡此報身,皈依法,稱法為師,
ฉ่ง กิม ยิก คี่ จิ่ง ชื่อ ป่อ เซง กุย อี ฮวบ เช็ง ฮวบ อุ้ย ซือ
永不歸依外道典籍。
หย่ง ปุก กุย อี หงัว เต๋า เตี๋ยง เจี๋ย


從今日起,盡此報身,皈依僧,稱僧為師,
ฉ่ง กิม ยิก คี่ จิ่ง ชื่อ ป่อ เซง กุย อี เจง เช็ง เจง อุ้ย ซือ
永不歸依外道邪眾。
หย่ง ปุก กุย อี หงัว เต๋า เซี้ย เจ่ง


โคลงสุภาษิต

โคลงสุภาษิตสอนให้บุคคลปฏิบัติตนอยู่ใน ศีล5 ซึ่งได้แปลถ่ายทอดออกเป็นโคลงภาษาไทย
ดังต่อไปนี้

โคลงสุภาษิตจีน-ศีล 5


◎ 剎生戒卻慈悲大 ◎
สิกขาบทหนึ่งห้าม ปาณา
ฆ่าสัตว์ตัดชีวา เชือดชิ้น
เชือดชิ้น ไป่เลือก สัตว์นอ
ฆ่าสัตว์ตายซากสิ้น บาปพื้นคืนสนอง

◎ 偷盜除清廉節優 ◎
อทินนาว่าไว้ ลักเอา
ทรัพย์สิ่งของจากเขา จุ่งเว้น
ลักทรัพย์ใส่พกเรา อย่าริ ทำพ่อ
สินเท่าเพียงด้ายเส้น บาปพื้นคืนสนอง


◎ 見色不迷淫絕跡 ◎
สามกาเมรุ่มร้อน อัคนี
ล่วงสิทธิ์ประเวณี บาปล้น
ทรามเสนียดบัดสี ป่ายงิ้วทิวหนาม
กรรมวิบากไป่พ้น ป่ายงิ้วทิวหนาม


◎言語無妄如赤子◎
สี่ถือสัจจ์ว่าห้าม มุสา
พูดจากลับกลอกวาจา โทษป้าย
สับปลับพลิกภาษา โยนผิด ใส่นา
ปั้นเท็จเจตน์ชั่วร้าย ขาดสิ้นศีลธรรม


◎酒畢斷盡性長流◎
ห้าสุราฤทธิ์เหล้า รบกวน
ประสาทปั่นป่วนผันผวน พลาดพลั้ง
สู่สมัครชักชวน โยนผิด ใส่นา
ตั้งสติยับยั้ง ฝ่าดั้นอันตราย


◎天外龍華任我避◎
ใครมีศีลห้าล้าง ราคิน
จิตย่อมหมดทิน ด่างพร้อย
เกียรติศักดิ์ทรัพย์โสภิณ เกษมสุข สราญเฮย
มีพุทธสังวาลสร้อย คอยคุ้มภัยอันตราย

ที่มา http://www.buddhanet.net/e-learning/...es/healbud.jpg



smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue

ทีนี้ เป็นคิวของ มันตราภิเษก
ขอคุยเฉพาะท่านที่สนใจเรื่องนี้นะครับ
ผิดหรือถูก เราไม่ควรชี้ชัดลงไป
ถ้าเราศึกษาเถรวาท ควรศึกษาให้ถึงแก่นแท้ มีความคิดเป็นบวก มีใจเปิดกว้าง จะพบแต่สิ่งที่ดีงาม

ควรเรียนบาลีให้เก่ง
เรียนอภิธรรมให้ชำนาญ
อ่านพระไตรปิฏก ตำราวิเสสต่าง ๆ


ในขณะเดียวกัน ถ้าเราศึกษาฝ่ายมหายาน ก็ต้องเรียนให้มากที่สุดเท่าที่มากได้
มีมากมายหลายนิกาย การเน้นหลักธรรมก็แตกต่างกันไป


ถ้าเรียนสันสกฤตให้เก่งจะดีมาก ผมโชคดีที่เรียนจบบาลีในไทย จบอภิธรรม ๙ ปริเฉท เคยสอนภาษาสันสกฤตที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ๑ ปี พอมีพื้นด้านภาษาอยู่บ้างครับ

แต่วิธีตัดสินธรรมะ ใช้หลักพระพุทธเจ้าครับ ดีที่สุด

ถ้าธรรมะอันใด เป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด
ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ปรารภความเพียร บริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ
ถือว่าเป็นธรรมที่ถูกต้อง


ถ้านอกเหนือจากนี้ ให้พิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป (วิภัชชวาที)

ขออนุโมทนา ที่สนใจธรรมะ

ลัทธิวัชรยาน

ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน หมายความ ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ
ครั้งแรกที่เมือง สารนาถ แค้วนพาราณสี
ครั้งที่2 ที่กฤตธาราโกติแค้วนราชคฤห์
ครั้งที่3 ที่ไวศาลีครั้งแรกเทศนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาฝ่ายเถระวาท

ครั้งที่2และครั้งที่ 3ท่านได้เทศนาเกี่ยวกับมหายานในมหายานได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน เรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมดเป็นอุดมคติของมหายานอุดมคตินี้ เรียกว่า โพธิจิตหรือจิตรู้แจ้งการพัฒนาโพธิจิตขึ้นเพื่อต้องการสำเร็จรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ สุขของสรรพสัตว์ทั้งหมดบุคคลใดที่มีอุดมคตินี้และปฏิบัติอุดมคตินี้บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ซึ่งการตายแล้วเกิดใหม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวพุทธด้วยกันแต่ก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างใน พุทธศาสนิกแต่ละนิกายฉะนั้นถ้าเรายอมรับในเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ก็หมายความว่าในแต่ละ ครั้งแห่งการเกิดต้องมีบุพการี1กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วนและด้วยเหตุผลนี้ต้องยอมรับว่าสรรพสัตว์ที่บังเกิดขึ้นได้เคย ดำรงสถานะภาพความเป็นบุพการีมานับครั้งไม่ถ้วนฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกันหรือให้บุพการีไปก่อน แล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไปนี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์

พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่14 ว่า "ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข” ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว ์พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าไม่มีบาปใดใหญ่หลวงเท่าความแค้น ไม่มีความดีใดเทียบได้กับความอดทน เมื่อเราได้เกิดขึ้นมา ความสมดุลก็ได้หายไป

ความ อดทนมี 3 ประเภท
1. อดทนต่อการต่อต้าน
2. อดทนต่อความ ลำบากในการศึกษาและปฏิบัติ ธรรม
3. อดทนในความกล้าปฏิบัติในคำสอนซึ่งลึกล้ำเช่นคำสอนเรื่องศูนยตาการบำเพ็ญตนตามโพธิสัตว์มรรค จึงต้องทำงานหนักเพื่อผลแห่งการเกิดปัญญาแห่งการวิเคราะห์

มีการแยกแยะปัญญาไว้ 3 ประเภทพื้นฐาน
1. ปัญญา เกิดจากการมีความรู้
2. ปัญญาเกิดจากการพินิจ พิจารณา
3. ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ

แต่ก็ยังมีการแยกย่อยอีก เช่น
1. ปัญญาที่เกิดระหว่างสมาธิ
2. ปัญญาที่เกิดหลังทำสมาธ ิ
3. ปัญญาเกิดเพื่อช่วยผู้อื่นและยังมีการแยกแยะลึกลงไปอีก เช่น ปัญญาในทางโลกและปัญญาที่อยู่เหนือโลก ปัญญาที่เข้าถึงสัจจะธรรมสูงสุดหรือปัญญาที่กว้าง เพื่อเข้าถึงปรากฏการณ์ต่างๆในทางโลก

ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยเมตตา 5 ปัญญา 1 เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกายสัมโภคกายและนิรมานกาย ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นพื้นฐานที่ต้องมีความเป็นพระโพธิสัตว์ต้องบังเกิดเพื่อบรรลุความสำเร็จในการปฏิบัติวัชระยานต่อไป ฉะนั้นจึงแยกความเป็นมหายานและวัชระยานออกจากกันไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องของวัชระยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักระ ตันตระ ซึ่งเป็นบทปฏิบัติตันตระชั้นสูง พระพุทธเจ้าได้เทศนาหลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว 1 ปี พระพุทธเจ้าได้เทศนาสอนแก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ

แม้คำสอนของมหายานเองก็มีการปฏิบัติไม่มากนักในสมัยพุทธกาล คำสอนมหายานเป็นที่เริ่ม สนใจปฏิบัติในช่วงของท่านคุรุนาคารชุนในปืค.ศ.1ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่16 ท่าน ธารานาถ ธารานาถชาวทิเบตได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7- 8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไป จนถึงศตวรรษที่12 เมื่อทิเบตรับคำสอนวัชระยานจากอินเดียในช่วงที่เจริญสูงสุดทิเบตจึงรับคำสอน อย่างเต็มที่

การปฏิบัติในวัชรยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์ผู้ซึ่งได้สำเร็จรู้แจ้งแล้ว ถ้าไม่มีการมนตราภิเษกแล้ว ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจต่อการปฏิบัติวัชรยานจะต้องได้รับการมนตราภิเษกจากวัชราจารย์เสียก่อน ถามว่าคำสอนวัชระยานคืออะไร เพื่ออะไรคำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดี จึงสามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เช่น ถ้าเราต้องการสำเร็จความเป็นพุทธะในชาตินี้ชาติเดียวต้องศึกษาปฏิบัติคำสอนตันตระเท่านั้นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้ เหมือนกับการบินโดยเครื่องบิน ในปัจจุบันนี้เราสามารถบินในระยะทางไกลๆได้ด้วยเวลา อันสั้นแค่ชั่วโมง แทนที่จะเดินด้วยเท่าเปล่าเป็นเดือน

เป็นที่รู้กันว่าในทิเบตท่านมิลาเรปะท่าน ได้บรรลุสำเร็จได้ในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ แล้วตันตระคืออะไร ตันตระโดยความหมายของคำแปลว่าความต่อเนื่อง อันเป็นคำสอนการ ปฏิบัติระดับสูง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้สอนศิษย์ในวงจำกัดเท่านั้น การปฏิบัติตันตระไม่มีใครได้พูด ได้ศึกษา ได้ปฏิบัติโดยไม่มีอาจารย์และไม่ได้รับการมนตราภิเษกจากอาจารย์ก่อน แม้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ที่ได้ปฏิบัติมามาก เข้าใจเป็นอย่างดีก็ไม่สามารถที่จะพูด ศึกษา หรือปฏิบัติตันตระไม่ผ่านการมนตราภิเษก การปฏิบัติตันตระเหมือนกับแพทย์ที่มีความชำนาญมาก สามารถที่จะเอาสารพิษหรือยาพิษมาสกัดเพื่อเป็นยารักษาโรคใหม่ๆได้และมีประสิทธิภาพสูง ในการปฏิบัติตันตระจะมีการนำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็น พลังที่เป็นบวก ได้เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่ เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดี อย่างไรคำสอนวัชรยานการปฏิบัติวัชรยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น แต่คำถามก็มีอยู่ว่ามีมนุษย์สักกี่คนที่ต้องการบรรลุรู้แจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นทั้งหมด คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว ้เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว ฉะนั้นเราสามารถศึกษาตันตระได้จากภาษาทิเบตเท่านั้น ในปัจจุบันภาษาทิเบตจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากได้บันทึกและได้แปลคำสอนต่างๆ ที่เป็นสันสฤตดั้งเดิมไว้อย่างครบถ้วน

พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์สองซันกัมโปเรืองอำนาจ ด้วยความสนพระทัยอันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พร้อมทั้งยังได้รับการแรงหนุนจากพระมเหสีชาวจีนและเนปาลซึ่งเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัด ถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะถูกขัดขวางจากลัทธิบอนอันเป็นลัทธิดั้งเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของทิเบตว่า ได้เกิดการสังคายนาพุทธศาสนา ณ กรุงลาซา เป็นการสังคายนาระหว่างนิกายเซ็นของจีน และวัชระยานจากอินเดีย ในรัชสมัยพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนา วัชระยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าทิซองเด็ตเชนได้ทรงนิมนต์ศานตรักษิตภิกษุชาวอินเดียและคุรุปัทมสมภพเข้ามาเพื่อแผ่แพร่พระธรรม โดยเฉพาะคุรุปัทมสมภพได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมาก จนได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และขานนามท่านว่า กูรูรินโปเช่ หรือแปลว่า พระอาจารย์ผู้ประเสริฐ กูรูรินโปเช่ได้ร่วมกับศานตรักษิตสร้างวัดสัมเยขึ้นในปี ค.ศ.787 และได้เริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของพระเจ้าทิซองเด็ตเชน ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาธิเบตด้วยอย่างมากมาย

พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) (ทริมซินกุนดั๊ก รินโปเช่) อดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 6 วัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านได้ธุดงค์วัตรไปถึงแคว้นคาม ทิเบตตะวันออกและเข้าศึกษามนตรยาน ณ ยิงมาคากิว (Nyingma Kagyu) ณ สำนักสังฆราชา ริโวเช่ แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้ (นอร่ารินโปเช่) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบตจนเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จนได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งพระวัชระจารย์ลำดับที่ 26 และต่อมาท่านได้รับเกียรติสูงสุดในการดำรงตำแหน่งพระสังฆนายก นิกายมนตรายาน องค์ที่ 18 แห่งทิเบต ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชา นะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่างครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทยด้วย ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด เป็นที่ยืนยันแล้วว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ทีนี้ถ้าจะเข้าพิธีมันตราภิเษก ทำเองไม่ได้ ต้องมีอาจารย์ ให้ไปสอบถามที่วัดท่านจะจัดเป็นคราว ๆ ไป
จะมีวัชราจารย์มาทำพิธีให้ ตามวัดเหล่านี้ครับ


1. วัดโพธิ์แมนคุณาราม (โผวมึ้งปออึ่งยี่) 普門報恩寺
เจ้าอาวาส พระมหาคณาจาร์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) - เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

รองเจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนวินยานุกร (เย็นอี่) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวาจีนนิกาย

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนปลัดธรรมสมาธิวัตร (เย็นกุง) - คณานุกรมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

เลขที่ 323 ถนนสาธุประดิษฐ์ 19 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 02 - 2112363 , 02 - 2117885 โทรสาร 02 - 2127777

2. วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) 龍蓮寺
เจ้าอาวาส พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

เลขที่ 423 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02 - 2223975 , 02 - 2266533

3. วัดหมื่นพุทธเมตตาคุณาราม (บ่วงฮุกฉื่ออึ่งยี่) 萬佛慈恩寺
รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ (เย็นจี่) ปลัดซ้ายจีนนิกาย

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมธร (เสี่ยย้ง) คณานุกรมเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

เลขที่ 80 หมู่ที่ 9 บ้านป่าไร่ ถนนสายบ้านกิ่วพร้าว-ปงน้อย ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57110 โทร. 053-767040

4. วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ 普頌皇恩寺
รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) รองเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

เลขที่ 75 ถนนเทศบาลสาย 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 ติดต่อวัดมังกรกมลาวาส โทร. 02-2223975

5. วัดโพธิ์เย็น (โผวเย่งยี่) 普仁寺
เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนวินยานุกร (เย็นอี่) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายขวาจีนนิกาย

เลขที่ 33 ตลาดลูกแก ตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี 71120 โทร.034-566004, 034-566454

6. วัดฉื่อฉาง (ฉื่อฉางยี่) 慈善寺
เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนธรรมานุกร (เย็นเฮ้า) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายซ้ายจีนนิกาย

เลขที่ 118 ถนนศุภสารรังสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทร.074-245348

7. วัดโพธิทัตตาราม (โผวเต็กยี่) 普德寺
เจ้าอาวาส พระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นเกา) ปลัดขวาจีนนิกาย

เลขที่ 102 ถนนสุรศักดิ์ 1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 โทร.038-311484

8. วัดเทพพุทธาราม (เซียนฮุดยี่) 仙佛寺
ผู้ปกครองดูแลวัด หลวงจีนใบฎีกา (เย็นเมี้ยง)

เลขที่ 686 ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 โทร. 038 - 282940

9. วัดทิพยวารีวิหาร (กัมโล่วยี่) 甘露寺
เจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นงี้) ผู้ช่วยปลัดขวาจีนนิกาย เลขานุการเจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต (เย็นอี่) ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย

เลขที่ 119 ซอยทิพยวารี ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร. 02 - 2225988

10.วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) 永福寺
รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลวงจีนธรรมรักษ์จีนประจิต (เย็นอี) ผู้ช่วยปลัดซ้ายจีนนิกาย

เลขที่ 324 ตรอกเต้า ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02 - 2224789

11.วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ (ฉื่อปีซานผู่ทียี่) 慈悲山菩提寺
เจ้าอาวาส หลวงจีนปลัด (เย็นหมง)

หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71120 โทร.01-2156882

12.วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) 龍福寺
รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอธิการเย็นจุง

เลขที่ 291 ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000 โทร. 038 - 511069

13.วัดมังกรบุปผาราม (เล่งฮั้วยี่) 龍華寺
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หลวงจีนเสี่ยคัง (จี้เซ้ง)

ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 22130 โทร.039-397210

14.วัดเล่งจิ๋วเจงเสี่ย 靈鷲精舍
รักษาการแทนเจ้าอาวาส พระอธิการเสี่ยปึ้ง (จี้เจี่ย)

เลขที่ 40 ซอยสมปรารถนา ถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10320 โทร. 02-2451032

15. สำนักสงฆ์สุธรรม
หลวงจีนเสี่ยเจียว

เลขที่ 354 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ซอย 10 แขวงบางแคเหนือ เขตบางแค กทม. 10160 โทร 02-4211236

16. สำนักสงฆ์กวงเม้งเจงเสี่ย
เจ้าสำนักสงฆ์ หลวงจีนเจียงฮุ้ง

เลขที่ 149 ถนนวรจักร แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบ กทม. 10100 โทร. 02-2234671

17. สำนักสงฆ์กั๊กฮึ้งเนี่ยมฮุกลิ้ม
เจ้าสำนักสงฆ์ หลวงจีนปึงจง

เลขที่ 192 ซอยแม้นศรี 1 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ 10100 โทร. 02-2235996



smiley smiley smiley

มากฺษิกา วฺรณมิจฺฉนฺติ ธนมิจฺฉนฺติ ปารฺถวาะ
นีจาะ กลหมิจฺฉนฺติ ศานฺติมิจฺฉนฺติ สาธวะ

คำแปล แมลงวันทั้งหลายปรารถนาในบาดแผล
พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายปรารถนาในทรัพย์
คนต่ำทั้งหลายปรารถนาในการทะเลาะ
คนดีทั้งหลายปรารถนาในความสงบ...


ไวโรจนมุเนนฺทฺระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณมากๆครับ สงสัยมานานแล้ว แต่ไม่มีใครช่วยตอบเลย

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2010, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาที่สนใจ ผมไม่ใช่คนเก่ง
เคยศึกษามา จะตอบก็ต้องค้น
พอรู้วิธีค้น
มีอะไรสงสัยก็ถามนะครับ
ด้วยความยินดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.tongue.

ง่าย ง่าย ง่าย

อยู่หน้าพระ ให้ใจถึงพระ

กราบงาม ๆ ๓ ครั้ง

เปล่งวาจาด้วยภาษาที่เราเข้าใจ

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

แน่นหนา ๆ

ว่าองค์แห่งศีลที่จะบำเพ็ญ

ตั้งใจบำเพ็ญ

อย่าโกหกพระ

โกหกพระ ก็ต้องออกแรง ขอขมาพระก่อน

ตัวเองต้องเข้าใจ สำคัญ สำคัญ

อย่างมงาย เหมือนหลวงจีนงมงาย

:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

งมงาย

:b51: :b51: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ม.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงจีนงมงาย เขียน:
.tongue.
อย่างมงาย เหมือนหลวงจีนงมงาย

:b53:

โอมฺ มณีปทฺเม หุมฺ

งมงาย

:b51: :b51: :b51:


ดังคำว่า "ก้าวถอยหลังที่แท้เดินหน้า หรือเปล่าครับ" คือผู้ใหญ่ข้าราชการแถวบ้านผมเค้าท้อแท้ชีวิตมากเลยนะครับ จนอยู่มาวันหนึ่ง เค้าคิดว่าผ้ายันตร์ เทวรูป ทำให้เค้าซวย เค้าเลยวางแผนไปทำลายเทวรูปที่วัดกัน มีงี้ด้วยคนแปลกๆๆ

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 196 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร