วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 04:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 08:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2004, 16:16
โพสต์: 114


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวพุทธควรรู้อะไร

สิ่งที่ควรรู้เป็นอันดับแรกสำหรับผู้ที่นับว่าตนเองมีศาสนาพุทธไว้ประจำจิตใจนั้นก็คือรู้ว่า จุดสำคัญของพระพุทธศาสนามีความแตกต่างจากศาสนาอื่นอย่างไร

พระพุทธศาสนาต่างกับศาสนาอื่น ก็คือ สอนให้เป็นไปในลักษณะพึ่งตัวเอง สอนเน้นหนักไปในทางปฏิบัติอบรมตนเอง

ส่วนศาสนาอื่น สอนเน้นหนักไปในทางให้เชื่อ จงรักภักดี วอนไหว้ ขอให้ช่วยดลบันดาล โดยเฉพาะ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือสิ่งใดในโลก

ศาสนาพุทธ สอนให้ถือหลักปฏิบัติเป็นสำคัญยิ่ง เพราะว่าความทุกข์-สุข ทั้งปวงเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติทั้งนั้น

พระพุทธศาสนา สอนโดยไม่บังคับให้เชื่อ ไม่ห้ามไม่ให้คิด ไม่ห้ามไม่ให้ค้าน แต่สอนว่า อย่าเชื่อใครง่ายๆ ถ้าในที่ใดมีความเชื่อ ก็ต้องเชื่อโดยมีเหตุผลอย่างอิสระ นี่คือลักษณะที่ต่างกับศาสนาอื่น

พระพุทธศาสนาให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่พุทธสาวกโดยไม่หวั่นเกรงว่าจะหาคนนับถือและเชื่อถือไม่ได้ โดยวางหลักการเชื่อถือไว้ว่า

พวกท่านอย่าได้เชื่อถือ
โดยฟังตามกันมา
โดยสืบต่อกันมา
โดยตื่นข่าว
โดยอ้างตำรา
โดยนึกเดาเอา
โดยคาดคะเน
โดยตรึกตามอาการ
โดยชอบใจว่าต้องตามลัทธิของตน
โดยเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
โดยนับถือท่านว่าท่านเป็นครูของเรา

เมื่อใดที่ตัวเองรู้ตัวเองว่า ธรรมใดเป็นอกุศล มีโทษทำให้เกิดการติเตียน เมื่อทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ มีแต่ทุกข์ท่านก็ควรละธรรมนั้นเสีย ธรรมใดเป็นกุศล ไม่มีโทษ ไม่ถูกติเตียน ไม่เบียดเบียนใคร เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นความสุข จึงควรเข้าถึงธรรมนั้น

พระพุทธศาสนา สอนให้ละความชั่ว ไตร่ตรองทบทวนดูเองว่า ควรกระทำหรือไม่ สอนให้ประพฤติความดี ไตร่ตรองดูด้วยจิตของเราเอง โดยไม่มีใครบังคับ ให้ปรากฏข้อเท็จจริงด้วยตนเอง สอนให้พึ่งตนเอง ไม่ให้อ้อนวอนพึ่งคนอื่น ไม่สอนให้อวดดีกระด้าง แต่สอนให้เข้มแข็ง อ่อนโยน ให้ตั้งตนเอง ให้สร้างตนเอง ด้วยความรู้ ความสามารถของตนเองโดยมีความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าปฏิบัติได้ ก็มีจิตสูงขึ้นไปตามขั้น ตามภูมิ โดยเฉพาะมนุษย์นั้น อาจจะดีกว่าเหล่าเทวดาก็ได้ ด้วยความประพฤติดี

“ถ้าเราช่วยตัวเองได้ ก็เท่ากับช่วยเหลือผู้อื่นได้ ด้วยการที่ผู้อื่นจะได้ไม่ต้องมาคอยช่วยเรา”

อันดับต่อไปที่ชาวพุทธควรรู้ก็คือ รู้ว่าชีวิตของคนเราเมื่อเกิดมาแล้วต้องพบกับความทุกข์อย่างแน่นอน ไม่สามารถจะหลีกหลบไปจากความทุกข์ได้ จึงต้องทำความรู้จักกับความทุกข์เสียก่อนว่า ที่เรียกว่า “ทุกข์” นั้นคืออะไร ทุกข์ตามที่พระพุทธองค์ทรงประจักษ์แจ้งและทรงแนะนำให้เรารู้จักกันว่า คือสภาพที่ทนได้ยาก และไปได้ยาก ลักษณะของทุกข์คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแต่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น ชีวิตจึงตกอยู่ในสภาพที่ต้องสลายตัวเพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้เป็นของธรรมดา และทุกอย่างที่ชีวิตต้องประสบก็ตกอยู่ในลักษณะเดียวกันหมด ไม่มีใครเลยจะสามารถร่ำร้อง อ้อนวอน ให้ทุกอย่างอยู่ในสภาพคงเดิมตลอดไปได้

ความทุกข์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ทุกข์ประจำ และทุกข์จร

ทุกข์ประจำมีอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สักคนเดียว คือความแก่กับความตาย

ทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการที่ชีวิตต้องประสบกับอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ ทำให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เนื่องจาก ตัณหา ตัวการที่ทำให้เกิดทุกข์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้จักทุกข์แล้ว ก็ยังสอนให้ชาวพุทธรู้ต่อไปอีกว่า ทุกข์นั้นเกิดขึ้นได้เพราะอะไร สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือสมุทัย หมายถึงตัณหา ซึ่งจะเกิดมีขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของชีวิต ตัณหาคือลักษณะของความยินดีอยากได้ในอารมณ์ต่างๆ ถ้าตรงตามความต้องการก็มีความพอใจ ถ้าไม่ตรงตามความต้องการก็เกิดความไม่พอใจ แล้วดิ้นรนขวนขวายให้ได้มาซึ่งอารมณ์อันเป็นที่พอใจตลอดเวลา ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่

๑. กามตัณหา คือ ความยินดีติดใจ ติดอยู่ในอารมณ์อันเนื่องด้วยรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ข้องอยู่กับชีวิตของเรา และเรามีความอุปาทานเข้าไป คือ ติดอย่างแรงนั่นเอง ยึดมั่นอย่างแรงในอารมณ์ที่กระทบ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ว่านี่คือฉัน นี่คือของของฉัน นี่อารมณ์ที่ฉันชอบ ยึดมั่นไว้ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเป็นของธรรมดา หาสาระแก่นสารไม่ได้ ผู้ใดมีความติดข้องอยู่ในกามตัณหา ผู้นั้นย่อมท่องเที่ยวด้วยความเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวอยากได้รูปอย่างนั้น เดี๋ยวอยากได้รูปอย่างนี้ เดี๋ยวอยากได้กลิ่นอย่างนั้น เดี๋ยวอยากได้กลิ่นอย่างนี้ เดี๋ยวอยากรู้รสอย่างนั้น เดี๋ยวอยากรู้รสอย่างนี้ ฯลฯ ลองดูในชีวิตวันหนึ่งๆ เรามีไหมมีทั้งสิ้น การกิน การเห็น การสั่งของเราทุกวันนี้เป็นอย่างไร ชอบอยู่ในสิ่งที่ตนเองพอใจ

แต่ฉันใดฉันนั้น เราจะดลบันดาลหรือให้มีอำนาจพิเศษใดๆ ในโลกนี้ทำให้เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้สัมผัส ได้ถูกต้อง นึกคิดไปในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่เราเจตนาและชอบอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะว่าธรรมทั้งหลายย่อมไหลไปจากเหตุ จึงทำให้ต้องประสบกับความสมหวังบ้างผิดหวังบ้าง ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ตลอดไป ฉะนั้น กามตัณหาจึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์โดยแท้จริง

๒. ภวตัณหา คือ ความยินดีติดอยู่ในอารมณ์อันไม่มีรูป และยึดมั่นว่านี่เป็นของฉัน เช่น ติดอยู่ในอารมณ์อันเป็นความนึกคิดที่ฉันคิดขึ้นมา ตัดสินแต่เพียงคนเดียว เอาตนเองก้าวเข้าไปตัดสินอารมณ์นั้นซึ่งดับไปแล้วแต่ยึดว่ามันยังมีอยู่ โดยคิดว่า มันต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนี้ นี่รักของฉัน นี่ชอบของฉัน ผู้ใดมีความติดข้องอยู่ในภวตัณหา ผู้นั้นจะไม่มีความสุขเลย เพราะว่าเขากับเราเป็นไปไม่ได้ที่จะเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเรายึดถือเอาความรู้สึกนึกคิดของเราเป็นใหญ่ เพราะความอุปาทานว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราจึงต้องแสดงอารมณ์ออกไปกับทุกคน ถ้าผู้ฟังไม่เห็นด้วย ใครทุกข์ ฉันเป็นผู้ทุกข์ นี่แหละคือภวตัณหา

๓. วิภวตัณหา คือ ความเห็นผิดอันประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ มีความติดอยู่ในอารมณ์ว่า ทำอะไรแล้วขาดสูญหมดตายแล้วสูญ บาปไม่มี บุญไม่มี ชาติหน้าไม่มี สวรรค์ไม่มี นรกไม่มี แต่ตนเองมีกาย วาจา ใจเป็นที่สร้างเหตุ เมื่อสร้างเหตุแล้วด้วยความโง่งมและหลงผิดย่อมต้องได้รับผลจากเหตุนั้น ผู้สร้างเหตุต้องเป็นผู้ได้รับ ดังนั้น ผู้ใดหลงผิดคิดว่าตายแล้วสูญ บาปไม่มี บุญไม่มี มีความยึดมั่นในอารมณ์นี้ ตนเองจึงเป็นผู้สร้างเหตุที่ตนเองจะต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดโดยมิรู้จักจบเปรียบเสมือนลูกโซ่ที่ไม่เคยขาดจากสังสารวัฏ


.....................................................
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 08:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2004, 16:16
โพสต์: 114


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป ชาวพุทธก็ควรรู้ตามไปอีกว่า ผู้ใดสามารถละเลิกจากตัณหาเสียได้ ความสิ้นสุดจากทุกข์ก็จะปรากฏให้ประจักษ์แจ้งทันที เพราะตัณหาอันเป็นยางเหนียวที่เชื่อมต่อให้เกิดสังสารวัฏถูกตัดขาดเสียแล้วก็ไม่ต้องเริ่มต้นการมีชีวิตใหม่ภายหลังความตายอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดมีชีวิตขึ้นมาอีก ความทุกข์ก็ไม่มีที่จะเข้าอาศัยเจริญเติบโตได้ เป็นอันจบสิ้นการดิ้นรนกระสับกระส่ายแสวงหาความพอใจอันไม่คงทนถาวร เป็นสุขอันบรมสุขอย่างแท้จริง

เมื่อรู้จุดหมายของความสิ้นสุดทุกข์ว่าจะเกิดมีขึ้นได้เมื่อไม่ต้องเกิดอีกต่อไปแล้ว ก็จะต้องมาเรียนรู้ถึงวิธีการที่จะไม่ต้องเกิดจากคำสอนของพระบรมศาสดาอันเกิดขึ้นจากพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ ที่ได้ทรงปฏิบัติจนแจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เอง แล้วมีพระมหากรุณาธิคุณทรงชี้แนะให้ชาวพุทธดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นหนทางสายเอกเพียงสายเดียวที่ทุกคนมีสิทธิจะเข้าถึงได้

เมื่อรู้แนวทางแห่งการดำเนินไปสู่จุดหมายแล้ว ก็ต้องรู้วิธีเริ่มต้นปฏิบัติตั้งแต่ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นพื้นฐาน และเป็นบันไดก้าวไปสู่ความพ้นทุกข์

จะรู้สิ่งที่ควรรู้ได้อย่างไร ก็จะต้องรู้ได้ด้วยการศึกษาเล่าเรียน

เรามาเรียนกันเรื่องอะไร เรามาเรียนกันเรื่องความจริง ความจริงเรียกว่า “สัจจะ” สัจจะมี ๒ ประการ คือ สมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ

สมมุติสัจจะที่ตั้งขึ้น เรียกขานกันขึ้น เช่น ชื่อคนสัตว์ต่างๆ ใช้เรียกชื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น สีแดง สีเขียว ก็เข้าใจกันเฉพาะภายในกลุ่มคนไทย นี่คือสมมุติสัจจะ ถ้าเผื่อไปใช้ในกลุ่มคนชาติอื่น เขาก็ไม่รู้จัก แต่ปรมัตถสัจจะ คือความจริงสุดยอด ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธได้ และไม่มีการบิดเบือนให้กลายเป็นอย่างอื่นไปได้ เช่น ตา หู ซึ่งทุกคนไม่ว่าเกิดในประเทศใด ภพภูมิใด ก็จะต้องมีตาไว้ดู มีหูไว้ฟัง จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเอาหูมาดู เอาตามาฟังได้เลย

ดังนั้น การเรียนอันนี้คือการเรียนความจริง ในพระพุทธศาสนา เราจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่าพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นด้วยปัญญาที่รู้ทั่วในธรรมทั้งปวง ปัญญาอันนี้หมายถึงความรู้ ซึ่งรู้ไปในธรรมชาติทั้งปวง ปัญญาที่รู้อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ คือรู้จริตต่างๆ และปัญญาที่รู้อินทรีย์อันอ่อน แก่ หย่อน ตึง คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปํญญา ของเวไนยสัตว์ต่างๆ ซึ่งมี อ่อน แก่ หย่อน ตึง กว่ากัน

พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นด้วยพระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ

พระพุทธศาสนาเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก มีถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ว่าด้วยเรื่อง พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม

พระวินัยสอนให้คนเป็นคนดี มีระเบียบ มีวินัย

พระสูตรสอนเรื่องเกี่ยวกับสมมุติสัจจะ คือต้องยกเอาสัตว์ บุคคล สิ่งของ ขึ้นตั้งเป็นตัวอย่างทั้งทางดีและทางชั่ว

พระอภิธรรมแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความจริง คือปรมัตถสัจจะ ปฏิเสธความเป็นสัตว์ เป็นคน เป็นตัวเรา ตัวเขาออกไปหมดทั้งสิ้น มีแต่สภาวะของรูปธรรมและนามธรรม เพื่อจะให้ปัญญาเกิดและสอนอนุสัยกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้พ้นทุกข์ได้

ดังนั้น พระไตรปิฏกซี่งมีถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น คือคำสอนให้คนเป็นคนดี มีระเบียบ มีวินัย คำสอนเรื่องราวของคน และแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับคนไว้ คือสิ่งที่อยู่ในตัวของเราเอง ใครที่รู้จักตัวเองในทางที่ถูกด้วยปัญญา ก็คือผู้ที่รู้จักพระไตรปิฏกมากเท่านั้น

ในชีวิตของคนเรา มีแต่ทุกข์ทั้งสิ้น เพราะทุกข์นั้นทำให้คนเราต้องมีการดิ้นรน แสวงหา ไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อมีการแสวงหาแล้ว เหตุก็ต้องตามาด้วยทุกข์ทั้งสิ้น คือเป็นภัยในวัฏฏะ วัฏฏะคือ รอบวงกลมแห่งคลื่นกรรมที่มีผลของการกระทำทั้งดีทั้งชั่ว ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ สังสารวัฏ แปลว่า รอบแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันมิรู้จักจบ ลักษณะของมันก็คือ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย อย่างซ้ำๆ ซากๆ น่าเบื่อหน่าย เปรียบเสมือนลูกโซ่ที่ไม่เคยขาดจากขันธ์ห้า เรามาเรียนแล้ว เราทำความเข้าใจแล้วว่า กรรมคืออะไร กรรมก็ได้แก่ผลของการกระทำทั้งดีทั้งชั่ว ไม่ใช่กรรมไม่ดีอย่างเดียว คำว่า กรรม คือ บุญ และบาป มีทั้ง ๒ ลักษณะ

เราทำบุญไปทำไม เมื่อเราจะทำบุญ เราต้องทำความเข้าใจกับบุญนั้นให้แจ่มแจ้งเสียก่อน เพื่อจะให้ปัญญาเกิดในการกระทำ จะได้เป็นกัมมัสกตาปัญญา คือปัญญาที่ประกอบไปด้วยบุญ

บุญ เมื่อกล่าวโดยเหตุ คือการกระทำความดีให้เกิดขึ้น

บุญ ถ้ากล่าวโดยผล ก็คือ ความสุขที่ได้รับมาจากการกระทำความดี

บุญ ถ้ากล่าวโดยลักษณะ คือการชำระล้างความชั่วให้สะอาดบริสุทธิ์

บุญ แปลว่า การชำระล้างความชั่วในจิตใจ ความชั่วในจิตใจเกิดขึ้นจากอนุสัยกิเลส ซึ่งมีเหตุมาจากการเกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วตายอีกอย่างซ้ำๆ ซากๆ ดังนั้นการทำบุญคือการชำระล้าง ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้จิตใจผ่องใส สะอาด การทำบุญในพระพุทธศาสนา มีถึง ๑๐ อย่าง แต่มีบุญชนิดเดียวเท่านั้น ที่จะต้องใช้ปัจจัยคือ ทานมัย ได้แก่

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน เป็นเงิน หรือวัตถุที่จะต้องซื้อมา บุญอีก ๙ อย่าง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยการกระทำ มี

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล รักษากาย วาจา ให้ปกติเรียบร้อย

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญภาวนา คือทำให้เจริญ เช่น การรักษาศีล เมื่อมีศีลแล้ว ก็รักษาให้บริสุทธิ์ สูงขึ้นไปมีการตั้งสติให้มั่นคง ในสมาธิก็ดี ในวิปัสสนาก็ดี แล้วก็ทำให้เจริญขึ้น เรียกว่า ภาวนา ย่อมอบรมให้เกิดมีสมาธิและปํญญาได้

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการถ่อมตัวให้กับผู้ใหญ่ และอ่อนน้อมต่อผู้ที่ควรเคารพ

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการขวนขวายค้นคว้าในกิจการที่ชอบ ที่ถูก และที่ดี

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการแผ่เมตตาให้แก่ผู้อื่น

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาจิตกับผู้ที่ได้กระทำบุญมา

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม คือฟังในเรื่องความจริง

บุญ ที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม เมื่อเรารู้หลักแห่งความจริงแล้ว เราได้นำไปชี้แจงอบรมให้แก่ผู้อื่น ให้เขาได้รับรู้ตาม ก็ได้บุญ

และ บุญ ที่ทำให้เกิดขึ้นมาได้ด้วยความเห็นตรง คือสัมมาทิฏฐิ

รวมเป็น ๑๐ อย่าง มีหนึ่งอย่างเท่านั้น ที่จะต้องใช้ปัจจัย ยังมีความเข้าใจผิดในการทำบุญกันอยู่อีกมากมายว่า คำว่าบุญ จะต้องควักเงินทองออกมาจ่าย ที่จริง เพียงทำทางจิตใจก็เกิดบุญได้

กิเลสมี ๓ อย่าง มีกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่าหยาบคือ การแสดงออกทางกาย อย่างกลาง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงที่เกิดขึ้นในใจ อย่างละเอียดคือ อนุสัยที่ติดมา เนื่องจากมีเกิด เพราะเกิดทำให้มีทุกข์ ต้องมี โลภะ โทสะ โมหะปิดบังอยู่เสมอ กิเลสอย่างหยาบต้องอาศัย ศีลเข้าควบคุม กิเลสอย่างกลางต้องอาศัยสมาธิเข้าข่มไว้ ส่วนอนุสัยกิเลส มีพื้นฐานของอวิชชา อวิชชาคือความไม่รู้จริงในอริยสัจธรรมสี่ประการ จึงต้องมีปัญญาเท่านั้น จึงละอนุสัยกิเลสนี้ได้

กรรมมี ๓ อย่างคือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ถามว่า “กรรมอย่างไหน เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลของอกุศลมากกว่ากัน” ในชีวิตเราที่มีการเวียนว่ายตายเกิดนี่ และมีการกระทำเพื่อมรรคผล นิพพานได้ยาก เพราะอะไรเราจะต้องเข้าใจ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด หลักหรือเคล็ดลับที่ลูกจะเอาไปตัดสินและดูทุกอย่างได้แก่ความรู้ในเรื่องของ มัชฌิมา คือกลาง กลางของทุกสถานที่มีความสำคัญทั้งสิ้น กลางของวิสุทธิมรรค คือ ข้อสัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะ จึงมีความสำคัญมาก ถ้าเผื่อขาดสติ ความเพียรและความดิ่งตรงแล้ว วาจาก็ไม่ชอบความดำริก็ไม่ออก

กิเลสอย่างละเอียด คือสิ่งที่ติดมา เนื่องจากมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซ้ำๆ ซากๆ มา มีความโลภ ความโกรธ ความหลง มีอวิชชา มีกิเลสอย่างละเอียดติดตามมา คือต้นตระกูลอันใหญ่ กิเลสอย่างหยาบ คือการแสดงออกทางกาย กายกรรม วจีกรรม ซึ่งจะต้องมีตัวเชื่อมของตัวกลาง คือการกระทบ ถ้ามีการกระทบกระทั่งขึ้นมา เพราะว่าอวิชชาเป็นพื้นฐานของจิตใจแล้ว มีความโกรธขึ้นมา ถ้าระงับไว้ได้ ก็ไม่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา แต่ถ้าระงับความโกรธไม่ได้ ก็แสดงออกมาเพราะฉะนั้น ตัวเชื่อม คือกิเลสอย่างกลาง จึงมีความสำคัญมาก ทำให้เกิดพฤติกรรมสามกาลครบถ้วน เพราะใจนึกคิดขึ้นก่อนแล้วแสดงออกมาทางกาย และเปล่งเสียงออกมา

กาย วาจา ใจ วจีกรรมที่เราพูดออกมาก็สำคัญมากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ ที่สำคัญคือสัมผัปปลาปวาท วาจาที่เรากล่าวออกมา หรือการพูดโต้ตอบกัน มีอยู่เสมอ คือ ผลดีและผลชั่ว มีกรรมติดตามมาเสมอ การพูดนี้มีกรรมไหม มีแน่นอน พูดดีก็เป็นกรรมดี พูดชั่วก็เป็นกรรมชั่ว การพูดออกมาได้ ก็ต้องมีพื้นฐาน ของ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ลักษณะคำพูดจึงมีความสำคัญมาก เพียรระงับสัมผัปปลาปวาท จงทำในสิ่งที่ควรทำ เว้นโลภ เว้นโกรธ เว้นหลง คำพูด ควรพูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและผู้อื่น ละเว้นคำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่น เพราะการที่จะพูดออกมานั้น มีกรรมถึงสามชนิดด้วยกัน คือกรรมจากจิตที่สั่งงานออกมาทางรูป รูปนั้นจะต้องผ่านทวารทางปาก จึงมีการเวียนว่ายตายเกิด ลูกบ่นกันว่าการสู่มรรคผลนิพพานยากนัก แล้วทำไมลูกทำคำพูดให้มันง่ายเพราะเป็นกรรมที่ได้ผลถึงสามกาล คือ เกิดขึ้นภายในจิตมีการสั่งงานออกมา แล้วเปล่งเสียงออกมา พอเห็นภาพไหม

เรื่องการพูดนี้มีความสำคัญมาก สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองก็ควรละเว้น เช่น ถามเขาว่าไปไหนมา ไปทำไม ซื้ออะไรมาบ้าง นี่เป็นความเคยชินในการพูด ซึ่งมันยังไม่เกิดอำนาจกรรมตอนที่พูดนั้น แต่พอเขาตอบว่า เขาซื้อของมาเยอะ กลับมานั่งวิตกว่า ทำอย่างไรจะซื้อได้เหมือนเขา ทำไมเขาชอบซื้อ เกิดอะไร มโนกรรมเกิดจากคำพูดได้ภายหลังการกระทำนั้น เพราะว่ากรรมของจิตที่สั่งงานนั้นเป็นไปในทางสัมผัปปลาปวาท คือไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น เมื่อรับรู้แล้ว กระทบทางทวารหูแล้ว กลับมานั่งคิด ฉันอยากได้เหมือนเขาบ้าง ตัณหาจึงเกิด ฉะนั้นควรทำความเข้าใจกับปริยัติ ไม่ใช่เรียนเก่งจบบทออกมาโต้วาทีได้ ไม่มีความสำคัญ การกระทำทุกอย่างจะดีได้เมื่อการเรียนนั้นกลับมาสู่ตัวเองได้



โปรดติดตามตอนต่อไป

ด้วยความปรารถนาดี..จากพี่ดอกแก้ว

.....................................................
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ...พี่ดอกแก้ว

จะรออ่านตอนต่อไปนะคะ

:b48: ธรรมะสวัสดีค่ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ พี่ดอกแก้ว
หายไปจากลานธรรมจักรนานเลยนะค่ะ
ระลึกถึง...พี่ดอกแก้วเสมอค่ะ :b20: :b20: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุครับ :b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ชาวพุทธควรรู้อะไร


เป็นอันดับแรกของการนับถือพระศาสนาเลยทีเดียว
ควรรู้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นใคร....ให้ถูกต้องเสียก่อน..
จึงจะไปดำเนินการตามสิ่งพระพุทธองค์สอนไว้ในขั้นตอนต่อไป... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




4-4.gif
4-4.gif [ 19.41 KiB | เปิดดู 5865 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2004, 16:16
โพสต์: 114


 ข้อมูลส่วนตัว


มาสวัสดี และขอบพระคุณทุกๆท่านนะคะ ที่ตามมาอ่านและให้กำลังใจพี่ดอกแก้วนะคะ ขอบคุณมากนะคะ...เดี๋ยวจะลงต่อตอน 2 นะคะ

.....................................................
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 15:09
โพสต์: 122

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ
normal_lotus-002.jpg
normal_lotus-002.jpg [ 13.21 KiB | เปิดดู 5796 ครั้ง ]
ขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมใดเป็นอกุศล มีโทษทำให้เกิดการติเตียน เมื่อทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ มีแต่ทุกข์ท่านก็ควรละธรรมนั้นเสีย ธรรมใดเป็นกุศล ไม่มีโทษ ไม่ถูกติเตียน ไม่เบียดเบียนใคร เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์ เป็นความสุข จึงควรเข้าถึงธรรมนั้น

ขอบพระคุณครับ. ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโอกาสแสดงความเห็นครับ
สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้คือสัจจะความจริงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้

และควรทำให้ปรากฏกับตัวเองจริงๆ มิใช่ได้มาเพียงความจำ หรือคำบอกเล่า
จะได้มากได้น้อยมันก็เป็นสมบัติของเรา
ไม่มีใครเอาไปได้ ดีกว่าไปจดไปจำมาจากกระดาษแล้วไม่นำมาปฏิบัติเก็บไว้จนเต็มสมองจนล้นออกมาทางปากแต่กับจิตใจนั้นไม่ได้สัมผัสถึงหลักธรรมคำสอนนั้นเลย
รู้จริงถึงจะไม่มากแต่มันก็สัมผัสได้จริง
รู้จำถึงจะมากมายสักเพียงใดมันก็ได้แค่ความจำ

สาธุ

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชิวว์ เขียน:
ขอโอกาสแสดงความเห็นครับ
สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้คือสัจจะความจริงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้

และควรทำให้ปรากฏกับตัวเองจริงๆ มิใช่ได้มาเพียงความจำ หรือคำบอกเล่า
จะได้มากได้น้อยมันก็เป็นสมบัติของเรา
ไม่มีใครเอาไปได้ ดีกว่าไปจดไปจำมาจากกระดาษแล้วไม่นำมาปฏิบัติเก็บไว้จนเต็มสมองจนล้นออกมาทางปากแต่กับจิตใจนั้นไม่ได้สัมผัสถึงหลักธรรมคำสอนนั้นเลย
รู้จริงถึงจะไม่มากแต่มันก็สัมผัสได้จริง
รู้จำถึงจะมากมายสักเพียงใดมันก็ได้แค่ความจำ

สาธุ


:b8: :b27: :b27: :b8:

อนุโมทนา..สาธุ...ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ควรรู้จัก กุศล และ อกุศล :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:

:b8: :b8: :b8:

ควรรู้จัก กุศล และ อกุศล :b13:


ถ้าเอกอนเป็นโจรสลัด...
เอกอนจะเป็นโจรสลัด...อย่างสุดความสามารถ...

โดยวิถีชีวิตของโจรสลัดจะไม่ยึดติดกับสถานที่แห่งใด
เพราะเขารู้ดีว่ายังมีดินแดนอีกมากมายในโลกนี้ที่เขายังไม่ได้สำรวจ
ทุกๆ การเดินทางจะเปิดโลกกว้างและประสบการณ์ชีวิตให้กับเขา
ทุกวินาทีที่สูญเสียไปจากการหยุดนิ่งหมายถึงอีกหนึ่งวินาทีแห่งความเสียใจในชีวิตของโจรสลัด
ไม่มีความหวาดกลัวที่จะล่วงรู้ถึงความลี้ลับ และสถานที่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนคือโอกาสใหม่อีกครั้ง
ที่จะตามล่าสมบัติ แม้จะรู้ดีว่าไม่สามารถสำรวจโลกทั้งใบได้ในช่วงชีวิตของโจรสลัดคนหนึ่ง
แต่มันคือสัญชาติญาณที่ชอบเสี่ยงภัยและเขาไม่เคยนึกเสียใจ!
ด้วยความรู้และความเชื่อมั่นว่าเขาได้เห็นโลกใบนี้มามากกว่าคนอื่นๆ
นี่สิจึงเรียกได้ว่าเป็นชีวิตแบบโจรสลัดอย่างแท้จริง


เพื่อความรักในการตามล่าสมบัติ!

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับโจรสลัดและลูกเรือของเขาก็คือการตามหาสมบัติล้ำค่า
เมื่อมีลายแทงอยู่ในมือพร้อมทั้งลูกเรือบนเรือลำใหญ่ที่พร้อมจะออกทะเลได้ทุกเมื่อ
เหล่าโจรสลัดก็สามารถออกตามหาความฝันได้อย่างไม่ลังเล
แม้สุดท้ายลายแทงนั้นจะกลายเป็นเพียงเรื่องตลก มันก็อยู่ในสายเลือดของโจรสลัดที่ชอบค้นหา
และสัมผัสกับประสบการณ์อันน่าตื่นเต้น บวกกับนิสัยรักการผจญภัย
สำหรับพวกเขาหากสมบัติมีอยู่จริง ความเบิกบานใจในการค้นพบสิ่งต่างๆ
ก็เปรียบดังรางวัลที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด


ภัยอันตราย

เมื่อโจรสลัดและลูกเรือของเขาขาดแคลนเสบียงเรือ
ก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะปล้นสะดมจากผู้อื่น! การขโมย การฉกฉวย
และช่วงชิงคือทักษะชีวิตขั้นต้นของโจรสลัดในสายเลือด
ซึ่งต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมากเกินกว่าที่คนทั่วไปจะมี
จึงจะสามารถแสดงพฤติกรรมชั่วร้ายนี้ได้ แต่สำหรับพวกเขามันคือเรื่องธรรมดา
โจรสลัดมีความกล้าหาญตั้งแต่เกิดในขณะที่ดำรงชีวิต ตราบจนกระทั่งวันตาย
พวกเขาจะยังคงความกล้าหาญและเกียรติยศนี้ตราบนานเท่านาน


การผจญภัยและความตื่นเต้น

เมื่อก้าวเข้าสู่โลกแห่งโจรสลัด คุณจะไม่พลาดเรื่องราวตำนานของพวกเขา
เรื่องราวที่สืบขานมาอย่างเช่นการล่าสมบัติ การช่วงชิงเรือ การก่อกบฏบนเรือ
การร่ำสุรา หญิงงาม และแม้กระทั่งดวงตาถมึงทึง ทำให้โลกของโจรสลัดเลื่องลือด้วยความตื่นเต้น
การหยอกล้อส่วนตัวมักเกิดขึ้น
และก็เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นการต่อสู้ฝ่าวงล้อมของผู้คนที่กำลังส่งเสียงเชียร์ดังกึกก้อง
อย่างไรก็ตามโจรสลัดใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยง หากการต่อสู้ในบาร์ดูคล้ายกับเป็นวิถีชีวิตของพวกเขา

:b1: :b1: :b1: :b1:

ไปเห็นมาจากเกมส์ออนไลน์ น่ะ

http://cwar.winner.co.th/guide/guide.asp?gid=1&tid=1

โจรสลัดในยาม อ้างว้าง เดียวดาย อดโซ หิวโหย ....
เมื่อเห็นกล่องใส่สมบัติลอยน้ำมา หมูหนึ่งตัวลอยน้ำมา หญิงสาวลอยน้ำมา
หีบใส่สิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตลอยน้ำมา หีบใส่เครื่องดนตรีลอยน้ำมา
หีบใส่หนังสือลอยน้ำมา หีบใส่พระไตรปิฏกลอยน้ำมา
คิดว่าพวกเขาจะสอยเอาสิ่งใดขึ้นมาก่อน และสิ่งใดต่อ ๆ ไป
และคิดว่าเขาจะกระโจนเข้าหาสิ่งใดก่อน และสิ่งใดต่อ ๆ ไป
ด้วยเงื่อนไขอะไรในการกระโจนเข้าหา และด้วยเงือนไขอะไรในการ
ผละจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง

ทัศนะในการอบรมตนทางธรรมของเอกอน ก็คือ...
การหากลยุทธมาอบรมโจรสลัด ซึ่งมีนามว่า เอกอน...

:b17: :b17: :b17:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 22 พ.ค. 2010, 15:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




buddha.jpg
buddha.jpg [ 63.59 KiB | เปิดดู 5625 ครั้ง ]
tongue
ชาวพุทธควรรู้

1.หัวใจการค้นพบของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจจ 4 ประการ

2.สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ โอวาทปาติโมกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอวาทข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ อันเป็นสาระสำคัญ แก่นแท้และเอกลักษณ์ของพุทธศาสนา

3.งานและหน้าที่ของชาวพุทธ คือ การเจริญมรรค 8 หรือ วิปัสสนาภาวนา ให้ได้ในชีวิตประจำวัน

4.เรืองของผล คือ โลกุตรธรรม 9

5.เรื่องอื่นๆ อันเป็นส่วนประกอบ ตามแต่อุปนิสัย วิริยะ อุตสาหะของแต่ละท่านแต่ละบุคคล

สาธุ

smiley
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร