ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27274
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 26 พ.ย. 2009, 20:31 ]
หัวข้อกระทู้:  ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

ธรรมสำหรับ ท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง กับพุทธศาสนา ทำหน้าที่สอน หรือเผยแพร่ หลักธรรมคำสอน ควรได้ตระหนัก และคิดพิจารณาอยู่เสมอ ว่า ควรสอนแบบไหนอย่างไร กับใคร ฯลฯ หากท่านทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และทำหน้าที่สอน หรือเผยแพร่หลักธรรมคำสอน ไม่มีหลักธรรม
อันเป็นธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; (คัดจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต)

เมื่อไม่หลักธรรมอันเรียกว่า สัปปุริสธรรม ดังกล่าวไปข้างต้น ก็ย่อมไม่รู้จักใช้ธรรมะ มาสอน มาแนะนำ เผยแพร่ ดันไปเอาธรรมที่สอนพระสงฆ์ มาสอนฆราวาส โดยไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจว่า ในทางสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น เขาเป็นอย่างไร ทั้งๆที่หลักธรรมสำหรับ ฆราวาส ในพุทธศาสนา ก็มีอยู่นับไม่ถ้วน
อีกทั้งยังดันทุรัง ยัดเยียด หลักธรรมบางอย่างบางชนิด ที่เขามีไว้สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เอามาเผยแพร่ อวดรู้ อวดฉลาด ไม่มีความคิดที่จะสร้าง หรือพัฒนา หลักธรรมเหล่านั้น ให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับ ประชาชนทั่วไป
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้แนะนำ ติเตือน ท่านทั้งหลาย ให้พิจารณา อย่างถี่ถ้วน ในการใช้หลักธรรมมาสอน มาเผยแพร่ ต่อประชาชนทั่วไป เพราะบางครั้ง มันก็ให้เกิดความเสื่อมเสีย ต่อพระสงฆ์ ต่อพุทธศาสนา อย่างชัดแจ้ง ไปพิจารณาให้ดีขอรับ สำหรับ พวกที่ทำตัว อวดรู้อวดฉลาด อวดเก่ง แต่ความจริงแล้ว ไม่มีหัวคิดขอรับ

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 26 พ.ย. 2009, 21:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

:b8: :b8: :b8:

(ไม่ได้อวดรู้นะครับ มีบทความอยู่พอดี)

สัปปุริสธรรม ๗
ธรรมของสัตบุรุษเรียก สัปปุริสธรรม มี ๗ อย่าง คือ
๑. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่นรู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์.
๒. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่นรู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ทุกข์ เป็นผลแห่งเหตุอันนี้
๓. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตนว่า เราว่าโดยชาติ ตระกูล ยศ ศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้และคุณธรรมเพียงเท่านี้ ๆ แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่อย่างไร.
๔. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการแสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิตแต่โดยชอบและรู้จักประมาณในการบริโภคแต่พอสมควร.
๕. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล เวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ
๖. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้นๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดย่างนี้ เป็นต้น.
๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือก บุคคลว่า ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดีไม่ควรคบ เป็นต้น.

อะไรเรียกว่าสัปปุริสธรรม ?
คุณธรรมของสัตบุรุษ หรือ คนดี เรียกว่า สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม แปลว่าอย่างไรได้บ้าง ข้อไหนเป็นสำคัญ ?
แปลว่าธรรมของสัตบุรุษก็ได้,ธรรมซึ่งทำบุคคลให้เป็นสัตบุรุษก็ได้ หรือแปลตามโวหารสามัญว่า สมบัติของผู้ดีก็ได้.

ข้อที่ ๑ สำคัญ คือ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุจะดับก็เพราะดับเหตุก่อนผู้รู้จักเหตุ ย่อมอาจคาดผลข้างหน้าได้ถูก จะปฏิบัติกิจการก็ไม่ผิดพลาด.

สัตบุรุษ กับ อสัตบุรุษ มีลักษณะต่างกันอย่างไร ?
ต่างกัน คือ
สัตบุรุษ เป็นผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจา ใจ เป็นผู้สงบระงับ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม มีความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักประชุมชน และรู้จักเลือกคบบุคคล
ส่วนอสัตบุรุษ ย่อมมีลักษณะตรงกันข้าม
ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ หมายความว่าอย่างไร ?
หมายความว่า เมื่อเห็นเหตุเข้าแล้ว อาจคาดผลข้างหน้าได้ถูก เช่น รู้สิ่งสุจริตเป็นเหตุแห่งสุข ทุจริตเป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นต้น.

อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล หมายความว่าอย่างไร พร้อมตัวอย่าง ?
หมายความว่า เมื่อประสบเข้าแล้วอาจสาวหาเหตุในหนหลังได้ เช่น รู้ว่าลาภยศ สรรเสริญ เป็นผลมาจากเหตุที่ดี คือ สุจริต รู้ว่า เสื่อมลาภ เสื่อมยศถูกนินทา เป็นผลมีมาจากเหตุที่ชั่ว คือ ทุจริต.

บุคคลเข้าใจเหตุ มีประโยชน์แก่ตนอย่างไร ?
มีประโยชน์แก่ตน คือ บุคคลผู้เข้าใจเหตุ ย่อมปฏิบัติไม่ผิดพลาด สามารถที่จะทำกิจการให้ลุล่วงผลิตผลสมด้วยความมุ่งหมายทั้งเป็นทางให้เกิดอุตสาหะในหน้าที่การงาน ด้วยเล็งเห็นผลข้างหน้าประจักษ์ชัด.

บุคคลผู้เข้าใจผล มีประโยชน์แก่ตนอย่างไร ?
มีประโยชน์แก่ตน คือ บุคคลผู้เข้าใจผล ก็อาจที่จะรักษาตนไม่ให้ตื่นหรือหวาดกลัว ทั้งเป็นทางให้ใช้ปัญญาสอดส่องเพื่อสาวหาเหตุในหนหลัง.

อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน หมายถึงอย่างไร ?
หมายถึง รู้จักฐานะตน แล้วประพฤติตนให้สมกับฐานะนั้น ๆ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ตั้งใจทำหน้าที่ผู้ใหญ่ เช่น โอบอ้อมอารีสงเคราะห์ผู้น้อย เป็นต้น.

มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ หมายความว่าอย่างไร ?
หมายความว่า จะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ก็ให้รู้จักพอประมาณพอดี พองาม ไม่มากไม่น้อยพอเหมาะพอดี.

กาลัญญุตา หมายความว่าอย่างไร อธิบายอย่างไร ?
หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักกำหนดจดจำว่า กาลเวลาไหนควรปฏิบัติกรณียกิจอันใด แล้วปฏิบัติให้ตรงต่อเวลานั้น ไม่ช้าเกินกาล ไม่ด่วนเกินควร เป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควร ในอันประกอบกิจนั้น ๆ เมื่อถึงคราวที่ควรทำ ก็ไม่ทำหรือด่วนทำเสียแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลา เช่นนี้ ก็จะคลาดจากประโยชน์ที่ควรได้ ควรถึง.

ปริสัญญุตา แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร ?
แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักชุมชนหมายความว่า เมื่อเข้าไปหา หรือ การดำเนินให้ผู้นั้นไม่เขอะเขิน ในเวลาเมื่อเข้าสมาคมกลมเกลียวแก่ประชุมชนทุกชั้น คือ เข้าไหนเข้าได้องอาจและฉลาดในการปฏิสันถาร.

ปุคคลปโรปรัญญุตา แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร ?
แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักบุคคลว่าเป็นผู้ยิ่งหรือผู้หย่อนหมายความว่า ความรู้จักเลือกว่า นี้เป็นผู้ยิ่งคือ ดี นี้เป็นผู้หย่อนคือ ไม่ดี คบเฉพาะกับคนดี ไม่คบคนไม่ดี ปฏิปทาให้ประพฤติเว้นการคบคนชั่ว ตั้งใจคบแต่คนดี จึงจะเป็นคนดี สมดังพระบาลีว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส คบคนใด ก็เป็นเช่นกับคนนั้นสุขทุกข์ ความเจริญ หรือหายนะ มีมาจากการเสพคุ้นเป็นปัจจัยทั้งนั้น.

สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง (นัยต้น) ข้อไหนเป็นสำคัญ เพราะเหตุไร ?
ข้อ ๑ เป็นสำคัญ ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์. เพราะว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ จะดับก็เพราะดับเหตุก่อน ผู้รู้จักเหตุอาจคาดผลข้างหน้าถูก จะปฏิบัติกิจการก็ไม่ผิดพลาด.

บุคคลเข้าไหนเข้าได้ เพราะตั้งอยู่ในธรรมข้อไหน ?
เพราะตั้งอยู่ในสัปปุริสธรรม ข้อที่ ๖ คือ ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประชุมชนและกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ ว่า หมู่นี้เมื่อเข้าไปหาจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น.

กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลมีประโยชน์อย่างไร ?
มีประโยชน์ที่จะประกอบกิจธุระให้เหมาะแก่เวลา และเป็นข้อสำคัญในอันกระทำการงานนั้น ๆ ให้ทันสมัย ไม่เป็นผู้งมงายล่วงกาล ทำตนเป็นคนเจริญทันโลก มีวิสัยทัศน์.

คนที่ถูกตำหนิว่า ไม่รู้จักกาล ได้แก่คนเช่นไร ?
ได้แก่ คนที่ไม่รู้จักกาลเวลา เช่น กิจบางอย่างต้องรีบทำให้เสร็จ มัวชักช้าอยู่ กิจบางอย่างต้องทำทีหลังเวลาจึงจะดี แต่รีบทำเสียก่อนกาลเวลาที่ควรทำกิจนี้ แต่เอากิจอื่นมาทำ หรือเวลาที่ควรทำกิจอื่นแต่เอากิจนี้มาทำ เหล่านี้ ชื่อว่าไม่รู้จักกาล

ผู้มีธัมมัญญุตา จะได้รับประโยชน์อะไร เกิดจากธรรมนั้น ?
ได้รับประโยชน์ สามารถจะห้ามความประพฤติของตน ไม่ให้หันเหไปในทางที่ชั่ว ประกอบตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะเหตุความรู้ดี รู้ชั่ว.

ผู้มีอัตตัญญุตา จะได้รับประโยชน์อะไร เกิดจากธรรมนั้น ?
ได้รับประโยชน์ คือ เป็นผู้คงที่ ไม่แสดงอาการขึ้นลงโดยการประสบผลที่ดีและผลที่ชั่วเป็นเครื่องสะกิดใจให้รู้ตัวว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องเนื่องมาจากเหตุทั้งนั้น.

ในสัปปุริสธรรมคำว่า ธรรม อัตถะ แปลว่าอย่างไร หมายถึงอะไร ?
ธรรม แปลว่า เหตุ อัตถะ แปลว่า ผล
อัตถะ แปลว่า เนื้อความ
ธรรม หมายถึง ความรู้จักหัวข้อธรรม หัวข้อวินัย อันเป็นเหตุแห่งความสุข และแห่งความทุกข์

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 26 พ.ย. 2009, 21:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

คุณผู้ใช้ชื่อว่า บัดดาห์
ข้าพเจ้าคันปากยิกๆ

:b32:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 27 พ.ย. 2009, 14:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

คุณผู้ใช้ชื่อว่า "วรานนท์" ขอรับ
สิ่งที่คุณกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นการอวดรู้ อวดฉลาดดอกขอรับ คุณเองก็น่าจะมีวิจารณญาณ สามารถพิจารณาการกระทำของตัวคุณเองได้นะขอรับ และตัวคุณก็น่าจะรู้ว่า แบบไหนที่เรียกว่า อวดรู้ อวดฉลาด แบบไหนคือการอธิบาย แนะนำ ขยายความ หลักธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดีแล้วขอรับที่คุณขยายความหลักธรรม "สัปสุริสธรรม" อนุโมทนาขอรับ

ส่วนคุณผู้ใช้ชื่อว่า "ชาดหยาม" คันปากก็เก่าซิขอรับ หรือไม่ก็กล่าวมาเลยขอรับ ต่างคนต่างความคิด แต่ความคิดใดใดของใคร ก็ย่อมต้องมีบรรทัดฐาน ย่อมต้องรู้จักว่า สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร สมองมีนะขอรับ และสมองไม่ได้มีไว้ให้คิดเข้าข้างตัวเองแต่เพียงอย่างเดียวขอรับ
บุคคลที่เป็นพุทธศาสนิกชน ย่อมต้องรู้ว่า หลักธรรมอันไหน ใช้กับใคร ควรอธิบายอย่างไร ยิ่งพวกที่นำข้อความมาจากพระไตรปิฎก ยิ่งต้องใช้วิจารณญาณ ให้มาก เพราะในพระไตรปิฎกนั้น เกือบทุกตอน เป็นการสอนพระสงฆ์ ถ้าผู้ที่นำข้อความในพระไตรปิฎก ได้มีความเข้าใจ รู้จักชุมชน ก็ย่อมสามารถ บูรณาการหลักคำสอนเหล่านั้น ให้เหมาะสมได้ ได้ใช่นำมาทั้งดุ้น แล้วเอามาสอนใคร ขอรับ ในเมื่อในพระไตรปิฎก เกือบทั้งหมด เขามีไว้สอนพระสงฆ์

เจ้าของ:  Rosarin [ 27 พ.ย. 2009, 15:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

tongue
:b12:
:b13:
...ท่านชาติสยาม...
:b6:
...คันก็เกาสิเจ้าคะ...
:b9:
...จะได้หายคัน...
:b32: :b32: :b32:


:b53: :b53: :b53:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 27 พ.ย. 2009, 21:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

คุณผู้ใช้ชื่อว่า "บัดดา"

แหม นี่ขนาดข้าพเจ้าแค่คันปาก
ข้าพเจ้ายังโดน combo set จนหูชาเลย

ข้าพเจ้าเลยไม่กล้าเกา
กลัวเกาแล้วข้าพเจ้าจะโดนท่านปล่อยแสงใส่ข้าพเจ้า
:b32:
รูปภาพ


แล้วก็ที่ท่านสอนข้าพเจ้าให้รู้จักพูด
ข้าพเจ้ามาคิดดู ก็เห็นจริง

เพราะมาดอนน่า ต้องหลีกทางให้ Lady Gaga
ถึงจะเรียกว่ารู้ปุคคลัญญุตา ปริสัญญุตา

:b32:

เจ้าของ:  walaiporn [ 29 พ.ย. 2009, 00:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

ชาติสยาม เขียน:
คุณผู้ใช้ชื่อว่า "บัดดา"

แหม นี่ขนาดข้าพเจ้าแค่คันปาก
ข้าพเจ้ายังโดน combo set จนหูชาเลย

ข้าพเจ้าเลยไม่กล้าเกา
กลัวเกาแล้วข้าพเจ้าจะโดนท่านปล่อยแสงใส่ข้าพเจ้า
:b32:
รูปภาพ


แล้วก็ที่ท่านสอนข้าพเจ้าให้รู้จักพูด
ข้าพเจ้ามาคิดดู ก็เห็นจริง

เพราะมาดอนน่า ต้องหลีกทางให้ Lady Gaga
ถึงจะเรียกว่ารู้ปุคคลัญญุตา ปริสัญญุตา

:b32:





อ่านแล้วฮามากมาย คิดได้งัยคะเนี่ย ภาษานี่สุดยอดจริงๆ ผีกาก้า :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 29 พ.ย. 2009, 11:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

สวัสดีขอรับท่านอาจารย์บุดฯ :b8:

เป็นไงบ้าง เชียงรายหนาวไหมขอรับ

คิดถึงจังเร้ย :b3: น่าเกลียดไหมขอรับที่ชายคิดถึงชาย :b10:

ไฟล์แนป:
1.gif
1.gif [ 20.32 KiB | เปิดดู 3736 ครั้ง ]

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 29 พ.ย. 2009, 15:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

ชาติสยาม เขียน:
คุณผู้ใช้ชื่อว่า "บัดดา"

แหม นี่ขนาดข้าพเจ้าแค่คันปาก
ข้าพเจ้ายังโดน combo set จนหูชาเลย

ข้าพเจ้าเลยไม่กล้าเกา
กลัวเกาแล้วข้าพเจ้าจะโดนท่านปล่อยแสงใส่ข้าพเจ้า
:b32:
รูปภาพ


แล้วก็ที่ท่านสอนข้าพเจ้าให้รู้จักพูด
ข้าพเจ้ามาคิดดู ก็เห็นจริง

เพราะมาดอนน่า ต้องหลีกทางให้ Lady Gaga
ถึงจะเรียกว่ารู้ปุคคลัญญุตา ปริสัญญุตา

:b32:


ข้าพเจ้าก็ไม่อยากกล่าวอะไรมากนัก คุณผู้ใช้ชื่อว่า "ชาดหยาม" คุณอ่านของคุณเอง แล้วคุณก็คิดของคุณเอง โดยที่คุณไม่ได้รู้ว่า ข้าพเจ้าคิดอยางไรกับคุณ แต่ความคิดของคุณ ออกทำนองใส่ร้ายข้าพเจ้า คุณก็ไปพิจารณาตัวเองเถอะขอรับ
ส่วนอีกคน ข้าพเจ้าไม่อยากกล่าวถึง เพราะเธอ อินมากเกินไป เวลาคนอื่นแหย่หรือคัดค้าน โกรธ แต่พอเธอมาแหย่คนอื่น บ้าง เธอไม่รู้จักอาย หรือโกรธตัวเองบ้างหรือ โง่ ต้องรู้ว่าตัวเองโง่ ไม่รู้ ก็ต้องเรียนรู้ ฯลฯ

ส่วนเจ้าผู้ใช้ชื่อว่า กรัชกาย ถามมา ก็ตอบว่า เชียงรายหนาว ค่อนข้างมากขอรับ นักท่องเที่ยวมากันเยอะ เพราะอากาศหนาวดีขอรับ
ส่วนคุณผู้ใช้ชื่อว่า วรานนท์ ขอรับ ถึงแม้คุณจะขยายความเกี่ยวกับ สัปปุริสธรรม ได้ค่อนข้างจำกัด ก็คงจะมีใครหลายๆคนที่เข้าใจว่า หลักธรรม ไม่มีข้อจำกัดในการขยายความ แต่การขยายความ ต้องเป็นไปตามหลักความจริงขอรับ ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริง เป็นไปตามนั้นจริง

เจ้าของ:  เอรากอน [ 29 พ.ย. 2009, 16:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

กรัชกาย เขียน:

คิดถึงจังเร้ย :b3: น่าเกลียดไหมขอรับที่ชายคิดถึงชาย :b10:


ไม่น่าเกลียดค่ะ ยอมรับได้ เรายังเคยทำบ่อย ๆ เรยยย... :b14:
เอ๋... ไงล่ะหว๋า...

:b32: :b32: :b32:

:b12: :b12: :b12:

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 29 พ.ย. 2009, 17:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ธรรมสำหรับ ผู้จะสอนพุทธศาสนิกชน

:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณครับที่ชี้แนะ

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/