วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2024, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ชาวพุทธควรศึกษาทานให้เข้าใจ

การทำบุญที่ชาวพุทธเรารู้จักกันดีมากคือ "ทาน" ซึ่งเป็นข้อแรกของการบำเพ็ญบารมีตามหลักพระพุทธศาสนาที่เราท่านมักได้ยินอยู่เสมอว่า "ให้หมั่นบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนา จะพบสุข อายุยืน และเข้าสู่นิพพาน" จึงเปรียบเหมือนชีวิตขั้นแรก ในการก้าวสู่ชีวิตที่ดีงาม อุดมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรม อันเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น หรือสังคมทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

ชีวิตของคนเรา มีความรู้สามารถอ่านออกเขียนได้ มีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เป็นอยู่ได้ก็ด้วยการเสียสละของคนอื่น นับตั้งแต่คุณพ่อ แม่ ครูอาจารย์ ผู้บริหารประเทศชาติ (องค์พระประมุข) หากปราศจากแล้วซึ่งการแบ่งปัน การเกื้อกูล การให้อภัย การให้ความรัก ชีวิตเราก็อยู่ไม่ได้ แต่การที่เรามีชีวิตหายใจอยู่ได้ ก็เป็นเพราะอำนาจของการให้ และคำว่า "ให้นี้ แหละ" คือ "ทาน" นั่นเอง แต่คนส่วนใหญ่มักมองเพียงแคบ ๆ คำว่า "ทาน" คือ การให้สิ่งของแก่คนที่ขอทาน หรือคนตกทุกข์ได้ยาก เท่านั้น ถือว่า เป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมาก ๆ ควรอย่างยิ่งที่ชาวพุทธเราจะศึกษา ทำความเข้าใจให้มากกว่านี้

ทาน จึงเป็นหลักธรรมะเบื้องต้น ที่คอยสนับสนุนคุณธรรมข้ออื่น ๆ ให้เจริญงอกงามขึ้น เพื่อชีวิตและสังคมที่สดใส ดีงาม ตามหลักพระพุทธศาสนา ทานแบ่งตามสิ่งของที่ให้ คือ
1. อามิสทาน คือ ให้สิ่งของ ข้าวของเครื่องใช้ทุกประเภท
2. ธรรมทาน คือ ให้ธรรมะเป็นทาน และมักได้ยินในปัจจุบันคือ วิทยาทาน ให้ความรู้เป็นทาน และอภัยทาน ให้อภัยทาน เป็นการไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่อาฆาตพยาบาท เป็นต้น
ในการดำเนินชีวิตพระพุทธองค์ บอกว่า ต้องให้มีทั้ง 2 อย่างคือ ทั้งอามิส และธรรมะ เพราะว่าชีวิตคนเรามีอยู่ 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ กาย กับ จิต(ใจ)
อามิส เป็นเครื่องบริหารกาย ธรรมะ เป็นเครื่องบริหารใจ

องค์ประกอบของการให้จะมีผลมากก็ต่อเมื่อ
1. สิ่งของที่จะให้ต้องบริสุทธิ์คือ ได้มาด้วยความชอบธรรมไม่ผิดศีลธรรม และเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ผู้รับไม่เป็นสิ่งที่ขัดศีลธรรมอันดีงาม เช่น สุรา สิ่งเสพติดทุกชนิด อาวุธ สิ่งตีพิมพ์ที่ลามกต่าง ๆ
2. ผู้ให้จะต้องมีใจบริสุทธิ์ที่จะให้ ๆ ด้วยมุ่งอนุเคราะห์บูชาคุณต่อผู้รับ และขจัดความตระหนี่ ขี้เหนี่ยวในใจของตนให้หมดไป
3. ผู้ให้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องทาน และมีปัญญารู้จักเลือกให้
4. ผู้ให้จะต้องพยายามรักษาศรัทธาให้มั่นคือยินดี ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้
5. ผู้รับคือปฏิคาหก ก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในทาน เพราะทานจะมีผลมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ
ผู้รับทานเหมือนกัน นั่นคือ ผู้รับจะต้องปราศจาก ราคะ โทสะ และโมหะ อย่างน้อยก็ให้เบาบางบ้าง
6. ผู้ให้จะต้องทำตัวให้อยู่ในคุณธรรมให้สูงขึ้นไปเช่น มีการรักษาศีล เจริญภาวนา และ วิปัสสนา เป็นต้น

ลักษณะสิ่งของที่เราจะให้
สิ่งของที่จะให้นั้นมีมากมาย แต่เมื่อแบ่งตามชนิด/ประเภทแล้ว มีอยู่ 3 ประการคือ
1. ทาสทาน หมายถึง การให้สิ่งของที่ตนไม่ต้องการแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นต่อไป
2. สหายทาน หมายถึง การให้สิ่งของที่ตนใช้สอยอยู่ หรือสิ่งของปานกลาง
3. สามีทาน หมายถึง การให้สิ่งขอที่สูงสุด หรือดีที่สุด ประณีตที่สุด

ในการทำทานทั้ง 3 ข้อ ๆ สามีทาน จัดว่าเป็นทาน ที่ประเสริฐสุด ให้ผลมากที่สุด
การให้ทานต้องยึดแนว หรือแบบสัตบุรุษ (คนดีมีศีลธรรม) จึงจะสมบูรณ์

1. ให้ด้วยศรัทธา
2. ให้ด้วยความเคารพ
3. ให้ของสะอาด
4. ให้ของประณีต
5. ให้ในเวลาที่เหมาะสม
6. ให้ของที่สมควรให้
7. ให้ด้วยวิจารณญาณ รู้จักเลือกทั้งของที่ควรให้ และบุคคลที่ควรจะให้
8. ให้ประจำสม่ำเสมอ
9. ให้โดยไม่เบียดตน และผู้อื่น
10. ขณะให้ทำจิตใจให้ยินดี ใสสะอาด 11. ให้แล้วเบิกบานใจ ไม่ทุกข์ใจ

ผลประโยชน์ที่ได้จากการให้ทาน คือ
1. เป็นที่รักใคร่พอใจของเพื่อนหมู่มนุษย์
2. เป็นผู้มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นที่ยอมรับของสังคม
3. เป็นผู้มีปัญญามาก และความแกล้วกล้า อาจหาญ ทุกสถานการณ์
4. เป็นผู้มีอายุยืน ผิวพรรณดี มีความสุข ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน และมีทรัพย์มาก
5. เวลาตายไม่หลงตายคือ มีสติ (หลงตายสถานที่ไปคือ นรกเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน)

เปรียบเทียบผลการให้ทาน
ผลบุญเกิดจากการให้ทานนั้น ไม่อาจชั่ง วัด ตวง เป็นปริมาณได้เพราะเป็นสิ่งที่เกิดจากจิตใจเป็นนามธรรม แต่ก็อาจกำหนดความมาก น้อยของผลบุญตามคุณสมบัติของผู้รับดังนี้
ทานที่ให้แก่สัตว์ทั่วไป มีผลร้อยเท่า, แต่ถ้าให้แก่มนุษย์มีผลพันเท่า, ให้กับผู้มีศีลมีผล แสนเท่า
ส่วนทานที่ถวายแก่สมมติสงฆ์ พระอริยสงฆ์ พระพุทธเจ้า และสังฆทาน มีผลไม่สามารถนับได้ หรือ ให้ทานแก่สัตว์ได้บุญน้อยกว่าให้คนไม่มีศีล,ให้กับคนไม่มีศีลได้น้อยกว่าคนมีศีล, ให้กับคนมีศีลได้น้อยกว่าพระภิกษุปุถุชน, ถวายพระปุถุชนได้บุญน้อยกว่าพระอริยสงฆ์,ให้พระอริยสงฆ์ได้บุญน้อยกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า, ถวายพระปัจเจกฯได้บุญน้อยกว่าถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ถวายแด่พระสัมมาฯ ได้บุญน้อยกว่า การถวายเป็นสังฆทาน(ถวายเป็นส่วนรวม) และถวายเป็นสังฆทาน ได้บุญน้อยกว่า ถวายวิหารทาน(เพื่อสงฆ์ทั้ง 4 ทิศ)

ที่กล่าวมานี้เป็นผลของการให้อามิสทาน คือ ให้สิ่งของทุกประเภท….
แต่ถ้ากล่าวถึงธรรมะเป็นทาน อามิสทานเทียบไม่ติดเลย..เพราะพระพุทธองค์บอกว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ทุกอย่าง…..

โดย : นายภัครวัฒน์ ดวงงาม, ธรรมะไทย
วันที่ : 27 สิงหาคม 2547

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2009, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2009, 13:42
โพสต์: 33

แนวปฏิบัติ: กำลังศึกษาปฏิบัติธรรมะในขั้นพื้นฐาน
อายุ: 24
ที่อยู่: Malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนา สาธุคะ :b41:

.....................................................
"ความผิดเป็นครูก็จริง แต่อย่าคิดที่จะทำผิดซ้ำๆอีก"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร