ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26837
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  yodchaw [ 10 พ.ย. 2009, 08:17 ]
หัวข้อกระทู้:  เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

1.ทิฐิพระ มานะครู คืออย่างไร
2.บุคคลที่เต็มไปด้วย ทิฐิพระ มานะครู จะแสดงพฤติเช่นใด
3.บุคคลที่เต็มไปด้วย ทิฐิพระ มานะครู จะก้าวข้ามโคตรปุถุชนหรือไม่
4.ทำอย่างไรจึงจะนอกเหนือ ทิฐิพระ มานะครู ได้
ขออนุโมทนา

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 10 พ.ย. 2009, 12:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

yodchaw เขียน:
1.ทิฐิพระ มานะครู คืออย่างไร
2.บุคคลที่เต็มไปด้วย ทิฐิพระ มานะครู จะแสดงพฤติเช่นใด
3.บุคคลที่เต็มไปด้วย ทิฐิพระ มานะครู จะก้าวข้ามโคตรปุถุชนหรือไม่
4.ทำอย่างไรจึงจะนอกเหนือ ทิฐิพระ มานะครู ได้
ขออนุโมทนา


๑.ข้าพเจ้าเองก็อยากรู้เหมือนกันว่า ทำไมคุณถึงได้สนใจ คำโบราณที่เขาเอามาเปรียบเทียบคนที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของใคร เชื่อมั่นแต่ในตัวเอง จนไม่ยอมรับความคิดของผู้อื่น มองเห็นแต่ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ โดยไม่สนใจ เหตุ ไม่สนใจผล ไม่สนใจตน ไม่สนใจกาล ไม่รุ้จักประมาณ ไม่รู้จักชุมชน และไม่รู้จักบุคคล
๒.อ่านข้อ ๑
๓. อะไรของคุณที่ว่า ก้าวข้ามโคตรปุถุชน ถ้าคุณหมายถึงการหลุดพ้น เขาเหล่านั้นก็อาจหลุดพ้นได้ เพราะความรู้ ของพวกเขาที่พวกเขาถือว่า พวกเขามีความรู้ดีอยู่แล้ว
๔. คำถามของคุณ ถามแบบไม่ให้คนอื่นอ่านแล้วเกิดความเข้าใจเลยนะ "อะไรคือ" "จึงจะนอกเหนือ ทิฏฐิพระ มานะครูได้"
ถ้าคุณหมายถึง ทำอย่างไร จะขจัดหรือแก้ไขความที่ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เชื่อมันแต่ในตัวเอง มองเห็นแต่ความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ มิให้เกิดขึ้นในตัวเอง ฯ แล้วละก้อ ไม่ยากขอรับ (เวลาเขียนเนี่ยไม่ยาก) แต่เวลาปฏิบัติอาจยากก็ได้
ประพฤติ ปฏิบัติ ตามหลักพรหมวิหาร ๔ คือ
๑.มีความรักใคร่ หรือกิริยารักใคร่ ปรารถนาให้ได้ดีพบสุข (เมตตา)
๒.มีความสงสาร หรือกิริยาสงสาร ปรารถนาให้พ้นทุกข์ (กรุณา)
๓.มีความพลอยยินดี หรือกิริยา ความพลอยมีความยินดี (มุทิตา)
๔.มีความวางเฉย กิริยาวางเฉย คือมองข้ามสิ่งเล็กน้อยไปบ้าง (อุเบกขา)
(จากพระอภิธรรมปิฎกฯ)
เพราะหลักพรหมวิหารสี่ จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ มิให้เกิด ทิฎฐิ(ความเห็น) และมานะ (ความถือตัว)

เจ้าของ:  yodchaw [ 10 พ.ย. 2009, 17:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ขอบคุณ คุณBuddha เป็นอย่างสูง ที่กรุณาชี้แจงครับ
ที่นำ คำโบราณ มาตั้งหัวข้อนี้ เพราะมีโอกาสสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับสมาชิกท่านหนึ่ง บอกว่าทุกวันนี้ที่บอร์ดของเรามีแต่ สงครามกระทู้ จนไม่อยากเข้ามาอ่านเลย จนเกิดใจ
สำหรับเรื่องทิฐิมานะนี้การกล่าวตรง นั้นคงไม่มีใครยอมรับ เลยอาศัยการถามแทนที่จะมีคำสอน ที่ต่างท่านต่างรู้อยู่แล้วเพื่อให้หันกลับมาดูตัวเองบ้าง
ที่ว่าคำว่าปุถุชนมาด้วยนั้น จะสะท้อนท่านที่สำคัญตนเป็นผู้รู้ ปรามาสได้แม้แต่คำสอนท่าน นำธรรมะ มาหำหั่น เอาแพ้ เอาชนะกัน ไม่ยอมกัน
หากทุกท่านทุกพระองค์ ลด ละในส่วนนี้ คงดีไม่ น้อย บอร์ดสนทนาธรรมนี้คงดีขึ้นไม่น้อย และเป็น สาระ ประโยชน์ที่แท้จริง ต่อสมาชิก รวมถึงทุกๆท่านที่ได้มีโอกาสเข้าศึกษา

เจ้าของ:  ศิริพงศ์ [ 10 พ.ย. 2009, 18:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

คนที่เป็นคนกล่าวหรือสร้างสำนวนนี้ขึ้นมา คือว่าเขามองเห็นความน่ากลัวของทิฏฐิ และ มานะ ว่ามันอันตรายอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่ก็จะเกิดกับอาชีพที่ให้ความรู้กับผู้อื่น หรือบุคคลที่มีฐานะที่เหนือกว่าผู้อื่นแล้วไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้น้อยหรือผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพระและครูทุกท่านจะไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นนะครับ มันมีทุกอาชีพจริงๆแล้วแตบุคคลแต่อาชีพ แต่พระและครูเป็นอาชีพที่ถูกถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นสุ่มเสียงต่อการสะสมทิฏฐิและมานะเพราะจะคิดว่าเรารู้มากกว่าคนอื่นครับ อันนี้ต้องระวังไม่ให้เกิดกับตัวเรา(ความเห็นส่วนตัว)

เจ้าของ:  ภยังค์ [ 10 พ.ย. 2009, 19:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ทิฏฐิ คือ ความเห็น มานะ คือ ความถือตัว (จำมาจากคำแปล)
ทิฏฐิ เกิดจากความรู้บวกกับความเชื่อ เมื่อเชื่อในสิ่งที่รู้มาทางทวารทั้งห้ารวมกับความคิด เชื่อว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ฝังลงในจิตในใจ กลายเป็นทิฏฐิมานะเฉพาะตน ซึ่งเป็นได้ทั้งถูุกผิด ดีและชั่ว พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ทำความเห็นให้ถูกต้องก่อนเป็นเบื้องต้น นั่นคือทำความรู้ให้ถูกต้องก่อนจะเชื่อในสิ่งที่รู้ แต่คนเราส่วนมากมักเชื่อในสิ่งที่ตนรู้เสียก่อนที่จะได้ตรวจสอบ และเมื่อเชื่ออย่างนั้นแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง แม้กาลเวลายุคสมัยจะเปลี่ยนไปมันก็ยังเป็นอย่างนั้นไม่เปลี่ยน คนเราหากไม่เปิดใจยอมรับความรู้ใหม่ ทิฏฐิก็ยากจะเปลี่ยน อัตตาสูงมานะก็สูง สอนใจเราเองดีกว่า ตราบที่เรายังเป็นปุถุชน ความคิดความเห็นของเราอาจผิดได้เสมอ :b8: :b8:

เจ้าของ:  yodchaw [ 10 พ.ย. 2009, 19:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ขอบคุณ คุณศิริพงศ์ ที่ให้ความกระจ่างนี้ และขออนุโมทนาด้วยครับ

เจ้าของ:  yodchaw [ 10 พ.ย. 2009, 19:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ขออนุโมทนา กับคุณภยังค์ แม้ท่านจะมาใหม่ท่านก็เต็มไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและตั้งอยู่ความไม่ประมาท สาธุ

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 10 พ.ย. 2009, 23:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ผมเคยได้ฟังมาแต่วลีที่ว่า...

ทิฏฐิพระ มานะกษัตริย์ครับ



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  yodchaw [ 11 พ.ย. 2009, 20:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ขอตอบคุณ มหาราชันย์
สรุปลงตรงหลงตัวหลงตน มีตัวตน ติดยึดเหมือนๆกัน
อย่างคำว่า มหาราช ที่ต่อมีท้ายพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ เกิดจากที่พระองค์ท่านปกครองแว้นแคว้นด้วยหลักทศพิธราชธรรม เสียสละ สร้างประโยชน์อย่างใหญ่หลวง จนเป็นที่รัก ที่เคารพอย่างยิ่ง ของมหาชนในแว้นแคว้นนั้น จนก่อให้เกิดขนานพระนามท่าน เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สดุดี ให้มหาชนรุ่นหลังรู้พระเกียรติคุณท่าน
ไม่ใช่ว่าพระกษัตริย์พระองค์ไหนนั้นจะไปเที่ยวประกาศต่อมหาชน ว่าเป็นมหาราชแต่อย่างใด

เจ้าของ:  หล่อ ลูกแม่อ้วน [ 12 พ.ย. 2009, 08:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

นั่นดิ....ไม่ควรตั้งชื่อว่ามหาราชันย์...นะ..ไว้เฉพาะหมายถึงกษัตริย์เท่านั้น
ผู้ดูแลบอร์ด....ช่วยดูแลหน่อยนะ Onion_L

เจ้าของ:  กระบี่ไร้เงา [ 12 พ.ย. 2009, 11:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

:b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: tongue


คำว่า "มหาราช" (The Great) เป็นชื่อเรียกกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช"

เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม





สมัญญานาม "มหาราช" สันนิษฐานว่ามาจาก "มหาราชา" ของเปอร์เซีย โดยสมัญญานาม "มหาราช" นี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยกษัตริย์ผู้พิชิต พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย


หลังจากนั้น สมัญญานามดังกล่าวถูกนำไปใช้โดย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอน เมื่อกองทัพของพระองค์ยึดครองจักรวรรดิเปอร์เซีย และฉายานี้ก็ได้กลายเป็นตำแหน่งคู่กายของพระองค์ การอ้างอิงถึงในครั้งแรกในละครของพลอตัสได้สันนิษฐานว่าทุกคนรู้จัก "พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช"
อย่างไรก็ตาม ไม่เคยปรากฏหลักฐานก่อนหน้านั้นว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอนเคยได้รับฉายาว่า "มหาราช"

ต่อมา กษัตริย์ของจักรวรรดิเซลลูซิดในช่วงต้น ซึ่งเป็นจักรวรรดิที่เกิดขึ้นภายหลังจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้ใช้สมัญญานาม "มหาราช" ในพงศาวดารท้องถิ่น แต่กษัตริย์ที่มักจะเป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าแอนไทโอคัสมหาราช

ผู้นำและผู้บัญชาการทหารในเวลาต่อมาได้เริ่มใช้สมัญญานาม "มหาราช" ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น แม่ทัพปอมปีย์มหาราชชาวโรมัน ซึ่งใช้เป็นชื่อส่วนตัว ส่วนอีกหลายคนหรือพระองค์ได้รับสมัญญานามนี้ในภายหลัง เมื่อสมัญญานามนั้นได้นำไปใช้ในปัจจุบัน และยังมีผู้ที่ได้รับฉายาที่ให้เกียรตินี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง อย่างเช่น นักปราชญ์ อัลเบอร์ตัส แม็กนัส เป็นต้น

ที่มา : วิกิพีเดีย ณ วันที่ 12 พย.52







รุ่น สองมหาราชันย์ื เงินไหลนองทองไหลมา
12-04-2008 Views: 5653
จตุคามรามเทพ รุ่น ? สองมหาราชันย์ ?

วัดทุ่งเหียง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี

http://www.suriyanchantra.com/catalog.php?idp=81


ไฟล์แนป:
1881149ck7ng0r1km.gif
1881149ck7ng0r1km.gif [ 184.59 KiB | เปิดดู 8942 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กระบี่ไร้เงา [ 12 พ.ย. 2009, 14:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

:b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: tongue

Quote Tipitaka:

[๘๒๙] ชื่อว่ามานะ ในคำว่า พึงกำหนดรู้มานะ คือ
มานะอย่างหนึ่งได้แก่ความฟูขึ้น แห่งจิต.


มานะ ๒ อย่าง ได้แก่
มานะในความยกตน ๑
มานะในความข่มผู้อื่น ๑


มานะ ๓ อย่าง ได้แก่
มานะว่าเราดีกว่าเขา ๑
มานะว่าเราเสมอเขา ๑
มานะว่า เราเลวกว่าเขา ๑.


มานะ ๔ อย่าง ได้แก่ บุคคล
ให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑
ให้มานะเกิดเพราะยศ ๑
ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑
ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑.


มานะ ๕ อย่าง ได้แก่ บุคคล
ให้มานะเกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่าเราได้รสที่ชอบใจ ๑
ให้มานะเกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑.


มานะ ๖ อย่าง ได้แก่บุคคล
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑
ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑.


มานะ ๗ อย่าง ได้แก่
ความถือตัว ๑
ความดูหมิ่น ๑
ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑
ความถือตัวต่ำ ๑
ความถือตัวสูง ๑
ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑
ความถือตัวผิด ๑.


มานะ ๘ อย่าง ได้แก่บุคคล
ให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑
ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑
ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์.


มานะ ๙ อย่าง ได้แก่
มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑
มานะว่า เราเสมอกับคนที่ดี ๑
มานะว่า เราเลวกว่าคนที่ดี ๑
มานะว่า เราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑
มานะว่า เราดีกว่าผู้เลว ๑
มานะว่า เราเสมอกับผู้เลว ๑
มานะว่า เราเลวกว่าผู้เลว.


บุคคลบางคนในโลกนี้ยังความถือตัวให้เกิดมานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่
บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิด
เพราะชาติ ๑
เพราะโคตร ๑
เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑
เพราะความเป็นผู้มีรูปงาม ๑
เพราะทรัพย์ ๑
เพราะการเชื้อเชิญ ๑
เพราะหน้าที่การงาน ๑
เพราะหลักแหล่งศิลปศาสตร์ ๑
เพราะวิทยฐานะ ๑
เพราะการศึกษา ๑
เพราะปฏิภาณ ๑
เพราะวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑



ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง
ความฟูขึ้น ความทนงตัว ความยกตัว ความที่จิตใคร่สูงดุจธง นี้เรียกว่า ความถือตัว.


บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือ
บุคคลผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา ทำให้หมด ทำให้ไม่มีซึ่งมารยาและมานะ
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว.








สำรวจดูจิตของเรา ว่ามีมานะชนิดใด
เพื่อความชำนะในกาลต่อไปแห่งมานะ ในเบื้องหน้า





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:




ไฟล์แนป:
230669y5frnfyrii.gif
230669y5frnfyrii.gif [ 319.66 KiB | เปิดดู 8918 ครั้ง ]

เจ้าของ:  yodchaw [ 12 พ.ย. 2009, 15:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ขอขอบคุณทุกความคิด กระจ่างมากเลยด้วยเฉพาะของ คุณกระบี่ไร้เงา ขออนุโมทนาด้วยครับ

เจ้าของ:  moddam [ 12 พ.ย. 2009, 19:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

ว่าด้วยธรรมล้วน

พระ ท่าน เมื่อมีคนมากราบไหว้ มาก เข้า ก็เกิดกิเลสได้นะ

ส่วนที่ว่า มานะครูนั้น หมายเอา ครูผู้สอน นั้น ยากที่ใครๆ จะสอน ได้ แล้วครูนั้นก็ไม่เชื่อใครง่ายๆ ซะด้วย ก็ด้วยที่ตัวเอง นั้นสอนคนอืนมามาก แต่ก็ลืมมองที่จะสอนตัวเอง

เหมือนดังเช่น พระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่า ครับ

เจ้าของ:  กระบี่ไร้เงา [ 13 พ.ย. 2009, 08:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เรียนถามผู้รู้ เรื่องทิฐิพระ มานะครู

:b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b41: :b46: :b46: :b46: tongue

moddam เขียน:
ส่วนที่ว่า มานะครูนั้น หมายเอา ครูผู้สอน นั้น ยากที่ใครๆ จะสอน ได้ แล้วครูนั้นก็ไม่เชื่อใครง่ายๆ ซะด้วย ก็ด้วยที่ตัวเอง นั้นสอนคนอืนมามาก แต่ก็ลืมมองที่จะสอนตัวเอง

เหมือนดังเช่น พระโปฐิละ หรือพระใบลานเปล่า ครับ


ไม่ติดใจความหมายของคำว่า มานะครู ที่อธิบาย แต่ติดใจที่กล่าวถึง พระเถระเจ้าค่ะ

คุณคิดว่าท่านเป็นอย่างที่คุณเข้าใจว่า
ก็ด้วยที่ตัวเอง นั้นสอนคนอืนมามาก แต่ก็ลืมมองที่จะสอนตัวเอง อย่างนั้นหรือคะ



พระโปฐิละเถระเจ้าิอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ยังไม่ถึงกาลที่จะบรรลุธรรม ถึงแม้ว่าท่านได้ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงจำเอาไว้มากมาย สั่งสอนศิษย์ให้บรรลุเป็นพระอรหันต์จำนวนมาก

แต่ความรู้ทั้งหลายของพระเถระ ยังไม่อาจเจริญงอกงานเป็นปัญญินทรีย์
ที่จะบรรลุธรรมในฉับพลันทันทีได้

เหมือนคุณหว่านเมล็ดข้าว หรีอปักดำ
ต่อให้ใส่ปุ๋ยบำรุง ดูแล ป้องกันโรค วัชชพืช และแมลง เป็นอย่างดีสักปานใดก็ตาม
ต้นกล้านั้นก็ไม่อาจตั้งท้องออกรวงได้
นั่นเป็นเพราะยังไม่ถึงกาลที่แก่รอบ

พระเถระเมื่อถึงกาลที่เหมาะสม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงใช้อุบายที่เหมาะสมกับพระเถระ
ก่อให้เกิดความสังเวชและเพื่อขจัดมานะของพระเถระ

เมื่อพระเถระมาเข้าเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา จึงทรงตรัสเรียกว่า
... มาแล้วหรือใบลานเปล่า..


เมื่อพระเถระจะกลับจากฟังพระธรรมเทศนา ก็ทรงตรัสอีกว่า
...กลับแล้วหรือใบลานเปล่า...



พระเถระเป็นผู้มีปัญญาฉลาดย่อมระลึกได้ว่า


ปัจจุบันอารมณ์ของท่านไม่ได้แตกต่างจากคฤหัสถ์เลย
คฤหัสถ์มีความยินดีอย่างไร
ท่านก็มีความยินดีอย่างนั้น

คฤหัสถ์มีความไม่พอใจอย่างไร
ท่านก็มีความไม่พอใจอย่างนั้น
ไม่ได้แตกต่างจากคฤหัสถ์เลย


พระเถระจึงละมานะเข้าไปหาศิษย์ของท่าน ตั้งแต่พระเถระที่เป็นพระอรหันตเจ้า
ไปจนถึงสามเณรองค์ท้ายสุด เพื่อขอเรียนกัมมัฏฐานจากคำแนะนำของสามเณร
ผุ้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4

พระโปฐิละเถระได้บรรลุอรหัตตผล
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 อภิญญา 6 และวิชชา 3 ค่ะ


และข้างล่างนี้คือ คาถาธรรมบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง พระเถระ เมื่อบรรลุพระอรหันต์ค่ะ



Quote Tipitaka:

โยคา เว ชายตี ภูริ
อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา
ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ




ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้
ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดิน
เพราะความไม่ประกอบ

บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว
พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ไฟล์แนป:
1116543nabm3rj9hi.gif
1116543nabm3rj9hi.gif [ 45.98 KiB | เปิดดู 8857 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/