ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
อริยทรัพย์ ๗ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26599 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 30 ต.ค. 2009, 12:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | อริยทรัพย์ ๗ |
![]() ![]() ![]() อริยทรัพย์ ๗ ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์ มี ๗ อย่างคือ. ๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ. ๒. สีล รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย. ๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต. ๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป. ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือจำทรง ธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก. ๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของ ๆ ตน แก่คนที่ควรให้ปัน. ๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์. อริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก มีเงิน ทอง เป็นต้น ควรแสวงหาไว้ให้มีในสันดาน. อะไรเรียกอริยทรัพย์ ? คุณความดีที่มีอยู่ในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์. อริยทรัพย์ แปลว่าอะไร หมายความว่าอย่างไร ? แปลว่า ทรัพย์อันประเสริฐหรือทรัพย์ของท่านผู้ประเสริฐ. หมายถึง คุณความดีที่มีอยู่ในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์. ทรัพย์ภายนอก ได้แก่อะไร ? ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เป็นเครื่องปลื้มใจและใช้สอยเพียงชั่วอายุแห่งเจ้าของทรัพย์เท่านั้น ไม่ได้ติดตามไปในภายหน้า. ทรัพย์ภายใน ได้แก่อะไร ? ได้แก่ อริยทรัพย์ มี สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา อย่างไหนดีกว่ากัน เพราะเหตุไร ? ทรัพย์ภายในดีกว่า เพราะว่า ทรัพย์ภายใน ได้แก่ อริยทรัพย์ มี สัทธา เป็นต้น เป็นคุณสมบัติติดเนื่องอยู่ในตน ไม่มีใครแย่งชิงเอาไปได้ ทั้งเป็นเหตุเครื่องอุดหนุนโภคทรัพย์ภายนอกด้วย และติดตามไปภายหน้า. สัทธา ความเชื่อ ในอริยทรัพย์ หมายถึงเชื่ออย่างไร ? หมายถึง ความเชื่อต่อเหตุผลที่ประกอบด้วยญาณ ที่เรียกว่าญาณสัมปยุต. จำแนกเป็นเท่าไร อะไรบ้าง ? จำแนกโดยประเภทมี ๔ ข้อ คือ กัมมสัทธา เชื่อกรรม วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ตถาโพธิสัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต สัทธา โดยลักษณะมีเท่าไร อะไรบ้าง ? โดยลักษณะมี ๔ คือ ๑. เชื่อ ๒. เลื่อมใส ๓. หล่นไป ๔. หยั่งลงไปในวัตถุที่ควรเชื่อ. และอะไรเป็นกิจของสัทธา ? กิจของสัทธา คือ กำจัดโทษที่เป็นข้าศึกแห่งตน คือ อสัทธิยะ. (มีต่อ) ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 30 ต.ค. 2009, 12:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
![]() ![]() ![]() สีล เป็นทรัพย์อันประเสริฐ (อริยทรัพย์) อย่างไร ? สีล เป็นเครื่องรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อย เป็นธรรมทำความกล้าหาญ เวลาที่เข้าประชุมใด ๆ ย่อมมีความแกล้วกล้า อาจหาญ เพราะความประพฤติทางกาย วาจาของตนเรียบร้อย ไม่ต้องกลัวใครจะยกโทษโจษท้วงขึ้นเพราะความประพฤติเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง. หิริ ความละอายแก่ใจ จัดเป็นอริยทรัพย์ได้อย่างไร ? หิริ ความละอายแก่ใจของตนเองในการจะประพฤติทุจริต มีความเกียจชังต่อบาปทุจริต สะดุ้งกลัวต่ออกุศลกรรม ไม่กล้าทำความชั่วทั้งกาย วาจา ใจ เป็นธรรมที่คุ้มครองโลก และในทางพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นเครื่องรักษาใจคนอีกประการหนึ่งหิริจึงจัดเป็นอริยทรัพย์. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริต จัดเป็นอริยทรัพย์ได้อย่างไร ? โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาปทุจริตไม่กล้าทำผิด เพราะมาคำนึงถึงผลแห่งบาปด้วยตนเอง คือ แสดงความคิดกลัวขึ้นในสันดานของตนเอง จัดเป็นธรรมที่คุ้มครองโลก และในทางพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นเครื่องรักษาใจคน อีกทั้งยังจัดเป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ภายในอีกด้วย. พาหุสัจจะ จัดเป็นอริยทรัพย์อย่างไร ? ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก คือ ทรงธรรม และรู้ศิลปวิทยามาก ย่อมทำให้เป็นผู้กล้าหาญ ทำให้เป็นผู้ฉลาดในพุทธวจนะ และเป็นผู้ฉลาดในศาสตร์แขนงต่าง ๆ พาหุสัจจะ จึงจัดว่า เป็นอริยทรัพย์. จาคะ จัดเป็นอริยทรัพย์ได้อย่างไร ? จัดเป็นอริยทรัพย์โดยอาการที่ต้องอาศัยใช้สอย จาคะเป็นเครื่องปกครอง ผู้จะปกครองบริวาร ไม่สละทรัพย์ออกเจือจาน ก็ไม่อาจยึดถือน้ำใจปกครองบริวารไว้ได้ หรือผู้ปรารถนาจะชำระสันดานให้บริสุทธิ์ ถ้าไม่สละตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัยก็ไม่อาจถึงวิมุตติหลุดพ้นมลทินได้ จาคะจึงจัดเป็น อริยทรัพย์ . จาคะ สละให้ปันสิ่งของๆ ตน แก่คนที่ควรให้ปัน คนเช่นไรควรให้ปัน ? คนเช่นไรก็ตาม ถ้าเขาแสดงความยินดีที่จะรับวัตถุที่บริจาคแล้ว คนเช่นนั้นควรให้ทั้งสิ้นที่กล่าวอย่างนั้นเพราะเขาแสดงอาการชวนให้เกิดความปลื้มใจทั้งทำให้ทานนั้นมีอานิสงส์. ปัญญา จัดเป็น อริยทรัพย์ได้อย่างไร ? ผู้มีปัญญารอบรู้อะไรไว้มาก ทำให้อาจกล้าโต้ตอบ แก้ไข คล่องแคล้วรวดเร็วไม่ติดขัด ก็เพราะสมบูรณ์ด้วยปัญญา ปัญญาจึงจัดเป็นอริยทรัพย์. ปัญญามีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? มี ๒ ประเภท คือ โลกิยปัญญา คือ ความรอบรู้ของประชาชนชาวโลก ทั่วไป โลกุตตรปัญญา คือ ความรอบรู้ของพระอริยเจ้า อริยทรัพย์ จัดเข้าในสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่ เพราะเหตุไร ? ไม่ได้ . เพราะทรัพย์ ๒ ประการนั้น เป็นทรัพย์ภายนอก ส่วนอริยทรัพย์ มีสัทธาเป็นต้น เป็นทรัพย์ภายใน เป็นนามธรรม. ธรรมทั้ง ๗ มีสัทธา เป็นต้น ชื่อว่า อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเพราะเหตุไร ? เพราะเป็นเครื่องบำรุงใจให้อบอุ่น แม้จะตายก็ไม่เปลี่ยวใจ เพราะรู้สึกว่าได้เตรียมทรัพย์สำหรับเดินทางในปรโลกพร้อมแล้ว เชื่อว่าคงไม่ไปทุคติ มีแต่สุคติฝ่ายเดียว อริยทรัพย์ ควรแสวงหาให้มีในสันดาน หมายความว่าอย่างไร ? หมายความว่า ทุกคนควรแสวงหาอริยทรัพย์ไว้ให้มีในตน คือ ควรฝึกตนให้เป็นคน มี สัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และปัญญา เมื่อฝึกได้แล้วชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตย่อมมีคุณค่า มีสาระ จงสงเคราะห์อริยทรัพย์ทั้ง ๗ ลงในไตรสิกขา ? สีล หิริ โอตตัปปะ จาคะ สงเคราะห์ ลงในสีลสิกขา สัทธา พาหุสัจจะ ปัญญา สงเคราะห์ ลงในปัญญาสิกขา. เหตุไร จึงกล่าวว่าอริยทรัพย์ดีกว่าทรัพย์ภายนอก ? เพราะว่า อริยทรัพย์ เป็นคุณสมบัติติดเนื่องอยู่ในตัวผู้ใด ไม่มีใครอาจแย่งเอาไปได้ และจ่ายเท่าไรก็ไม่รู้จักหมด ทั้งเป็นเหตุและเป็นเครื่องอุดหนุนโภคทรัพย์ภายนอกด้วย. ทรัพย์ภายนอกต่างจากอริยทรัพย์อย่างไร ? ทรัพย์ภายนอกได้แก่ แก้ว แหวน เงิน ทอง ที่มีอยู่ในโลก แม้จะทำการป้องกันรักษาดีอย่างไร ก็จะอยู่ให้ปลื้มใจและใช้สอยได้ก็ชั่วอายุแห่งเจ้าของเท่านั้น เอาติดตามไปใช้ในภายหน้าไม่ได้. ส่วนอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ภายใน ได้แก่ สัทธา เป็นต้น เป็นคุณสมบัติติดเนื่องอยู่ในตน ไม่มีใครแย่งชิงเอาไปได้ ทั้งเป็นเหตุเครื่องอุดหนุนโภคทรัพย์ภายนอกด้วย และติดตามไปภายหน้า จบ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 30 ต.ค. 2009, 12:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
สวยงามเป็นระเบียบ น่าอ่านมากมาย จุ๊บๆ ![]() |
เจ้าของ: | ลูกโป่ง [ 30 ต.ค. 2009, 12:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
![]() |
เจ้าของ: | yahoo [ 31 ต.ค. 2009, 00:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
เอามาฝากเพื่อนครับ... ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 31 ต.ค. 2009, 06:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
![]() ![]() ![]() ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ วรานนท์กำลังหัดเรียบเรียงอยู่ครับ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ทักทาย [ 02 พ.ย. 2009, 20:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
ระยะนี้ท่านวรานนท์ เทศนา ย๊าวววยาวววว เตรียมตัวบวชพรรษาหน้าป่าวค่ะ? อนุโมทนาค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | วรานนท์ [ 03 พ.ย. 2009, 15:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
![]() ![]() ![]() taktay เขียน: ระยะนี้ท่านวรานนท์ เทศนา ย๊าวววยาวววว เตรียมตัวบวชพรรษาหน้าป่าวค่ะ? อนุโมทนาค่ะ ![]() รู้ข่าวมาจากไหนหรือครับ แม่นจัง ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | bbb [ 03 พ.ย. 2009, 15:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อริยทรัพย์ ๗ |
ร่างกายที่ปราศจากโรคภัยถือเป็นลาภอันประเสริฐ จิตใจที่ปราศจากความขุ่นมัวของกิเลสถือเป็นมหาลาภ ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |